[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 กรกฎาคม 2568 00:07:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สรุปเสวนา นิรโทษกรรมประชาชน ม.112 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ต้องนิรโทษกรรมด้ว  (อ่าน 261 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 00:00:47 »

สรุปเสวนา นิรโทษกรรมประชาชน ม.112 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ต้องนิรโทษกรรมด้วย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-11-24 18:36</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก iLaw</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีหลักพัน ไปจนถึงเกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนด้วย</li>
<li>การนิรโทษกรรมเป็นก้าวแรกในการลดความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น แต่การจะลดความขัดแย้งโดยไม่นิรโทษกรรมโดยคดีมาตรา 112 เป็นไปไม่ได้ เพราะมาตรา 112 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองที่มีอยู่</li>
<li>พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไม่ได้ทำให้ไม่มีการดำเนินคดีอีกในอนาคต มาตรา 112 ยังคงอยู่ไม่ได้ถูกแก้ไปด้วย</li>
</ul>
</div>
</div>
<p>19 พ.ย.2566 ที่อาคาร All Rise (สำนักงาน iLaw) เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนจัดเสวนา “ก้าวแรกอย่างไรในการแก้ไขปัญหาคดีการเมือง” เป็นการเปิดตัว “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ....” หรือ “ร่างนิรโทษกรรมประชาชน” เพื่อลบล้างความผิดของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง โดยในการเสวนาครั้งนี้มีอดีตแกนนำการชุมนุมทั้งฝ่ายเสื้อเหลือง เสื้อแดง เยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุมในช่วงปี 2563 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เก็บรวบรวมข้อมูลคดี และตัวแทนจากกระทรวงยุติธรรม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53341383401_c5130be9ee_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">(ขวาไปซ้าย) <span lang="TH" style="font-size:14.0pt" xml:lang="TH"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:&quot;Cordia New&quot;,sans-serif">สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ </span></span></span>,เบนจา อะปัญ, <span lang="TH" style="font-size:14.0pt" xml:lang="TH"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:&quot;Cordia New&quot;,sans-serif">อมร อมรรัตนานนท์, เหวง โตจิราการ และพูนสุข พูนสุขเจริญ </span></span></span></span></p>
<div class="more-story">
<p>“เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน” เปิดตัว “ร่างนิรโทษกรรมประชาชน” ให้ทุกฝ่าย รวม ม.112 เพื่อลดขัดแย้ง</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ม.112 เป็นปัญหาร่วมของสังคม</span></h2>
<p>อมร อมรรัตนานนท์ อดีตแนวร่วมเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เริ่มจากกล่าวว่าเขามาร่วมงานในครั้งนี้ในฐานะส่วนตัวเพราะหลังจากการชุมนุมเมื่อปี 2551 แล้ว พธม.ก็สลายตัวแยกย้ายกันไป แต่เขาก็อธิบายของการเกิดขึ้นของ พธม.ว่าเกิดขึ้นมาจากความต้องการตรวจสอบรัฐบาลไทยรักไทยซึ่งเป็นไปตามกระบวนของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ และได้พยายามตรวจสอบกรณีซุกหุ้นของทักษิณ ชินวัตรที่เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นและมีการแทรกแซงองค์กรอิสระอย่าง ปปช.จนเกิดกรณี “บกพร่องโดยสุจริต” ขึ้นมา</p>
<p>อดีต พธม.กล่าวว่าในเวลานั้น เกิดคำถามหลายคำถามต่อระบอบประชาธิปไตยผ่านทางรัฐสภาการมีเสียงข้างถือเป็นความถูกต้องชัดเจนในการบริหารประเทศแต่ พธม.มองว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีแต่เพียงรูปแบบแต่จะต้องมีความชอบธรรมและมีเหตุมีผล การเคลื่อนไหวของ พธม.ก็มีจุดยืนที่จะตรวจสอบระบอบประชาธิปไตยของทักษิณที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่และทำให้พวกเขาในเวลานั้นเห็นว่าเป็น “เผด็จการรัฐสภา” จากจุดนี้ก็ทำให้เกิดความเห็นต่างกันในภาคประชาชนด้วยกันเองและเป็นใจกลางของความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้</p>
