[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 กรกฎาคม 2568 12:16:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย  (อ่าน 175 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ธันวาคม 2567 17:01:53 »

ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย
 


<span>ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-12-07T13:07:11+07:00" title="Saturday, December 7, 2024 - 13:07">Sat, 2024-12-07 - 13:07</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สถานการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ มีแววว่าอาจถูกยืดเวลาออกไป หลัง กมธ.ประชามติ มีความเห็นว่าให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์ทำประชามติแบบ 2 ชั้น (Double Majority) และสภาฯ มีแนวโน้มสูงจะไม่เอาหลัก 2 ชั้นโดยจะเอากลับไปใช้หลักเกณฑ์ 1 ชั้น (Single Majority) หาก 2 สภาโหวตออกมาไม่ตรงกัน ตามหลักกฎหมายต้องยุติการพิจารณากฎหมายดังกล่าว 6 เดือน จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงจะโหวตยืนยันได้</p><p>คำถามใหญ่ตอนนี้คือทางเลือกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทันสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ยังพอเป็นไปได้ไหม</p><p>'นิกร จำนง' จากพรรคชาติไทยพัฒนา ยืนยันว่าจากการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และมองว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ทันสมัยรัฐบาลนี้แน่นอน แต่คาดหวังเบื้องต้นว่าจะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ให้ได้ภายในปี 2570 ขณะที่ 'พริษฐ์ วัชรสินธุ' จากพรรคประชาชน เสนอต่างออกไปคือ ทำประชามติ 2 ครั้ง ‘ตอนแก้ ม. 256 ตั้ง สสร.-ครั้งท้าย’ ก็เพียงพอ อีกทั้งไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัย ถ้าทำได้ก็จะได้รัฐธรรมนูญใหม่ก่อนการเลือกตั้งหน้า</p><p>ด้านภาคประชาสังคมเชียร์ทำประชามติ 2 ครั้งเช่นกัน และมองไปไกลด้วยว่าด่านสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แท้จริง คือ สว.ที่ส่วนใหญ่มีข้อวิจารณ์ว่าถูกฉาบด้วย 'สีน้ำเงิน' เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร.รัฐธรรมนูญฉบับบนี้ล็อคไว้ว่า ต้องได้เสียง สว.มากกว่า 1 ใน 3</p><h2>เบื้องหลังคำวินิจฉัยเจ้าปัญหา ตีความ 'ประชามติ 3 ครั้ง'</h2><p>ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปลายปี 2563 พรรคการเมืองต่างๆ เคยมีความพยายามยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด 7 ฉบับ โดย 3 ฉบับเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เข้ามาที่รัฐสภาแล้วครั้งหนึ่ง คือ ร่างของภาคประชาชน ร่างของพรรคพลังประชารัฐ และร่างของพรรคเพื่อไทย (ฝ่ายค้าน) แต่ทว่า สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และไพบูลย์ นิติตะวัน สส.พรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภามีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้ง สสร.หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภาสามารถแก้ไขได้ แต่ต้องทำประชามติถามประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ‘ก่อน’ ซึ่งนำไปสู่การตีความที่ไม่ตรงกันว่าต้องทำกี่ครั้งกันแน่ อย่างไรก็ดี ในการโหวตของสมาชิกรัฐสภาครั้งนั้นในวาระ 3 ถูก สว.โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้ข้ออ้างจากคำวินิจฉัยของศาลนี้เอง</p><p>ทั้งนี้ หากดูใสรายละเอียดคำวินิจฉัยดังกล่าว (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564) จะพบว่า ‘คำวินิจฉัยส่วนตัว’ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 คน จาก 9 คน มองว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งก็เพียงพอ</p><p>ในเวลานั้น เว็บไซต์ iLaw ระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 (8) กำหนดไว้แล้วว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 เรื่องจัดตั้ง สสร. หลังจากผ่านวาระ 3 แล้ว ก่อนจะบังคับใช้ต้องทำประชามติเสียก่อน เพื่อถามว่าประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขตามที่รัฐสภาเห็นชอบหรือไม่&nbsp; หมายความว่าไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ‘ก่อน’ วาระ 1 ตามที่ สว. สมชายและไพบูลย์ กล่าวอ้าง</p><h2>พรรคร่วมเสียงแตก ‘นิกร’ มองต้องประชามติก่อน</h2><p>สำหรับการตีความคำวินิจฉัย 4/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ แม้แต่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีการตีความที่แตกต่างกัน</p><p>นิกร จำนง สส.