[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 22:03:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - งานศึกษาแนะควรเพิ่มค่าจ้าง 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' ให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั  (อ่าน 159 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2566 18:19:28 »

งานศึกษาแนะควรเพิ่มค่าจ้าง 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' ให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-19 17:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>งานศึกษา "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทย" เก็บข้อมูลจากผู้ช่วยเหลือดูแล จำนวน 563 คน พบส่วนใหญ่ทำสัญญาจ้างกับ รพ.สต. และ อปท. เคยประสบกับการจ่ายค่าจ้างล่าช้ารวมถึงไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้าง แนะควรเพิ่มค่าจ้างของ 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' ให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://www.nhso.go.th/storage/photos/858/nhso_jan66/nhso_%E0%B8%A3%E0%B8%9E.%E0%B8%AA%E0%B8%95.%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20650609%20(4).jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)</span></p>
<p>ปัจจุบัยไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ภาระการดูแลผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะพึ่งพิง และผู้ต้องการความช่วยเหลือ มีเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ อาชีพ 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' จึงเริ่มมีความสำคัญขึ้นด้วยเช่นกัน</p>
<p>ข้อมูลจากการศึกษา "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทย" โดยภัทรพร คงบุญ และคณะ ที่เผยแพร่ใน วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย. 2566 ที่ได้ทำการศึกษาความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชนผ่านหน่วยบริการ/ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชน หลังการประกาศปรับการจ่ายค่าจ้างผู้ช่วยเหลือดูแล (caregiver) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ทำการศึกษาระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ. 2565 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ช่วยเหลือดูแล จำนวน 563 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (long term care, LTC) จาก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร</p>
<p>งานศึกษานี้มีข้อค้นพบที่น่าสนใจดังต่อไปนี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน-ติดเตียง' และ 'ผู้มีภาวะพึ่งพิง' มีจำนวนเพิ่มขึ้น</span></h2>
<p>จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุนั้น เมื่ออายุมากขึ้นก็มีความเสื่อมถอยของร่างกาย ส่งผลให้ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นในการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และพบว่าผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จะมีอุบัติการณ์การเกิดภาวะทุพพลภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคเรื้อรัง ทั้งนี้ภาระค่าใช้จ่ายที่ประเมินในปี 2559 สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านมีค่าเฉลี่ย 9,667 บาทต่อคนต่อเดือน, ผู้สูงอายุที่ติดเตียง 19,129 บาทต่อคนต่อเดือน</p>
<p>ทั้งนี้ความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอื่น ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยภาวะสมองบกพร่อง โดยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรพิการประมาณ 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5.5 ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงจัดเป็นบุคคลกลุ่มเปราะบาง ที่ต้องการการดูแลสนับสนุน การปกป้องเป็นพิเศษ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง</span></h2>
<p>จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดการขับเคลื่อนผลักดันเชิงนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับทราบและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในการประชุมเมื่อ 17 พ.ค. 2556 กระทั่งผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ 14 ก.ย. 2558 และเริ่มมีงบประมาณสนับสนุนให้ในปีงบประมาณ 2559 เป็นปีแรก จำนวน 600 ล้านบาท (เหมาจ่าย 5,000บาท ต่อคนต่อปี) โดยมุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ มีแนวคิดหลักคือให้ท้องถิ่นเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการระบบ โดยอาศัยกองทุนตำบลเป็นกลไกในการทำงานร่วมกันของภาคสาธารณสุขและภาคอื่นๆ </p>
