[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤษภาคม 2567 09:14:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - มุสลิมโรฮิงญา-ชาวพุทธยะไข่ เริ่มมีสันติภาพจากพลังคนหนุ่มสาวและความเข้มแข็งข  (อ่าน 42 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2567 01:00:53 »

มุสลิมโรฮิงญา-ชาวพุทธยะไข่ เริ่มมีสันติภาพจากพลังคนหนุ่มสาวและความเข้มแข็งของกองทัพอาระกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-01 00:12</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม : รายงาน</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>มุสลิมโรฮิงญา-ชาวพุทธยะไข่ เริ่มมีสันติภาพกันแล้ว จากพลังคนหนุ่มสาว และความเข้มแข็งของกองทัพอาระกัน (AA) จากจุดเริ่มต้นที่คนพุทธต้องการให้เด็กไปโรเรียน ทำให้มุสลิมโรฮิงญามีเสรีมากขึ้น ต่างฝ่ายอดทนอดกลั้นมากขึ้น เผยนโยบาย Arakan Dream เอกภาพในความหลากหลายที่ต้องรวมทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่โจทย์ใหญ่เรืองการรับผู้ลี้ภัยกลับมายังไม่มีใครอยากพูดถึง อนาคตโรฮิงญาหาก AA เอาชนะทหารพม่าได้ ก็ยังไม่มีคำตอบชัดเจน </p>
<p>ชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ยังเหลืออยู่ในพม่ากับชาวพุทธ(กลุ่มชาติพันธุ์อาระกัน) ในรัฐยะไข่ เริ่มมีสันติภาพและการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว จากความพยายามของนักกิจกรรมสันติภาพที่มีทั้งคนพุทธและมุสลิม</p>
<p>ที่สำคัญคือการมีอยู่ของกองทัพอาระกัน หรือ AA (Arakan Army) ที่เอื้อต่อการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ต่างศาสนาอย่างมาก แต่แม้ขณะนี้ กองทัพอาระกันอาจจะเอาชนะรัฐบาลทหารพม่าได้ แต่โจทย์ใหญ่เรืองผู้ลี้ภัยในต่างแดน ยังไม่มีใครพูดถึง</p>
<p>จุดเริ่มต้นของความพยายามสร้างสันติภาพดังกล่าว มาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวชาวพุทธที่ต้องการจะให้เด็กๆ มุสลิมโรฮิงญาที่ยังเหลืออยู่ได้เข้าเรียนหนังสือหลังจาก 10 ปีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียน</p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><span style="font-size:11pt"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:&quot;Cordia New&quot;,sans-serif"><span style="color:black"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53500571138_0d06487254_b.jpg" /></span></span></span></span></span></span></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">Anthony Ware (ขวา) Costas Laoutides (ซ้าย)</span></p>
<p>เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจาก Anthony Ware และ Costas Laoutides นักวิชาการมหาวิทยาลัยเดกิ้น (Deakin University) ประเทศออสเตรเลีย ที่มานำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับ “Local peace-making, social cohesion and the right to self-determination for the Rohingya and the Rakhine in Myanmar” เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ (แปลสรุปเป็นภาษาไทยโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และ รุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สู่ความพยายามสร้างสันติภาพ</span></h2>
