[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 กรกฎาคม 2568 05:24:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เบื้องหลังของเรื่องเล่า: พิพิธภัณฑ์ศึกษา มุมมองของคนศึกษาพิพิธภัณฑ์  (อ่าน 256 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2566 23:52:57 »

เบื้องหลังของเรื่องเล่า: พิพิธภัณฑ์ศึกษา มุมมองของคนศึกษาพิพิธภัณฑ์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-11-16 17:27</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วรกมล องค์วานิชย์ สัมภาษณ์</p>
<p>รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges ซีรีย์ ประวัติศาสตร์ จาก Louder</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หากมีใครกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการขึ้นมา อาจฟังเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคน รวมถึงผู้เขียนเองที่ “หลงมา”ทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ หลายครั้งที่เรามองว่าตนเองมีความรู้ไม่มากพอ เมื่อพยายามลองอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ “พิพิธภัณฑ์ศึกษา” ในบางครั้งก็รู้สึกตื่นเต้นปนหวาดหวั่นเมื่อเห็นคำศัพท์ใหม่ เช่นคำว่า Archiveที่ถูกอ้างอิงจากงานของ Jacques Derrida หรือคำว่า Discourse, Narrative และศัพท์แสงทางวิชาการใด ๆ ที่เขียนไว้ในหนังสือ</p>
<p>“สุดแดน วิสุทธิลักษณ์” อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นชื่อที่ผู้เขียนนึกถึงเมื่อคิดถึงเมื่อจะพูดถึงภาพรวมของการจัดการพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนทำงานภายใน  จากที่สุดแดนเองครั้งหนึ่งก็เคยเป็นไกด์นำผู้เขียนชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและเขาก็ยินดีตอบทุกคำถามที่เราสงสัย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53335389403_417599f6ae_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุดแดน วิสุทธิลักษณ์</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">เราเริ่มบทสนทนาด้วยการแนะนำตัวและเล่าเท้าความว่าทำไมเราถึงสนใจศึกษางานในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งน่าจะเป็นหัวข้อที่ทำให้คุยกันอย่างราบรื่น </span></h3>
<p>ผมก็ต้องบอกว่าเป็นคนที่สนใจพิพิธภัณฑ์ โดยหลักเป็นคนชอบดู ซึ่งไม่ได้เรียนอะไรเลยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ แต่ว่ามีความสนใจตั้งแต่ไหนแต่ไรมา อาจจะเป็นโอกาสพิเศษช่วงหนึ่ง คือช่วงที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส ก็เลยได้มีโอกาสดูพิพิธภัณฑ์เยอะมาก แล้วก็ดูได้หลากหลาย อยู่ได้หลายปีทำให้ดูได้มาก ที่สนใจโดยหลัก ๆ ก็จะเป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ แล้วก็พิพิธภัณฑ์ในทางมานุษยวิทยา ในปารีสเนี่ยก็มีเยอะ ก็จะมีพิพิธภัณฑ์เก่า ๆ ยุคแรก ๆ ยุคบุกเบิกในทางมานุษยวิทยา แล้วก็พิพิธภัณฑ์ใหม่ที่เปิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับมานุษยวิทยาเลย </p>
<p>ที่นั่นมีข้อถกเถียงเยอะเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ทางมานุษยวิทยา เมื่อได้เดินทางไปที่ไหนก็มักได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ ก็เลยทำให้สนใจพิพิธภัณฑ์เพราะความหลากหลาย เหมือนแต่ละที่มีประเด็นและสไตล์ของตัวเอง </p>
