[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 14:00:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ขูดรีดทุกฝีเข็ม : ต้นทุนที่มองไม่เห็น ภายใต้เสื้อผ้าแบรนด์ดัง และชีวิต 'แรงงา  (อ่าน 81 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2566 22:55:14 »

ขูดรีดทุกฝีเข็ม : ต้นทุนที่มองไม่เห็น ภายใต้เสื้อผ้าแบรนด์ดัง  และชีวิต 'แรงงานข้ามชาติ'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-11-13 21:32</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วรรณา แต้มทอง : รายงาน / ภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p> </p>
<p>“คิดว่ามาทำงานในประเทศของคนอื่น จะดีกว่าประเทศตัวเอง…โดนถูกกดขี่อย่างเดียวเลย” มะมะเขิ่น อดีตแรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งหนึ่ง กล่าว</p>

<h2><span style="color:#2980b9;">มีสิทธิต่อสู้ แต่ “ไม่มีสิทธิ” ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ</span></h2>
<p>มะมะเขิ่นเป็นชื่อสมมติของแรงงานข้ามชาติหญิงที่ผ่านการลุกขึ้นมาต่อสู้กับนายจ้างเจ้าของโรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำให้ตัวเอง เธอเคยเป็นแรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งหนึ่งบริเวณชายแดนของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานเย็บผ้าและโรงงานอุสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมการลงทุนชายแดน ทำให้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านหลายคนข้ามฝั่งมาเป็นแรงงานราคาถูกให้นายจ้าง</p>
<p>โรงงานเย็บผ้าที่มะมะเขิ่นเคยทำงานเป็นโรงงานเย็บผ้าขนาดใหญ่ที่ผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ค้าปลีกชื่อดังจากต่างประเทศ ถ้าเห็นโลโก้หรือพูดชื่อของแบรนด์ออกไปคนไทยแทบทุกคนน่าจะรู้จักดี มหากาพย์การต่อสู้ของมะมะเขิ่นและเพื่อนแรงงานข้ามชาติในโรงงานเดียวกันเริ่มต้นขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด มะมะเขิ่นเล่าว่า ย้อนไปหลายปีเมื่อโควิด-19 มา หลายโรงงานมียอดออร์เดอร์ลดลง ตามมาด้วยรายได้ของแรงงานที่ลดตามเมื่อไม่มีงาน ในช่วงนั้นตัวมะมะเขิ่นเคยได้ค่าแรงจากการเย็บเสื้อผ้าทั้งเดือนรวมกันเพียง 2,000 บาท เนื่องจากค่าจ้างที่ได้รับตอบแทนจากการทำงานน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อออร์เดอร์ตัดเย็บน้อยลง รายได้ในแต่ละเดือนจึงแทบไม่เหลือ เพราะค่าจ้างของมะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ในโรงงานแห่งนี้ถูกคำนวณจากชิ้นงานที่แต่ละคนทำ</p>
<p>“นายจ้างไม่ให้ค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานก็ย่ำแย่เกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น จึงไปขอนายจ้างให้ปรับค่าแรงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เพราะอยู่ไม่ได้ นายจ้างก็ไม่ได้สนใจ ใครไม่ทำก็ออกไป แต่ถ้าออกจากงานที่นี่จะหางานที่ไหนได้ในช่วงโควิด-19 ไปเรียกร้องก็เหมือนเอาหัวไปชนกำแพง เสียเปล่า เพราะไม่ได้อะไร” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329874840_390572cfde_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329415581_e9a6b850a9_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">มะมะเขิ่น (ชื่อสมมติ) อดีตแรงงานข้ามชาติในโรงงานเย็บผ้า</span></p>