จากพรรคชาติไทย พัฒนาเคยให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย เมื่อ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา อ้างอิงถึงกรณีพริษฐ์ เดินหน้าคุยประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาข้อสรุปว่าต้องทำประชามติกี่ครั้งกันแน่ แม้ว่าพริษฐ์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ระหว่างหารือไม่มีใครพูดถึงการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่นิกร เห็นว่าต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนว่ามีความประสงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อประชาชน ‘เห็นชอบ’ แล้วจึงค่อยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวด 15/1 เข้าสภาฯ ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าไม่น่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ภายในสมัยรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อย่างแน่นอน แต่คาดหวังว่าจะได้ สสร.ภายในปี 2570 ซึ่งต่อให้มีการยุบสภาหรือหมดวาระรัฐบาล สสร.ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53257907208_57cb2a25b4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิกร จำนง (แฟ้มภาพ เมื่อ 15 ต.ค. 2566)</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 3 ครั้ง</h2><p>นิกร นำเสนอไทมไลน์ประชามติ 3 ครั้ง ไว้ดังนี้</p><p><strong>เดือน ธ.ค. 2567</strong> :&nbsp;มติ กมธ.ร่วม 2 สภาคงหลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้น จะถูกส่งไปยังแต่ละสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบกับมติ กมธ.ร่วมฯ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกพับเก็บไว้เป็นระยะเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน หลังครบระยะเวลาดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรสามารถนำกฎหมายมาพิจารณาใหม่ เพื่อยืนยันอีกครั้ง</p><p><strong>กลางปี 2568</strong> : คาดว่า สส.จะผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ โดยใช้หลักเกณฑ์เพียงชั้นเดียว (Simple Majority)</p><p><strong>ปลายปี 2568-ม.ค.2569</strong> : ทำประชามติครั้งที่ 1 ถามประชาชนว่ามีความประสงค์จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่</p><p><strong>กลางปี 2569-2570</strong> : ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p>ประชามติ ครั้งที่ 2 ถามประชาชน รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ของรัฐสภาหรือไม่</p><p>เลือกตั้ง สสร. และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><p><strong>ปลายปี 2571</strong> : ทำประชามติครั้งที่ 3 ถามว่าประชาชนว่ารับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จัดทำโดย สสร.หรือไม่ และคาดว่าจะได้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><h2>'พริษฐ์' ขอลองประชามติ 2 ครั้ง เดินสายคุยหลายฝ่าย</h2><p>หลังมติ กมธ.ร่วมประชามติสภาล่างไม่อาจเอาชนะสภาสูงได้ ทำให้กลับไปเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้นอีกครั้ง พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ก็ได้เริ่มเดินเกมคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มจากหารือประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567</p><p>พริษฐ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการพูดคุยกับตัวแทนศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ มีเพียงประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวม 2 คนร่วมประชุมด้วยเท่านั้น ไม่สามารถเป็นบทสรุปจากศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53878854807_9407538435_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พริษฐ์ วัชรสินธุ (แฟ้มภาพ 25 ก.ค. 2567)</p><p>"ในการหารือนี้ ไม่มีความเห็นเลยว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง” พริษฐ์กล่าวและเสริมว่า เขาได้ฉายภาพชัดเจนว่าจะทำประชามติหลังการแก้ไข ม.256 เพิ่มหมวด 15/1 จัดตั้ง สสร.ผ่านวาระ 3 ของรัฐสภา และอีกครั้งหนึ่งคือการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหลัง สสร.