[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 กรกฎาคม 2568 07:50:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 2 อดีตผู้ว่าฯ ธปท. ร่วมลงชื่อค้าน แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย  (อ่าน 226 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 ตุลาคม 2566 08:04:01 »

2 อดีตผู้ว่าฯ ธปท. ร่วมลงชื่อค้าน แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-10-06 19:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'วิรไท-ธาริษา' 2 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติร่วม นักวิชาการ-อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ลงชื่อเรียกร้องให้ยกเลิก นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ชี้ ได้ไม่คุ้มเสีย - 'วิรไท' โพสต์เฟสบุ๊คระบุการบริหารบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้มีอำนาจรัฐ  - ‘เศรษฐา’ ระบุพร้อมรับฟัง แต่ยืนยันไม่ทบทวนนโยบาย มีเสียงจากประชาชนถามว่าเมื่อไหร่จะมาเสียที</p>
<p>6 ต.ค. 2566 หลายสื่อ อาทิ PPTV ผู้จัดการออนไลน์ และ ประชาชาติธุรกิจ รายงานตรงกันว่ามีเอกสารแถลงการณ์ที่ระบุว่าเป็นความเห็นของ 99 นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยอาจารย์คณะเศรษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึง ดร.วิรไท สันติประภพ และนางธาริษา วัฒนเกส สองอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนางอัจนา ไวความดี และนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท. รวมทั้งนายนิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) นายวรากรณ์ สามโกเศศ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ เป็นต้น ที่ออกมาแสดงความเห็นให้ “ยกเลิก” นโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ที่มองนโยบาย “ได้ไม่คุ้มเสีย” ด้วย 8 เหตุผล</p>
<p>โดยเอกสารระบุว่าเป็นแถลงการณ์ของ 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ดังนี้</p>
<p>1) เศรษฐกิจไทยกําลังค่อย ๆ ฟื้นตัวตามศักยภาพจากวิกฤตโรคระบาด และเงินเฟ้อในช่วงปี 2562-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 ในปีนี้ และร้อยละ 4.4 ในปีหน้า จึงไม่มีความจําเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจํานวนมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพราะที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับการส่งออก</p>
<p>นอกจากนี้การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ 6.1 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะหลังการกระตุ้นการบริโภคในช่วงเวลานี้จะทำใหเงินเฟ้อคาดการณ์ (inflation expectation) สูงขึ้น และอาจนําไปสู่สภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด</p>
<p>เงินเฟ้อหรือสภาวะที่ข้าวของราคาแพงทั่วไปอันจะเกิดจากนโยบายนี้ จะทำให้เงินรายได้และเงินในกระเป๋าของประชาชนทุกคนมีค่าลดลง หากรวมมูลค่าที่ลดลงของประชาชนทุกคนอาจจะมีมูลค่าสูงกว่า 560,000
ล้านบาทก็ได้</p>
<p>2) เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัดย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ เงินจำนวนมากถึงประมาณนี้ 560,000 ล้านบาทนี้ ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง digital infrastructure หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาวแทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น ๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไป</p>
<p>3) การกระตุ้นเศรษฐกิจให้รายได้ประชาชาติ (GDP) ขยายตัวโดยรัฐแจกเงินจำนวน 560,000 ล้านบาท เข้าไปในระบบเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะปัจจุบันมีข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ทําให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าตัวทวีคูณทางการคลัง (fiscal multiplier) ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือการแจกเงินมีค่าน้อยกว่า 1 ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับตัวทวีคูณของการใช้จ่ายของรัฐโดยตรง การที่ผู้กําหนดนโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย</p>