<p>นอกจากนี้มะมะเขิ่นเล่าถึงสภาพการทำงานโดยปกติของเธอขณะที่ทำงานเย็บภาพในโรงงานนี้ที่ค่อยข้างหนัก เธอมีเวลาเข้างาน 08.00 น. ส่วนเวลาเลิกงานไม่แน่นอน 22.00 น. หรือ 23.00 น. แต่ถ้าช่วงไหนมีออร์เดอร์เข้ามาเยอะคนงานก็ต้องทำงานข้ามไปถึงรุ่งเช้าของอีกวัน ก่อนหน้าโควิด-19 โรงงานยังคงมีออร็เดอร์จำนวนมากแรงงานแต่ละคนต้องเย็บเสื้อผ้าเป็นพันๆ ชิ้นต่อเดือน</p>
<p>“ลักษณะงานเป็นการเหมาเย็บเสื้อผ้า จะได้ค่าแรงเท่าที่ตัวเองทำ ถ้าถามว่าได้เท่าไหร่ วันที่ไม่ได้ค่าจ้างก็มี บางวันก็ได้ 50 บาท 100 บาท 150 บาท จนถึง 300 บาท จำไม่ได้ว่าในหนึ่งวันเย็บผ้าไปกี่ชิ้น แต่รู้แค่ว่าเวลาพักก็น้อยมาก ทำงานกลับมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก จนกินข้าวไม่ลง ชีวิตการทำงานที่นี่ 1 ปี ช่วงปกติ (ก่อนโควิด-19) ได้เยอะสุด 9,000 บาท” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088751_bfdaa37655_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088936_0ec883c315_b.jpg" /></p>
<p>แรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งนี้จะมีวันหยุดเพียง 1 วันต่อเดือน ในหลังจากวันที่ได้รับเงินเดือน</p>
<p>“บางครั้งป่วยขอลาก็ไม่ได้ง่ายๆ ต้องป่วยใกล้ตายแล้ว นายจ้างถึงจะยอมปล่อยให้ไปโรงพยาบาล ตอนมาพักฟื้นตัวก็ได้ยาพารามาแค่เม็ดเดียว ชีวิตแรงงานเป็นเรื่องยาก ไม่เพียงแค่เราคนเดียว เพื่อนเราก็ประสบพบเจอปัญหานี้เช่นเดียวกัน” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>หลังจากที่มะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติในโรงงานเดียวกันรวมนับร้อยคนลุกขึ้นเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรมกับชีวิตพวกเขา สิ่งที่ได้กลับมากลับไม่ใช่ค่าจ้างที่พวกเขาต้องการ นายจ้างปิดประตูโรงงานไม่ให้แรงงานที่รวมตัวกันเรียกร้องเข้าไปทำงานในโรงงาน ก่อนจะมีการเรียกให้แรงงานที่มีปากเสียงทั้งหมดไปเซ็นเอกสาร</p>
<p>“แต่เอกสารไม่มีข้อความระบุอะไรไว้ เป็นเพียงกระดาษเปล่า จึงเกิดข้อกังวลกลัวว่าเขาจะไปใส่ข้อสัญญาต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม เลยไม่มีใครยอมเซ็นเอกสาร ต่อมาก็มีเอกสารที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาพม่าเขียนว่า ลูกจ้างยินยอมจะปฏิบัติตามระเบียบของโรงงานทั้ง 15 ข้อ แต่ก็ไม่มีรายละเอียดของกฎระเบียบทั้ง 15 ข้อระบุมา ลูกจ้างก็เลยไม่เซ็นอีก สุดท้ายวันที่ 22 ช่วงเช้าเข้าไปทำงานได้ แต่ช่วงเย็นมีการติดประกาศว่าคนที่จะทำงานต่อต้องเซ็นเอกสาร หากไม่เซ็นพรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงาน พวกเราจึงไปติดต่อกังองค์กรที่เขาให้ความช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ ซึ่งเขาแนะนำให้ไปทำงานต่อ พอไปทำงานฝนก็ตก โรงงานก็ปิดไม่ให้เข้าทำงาน” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>มะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ได้รับแจ้งจากโรงงานว่า ใครที่ต้องการทำงานต้องเซ็นใบสมัครงานใหม่ ซึ่งครั้งนี้แรงงานในขบวนการต่อสู้บางคนก็ยอมเซ็นเอกสาร เพื่อให้ได้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง ส่วนคนที่ยืนยันไม่เซ็นเอกสารก็ต้องออกจากงานไป</p>
