ซอฟท์พาวเวอร์ไทย ไม่ใช่ซอฟท์พาวเวอร์โลก
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-10 21:46</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หลักการปกครองของทักษิณ คือ “ฮอลลีวู๊ดโมเดล” (Hollywood Model) หมายถึง รัฐบาลต้องขายความหวือหวาและตื่นเต้น!!! สมัยมีอำนาจ ทักษิณพูดเองว่ารัฐบาลต้องมีอะไรให้คนจดจำเปรียบเหมือนท่อนฮุ๊กของเพลง ร้องซ้ำๆ กันจนติดปาก!!</p>
<p style="margin: 0in;">รัฐบาลสมัยทักษิณจึงเด่นในแง่การคิดแก๊ก-คิดมุกให้คนจดจำได้เสมอ เช่น นโยบาย SML ทักษิณอธิบายว่าเป็น <strong>“นโยบายเหนือเมฆ”</strong> เพราะทักษิณคิดได้ขณะนั่งอยู่บนเครื่องบิน หรือภาพที่ทักษิณไปนอนกับชาวบ้านที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด นุ่งผ้าขาวม้าลงมาอาบน้ำ แล้วเล่นกับกล้อง นักข่าวไทยเสียรู้ทักษิณ ช่วยโปรโมทให้ จนภาพนั้นติดตาคนไทย มิรู้ลืม??</p>
<p style="margin: 0in;"> </p>
<p>พอมาถึงยุคสืบทอด “ฮอลลีวู๊ดโมเดล” ก็กลับมาอีก แม้ซับซ้อนกว่า เพราะมีทั้ง<strong> “ผู้สืบทอดออกหน้า” </strong>กับ <strong>“ผู้สืบทอดต่อคิว” </strong>เศรษฐาเป็นผู้สืบทอดออกหน้า ส่วนลูกสาวทักษิณต่อคิว เหมือน นักฟุตบอลที่เล่นตำแหน่งเดียวกัน คนแรกได้ลงเล่นก่อน ส่วนคนหลังรอเปลี่ยนตัว เศรษฐาจึงถูกกดดันให้สร้างผลงาน มิฉะนั้นจะโดนเปลี่ยนออก</p>
<p style="margin: 0in;">หลักฮอลลีวู๊ดโมเดลถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง เศรษฐาเคลื่อนไหวเป็นข่าวไม่หยุด ไปโน่นมานี่ มีภาพจับมือกับผู้นำโลก ตัดกลับมาออกไปตรวจงานต่างจังหวัด เตรียมจัดครม.สัญจร เศรษฐาไม่กลัวนักข่าว ถามอะไรก็ตอบได้หมด ไม่ต่างจากคนเล่นกลร้องตะโกนว่า
<strong>“อับดุลเอ้ย ถามอะไรตอบได้”</strong> แล้วมีเสียง อับดุลตอบกลับว่า<strong>
“ตอบได้” !!</strong></p>
<p style="margin: 0in;"> </p>
<p>นอกจากเศรษฐาขยัน อย่างน้อยก็ขยันกว่า “น้าตู่ ต้วมเตี้ยม” <strong>--แต่น้าตู่ก็ต่อต้านฮอลลีวู๊ดโมเดลอย่างแข็งขัน เพราะน้าตู่คิดตลอดว่า “มันไม่จริงใจ”</strong> --เศรษฐายังทำหน้าที่เป็นตัวแทน ส.ส. ของพรรคตัวเอง อันเป็นหน้าที่โดยชอบในฐานะผู้นำรัฐบาล และเป็นหน้าที่โดยนัยในฐานะที่ส.ส.เป็นผู้สนับสนุนทางการเมือง ซึ่งเศรษฐาไม่เคยมีฐานทางการเมืองมาก่อน อันเป็นเรื่องแปลกประหลาดพิสดารมากสำหรับการเมืองไทย ไม่เคยมี “คนนอก” ที่ไม่เคยเล่นการเมืองเลย กระโดดข้ามห้วยมาเป็นนายกรัฐมนตรีในระบอบการเลือกตั้ง เว้นแต่นิทานเรื่องเทวดาประทาน “ขอนไม้” ลงมาให้ “กบ” –หรือว่า นี่จะเป็นเรื่องเดียวกัน???</p>
<p style="margin: 0in;">ข้างฝ่าย <strong>“ผู้สืบทอดรอคิว” </strong>ถูกจัดวางตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าพรรค ทำนองเทวดาประทาน “ขอนไม้” เรื่องเดียวกัน –แปลกมาก ทำไมทุกอย่างของเมืองไทยมันเป็นไปตาม “ทฤษฎีสมคบคิด” คนไทยดูหนังตอนจบ ร้องพร้อมกันว่า “โอ้ กูว่าแล้ว”!!!</p>
