'พระรอง' ผู้กำหนดเกมตัวจริง 'ภูมิใจไทย' ยักษ์ใหญ่ในเงามืด
<span>'พระรอง' ผู้กำหนดเกมตัวจริง 'ภูมิใจไทย' ยักษ์ใหญ่ในเงามืด</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-09-26T19:28:13+07:00" title="Thursday, September 26, 2024 - 19:28">Thu, 2024-09-26 - 19:28</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์ </p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>พรรคเงียบๆ แต่ฟาดเรียบทุกสเต็ป เติบโตแบบไม่สนกระแส ก้าวกระโดดจาก สส. 34 เป็น 51 เป็น 71 จนเป็นตัวแปรที่ใครจะจัดตั้งรัฐบาล ไม่ง้อไม่ได้ จุดยืนชัดเจนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเว้นหมวด 1 และ 2 มาแต่ไหนแต่ไร ยึดกุมวุฒิสภาได้ชนิดที่สามารถกำหนด ไฟเขียว-ไฟแดง ใบอนุญาตแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ </p><p>ล่าสุด แสดงอิทธิฤทธิ์ รื้อร่างกฎหมายประชามติที่ผ่านสภาผู้แทนฯ แล้ว ให้กลับไปเหมือนเดิม และเบรกการแก้ไขรายมาตรา ว่าด้วย 'ปัญหาจริยธรรม-การยุบพรรค' ที่ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชนเสนอ ด้วยเหตุผลว่าเหมือนแก้เพื่อตัวเอง ไปรอแก้ทั้งฉบับดีกว่า … เส้นทางทั้งหมดนี้ไม่อาจเรียกได้ว่า 'ธรรมดา'</p><p> </p><p>พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาล พรรคประชาชนในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน เป็นสองพรรคที่ผู้คนจับตาหนักในทุกย่างก้าว แต่มีอีกพรรคหนึ่งที่มักจะอยู่นอกเรดาห์ ไม่ได้รับ 'ดอกไม้' และไม่ต้องรับ 'ก้อนหิน' แต่ทรงประสิทธิภาพยิ่งในทางการเมือง</p><p>ภูมิใจไทย ถือกำเนิดหลังรัฐประหารไม่นานนัก ในราวปี 2552 หลังจากกลุ่มของเนวิน ชิดชอบ แยกตัวออกมาจากพรรคพลังประชาชน พรรคนี้ผ่านการเลือกตั้งใหญ่มา 3 ครั้ง ทุกครั้งจำนวนเก้าอี้ สส. ก้าวกระโดด จาก 34 เป็น 51 เป็น 71 ในปัจจุบัน</p><p>ภูมิใจไทย ไม่ (จำเป็นต้อง) ไปกับ 'กระแส' ของสังคม อันที่จริงแล้ว อดีตพรรคก้าวไกล กับเพื่อไทย อาจดู 'extreme' ทั้งคู่ในมุมมอง 'ชนชั้นนำสายอนุรักษ์'</p><p>ก้าวไกลขายนโยบายหลักในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ ซึ่งแหลมคมและกลายเป็นเงื่อนปมสำคัญให้ถูกบล็อคการเข้าสู่อำนาจที่ผ่านมา เพื่อไทยขายเมกะโปรเจกต์ด้านเศรษฐกิจอยู่เรื่อยเมื่อเป็นรัฐบาล แล้วก็ถูกขัดขาล้มคว่ำคมำหงายมาแล้วหลายรอบ ส่วนภูมิใจไทย ยึดมั่นการปกป้องสถาบันหลักของชาติ และนำเสนอโครงการเป็นเรื่องๆ โดยไม่ยุ่งกับโครงสร้างไม่ว่ามิติใด แต่ 'ความแน่นเชิงพื้นที่' นั้นไม่อาจสบประมาท</p><h2>ตัวแปรจัดตั้งรัฐบาล</h2><p>หลังรัฐธรรมนูญ 2540 การออกแบบระบบการเมืองทำให้พรรคการเมืองทั้งหลายหันมาแข่งขันทางนโยบายอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ แต่ภูมิใจไทยไม่แข่งและไม่เคยคุยโม้โอ้อวดหวังที่ 1 ขอเป็นเพียงพระรอง…ที่ยิ่งใหญ่กว่าแชมป์</p><p>ในการจัดตั้งรัฐบาลรอบที่ผ่านมา ผู้กำหนดโฉมหน้ารัฐบาล นอกจากจะมี สว.ที่แต่งตั้งโดย คสช.แล้ว 'ภูมิใจไทย' คือตัวแปรที่ขาดไม่ได้ ถ้าฟากฝั่งไหนอยากเป็นรัฐบาล และนโยบายต่างๆ ก็ต้องประนีประนอมกับภูมิใจไทยเป็นสำคัญ ไม่ว่านโยบายเชิงโครงสร้างหรืออื่นใด</p><p>ถัดมาไม่นานนี้ เรื่องการเลือก สว.