<p>หลังจากเรียนจบกลับมาจากมหาวิทยาลัยที่ฝรั่งเศส ก็มาสอนต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมีโอกาสเข้ามาทำงานที่พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติซึ่งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นผู้ดูแล เข้าไปช่วยบ้าง ไปดูนิทรรศการบ้าง เพราะสนใจพวกวัตถุที่สะสมไว้ จนท้ายที่สุดก็ได้ทำงานหลากหลายขึ้น งานล่าสุดเพิ่งจบไปก็คือเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ การทำงานในส่วนนี้ทำให้ได้ใช้ประสบการณ์จากสิ่งที่เราสนใจและเคยดู ได้หัดเอามาทำเองบ้างด้วย แล้วก็ได้จัดนิทรรศการเองด้วย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53335152666_dc0ba335ab_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ถ้าพูดถึงการดูแลเรื่องพิพิธภัณฑ์ มันก็จะมีพิพิธภัณฑ์ศึกษาที่เป็นวิชาเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยใช่ไหมคะ วิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษาเนี่ย มันคืออะไร เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างในมุมมองของอาจารย์? </span></h3>
<p>ที่สนใจแล้วมองว่าพิพิธภัณฑ์ศึกษามันน่าสนใจเนี่ย ที่คณะก็มีเปิดเนอะเป็นสาขาวิชา ว่าด้วยเรื่องมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ศึกษาด้วย ก็มีอาจารย์ซึ่งคณะเราก็มีเรียนจบมาโดยตรงมาหลายคนเลย จบมาโดยตรง เรียนโดยตรง จากมุมของผมเนี่ยเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ศึกษามันน่าสนใจในแง่ที่ว่าเราจะดูพิพิธภัณฑ์ในมุมมองอื่นยังไงได้บ้าง ไม่ใช่ในฐานะเป็นผู้ชมเฉย ๆ แต่อาจจะมองในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ด้วย เราก็อาจจะมองพิพิธภัณฑ์ในหลายแง่มุมได้ถ้าเราจะวิพากษ์วิจารณ</p>
<p>ในฐานะองค์กรของความรู้ พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันของความรู้ว่ามันสร้างความรู้ขึ้นมาได้ยังไงแล้วมันก็ส่งต่อความรู้ยังไง อาจจะมองมันแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์มันในแง่ของการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์เองว่าจัดแสดงอะไรบ้าง ผมก็เคยเขียนบทความไว้บทหนึ่งพูดถึงว่า ‘ได้จัดแสดงและซ่อนเร้นอะไรไว้บ้าง’ นี่ก็จะพูดถึงแง่มุมการจัดแสดงที่เราจะเห็นว่ามันมีความซับซ้อนอยู่เหมือนกัน ซึ่งในบทความ “พิพิธภัณฑ์การซ่อนเร้น” พูดถึงเรื่องเหตุการณ์ปฏิวัติในปี 2475 และการจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์พระนครเปลี่ยนไปอย่างไร อีกประเด็นที่พูดถึงก็คือ การเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑ์ที่ว่าด้วยความเป็นไทยนั้นเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ตั้งแต่แรก เช่น พูดถึงเรื่องความเป็นไทยในโอกาสครบรอบของรัชกาลที่ 5 อะไรอย่างนี้ เนื้อหาก็จะโยงเกี่ยวกับความเป็นกษัตริย์อยู่พอสมควร</p>
<p>อีกแง่หนึ่งคือเรื่องในของประวัติ เราก็สามารถมองมันได้ว่าพิพิธภัณฑ์นี้กำเนิดขึ้นมาได้ยังไง  แล้วก็ในกำเนิดนั้นอาจจะมองว่าเป็นสถาบันให้ความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นหรือว่าการเติบโตของมันเองก็กลายเป็นสถาบันที่ซึ่งอาจจะครอบงำ หรือว่าอาจจะให้ความรู้ที่อาจจะปรับเปลี่ยนทัศนคติคนหรือไม่ก็อาจจะทำหน้าที่เป็นประหนึ่งเหมือนผู้ปกครองใช่ไหม? ถ้ามองในแง่ว่าพิพิธภัณฑ์ในช่วงหลังอาณานิคม มันก็มีส่วนในการจัดการความร้ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ผมก็เลยเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ศึกษาก็คือเป็นการมองพิพิธภัณฑ์อย่างวิพากษ์วิจารณ์ จากเดิมที่เราเป็นคนชมเฉยๆ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">อีกคำถามหนึ่งที่นึกขึ้นได้ช่วงอาจารย์เล่าประเด็นมาก็คือ สถานการณ์ของพิพิธภัณฑ์หรือว่าประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ถึงปัจจุบัน มันมีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง การเล่าเรื่องของมันเปลี่ยนไปยังไงบ้าง?</span></h3>
<p>ถ้าให้ค่าน้ำหนักในแง่ของการปรับเปลี่ยน/เรื่องเล่าของพิพิธภัณฑ์ ถ้าเรามองจากกรณีของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผมก็เห็นแล้วมันก็เริ่มต้นมาได้น่าสนใจ ในแง่ที่ว่าแต่เดิมทีพิพิธภัณฑ์ของเราในยุคแรกเราอาจจะสนใจการเริ่มต้นกำเนิดของมัน อาจจะสนใจในแง่ที่ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์คล้าย ๆ แบบงาน Expo อ่ะครับ ที่สมัยก่อนเป็น International Expo ที่จัดขึ้นมา ก็จัดแสดงสินค้า วัตถุของแต่ละชาติที่ว่าโดดเด่นหรือว่ามีทรัพยากรอะไรบ้าง เราตอนแรกก็พยายามจะมองพิพิธภัณฑ์แบบนั้น </p>