<p><strong>“ผู้สืบทอดรอคิว” </strong>เคลื่อนไหวคึกคัก มีตำแหน่งเป็นประธาน “ซอฟท์พาวเวอร์” ปัญหาเกิดขึ้นทันทีว่า ไอ้ คำว่า “ซอฟท์พาวเวอร์” ที่ว่ามันคืออะไร??? เพราะตามตำราของโจเซฟ นาย (Joseph Nye) “ซอฟท์พาวเวอร์” มันหมายถึง “การใช้ไม้นวมในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ” เพื่อมุ่งครอบงำประเทศอื่น เพื่อให้เขาทำตาม โดยไม่ใช้ “ไม้แข็ง” คือ กำลังทหารบังคับ เว้นกรณีจำเป็น</p>
<p>วิธีการใช้ไม้นวมตามตำราของโจเซฟ นาย แบ่งเป็น 4 ด้าน</p>
<p><strong>ด้านแรก คือ คุณค่า (value) </strong>เช่น สิทธิเสรีภาพ ความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งต้องเป็นคุณค่าสากล</p>
<p><strong>ด้านที่สอง คือ วัฒนธรรม (culture)</strong> เช่น วัฒนธรรมแดกด่วน (Fast Food) ที่แพร่ไปทั่วโลก</p>
<p style="margin: 0in;"><strong>ด้านที่สาม คือ นโยบายรัฐบาล (policy)</strong> เช่น นโยบายสี จิ้นผิง สืบทอดนโยบายเติ้ง เสี่ยวผิงมาเปิดประเทศจีน และเพิ่ม<strong> “สีโคโนมิกส์”</strong> เข้าไป หมายถึงการพัฒนาด้านอุปทานของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพราะสี จิ้นผิง รู้ดีว่าแม้จีนขายของได้มากมาย แต่ก็ยังเป็นแบรนด์ดังๆ ของต่างประเทศที่โยกฐานการผลิตมาที่จีน จีนต้องผลิตสินค้าได้คุณภาพเท่ากับหรือดีกว่าต่างประเทศ วิธีการไม่มีอย่างอื่น นอกจากเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าทันหรือเหนือกว่าตะวันตก ฝรั่งมองว่า สี จิ้นผิง มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์อุปทาน (supply-side economics) เป็นอย่างดี จึงเรียกความคิดของสี จิ้นผิง ว่า “สีโคโนมิกส์” ตอนนี้ สี จิ้นผิง กำลังรุก “รถไฟความเร็วสูง” ไปทั่วโลก เป็นเครือข่ายใยแมงมุม นอกจากส่งสินค้าจีนไปขายแล้ว คนจีนยังออกไปทำมาหากินตามเส้นทางรถไฟได้ด้วย</p>
<p> </p>
<p>นักศึกษาจีนที่แห่มาเรียนเมืองไทยมีสาเหตุใหญ่สองสาเหตุ คือ ตกบันใดการสอบเอ็นทรานซ์ กับการเตรียมการประกอบอาชีพตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ส่วนผลพลอยได้ คือ ได้แฟนคนไทย กับพูดภาษาไทยได้ มีอยู่รายหนึ่งเป็นหลานสาวอาลีบาบา ได้แฟนเป็นชาวไทยจีนฮ่อคนเชียงราย ประสบความสำเร็จจากการเอาระบบอาลีบาบามาใช้ตั้งบริษัทขนส่งจนร่ำรวย ได้ “ยูนิคอร์น” ตัวแรก หมายถึงเป็นบริษัท Start-up ที่มีทุนทรัพย์เกินสามหมื่นล้านบาทบริษัทแรกของไทย คือ กลุ่มบริษัทแฟลช นั่นเอง</p>
<p style="margin: 0in;"> </p>
<p>และ<strong>ด้านที่สี่ คือ การปกครอง (government)</strong> เช่น ชัยชนะของการปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตยที่มีเหนือคอมมิวนิสต์อย่างเบ็ดเสร็จราบคาบ แต่ก็มีทางเลือกอีกว่าประเทศจะมีจุดยืนทางเศรษฐกิจและสังคมแบบไหน ได้แก่ (1) เสรีประชาธิปไตย (2) สังคมประชาธิปไตย และ (3) ทางเลือก ที่สาม หมายถึงเอาเสรีประชาธิปไตยมาผสมกับสังคมประชาธิปไตย เพื่อเจือจางสังคมนิยมลงอีก</p>
<p style="margin: 0in;">อันนี้ก็แปลกเหมือนกัน—ที่ประเทศไทยไม่เคยเลือก “จุดยืน” ของประเทศ –เราจึงไม่มีทิศทางว่าจริงๆ เราจะไปทางไหน???
