เตรียมถาม กกต. ทำประชามติแก้ รธน. พ่วงเลือกตั้งนายก อบจ.ได้หรือไม่
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-26 17:01</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ภูมิธรรม' เตรียมส่งหนังสือถาม กกต. 3 ข้อ สัปดาห์หน้า ทำประชามติแก้ รธน. พ่วงเลือกตั้ง นายก อบจ.ได้หรือไม่ เล็งรับฟังความเห็นผ่านสภาฯ หากมีข้อโต้แย้ง พร้อมส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ คาดเสร็จก่อนปีใหม่</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/50401044531_6b887d390c_k_d.jpg" /></p>
<p>26 พ.ย. 2566
สำนักข่าวไทย รายงานว่านายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เหลือเพียงการรับฟังความเห็นจาก สส. และ สว. ซึ่งได้ทำแบบสอบถามไปแล้ว เพื่อรอนำไปหารือร่วมกันเมื่อเปิดประชุมสภาฯ และคิดว่าไม่เกินกลางเดือนธันวาคม น่าจะรับฟังมาได้หมด หลังจากนั้นจะนำไปสรุปร่วมกันว่าส่วนใหญ่ประชาชนคิดอย่างไร เห็นต่างอย่างไร โดยให้บันทึกไว้ทั้งหมดว่ามีมุมใดบ้าง จากนั้นส่ง ครม.พิจารณา</p>
<p>ส่วนกรณีเรื่องการศึกษาทำประชามติ นายภูมิธรรม ยอมรับว่า ยังมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการทำประชามติ ว่าจะทำ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน เพราะหากส่งศาลรัฐธรรมนูญแล้วตีความ ว่าเราไม่สามารถทำได้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายจะตกไป ความคิดเห็นที่ทำมาก็จะตกไป ดังนั้นในสัปดาห์หน้า จะลงนามหนังสือ เพื่อสอบถามไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหญ่ 3 ข้อ ว่า 1.การตีความของ กกต. จะมีการทำประชามติกี่ครั้ง 2.เพื่อประหยัดงบประมาณ จะสามารถจัดทำประชามติ ไปพร้อมกับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น เช่น นายก อบจ.ทั่วประเทศ ที่จะมีขึ้นในปีหน้าได้หรือไม่ และ 3.โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น หากจะใช้โซเชียลมีเดียมาร่วมลงทะเบียนได้หรือไม่ หากทำได้จะสะดวกมากขึ้น อาจทำให้การใช้จ่ายในการเลือกตั้งลดน้อยลงไปมาก</p>
<p>นอกจากนี้ นายภูมิธรรม ย้ำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีปัญหาเรื่องการตีความ ว่าใครมีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จึงมีการเสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่นศาลรัฐธรรมนูญในการตีความเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการฯ จึงเสนอให้พรรคการเมืองที่อยู่ในที่ประชุม ไปปรึกษาหารือ เพื่อให้มีการเสนอผ่านสภาฯ และ ให้สภาฯ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยให้ไปหาข้อสรุปกันในสภาฯ หากมีข้อขัดแย้งสภา ก็จะเป็นผู้เสนอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ</p>
<p>นายภูมิธรรม ยังกำชับให้อนุกรรมการการศึกษาฯ ได้ศึกษาควบคู่ขนานกันไปเลยว่า หากจำเป็นต้องมาแก้ มาตรา 256 เพื่อเปิดช่องให้มี สสร.ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เพราะจากการรับฟังความเห็นถ้าเอา สสร. เลือกตั้งบางกลุ่มวิชาชีพไม่มีโอกาส จึงน่าจะมี สสร. ที่มาจากการสุ่มหาจากวิชาชีพต่างๆ ที่ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป จึงมอบให้อนุกรรมการศึกษาฯ ไปดูว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เดินหน้าคู่ขนานศึกษาการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ เชื่อได้ข้อเสนอการทำประชามติต่อ ครม. ภายในสิ้นปี</span></h2>
<p>ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยรายงานว่านายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวถึง ความคืบหน้าจากการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมาว่า การประชุมครั้งนี้เป็นเป็นการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เป็นครั้งที่ 2 โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ ทั้ง 2 คณะ โดยคณะกรรมการได้รับทราบผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ และได้มีมติร่วมกันที่จะดำเนินการต่อใน 2 เรื่อง ได้แก่</p>
<p>1. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ ดำเนินการจัดทำข้อเสนอ ในการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พุทธศักราช 2564 เพื่อให้การทำประชามติเป็นเครื่องมือในการสอบถามความเห็นประชาชนที่ใช้งานได้จริง มีประสิทธิภาพและเป็นสากล รวมถึงพิจารณากำหนดประเด็นที่จะต้องแก้ไขในมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป</p>
<p>2. มอบหมายให้ประธานนำส่งประเด็นข้อสอบถามเกี่ยวกับดำเนินการทำประชามติ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ตอบกลับมาอย่างเป็นทางการ เพราะข้อคิดเห็นจากเลขาธิการ กกต. ที่ได้หารือร่วมกันก่อนหน้านี้ อาจไม่สามารถพิจารณาเป็นความเห็นที่เป็นข้อยุติได้</p>
<p>นายชนินทร์กล่าวว่า ในส่วนการรายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ได้พบความเห็นแตกต่างในหลากหลายประเด็นและได้บันทึกประเด็นทั้งหมดไว้ก่อน เนื่องด้วยคณะอนุกรรมการฯ ยังต้องรวบรวมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการลงพื้นที่อีก 2 ภาค คือการรับฟังกลุ่มความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่ภาคเหนือ และกลุ่มมุสลิมที่ภาคใต้ ตลอดจนรอความเห็นจากการทำแบบสอบถามจากสมาชิกรัฐสภาทั้ง 750 ท่านภายหลังการเปิดสมัยประชุมสภา เพื่อนำมาจัดทำข้อสรุปที่ครบถ้วน ในการรายงานที่ประชุมคณะกรรมการในการประชุมครั้งถัดไป</p>
<p>“กระบวนการเพื่อหาข้อสรุปในการทำประชามติของรัฐบาล มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน แม้จะประสบความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย แต่ทุกฝ่ายก็ตั้งใจจะแสวงหาจุดร่วมที่ลงตัว เพื่อให้กระบวนการเดินต่อไปได้ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่าภายในสิ้นปี 2566 คณะกรรมการจะสามารถจัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้สมบูรณ์ และได้เริ่มเดินหน้าการทำประชามติเพื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพี่น้องประชาชนที่แท้จริงได้แน่นอน” นายชนินทร์กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/11/106986 