<p>อย่างไรก็ตาม อมรเห็นว่าการเข้ามาร่วมขบวนของสินธิ ลิ้มทองกุล และจำลอง ศีเมืองในเวลานั้นทำให้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแนวทางไปและการที่ทักษิณไม่ยอมรับการตรวจสอบและไม่ยอมลงจากตำแหน่ง ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงจาก สายหนึ่งในขบวนการ พธม.มีการเสนอให้ใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่อยู่ในกลไกลของระบอบประชาธิปไตยมาใช้ ทำให้แนวร่วมบางส่วนถอยออกจากขบวนไป และมีบางส่วนถึงจะไม่เห็นด้วยแต่เมื่อร่วมหัวจมท้ายกันมาแล้วก็เลยยังเดินหน้าต่อไป</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53341383336_1020d6c380_b.jpg" /></p>
<p>อดีตแนวร่วม พธม.กล่าวต่อว่าเมื่อถึงวันนี้แล้วก็ได้สรุปบทเรียนว่าการเคลื่อนไหวครั้งนั้นทำได้แค่ทำให้ประชาชนตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อที่จะรับผิดชอบต่อกลไกของระบอบประชาธิปไตยในเวลานั้นแต่ก็ได้บทเรียนอีกบทด้วยว่าการเคลื่อนไหวในแนวทางสันติวิธีและเปิดเผยนั้นถึงที่สุดแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้และยังถูกฉกฉวยไปจากทหารด้วยการรัฐประหาร ทำให้การเคลื่อนไหวต้องหยุดไปแล้วก็มีหลายส่วนไปร่วมและสนับสนุนคณะรัฐประหาร และสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาจากคณะรัฐประหารยังได้เอาเหตุผลของการเคลื่อนไหวของ พธม.ไปเป็นเหตุผลของการรัฐประหารด้วยและทำให้เกิดรัฐธรรมนูญปี 2550 ตามมา</p>
<p>อมรกล่าวว่า พวกเขาหลายคนมองว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นเป็นการถอยหลังและลดอำนาจพรรคการเมืองให้อ่อนแอและยังสร้างค่านิยมว่านักการเมืองและพรรคการเมืองไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอีกทั้งยังเป็นกลุ่มบุคคลที่ชั่วร้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในวิธีคิดของคนที่ออกมาเคลื่อนไหวกับ พธม. ที่มุมหนึ่งก็เรียกร้องการปฏิรูปทางการเมืองแต่อีกมุมก็เป็นการนำเสนอที่ไม่เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตยและพรรคการเมือง แต่การเสนอว่าจะปฏิรูปการเมืองก็ไม่สามารถเสนออะไรที่เป็นรูปธรรมได้ก็เลยเกิดวาทกรรมว่าต้องการนักการเมืองเป็นคนดีมาปกครองบ้านเมือง แต่การยอมรับกลไกประชาธิปไตยที่ออกมาผ่านรัฐธรรมนูญนี้ การด้วยรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่ปี 2540-2560 ทำให้ประชาชนหรือภาคประชาชนจะได้ตัวแทนของตัวเองเข้ามาจัดการกับอำนาจรัฐตีบตันไม่สามารถทำให้ประชาชนหรือองค์กรภาคประชาชนเข้ามาสู่อำนาจรัฐได้อย่างแท้จริง แต่เอื้อให้กับกลุ่มทุน</p>
<p>อมรกล่าวต่อว่าความขัดแย้งระหว่างแต่ละฝ่ายที่ผ่านมานั้นหลายครั้งทำให้เกิดการโต้แย้งกันไปมาบางครั้งไปจนถึงเกิดความรุนแรง แต่เขาก็เห็นว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วที่แต่ละฝ่ายจะมองเข้าไปที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและมองอย่างมีเหตุมีผลและหาข้อเท็จจริงทางสังคมการเมืองว่าการเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มนั้นมีจุดยืนใดบ้างที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ถ้าเกิดเวทีที่สามารถพูดคุยและย้อนกลับไปค้นคว้าและยอมรับถึงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้จะทำให้ภาคประชาชนและสังคมสามารถเดินหน้าไปได้</p>
