ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (3) เปลี่ยนจากงดเผาสิ้นเชิง เป็นคุมไฟ ใช้ไฟ
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-24 14:49</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วิชชากร นวลฝั้น รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พูดคุยกับชัชวาลย์ ทองดีเลิศ จากสภาลมหายใจเชียงใหม่ เมื่อภาคประชาสังคมในเชียงใหม่รวมตัวเรียกร้องสิทธิที่จะมีอากาศสะอาดหายใจ นำมาซึ่งข้อเสนอแก้ปัญหาเชิงรุก ทั้งข้อเสนอ พ.ร.บ. อากาศสะอาด ที่เพิ่งผ่านเข้าสภา การให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมวางแผนก่อนถึงฤดูฝุ่นควัน และข้อเสนอให้เปลี่ยนจากงดการเผาสิ้นเชิง (Zero Burning) มาเป็นการควบคุมไฟ (Fire Management) โดยยอมรับว่าไฟนั้นจำเป็น ระบบนิเวศของป่าผลัดใบจำเป็นต้องใช้ไฟ ปล่อยให้สะสมมากไปก็ไม่ดี ขณะที่การใช้ไฟในการทำเกษตรต้องบริหารจัดการไฟแบบควบคุม</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="415" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" src="
https://www.youtube.com/embed/B6mAgsu3B6s?si=mWG2cue7oJ5D5xHv" title="YouTube video player" width="720"></iframe></p>
<p>สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 หลายปีที่ผ่านมาอยู่ในขั้นเลวร้ายและกระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน ที่ฤดูแล้งทุกปีวัดค่าคุณภาพอากาศเข้าขั้นมลพิษสูงติดอันดับโลก ที่ผ่านมามีการเรียกร้องรัฐบาลให้มีมาตรการป้องกัน และดูแลประชาชนให้มากยิ่งขึ้น อย่างที่จังหวัดเชียงใหม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะมีอากาศที่สะอาดหายใจติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อีกทั้งยังมีภาคประชาสังคมที่ออกมาทำบางอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง</p>
<p>โดยรายงานข่าวภายใต้โครงการ “ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ” ชวนอ่านบทสนทนากับภาคประชาสังคม เอกชน และส่วนราชการในเชียงใหม่และจังหวัดภาคเหนือตอนบน เรื่องการรับมือปัญหามลพิษทางอากาศ รวมไปถึงมุมมองต่อการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแบ่งนำเสนอทั้งหมด 5 ตอน</p>
<div class="more-story">
<p>
ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (1) หน้ากาก Masqura X และนวัตกรรมป้องกันอากาศพิษ, 8 มี.ค. 2567</p>
<p>
ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (2) ละครเวทีเล่าเรื่องเมืองฝุ่นพิษ, 14 มี.ค. 2567</p>
<p>
ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (3) เปลี่ยนจากงดเผาสิ้นเชิง เป็นคุมไฟ ใช้ไฟ, 24 มี.ค. 2567</p>
</div>
<p>เมื่อครั้งที่เชียงใหม่เจอปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มีค่าสูงติดอันดับโลก เมื่อปี 2562 วัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ได้สูงถึง 588 กลุ่มประชาสังคม กลุ่มวิชาการต่างๆ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มสิ่งแวดล้อม มาคุยกันแล้วเห็นพ้องกันว่าคงจะปล่อยให้ภาครัฐทำงานอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว จึงได้ลุกขึ้นมาประกาศเป็นสภาลมชายใจเชียงใหม่ เมื่อปี 2562 เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบและเป็นผู้สร้างฝุ่นควันด้วย</p>
<p>ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาที่ผ่านมาตั้ง 14 ปีแล้วไม่ตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของพระราชบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย คือ เมื่อเกิดภัยแล้วจึงค่อยแก้ปัญหา จึงค่อยใช้งบ ใช้คน ใช้เครื่องจักรในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นลักษณะการแก้ปัญหาเชิงรับ </p>
<p>“แต่เรามองว่าการแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ต้องเป็นการแก้ปัญหาเชิงรุก ต้องมีแผนการป้องกัน แผนระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” ชัชวาลย์ กล่าว</p>
