[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 มิถุนายน 2567 19:43:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจปี 2566 อาจโตต่ำกว่าเป้าหมายมาก  (อ่าน 45 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 มกราคม 2567 17:47:58 »

นักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจปี 2566 อาจโตต่ำกว่าเป้าหมายมาก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-28 16:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจปี 2566 อาจโตต่ำกว่าเป้าหมายมาก ตัวเลขคาดการณ์กระทรวงคลังเป็นไปได้ขยายตัวเพียง 1.8% ทั้งปี หากจีดีพีไตรมาสสี่ปี 2566 ขยายตัวประมาณ 1.4% ภาคการผลิตอุตสาหกรรมติดลบเกิน 4% (สัดส่วน 32% ของระบบเศรษฐกิจ) ภาคเกษตรกรรมติดลบมากกว่า 2% (สัดส่วน 8%) แม้นจีดีพีภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวแรงก็ตาม บริหารนโยบายการเงิน การคลัง และนโยบายเศรษฐกิจต้องนำกรอบทฤษฎีการบริหารเศรษฐกิจมหภาคเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอากรอบคิดแบบการบริหารเศรษฐกิจแบบจุลภาคเป็นตัวตั้ง                    
         
28 ม.ค. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยและตัวแปรทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันอย่างเป็นพลวัต การวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมหภาคจึงต้องดูภาพรวมทั้งระบบมากกว่าการแยกส่วนเป็นส่วนย่อยๆในระดับจุลภาคแล้วแก้ไปทีละจุด เพราะการแก้ที่จุดหนึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบต่อส่วนอื่นด้วย เช่น ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และ ไม่ให้มีการก่อหนี้เกินตัว ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจที่แข็งแกร่งจึงอยู่ได้ แต่มีผลข้างเคียงทำให้ ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือต่อรายได้สูงได้รับความเดือดร้อนทางการเงินจนถึงขาดสภาพคล่อง ทำให้มีการปิดกิจการและเลิกจ้างคนได้ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอันหมายรวมถึงทั้งมาตรการทางการคลังและการเงินแบบมองภาพย่อย แยกส่วน จึงอาจได้ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ได้ และ ต้องไปตามแก้ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์อันส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนต่อคนส่วนใหญ่อีก </p>
<p>ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 ครั้งแรกนั้น ออกมาดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้มาก (+3.3% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ตลาดการเงินประเมินให้สูงสุด +2.5%) ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเงินบาทและเงินสกุลหลักอื่น ขณะที่ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนเพิ่มเติม จากการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินยูโร  (EUR) หลังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเพิ่มความคาดหวังว่า ECB จะสามารถลดดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ และอาจลดดอกเบี้ยราว 5-6 ครั้ง คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐอาจไม่ปรับลดดอกเบี้ยในไตรมาสแรกจากตัวเลขจีดีพีดีเกินคาด ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจึงไม่จำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงนานเกินไป ราคาทองคำนั้นรีบาวด์ขึ้นและทรงตัวเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปอีกระยะหนึ่ง ส่วน อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯระยะ 10 ปีปรับตัวลดลงเล็กน้อย  </p>
<p>ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารลดดอกเบี้ยบรรเทาปัญหาผิดนัดชำระหนี้ในตลาดหุ้นกู้ได้ ไม่กระทบเสถียรภาพเงินบาทและเงินเฟ้อ เงินเฟ้อติดลบอยู่และมีแนวโน้มเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อไป การเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจ ลดแรงกดดันหนี้สินต่อภาคครัวเรือนเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ เศรษฐกิจปี 66 อาจโตต่ำกว่าเป้าหมายมาก ตัวเลขคาดการณ์กระทรวงคลังเป็นไปได้ที่อาจขยายตัวเพียง 1.8% ทั้งปี หากจีดีพีไตรมาสสี่ปี 66 ขยายตัวประมาณ 1.4% ภาคการผลิตอุตสาหกรรมติดลบเกิน 4% (สัดส่วน 32% ของระบบเศรษฐกิจ) ภาคเกษตรกรรมติดลบมากกว่า 2% (สัดส่วน 8%) แม้นจีดีพีภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวแรงก็ตาม
 
ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าการผิดนัดชำระหนี้ในตลาดกู้ในปี พ.ศ. 2567 ที่จะเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและลดดอกเบี้ย ประคับประคองธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ก่อน แล้วจึงไปเร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้และติดตามทวงหนี้ และต้องไปไม่ไหวจริงๆจึงปล่อยให้ล้มไปตามสภาพ เราควรต้องศึกษาบทเรียนจากการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี 2540 ในระยะแรกที่ใช้การแก้ปัญหาแบบแยกส่วนด้วยการใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงินและการคลัง จนก่อให้เกิดการล้มละลายในวงกว้างและคนว่างงานจำนวนมากในช่วงดังกล่าว </p>
<p>ในปีนี้ จะเป็นปีวิกฤติของบริษัทเอกชนที่มีสัดส่วนหนี้สูงเมื่อเทียบกับทุน หรือ ลงทุนเกินตัว การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยหรือมาตรการการคลังจะช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤติลงได้บ้าง โดยมาตรการเงินจะทำได้เร็วกว่า เพราะมาตรการทางการคลังต้องผ่านกระบวนการทางการเมืองและการดำเนินการของระบบราชการ ระบบเศรษฐกิจมีการผลิตไม่เต็มที่ มีเครื่องจักรที่ไม่ได้เดินเครื่อง มีโคงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังขายไม่ออกจำนวนมากจากการลงทุนเกินในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้เศรษฐกิจติดกับดักไม่ขยายตัวตามศักยภาพ เราสามารถเพิ่มจีดีพี เพิ่มรายได้ จากการกระตุ้นอุปสงค์การบริโภคสินค้าผลิตภายในประเทศด้วยการลดดอกเบี้ย รวมทั้งการเพิ่มใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นการบริโภคและกระตุ้นการลงทุนที่ผลิตภายในประเทศเพื่อให้เกิดรายได้ การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มจีดีพีในระยะสั้น ส่วนการเพิ่มจีดีพีในระยะยาวนั้น ต้องเกิดจากการลงทุนในการเพิ่มผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันเพื่อขยับศักยภาพของระดับเศรษฐกิจสูงขึ้นไปอีก คือ การเคลื่อนเส้น Production Possibility Frontier สูงขึ้น นั่นเอง </p>
<p>หนี้สินคงค้างในตลาดตราสารหนี้ไทยปีที่แล้วมีมูลค่าคงค้างกว่า 16.5 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีออกหุ้นกู้ระยะยาวใหม่อีก 1 ล้านล้านบาทในปีนี้ส่วนใหญ่เป็น หุ้นกู้ Investment Grade และ หนี้ครัวเรือน 16.2 ล้านล้านบาทขณะนี้อาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 16.7-16.9 ล้านล้านบาทในปลายปีนี้ได้ การแก้ไขปัญหาระบบหนี้สินของไทยต้องใช้การปรับโครงสร้าง เพิ่มผลิตภาพเพื่อให้ความสามารถในการทำกำไรและหารายได้สูงขึ้น แต่การดำเนินการเหล่านี้ใช้เวลานาน การบรรเทาปัญหาด้วยมาตรการระยะสั้นจึงมีความสำคัญพอๆกับการแก้ปัญหาระยะยาวในเชิงโครงสร้าง  การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของระบบสถาบันการเงินมีความสำคัญกว่าการใช้นโยบายดอกเบี้ยไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว เนื่องจากหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับจากเดิมอยู่ที่ 76% ต่อจีดีพี ในปี 2555 มาอยู่ที่ 84% ต่อ GDP ในปี 2562 และถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่ 95% ต่อจีดีพี ในปี 2564 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเริ่มปรับลดลงมาอยู่ที่ 91% ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค ธนาคารพาณิชย์เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ สวนทางกับตัวเลขหนี้ที่มาจากกลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคลที่เติบโตในอัตราเร่งสูงสุดในรอบทศวรรษ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนคุณภาพหนี้มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องส่วนหนึ่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปตัว K ทำให้ครัวเรือนและกิจการบางส่วนยังคงประสบปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้อย่างชัดเจน 
ความเสี่ยงของการ Rollover หุ้นกู้ภาคเอกชนจำนวน 8.9 แสนล้านในปีนี้เพิ่มขึ้นหากสภาพคล่องตึงตัวและดอกเบี้ยไม่ลดลงจากระดับปัจจุบัน แต่จะยังไม่มีวิกฤติใดๆในตลาดหุ้นกู้เนื่องจากยอดผิดนัดชำระหนี้ขณะนี้ยังไม่ถึง 1% ของหนี้คงค้างทั้งหมด มีหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงและไม่มีอันดับเครดิตประมาณ 1 แสนล้านบาท คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10% ของตลาดหุ้นกู้ทั้งหมด กลุ่มนี้ คือ กลุ่มที่อาจมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ได้ </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107823
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 2566
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 102 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 14:00:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สำรวจราคาจัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ปี 2566
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 177 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2566 02:27:19
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6-12 ส.ค. 2566
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 138 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2566 04:05:44
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประธานรัฐสภานัดโหวตเลือกนายก 22 ส.ค. 2566
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 82 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 20:56:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประกาศผลรางวัลชนะเลิศวรรณกรรมพานแว่นฟ้า 2566
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 44 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2566 13:25:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.149 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มกราคม 2567 22:57:46