<p>“เราไม่ได้ขอนายจ้างเกินสิ่งที่ควรจะได้ เราควรได้รับตามค่าแรงตามปกติที่แรงงานควรได้ หากขอ 300 บาทไม่ได้จริงๆ เราก็ขอ 250 บาทก็ได้” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329314863_94abfd1752_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329432449_4e2e681c85_b.jpg" /></p>
<p>ความพยายามในการเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรมของมะมะเขิ่นจบลงที่เธอถูกไล่ออกจากงาน ที่สำคัญรายชื่อของแกนนำแรงงานในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังถูกนายจ้างนำไปขึ้นแบล็คลิสแจ้งต่อเจ้าของโรงงานคนอื่นไม่ให้รับแรงงานกลุ่มนี้เข้าทำงาน ทำให้มะมะเขิ่นยังตกงานอยู่จนทุกวันนี้</p>
<p>“เรื่องที่ผ่านมาพยายามลืม หากจะให้ตัดเย็บเสื้อผ้าหรือกางเกงก็สามารถเย็บขึ้นมาใหม่ได้ แต่ชีวิตเราเดินทางไปข้างหน้าไม่ได้แล้ว ไปสมัครงานเขาก็ไม่รับ เรายังมีครอบครัวที่ต้องดูแล เราเป็นแม่ มีลูกต้องเลี้ยง มีพ่อแม่ที่อายุมากต้องดูแล ในแต่ละวันเราจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร เกิดความกดดันเข้ามาที่ตัวเรา เราต้องพยายามอย่างมาก” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของมะมะเขิ่นยังไม่จบลง เธอและเพื่อนแรงงานข้ามชาติที่ถูกไล่ออกจากงานได้รวมตัวกันยื่นฟ้องบริษัทเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าต่อในต่างประเทศ โดยความช่วยเหลือขององค์กรด้านสิทธิในพื้นที่ ใน “ข้อหาปล่อยปละละเลยและได้รับประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม” จากการที่โรงงานที่ทางแบรนด์จ้างผลิตสินค้ามีการบังคับใช้แรงงานและจ้างค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม</p>
<p>“เราเป็นแรงงาน เราไม่รู้อะไรเลย เรารู้แค่ว่าเราผลิตเสื้อผ้า ผลิตให้กับใคร ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เสื้อผ้าในประเทศอังกฤษ เราจึงไปหาองค์กรที่ช่วยเหลือ เขาแนะนำวิธีการฟ้องร้องมา พวกเราจึงตัดสินใจร้องเรียนไปยังศาลอังกฤษ” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p>สุดท้าย เมื่อถามมะมะเขิ่นว่า ความเจ็บปวดของการเป็นแรงงานในโรงงานเย็บผ้าสำหรับตัวเธอคืออะไร มะมะเขิ่นกล่าว่า “ชีวิตแรงแรงงานที่เย็บผ้าเจ็บปวดอย่างมาก ในความเป็นจริงเสื้อผ้าที่ต่างชาติใส่เป็นเสื้อผ้าผืนเดียวกับผืนที่แลกมาด้วยน้ำเหงื่อและมีน้ำตาของแรงงานที่ต้องอดทน”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53328020487_ee237430ba_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">“ค่าตำรวจ” - “บัญชีไส้ไก่” ปัญหาคอร์รัปชันที่ซ่อนอยู่ในโรงงานเย็บผ้า</span></h2>