</p>
<p><strong>ทางปฏิบัติจึงมี 2 ทาง คือ ขายความหวือหวา!! (ทักษิณ) กับทำตามข้าราชการ แล้วแต่ “พี่” ข้าราชการจะพาทำ!! (น้าตู่)</strong></p>
<p style="margin: 0in;"> </p>
<p><strong>ส่วนพรรคแนวสังคมประชาธิปไตยในไทย (เสี่ยทอน/พิธา)—คนกลัวมาก โดยเฉพาะฝ่ายอนุรักษ์นิยม ต่อต้านโดยชู “ชาตินิยม” สกัดทุกเม็ด เช่น การกล่าวหาว่าเป็นพวก “ชังชาติ” –ไม่รู้พวกพรี่ๆๆ คิดกันได้ยังไง555 -มันมีด้วยเหรอคนชังชาติ??? พวกที่ถูกจับไปอยู่เกาะน่ะ ใช่ไหม?</strong></p>
<p style="margin: 0in;">เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คณะกรรมการซอฟท์พาวเวอร์ไทย ประกาศนโยบายซอฟท์พาวเวอร์ ตั้งเป้าโกยเงินเข้าประเทศปีละ 4 ล้านล้านบาท มีนโยบายต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ (เห็นหน้ายิ่งลักษณ์ลอยมาทันที!! เจ้าของลิขสิทธิ์ “ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ”)</p>
<p>ต้นน้ำเป็นอบรมคน 20 ล้านคน ส่วนกลางน้ำพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 11 อุตสาหกรรม เช่น อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบและแฟชั่น และสุดท้ายปลายน้ำ ถึงจะเป็นส่งเสริมสู่เวทีโลก โดยนโยบายการทูต</p>
<p style="margin: 0in;">ขั้นต้นตั้งงบปี 2567 ให้ 5 พันล้านบาทเศษ แบ่งเป็นเฟสติวัล 1,000 ล้านบาทเศษ ท่องเที่ยว 700 ล้านบาทเศษ อาหาร 1,000 ล้านบาท นอกนั้นก็เป็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น เกม รวมสี่อย่างหลังนี้ประมาณ 1,700 ล้านบาทเศษ</p>
<p><strong>ตบท้ายด้วยหนังสือ จัดงบให้เยอะที่สุด 69 ล้านบาท (อันนี้ประชดนะคร้าบ!!)</strong></p>
<p style="margin: 0in;"> </p>
<p>ในปี 2567 จะเสนอตั้งหน่วยงานสร้างสรรค์เนื้อหาซอฟท์พาวเวอร์ พร้อมกับระบุชัดว่าเลียนแบบมาจากเกาหลีใต้ คนไทยเลยร้อง “อ๋อ” เข้าใจแล้ว ไทยเราเลียนแบบมาจาก “พี่หลี” นี่เอง!</p>
<p>ซอฟท์พาวเวอร์ไทยจึงมาได้คำตอบจากแผนและนโยบายที่มี “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” คนต่อไปเป็นประธาน</p>
<p>คำตอบที่ชัดเจน คือ ซอฟท์พาวเวอร์ไทย หมายถึง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งนำเอาวัฒนธรรมมาขายนำเงินเข้าประเทศ รัฐบาลวาดหวังว่าจะได้เงินปีละ 4 ล้านล้านบาท ถ้าอยู่ครบสี่ปี รัฐบาลก็นำเงินเข้าประเทศ 16 ล้านล้านบาท!!</p>