<p>เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐยะไข่ที่อยู่ทางตะวันตกของพม่า มีความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมโรฮิงญาที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาโดยฝีมือของทหารพม่า</p>
<p>จุดเริ่มต้นมีขึ้นเมื่อปี 2012 เมื่อเกิดความขัดแย้งในระดับชุมชนระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมโรฮิงญา มีการเผาบ้านชาวโรฮิงญาจนกลายเป็นคนไร้บ้านถึง 260,000 คน และต้องหนีไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือไม่ก็ลงเรือหนีไปประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียหรือไทย</p>
<p>จากนั้นความรุนแรงค่อย ๆ ลดลงแต่ความขัดแย้งยังอยู่ ชาวพุทธกับมุสลิมต้องแยกกันอยู่โดยมีทหารพม่าเข้ามาควบคุม มีการสร้างรั้วกั้นชุมชนและจับคนสองกลุ่มแยกกันอยู่ ความตึงเครียดระหว่างสองชุมชนมีมากขึ้นตลอดเวลา</p>
<p>ปี 2016 กลุ่มมุสลิมได้ตั้งกองทัพปลดปล่อยโรฮิงญา ARSA (Arakan Rohingya Salvation Army) ขึ้นมาเพื่อโจมตีทหารพม่า แต่ก็ถูกโต้กลับอย่างรุนแรงจนนำมาสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญาในปี 2017 แม้ตอนแรกไม่ชัดว่าทหารพม่าต้องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ แต่ผลมันเป็นอย่างนั้น</p>
<p>หลังปี 2017 มีผู้อพยพชาวโรฮิงญากว่า 940,000 คนในค่ายผู้ลี้ภัย 34 แห่งใน Cox’s Bazar ประเทศบังคลาเทศ โดย ค่ายกูตูปาลอง (Kutupalong) เป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผู้ลี้ภัย 635,000 คน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประชากรหายไปเป็นล้านคน</span></h2>
<p>พื้นที่ที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อยู่ในรัฐยะไข่ตอนเหนือ ปัจจุบันมีประชากรเหลืออยู่ราวๆ 600,000 คนจาก 1.6 ล้านคน? มีคนตายมากกว่า 14,000 คน และมีมากกว่า 354 หมู่บ้านที่ถูกเผา</p>
<p>ส่วนรัฐยะไข่ตอนกลางไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่คนโรฮิงญากว่า 120,000 คนต้องหนีไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศ (IDP) อีก 200,000 คนยังอยู่ในหมู่บ้าน</p>
<p>ส่วนคนพุทธในรัฐยะไข่ ทั้งตอนเหนือและตอนกลาง ปัจจุบันมีประมาณ 2 ล้านคน กว่า 220,000 คนก็ยังอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยหรืออาศัยอยู่กับญาติ</p>
<p>รวมประชากรทั้งหมดที่เหลืออยู่ในรัฐยะไข่ตอนเหนือและตอนกลางปัจจุบันราว ๆ 2.6 ล้านคน โดยตอนเหนือมีโรฮิงญาเหลืออยู่ประมาณ 300,000 คน และตอนกลางเหลืออยู่ประมาณ 300,000 คน</p>
<p>โดยงานวิจัยชินนี้โฟกัสไปที่มุสลิมโรฮิงญา 600,000 คนที่เหลืออยู่นั่นเอง โดยทำวิจัยมาตั้งแต่ปี 2018</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหาโรฮิงญา</span></h2>
<p>Anthony Ware ระบุถึงความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรฮิงญาว่า เป็นปัญหาที่ชาวมุสลิมถูกกดขี่ แต่ที่จริงเป็นความขัดแย้ง 3 ฝ่าย คือ</p>
<ol>
<li>ชาวพุทธยะไข่กับมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งมีสาเหตุมาจากประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2</li>
<li>ระหว่างมุสลิมโรฮิงญากับทหารพม่า จากกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ในปี 2016-2017 ซึ่งถูกพูดถึงในประชาคมระหว่างประเทศ</li>