<p>ส่วนประเด็นเรื่องคดีความของพวกเขานั้นก็ยังมีหลายคดีที่ยังรอการพิจารณา มีคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและเป็นกบฏด้วยทั้งคดี 9  แกนนำที่ชุมนุมแล้วเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลที่จบแล้วจำคุกคนละ 8 เดือน คดีปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่มีคนถูกดำเนินคดีรวม 98 คน คดีชุมนุมที่รัฐสภาวันที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 จนเกิดความรุนแรงเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องยิงแก๊สน้ำตาใส่มวลชนจนมีคนเสียชีวิตซึ่งศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ก็ยกฟ้อง แล้วก็ยังมีคดีชุมนุมที่หน้าสถานีโทรทัศน์ NBT ที่มีผู้ต้องหาเกือบร้อยคนที่ศาลพิพากษาจำคุกไปส่วนหนึ่งแต่มีอีก 5 คนที่ถูกฟ้องเพิ่มอีกคดี และยังมีคดีอาญาอื่นๆ อีกที่ถูกลงโทษจำคุกไปแล้วที่ยังเหลืออยู่ก็คือคดีปิดสนามบินที่ศาลชั้นต้นกำลังจะมีคำพิพากษาในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ และบางคนเช่นตัวเขาเองก็เคยต้องโทษจำคุกมาบ้างแล้ว แล้วก็มีคนที่บาดเจ็บล้มตายจำนวนหลักร้อย</p>
<p>อมรกล่าวว่า เขาก็รู้สึกรำคาญที่คดียืดยาวมาจนถึงวันนี้และอยากให้มีความชัดเจน แต่เขาก็ยอมรับว่าเมื่อออกมาเคลื่อนไหวแล้วก็สู้ในกติกาแม้จะรู้ว่ามีความไม่ชอบธรรมอยู่เพราะก็ไม่มีทางออกอื่น แม้ว่าในอดีตเขาจะเคยเข้าป่าจับปืนร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเพื่อยึดอำนาจรัฐมาแล้วแต่สังคมไทยมันเป็นไปไม่ได้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแบบนั้น ก็ได้ข้อสรุปว่าถอยหลังออกมาต่อสู้ในระบบรัฐสภา</p>
<p>ทั้งนี้อดีตแนวร่วม พธม.ก็ได้ตอบในประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ว่าเขาก็ค่อนข้างเห็นด้วยว่าการที่จะข้ามพ้นความขัดแย้งแล้วให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันได้กฎหมายนิรโทษกรรมมีความจำเป็นและเขาก็เห็นด้วยกับแนวคิดของพรรคก้าวไกลที่จะให้มีคณะกรรมการมาคัดกรองว่าจะได้รับนิรโทษกรรมหรือไม่ แล้วเรื่องที่แกนนำจะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ก็จะได้ถกเถียงกัน เพราะการฟันธงว่าจะให้นิรโทษกรรมใครบ้างก็จะเกิดจะเป็นปลายปิดแล้วเกิดปัญหาตามมา</p>
<p>“แต่ผมก็เห็นว่าปัญหา 112 เป็นปัญหาร่วมของสังคมที่ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหา ถ้าไม่คลี่คลายเยาวชนลูกหลานเราก็จะติดกับวังวนของความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นแนวคิดผมสนับสนุนว่าก่อนที่จะมีเนื้อหาก็มีกรรมการมานั่งคุยกัน แต่ปลายทางคือต้องปลดล็อกทางสังคมเพื่อที่จะเริ่มเดินหน้า” อมรเสนอและในระยะต่อไปก็ต้องมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อวางโครงสร้างทางอำนาจให้ประชาชนและเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐต้องไม่มองประชาชนเป็นศัตรู</span></h2>
<p>เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ กล่าวว่าคดีทางการเมืองเกิดขึ้นมาจากการที่ฝ่ายรัฐมองประชาชนของตัวเองเป็นศัตรู เพราะถ้าไม่ได้มองเป็นศัตรูแล้วรัฐจะต้องเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน และกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยไปลงนามเข้าร่วมไว้ก็ยังห้ามรัฐทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นรากเหง้าของปัญหา เพราะถ้ามองข้ามเรื่องเหล่านี้ไปและรัฐยังมองประชาชนเป็นศัตรูก็ยากที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้กับประชาชนและยากที่จะทำให้เกิดการนิรโทษกรรมได้</p>
<p>แกนนำ นปช.กล่าวว่า เมื่อรัฐมองประชาชนเป็นศัตรูแล้วก็หาทางใส่ร้ายกล่าวหาด้วยเรื่องต่างๆ เพื่อเอาผิดเช่น กรณีของชายชุดดำ ที่เป็นข้ออ้างที่รัฐใช้เพื่อสังหารประชาชน และ ศอฉ.ยังมีคำสั่งให้ทหารยิงประชาชน ดังนั้นประเทศจะต้องเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงก่อนแต่เวลานี้ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย แม้ว่ารัฐบาลล่าสุดนี้จะมาจากการเลือกตั้งเพราะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองของคณะรัฐประหารและ สว. 250 คนที่เกี่ยวข้องกับ คสช.ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อมก็ต้องสนับสนุน คสช.ไม่ว่าพรรคการเมืองของ คสช.จะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ และเป็นเรื่องตลกที่พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงประชาชนมากที่สุดไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้</p>