<p>แต่ด้วยข้อจำกัดของศักยภาพท้องถิ่น จึงต้องอาศัยกลไกโรงพยาบาลในการสนับสนุนและพัฒนาในระยะแรก การดำเนินงานในช่วงปี 2559-2561 พบว่า ความครอบคลุมการจัดบริการด้านสุขภาพทำได้ดีกว่าบริการด้านสังคม มีท้องถิ่นร้อยละ 30 เท่านั้นที่จัดบริการด้านสังคมได้อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ นอกจากนี้นโยบายยังจำกัดอยู่ที่การดูแลเฉพาะผู้สูงอายุและเฉพาะสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 80 เท่านั้น หรือหากคิดในประเด็นความครอบคลุมกลุ่มผู้มีความจำเป็นต้องได้รับบริการระยะยาวทั้งหมดก็ครอบคลุมได้เพียงร้อยละ 56-64 เท่านั้น</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีบุคคลเปราะบางกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ แฝงอยู่ภายใต้ระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลอื่น(สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สิทธิประกันสังคมและอื่นๆ) จึงได้มีการขยายสิทธิเพื่อให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเปราะบางนี้ ดังประกาศกองทุนฯ ฉบับที่ 2 ปี 2562 เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 โดยมีการจัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อปท. ดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุและบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีทุกสิทธิ ตามแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) โดยแบ่งผู้สูงอายุและบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ทุกสิทธิ ออกเป็น 4 กลุ่มและประเมินความต้องการบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน</span></h2>
<p>สำหรับบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงและเป็นกำลังสำคัญในพื้นที่นั้นหลักๆ คือ 'ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข' (care manager, CM) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการและประสานให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการด้านสาธารณสุข ตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 โดยการจัดทำแผนดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นรายบุคคล (care plan) ประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ long-term care (LTC) ในการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รวมทั้งเชื่อมประสานกับทีมสหวิชาชีพ พหุภาคี อปท.และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการจัดบริการตาม care plan โดย CM 1 คนดูแลผู้ช่วยเหลือดูแล 5-10 คน และดูแลผู้สูงอายุประมาณ 35-40 คน รวมถึงติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน</p>
<p>นอกจากนี้บุคลากรสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ 'ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน' หรือ 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' (caregiver) ต้องผ่านการอบรม 70 ชั่วโมงหรือ 420 ชั่วโมงโดยหลักสูตร 70 ชั่วโมงนั้นผู้สมัครต้องมีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อนไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีหนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือสถาบันหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ผู้สมัครที่เป็น อสม. มาก่อนหรือเคยเป็นพนักงานดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ส่วนหลักสูตร 420 ชั่วโมงนั้น มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการอบรม เช่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน เมื่ออบรมครบ 420 ชั่วโมง สอบรับประกาศนียบัตรแล้ว สามารถขึ้นทะเบียนและได้รับความคุ้มครองทางด้านแรงงาน (ค่าตอบแทน) ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือดูแลกลุ่มนี้ทำงานบางเวลาเท่านั้น (parttime) โดยหน่วยงานในพื้นที่ที่จ้างผู้ช่วยเหลือดูแลคือ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน (จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) หน่วยบริการหรือสถานบริการ ซึ่งได้งบสนับสนุนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง (ค่าบริการ LTC) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ากองทุนฯ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการ โดยการจ้างเหมาผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในลักษณะจิตอาสาตามแผนการดูแล โดยกรณีที่จ้างผู้ช่วยเหลือดูแลผ่านหน่วยบริการหรือสถานบริการจะอิงระเบียบเงินบำรุงกระทรวงสาธารณสุข ในอัตราค่าจ้างเหมาไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือนต่อผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 1 คน</p>
<p>ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ให้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตั้งแต่ 5-10 คน ยกเว้นในกรณีที่พื้นที่มีผู้มีภาวะพึ่งพิงน้อยกว่า 5 คน ให้จ้างเหมาไม่เกิน 600 บาทต่อเดือนต่อผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 1 คน โดยให้ผู้จัดการระบบการดูแลเป็นผู้พิจารณาจัดสรรผู้มีภาวะพึ่งพิงให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ตามศักยภาพและคละกลุ่มให้เหมาะสม ส่วนกรณีที่จ้างผู้ช่วยเหลือดูแลผ่านศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนนั้น สามารถเบิกจ่ายได้ตามมติคณะอนุกรรมการ LTC ที่อนุมัติ โดยอัตราค่าตอบแทนอาจจะเท่ากับระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขหรือมากกว่า โดยฐานข้อมูลกรมอนามัย เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2564 พบว่ามีผู้จัดการระบบการดูแลจำนวน 14,418 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลจeนวน 93,001 คน คิดเป็นอัตราส่วน ผู้จัดการระบบการดูแล:ผู้ช่วยเหลือดูแล ≈ 1:6</p>