<p>การเอาวัฒนธรรมมาขาย (commodification of culture) ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย ใครๆ เขาก็ทำเช่น การท่องเที่ยวเข้าไปอยู่กับชนเผ่าเมารี ป่าอะเมซอน เที่ยวป่าเที่ยวเขา ชมนกชมไม้ ดูเก้งกวาง เสือ ดำน้ำลึก ใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน ไม่ได้เป็นเรื่องแปลก—ได้เงินเข้าประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ดีขึ้น คนเที่ยวก็มีความสุข ได้เปิดหู-เปิดตาและรับรู้สิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น ได้ภาพและประสบการณ์ไปเก็บไว้เป็นความทรงจำ</p>
<p>ปัญหาของการเอาวัฒนธรรมมาขายอยู่ที่มันเป็นกระบวนการขยายตัวของทุนนิยม ซึ่งทำ ทุกอย่างให้เป็นสินค้าและเงินตรา ต้องระวังผลกระทบทางลบที่จะตามมา</p>
<p>ด้านหนึ่ง มันทำลายคุณค่าของวัฒนธรรมโดยตัวเอง เพราะเมื่อวัฒนธรรมเป็นสินค้า สินค้าก็จะมีความสำคัญกว่าวัฒนธรรม</p>
<p>ตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเหรียญพระมีพุทธคุณ พระสงฆ์ทำพิธีสวดคาถาเอาไว้ให้คนระลึกถึงพระพุทธองค์และอาจมีอิทธิฤทธิ์คุ้มครองคนนับถือที่เอาเหรียญมาห้อยคอ แต่ถ้าหากเหรียญชิ้นหนึ่งมีฤทธิ์มาก เช่น ยิงไม่ออก-ฟันไม่เข้า เหรียญนั้นก็เปลี่ยนสภาพจากพระพุทธคุณกลายเป็นสินค้า คนก็จะพูดกันว่า เหรียญนี่ราคาเป็นล้านเลยนะ!!</p>
<p>เหรียญพระจึงกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในทางรูปธรรมที่เป็นเงินตรามากกว่าอย่างอื่น ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า “reification” หมายถึงเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรมกลายเป็นรูปธรรม หากมากเข้าก็จะกลายเป็นการคลั่งวัตถุ (fetishism) ไม่ต่างอะไรจาก “เงิน” สำคัญกว่า “ความรัก” หรือ “น้ำใจคน”</p>
<p>การเอาศิลปะ ดนตรี กีฬา แฟชั่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน มาขายก็ทำนองเดียวกัน เรามุ่งตอบสนองต่อเงินตราจากการท่องเที่ยว ตัวอย่าง บั้งไฟพญานาค นั่นยังไง มันมีจริงหรือไม่จริง ไม่สำคัญเท่ากับคนมาเที่ยว!!</p>
<p>ส่วนอีกด้านหนึ่ง การเอาวัฒนธรรมมาขายตามกระบวนการของทุนนิยมชอบใช้คำรวม เพื่อทำให้คนลืม “คำขาด” หรือกลบ “ความขัดแย้ง” ที่อยู่ในคำรวมนั้น</p>
<p>ตัวอย่างเช่น เราใช้คำว่า “ซอฟท์พาวเวอร์” เป็นคำรวมที่มีความหมายเยอะมาก จนอาจหมายถึงอะไรก็ได้ เหมือนหมอเลี้ยบว่า ไม่ต่างอะไรจากความหมาย คำว่า “ความรัก” ยิ่งภาษาไทย (ไม่รู้ใครอีกแล้ว—หมอนี่มันไม่มีเวียกมีงานหรือยังไง??) บัญญัติศัพท์ว่า “อำนาจละมุน” ยิ่งกินความคลุมไปไกลมาก อาจรวมถึง “การกินละมุด” ด้วยหรือเปล่า? มันกลมกล่อมเหมือนกัน</p>
<p>การที่เราใช้ “คำรวม” มันทำให้เราลืม “ความขัดแย้ง” ที่มีอยู่ในคำรวมนั้น เช่น ซอฟท์พาวเวอร์ไทยอธิบายว่า “อำนาจละมุนหรือละมุด” ของไทย หมายถึง อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบและแฟชั่น</p>