<p>แต่ว่าตอนหลังเราก็เปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงว่าด้วยเรื่องโบราณคดี ก็เท่าว่าเราจะให้ความสำคัญกับความเป็นชาต ช่วงหนึ่งพิพิธภัณฑ์จะเป็นตัวบอกกว่าประวัติศาสตร์ของชาติมันคืออะไร แล้วก็มันดำเนินยังไงบ้างมาจนถึงปัจจุบันนะ</p>
<p>ก็ถ้าเราไปดูในประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องชาติในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ มันก็เล่าเรื่องในเชิงประวัติตั้งแต่สุโขทัย-ทราวดี สุโขทัย-อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ ก็เล่าตามรัชกาลไป </p>
<p>แต่ว่าในการจัดแสดงวัตถุสิ่งของก็มีหลากหลายไป ก็เป็นของมีค่าบ้าง ของเป็นงานศิลปะที่สวยงามบ้าง แต่ว่าอันหนึ่งที่มันเล่าแล้วก็แฝงอยู่ในนั้นก็คือ เล่าเรื่องเหมือนกับให้ความสำคัญกับผู้นำ กษัตริย์ อาจจะมีของมาจากราชวงศ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นเรื่องเล่าจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์แห่งชาติบวกกับกษัตริย์</p>
<p>ผมเคยเข้าไปดูอยู่ช่วงหนึ่งว่ามันก็มีบางช่วง พิพิธภัณฑ์ก็พยายามจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องวัตถุบางอย่างของงานในช่วง 2475 เหมือนกัน เช่น สูทจอมพลป. พิบูลสงครามที่ถูกยิงมีเลือดติดอยู่ หรือไม่ก็ตราอะไรบางอย่างสื่อว่าของที่ใช้ใน 2475 อันนี้ดูจากตัวแคตตาล็อกของเขา แต่พอเป็นความหลังเราก็เขียนว่ามีการเปลี่ยนไป เรื่องพวกนี้ก็ถูกลบหายไป ไม่ได้จัดแสดงหรือจัดไว้บางส่วน บางอันไม่ได้จัดแสดงแล้ว </p>
<p>ก็แสดงให้ว่าในการจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ในแต่ละช่วงยุค มันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป มีพยายามจัดเรื่องบางเรื่องเหมือนกัน แต่พอหลัง ๆ ล่าสุดเราก็จะเห็นว่าพิพิธภัณฑ์เองก็ให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนมากขึ้น จะเห็นว่ามีห้องต่าง ๆ ซึ่งจัดให้ร่วมสมัยเยอะมากในพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง แล้วก็เราอาจจะเห็นเรื่องเล่าซึ่งเน้นย้ำไปที่ตัววัตถุหรือว่าเรื่องราววัตถุมากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุมากขึ้น อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์ก็ได้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ถ้านึกภาพตาม สิ่งจัดแสดงหลักในพิพิธภัณฑ์ส่วนมากเป็นพวกวัตถุใช่ไหมคะ แล้วพิพิธภัณฑ์สามารถจัดแสดงอย่างอื่นนอกจากวัตถุได้ไหม?</span></h3>
<p>ก็ได้ จริง ๆ นี่เป็นประเด็นที่เคยถกเถียงกันเยอะเหมือนกัน เมื่อก่อนเราก็มองว่าพิพิธภัณฑ์ต้องมีวัตถุเป็นหลัก Object-base Museum นี่ก็จะเป็นรูปแบบทั่ว ๆ ไปเลยที่ในทุกมิวเซียมต้องมีคอลเลคชั่นเป็นของตัวเอง แต่พอหลัง ๆ ก็มีความคิดเหมือนกันว่า เราจะจัดโดยที่ไม่มีวัตถุแสดงได้ไหม มันจะมีเรื่องราวอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสอีกไหม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53335611915_862985f1d3_b.jpg" /></p>
<p>ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน อย่างเช่น ในบางพิพิธภัณฑ์ที่ปารีสแต่เดิมจัดแสดงวัตถุในทางชาติพันธุ์ ช่วงหลังอาณานิคม แต่ตอนหลังเขาก็เปลี่ยนในมิวเซียมใหม่ ก็เป็นมิวเซียมที่ว่าด้วยเรื่องการอพยพโยกย้ายคนพลัดถิ่น เน้นย้ำคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในฝรั่งเศสว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง แล้วก็พูดถึงแง่มุมร่วมสมัย เขาก็จัดนิทรรศการใหม่ว่าด้วยเรื่องการโยกย้ายหรือแสดงให้เห็นว่าการที่คุณเข้ามาในปารีส ก็ไม่มีวัตถุอะไรที่ล้ำค่า ก็จะมีแต่ภาพถ่ายคนที่เข้ามา อาจจะมีพาสปอร์ตเก่า รถที่แสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนย้ายในแบบสิ่งของ หรือไม่ก็ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น พวกตะกร้า กระบุง </p>