อันอลหม่าน ด้วยระบบที่ไม่ make sense เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ในชุด 'มีชัย ฤชุพันธุ์' มีจุดมุ่งหมายเดียวว่า ต้องกีดกันอิทธิพลของพรรคการเมืองออกไปจากสภาสูงให้ได้ เนื่องจากรังเกียจ 'สภาผัวเมีย' อย่างที่สุด แต่แล้วภูมิใจไทยซึ่งอยู่นอกสายตาทุกคู่ ซุ่มทำงานอย่างไรไม่มีใครทราบ แต่ผลลัพธ์ว่ากันว่า 'ตามเป้า' ครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาสูงสำเร็จ แซงทุกความพยายามจัดตั้งภายใต้ข้อจำกัดของระบบแปลกๆ </p><h2>ยึดกุมสภาสูง</h2><p>การคุมสภาสูงได้ มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ สว.ชุดนี้แม้ไม่มีอำนาจเลือกนายกฯ เหมือนชุดเฉพาะกิจที่ผ่านมา แต่ก็ทรงอำนาจในการไฟเขียว-ไฟแดง ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ</p><p>ภายในปี 70 จะมีผู้หลุดจากตำแหน่งดังนี้</p><ul><li><strong>ป.ป.ช. </strong></li></ul><p>หมดวาระในปี 2567 จำนวน 3 คน </p><p>หมดวาระในปี 2570 จำนวน 1 คน</p><ul><li><strong>กกต.</strong></li></ul><p>หมดวาระในปี 2568 จำนวน 5 คน</p><ul><li><strong>ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ</strong></li></ul><p>หมดวาระปี 2567 จำนวน 2 คน</p><p>หมดวาระปี 2570 จำนวน 5 คน</p><p>การกุมชะตากรรมประเทศนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ เมื่อการแก้รัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 เป็นสิ่งซึ่งภูมิใจไทยตั้งต้นไว้อย่างแข็งแรง ไม่มีโอนอ่อน</p><p>ล่าสุด ในความพยายามแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ทั้งพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทยนำเสนอ สองพรรคนี้แม้เป็นคู่แข่ง ขัดแย้งกันในแทบทุกเรื่อง แต่เรื่องนี้กลับกลายเป็นพันธมิตรกันไปโดยสภาพ นั่นคือ ความพยายามจำกัดอำนาจตรวจสอบของตุลาการที่ดูจะกินแดนเข้ามามากในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ</p><p>โดยพรรคประชาชนเน้นเรื่องโครงสร้างหลักๆ เช่น การยุบพรรค และตัดหมวดจริยธรรมออกไปแล้วเขียนใหม่ ส่วนพรรคเพื่อไทยเน้น ‘เสถียรภาพ’ ของรัฐบาลด้วยการแก้ไขหมวดจริยธรรมที่สามารถตีความเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้นายกฯ รัฐมนตรี สส.หลุดจากตำแหน่งและโดนตัดสิทธิตลอดชีพได้ อย่างไรก็ดี ในร่างเพื่อไทยยังมีจุดหนึ่งที่เกี่ยวพันกับโครงสร้างคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่ององค์กรอิสระ ที่ไปลดเงื่อนไขว่าไม่ต้องทำประชามติก่อน</p><h2>ยื้อแก้รัฐธรรมนูญ</h2><p>พรรคภูมิใจไทยซึ่งปกติจะเงียบๆ ตอบโต้เรื่องนี้โดยตั้งโต๊ะแถลงสวนทันควันว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้รายมาตราที่อาจถูก 'ครหา' ว่าทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง (นักการเมือง) และบอกว่าไปแก้ทั้งฉบับเลยดีกว่า</p><p>เมื่อภาพออกมาเช่นนี้ หลายเสียงปรบมือชื่นชมภูมิใจไทย สื่อบางคนถึงกับเรียกการแก้ไขรายมาตราของ 2 พรรคหลักว่า ‘จริยธรรมสุดซอย’ และกล่าวด้วยว่า แม้เห็นด้วยในหลักการ แต่ 'เวลา' ดำเนินการไม่เหมาะ เกรงจะซ้ำรอยนิรโทษกรรมสุดซอย</p><p>หากพิจารณากันในรายละเอียด จะพบว่า</p><p>1.การแก้ไขรัฐธรรมเพื่อตั้ง สสร.ทั้งฉบับนั้นยังลูกผีลูกคน ต้องถกเถียงกันอีกในหลายประเด็น เช่น ทำประชามติกี่ครั้ง คำถามประชามติเป็นอย่างไร ฯลฯ โดยแนวโน้มในปัจจุบันดูเหมือนยากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะเสร็จทันรัฐบาลนี้</p><p>2.กระแสต้านอันยิ่งใหญ่ วัดจากสิ่งใด หากมวลชนหลักของ กปปส. คือ คนชั้นกลางในเมือง ปัจจุบันมวลชนกลุ่มนี้อยู่ในจุดไหนอย่างไร และประเด็นนี้ใช้ 'ผีทักษิณ' มาจุดประเด็นได้มากน้อยเพียงไหน</p><p>หรือว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่ทุกองคาพยพที่ต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตราต้องการจะปกป้องจริงๆ ก็คือ อำนาจควบคุมระบบการเมือง ที่สะท้อนผ่านองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ</p><h2>สว.