<li>ชาวพุทธยะไข่กับรัฐบาลทหารพม่า ที่เพิ่งมีข่าวออกมา 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งชาวพุทธยะไข่หรืออาระกันต้องการเอกราช เพราะในอดีตเป็นรัฐอิสระมากก่อน</li>
</ol>
<p>ชาวพุทธอาระกันมีกองกำลังของตัวเองชื่อ Arakan Army หรือ AA พัฒนาขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว มีประมาณ 30,000 นาย มีการจัดตั้งที่ดีและมีอาวุธดี สามารถโจมตีทหารพม่าได้</p>
<p>“ความขัดแย้งในรัฐยะไข่เป็นกรณีตัวอย่างที่คลาสสิกของทฤษฎีความขัดแย้ง เพราะเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ซับซ้อน ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอม ต่างก็อ้างความชอบธรรมในการต่อสู้ และหาทางออกยังไม่ได้” </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พลังคนหนุ่มสาวนักกิจกรรมสันติภาพ</span></h2>
<p>Costas Laoutides อธิบายถึงโครงการวิจัยชื่อว่า การส่งเสริมการทำงานของนักกิจกรรมสันติภาพในท้องถิ่นหลังจากการกวาดล้างชาติพันธุ์: หนุนเสริมการสร้างสันติภาพระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญาและชาวพุทธในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์</p>
<p>ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่า นักกิจกรรมสันติภาพซึ่งสวนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวเกิดขึ้นมาอย่างไร มีบทบาทอะไร และสามารถทำงานข้ามความเชื่อทางศาสนาเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยอย่างไร และการสื่อสารระหว่างชาวโรฮิงญากับเพื่อนบ้านชาวพุทธเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีการใช้สื่อโซเชียลทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา</p>
<p>“นักกิจกรรมสันติภาพพยายามสร้างกลไกกระบวนการสื่อสารขึ้นมาใหม่ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้างกรอบคิดใหม่หนุนเสริมสันติภาพ</span></h2>
<p>งานวิจัยชิ้นนี้ มีทั้งการสัมภาษณ์เยาวชน นักกิจกรรมสันติภาพระหว่างศาสนาและชุมชน/ภาคประชาสังคม วิเคราะห์วาทกรรมในโซเชียลมิเดีย การทำแบบสำรวจ และจัดสนทนากลุ่มร่วมกันระหว่างนักกิจกรรมสันติภาพโรฮิงญาและชาวพุทธเพื่อหาทางที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน โดยแนวคิดหลักที่ใช้ คือ</p>
<p>1. Social media and the reframing of micro-violence คือ การใช้สื่อโซเชียลเพื่อสร้างกรอบใหม่ (Reframing) ในเรื่องความรุนแรงระดับจุลภาค เช่น ใช้คำพูดแบบใหม่หรือตีความให้เกิดคำอธิบายหรือสนับสนุนความคิดที่จะสร้างสันติภาพ จากการที่ “นิวยอร์กไทม์ระบุว่า ทหารพม่าใช้บัญชีปลอมในการเผยแพร่ Fake News เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เอื้อต่อการโจมตีชาวโรฮิงญา”</p>
<p>2. Local capacities for peace (LCPs) ศักยภาพท้องถิ่นเพื่อสันติภาพ (LCP) โดยนำความเป็นจริงที่ปรากฏในความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน (เช่น ทัศนคติ การกระทำ ค่านิยม ความสนใจ ประสบการณ์ สัญลักษณ์ โอกาสฯร่วม) มาเป็นตัวเชื่อมต่อในมิติส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและโครงสร้าง</p>
<p>3. Capabilities for peace ความสามารถเพื่อสันติภาพ โดยนำแนวคิด LCPs มาพัฒนาความสามารถในการสร้างสันติภาพของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดของนักวิชาการสันติภาพหลายคน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พบความสัมพันธ์พุทธกับมุสลิมดีขึ้นตั้งแต่ปี 2018</span></h2>