<p>จากการสัมภาษณ์มะมะเขิ่นทำให้ทราบว่ายังมีปัญหาคอร์รัปชั่นอีกปัญหาหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในการขูดรีดและบังคับใช้แรงงานในโรงงานเย็บผ้า มะมะเขิ่นอธิบายถึงรายละเอียดในเอกสารการจ่ายเงินเดือนแรงงานที่ทำงานในโรงงานเย็บผ้า ซึ่งมีช่องหนึ่งที่แรงงานแต่ละคนจะถูกหักเงินจากยอดเงินเดือนที่ต้องได้รับ 3 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน โดยในเอกสารเขียนว่า “ประกันสังคม” แต่ในความเป็นจริงแรงงานข้ามชาติในโรงงานเย็บผ้าแห่งนี้ไม่ได้ถูกนายจ้างนำชื่อเข้าระบบประกันสังคม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329314913_8d0e3fab75_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088836_a64604d2b4_b.jpg" /></p>
<p>มะมะเขิ่นเล่าว่าแรงงานข้ามชาติทุกคนในโรงงานต่างทราบดีว่า ยอดเงินที่ถูกหักทุกเดือนนี้ในนาม “ประกันสังคม” เป็น “ค่าตำรวจ” ที่นายจ้างแจ้งว่าหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่ตำรวจ โดยแรงงานเข้าใจคำว่า “ค่าตำรวจ” ตามที่ทางโรงงานแจ้งว่า  </p>
<p>“คนงานเคยรวมตัวกันไปถาม โดยทางผู้จัดการบอกว่าเป็นค่าตำรวจ เราเป็นคนอยู่ในชายแดน เอกสารมีแค่ Border Pass (ใบผ่านแดน) ก็ต้องจ่ายค่าตำรวจด้วย แต่เวลาที่ต้องไปต่อใบอนุญาตทำงานหรือตีวีซ่าขาเข้า ขาออก เราเป็นคนที่เสียเงินเอง ทางโรงงานก็เก็บเงินไปแต่ก็ไม่ได้เป็นคนออกให้” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>ทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามไปยังสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ (ไม่ประสงค์ออกนาม) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกรณี “ค่าตำรวจ” ว่า</p>
<p>“ค่าตำรวจเป็นคำพูดที่แปลมาจากแรงงานต่างด้าว ซึ่งเขาไม่เข้าใจคำว่า “ค่าคุ้มครอง” ก็คือ “ค่าตำรวจ” นั้นเอง ทุกคนที่เป็นแรงงานต่างด้าวรู้จักแต่ตำรวจ ทหารแต่งตัวยังไง เขาก็เรียกว่าตำรวจ ปกครองแต่งตัวยังไง เขาก็เรียกตำรวจ เพราะเขารู้จักแต่ตำรวจ แต่เขาไม่รู้จักทหารและปกครอง คำว่า “ค่าตำรวจ” ก็คือ ค่าคุ้มครอง ค่าดูแล ตามที่ผู้ต้องหาไปกล่าวอ้าง” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p>ในคดีนี้เจ้าของโรงงานมีความผิดแบ่งทั้งหมดเป็น 3 คดี คดีที่ 1 กับตัวโรงงานในฐานะนิติบุคคลในความผิดฐานเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คดีที่ 2 เป็นการดำเนินคดีกับตัวผู้จัดการโรงงานและพวกในความผิดฐานเอาไปเสียเอกสารของผู้อื่น ร่วมกันใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น และร่วมกันลักทรัพย์ สุดท้ายคดีที่ 3 ดำเนินคดีกับโรงงานในความผิดฐานเอาไปเสียเอกสารใบอนุญาตทำงานและเอกสารประจำตัวของลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ทั้ง 3 คดีพนักงานตรวจแรงงานพิจารณาเห็นควรสั่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการแล้ว และขณะนี้อัยการได้สั่งฟ้องทั้ง 3 คดีเป็นที่เรียบร้อย</p>
<p>เจ้าหน้าที่อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “ค่าตำรวจ” ว่า ผู้จัดการสาขาของโรงงานเย็บผ้าได้ทำการคอร์รัปชั่น และเปลี่ยนแปลงเอกสาร</p>