<p>จากการประมวลความคิดเห็นของทุกภาคส่วน จึงมีการเสนอหลักคิดและการแก้ปัญหาแบบใหม่ คือเสนอว่า อย่างแรก ต้องมีการออกกฎหมายใหม่ นั่นก็คือ พ.ร.บ. อากาศสะอาด ซึ่งเป็นกฎหมายเชิงรุกที่จะแก้ปัญหาทุกสาเหตุ โดยมีกลไกในการดูแลอย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566</p>
<p>ประการที่สอง เสนอให้มีการเปลี่ยนการทำงาน จากการสั่งการเพียงอย่างเดียว มาเป็นกระบวนการการมีส่วนร่วมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการให้ชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผน</p>
<p>ประการที่สาม เราเสนอให้เปลี่ยนจากงดการเผาโดยสิ้นเชิง (Zero Burning) เป็นการควบคุมไฟ (Fire Management) คือการยอมรับว่าไฟนั้นจำเป็น ระบบนิเวศของป่าผลัดใบจำเป็นต้องใช้ไฟ ปล่อยให้สะสมมากไปก็ไม่ดี อีกทั้งมีชาวบ้านที่อยู่ในป่าเยอะแยะไปหมด ชาวบ้านก็ยังจำเป็นต้องใช้ไฟในการทำการเกษตร เมื่อยอมรับการใช้ไฟแล้วก็ต้องบริหารจัดการไฟแบบควบคุม </p>
<p>ปีนี้สภาลมหายใจเชียงใหม่ได้เสนอหลักการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนมากขึ้น มีคณะทำงานจากหลายฝ่ายที่มาร่วมช่วยกันวางแผน ซึ่งแบ่งเป็น 7 ป่า โดยที่จังหวัดให้เงินสนับสนุนในการทำแผน ถือว่าเป็นการยกระดับที่ค่อนข้างชัดเจน</p>
<p>นอกจากนี้ยังร่วมมือกับทางทุกฝ่ายรวมถึงทางจังหวัดในการเข้ามาดูแลดอยสุเทพอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับพี่น้องชาติพันธุ์ม้ง 12 หมู่บ้าน และขยายพื้นที่มาเป็นรอบดอยสุเทพรวมกัน 7 อำเภอ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53607690494_ce36692d8d_h.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53606479217_6fb4951c03_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โซนแนวกันไฟรอบดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ (ที่มา: แฟ้มภาพ)</span></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53607349156_17205838a3_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่ารอบดอยสุเทพ (ที่มา: แฟ้มภาพ)</span></p>
<p>ปีนี้มีกระบวนการที่เข้มข้นขึ้น โดยโซนหน้าดอยสุเทพจะเน้นเป็นการป้องกัน มีการทำแนวกันไฟร่วมกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เมือง ส่วนโซนหลังตั้งแต่โซนสะเมิง โซนบ้านปง โซนน้ำบ่อหลวง จะเป็นเขตการบริหารการจัดการเชื้อเพลิง คือ หากตรงไหนจำเป็นต้องใช้ไฟก็จะมีการทำแผนและทำแนวกันไฟไว้ให้ชัดเจน เรียกว่า “การจัดการไฟจำเป็นแบบควบคุมไม่ให้เกิดการลุกลามแบบไร้การควบคุม” ชัชวาลย์ กล่าว</p>
<p>หลังจากที่จัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเสนอเข้าไปที่แอพพลิเคชั่น FireD ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนาขึ้น และทดลองใช้มาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เป็นเครื่องมือที่ทำให้การบริหารไฟป่าชัดเจนยิ่งขึ้น </p>
<p>สำหรับความคาดหวังต่อสถานการณ์นี้ แน่นอนว่าทางสภาลมหายใจเชียงใหม่อยากเห็น PM2.5 ลดลง ต้องลดไฟที่ไร้การควบคุมลงทั้งหมดให้ได้ เหลือเฉพาะไฟที่จำเป็นจริงๆ ต้องยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องใช้ไฟ แต่พยายามลดให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้</p>
<p>อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงพืชเชิงเดี่ยว เวลาที่พืชเหล่านี้ขึ้นมาบนที่สูง นอกจากจะทำลายทรัพยากรแล้ว แต่ยังสร้างเรื่องมลภาวะด้วย เราจึงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้นที่เข้ามาทดแทนพืชเชิงเดี่ยว </p>
<p>“เรายังอยากเห็นระบบประกันสุขภาพที่ดี ควรจะมีสวัสดิการที่ประชาชนได้สามารถป้องกันตนเอง ไม่ว่าจะเป็น เช่น หน้ากากอนามัย เครื่องกรองอากาศ หรือบริการตรวจปอดฟรี เป็นต้น และสุดท้ายเราอยากจะเห็นการแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ต้องมีแผนหรือข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมดคิดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น” ชัชวาลย์ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53606610910_6af7c39f2b_k.jpg" /></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สภาลมหายใจเชียงให
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/03/108556 