<p>4) เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะทำให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้น หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) จะต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นในยามที่ต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อภาระเงินงบประมาณของรัฐในแต่ละปี นี่ยังไม่นับจำนวนเงินค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการแจกเงิน digital คนละ 10,000 บาทนี้ด้วย</p>
<p>5) ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมย์ที่ฉลาดรอบคอบ โดยลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation)</p>
<p>ทั้งนี้เพื่อสร้าง “ที่ว่างทางการคลัง” (fiscal space) ไว้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษีเพียงร้อยละ 13.7 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ มาก</p>
<p>6) การแจกเงินคนละ 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างยิ่ง เศรษฐีและมหาเศรษฐีที่อายุเกิน 16 ปี ล้วนได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น</p>
<p>7) สำหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลง แต่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหารประเทศที่มองไกลจึงควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด</p>
<p>8) ระบบ blockchain ปกติจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของทุกธุรกรรม โดยผู้ใช้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ข้อดีคือทำให้ไม่สามารถฉ้อฉลข้อมูลได้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นจุดตายของระบบด้วย เพราะแต่ละธุรกรรมจะต้องใช้เวลาเฉลี่ยในการตรวจสอบประมาณ 1-1.5 ชั่วโมงต่อธุรกรรม และจะยิ่งใช้เวลามากขึ้นเมื่อจำนวนธุรกรรมและผู้ใช้เพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ก็จะยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเอามาใช้กับระบบซื้อขายตามปกติ</p>
<p>ทั้งนี้ ยังไม่นับถึงความสิ้นเปลืองของเวลาและพลังงานในการทำการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้ทุกคนด้วย หากรัฐบาลยังดึงดันจะแจกเงิน ก็ควรที่จะทำผ่านระบบเป๋าตังที่มีต้นทุนธุรกรรมที่ต่ำกว่า และประชาชนคุ้นเคยอยู่แล้วด้วยเหตุผลต่าง ๆ ข้างต้น บรรดานักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์จึงขอให้รัฐบาลยกเลิก “นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท” แก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้น้อยกว่าต้นทุนที่เสียไปอย่างมาก</p>
<p>นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น ๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว และยังเป็นการสร้างพฤติกรรมการรอรับการแจกในระบบอุปถัมภ์อีกด้วย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53238599004_954f1a349a_o_d.png" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53237363722_477eed9404_o_d.png" /></p>
<h2><span style="color:#3498db;">'วิรไท' โพสต์เฟสบุ๊คระบุการบริหารบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้มีอำนาจรัฐ</span></h2>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="692" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fveerathai.santiprabhob%2Fposts%2Fpfbid0gTqdSQevNQg9UX7kQ32aG6RaqjmPauWaXUCEkSBCegAAQ15wxoSWqQDcgc5e1uT9l&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว Veerathai Santiprabhob ระบุถึงโครงการ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระบุว่า </p>
<p style="margin-left: 40px;">การบริหารบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้มีอำนาจรัฐ </p>
<p style="margin-left: 40px;">อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ทำนองว่า</p>
