[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 กรกฎาคม 2568 21:32:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ชีวิตที่ยังไร้สถานะของ ‘เรเน่’ หญิงข้ามเพศที่ต้องลี้ภัยแค่จากโพสต์ไวรัลของต  (อ่าน 213 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2567 16:48:37 »

ชีวิตที่ยังไร้สถานะของ ‘เรเน่’ หญิงข้ามเพศที่ต้องลี้ภัยแค่จากโพสต์ไวรัลของตัวเอง
 


<span>ชีวิตที่ยังไร้สถานะของ ‘เรเน่’ หญิงข้ามเพศที่ต้องลี้ภัยแค่จากโพสต์ไวรัลของตัวเอง</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-07-09T22:37:03+07:00" title="Tuesday, July 9, 2024 - 22:37">Tue, 2024-07-09 - 22:37</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p dir="ltr">เรื่อง: ทีมข่าวการเมือง</p><p dir="ltr">ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ประชาไทพูดคุยกับ ‘เรเน่ พุทธพงศ์’ หญิงข้ามเพศและเจ้าของโพสต์สุดไวรัลที่กลายมาเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง ถึงชีวิตที่ยังติดขัดเรื่องสถานะการอยู่อาศัยในฝรั่งเศส ซึ่งอาจทำให้ที่นี่ไม่ใช่ปลายทางสุดท้ายของเธอ</p><p dir="ltr">ในระลอกของการปราบปรามการชุมนุมประท้วงภายใต้การนำของคนรุ่นใหม่เมื่อปี 2563 เป็นต้นมา นอกจากการใช้กำลังกับผู้ชุมนุมบนท้องถนนแล้ว ความพยายามกดปราบผู้คนในโลกออนไลน์ก็เข้มข้นไม่แพ้กัน มีการตั้งข้อหามาตรา 112 กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวเพื่อกดเพดานเสรีภาพออนไลน์ให้ต่ำลง</p><p dir="ltr">เรเน่–พุทธพงศ์ กลิ่นยี่โถ ผู้หญิงข้ามเพศวัย 28 ปี เป็นหนึ่งในชาวเน็ตกลุ่มนี้ที่ถูกบีบให้ลี้ภัยมายังฝรั่งเศส เนื่องจากมองไม่เห็นหนทางสู้คดีและรู้สึกหวาดกลัวจากการถูกข่มขู่คุกคามสารพัดรูปแบบ</p><p dir="ltr">กลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ครบ 1 ปีที่มาถึงฝรั่งเศส เธอโพสต์ข้อความยาวเหยียดระบายความในใจเกี่ยวกับการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยที่ยังไม่มีความคืบหน้า พร้อมแนบรูปผื่นแดงที่ขึ้นตามร่างกายสืบเนื่องจากความเครียด</p><p dir="ltr">“จริงๆ เราคาดหวังไว้มากว่าการมาปารีสมันจะดีกว่าอยู่ที่ไทย แต่พอมาถึง ทุกอย่างกลับไม่ได้เป็นเหมือนที่คิด เหมือนจะดี แต่ก็ไม่ ดีกว่าที่ไทยอย่างเดียวคือไม่ต้องติดคุก แค่นั้น เพราะมาตราเหี้ยนั่น”</p><p dir="ltr">“แต่การมาอยู่ที่นี่คือการอยู่แบบไร้จุดหมาย และไม่คาดหวังอะไรแล้ว เพราะทุกการคาดหวัง มันจะผิดหวังเสมอ ทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน ที่อยู่ ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด เปลี่ยนตลอด เปลี่ยนบ่อยจนเหนื่อยสุดๆ เหมือนต้องเริ่มใหม่ซ้ำๆ ชีวิตไม่ได้ก้าวไปไหนเลย ถอยหลังด้วยซ้ำ” วรรคหนึ่งจากโพสต์ของเธอ</p><p