<h2><span style="color:#3498db;">พบค่าจ้าง 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' น้อยมาก</span></h2>
<p>บุคลากรที่ปฎิบัติงานในชุมชน ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานและกิจกรรมด้านการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ โดยกลไกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาวได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและครอบคลุมนั้นคือกลไกการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนให้กับบุคลากร ซึ่งเคยมีวิจัยก่อนหน้านี้ รายงานว่าพื้นที่ที่มีการจ่ายค่าตอบแทนผู้ดูแลในทุกรูปแบบมีความครอบคลุมการจัดบริการอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอได้ดีกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนผู้ดูแลเกือบทุกด้าน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม การจ่ายค่าจ้างเหมาผู้ช่วยเหลือดูแล ในพื้นที่ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้จ่ายค่าจ้างแก่ผู้ช่วยเหลือดูแลที่ดูแลผู้สูงอายุ 1-4 คน ในอัตราค่าจ้างเหมาบุคคล เดือนละไม่เกิน 600 บาท และ ผู้ช่วยเหลือดูแล ที่ดูแลผู้สูงอายุ 5-10 คน ในอัตราค่าจ้างเหมาบุคคลเดือนละไม่เกิน 1,500 บาทนั้น ได้ดำเนินการจ่ายในอัตรานี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา และปัจจุบันมีผู้ช่วยเหลือดูแลที่ลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูล 3C (ฐานข้อมูลขึ้นทะเบียน care manager, caregiver และจัดทำ care plan พัฒนาโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข) เกือบหนึ่งแสนราย แต่การศึกษาวิจัยถึงความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแล (ผ่านหน่วยบริการ สถานบริการศูนย์ฯ) มีน้อยมาก ดังนั้นคณะวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจต่อการจ้างงาน ตลอดจน ศึกษา อัตราค่าจ้าง และปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงาน ของผู้ช่วยเหลือดูแลในประเทศไทย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'ผู้ช่วยเหลือดูแล' ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่ทำสัญญาจ้างกับ รพ.สต. และ อปท. เคยประสบกับการจ่ายค่าจ้างล่าช้ารวมถึงไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้าง</span></h2>
<p>ข้อมูลจากผู้ช่วยเหลือดูแล จำนวน 563 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากถึงร้อยละ 95.4 และเป็นเพศชายเพียงร้อยละ 4.6 หากจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 62.3 มีอายุระหว่าง 40-59 ปี รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้น ไปคือร้อยละ 32.3 และอายุต่ำกว่า 40 ปีคือร้อยละ 5.4 จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสูงที่สุด คือร้อยละ 59.9 รองลงมาคือระดับประถมศึกษามีสัดส่วนร้อยละ 20.4 เมื่อพิจารณาด้านรายได้ พบว่า มีเพียงร้อยละ 19.4 ที่มีรายได้หลักจากค่าจ้างของผู้ช่วยเหลือดูแล</p>
<p>กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.2 มีระยะเวลาการทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลอยู่ระหว่าง 3-5 ปี รองลงมาคือร้อยละ 31.6 มีระยะเวลาการทำงานอยู่ในช่วง 1-3 ปี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.6 ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง</p>
<p>ด้านการทำสัญญาจ้าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.3 ทำสัญญาจ้างกับหน่วยบริการ ได้แก่โรงพยาบาล รพ.สต. และศูนย์บริการสาธารณสุข, ร้อยละ 30.6 ทำสัญญาจ้างกับเทศบาล/อบต./อปท., และร้อยละ 17.6 ไม่ได้ทำสัญญาจ้าง ในขณะที่ความถี่ของการได้รับค่าจ้างพบว่า ร้อยละ 25.8 ได้รับค่าจ้างทุกเดือน, ร้อยละ 17.9 ได้รับค่าจ้างทุกๆ 3 เดือน และเมื่อพิจารณาปัญหาการค้างจ่ายค่าจ้าง พบว่า ร้อยละ 48.7 เคยประสบกับการจ่ายค่าจ้างล่าช้ารวมถึงไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้าง</p>
<p>กิจกรรมที่ผู้ช่วยเหลือดูแลปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ พูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลผู้ป่วย ร้อยละ 79.0 รองลงมาคือ การตรวจวัดความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือด ร้อยละ 77.1, ช่วยทำกายภาพบำบัด/นวดไทย ร้อยละ 56, เขียนรายงานการปฏิบัติงาน ร้อยละ 49, และการดูแลกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ การนอนหลับพักผ่อน ร้อยละ 43.9</p>
<p>เมื่อพิจารณาด้านค่าจ้างโดยเฉลี่ย พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับค่าจ้างสูงที่สุดเฉลี่ย 3,054 บาทต่อเดือน ภาคตะวันออกได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 1,265 บาทต่อเดือน ภาคเหนือและภาคใต้ได้รับค่าจ้างใกล้เคียงกันคือเฉลี่ย 774 บาท และ 764 บาทต่อเดือนตามลำดับ ในขณะที่ กทม. ยังไม่ได้รับค่าจ้าง</p>