<p>เหวงกล่าวต่อไปว่าสำหรับเขาเองแล้วมีเป้าหมายอยู่ 3 เรื่องคือ ประเทศไทยจะต้องไม่มีการรัฐประหารอีกแล้วและจะทำให้ไม่มีได้ก็ต้องเอาคนทำรัฐประหารมารับโทษทางกฎหมาย และจะต้องไม่มีการฆ่าคนโดยใช้ทหารกลางเมืองอีกต่อไปซึ่งจะต้องเอาทหารที่ก่อเหตุมารับโทษทางกฎหมายด้วย และการนิรโทษกรรมที่เขาขอไปถึงพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่าให้มีการนิรโทษกรรมประชาชนด้วยเพราะคดีทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นเพราะความเห็นทางการเมืองเท่านั้น แล้วก็เปิดเวทีให้คนเหล่านี้ได้แสดงความคิดเห็นถ้าคนเห็นว่าเป็นความคิดที่ทำจริงไม่ได้ก็แสดงความเห็นโต้แย้งกันไป</p>
<p>เหวงกล่าวว่าเดิมที่แล้ว นปช.เป็นแค่ส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดงที่ออกมาต่อสู้เรื่องไม่เอารัฐประหารและเอาประชาธิปไตย คัดค้านรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นเผด็จการ และเมื่อถึงปี 2553 ที่มีมวลชนมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนแล้วเมื่อเกิดเหตุตัดสัญญาณช่องเอเชียอัพเดตคนก็ตามไปชุมนุมที่สถานีดาวเทียมไทยคมเพื่อให้คืนช่องสัญญาณเพราะคนก็กังวลว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นกับการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่กำลังชุมนุมกันอยู่ที่สะพานผ่านฟ้ากับแยกราชประสงค์หรือไม่ แต่ก็มีทหารมาตั้งแนวกั้นขวางไว้แต่ไม่สำเร็จและเขาเห็นว่าเหตุการณ์นั้นทำให้ทหารรู้สึกเสียศักดิ์ศรีและมีการเอาคืนในวันที่ 10 เม.ย.2553 ตามมาโดยการเอาทหารมาสลายการชุมนุม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53340495702_e27ecd3cfa_b.jpg" /></p>
<p>แกนนำ นปช.กล่าวว่าจากเหตุการณ์ในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553 นั้นมีประชาชนตาย 20 กว่าศพ แล้วหลังจากเหตุการณ์วันนั้นก็ยังพยายามปราบให้เด็ดขาดมีการตัดน้ำตัดไฟตัดทางส่งอาหารที่ชุมนุม ถ้ารัฐบาลมองประชาชนเป็นศัตรูก็จะใช้ทุกวิถีทางแบบนี้ และยังเป็นที่มาของกองกำลังชายชุดดำที่เวลาผ่านมาแล้ว 13 ปี ยังไม่สามารถจับกุมมาได้ และยังถูกใช้ผังล้มเจ้าในการใส่ร้ายเพราะเมื่อคดีถึงศาลเจ้าหน้าที่ก็ยังยอมรับว่าเป็นเอกสารปลอม ไปจนถึงเรื่องการเผาสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพที่สุดท้ายแล้วคดีที่เกี่ยวข้องศาลก็ยกฟ้องไปหมดแล้ว</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เหวงก็ให้ข้อมูลว่าคนเสื้อแดงถูกจับกุมดำเนินคดีมากกว่าพันคนในเวลานั้น ทั้งคดีเผาสถานที่ คดีชุมนุมปิดถนนเพื่อขวางการลำเลียงพลของเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้เข้ามาสลายการชุมนุม แต่เนื่องจากคนที่โดนคดีส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายเมื่อถูกดำเนินคดีแล้วด้วยความจนก็ไม่สามารถหาทนายความมาสู้คดีได้ จึงต้องอาศัยเพียงทนายความอาสาหรือทนายความของ สส.บางคนที่มาช่วยแต่ก็ไม่สามารถช่วยได้นานนับปีได้ สุดท้ายศาลก็พิพากษาลงโทษไปตามกฎหมายและสำนวนคดีที่ทำขึ้นมาตั้งแต่ชั้นตำรวจ แต่เขาก็มีคำถามว่าแล้วอย่างกรณีที่มีการเผาศาลากลางจังหวัดที่ไฟเริ่มติดมาจากชั้นสองของอาคารได้อย่างไร ใครจะสามารถขึ้นไปเพื่อวางเพลิงได้</p>
<p>“คนเสื้อแดงได้รับความอยุติธรรมเยอะมาก ผมจึงอยากจะเรียนไปยังพรรคที่ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์จะทวงความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงได้หรือไม่ ตายเกือบร้อยศพจะเอายังไง” แกนนำ นปช.กล่าว</p>
<p>เหวงยังกล่าวถึงกรณีการเสียชีวิตของประชาชน 6 รายที่วัดปทุมวนารามเมื่อ 19 พ.ค.2553 ด้วยว่าเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งออกมาแล้วว่าทหารเป็นคนยิงแล้วก็ยังระบุชื่อด้วย แต่ถ้าเอาคดีไปฟ้องศาลทหารศาลก็ยกฟ้องซึ่งเขาเองก็ไม่รู้ว่าใช้หลักกฎหมายอะไรกันถึงยก ความยุติธรรมก็ไม่เกิด ปัญหานี้ทำให้มีการตั้งคณะประชาชนทวงความยุติธรรมขึ้นมาแล้วก็เสนอว่าถ้าทหารทำความผิดอาญากับประชาชนจะต้องนำคดีมาพิจารณาในศาลพลเรือนและยังรวมไปถึงนักการเมืองที่กระทำความผิดด้วยไม่ให้ไปขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง</p>