dir="ltr">อุปสรรคในกระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัยของเรเน่แตกต่างจากกรณีของผู้ลี้ภัยไทยคนอื่นๆ ตรงที่เธอถูกยกเลิกการให้ความช่วยเหลือกลางคัน</p><p dir="ltr">ช่วงแรกที่มาถึงปารีส เรเน่ยื่นเรื่องขอลี้ภัยต่อ ออฟฟรา ซึ่งเป็นหน่วยงานของฝรั่งเศสที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (Ofpra: Office française de protection des réfugiés et apatrides) โชคไม่ดีที่ต่อมาเธอถูกขโมยโทรศัพท์ ออฟฟราจึงติดต่อมาไม่ได้และยกเลิกความช่วยเหลือ</p><p dir="ltr">ต่อมาเธอตัดสินใจยื่นฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้มีการตัดสินว่าการยกเลิกความช่วยเหลือกลางคันเช่นนี้มันยุติธรรมแล้วหรือไม่</p><p dir="ltr">“หลังจากที่โดนยกเลิกการช่วยเหลือจากทางฝรั่งเศส เนื่องจากเรื่องการติดต่อสื่อสาร ทำให้ทุกอย่างย่ำแย่ลงไปอีกมากๆ เรไม่สามารถทำงานได้ เพราะไม่มีเอกสาร และไม่อยากทำผิดกฏของทางฝรั่งเศส ทางพี่ผู้ลี้ภัยเลยแนะนำให้เปิดลิงก์เพื่อรับบริจาค แต่เรก็ใช้เวลาทำและตัดสินใจนานมาก เพราะกลัวจะมีปัญหาหรือโดนด่า จนพี่คนหนึ่งได้บอกเรว่า บางทีเราก็ต้องยอมรับว่าเราต้องการความช่วยเหลือ และคนที่เขาเข้าใจเรา เขาจะพร้อมที่จะช่วยเหลือเรา จำไว้ว่าเราไม่ได้สู้เพียงคนเดียว ทำให้เรได้ปล่อยแคมเปญบริจาคออกมาค่ะ”</p><p dir="ltr">ในระหว่างนี้ เรเน่อยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากชุมชนผู้ลี้ภัยไทยและรายได้กระจุกกระจิกจากงานพี่เลี้ยงสุนัขและรับจ้างถ่ายภาพ</p><h2>ชาวบ้านหนึ่งที่ทนเห็นเพื่อนโดนตีไม่ได้</h2><p dir="ltr">ย้อนไปสมัยอยู่ไทย&nbsp;เรเน่ทำงานด้านการตลาดออนไลน์ในกรุงเทพฯ ได้เงินเดือนราวสามหมื่นแต่ก็ไม่ค่อยเหลือเก็บจากค่าครองชีพสูงและปัญหาเชิงโครงสร้าง</p><p dir="ltr">ในกระแสการประท้วงที่นำโดยคนรุ่นใหม่ เธอก็เหมือนกับคนทั่วๆ ไปที่ติดตามข่าวอยู่ตลอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 เธอกับเพื่อนไปร่วมการชุมนุมของกลุ่มราษฎรที่หน้ารัฐสภา เกียกกาย</p><p dir="ltr">ม็อบในวันนั้นมีเหตุการณ์ชุลมุนหลักๆ 2 เหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ภาพใหญ่คือตำรวจฉีดน้ำผสมสารเคมีและใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุม อีกส่วนคือการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกลุ่มปกป้องสถาบันและผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร</p><p dir="ltr">“มีแก๊สน้ำตา แล้วก็มีฝั่งตรงข้ามเขาปาหินมาโดนเพื่อนหนูหัวแตก”</p><p dir="ltr">สิ่งนี้ทำให้เธอโมโหขั้นสุดจนอดไม่ได้ที่จะโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐและการใช้ภาษีของสถาบันกษัตริย์</p><p dir="ltr">“ตอนนั้นก็ถูกเตือนให้ระวังว่าจะมีปัญหา เราก็คิดว่าจะเป็นปัญหาได้ยังไง เราคนธรรมดาทั่วไป ก็รู้ถึงการมีอยู่ของ ม.112 มาพักหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าใกล้ตัวขนาดนั้น”&nbsp;</p><p dir="ltr">ความรุนแรงที่ในม็อบเกียกกายทำให้ครอบครัวของเรเน่เป็นกังวล เธอห่างจากม็อบที่มีความสุ่มเสี่ยงไปสักพักแล้วกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ</p><p dir="ltr">ผ่านไปหลายเดือน เช้าของวันที่ 9 มี.