<p>“เขาเรียกว่า “บัญชีไส้ไก่” ทั้ง 3 คนให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าสมมติลูกจ้างทำงานได้วันละ 100 บาท ก็จะต้องถูกหัก โดยหักค่าคุ้มครองให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเอาไปจ่ายทหาร ปกครอง และตำรวจ ก็เป็นการแบบอ้างไปให้ลูกจ้างฟัง เพื่อให้ลูกจ้างกลัวห้ามออกนอกพื้นที่ ทำงานต้องอยู่ในโรงงาน โอทีก็ทำไป ก็เป็นการแอบอ้าง เมื่อเอาลูกจ้างมาสอบปากคำเคยเห็นหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจไปเรียกรับเงินไหม ลูกจ้างไม่มีใครยืนยัน และไม่มีใครเห็นตามคำกล่าวอ้างของผู้จัดการ…ต่อมาเราเลยมาสืบสวนสอบสวนเชิงลึก โดยเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และปกครอง แล้วพบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดเขาไปเกี่ยวข้องเรียกรับในการหาผลประโยชน์หรือเรียกค่าคุ้มครองตามที่ทางแรงงานพูดถึง โดยแรงงานเอาคำพูดมาจากผู้จัดการ เพื่อที่จะเอาเหตุนี้มาหักค่าแรงบัญชีไส้ไก่ โดย 100 บาท หนึ่งต้องมีการจ่ายค่าคุ้มครอง 3% หรือ 5% แล้วแต่ สองหักค่าที่พัก หักค่าทำงานไม่ตรงเป้า อันนี้ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ว่าเป็นการแอบอ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐจริง” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329550265_68d5bc2b00_b.jpg" /></p>
<p>เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า ผู้จัดการสาขาของโรงงานเย็บผ้ามีการหักเงินจากแรงงานโดยแอบอ้างว่าเป็น “ค่าตำรวจ” และทำ “บัญชีไส้ไก่” ขึ้นมาสอดแทรกเพื่อแจ้งแก่แรงงาน โดยผู้จัดการสาขาและพวกจะทำการยึดบัตร ATM ของแรงงานแต่ละคนไว้ และกดเงินที่จะหักจากแรงงานออกมาก่อนเมื่อถึงวันเงินเดือนออก</p>
<p>“โดยมีการแจ้งในบัญชีไส้ไก่ให้กับทางลูกจ้างได้ดูก่อน สมมุติทำงาน 100 บาท หักค่าตำรวจ หักค่าทำงานไม่ตรงเวลา ลาป่วย ก็จะถูกหักไป เหลือ 70 บาท ผมก็จะเอา 70 บาทมาให้คุณ แล้วผู้ต้องหาก็จะเอาส่วนเงินที่ได้จากการกดเองไป เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย แล้วก็เอาบัตร ATM ไปด้วย จึงมีความผิดใช้บัตรอิเล็คทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ แล้วก็เอาไปเสียเอกสารของผู้อื่นโดยมิชอบ” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p>ทั้งนี้ หลังจากที่ข่าวการบังคับใช้แรงงานในโรงงานเย็บผ้าได้ถูกสื่อต่างชาติเผยแพร่ออกไป พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ “บิ๊กโจ๊ก” ได้ลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ทางกองบัญชาการตำรวจภูธรมีการตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวนขึ้น “โดยนำตำรวจฝีมือดีที่สุดของภาค ซึ่งเป็นระดับผู้กำกับการลงมาทำการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามหลักกลไกการส่งต่อตามหลัก NRM : National Referral Mechanism การคัดแยกในเบื้องต้นไม่พบว่าเป็นผู้เสียหานจากการค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมไปถึงแรงงานบังคับตามมาตรา 6/1 หลังจากนั้นเราก็ทำเรื่องยุติไปในเบื้องต้น แต่ต่อมาทางกลุ่ม NGO ไม่เห็นด้วย จึงมาร้องขอความเป็นธรรมต่อท่านรองสุรเชษฐ์ใหม่ ก็เลยมีการคัดแยกใหม่ในรอบที่ 2”</p>
<p>ในการคัดแยกผู้เสียหายรอบที่ 2 มีการให้ NGO เข้าร่วมในการสัมภาษณ์แรงงานด้วย แม้จะได้ข้อมูลที่มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พบผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เช่นเดิม</p>
<p> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จะทำอย่างไรให้ “นักลงทุนข้ามชาติ” ไม่หลุดจากวงโคจร “ความรับผิด”</span></h2>