<p>แกนนำ นปช.ยังกล่าวอีกว่าที่ผ่านมา ธิดา เคยเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของ นปช.เช่นเดียวกันและเนื้อหาคือให้นิรโทษกรรมแค่ประชาชนเพราะมีแค่เรื่องความเห็นต่างจากรัฐ โดยไม่รวมแม้กระทั่งแกนนำมวลชนและผู้นำทางการเมืองเพราะถ้านิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำเกินกว่าเหตุรัฐก็จะฆ่าประชาชนซ้ำๆ ต่อไป จึงนิรโทษกรรมให้ไม่ได้เด็ดขาด ทั้งนี้ร่างของ นปช.นี้ก็ถูก วรชัย เหมะ ซึ่งเคยเป็นแกนนำ นปช.มาก่อนได้ขอเอาไปเข้าสภา</p>
<p>เหวงเล่าต่อว่า ในตอนนั้นธิดาก็ได้ฝากไว้ว่าให้ออกเป็นพระราชกำหนดเพราะถ้าออกเป็น พ.ร.บ.จะถูกแก้และเติมภายหลัง แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้นแล้วแม้ว่าจะผ่านวาระหนึ่งมาได้แต่เมื่อเข้าวาระสองก็มีฉบับของเพื่อไทยกลายเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยขึ้นมา และภายหลังก็เกิด กปปส. ขึ้นมาโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์จากเรื่องนี้</p>
<p>เหวงกล่าวว่าถึงช่วง 2563 ที่มีเยาวชนออกมาชุมนุมกันจำนวนมากเพราะเห็นปัญหาโครงสร้างทางการเมือง แต่ก็ยังเคลื่อนไหวภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ม.112 แล้วก็ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหานี้อยู่สองร้อยกว่าคน ทั้งที่กฎหมายมาตรานี้ถูกแก้ไขมาหลังการรัฐประหาร 6 ต.ค.2519 ซึ่งก็ทำให้เห็นว่ากฎหมายนี้แก้ไขได้มาแล้วและยังเป็นการแก้เพื่อเอามาเป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมือง ดังนั้นเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหานี้เขามองว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย</p>
<p>“การแสดงความคิดเห็นที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาตรา 112 ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นสรุปแล้วผมเห็นว่าควรจะต้องผลักดันให้มีนิรโทษกรรมทางการเมืองเฉพาะประชาชน แต่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำเกินกว่าเหตุ เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงหมายรวมถึงรัฐบาลด้วยไม่สมควรได้รับการนิรโทษแต่สมควรได้รับการพิจารณาโทษทางกฎหมาย” เหวงกล่าวสรุปข้อเสนอของตน</p>
<p>เหวงได้ฝากถึงพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดและโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยการผลักดันเรื่องนิรโทษกรรมนี้จะเป็นโอกาสของพรรคเพื่อไทยที่จะรักษาคะแนนเสียงให้กลับมาทัดเทียมหรือเกินกว่าพรรคก้าวไกลได้ เพราะถึงอย่างไรก็ได้คะแนนนิยมจากเรื่องเศรษฐกิจอยู่แล้ว แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประชาชนแสดงออกชัดเจนแล้วว่าคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยเมื่อเทียบกับก้าวไกลแล้วเขาล้ำกว่าไปแล้ว การที่พรรคเพื่อไทยผลักดันการนิรโทษกรรมก็จะทำให้คะแนนนิยมกลับมาได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐไทยไม่แก้ปัญหาความขัดแย้งเลย</span></h2>
<p>เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เล่าว่าการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนในช่วง 2563 เป็นการชุมนุมลักษณะแฟลชม็อบกันบ่อยทำให้แต่ละครั้งที่ไปชุมนุมก็จะมี 1 คดี สมมติว่าชุมนุม 7 ที่ก็ 7 คดีแล้ว คดีของแต่ละคนจึงมีเยอะมาก อย่างตัวเธอเองก็ถึง 20 คดี ซึ่งยังมีคนที่มีคดีมากกว่านี้ ผลกระทบรุนแรงมากหลายคนที่โดนมากกว่า 10 คดีขึ้นไปก็ต้องไปศาลกันทั้งเดือน แล้วคดีเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกดองไว้นานแต่เป็นคดีที่มีการพิจารณาเร็วมากพิพากษาไว หลายคนก็ต้องเข้าเรือนจำไปแล้ว</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53340495647_675f20c033_b.jpg" /></p>
<p>“รัฐไทยไม่แก้ปัญหาความขัดแย้งเลย ทำไมชุมนุมต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก อย่างพันธมิตรฯ เรายังไม่ถึงสิบขวบ ตอนนี้จะ 25 อยู่แล้วเรื่องราวต่างๆ มันหนักหน่วงสะสมมานาน ปี 63-66 เรายังต้องเรียกร้องกันอยู่เลย มันไม่ปกติแต่เราอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติจนเราคิดว่ามันปกติ มันถึงเวลาหรือยังที่เราจะสะสางปัญหาตรงนี้สักทีเราจะได้ไปต่อกันได้”</p>