<p>ซึ่งก็เห็นได้ว่าพิพิธภัณฑ์ก็เริ่มให้ความสนใจกับวัตถุอื่น ๆ ในนิทรรศการอาจเป็นวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ ไปจนถึงนิทรรศการที่ไม่เน้นวัตถุแล้ว เพราะฉะนั้นพิพิธภัณฑ์อาจจะเล่าเรื่องโดยไม่ใช้วัตถุเลย หรือใช้ให้น้อยที่สุดก็ได้เหมือนกัน แต่เน้นไปที่เรื่องเล่า เข้าไปก็มีแต่ภาพคน มีเสียงเล่า ให้ผู้ชมเข้าใจไปกับการพูดถึงเรื่องเล่าซะมากกว่า การจัดนิทรรศการแบบนี้ก็สามารถทำได้เหมือนกัน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53335389423_a529b10b91_b.jpg" /></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ในช่วงหลังพิพิธภัณฑ์ในไทยหลายแห่งเน้นจัดแสดงภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือจัดแสดงวัตถุร่วมสมัยพร้อมเรื่องเล่า อาจารย์คิดว่าเสียงและเรื่องเล่าสามารถสร้างมุมมองที่ต่างจากตัววัตถุเพียงอย่างเดียวได้อย่างไรบ้าง?</span></h3>
<p>ถ้านึกถึงพิพิธภัณฑ์ของรัฐก็จะเป็นการจัดแสดงวัตถุ ซึ่งอาจจะมีคุณค่าและมีประวัติสำคัญสืบทอดมา ก็จะเป็นเรื่องเล่าในแง่ของความยั่งยืน มองถึงความเก่าแก่ มองถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มองถึงเรื่องที่มันมีคุณค่าบางอย่าง </p>
<p>แต่ว่าในพิพิธภัณฑ์หลังๆ อย่างเช่นที่คุณยกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพิพิธภัณฑ์สามัญชน หรือว่าเรื่องของ 6 ตุลา ก็เป็นอีกแบบหนึ่งในแง่ของวัตถุที่เราได้มาพร้อมเหตุการณ์หรือว่าเป็นเรื่องราวเหตุการณ์รุนแรง มันจะแตกต่างจากเรื่องเล่าการเก็บวัตถุแบบเดิมที่เป็นของเก่าแก่มีคุณค่า แต่ที่เราได้มาหลังๆ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนตาย ว่าด้วยเรื่องของการต่อต้าน ว่าด้วยเรื่องสมุดบันทึกของคนซึ่งทุกข์ยาก</p>
<p>เพราะฉะนั้นในแง่ของคุณค่าจะไม่เหมือนกันแล้ว ของที่พวกเราจัดแสดงจะดูเหมือนของที่มีมลทินเป็นของที่ดูโสมม มีเลือด เป็นเศษกระดาษ ดูน่ากลัว ซึ่งจะต่างกันของเครื่องประดับประดาหรือของหรูหราที่เคยมีอยู่ ซึ่งนั่นเป็นของสองอย่างที่ให้มุมมองไม่เหมือนกันอยู่แล้ว อันนี้ที่มาของมันอาจจะเทียบกันยากนิดนึง</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">จากคำถามข้างต้น เขาจะเรียกชื่อแนว ๆ  ‘memorial museum’ หรือเปล่า?</span></h3>
<p>ครับ ก็อาจจะเกี่ยวกับเรื่องเล่า และวัตถุซึ่งได้จากเหตุการณ์หนึ่ง อาจจะนำไปสู่เรื่องเล่าอื่น ๆ เยอะแยะ อย่างเช่น 6 ตุลา ผมก็โยงตั้งแต่การเล่าเรื่องประวัติของอำนาจหรือว่าการปกครอง ย้อนกลับไปตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ แต่เดิมวัตถุอื่น ๆ ในทางของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัตถุมันดูทรงคุณค่า ทุกคนก็ยอมรับแล้วอะไรอย่างนี้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">เคยอ่านเจอว่าพิพิธภัณฑ์จะพยายามเล่าเรื่องให้เชื่อมโยงกับความทรงจำร่วมของคน อยากให้อาจารย์อธิบายว่า ความทรงจำของคนมันสำคัญอย่างไร พิพิธภัณฑ์มันเชื่อมโยงกับความทรงจำของคนได้อย่างไรบ้างคะ?</span></h3>
<p>หมายถึงว่าแม้แต่จะเป็นความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐหรือชาติ ที่ดูไม่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตประชาชน มันเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมของผู้ชมด้วยไหม?</p>
<h3><span style="color:#2980b9;"> ใช่ ๆ ความทรงจำมันสำคัญยังไงเขาถึงใช้มันมาเล่าเรื่องคะ?</span></h3>
<p>ถ้าเป็นของชาติมีความจำเป็นต้องทำให้ผู้ชมได้เห็นถึงเรื่องเล่าของรัฐ ที่มีความเป็นมาอันเก่าแก่อย่างไรบ้าง จนถึงปัจจุบันมันส่งต่อถึงเราได้อย่างไรบ้าง เป็นเรื่องเล่าของรัฐและความทรงจำแบบหนึ่ง ความทรงจำในบางเรื่องก็เป็นความทรงจำซึ่งรัฐเองก็ไม่อยากให้มีการพูดถึงเพราะว่ามันอธิบายยากหรือไม่ก็ทำให้เห็นว่ามันก็มีความบกพร่องในบางเรื่องของผู้ปกครองในบางยุค สมัย หรือไม่โยงเรื่องของโครงสร้างอำนาจ ก็เรื่องใหญ่โตมาก</p>