<p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยอันแรก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมโรฮิงญาดีขึ้นตั้งแต่ปี 2018 แม้ว่าจะมีรัฐประหารเกิดขึ้นในพม่า แม้มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชาวโรฮิงญา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนพุทธกับมุสลิมดีขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โรฮิงญามีเสรีมากขึ้นในพื้นที่ปกครองของกองทัพ AA</span></h2>
<p>คนโรฮิงญามีเสรีภาพในการเดินทางมากขึ้น โดยในพื้นที่ที่กองทัพอาระกัน (AA) ปกครองอยู่นั้น พวกเขาสามารถออกไปทำงานนอกเขตได้ ทำให้สามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองได้ ซึ่งเดิมไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ได้ที่กำหนดไว้ได้ แต่ถ้าจะออกนอกพื้นที่ก็ต้องขออนุญาต</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สิทธิกำหนดชะตากรรมตนเองที่รวมคนพุทธและมุสลิม</span></h2>
<p>จากการสำรวจพบว่า ปฏิบัติการของกลุ่มทหารอาระกัน (AA) มีความสำคัญต่อการพัฒนาการนี้ ทหารอาระกันมีความเข้มแข็งมากในพื้นที่ที่กองทัพอาระกันปกครอง มีการจัดตั้งโครงสร้างที่เหมือนเป็นรัฐซ้อนรัฐอยู่ในพม่า</p>
<p>ในพื้นที่นั้นกองทัพอาระกันมีอำนาจจัดการในเรื่องกระบวนการยุติธรรม และจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโรฮิงญาอย่างระมัดระวังมาก “สิ่งที่ปรากฏในโซเชียลมีเดียก็มีการไปสืบสวนสอบสวนว่าเป็นอย่างไร ใครเผยแพร่รูปอะไรต่างๆ”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">Arakan Dream เอกภาพในความหลากหลาย</span></h2>
<p>ตั้งแต่ปี 2014 ปฏิบัติการต่างๆ ของกองทัพอาระกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เวลากองทัพอาระกันออกแถลงการณ์ต่างๆ สู่สาธารณะ เวลาพูดถึงกลุ่มโรฮิงญาก็จะพูดในลักษณะที่ inclusive หรือรวมเอากลุ่มโรฮิงญาเข้ามาด้วย</p>
<p>“สิ่งที่กองทัพอาระกันทำ คือการพูดถึงหรือพยายามที่จะทำให้ความฝันของคนอาระกัน (Arakan Dream) เกิดขึ้น การมีสิทธิในการที่จะกำหนดชะตากรรมตนเอง หมายถึงสิทธิของคนที่อยู่ในรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ทั้งหมด ทั้งชาวพุทธทั้งมุสลิม”</p>
<p>กองทัพอาระกันใช้นโยบาย “ต้องมีเอกภาพในความหลากหลาย”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กองทัพอาระกัน เอื้อต่อการรื้อฟืนความสัมพันธ์</span></h2>
<p>การมีอยู่ของกองทัพอาระกันทำให้การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างศาสนา คือ กลุ่มคนพุทธยะไข่และคนมุสลิมโรฮิงญาเกิดขึ้นได้</p>
<p>อาจารย์พูดถึง Cultural Market ตลาดทางวัฒนธรรม ศาสนาหรือเชื้อชาติ ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งเพื่อทำให้เกิดความแตกแยกหรือทำให้เกิดเอกภาพระหว่างผู้คนก็ได้ แต่ข้อค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมสามารถนำมาใช้สร้างความเป็นเอกภาพระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนาและเชื้อชาติได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หาก AA ชนะทหารพม่า จะปฏิบัติต่อโรฮิงญาอย่างไร ยังไม่มีคำตอบ</span></h2>
<p>นักวิจัยได้ตอบคำถามเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า ไม่แน่ใจว่าความประสงค์เบื้องหลังของกองทัพอาระกันคืออะไรกันแน่ ไม่อยากจะคาดเดา แต่อาจเป็นการตัดสินใจที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดในทางปฏิบัติที่เลือกจะไม่สู้ศึกทั้งสองด้าน คือสู้กับโรงฮิงญาและสู้กับทหารพม่าด้วย</p>
<p>อีกเหตุผลคือกลุ่มชาวพุทธยะไข่ก็ต้องการการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็จำเป็นต้องแสดงถึงการยอมรับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่ด้วย แต่หากว่ากองทัพอาระกันสู้ชนะทหารพม่าแล้วเขาจะปฏิบัติต่อกลุ่มโรฮิงญาอย่างไรนั้น ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน</p>
<p>“แม้กองทัพอาระกันจะมีความสำคัญมากที่จะเปลี่ยนเกมที่ดำเนินอยู่ แต่จริงๆ แล้วก็ต้องให้เครดิตกับกลุ่มอื่นๆในสังคมด้วย เช่น กลุ่มนักกิจกรรมสันติภาพก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลจากความพยายามของนักกิจกรรมสันติภาพ</span></h2>
<p>ส่วนบทบาทของนักกิจกรรมด้านสันติภาพหรือภาคภาคประชาคมก็มีความสำคัญ โดยได้เคลื่อนไหวทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อพยายามสร้างวาทกรรมหรือคำอธิบายที่ต่อต้านการสร้างความเกลียดชังหรือข้อความเชิงลบ</p>
<p>สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น กลุ่มนักเรียนที่เป็นคนโรฮิงญาสามารถที่จะเข้าไปเรียนหนังสือในเมืองซิตเวย์ได้ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมาพวกเขาไม่สามารถเข้าเรียนได้ เพราะกลุ่มคนพุทธในยะไข่ที่เป็นนักกิจกรรมพยายามพูดถึงสิทธิของคนโรฮิงญาในการเรียนหนังสือ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กรณีตัวอย่างตู้รถไฟขนส่งนักเรียน</span></h2>
<p>มีการพูดถึงเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้นำศาสนาในการสร้างสันติภาพ มีการร่วมงานกันระหว่าง 2 ชุมชน ในงานของชุมชนคนพุทธมีการเรี่ยไรเงินสนับสนุนให้กลุ่มโรฮิงญา หรือนักเรียนที่เป็นคนพุทธก็เข้าไปร่วมเฉลิมฉลองประเพณีในวันอีดของคนมุสลิม</p>
<p>กรณีที่มีการเผยแพร่ภาพนักเรียนบนรถไฟใน Facebook แล้วบอกว่า คนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้เป็นคนพุทธยะไข่ ส่วนคนโรฮิงญายืนหรือไม่ก็นั่งกับพื้น ซึ่งเป็นข้อความที่ต้องการจะบอกว่า มีการแบ่งแยกคนมุสลิมอีกแล้ว แต่มีข้อความที่สะท้อนความเป็นจริงออกมาคือ กลุ่มนักเรียนคนพุทธนั้นขึ้นรถมาก่อนก็เลยได้นั่ง ในขณะที่พวกโรฮิงญาขึ้นมาทีหลังก็เลยต้องยืนหรือนั่งกับพื้น </p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53499531622_04a19d9cf1_b.jpg" /></p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพนักเรียนชาวพุทธยะไข่และมุสลิมโรฮิงญาบนรถไฟที่มีการเผยแพร่ใน Facebook ที่สะท้อนถึงการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของคนทั้งสองชาติพันธุ์ แต่ก็ยังถูกโจมตีว่าแสดงถึงการแบ่งแยก เพราะนักเรียนชาวพุทธนั่งอยู่บนเก้าอี้ ส่วนคนโรฮิงญายืนหรือไม่ก็นั่งกับพื้น (ถ่ายเมื่อ May, 2022)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพราะทั้ง 2 ฝ่ายรู้สึกถูกกดขี่จากทหารพม่าเหมือนกัน</span></h2>
<p>กรณีนี้มีความพยายามที่จะจัดการความจริงโดยบอกว่าจริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้น แต่เป็นความพยายามบิดเบือนความจริง ซึ่งกลุ่มนักกิจกรรมสันติภาพพยายามที่จะป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Hate Speech (ข้อความหรือการพูดเพื่อสร้างความเกลียดชัง)</p>
<p> “เนื่องจาก ทั้ง 2 กลุ่ม คือ ชาวพุทธยะไข่มุสลิมโรฮิงญาต่างก็รู้สึกว่าตัวเองตกเป็นเหยื่อของการกดขี่จากทหารพม่าเหมือนๆ กัน เมื่อมองแบบนี้แล้วก็เลยทำงานร่วมกันได้มากขึ้น”</p>
<p>มีกิจกรรมหนึ่งในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย คือการใช้กีฬา ซึ่งกิจกรรมนี้แสดงให้เห็นว่าใครคือคนที่มากดขี่ชุมชนทั้ง 2 ชุมชน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">วาทกรรมต่อต้านโรฮิงญาอยู่ แต่อดทนอดกลั้นมากขึ้นเยอะ</span></h2>
<p>นักวิจัยตอบคำถามถึงสถานการณ์ในปัจจุบันด้วยว่า ไม่มีความรุนแรงในลักษณะที่เป็นความรุนแรงหมู่ แต่จะมีกรณีอาชญากรรมที่แต่ละคนทำ ซึ่งก็ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมปกติ ไม่เหมือนสถานการณ์ในช่วงปี 2017 ที่มีลักษณะฆ่าล้างเผาพันธุ์ แต่ยังมีกลุ่มคนพุทธที่ยังคงใช้วาทกรรมในลักษณะต่อต้านโรฮิงญาอยู่ แต่มีลักษณะอดทนอดกลั้นมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ</p>
<p>เหตุผลหนึ่งเพราะกองทัพอาระกันมีความสามารถหรืออำนาจในการควบคุมวาทกรรมในหลักในสังคมได้อยู่ในตอนนี้ แต่ก็มีบางกลุ่มที่ยังคิดว่าต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 600,000 คนที่เหลือให้หมดสิ้นซากไปเลยก็มี หรือบางกลุ่มซึ่งอาจเป็นนักกิจกรรมสันติภาพก็อาจยินดีที่จะรับคนอีก 1 ล้านคนกลับมา ซึ่งยังคงมีความขัดกันในเชิงทัศนะอยู่ มันไม่ได้คิดไปทางเดียว และไม่ได้สวยงามเสมอไป </p>
<p>ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ค้นพบคือ ผู้หญิงที่ยังไม่มีปากมีเสียงเท่าไหร่ มีการกีดกันในกลุ่มผู้หญิงด้วย และในกลุ่มนักกิจกรรมเองก็มักจะทำงานกับชาวบ้านที่นับถือศาสนาเดียวกับตนเองไม่ปะปนกัน ยังไม่ได้ทำงานข้ามกลุ่มกันเท่าไหร่ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สันติภาพระดับบนก็ต้องสร้าง</span></h2>
<p>ข้อค้นพบนี้จะนำไปสู่แนวคิด Everyday Peace หรือสันติภาพในชีวิตประจำวัน คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งพวกเขาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทางตรง แล้วสร้างความสมานฉันท์ขึ้นมาในระดับเล็กๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเขา (Micro Solidarity)</p>
<p>แต่ทว่า ความสำคัญของกระบวนการสันติภาพในระดับชนชั้นนำก็จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาด้วยเช่นกัน เพราะแม้เราจะเห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ในระดับล่างมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ เช่น สิทธิของการเป็นพลเมืองของคนโรฮิงญา (เพราะพม่าไม่ยอมรับเป็นพลเมือง)</p>
<p>ปัญหานี้จำเป็นต้องใช้กลไกในเชิงสถาบันที่มีธรรมาภิบาล คือต้องให้ระดับรัฐบาลมาแก้ไขปัญหา </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยังไม่มีกลุ่มไหนอยากพูดเรื่องเอาผู้ลี้ภัยกลับมา</span></h2>
<p>ปัญหาที่พบคือ ยังมีประเด็นเรื่องการเอาคนที่หนีไปเป็นผู้ลี้ภัยในบังคลาเทศในช่วงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก็ไม่มีกลุ่มไหนที่อยากจะพูดถึงว่าจะจัดการอย่างไร จะเอาคนเหล่านี้กลับมาหรือไม่</p>
<p>นักวิจัยได้ตอบคำถามเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า การจะดูถึงความประสงค์ของกองทัพอาระกัน ก็ดูว่าพวกเขามีท่าทีอย่างไรต่อการรับผู้ลี้ภัยโรฮิงญากลับมาจากบังคลาเทศ ซึ่งที่ผ่านมากองทัพอาระกันยังไม่พูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะ ยังไม่แสดงถึงจุดยืนว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อการรับเอาผู้ลี้ภัยกลับมา</p>
<p>ตอนนี้มีคนโรฮิงญาเหลืออยู่ในรัฐยะไข่ประมาณ 600,000 คน หากเอาคนที่ผู้ลี้ภัยกลับมาทั้งหมด คนโรฮิงญาก็จะกลายเป็น 1,600,000 คน ซึ่งการที่จะพูดว่าเรายินดีที่จะอยู่กับคน 600,000 คนอาจจะง่ายกว่าการที่จะอยู่ร่วมกับคน 1,600,000 คนที่เป็นคนต่างศาสนาและวัฒนธรรม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สิทธิในการกำหนดชะกรรมตนเองที่กองทัพอาระกันต้องรวมทุกกลุ่ม</span></h2>
<p>นักวิจัยได้ทิ้งท้ายการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในการกำหนดเจตจำนงหรือชะกรรมตนเอง หรือ RSD (Right to Self-determination)ว่า หลักการนี้เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชนแบบส่วนรวม ปรากฏอยู่ในกฎบัตรของสหประชาชาติ คำถามสำคัญคือ ใครหรือกลุ่มใดที่สามารถที่จะมีสิทธิ์นี้ได้</p>
<p>สหประชาชาติ พูดถึงสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสิ้นสุดของยุคอาณานิคม ที่มีหลายๆประเทศเรียกร้องสิทธิที่จะได้เอกราช ในช่วงนั้นมีการร่างเส้นเขตแดนเกิดรัฐใหม่ขึ้นมา แต่มีทั้งคนส่วนใหญ่และสร้างคนกลุ่มน้อยในประเทศขึ้นมาด้วย ตัวอย่างประเทศซูดานหลังได้รับเอกราชแล้ว ปรากฏว่ากลุ่มที่เป็นคนส่วนใหญ่ก็ไปกดขี่คนที่เป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศ</p>
<p>สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองปรากฏได้ในหลายรูปแบบไม่ใช่รูปแบบเอกราชเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบการยอมรับสิทธิของคนกลุ่มน้อยในประเทศ และรูปแบบการปกครองตนเอง</p>
<p>“ในกรณีของกองทัพของอาระกัน ซึ่งใช้เรื่องสิทธิมนุษยชนในการสร้างความชอบธรรมให้กับการต่อสู้ของตนเอง กองทัพอาระกันก็จำเป็นต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มอื่น ๆ ด้วย</p>
<p>“กองทัพของอาระกัน จะต้องยืนหยัดในเรื่องหลักของความครอบคลุม โดยรวมทุกกลุ่มเข้ามาด้วย จะไม่มีกลุ่มใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือไม่มีกลุ่มที่เป็นศัตรูอยู่ภายในพื้นที่ที่กองทัพอาระกันต้องการที่จะปลดปล่อยแล้วปกครอง”</p>
<p><strong>คลิกอ่านเนื้อหาบรรยายทั้งหมดได้ที่</strong></p>
<ul>
<li>Local peace-making, social cohesion and the right to self-determination for the Rohingya and the Rakhine in Myanmar</li>
</ul>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107869
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 490 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 509 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 388 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 407 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 300 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.279 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 30 เมษายน 2567 16:06:37