[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 กรกฎาคม 2568 23:49:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น (EP.1/2) สืบจากถนน ไฮเวยาธิปไตย  (อ่าน 202 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2567 04:09:48 »

สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น (EP.1/2) สืบจากถนน ไฮเวยาธิปไตย
 


<span>สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น (EP.1/2) สืบจากถนน ไฮเวยาธิปไตย</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-06-14T16:52:09+07:00" title="Friday, June 14, 2024 - 16:52">Fri, 2024-06-14 - 16:52</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สมานฉันท์ พุทธจักร รายงาน
กิติยา อรอินทร์ กราฟิก</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เสวนาออนไลน์ “สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น” ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ชวนย้อนสำรวจอำนาจของทางหลวง นโยบายรัฐไทยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างถนนมาหลายทศวรรษ การเพิ่มจำนวนของยวดยานพาหนะที่สัมพันธ์กับสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจร ซึ่งมักถูกอธิบายผ่านวินัยปัจเจก กฎจราจร ไปจนถึงเรื่องราวเหนือธรรมชาติ แทนที่จะกล่าวถึงปัญหานโยบายก่อสร้างถนนและวิศวกรรมจราจร</p><p>การเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ หัวข้อ “สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมนักข่าวพลเมืองภายใต้โครงการท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ โดยประชาไทร่วมกับ We Watch จัดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา มีหัวข้อบรรยายประกอบด้วย 1. สืบจากถนน ประเด็นสำคัญในข่าวคมนาคมและการขนส่งสาธารณะ โดย รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ 2. ประเมินฐานอำนาจการเมืองท้องถิ่นและแนวโน้มกระจายอำนาจหลังสลับขั้วตั้งรัฐบาล โดย ผศ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผศ.ชาลินี สนพลาย สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/sZfROsKLT1A?si=hwDTZTEV9txP7gff" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p class="text-align-center picture-with-caption">สืบจากถนน ประเด็นสำคัญในข่าวคมนาคมและการขนส่งสาธารณะ นำเสนอโดย รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง</p><h2>อำนาจท้องถนนยิ่งใหญ่ อำนาจประชาชนเล็กนิดเดียว</h2><p>“อำนาจของท้องถนนในเมืองไทยมีความยิ่งใหญ่มาก ทั้งในตัวมันเองและการสร้างอำนาจให้ผู้ที่ไปเกี่ยวข้องมัน ขณะที่อำนาจประชาชนเล็กนิดเดียว ไม่สามารถที่จะเข้าถึงประชาธิปไตยจริงๆ ได้” ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ผู้เขียนหนังสือ “ไฮเวยาธิปไตย: อำนาจของถนนกับพลวัตการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย” (2566) กล่าว โดยภิญญพันธุ์เริ่มนำเสนอด้วยการย้อนดู 2 ประโยคเกี่ยวกับถนนในอดีตคือ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อยครั้งหลังทศวรรษ 2550 ราวกับเป็นรัตนตรัยของการพัฒนา ที่ใช้เป็นตัววัดความเจริญ</p><p>และประโยค “รถไฟฟ้าความเร็วสูงยังไม่จำเป็น และเป็นไปได้ควรให้ถนนลูกรังหมดไปจากประเทศก่อน” ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในปี 2557 ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี และเป็นที่มาของการทำวิจัยชิ้นนี้ เป็นประโยคที่ย้ำให้เห็นว่าระบบคมนาคมทางถนนถูกให้ความสำคัญมากกว่าระบบอื่น</p><h2>“เทพบุตรทางหลวง” อำนาจ และความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมืองและชนบท อันเนื่องมาจากทางหลวง</h2><p>ภิญญพันธุ์นำเสนอว่า การขยายตัวของทางหลวงนั้น มีบทบาทอย่างมากในการเติบโตของประเทศ และการขยายพื้นที่ของเมือง ทางหลวงมีอำนากว้างใหญ่ไพศาล ที่เพียงแค่วางแผนรากเส้นถนนตัดผ่านไปยังพื้นที่ใดๆ ก็ทำให้ท้องที่เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างอัศจรรย์ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีระบบการกระจายอำนาจที่ดี ระบบผังเมืองมีส่วนสูงในการออกแบบรูปร่างของเมือง แต่ในไทยกลายเป็นว่า การสร้างถนน มีส่วนทำให้เกิดเมืองขึ้นมาเสียมากกว่า</p><p>การสร้างถนนตามมาด้วยการเวนคืนที่ดินจำนวนมาก หลัง พ.