<p>เพราะฉะนั้นในแง่หนึ่งความทรงจำทุกเรื่องก็ถูกคัดสรรมาอยู่แล้ว ในพิพิธภัณฑ์ก็ไม่ได้เอามาทุกเรื่อง การที่เลือกความทรงจำอะไรมาก็ขึ้นอยู่กับพิพิธภัณฑ์หรือว่าเป้าหมายของมันเป็นยังไงบ้าง แต่ในระยะหลัง ๆ เราอาจจะพูดถึงเรื่องความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรง ก็เป็นเรื่องที่คนพยายามจะยกมันขึ้นมาไว้เหมือนกัน อยากจะจำหรือว่าแสดงให้เห็นว่ามันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งหลัง ๆ หลายกลุ่มหลายฝ่ายอยากแสดงให้เห็นถึงเหมือนกันว่า มันมีความทรงจำอื่น ๆ อีกนะที่รัฐไม่ได้พูดถึง หรือพูดแบบหลบ ๆ เลี่ยง ๆ ไป ก็เลยพยายามยกความทรงจำนี้ขึ้นมา อันนี้มันก็เป็นปัญหาทั่ว ๆ ไป ว่าแต่ละรัฐจัดการกับความทรงจำที่อาจจะดูรุนแรงในแต่ละยุคสมัยอย่างไรบ้าง บางอย่างอาจจะไม่ต้องการให้นึกถึง หรือว่าถ้าจะมีก็ต้องผ่านการกลั่นกรองจากรัฐ อันนี้ก็มีความขัดแย้งกันอยู่เรื่อย</p>
<p>แต่ว่าในโลกสมัยใหม่ บางทีการควบคุมโดยรัฐไม่สามารถทำด้วยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็ทำให้ความทรงจำที่คนอยากจะจำแล้วก็อยากจะพูดถึงมันผลุดโผล่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดายขึ้นมาหน่อยครับ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วทีนี้พอเป็นเรื่องความรุนแรง มันก็มีคำถามว่า ‘แล้วคุณจะเก็บมันไว้ทำไม ทำไมถึงจำเป็นต้องสื่อสารในสิ่งที่รุนแรง’ อาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไร?</span></h3>
<p>อันที่หนึ่ง สำหรับรัฐเองก็อาจจะมองเห็นว่า เราพูดถึงเรื่องความรุนแรงก็อาจนำไปสู่ความแตกแยก เป็นสิ่งที่เขาพูดกันใช่ไหม เหมือนเราไม่อยากให้พูดถึง ให้มันลืมไป มันจะได้เริ่มต้นกันใหม่อะไรอย่างนี้ สำหรับรัฐบางส่วนก็จะคิดแบบนั้น แต่ว่าในบางส่วนเราก็จำเป็นต้องนึกถึง ‘คน’ ซึ่งเขาอาจจะมีประสบการณ์ทั้งในบรรพบุรุษของเขาหรือเขาอาจจะร่วมสมัย เขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล่า เพราะมันยังไม่ได้มีความยุติธรรมสำหรับเรื่องเล่าของเขาที่อยากจะสื่อไปถึงคนอื่นยังไม่ถูกทำให้มากพอ เขาก็ต้องการที่จะอยากเล่ามันขึ้นมาครับก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรื่องเล่าหรือความรุนแรงปรากฎมากขึ้น</p>
<p>แต่ในอีกด้านหนึ่งคนก็มองว่าบางทีความรุนแรงก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะถูกพูดออกไปก็จะทำให้คนอาจจะมีสำนึก หรือไม่ก็รู้สึกว่าความรุนแรงมันเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ นะ เราน่าจะหลีกเลี่ยงมันได้โดยเห็นภาพความรุนแรงนั้น ๆ อย่างเช่นกรณี ฮิโรชิม่า หรือไม่ก็ 9/11 คนก็อาจมองว่ามันก็เป็นความรุนแรงนะ </p>
<p>แต่ความรุนแรงนี้รัฐแล้วก็โลกอาจจะเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งความรุนแรงมีได้ไหม ตอบมาว่ามีได้ แต่คำตอบว่ามีได้อาจจะต่างกันไปว่ามีได้อย่างไร เราจะนำเสนออย่างไร เราจะนำเสนอแบบหลบ ๆ เลี่ยง ๆ หรือคัดกรองมัน หรือจะพูดตรงไปตรงมา หรือพูดด้วยมุมมองของใคร </p>
<p>อันนี้ก็มีปัญหาอีกหลายมุมมากซึ่งก็มีเถียงกันตลอดเวลา เช่น 9/11 คนมองว่าจะเอายังไง จะพูดมันว่าอะไร จะสร้างมันขึ้นมาอย่างไรก็เป็นข้อถกเถียงกัน จะเป็นรูปแบบไหน หรือว่าจะเป็นสร้างเพื่อให้เห็นถึงความเป็นอเมริกัน ความเป็นยิว หรืออิสลามไหม เพราะคนตายอาจจะมีมากมาย </p>
<p>การทำขึ้นมารูปแบบหนึ่งก็จะทำให้มีข้อขัดแย้งว่ามันไม่ได้ผนวกรวมคนอื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน คนใช้ก็เลยสรุปไปว่าไม่สร้างอะไร ทำให้เหมือนความว่างเปล่า หรืออะไรที่ทำให้เห็นว่ามันเป็น memorial เป็นพื้นที่ว่าง แต่ละคนสามารถให้ความหมายกับมันได้ ก็เป็นทางออกทางหนึ่ง</p>