<p>“เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว มีคำพูดที่ว่า นักลงทุนเวลามาก็หิ้วกระเป๋ามาใบเดียว นั่นหมายถึงกระเป๋าเงิน เมื่อเข้ามาอยู่ในพื้นที่แล้ว อาจจะมีการต่อสู้โดยคนงานเรียกร้องสิทธิ มันไม่ไหวแล้ว นักลงทุนก็แค่หิ้วกระเป๋าซึ่งเต็มไปด้วยเงินเหมือนกัน กลับประเทศตัวเอง ปัจจุบันสถานการณ์แบบนี้ยังมีอยู่” สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329129026_f8e42c5fe7_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ จากมูลนิธิ MAP Foundation</span></p>
<p>เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าจากต่างชาติเป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ในการรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามาติที่เกิดขึ้นในโรงงานเย็บเสื้อผ้า สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ จากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติมาอย่างยาวนานอธิบายว่า</p>
<p>“ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในอุตสาหกรรมเย็บเสื้อผ้า ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับสิทธิเหมือนที่กฎหมายไทยกำหนด โดยเฉพาะตามพื้นที่ที่อยู่ตามชายแดนประเทศไทยเองยิ่งหนักสาหัส ค่าจ้างขั้นต่ำแทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับ ในขณะที่ใช้สิทธิอื่นๆ ก็เช่นกัน ไม่สามารถใช้สิทธิในวันหยุด เช่น ลากิจโดยได้รับค้าจ้าง อันนี้เป็นปัญหาที่เราเจออยู่ตลอดเวลา แรงงานข้ามชาติมีปัญหาการถูกละเมิดสิทธิ์อยู่ตลอด” สุชาติ กล่าว</p>

<p>แรงงานข้ามชาติในโรงงานงานเย็บผ้าจมอยู่กับสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมทั้งที่ทำงานให้กับแบรนด์เสื้อผ้าที่มีราคา สุชาติมองว่าปัจจัยที่ทำให้แรงงานถูกขูดรีดส่วนหนึ่งมาจากการที่แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ข้ามมาจากฝั่งพม่า ซึ่งมีสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับประเทศไทย และปัจจุบันยังมีปัญหาความไม่สงบภายในประเทศเพิ่มขึ้นมา</p>
<p>“สิ่งที่ทำให้คนงานจมอยู่กับการถูดกดขี่ ปัจจัยที่สำคัญเวลาที่เขาคิด เวลาที่เขาอดทน ไม่ใช่เป็นเรื่องของตัวเขาคนเดียว เวลาที่เขาทนคือเพื่อครอบครัวของเขา ถ้าเกิดเขาลุกขึ้นมาต่อสู้หรือเขาไม่ทน สิ่งที่เขาจะเจอคือถูกเลิกจ้าง หางานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ครอบครัวที่อยู่ประเทศต้นทางก็รอรายได้จากเขาเหมือนกัน สิ่งที่ทำให้คนงานคิดเยอะในกระบวนการเรียกร้องสิทธิของเขา คือเรื่องครอบครัว สภาพเศรษฐกิจครอบครัว ซึ่งคนอยู่เบื้องหลัง ไม่แค่คนสองคน บางครอบครัวมี 7-8 คน ที่รอความหวังจากเขา อันนี้เป็นส่วนที่ทำให้เขาต้องจมอยู่กับการถูกละเมิดสิทธิ นายจ้างเองก็อาศัยจังหวะตรงนี้ในการกด เขารู้อยู่แล้วว่าคนงานไม่มีทางไปไหน” สุชาติ กล่าว</p>

<p>ไม่เพียงเจ้าของโรงงานที่ได้ประโยชน์จากการขูดรีดแรงงาน เจ้าของแบรนด์ที่สั่งผลิตสินค้าจากทางโรงงานที่มีการขูดรีดแรงงานเองก็ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการสั่งสินค้านั้น ดังนั้น เพื่อไม่ให้เจ้าของแบรนด์ซึ่งเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศหลุดออกจากวงโคจรของความรับผิด สุชาติมีข้อเสนอว่า เจ้าของแบรนด์ต้องเข้ามาร่วมรับรู้สถานการณ์ปัญหาจากการผลิตสินค้าที่มีการละเมิดสิทธิอย่างตรงไปตรงมา “ไม่ใช่เมื่อรู้ว่าโรงงานละเมิดสิทธิ ก็ตัดออร์เดอร์ไปสั่งสินค้าที่อื่น”</p>