<p>แสดงว่าคนขายอาหารนี่กลมเกลียวกันเป็นเนื้อเดียวใช่ไหม?? แม้แต่คนขายหมูกระทะ ถ้าเกิดมี 2-3 ร้านตั้งใกล้กัน จะไม่ขัดแย้งกันเลยใช่ไหม? แล้วแบรนด์เจ้าไหนละที่เป็นซอฟท์พาวเวอร์ไทย? ผู้อาวุโสท่านหนึ่งเล่าว่าร้านหมูกระทะที่เชียงใหม่ มันเป็น soft killer เพราะปล่อยควันโขมง คนแถวนั้นตาย ผ่อนส่ง!! หรืออาหารไทย รัฐบาลมีโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 เชฟ แสดงว่าเชฟจำนวน 75,000 คน มีตัวตนและอัตลักษณ์ของตัวเองไม่ซ้ำกันเลยใช่ไหม? แล้วเขาทำอาหารขายที่ไหน? ไม่แข่งกับใครเลยใช่ไหม? ขายได้ทุกคนใช่ไหม? แล้วใครตั้งเขาเป็นเชฟประจำหมู่บ้าน กำนันหรือว่าผู้ใหญ่บ้านหรือกรรมการจากอำเภอ??</p>
<p>ระยะใกล้ๆ เรากำลังจะจัดสงกรานต์ใช้เวลาเป็นเดือน นัยว่าเป็นนโยบาย “เฟสติวัล” ปัญหาคือมันมีเทศบาลไหนบ้างที่มีศักยภาพจัดสงกรานต์เป็นเดือนได้ เช่น เทศบาลนครขอนแก่นมีศักยภาพ แต่เทศบาลตำบลหนองขอนหรือหัวเรือ เมืองอุบลฯ มีศักยภาพไหม? แล้วกระบวนการคัดเลือกเมืองที่จะจัดเฟสติวัลนี่ มันไม่มีระบบพรรคระบบพวกเลยหรืออย่างไร? แล้วเมืองที่ไม่ได้เข้าระบบและไม่ได้งบประมาณล่ะ จะทำยังไง?? แล้วก็ปัญหาเดิม ใครเป็นคนคัดเมืองที่จัดสงกรานต์และสนับสนุนงบประมาณ???</p>
<p><strong>การเอา “คำรวม” มากลบความขัดแย้งนี้ ทำให้เราหลงลืมปัญหาที่แท้จริงของประเทศ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การจัดสวัสดิการสังคมให้กับคนในประเทศ จุดยืนทางด้านประชาธิปไตยของชาติ --มุ่งมองเฉพาะด้านดีอย่างเดียว เช่น เราหวังว่าจัดงานสงกรานต์นานๆ แล้วจะมีคนมาเที่ยวเยอะแยะ แล้วได้เงินเข้าประเทศ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น—เป็นการวาดฝันที่เป็นเส้นตรงเกินไปไหม??</strong></p>
<p>แต่การมาเที่ยวของคนจีนหรือฝรั่ง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเครือข่ายบริษัททัวร์เหรอ?? หรือว่าเขาสามารถแบกเป้มาเที่ยวได้เอง แล้วทำไมบริษัททัวร์จีนถึงบอกให้ไทยเตรียมประเทศให้พร้อมก่อนแล้วค่อยเปิดให้ทัวริสต์เข้าประเทศ?? อีกทั้งยังมีปัญหาที่ชุมชนอีก เช่น เขามาเที่ยวสงกรานต์ พักโรงแรม แล้วซื้อของกลับเท่านั้นหรือ?? ปัญหาการยอมรับของชุมชนและปฏิสัมพันธ์กับชุมชนเป็นอย่างไร?? การท่องเที่ยวยกระดับเศรษฐกิจจริงไหม แล้วสังคมวัฒนธรรมล่ะ ยกด้วยไหม??</p>
<p>ความขัดแย้งในซอฟท์พาวเวอร์สร้างสรรค์แบบไทยๆ ยังมีอีกมากมาย เช่น ใครจะได้รับการส่งเสริมแฟชั่น เกม ศิลปะ เช่น ใครเป็นคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนศิลปะและการแสดงร่วมสมัย หมอนั่นกลายเป็น “ยักษ์” มีกระบองขึ้นมาทันที (ทั้งที่เมื่อก่อน “มีความสุขอยู่กับความซึม” เช่น กระทรวงวัฒนธรรม) เพราะมีอำนาจใช้ดุลพินิจเลือกส่งเสริมใครและไม่ส่งเสริมใคร</p>