ยกร่างเสร็จแล้ว</p><p>หลังจากนั้นพริษฐ์ ได้นำข้อหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปคุยกับฝั่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อโน้มน้าวให้ประธานสภาฯบรรจุวาระการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 ร่าง คือ ร่างของพรรคก้าวไกล (ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชน) และพรรคเพื่อไทย ยื่นไว้เมื่อปี 2567</p><p>ก่อนหน้านี้ประธานสภาระบุว่า เหตุที่ยังไม่บรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการทำตามคำแนะนำของคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาฯ ซึ่งมีมติเสียงข้างมากไม่ให้บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าต้องทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ตั้งแต่ก่อนเข้าสภาฯ วาระ 1</p><p>พริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนั้นคณะกรรมการที่ให้ความเห็นกับประธานสภาฯ วิเคราะห์เพียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับกลาง’ เราเลยบอกกับเขาว่ามันมี 2 ข้อมูลใหม่ที่ควรคำนึงถึงคือ</p><p>1. คำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการ 9 คน เป็นข้อมูลทางการเผยแพร่ในศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าความเห็นส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมองว่าทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ</p><p>2. ข้อหารือที่ได้จากประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ ที่เพิ่งไปหารือมา</p><p>“ประธานสภาและคณะกรรมการแจ้งมาว่า ถ้าอยากจะให้ประธานสภาวินิจฉัยใหม่ว่าบรรจุได้หรือไม่ ให้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยด้วยข้อมูลใหม่”</p><p>“สิ่งที่ผมจะทำคือจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร.เข้าไปอีกรอบหนึ่ง เพื่อจะเข้าสู่กระบวนการที่ประธานสภามาวินิจฉัยอีกครั้ง แต่ว่ารอบนี้จะมีการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่เข้ามา คือความเห็นรายบุคคลตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และข้อมูลการประชุมประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ อย่างไม่เป็นทางการ” พริษฐ์ กล่าว</p><p>อย่างไรก็ดี&nbsp;บีบีซีไทย สัมภาษณ์ ว่าที่ ร.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า จะนำข้อมูลใหม่ที่ได้จากพริษฐ์ไปประกอบการพิจารณา ข้อมูลที่ได้รับมาทั้ง 2 ส่วน มีโอกาสที่คณะกรรมการฯ จะกลับมติ เพราะข้อมูลใหม่นี้ทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีความกระจ่างมากยิ่งขึ้น</p><h2>กลัวทดลองไม่ได้ผล เสียเวลาตั้ง สสร.ไม่ทันรัฐบาลนี้</h2><p>ด้าน นิกร ได้แสดงความเป็นห่วงว่า การทดลองของพริษฐ์ที่จะผลักดันการทำประชามติ 2 ครั้ง อาจซ้ำรอยเหตุการณ์สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วโดนคว่ำ ต้องเสียเวลา 4 เดือน และอาจทำให้กระบวนการต้องวนใหม่ ซึ่งจะพลาดพลั้งตั้ง สสร.ไม่ทันภายใน 2570 ไปด้วย</p><p>ขณะที่พริษฐ์ชี้แจงว่า การผลักดันประชามติ 2 ครั้ง จะไม่มีเสียเวลาเพิ่ม แต่จะ ‘เท่าทุน’ และแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เร็วขึ้น หากประชามติ 2 ครั้ง โดยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 คู่ขนานไปกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งกำลังถูกเก็บเข้ากรุ 6 เดือน มีโอกาสที่จะทำประชามติครั้งแรกภายในปลายปี 2568 เพื่อถามประชาชนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 หรือไม่ ซึ่งหากสำเร็จหมายความว่าจะประหยัดเวลาไปประมาณ 1 ปี แต่ถ้าหากไม่สำเร็จ ก็สามารถกลับมาใช้ประชามติ 3 ครั้งเหมือนเดิม</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 2 ครั้ง</h2><p>ประชามติ 2 ครั้งจากข้อเสนอภาคประชาชนมีไทมไลน์ ดังนี้&nbsp;

<strong>ปลายปี 2567-กลางปี 2568</strong> : สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับมติของ กมธ.ร่วมฯ ทำให้ร่างกฎหมายประชามติถูกดอง 180 วันก่อนสภาผู้แทนหยิบมาพิจารณาได้ใหม่ ในเวลาเดียวกันนี้ ให้มีการยื่นบรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p><strong>ปลายปี 2568</strong> : หลัง พ.ร.บ.ประชามติผ่านสภาฯ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ผ่านวาระ 3 แล้ว ให้เริ่มทำประชามติครั้งแรก โดยถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่องการจัดตั้ง สสร. หรือไม่</p><p><strong>ปี 2569</strong> : หากประชาชน ‘เห็นชอบ’ ให้มีการเลือกตั้ง สสร. เพื่อมาทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยใช้เวลาตลอดทั้งปี</p><p><strong>ปี 2570</strong>&nbsp;: ทำประชามติอีกครั้ง เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่จาก สสร. ซึ่งจะเสร็จก่อนเลือกตั้ง</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54218265305_f6221f4534_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy">กราฟิกเทียบกันระหว่าง การทำประชามติ 2 และ 3 ครั้ง</p><h2>เตรียมเผชิญด่าน สว. เมื่อต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง สสร.</h2><p>ไม่ว่าจะประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อให้มี สสร.ก็ต้องการเสียงสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 หรือ 67 เสียง ขณะที่เป็นที่กล่าวถึงกันทั่วว่า สว.