บุญเลิศ วิเศษปรีชา: สันติวิธีในทางปฏิบัติ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-10-10 21:03</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="415" src="
https://www.youtube.com/embed/OdVbEwHTkxo?si=I_yHWR67foV7DW2_" title="YouTube video player" width="720"></iframe></p>
<p>วงพูดคุยเรื่อง "สันติวิธีในทางปฏิบัติ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง" โดย รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นโดย อ.ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ว่าด้วยแนวทางการต่อสู้สันติวิธี ความเป็นไปได้และข้อจำกัด และความเข้าใจผิดของสังคมต่อนิยามสันติวิธี โดยเป็นหนึ่งในการอภิปรายและนำเสนองานวิจัย “ถอดรหัสความรุนแรงในสังคมไทย: รัฐ สื่อ สังคม และระบบกฎหมาย” วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์</p>
<p>โดยการนำเสนอของบุญเลิศมุ่งไปที่ (1) การตั้งคำถามถึงคำจำกัดความของสันติวิธี ทั้งในกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวหลายกลุ่ม ทั้งในฝั่งภาครัฐ ภาคสื่อสารมวลชน และประชาชนทั่วไป และ (2) เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้สันติวิธีคืออะไร ซึ่งโดยทั่วไปการชุมนุมมักเริ่มจากสันติ แต่เมื่อมีสิ่งกระตุ้นก็อาจทำให้เกิดการยกระดับการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นส่วนย่อยของขบวนการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวหลัก</p>
<p>ในการนำเสนอตอนหนึ่ง บุญเลิศหยิบยกคำถามสำคัญที่มักมีผู้ถามว่า ทำไมการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช้ความรุนแรงจึงมักไม่ค่อยสัมฤทธิ์ผลนัก ในความเห็นของเขาเห็นว่า เป็นเพราะรัฐประสบความสำเร็จในการสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุม ประกอบกับความไม่ชัดเจนในแนวทางการไม่ใช้ความรุนแรงของขบวนการเคลื่อนไหว นำพาไปสู่การถกเถียงในเชิงรายละเอียด ซึ่งมีผลเสียต่อขบวนมากกว่า เช่น ความไม่แน่ใจว่าใครใช้ความรุนแรงก่อน หรือฝ่ายรัฐใช้มาตรการเหมาะสม ได้สัดส่วนหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของการแย่งชิงความชอบธรรมกัน นอกจากนี้รัฐยังฉลาดมากขึ้นในการปราบปราม ทั้งการใช้การปราบปรามที่ไม่อันตรายถึงชีวิต การใช้นิติสงคราม อย่างการจับแล้วไม่ให้ประกันตัว ฯลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตามในงานศึกษาของบุญเลิศ เสนอด้วยว่าการไม่ใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว ยังคงมีโอกาสชนะสูงกว่าการใช้ความรุนแรง แม้โอกาสในการชนะมีแนวโน้มต่ำลงเรื่อยๆ ในช่วงสิบปีกว่าเป็นต้นมา แต่อย่างน้อยการไม่ใช้ความรุนแรงก็จะไม่สร้างรอยร้าวลึกให้สังคมกว่าเดิม ยิ่งกว่านั้น การเคลื่อนไหวโดยใช้ความรุนแรง ก็อาจโน้มน้าวให้คนเห็นต่างมาเข้าพวกได้ยาก หากในสังคมมีการแบ่งแยกอย่างลึกซึ้งในตัวเอง</p>
<p>สิ่งสำคัญที่ต้องการนำเสนอ คือการปรับความเข้าใจว่า แม้สันติวิธีจะไม่ใช่วิธีการที่ง่าย แต่อย่างน้อยสันติวิธีจะเป็นเกราะคุ้มกันขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อให้ยังคงความชอบธรรมเอาไว้ได้อยู่ และทำให้ภาครัฐต้องระมัดระวังการจัดการกับผู้ชุมนุม รวมไปถึงกลยุทธ์การดันเพดานความเข้าใจของสังคมว่า สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องถูกกฎหมายก็ได้ เส้นแบ่งที่ชัดเจนว่าสันติหรือไม่สันติ คือ ความรุนแรงทางกายภาพ หรือการทำร้ายร่างกาย ซึ่งดูไม่ยาก แต่เส้นแบ่งที่เป็นสีเทา เช่น การทำลายวัตถุหรือสถานที่ แม้จะไม่ได้ทำร้ายบุคคลใด หรืออาจเข้าข่ายสันติวิธีตามหลักวิชาการ แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกสังคมท้าทายทางความคิด และเป็นสิ่งที่ขบวนการต้องนำมาขบคิดต่อ ต้องหาสมดุลระหว่างการขยายเพดานการรับรู้เรื่องสันติวิธี และการลงมือปฏิบัติที่จะไม่ทำให้เสียแนวร่วม โดยหน้าที่ของนักวิชาการต้องพยายามช่วยอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้ง่ายขึ้น</p>
<div class="more-story">
<p>
สมชาย ปรีชาศิลปกุล: วิสามัญมรณะฯ [คลิป], 10 ต.ค. 66</p>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53248725825_723f6554c4_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข