[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 04:45:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 1 ปี สนธิสัญญาทะเลหลวง กรีนพีซจี้รัฐบาลเร่งให้สัตยาบันปกป้องมหาสมุทร  (อ่าน 181 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 มีนาคม 2567 07:24:31 »

1 ปี สนธิสัญญาทะเลหลวง กรีนพีซจี้รัฐบาลเร่งให้สัตยาบันปกป้องมหาสมุทร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-05 01:56</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปกจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ Greenpeace Thailand</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กรีนพีซ ระบุครบรอบหนึ่งปี การบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงในการประชุมสหประชาชาติ สนธิสัญญาดังกล่าวมีการลงชื่ออย่างเป็นทางการโดยตัวแทนรัฐบาล 87 ประเทศทั่วโลกในเดือนกันยายน ปี 66 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาและบรรจุเป็นกฎหมายในประเทศ </p>
<p>4 มี.ค. 2567 ฝ่ายประสานงานสื่อมวลชน โครงการรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย แจ้งผู้สื่อข่าวว่า ครบรอบหนึ่งปี การบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงในการประชุมสหประชาชาติ สนธิสัญญาดังกล่าวมีการลงชื่ออย่างเป็นทางการโดยตัวแทนรัฐบาล 87 ประเทศทั่วโลกในเดือนกันยายน ปี 2566 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาและบรรจุเป็นกฎหมายในประเทศ </p>
<p>แม้จะมีข้อตกลงและลงชื่อกันอย่างเป็นทางการ แต่สนธิสัญญาทะเลหลวง (Intergovernmental Conference on BBNJ) จะยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร (UN Ocean Conference ) ในปี 2568 และต้องมีอย่างน้อย 60 ประเทศให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญานี้ </p>
<p>ลอร์ลา มุลเลอร์ หัวหน้าโครงการ Protect The Oceans ของกรีนพีซกล่าวว่า ข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงเมื่อปีที่แล้วเป็นสัญญาณที่บอกว่า ภายในโลกที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย การปกป้องระบบนิเวศยังคงสำคัญกว่าการต่อสู้ทางการเมืองและผลประโยชน์ของบริษัท การบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงถูกประกาศด้วยประโยคที่ว่า ‘เรือได้ถึงฝั่งแล้ว’ แต่หากเรือลำนี้จะสามารถปกป้องมหาสมุทรได้จริง รัฐบาลอย่างน้อยหกสิบประเทศต้องให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาก่อนเวลาจะหมด</p>
<p>“ปัจจุบันมีเพียงชิลีและปาเลาเท่านั้นที่ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญา ทั้งสองประเทศนี้ได้ส่งสัญญาณว่ามันถึงเวลาแล้วที่เราต้องร่วมกันปกป้องสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล แม้จะมีบางประเทศที่เริ่มกระบวนการให้สัตยาบัน แต่ยังถือว่าช้าเกินไป เราหวังว่าพวกเขาจะเดินรอยตามชิลีและปาเลา เพื่อให้เราสามารถเริ่มงานในการปกป้องมหาสมุทรจริงๆเสียที”  หัวหน้าโครงการ Protect The Oceans ของกรีนพีซกล่าว</p>
<p>ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ หัวหน้าโครงการรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ในส่วนของประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่ได้มีการลงนามเต็มหรือลงนามจริง (signature) ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความยินยอมเข้าผูกพันตามสนธิสัญญา ที่จะไปสู่การให้สัตยาบัน (rafification) ในขั้นต่อไป แต่ทั้งนี้ เราก็เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะเร่งผลักดันกระบวนการดังกล่าว เราว่าจะได้เห็นประเทศไทยเป็นชาติแรกๆ ในภูมิภาค ที่เป็นผู้นำในการปกป้องมหาสมุทรของโลก โดยขณะนี้ประเทศในอาเซียนที่ได้ลงนามแล้ว ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว”</p>
<p>ทะเลเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตนับล้าน แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับทั้งประมงทำลายล้าง มลพิษ อุตสาหกรรมเหมืองทะเลลึก ขณะที่พื้นที่ที่ได้รับการปกป้องกลับมีไม่ถึง 1% </p>
<p>งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature and led by Global Fishing Watch เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาระบุว่า มีข้อมูลเรือประมงพาณิชย์ถึง 75% ที่สาธารณชนไม่สามารถเข้าถึงได้</p>
<p>ขณะที่รายงาน: 30×30 จากสนธิสัญญาทะเลหลวงสู่เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เผยว่าภัยคุกคามที่เกิดในทะเลหลวงกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2565 มีการทำประมงในทะเลหลวงเพิ่มขึ้นถึง 22.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยระหว่างนี้เรือประมงพาณิชย์ในทะเลหลวงใช้เวลาจับปลารวมกันทั้งหมด 8,487,894 ชั่วโมง</p>
<p>สนธิสัญญาทะเลหลวงจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดของโลก และประเทศต่างๆต้องเร่งให้สัตยาบัน เพื่อเริ่มกระบวนการปกป้องและฟื้นฟูมหาสมุทรทั่วโลก </p>
<p><strong>ข้อมูลเพิ่มเติม</strong></p>
<ul>
<li>สนธิสัญญาที่ว่าด้วยการจัดระเบียบการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตอำนาจรัฐ (BBNJ) หรือสนธิสัญญาทะเลหลวง เป็นสนธิสัญญาที่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS)</li>
<li>การลงชื่อในสนธิสัญญา ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่จะให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญา อย่างไรก็ดี การที่สนธิสัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ รัฐบาลจากอย่างน้อย 60 ประเทศต้องให้สัตยาบันและผ่านเป็นกฎหมายในประเทศ </li>
<li>ประชาชนสามารถร่วมลงชื่อ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันสนธิสัญญาได้ที่ https://act.seasia.greenpeace.org/th/th/protect-the-ocean</li>
</ul>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108315
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.33 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 11:10:37