ส่วนใหญ่เอนเอียงไปในทางเดียวกับจุดยืนพรรคภูมิใจไทย จนสื่อมวลชนขนานนาม ‘สว.สีน้ำเงิน’</p><p>สส.พรรคประชาชน ยอมรับว่า เรื่อง สว.จะเป็นด่านถัดไป และไม่ปฏิเสธว่าเป็นด่านสำคัญ โดย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จะมีการออกหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหารือให้เห็นตรงกันกับแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง หากสำเร็จจะได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา และหวังด้วยว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะไปคุยกับ สว. ให้เห็นตรงกัน และช่วยโหวตสนับสนุน</p><p>“ผมเชื่อว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลบางพรรค อาจจะมีความสามารถในการโน้มน้าว สว.ได้ดีกว่าผม” พริษฐ์ กล่าว</p><p>ณัชปกร นามเมือง สมาชิกคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (CALL) ให้ความเห็นว่า&nbsp; ตัวอย่างกรณีที่เห็นชัดคือท่าทีของตัวแทนของ สส.พรรคภูมิใจไทย 2 คนใน กมธ.ร่วมกันพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งตั้งแต่การประชุมครั้งแรก สส.พรรคภูมิใจไทย ยกมือให้ สว.ได้เป็นประธาน กมธ.ร่วมฯ ขณะที่ในการลงมติตัดสินว่าจะเลือกระหว่างหลักเกณฑ์ 2 ชั้น หรือ 1 ชั้น สส.พรรคภูมิใจไทย ก็ ‘งดออกเสียง’</p><p>สมาชิก CALL ประเมินท่าทีพรรคภูมิใจไทยว่า เรื่องนี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขาเชื่อว่าภูมิใจไทยก็อยากแก้ เนื่องจากพรรคใดก็ตามที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะเผชิญปัญหาเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่ภูมิใจไทยพยายามทำคือ ทำยังไงที่จะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการใช้กลไกวุฒิสภา</p><p>"ผมกลัวว่ามันจะเกิดเหมือนกับสมัยที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ คือมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งจริง แต่ว่ามีแต่งตั้งผสมมาด้วย และมีช่องทางให้พลพรรคของตัวเองเข้าช่องมาได้ ซึ่งมันจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่กลายเป็นเพียง 'พิธีกรรม'" ณัชปกร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53138474864_9f465430e5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัชปกร นามเมือง (แฟ้มภาพ เมื่อ 23 ส.ค. 2566)</p><h2>‘รัฐบาล-ประชาชน’ ต้องร่วมกันกดดันพรรคภูมิใจไทย</h2><p>ณัชปกร กล่าวว่า เขาเสนอว่าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นต้องกดดันให้พรรคภูมิใจไทยเอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หากภูมิใจไทยไม่ร่วมสังฆกรรม ก็ต้องยื่นเงื่อนไขปรับคณะรัฐมนตรี แต่จะสำเร็จไม่ ยังไม่ทราบ</p><p>ณัชปกร เสนอเพิ่มว่า อีกคีย์แมนสำคัญคือ 'ประชาชน' ที่จะต้องมาร่วมกดดัน สว. และทุกองคาพยพ โหวตลงมติ ‘เห็นชอบ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยผ่านการเลือกตั้ง สสร. 100% แต่การกดดันที่ผ่านมาอาจยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก</p><p>ณัชปกร มองว่า ส่วนหนึ่งประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เห็นปัญหาของ สว. ไม่เหมือนสมัย 250 สว.ที่แต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร และปัญหาความไม่เป็นเอกภาพระหว่างผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล ทั้งที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญชุดนี้</p><p>"ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนคนทั่วไป ภาคประชาสังคม หรือสื่อมวลชน อันนี้แหละเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มันเดินหน้า เพราะคาดหวังกับพรรคเพื่อไทยตอนนี้ก็ยากเพราะว่าเขาก็เปราะบาง จะไปเจรจาต่อรองกับภูมิใจไทยก็ยากเพราะรู้สึกว่าเขาถือไพ่เหนือกว่า ครั้นเราจะไปคาดหวังกับพรรคฝ่ายค้าน ก็ยากเข้าไปใหญ่ เพราะว่ามีจำนวน สส.มากจริง แต่ไม่มีอำนาจมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องจับมือกันและกดดันให้ 3 องคาพยพ มันเดินหน้าต่อไปได้" ณัชปกร กล่าวทิ้งท้าย&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87" hreflang="th">นิกร จำนhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ณัชปกร นามเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/call" hreflang="th">CALL[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" hreflang="th">สมาชิกวุฒิสภhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/12/111619
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.537 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มิถุนายน 2568 23:27:22