ค. 2564 เรเน่ถูกตำรวจควบคุมตัวจากที่พักย่านดินแดง ยึดโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ พร้อมตั้งข้อหามาตรา 112 หมิ่นประมาทกษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกนำกลับมาใช้ปราบปรามการประท้วงตั้งแต่พ.ย.ปี 2563</p><p dir="ltr">“หนูนอนเล่นอยู่ที่ห้อง อยู่ดีๆ ก็มีเสียงเคาะประตูขึ้นมา ตอนแรกคิดว่าเป็นแม่หรือเพื่อนมาหา แต่เป็นตำรวจนอกเครื่องแบบ 12 คน เขาก็ถามชื่อเรา แล้วก็เข้ามายึดของ ตอนนั้นติดต่อใครไม่ได้เลย แล้วก็ถูกเอาตัวไปที่ บก.ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี)”</p><p dir="ltr">“ตำรวจถามเราว่ามีทนายไหม เราก็บอกว่าไม่มี ตอนนั้นคือยังไม่รู้ว่าต้องมีทนายด้วย แล้วตำรวจก็บังคับให้เซ็นเอกสารทุกอย่าง บอกว่าถ้าเซ็นก็จะปล่อยตัวแล้ว เขาก็ไม่ได้ให้หนูอ่านนะคะ ยืนคุมสองฝั่ง หนูก็เซ็น อยู่ตั้งแต่ 7 โมงเช้าจนถึงบ่ายๆ เย็นๆ จนเพื่อนโทรหาทนายที่ศูนย์ทนายฯ ให้ ทนายก็ถามว่าเซ็นอะไรไปบ้าง หนูก็บอกว่าไม่รู้เขาไม่ได้ให้อ่าน พอทนายดูเอกสารก็บอกว่านี่เป็นการเซ็นยอมรับแล้วนะว่าเราทำจริง”</p><p dir="ltr">หลังจากนั้นชีวิตเรเน่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เครียดตลอดเวลา ต้องพบนักจิตบำบัดและถูกวินิจฉัยว่าเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า ถูกตำรวจคุกคามถึงบ้านและที่ทำงานจนต้องลาออกมาขายผัดกะเพรา ขายได้แค่เดือนเดียวก็ต้องลี้ภัย</p><p dir="ltr">ขณะนั้นเป็นช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด บวกกับตัวเธอเองก็ไม่ได้มีทุนทรัพย์มากและไม่ได้รู้จักใครในแวดวงนักเคลื่อนไหว เรเน่ออกจากไทยไปไต้หวันด้วยความหวังว่าเมื่อถึงที่นั่นแล้วเธอจะขอความช่วยเหลือไปประเทศที่สามได้ ทว่าองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่งกลับช่วยเหลือเธอไม่ได้ด้วยเหตุผลเรื่องแนวปฏิบัติที่ว่าไต้หวันยังเป็นส่วนหนึ่งของจีน เธอเคว้งคว้างอยู่ที่นั่นสักพักจนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือให้ไปยังฝรั่งเศส</p><p dir="ltr">“ตั้งแต่หนูออกจากไทยมาเมื่อเดือนตุลาคมปี 2565 หลังจากนั้นสี่เดือนก็ยังมีการคุกคามอยู่ พี่สาวก็โดนเหมือนกันจากคนเดิมที่หน้าบ้าน เขาก็ตามไปที่ทำงานของพี่สาวเลย เจอคนหัวเกรียนนั่งรออยู่”&nbsp;</p><h2>หมายจับ</h2><p dir="ltr">เรเน่บอกกับประชาไทด้วยว่า ช่วงที่มาถึงปารีสแล้วในกระบวนการยื่นขอลี้ภัย เธอต้องใช้หมายจับเพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่ามีภัยจากประเทศต้นทาง