<p> เบนจากล่าวว่าการนิรโทษกรรมถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้ปลดล็อกแล้วก็ไปต่อกันสักที เธอไม่ได้อยากเห็นการเมืองแบ่งขั้วกัน แค่รู้สึกว่าต้องการรัฐบาลที่สามารถทำให้คนในประเทศอยู่ร่วมกันได้จริงๆ ไม่ใช่คนคิดต่างจากตัวเองแล้วไม่มีสิทธิอยู่ในประเทศนี้</p>
<p>เบนจามองถึงประเด็นที่อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีม. 112 ว่า ถึงอย่างไรก็ตามคดีเหล่านี้เป็นคดีที่เกิดขึ้นจากการใช้เสรีภาพการแสดงออก และกฎหมายก็เป็นสิ่งที่สร้างโดยมนุษย์ก็ควรจะต้องถามว่าถ้ามีสิ่งที่ไม่อยากให้แตะต้องมันยังสมควรให้มีอยู่หรือไม่ แล้วกฎหมายนี้ก็ถูกพัฒนามาจากกฎหมายสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ตอนนั้นไม่ได้มีโทษจำคุกสูงเท่าตอนนี้เพราะยังแค่ให้จำคุก 3-7 ปี แต่ตอนนี้เป็น 3-15 ปีแล้ว แล้วกฎหมายนี้ยังถูกเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจำกัดการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง คือถึงจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแต่การไม่พูดถึงเรื่องละเอียดอ่อนมันถูกต้องหรือไม่</p>
<p>“เราเชื่อว่าอะไรในโลกนี้มันสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์มันก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้ อย่างมาตรา 112 มันเป็นแค่กฎหมาย 112 ไม่ใช่ตัวสถาบันกษัตริย์ เพราะฉะนั้นเราควรจะแก้ไขหรือพูดถึงมันได้ แต่ปัจจุบันแค่พูดถึง แค่อ้าปากว่า 112 คนก็เดินหนีกันหมด แค่พูดว่า 112 คุณไม่แม้กระทั่งถกเถียงกับมันด้วยซ้ำ พอมีประเด็น 112 มาคุณปัดตกเลยไม่แม้แต่จะเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น” เบนจากล่าว</p>
<p>เบนจากล่าวว่าเรื่องการนิรโทษกรรมเป็นเพียงด่านแรกเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการปฏิรูปประเทศขนานใหญ่เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้จริงๆ แต่เรื่องมาตรา 112 นี้ถึงอย่างไรก็ต้องเอามาพูดกันวันนี้เพราะในอนาคตก็จะมีคนมาพูดอยู่ดี และเรื่องที่พูดกันวันนี้ก็มีการพูดมาก่อนแล้ว เราไม่สามารถซุกปัญหาเรื่องมาตรา 112 ต่อไปได้</p>
<p>“ถ้าคุณไม่จัดการวันนี้ วันหน้าคุณก็ต้องมารับมือกับเด็กเจเนอเรชั่นใหม่ที่อาจจะเปรี้ยงปร้างกว่ายุคพวกเราก็ได้ มันอาจจะแก้ไขยากกว่านี้ก็ได้ ไม่ได้ขู่แต่เชื่อว่ามันเกิดขึ้นจริงแน่” เบนจาทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ม.112 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง</span></h2>
<p>พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าศูนย์ทนายความฯ ตั้งมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 ซึ่งปีหน้าก็จะสิบปีแล้วหมายความว่า คนที่อายุ 20 ปี เท่ากับพวกเขาก็อยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองมาเป็นเวลาครึ่งหนึ่งของชีวิตเขาแล้ว แล้วถ้านับจากรัฐประหาร 2549 แล้วดูจากอายุคนที่มาเวทีวันนี้อย่างหมอเหวงเขาก็อยู่ในความขัดแย้งมาเท่ากับ 1 ใน 3 ของชีวิตแล้ว</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53341603193_033a1a2eec_b.jpg" /></p>
<p>“การที่เราอยู่ในความขัดแย้งมายาวนาน 20 ปี ทำให้สภาพเศรษฐกิจสังคมบ้านเรามันชะงักงัน GDP ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาโตแค่เปอร์เซนต์กว่าๆ เรากำลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ เป็นประเทศแรกที่ไม่รวยแล้วจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำไมคนถึงไม่อยากมีลูก ทำไมคนถึงหดหู่ซึมเศร้า เราพึ่งได้รัฐบาลแต่ทำไมสังคมยังดูไม่มีช่วงฮันนีมูน สิ่งเหล่านี้มันกระทบกันไปหมด ไม่ใช่แค่กับนักการเมือง ไม่ใช่แค่คนที่อินการเมือง แต่การเมืองกระทบกับเราทุกคน”</p>