<p style="margin-left: 40px;">ถ้าแพทย์รักษาผู้ป่วยผิดพลาด อาจจะสร้างผลกระทบให้กับชีวิตของผู้ป่วยหนึ่งคนและครอบครัว</p>
<p style="margin-left: 40px;">ถ้าวิศวกรสร้างตึก หรือสะพานผิดพลาด อาจจะหมายถึงชีวิตคนหลายสิบหรือหลายร้อยคนที่ใช้งาน</p>
<p style="margin-left: 40px;">แต่ถ้านักเศรษฐศาสตร์ทำนโยบายเศรษฐกิจผิดพลาดแล้ว อาจจะกระทบต่อชีวิตของคนหลายสิบล้านคนทั้งประเทศ</p>
<p style="margin-left: 40px;">วันนี้ ด้วยพลังของตลาดที่รู้ว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี แค่ผู้มีอำนาจรัฐเริ่มคิดจะทำนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่รับผิดชอบ ก็ส่งผลเสียต่อชีวิตคนได้ทั้งประเทศแล้ว ผ่านกลไกของตลาดเงินและตลาดทุน</p>
<p style="margin-left: 40px;">เรามีตัวอย่างนโยบายภาครัฐจากอดีตหลายอันที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสั้นๆ แต่สร้างความบิดเบือนให้กับกลไกตลาด และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ สร้างภาระทางการคลังแบบได้ไม่คุ้มเสีย และส่งผลกระทบต่อผลิตภาพยาวนานไปอีกหลายปี ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ด หรือโครงการรถคันแรก </p>
<p style="margin-left: 40px;">ถ้าเริ่มต้นบริหารประเทศด้วยการทำนโยบายที่หวังผลต่อ GDP แค่ช่วงสั้นๆ ผลที่จะเกิดขึ้นกับฐานเสียงในการเลือกตั้งสี่ปีข้างหน้าอาจจะกลับทิศได้อีกด้วย ถึงเวลาใกล้เลือกตั้งรอบหน้าเศรษฐกิจที่โดนกระตุ้นด้วยยาโด๊บเงินดิจิตัลก็คงหมดพลังลงพอดี นอกจากนี้โครงการภาครัฐดีๆ อีกนับสิบนับร้อยโครงการที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนในวันนี้และวันหน้าอาจโดนถูกตัดงบประมาณลง</p>
<p style="margin-left: 40px;">ผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดว่าประชาชนจำนวนมากต้องการการเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป มากกว่านโยบายประชานิยม เชื่อว่าในอีกสี่ปีข้างหน้า กระแสเรียกร้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปจะยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก ในขณะที่ทรัพยากรด้านการคลังจะยิ่งจำกัดมากขึ้น</p>
<p style="margin-left: 40px;">นอกจากนี้ ถ้าผู้มีอำนาจรัฐเริ่มต้นบริหารประเทศด้วยนโยบายที่ไม่รับผิดชอบแล้ว ความน่าเชื่อถือจะไหลลงเร็ว ทั้งจากในและต่างประเทศ จะทำอะไรต่อไปก็จะยากไปหมด มีแต่ความไม่เชื่อมั่น ความแคลงใจกัน นโยบายที่จะสนับสนุนการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงสำหรับอนาคตของประเทศจะยิ่งเกิดได้ยากมาก</p>
<p style="margin-left: 40px;">โจทย์ในวันนี้น่าจะเป็นว่าจะช่วยกันหาทางลงให้กับนโยบายที่หาเสียงไว้แล้วแต่ไม่ควรทำได้อย่างไร มากกว่าที่จะเดินหน้าต่อทั้งที่รู้ว่าจะสร้างปัญหาตามมาอีกมากมาย</p>
<p style="margin-left: 40px;">ขอบคุณ Nat Luengnaruemitchai ที่นำข้อมูลมาแสดงครับ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">‘เศรษฐา’ ระบุพร้อมรับฟังแต่ยืนยันไม่ทบทวนนโยบาย มีประชาชนถามเยอะว่าเมื่อไหร่จะแจกด้วย</span></h2>
<p>สำนักข่าวอิศรา รายงานว่าที่จังหวัดอุบลราชธานี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดิจิทัลวอลเลต ว่าถือเป็นความคิดเห็นซึ่งรัฐบาลก็ต้องฟัง แต่เรื่องนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ทั้งนี้ จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกท่าน แต่ก็มีเสียงจากประชาชนที่ถามว่าเมื่อไหร่จะมาเสียที ซึ่งก็ต้องรับฟัง</p>
<p>เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทบทวนไม่แจกทั้งหมด นายกฯ กล่าวทันทีว่า “ไม่ เป็นไปไม่ได้”</p>
<p>เมื่อถามย้ำว่าแต่ก็มีเสียงของอดีตที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย รวมถึงผู้มีเครดิตทางเศรษฐกิจออกมาคัดค้านเรื่องดังกล่าว นายเศรษฐากล่าวว่า คนที่มีเครดิตทางเศรษฐกิจเห็นด้วยก็มีเยอะ ต้องให้เกียรติทุกคน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106244
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.493 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 07 มิถุนายน 2568 20:48:19