<p>อีกอันหนึ่งก็คือว่า อย่างกรณีของฮิโรชิม่า อันนี้คนก็เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเรื่องร้ายกาจรุนแรง เหมือนมีข้อถกเถียงอยู่ว่า เวลาที่เราทำเรื่องเล่าขึ้นมา มันจะยากที่จะเล่าว่าในท้ายสุดเหมือนจะนำไปสู่ใครเป็นผู้ร้าย แล้วใครเป็นเหยื่อ อันนี้ก็เป็นข้อถกเถียงกันไปว่าจะจัดการยังไงดี หรือว่าถ้าเราไปดูที่ญี่ปุ่นเองก็จะเห็นว่าเขาพยายามเล่าในฐานะเป็นเหยื่อ หรือในกรณีของอเมริกาเองก็เข้าใจข้อถกเถียงเหมือนกันว่าที่จัดแสดงระเบิดหรือเครื่องบินตอนที่ทิ้งระเบิดควรจะแสดงหรือไม่? ก็เถียงกันว่าไม่ควรแสดงไหม แม้แต่ในฐานะผู้ทำเองก็อยากจะเล่าเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าอเมริกาเป็นผู้ร้ายเลยไม่เล่า หรือไม่เอาของเหล่านี้มาแสดง แต่ของเหล่านี้สร้างความสะเทือนใจไหม หรือว่าทำให้คนญี่ปุ่นที่มาดูจะรู้สึกอย่างไร อันนี้ก็เป็นข้อถกเถียงอย่างหนึ่งที่ซับซ้อน</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">มันจะมีคำถามตามที่ลิสต์มาว่า ‘ในมุมของผู้จัดนิทรรศการทางด้านความรุนแรง มันจะมีวิธีไหนไหมที่เสนอเหตุการณ์ที่ไม่น่าจดจำ แต่ว่าปรับรายละเอียดให้ไม่รุนแรงจนเกินไป เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้หลากหลายขึ้น’</span></h3>
<p>อันนี้ก็เป็นเรื่องยากเหมือนกัน เพราะว่าหนึ่งก็คือ ความรุนแรง ขึ้นอยู่กับผู้ชมเหมือนกันว่ามันจะกระทบต่อผู้คน คนแต่ละคนก็อาจจะรับความรุนแรง ได้ไม่เท่ากัน อีกอันก็คือเรื่องเล่าในแง่ของว่าเราจะเล่าจากในมุมมองอะไร ผมก็คิดว่าเป็นปัญหาอีกอันหนึ่งที่ต้องถกเถียงกันเรื่องข้อควรคำนึงถึงในการจัดแสดงหรือเรื่องเหล่านี้ หนึ่งคือ เราเลือกเล่ามุมมองอะไร แล้วกล่าวให้ชัดเจนไปเลยว่ามีมุมแบบนี้ เล่าด้วยระมัดระวัง ให้ผู้ชมรู้แต่แรกว่าเล่าด้วยมุมมองนี้ อาจจะช่วยทำให้ได้เห็นว่าเราพยายามทำให้ไม่ได้เป็นการเหมารวมว่านี่คือเรื่องเล่าที่ถูกต้องเพียงเรื่องเดียว นี่คือสิ่งที่ผู้จัดนิทรรศการสามารถทำได้</p>
<p>อันที่สองคิดว่าเราอาจจะต้องคิดเรื่องของข้อกำหนดว่าในแต่ละห้อง ในแต่ละพื้นที่อาจจะมีการเข้าถึงซึ่งแตกต่างกัน ถ้าเป็นเด็กสามารถเข้าได้มากน้อยขนาดไหน หรือว่าถ้าเข้าไปต้องมีคนนำชม ในการทำเรื่องเหล่านี้สมัยใหม่ก็อาจจะจำแนกแยกแยะมากขึ้น ว่าอาจจะไม่ใช่คนเข้าดูได้หมดทุกคน อาจต้องมีการกะเกณฑ์อะไรบางส่วน ที่ทำให้คนเข้าใจว่าห้องนี้รุนแรงนะ คุณต้องแยกแยะให้เห็นได้ชัด ก็จะทำให้มันดีขึ้น</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ถ้าอย่างนั้น ช่วยยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอออกมาได้ดี หรือว่ามีการจัดระบบได้ดีในความคิดของอาจารย์ได้ไหม? </span></h3>
<p>จริง ๆ ก็ นึกถึงกรณีของพวก ‘แขวน’ หรือไม่ก็อย่าง ‘6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ’ ผมก็คิดว่ามันน่าสนใจ เพราะว่าในแง่ของการนำเสนอก็นำเสนอในสิ่งซึ่งท้าทายอยู่พอสมควร สิ่งที่ผ่านมาเวลาพูดถึง 6 ตุลา ก็จะมีเรื่องศพเรื่องอะไรอยู่แล้ว แต่นี่ก็ทำให้มันเป็นสิ่งที่มันชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่นกรณีที่ ‘แขวน’ ในแง่การนำเสนอก็น่าสนใจ ชี้ให้คนเห็นว่าที่ตรงนั้นตรงนี้จริง ๆ แล้วมันมีคนตาย มันทำให้เห็นชัดเจน แต่เดิมเราอยู่พื้นที่บางพื้นที่ก็เล่าทุกอย่างหมดไป แต่นี่ถูกคิดไปว่าตัวเรื่องกับพื้นที่มันเชื่อมโยงกัน ยิ่งไปกว่านั้นก็มีเทคโนโลยีทำให้เห็นภาพศพที่แขวนอยู่อะไรด้วยก็ดูน่าสนใจ </p>
<p>แต่ว่าขณะเดียวกันจะเป็นเรื่องของความรุนแรง ในแง่หนึ่งก็ทำให้เห็นภาพศพ แล้วก็ทำให้เห็นว่ามันซ้ำ ๆ กันได้อีกใช่ไหมครับ ก็เป็นเรื่องอันหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ก็โอเค อาจมีข้อถกเถียงเยอะว่าเป็นเรื่องความรุนแรงเกินไปไหม ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องข้อดีและข้อที่ควรคำนึงถึง</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศก็ได้ เคยเห็นมาว่ามีนิทรรศการแนวนี้เยอะเลย?</span></h3>
<p>อย่างบางที่ค่อนข้างชัดเจนไปเลยว่าจะพูดถึงเรื่องการเป็นเหยื่อ กรณีที่ทิเบตมิวเซียม ที่อินเดีย ที่ธรรมศาลาของดาไลลามะ  แน่นอนว่าธรรมศาลาที่อินเดียก็เป็นแหล่งสำคัญที่จะเป็นตัวโฆษณาเลยว่า ทิเบตจะถูกบุกรุกยังไงบ้าง เขาก็ตั้งมิวเซียมนี้ขึ้นมา แต่มิวเซียมนี้ก็ชัดเจนเลยว่า เขาพูดในฐานะเป็น ‘เหยื่อ’ เห็นภาพความตาย เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่จีนบุก มีภาพคนตายที่ชัด ๆ เลยครับ นี่ก็เป็นความรุนแรงที่ชัดเจนเลย คนเข้าไปดูก็จะได้สัมภาษณ์คนถูกทำร้ายหรือเหยื่อจากเหตุการณ์</p>
<p>มีประเด็นหนึ่งที่สนใจ เขาพูดถึงเรื่องซึ่งถูกตั้งคำถามอยู่เสนอว่า คนทิเบตบอกว่าเป็นพุทธ แต่ว่าทำไมคนทิเบตจึงเผาตัวตายเพื่อประท้วงกับจีน? </p>
<p>พาร์ทหนึ่งในมิวเซียมเองก็อธิบายว่าการเผาตัวตายของทุกคนมันมีความหมายอย่างไรบ้าง มันเป็นการต่อสู้เชิงสันติหรือว่ารุนแรง นี่ก็เป็นการเล่าอธิบายมันอย่างซับซ้อน นี่ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นหนึ่งเป็นการพูดถึงความรุนแรงซึ่งตรงไปตรงมามาก </p>
<p>เขาก็มีการคำนึงถึงด้วยเหมือนกันว่า ถ้างั้นเขาจะตอบปัญหาถึงเรื่องการนำเสนอความรุนแรงนี้ได้อย่างไรบ้าง ปัญหาที่เขาเผชิญก็คือว่า การที่ทิเบตต้องเป็นทุกข์เนี่ย ใช้การเผาตัวตายเพื่อที่จะประท้วงการครอบครองหรือการยึดครองของจีน เขาทำไปด้วยฐานความคิดอะไร เขาก็จะโยงไปตั้งแต่เรื่องของการเผาตัวตายของพระเวียดนามสมัยสงครามเวียดนาม นี่ก็เป็นการพูดถึงพิพิธภัณฑ์เรื่องรุนแรงที่ชัดเจน</p>
<p>ส่วนอีกอันหนึ่งผมคิดว่า อันนี้ไม่เคยไปดู ผมคิดว่าอันนี้มันก็เป็นการพูดถึงความรุนแรงแต่ว่ามีเทคนิคน่าสนใจก็คือ พิพิธภัณฑ์ที่ชื่อว่าบุญราศี มรณสักขี ที่มุกดาหาร แต่ว่ามันเป็นการพูดถึงคนที่ถูกฆ่าตาย คนที่นับถือคริสต์ศาสนาที่ถูกฆ่าตายโดยคนอีสานที่อยู่ที่มุกดาหาร จริง ๆ เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2คนที่นั่นถูกรัฐไทยฆ่า เพราะเหมือนกับว่ารัฐก็บอกว่าข้ามมานับถือศาสนาอื่น ช่วงนั้นอาจเป็นเรื่องคอมมิวนิตส์ด้วยอะไรด้วยปน ๆ กัน เรื่องแบ่งแยกดินแดนอะไรอย่างนี้ ที่น่าสนใจก็คือว่าก็มีคน 7 คน ถูกฆ่าตาย อันนี้คือเรื่องเล่าจากทางโบสถ์เลย แล้วเขาสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาชื่อว่า มรณสักขี บุญราศี ที่มุกดาหาร เห็นบอกว่าการออกแบบเหมือนได้รับรางวัลทางสถาปัตยกรรม แล้วเขาก็มีภาพ มีรูปขี้ผึ้งของคนตายของ 7 คน วางเรียงอยู่ แต่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือว่า มันเป็นการทำถึงเรื่องความรุนแรงแบบหนึ่ง แต่อันนี้มาในนามของศาสนา แล้วผมก็คิดว่าทางฝั่งศาสนาเองก็คิดอยู่เยอะเหมือนกันว่าจะนำเสนอมันได้อย่างไร อันนี้ก็ถือว่าถ้าเราไปเรียนรู้เขาเนี่ย ก็จะไปดูให้เห็นเป็นกรณีศึกษาว่าเขาต้องใช้ทริคอย่างซับซ้อนมาก ในการพูดถึงเรื่องคนตาย เกี่ยวพันกับความเป็นรัฐ เกี่ยวพันกับศาสนา </p>
<p>ความน่าสนใจคือเขาก็สามารถนำเสนอในฐานะที่เป็นแหล่งแสวงบุญไปแล้วตอนนี้ แล้วก็เป็นคนคาทอลิกเองก็เข้าไปเยี่ยมเยียนอยู่เนือง ๆ ผมคิดว่าอันนี้ถ้าเอาไปเทียบกันกับทิเบตมิวเซียมก็คล้าย ๆ กัน หนึ่งเขาเล่าด้วยมุมมองอะไร เขาใช้วิธีการอย่างไรบ้างในการที่จะพูดถึงเรื่องเล่าของเขาเองให้ไปสู่โลกภายนอกได้ แล้วผมคิดว่าทำออกมาได้น่าสนใจ </p>
<p>ในขณะที่ 6 ตุลา เราเองก็พยายามทำเรื่องเล่าอย่างนั้นอยู่ แต่เราก็เห็นว่าเราก็อาจมีปัญหาชัดเจนในแง่ของรัฐพยายามจัดการ และรัฐไม่ค่อยจะพึงพอใจนักที่จะนำมันออกมาสู่สาธารณะ ในขณะเดียวกัน มรณสักขีที่มุกดาหาร ยังสามารถเสนอออกมาได้ อันนี้ก็ทำให้เห็นว่าอาจจะเป็นแต่ละยุคสมัยที่รัฐเองถือเอาว่าอะไรเป็นเรื่องเซนซิทีฟมากกว่ากัน</p>