ในตอนนั้นมีทนายคนหนึ่งชื่อว่าทนายไวท์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้บอกกับเธอว่าในการส่งหมายจับให้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ</p><p dir="ltr">“เขาบอกว่าหนูต้องซื้อตั๋วเครื่องบินให้เขาเพื่อเอาหมายจับมาให้ หนูก็บอกหนูไม่มี (เงิน)”</p><p dir="ltr">“เขาบอกหนูว่าถ้าหนูอยากได้หมายจับ เขาต้องบินมาให้หนูเท่านั้น เขาไม่สามารถส่งอีเมลหรือส่งอะไรให้หนูได้เลย ทำให้หนูไม่มีหมายจับตอนยื่นลี้ภัยครั้งแรก”</p><p dir="ltr">แต่เธอเอาเรื่องนี้ไปบอกกับเพื่อนผู้ลี้ภัยด้วยกันเรื่องจึงแดงขึ้นมา และต่อมาก็ได้ไฟล์หมายจับโดยที่ไม่ได้เสียเงินแต่อย่างใด</p><p dir="ltr">สำหรับ ทนายไวท์ หรือ คุณากร มั่นนทีรัย เคยเป็นทนายอาสาให้ศูนย์ทนายความฯ อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น สส.พรรคก้าวไกล</p><p dir="ltr">ทั้งนี้ประชาไทได้ส่งคำถามเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไปให้คุณากรตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย. 2567 จนกระทั่งวันที่เผยแพร่ แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากคุณากร&nbsp;</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ศูนย์ทนายฯ แจงปม 'เรเน่' ผู้ลี้ภัยการเมือง ถูกอดีตทนายอาสาเรียกเก็บค่าเดินทางเอาเอกสารคดีไปให้ต่างประเทศ</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>ความลำบากของหญิงข้ามเพศ</h2><p dir="ltr">เรเน่เล่าประสบการณ์ในฐานะผู้หญิงข้ามเพศที่เผชิญกับความยากลำบากในกระบวนการยุติธรรมและการลี้ภัยมากกว่าคนตรงเพศ</p><p dir="ltr">“ตอนอยู่ที่ บก.ปอท. เขาบอกว่าทรงแบบนี้เข้าคุกไปมีผัวแน่ๆ เราก็รู้สึกว่ามันอันตรายแล้ว นี่เป็นเหตุผลที่บอกทนายว่าจะไม่เข้าคุกที่ไทย มันไม่มีสิทธิมนุษยชน แล้วนี่ก็เป็นเหตุผลให้ลี้ภัยด้วย ถ้าเข้าคุกไปวันเดียวหนูยอมตาย ฆ่าตัวตายเลย”</p><p dir="ltr">ชีวิตที่ฝรั่งเศสยังคงเผชิญความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศอยู่ ทั้งการถูกลวนลาม คุกคามทางเพศในที่สาธารณะ และระบบการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยก็ยังไม่ได้เป็นมิตรกับผู้มีความหลากหลายทางเพศเท่าที่ควร</p><p dir="ltr">เธอยกตัวอย่างเรื่องการหาที่พักให้ผู้ลี้ภัยเพศหลากหลายที่จะมีความยากกว่าคนตรงเพศ เนื่องจากผู้ลี้ภัยที่นั่นส่วนมากเป็นชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและมักมากันเป็นแก๊ง แม้มีที่พักเพียงพอก็ใช่ว่าจะไปอยู่ร่วมกับพวกเขาได้อย่างปลอดภัย เพราะมีโอกาสที่จะไปเจอคนที่ต่อต้านเพศหลากหลาย</p><p dir="ltr">อีกหนึ่งปัญหาที่เรเน่เจออยู่ตลอดคือคำนำหน้านามยังไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ ทำให้มีความสับสนในการทำเอกสารอยู่บ้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสหลายคนปฏิบัติต่อเธออย่างให้เกียรติ แต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่มาแกล้งเรียกเธอด้วยคำนำหน้าที่ไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ</p><p dir="ltr">เรเน่พูดถึงตอนที่เธอถึงฝรั่งเศสแล้วต้องถูกกักตัวอยู่ในสนามบินเพื่อรอความช่วยเหลือ</p><p dir="ltr">“เขา (เจ้าหน้าที่) ไม่แน่ใจว่าเราเป็นนาย (เมอซิเออ) หรือนางสาว (มาดาม) เราก็เขียนตามพาสปอร์ตว่านาย แต่เขาก็บอกว่าไม่ได้นะ ต้องเป็นนางสาว แต่พอแก้แล้วก็เป็นปัญหาเพราะมันไม่ตรงกับพาสปอร์ต พอเข้าไปกักตัวในที่กักตัวก็โดนพูด โดนมอง มันเห็นได้ชัดจริงๆ มีปัญหาตลอดเรื่องคำนำหน้า”</p><h2>
แค่คนโชคร้ายที่โดนคดี</h2><p dir="ltr">คนทั่วๆ ไปมักจดจำผู้ลี้ภัยทางการเมืองในฐานะนักเคลื่อนไหวที่เมื่อลี้ภัยไปแล้วก็ยังคงต่อสู้อยู่ กองเชียร์บางส่วนอาจเผลอไปคาดหวังว่าพวกเขาควรจะสู้มากกว่าเดิมเพราะได้ไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้ว</p><p dir="ltr">สำหรับเรเน่ที่มองตัวเองเป็นเพียง “คนโชคร้าย” สิ่งนี้สร้างภาระทางใจให้เธออยู่ไม่น้อย</p><p dir="ltr">“หนูกลัวมากที่คนจะว่าเราไม่เป็นปากเสียงให้ใคร หนูไม่รู้ว่าตัวเองมีเพาเวอร์มากพอมั้ย หนูไม่ใช่นักเคลื่อนไหว ไม่ใช่เน็ตไอดอล</p><p dir="ltr">หนูก็รู้สึกกลัวเพราะมันโดน (คดี) คนเดียว ถ้ากลับไปก็คงไปเที่ยว ไม่ได้ไปอยู่ ไม่รู้ว่าเห็นแก่ตัวไหม เพราะเสียงหนูคนเดียวไม่พอ แต่ถ้ามันสามารถพูดได้ ถ้ามีโอกาสก็จะทำ”</p><p dir="ltr">สำหรับความคาดหวังต่อพรรคการเมือง เรเน่กล่าวว่ายังต้องการให้ยกเลิก ม.112 หรือปรับลดบทลงโทษให้ได้สัดส่วนกับความผิด ส่วนเรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม เธอให้ความเห็นว่าถ้ากลับไทยได้ก็คงจะแค่กลับไปเที่ยว</p><p dir="ltr">“การที่เรามาอยู่ที่นี่คือดีกว่าเรากลับไปติดคุก หนูแค่ต้องรอให้อะไรมันดีกว่านี้ การมาลี้ภัยก็เป็นโอกาสของเราเหมือนกัน มีการงานที่ดีได้ ที่ไทยเงินเดือนดี แต่เงินไม่เหลือใช้เลย เพราะโครงสร้างไม่ค่อยดี พอมาอยู่นี่ก็เป็นโชคดีได้ลี้ภัย”</p><p dir="ltr">&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ผู้ลี้ภัยทางการเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">คดีมาตรา 112[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%AA" hreflang="th">ฝรั่งเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%88" hreflang="th">เรเนhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%96" hreflang="th">พุทธพงศ์ กลิ่นยี่โhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0" hreflang="th">ข่าวเจาhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/07/109864
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.255 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2568 00:50:49