<p>“เป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะตั้งกองทุนขึ้นมา เป็นกองทุนที่เรียกเก็บจากนักลงทุนต่างชาติเลย ใครจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็เรียกเก็บเงินไว้ก่อน เงินจะเข้ากองทุนนี้ แล้วถ้าเกิดนักลงทุนคนนี้มีการละเมิดสิทธิและหลบหนีไป รัฐก็จะใช้เงินจากกองทุนนี้ไปจ่ายให้กับคนงานเป็นการชดเชยตามสิทธิที่เขาควรจะได้รับ เราเคยเสนอไว้นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาว่าจะเอาอย่างไรกับนักลงทุนเหล่านี้”</p>

<p>สุชาติระบุว่า ในต่างประเทศทางองค์กรรณรงค์สิทธิแรงงานระหว่างประเทศ Clean Clothes Campaign มีการทำแคมเปญ “Pay Your Workers” ที่ตัวแบรนด์ต้องจ่ายเงินเข้ามา ถ้าแบรนด์นี้มีการละเมิดสิทธิก็จะเอาเงินจากกองทุนนี้ที่แบรนด์เข้ามา ไปจ่ายให้แก่คนงาน สุชาติมองว่าเป็นแนวทางที่สามารถทำควบคู่ไปได้กับกองทุนเรียกเก็บเงินจากนักลงทุนที่เสนอให้มีการจัดตั้งในประเทศไทย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329387346_5bc097d893_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจาก เฟซบุ๊ก Clean Clothes Campaign</span></p>
<p>การคุ้มครองสิทธิแรงงานยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ภาครัฐและธุรกิจจะต้องคำนึงถึง เพื่อทำให้แนวคิดธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights) ขยับไปสู่การปฏิบัติจริง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในลงทุนในประเทศไทยใช้วิธีการเช่า</p>
<p>“นักลงทุนส่วนใหญ่เช่า มีน้อยมากที่จะซื้อเป็นของตัว หรือถ้าซื้อเป็นของตัวเองก็จะจ้างคนอื่นมาบริหาร ซึ่งทรัพย์สินจะไม่เป็นของนายจ้างโดยตรงที่จะสามารถที่ไปยืดได้ หากมีการฟ้องร้องกัน ที่เราเจอก็คือเตรียมความพร้อมมาหมดแล้ว ก่อนที่จะหนีไป มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ไปที่อื่น คนงานก็ไม่ตามยืดทรัพย์หรือเรียกร้องอะไรได้จากนักลงทุน ผมมองว่าตัวรัฐบาลไทยต้องเข้มงวดกับตัวนโยบายที่จะจัดการกับนักลงทุนต่างชาติ” สุชาติ กล่าว</p>
<p> </p>

<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ค่าตำรวhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106794
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 188 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 178 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 223 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 216 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ขูดรีดทุกฝีเข็ม : ต้นทุนที่มองไม่เห็น ภายใต้เสื้อผ้าแบรนด์ดัง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 99 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2566 03:06:47
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.846 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤษภาคม 2567 15:38:45