<p>พูนสุขเห็นว่าเหตุผลที่ทำให้สมควรเริ่มพูดคุยเรื่องนิรโทษกรรม เพราะความขัดแย้งที่ผ่านมาหลายช่วงก็สู้กันเรื่องเดียวกันคือใครเป็นเจ้าของอำนาจ สถาบันและรัฐบาลที่ดีควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร แม้ช่วงก่อนรัฐประหารปี 2557 จะเป็นการเมืองแบบสีเสื้อ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาคู่ขัดแย้งได้กลายเป็นรัฐ เผด็จการกับประชาชน เมื่อทุกคนร่วมต่อสู้กันและมีเป้าหมายเดียวกันที่จะมีสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนได้พูดและแสดงความคิดเห็นแล้วยังสามารถอยู่ด้วยกันได้ท่ามกลางความแตกต่าง การนิรโทษกรรมจึงเป็นสิ่งที่ควรจะต้องเริ่มทำเพื่อนำประเทศกลับสู่สภาวะปกติ</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ กล่าวว่าข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ปี 2553 พบว่ามีคนที่ถูกดำเนินคดีกว่า 1,700 คน คนตาย 90 กว่าคน คนบาดเจ็บเกือบสองพันคน แล้วพอหลังช่วงรัฐประหาร 2557 มีการประกาศให้พลเรือนต้องไปขึ้นศาลทหารในความผิด 4 ประเภท คือความผิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับประกาศคำสั่ง คสช. แล้วก็ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ มีคนโดนคดี 2,400 คน</p>
<p>พูนสุขกล่าวถึงปัญหาของคดีในช่วงรัฐประหารคือเขาออกประกาศคำสั่งที่เป็นกฎหมายเอง แล้วคนจับกุมก็เป็นทหารตำรวจ คนดำเนินคดีก็เป็นอัยการทหารแล้วคนพิพากษาก็เป็นศาลทหาร กระบวนการยุติธรรมอยู่ภายใต้ทหารทั้งหมด คสช.ได้ทำลายหลักนิติรัฐ ที่เป็นการปกครองที่ยึดถือกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่การปกครองโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง</p>
<p>“แต่เราก็เห็นความโอนเอนในการใช้กฎหมายเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาตามแต่ละช่วง มาตรา 112 เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ที่ทำให้เห็นว่ามีการบังคับใช้กฎหมายบางอย่างอย่างไม่ถูกต้อง”</p>
<p>พูนสุขได้ยกตัวอย่างของการใช้มาตรา 112 ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร 2557 ที่มีอยู่จำนวนหนึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2553 เช่น คดีอากง คดีดาตอปิโด  หลังปี 2557  ก็เอาคดีม.112 มาขึ้นศาลทหารเพราะเป็นคดีนโยบายและเป็นหนึ่งในความขัดแย้ง ส่วนการตัดสินลงโทษก่อนรัฐประหารลงกรรมละประมาณ 5 ปี แต่เมื่อเป็นช่วงหลังรัฐประหารศาลทหารก็ลงโทษเฉลี่ยกรรมละ 8-10 ปี และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประกันตัวแล้วตอนนี้คดีของอัญชันที่เริ่มมาตั้งแต่รัฐประหารปัจจุบันก็ยังอยู่ในเรือนจำและไม่รู้ว่าจะได้ออกเมื่อไหร่เพราะถูกลงโทษให้จำคุกไป 80 กว่าปี</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ กล่าวต่อว่า ในช่วงปี 2561 ถึง 19 พ.ย.2563 มีการหยุดใช้มาตรา 112 ไปช่วงหนึ่ง ทั้งที่เคยถูกใช้มาอย่างหนักหน่วงรุนแรงในช่วงศาลทหาร คดีก็มีการยกฟ้องโดยอ้างว่าสำนวนของอัยการไม่ชัดเจนหรือลงโทษในข้อหาอื่นที่ไม่ได้ฟ้องมาแต่แรก ทำให้เกิดความบิดเบี้ยวในกระบวนการอย่างมากแม้ว่าจำเลยบางคนอาจจะได้ประโยชน์ก็ตาม</p>
<p>“จำเลย ผู้ต้องหาบางคนได้ประโยชน์ แต่ในฐานะคนที่ติดตามการใช้มาตรา 112 ก็คือหนาว ว่าใครที่สามารถมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงการบังคับใช้กฎหมายทั้งตำรวจ อัยการ ศาลได้ถึงเพียงนี้ แล้วอยู่ๆ วันที่ 19 (พ.ย.63)คุณประยุทธ์ก็ออกแถลงการออกมาสวยๆ ว่าผมจะบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรา แต่ถามว่าก่อนหน้านั้นมันมีมาตราหนึ่งที่คุณไม่ใช้ ก็คือมาตรา 112”</p>
<p>พูนสุขให้ข้อมูลจำนวนคดีหลังจากการพูดของประยุทธ์วันนั้นได้เกิดการใช้มาตรา 112 มาดำเนินคดีเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีการเก็บข้อมูลมา ปัจจุบันมีคนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรานี้ถึง 262 คน 289 คดี และคนบุคคลที่มีคดีมาตรา 112 มากที่สุดคือพริษฐ์ ชีวารักษ์ 24 คดี และอานนท์ นำภาก็ต้องอยู่ในเรือนจำทั้งที่แค่ออกมาพูดมีถึง 14 คดี และถ้านับคดีการเมืองทั้งหมดตอนนี้มีประมาณ 1,900 คน 1,200 คดี และคนเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องวนเวียนกับคดีอีกนานแค่ไหน</p>