<p>ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ช่วยเหลือดูแลฯ ในการออกไปปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นเงินที่ผู้ช่วยเหลือดูแลเป็นผู้จ่าย พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 356 บาทต่อเดือน ภาคตะวันออกเฉลี่ย 215 บาทต่อเดือน ภาคใต้เฉลี่ย 182 บาทต่อเดือน กทม. เฉลี่ย 177 บาทต่อเดือน และภาคเหนือเฉลี่ย 115 บาทต่อเดือน</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน</span></h2>
<p>ระดับความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแล ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 51.6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือร้อยละ 26.3 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ร้อยละ 21.5 มีความพึงพอใจในระดับปานกลางและร้อยละ 0.6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยเมื่อพิจารณาจำแนกตามพื้นที่พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คือร้อยละ 73.8 รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือร้อยละ 13.1 และอยู่ในระดับมากที่สุด คือร้อยละ 9.8 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีความพึงพอใจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ผู้ช่วยเหลือดูแลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับปานกลางตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกผู้ช่วยเหลือดูแลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือร้อยละ55.4 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คือร้อยละ 25.0 และระดับมากที่สุด คือร้อยละ 18.5</p>
<p>เมื่อพิจารณาจำแนกตามหน่วยงานที่ทำสัญญาจ้างพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ทำสัญญาจ้างกับหน่วยบริการฯ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือร้อยละ 42.0 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางคือร้อยละ 30.5 และระดับมากที่สุดคือร้อยละ 26.7 ในกลุ่มผู้ที่ทำสัญญาจ้างกับ อปท. ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก คือร้อยละ 58.1 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือร้อยละ 31.1 และในระดับปานกลางคือร้อยละ 10.8 ในกลุ่มผู้ที่ทำสัญญาจ้างกับศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก คือร้อยละ 63.5 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุดคือร้อยละ 30.4</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ช่วยเหลือดูแล</span></h2>
<p>กลุ่มตัวอย่างประสบปัญหาอุปสรรคมากที่สุด ได้แก่ การขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือที่ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน คือร้อยละ 27.6 รองลงมาคือ การที่ผู้ป่วยและญาติไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย คือร้อยละ 11.0, ญาติไม่ไว้ใจ ไม่ยินยอมให้ผู้ช่วยเหลือดูแลเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน คือร้อยละ 10.4, และปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ค่อนข้างสูง/ไม่มีค่าเดินทางในการลงพื้นที่ คือ ร้อยละ 6.0</p>
<p>กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 52.8 ต้องการให้เพิ่มเติมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น อุปกรณ์วัดความดันโลหิตหรือชุดทำแผล, ร้อยละ 21.8 ต้องการให้มีการเพิ่มค่าจ้าง/ค่าตอบแทนในการทำงาน, ร้อยละ 16.5 ต้องการให้มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายเช่นค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์, ร้อยละ 15.6 ต้องการได้รับการสนับสนุนสิ่งของที่จำเป็นต่อผู้ป่วย เช่น แพมเพิร์ส และร้อยละ 11.9 ต้องการให้มีการสนับสนุนของเยี่ยมผู้ป่วยเพื่อเพิ่มกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">แนะควรเพิ่มค่าจ้างของ 'ผู้ช่วยเหลือดูแล' ให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ</span></h2>
<p>ผลจากการศึกษามีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยในด้านค่าจ้าง ควรปรับเพิ่มค่าจ้างของผู้ช่วยเหลือดูแลให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ หรือปรับเพิ่มค่าจ้างแบบขั้นบันไดตามอายุงานของผู้ช่วยเหลือดูแล กรณีที่ไม่เพิ่มค่าจ้างก็ควรให้ค่าเดินทาง ค่าป่วยการต่างๆ ด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงาน ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต ให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลทุกคน, จัดอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะเพิ่มเติมให้ผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ, จัดหาเสื้อทีม บัตรประจำตัวหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงตัวตนให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลเพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป.
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106431
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.289 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2568 18:20:59