ศ. 2475 การเวนคืนแต่ละครั้งต้องออกกฎหมาย ออก พ.ร.บ. มารองรับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ในช่วงที่ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการ ที่กฎหมายต่างๆ จะผ่านออกมาง่ายและรวดเร็ว การเวนคืนที่ดินจะออกมามากในช่วงนั้นเช่นกัน มาในยุคหลังที่ประชากรขยายและกระจายออกไป ทำให้การเวนคืนที่ดินมีต้นทุนที่สูงขึ้นมาก อย่างเช่นมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ที่ค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจาก 1,290 ล้านบาท กระโดดไปเป็น 5,420 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ถึงอย่างไรก็ตามการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวงก็เกิดขึ้นมากมาย ตัดผ่านพื้นที่จำนวนมาก หลายครั้งกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คน และทิ้งปัญหาต่างๆ ไว้ข้างหลัง</p><p>การเวนคืนยังมีกรณียกเว้นที่ไม่สามารถทำได้ เมื่อการเวนคืนนั้นไปกระทบกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าอย่างวัง เช่นเคยมีการจะเวนคืนพื้นที่บางส่วนของวังสุโขทัย เพื่อไปสร้างสะพานคู่ขนานสะพานธนบุรี หรือกรณีที่จะมีการเวนคืนที่ดินในวังสระปทุม ซึ่งมาจากความเข้าใจผิดในการระบายสีผังเมือง จนขณะนั้นกลายไปเป็นประเด็นเพื่อโจมตีรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร</p><p>อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือการสร้างถนนระหว่างตาก-สุโขทัย ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2493 ซึ่งมีการตัดผ่ากลางเมืองเก่าของสุโขทัย จนมาถึงในช่วงท้ายของสงครามเย็น ที่ชนชั้นนำเริ่มตระหนักถึงเรื่องการสร้างประวัติศาสตร์ชาติ และประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นเป้าหมายหนึ่ง ในปี 2522 ได้มีการนโยบายปรับปรุงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จึงมีการตัดถนนอ้อมเมืองเก่าขึ้นมาแทนถนนเส้นเดิม</p><p>นอกจากนั้นการสร้างถนนยังไปเกี่ยวโยงกับสถาบันกษัตริย์ อย่างถนนรัชดาภิเษกที่มีลักษณะเป็นวงแหวน สร้างขึ้นมาจากวาระครองราชครบ 25 ปี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 อนึ่งถนนเส้นนี้สัมพันธ์กับพระราชดำรัสเมื่อ พ.ศ. 2514 ที่เคยกล่าวไว้ว่า “…อนุสาวรีย์อย่างเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า ถนนที่เรียกว่าวงแหวน เพราะมันเป็นความฝัน &nbsp;เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว...” ซึ่งในความเป็นจริงถนนรัชดาภิเษก ไม่ใช่ถนนวงแหวนแต่เป็นการเชื่อมถนนหลายๆ สายเข้าหากันเป็นวงรี และถูกใช้เป็นเส้นทางสัญจรหลักมากกว่าจะเป็นทางอ้อมอย่างวงถนนวงแหวนทั่วไป จนสุดท้ายก็มีการสร้างถนนวงแหวนรอบ 1 และ 2 ขึ้นมาเพื่อระบายรถไม่ให้เข้าเมือง</p><p>แม้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาทจะถูกศาลรัฐธรรมนูญปัดตกไปในปี 2557 แต่หลังจากการทำรัฐประหาร 2557 กลับมีการสร้างถนนมากขึ้นมหาศาล มาจากแนวคิดที่ว่ายิ่งสร้างทางหลวงยิ่งเป็นพัฒนาประเทศ ทั้งที่เป็นการสร้างปัญหาใหม่ให้กับการพัฒนาเมือง “สำหรับผมแล้ว กรมทางหลวง หรือกรมทางหลวงชนบท แทบจะเป็นหน่วยงานอิสระ ที่ครอบครองพื้นที่มากมายทั่วประเทศได้ เพราะไม่ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ” ทั้งที่ผ่านมามีคนจำนวนมากที่เสียชีวิตบนทางหลวง แต่ไม่มีการตรวจสอบกรม ในท้ายของวิจัยจึงเสนอว่าควรจะมี องค์กรฝ่ายที่ 3 เข้ามาตรวจสอบกรมทางหลวงโดยตรง</p><h2>“มัจจุราช ทางหลวง” ว่าด้วยการเดินทาง อุบัติเหตุและการสูญเสีย</h2><p>ประเด็นที่ผู้นำเสนอ อยากชวนร่วมกันอภิปรายคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ได้เกิดขึ้นจากเพียงแค่ ผู้ขับขี่ไร้วินัย ประมาทหรือเมาแล้วขับ เพียงเท่านั้น &nbsp;และสิ่งที่ถูกใช้แก้ปัญหามากที่สุดคือการออกกฎหมายเพื่อควบคุมวินัยคน แต่ที่มีน้อยมาก คือการศึกษา วิจัยต่างๆ หรือแผนแก้ไขสภาพแวดล้อมของทางหลวงอย่างจริงจัง</p><p>กฎหมายเกี่ยวกับจราจรทางบกเกิดขึ้นมาหลังปี 2475 และมีการยกเครื่องใหม่ปี 2522 จนมาหลังรัฐประหาร รสช. 2534 ที่มีกฎหมายออกมาอีกหลายฉบับ เพื่อควบคุมวินัยจราจรของปัจเจกบุคคล แสดงให้เห็นว่าทางหลวงขยายตัวอย่างชัดเจนในทศวรรษ 2530 ซึ่งเป็นยุคทองของเศรษฐกิจไทย เช่นเดียวกับการเติบโตของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างถนนต่างๆ และบรรดานักการเมืองท้องถิ่น จนมาถึงการออก พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) ล่าสุดปี 2562 ที่ยังมีเนื้อหาที่ตอกย้ำว่าอุบัติเหตุการเกิดจากวินัยจราจรของปัจเจก</p><p>ภิญญพันธุ์ ยังยกตัวเลขอุบัติเหตุบนทางหลวง ตั้งแต่ปี 2526-2563 ขึ้นแสดงให้เห็นว่าอุบัติเหตุในประเทศไทยสูงขึ้นมาตลอด สัมพันธ์กับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของทางหลวง และดูจากตัวเลขยานยนต์ที่จดทะเบียนเทียบระหว่างปี 2531-2535 ไทยมีรถจักรยานยนต์ถึง 6 ล้านคัน รถกระบะ 1 ล้านคัน ขณะที่รถประจำทางมีเพียง 5.9 หมื่นคันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าไทยให้ความสำคัญกับรถสาธารณะน้อยมาก และเมื่อมาดูตัวเลขรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันพบว่ามีมากถึง 20 ล้านคัน จึงตามมาด้วยสถิติตัวเลขอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สูงในช่วงเทศกาล</p><p>ทำให้เห็นปรากฎการณ์ที่อุบัติเหตุ การสูญเสีย ถูกอธิบายผ่านเรื่องราวเหนือธรรมชาติ เช่น ผีวิญญาณร้าย เจ้าที่เจ้าทาง หรือเจ้ากรรมนายเวร จึงได้เห็นการสร้างศาลเพียงตาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ริมทางหลวง และคำพูดติดปากอย่างโค้งร้อยศพ แต่ไม่เน้นคำอธิบายหรือตรวจสอบทางวิศวกรรมจราจรเกี่ยวกับถนนหรือโค้งเหล่านั้น นอกจากนั้นหลังรัฐประหาร 2557 มีการขยายเส้นทางจำนวนมาก ตามมาด้วยอุบัติเหตุจำนวนมาก ที่มักจะเกิดในบริเวณถนนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งไม่มีมีการเข้ามาตรวจอย่างจริงๆ การแก้ปัญหากับมีเพียงแค่การกฎหมายเพื่อมาควบคุมปัจเจกบุคคล</p><p>โดยภิญญพันธุ์ ได้สรุปใจความสำคัญของงานวิจัยและหนังสือไฮเวยาธิปไตยดังนี้ (1) ชี้ให้เห็นอำนาจการจัดการพื้นที่อย่างใหญ่หลวงของทางหลวงในสังคมไทย (2) ระบอบทางหลวงไม่ได้ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจโดยตรงเท่านั้น อย่างที่นักวิชาการชาวญี่ปุ่น อิจิโร คากิซากิ เคยเสนอไว้ แต่ยังตอบโจทย์ต่อทุนการเมืองของกลุ่มการเมืองต่างๆ (3) ทางหลวงเป็นต้นเหตุที่คร่าชีวิตคนไทยจำนวนมากตั้งแต่ปี ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา แต่การแก้ปัญหากับเน้นไปในเรื่องการควบคุมทางวินัยของปัจเจกบุคคล (4) แม้จะมีการพยายามแก้ปัญหาเชิงระบบ แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่กว้างขว้างจนเกินไป &nbsp;และเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย และ (5) ผังเมืองยังถูกผูกขาดอำนาจโดยกรมโยธาธิการและพังเมือง ทั้งที่ควรจะกระจายอำนาจมาให้ท้องถิ่นดูแล</p><div class="more-story"><p><strong>ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</strong></p><ul><li>สืบข่าวคมนาคม ถึงขั้วอำนาจท้องถิ่น (EP.1/1) แนวโน้มกระจายอำนาจหลังสลับขั้ว, 12 มิ.ย. 2567</li><li>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ, 16 พ.ค. 2567</li><li>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (2) ได้เวลาผ่าตัดความเหลื่อมล้ำ, 29 พ.ค. 2567</li><li>ผู้หญิงในการเมืองท้องถิ่นไทย จำนวนมากขึ้นแต่สัดส่วนยังน้อยมาก, 28 พ.ค. 2567</li></ul></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">คู่มือนักข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2" hreflang="th">เสวนhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88" hreflang="th">กระจายอำนาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%A2%E0%B9%8C" hreflang="th">ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณยhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2" hreflang="th">ไฮเวยาธิปไตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87" hreflang="th">กรมทางหลวhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99" hreflang="th">ถนhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88" hreflang="th">รัฐรวมศูนย์อำนาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/06/109549
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.163 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 08 มิถุนายน 2568 15:39:37