<p>“อานนท์ 14 คดีเพิ่งพิพากษาไปคดีแรก จะตัดสินจำคุกกี่สิบปีไม่รู้ เพนกวินยังไม่ได้พิพากษาสักคดี 24 คดีแค่คดีละ 3 ปีก็ร้องโอ้โหแล้ว เราจะกักขังอนาคตของประเทศชาติแบบนี้จริงๆ เหรอ อันนี้เป็นคำถามสำคัญและเป็นคำถามที่นำไปสู่ข้อเสนอว่าทำไมเราต้องมาพูดเรื่องการนิรโทษกรรมประชาชน” ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ กล่าว</p>
<p>พูนสุขกล่าวว่าแม้ก่อนหน้านี้จะมีการเสนอเรื่องนิรโทษกรรมมาบ้างทั้งจากของฝ่ายเสื้อเหลืองที่ไม่ได้รวมคดีมาตรา 112 หรือร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลที่ยื่นต่อรัฐสภาไปแล้วก็ยังไม่ได้ระบุว่ารวมความผิดอะไรบ้าง ทำให้เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนอยากผลักดันเรื่องนี้และเป็นก้าว แรกที่จะออกจากความขัดแย้งได้ แล้วก็อยากให้มีวงคุยอย่างนี้เหมือนตอนก่อนเลือกตั้งที่มีการพูดถึงว่าแต่ละพรรคการเมืองจะทำอะไรกับมาตรา 112 หรือไม่แม้ว่าหลังเลือกตั้งการคุยเรื่องนี้จะหายไปจากสังคม</p>
<p>พูนสุขกล่าวว่ามาตรา 112 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้มีความขัดแย้งมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าบอกว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อแก้ไขความขัดแย้งมาตรา 112 ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย การจะออกนิรโทษกรรมเพื่อแก้ไขความขัดแย้งโดยไม่รวมคดีมาตรา 112 ไว้ด้วยจึงเป็นไปไม่ได้ และการนิรโทษกรรมก็เป็นการล้างความผิดตั้งแต่อดีตจนถึงวันที่กฎหมายใช้ แต่หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วหากมีการกระทำที่เข้าข่ายผิดตามกฎหมายก็ยังถูกดำเนินคดีอยู่</p>
<p>“พ.ร.บ.นี้เป็นแค่ก้าวแรกและเป็นขั้นต่ำด้วยซ้ำ ไม่ต้องกังวลว่าถ้านิรโทษกรรมไปแล้วเกิดขึ้นอีกจะทำยังไง ถ้าเกิดขึ้นอีก มาตรา 112 ยังอยู่ ยังไม่ได้แก้เขาก็มีโอกาสถูกดำเนินคดีอีก แต่นี่คือขั้นต่ำของการแก้ไขความขัดแย้ง และควรมีมาตรการอื่นๆ เสริมไปด้วยไม่ใช่แค่การออกกฎหมายฉบับนี้ฉบับเดียว” พูนสุขกล่าวและได้ย้ำว่าการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมไม่ใช่การแก้ไขมาตรา 112 แต่การนิรโทษกรรมจะทำให้คนเห็นถึงความเป็นไปได้ทางการเมืองใหม่ๆ และการอยู่ร่วมกันกับสถาบันทางการเมืองต่างๆ ด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กระทรวงยุติธรรมให้ความสำคัญกับสิทธิประชาชน</span></h2>
<p>สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงแนวทางของกระทรวงต่อกรณีผู้ต้องขังคดีทางการเมืองว่าทางกระทรวงมีกองทุนยุติธรรมอยู่ในส่วนของคดีการเมืองก็ได้ใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองในการช่วยเหลือเงินประกันตัวไปแล้ว 133 คดีเป็นเงิน 83 ล้านบาทเศษ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53341709349_251d718c9d_b.jpg" /></p>
<p>ที่ปรึกษา รมต.ยุติธรรมกล่าวว่านอกจากนั้นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ทุกสมัยที่ผ่านมาก็มีคำสั่งให้ดูแลผู้ต้องขังคดีการเมืองเป็นพิเศษกว่านักโทษทั่วไปเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกับกลุ่มนักโทษเด็ดขาดที่อาจมีทัศนคติรุนแรง และปัจจุบันยังมีนักทาคดีการเมืองที่อยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 18 กลุ่มคดี และที่ผ่านมาก็มีผู้ได้รับผลกระทบที่มักจะไปร้องเรียนต่อกระทรวงยุติธรรมซึ่งเขาก็ได้รับทราบปัญหาทั้งเรื่องการเยี่ยมที่ไม่สะดวก เครื่องนอนไม่สะอาด ไม่มีหนังสือพิมพ์อ่าน หรือการใส่เครื่องพันธนาการตอนออกศาล ก็มีการสั่งให้ดำเนินการให้เรียบร้อยและให้เกียรติคนกลุ่มนี้ด้วย</p>
<p>สมบูรณ์กล่าวถึงกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่มีหน้าที่และการกำหนดแผนไว้ด้วยว่าจะต้องมีการส่งเสริมสิทธิการชุมนุมโดยสงบซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน และกรมคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้อบรมเจ้าหน้า

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.3 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤษภาคม 2568 09:27:48