สีน้ำเงินพลิก พ.ร.บ.ประชามติ</h2><p>น้ำหนักของเรื่องนี้มีมากขึ้นอีก เมื่อ สว.ปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยสายสีน้ำเงินราว 70% กำลังพิจารณา ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นร่วมกันว่า ไม่ต้องเป็น Double majority (ไม่ต้องกำหนดให้ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเกินครึ่งของผู้มีสิทธิ ให้เหลือเพียงเสียงข้างมากของผู้ที่มาลงออกเสียง) อันจะเป็นด่านแรกเส้นทางยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่แล้วเมื่อเข้าสู่สภาสูงก็มีการตั้ง กมธ.ขึ้นพิจารณา โดยรื้อร่างสภาผู้แทนฯ กลับไปสู่จุดเดิม คือล็อค 2 ชั้น Double majority อีก กระบวนการนี้จะทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.นี้ยืดยาวไปอีกหลายเดือน เพราะต้องส่งกลับมาที่สภาผู้แทนฯ แล้วตั้ง กมธ.ร่วมสองสภาเพื่อพิจารณาอีก โดยยังไม่รู้จุดหมายปลายทาง</p><p>ดังนั้น ข้อเสนอของพรรคภูมิใจไทย ที่ไม่ให้แก้ไขรายมาตรา ทั้งเรื่องยุบพรรค ทั้งเรื่องจริยธรรมที่ใช้เตะตัดขา สส.-รัฐมนตรี ไม่ว่าจะดูสวยหรูเพียงใด ผลลัพธ์ก็คือ ไม่สามารถแก้ไขจุดตายสำคัญในรัฐธรรมนูญ ‘มีชัย’ ได้เลย</p><p>‘จริยธรรม’ เป็นเรื่องที่คนไทยดูจะให้ความสำคัญอย่างมาก บนฐานของสำนึก 'เกลียดนักการเมือง' ในการยกร่างของ กรธ.ชุด ‘มีชัย’ หากไปไล่อ่านบันทึกการประชุมจะพบว่าเรื่องนี้ถูกพูดถึงอย่างมาก และเป็นโจทย์หลักที่พยายามออกแบบควบคุมฝ่ายบริหารอย่างแน่นหนาในทุกทาง โดยมี ‘ผี’ บางตัวคอยหลอกหลอนคณะผู้ร่างอยู่ (ดูได้จากการยกตัวอย่างในการหารือ) ทั้งที่จริงแล้ว กระบวนการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันนั้นมีมากพอควรอยู่แล้ว และโทษทัณฑ์ก็ค่อนข้างหนัก</p><p>เมื่อดูร่างฉบับพรรคเพื่อไทยนั้นก็เพียงแค่ปรับปรุงเรื่อง ‘จริยธรรม’ ให้ชัดขึ้น ร่างฉบับพรรคประชาชนคือเอาอำนาจนี้ออกจากมือ ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ แล้วให้แต่ละองค์กรไปปรับปรุงแนวจริยธรรมของตนให้เข้มข้น</p><p>ล่าสุดดูเหมือนพรรคเพื่อไทยยอมถอยโดยง่ายเมื่อพรรคร่วมหลักไม่เอาด้วย ส่วนพรรคประชาชนยังยืนยันเดินหน้าโดยใช้วิธีแยกแพ็คเกจการแก้รัฐธรรมนูญประเด็นต่างๆ ออกเป็นหลายร่าง โดยหวังว่าอาจจะมีโอกาสผ่านในบางร่าง จึงต้องจับตาว่าจะมีการบรรจุวาระเรื่องนี้หรือไม่ในช่วงเดือนตุลาคม</p><p>เส้นทางการแก้รัฐธรรมนูญดูจะยากลำบากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
แก้ รธน. มียืดเยื้อ กมธ.วิสามัญฯ วุฒิสภา พลิก 'ไม่รับ' หลักเกณฑ์ประชามติ ฉบับ สส.</li></ul></div><p> </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" hreflang="th">พรรคก้าวไก
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">พ.ร.บ.ประชามต
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนู
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5" hreflang="th">อนุทิน ชาญวีรกู
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0" hreflang="th">องค์กรอิสร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" hreflang="th">วุฒิสภ
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/09/110832 