<p>ทำนองเดียวกัน การส่งเสริมนักดนตรีไทยไปสู่ระดับโลก จะมีนักดนตรีสักกี่คนไปสู่ระดับโลกได้ นอกจากน้อง “ลิซ่า” แล้วมีใคร น้าแอ้ด น้าหงา หรือหมอลำระเบียบวาทศิลป์? น้องลำไย ไหทองคำ หรือก้อง ห้วยไร่ เป็นยังไง??</p>
<p>นักดนตรีไทยที่อยู่ในระดับโลก เขาก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เขาตั้งรกรากอยู่เมืองนอกกันหมดแล้วหรือ??</p>
<p>การพัฒนาสาขา “เกม” สร้างสนามเล่น “เกม” ได้หรือเสียคิดกันแล้วยัง?? พ่อแม่ยังไปปรึกษาหมอว่า “ลูกติดเกม” อยู่ไหม?? หรือว่าสามารถเปลี่ยนเป็นนักคิดสร้างสรรค์เกมได้หมดแล้ว!!</p>
<p>ส่วนนโยบายซอฟท์พาวเวอร์ให้หนังสือไทยออกไปสู่นานาชาติ ก็เห็นมีแต่หนังสืออาจารย์ปวิน เขาก็ขายดีอยู่แล้วนี่?? หนังสือที่กรรมการจะส่งเสริมน่าจะเป็นแนวที่ขายได้เฉพาะบางกลุ่มบางพวกในประเทศมากกว่า เพราะหนังสือไทยที่จะขายในระดับนานาชาติ ต้องมีกรอบแนวคิดที่เป็นสากล!!</p>
<p>มีแต่พวกอาจารย์กับนักเขียนบางคนเท่านั้นที่จะทำได้ แต่ประเทศไทยกลับกด “อาจารย์” เอาไว้เป็นได้แค่ “พนักงาน” ส่วนศาล อัยการ เป็นข้าราชการใหญ่โต แถมต่ออายุได้อีก และขยายสำนักงานออกไปได้เรื่อยๆ —ที่จริง เป็นความคิดที่ผิดพลาดมากที่ให้อาจารย์เป็นแค่ลูกจ้าง—ทำลายทั้งศักดิ์ศรีและคุณธรรมของความเป็นคนอย่างไม่เท่าเทียมกัน คนไทยเรียกศาล อัยการ ว่า “ท่าน” ทุกคำ แต่เรียกอาจารย์ ว่า “จานๆๆ ” (จานมันต้องใหญ่กว่าทั่นอยู่แล้ว เพราะจานมันแบน ส่วนทั่นมันห้วนๆ สั้นๆๆ แฮ่!!)</p>
<p><strong>สรุปว่า ซอฟท์พาวเวอร์ไทย ไม่ใช่ซอฟท์พาวเวอร์โลก เป็นกระบวนการทุนนิยมของการนำวัฒนธรรมมาขาย โดยอ้างว่าเป็นการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศจากการท่องเที่ยว แต่ไม่ได้มีเป้าหมายอะไรที่ชัดเจนว่าจะมีนโยบายต่างประเทศและวิธีการทางการทูตอย่างไร จึงจะสามารถสร้างอำนาจและอิทธิพลต่อโลกได้ ความจริงซอฟท์ พาวเวอร์โลกเขามีฐานะเป็นนโยบายระดับโลก (global policy) และมีกระบวนการส่งนโยบายออกสู่ระดับโลกอย่างเห็นได้ชัด โดยผ่านทางนโยบายรัฐบาลและนโยบายการทูต เช่น สีโคโนมิกส์ ที่กล่าวมา</strong></p>
<p><strong>แต่ของไทย ผลักเอาไว้ไปอยู่ที่ขั้นตอนปลายน้ำ ความหมายจริงๆ คือ ก้อกูยังคิด ไม่ออกน่ะ???</strong></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคว
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107197 