<p>มีประเด็นที่น่าจะเชื่อมโยงได้ก็คือ ประวัติศาสตร์ไทยที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ภาครัฐทำให้เรารู้สึกว่าประเทศไทยถูกแยกขาดออกมาเป็นประวัติศาสตร์ก้อนเดียว ไม่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โลก แต่ไปเชื่อมโยงกับเรื่องเล่าแนว ๆ ชาตินิยม ทำให้สงสัยว่ารัฐถึงพยายามสร้างเรื่องราวแบบนี้  และส่งผลอย่างไรต่อผู้ชมได้บ้าง?</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53335611930_26752811b8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุดแดนขณะนำชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ</span></p>
<p>เป็นกรณีที่ค่อนข้างแปลกใจ เวลารัฐเล่าเรื่องก็ต้องเป็นแบบนี้อยู่แล้วเนอะ ในการสร้างก็สร้างจากมุมมองของเขาแหละ แต่ผมคิดว่ากรณีช่องเขาขาดก็น่าสนใจ ช่องเขาขาดก็ชี้ให้เห็นได้ว่ารัฐเองก็อาจจะไม่ได้มีการควบคุมเนื้อหาทั้งหมด เนื่องจากว่าเป็นงบประมาณซึ่งให้โดยรัฐออสเตรเลีย เรื่องเล่าอาจไม่ได้เป็นของรัฐโดยทั่ว ๆ ไปนะ ผมคิดว่ามันดูซับซ้อนกว่า ดูสวยงามกว่า ดูน่าชมกว่า แล้วมันก็มีสุนทรียะมากกว่าในการที่จะเล่าเรื่อง</p>
<p>นี่คิดว่าก็ส่วนหนึ่งอาจจะดีในแง่ที่ว่า พอเล่าเรื่องเดียวกันถ้าเล่าโดยรัฐไทยก็อาจจะอีกแบบหนึ่งพอมันมีคนอื่นเข้ามา แล้วก็มีส่วนร่วมในการสร้างเรื่องเล่าด้วยเนี่ย ผมคิดว่ามันน่าสนใจกว่า แล้วมันก็ทำให้เรื่องเล่านั้นมันดูน่าประทับใจมากกว่าด้วยซ้ำไป ในขณะที่สิ่งที่รัฐไทยเล่าเองหรือทหารไทยเล่าเองเนี่ยมันดูน่าเบื่อ </p>
<p>ผมคิดว่ามันไม่น่าแปลกอะไรที่รัฐไทยทำแบบนั้น แต่อาจจะโชคดีที่เวลารัฐไทยเล่าพอมันถึงยุคๆ หนึ่งก็คือไม่มีใครฟังไปอีกแล้ว แต่ในเวลาเรื่องเดียวกัน อย่างสงครามโลกก็เหมือนกัน ถ้าไปดูผ่านทางช่องเขาขาด คนก็จะยังรับเรื่องที่เขาสื่อสารได้มากกว่า ซึ่งในนั้นตัวละครอาจจะไม่ได้มีเเค่ทหารไทย แต่มันใหญ่กว่าเรื่องทหารไทย ความขัดแย้งของโลก มันเป็นชะตากรรมของคน ซึ่งทหารไม่ใช่แค่ทหารไทยแต่ว่าเป็นทหารอื่น ๆ ที่ต้องเผชิญในแบบเดียวกัน ผมคิดว่าเรื่องเล่ามันมีพลังมากกว่า</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">พอพูดถึงเรื่องนี้ก็มีประเด็นเพิ่มเติมอีกคือ ในพิพิธภัณฑ์หรือว่างานนิทรรศการอะไรที่มันมีการจัดแสง เสียง หรือภาพแบบ Emotional มันจะค่อนข้างส่งผลต่อคนมากกว่าไหม อย่างเช่นในเรื่องรัฐไทยที่เล่าไม่ส่งผลต่อความรู้สึกและภาพจำของผู้ชมกลุ่มหนึ่ง แต่ว่าในเรื่องช่องเขาขาดหรือว่าเรื่อง 6 ตุลา เขาเล่าออกมาให้มันสะเทือนใจจนคนหลายกลุ่มที่เพิ่งรับรู้เรื่องราวยังมีความรู้สึกร่วม แบบนี้คือวิธีการจัดการสถานที่มันส่งผลอย่างไรบ้าง</span></h3>
<p>ผมคิดว่าเรื่องอารมณ์เป็นเรื่องที่ถูกใช้เพิ่มมากขึ้นในพิพิธภัณฑ์ บางทีมันก็อาจจะเป็นการนำเสนอใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เเต่เดิมอาจจะมีเเต่ตัววัตถุเเล้วก็จัดเเสดงตัวการอ่าน เเต่วิธีหลัง ๆ การนำเสนอมันก็อาจจะมีอะไรเพิ่มมากขึ้นเเล้ว อย่างเช่น อาจจะมีเรื่องเล่า มีเสียงคน มีภาพ เเล้วเราก็สนใจวัตถุที่มันใกล้ชิดกับผู้คนมากขึ้น เช่น พาสปอร์ต พูดถึงเสื้อผ้า ผมก็คิดว่ามันก็จะทำให้เรื่องเล่าเปี่ยมได้ด้วยอารมณ์มากขึ้น พอมันเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ก็กระทบกับใจคนได้ง่ายขึ้น</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ขอเข้าเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้เเล้ว มันจะมีคำหนึ่งที่ได้ยินมาค่ะ คือ ‘พิพิธภัณฑ์นิเวศ’ ขอให้อธิบายคร่าว ๆ ได้ไหมคะว่ามันคือการศึกษาอะไร เเล้วสำคัญกับในเรื่องการเผยเเพร่ข้อมูล หรือว่าจัดการพิพิธภัณฑ์ของชุมชุน หรือว่าคนชายขอบอย่างไรบ้าง</span></h3>
<p>พอได้ยินพิพิธภัณฑ์นิเวศ ลองไปดูเร็ว ๆ ก็คือเหมือนกับว่าก็เเต่เดิมใช้คำว่า Eco-museum ใช่ไหม เเล้วเหมือนปัจจุบันนึกถึงไปพวก Eco อื่น ๆ จริง ๆ มันคือ Ecology ใช่ไหมซึ่งชื่อผมคิดว่ามันดูงง ๆ นิดหนึ่ง เเต่โอเค พอหลัง ๆ ทุกคนก็มองว่า Eco-museum ก็จะให้ความสำคัญกับมรดกวัฒนธรรมของชุมชน ที่จะทำให้คนได้เห็นถึงชุมชนนั้นพื

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.818 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 08 มิถุนายน 2568 14:04:11