เสวนา 1 ปี ร่างนิรโทษกรรม ทางเลือกยังมี-ความหวังยังอยู่ 'ณัฐพงษ์' คาด 4 ร่างเข้าสภาสมัยหน้า
<span>เสวนา 1 ปี ร่างนิรโทษกรรม ทางเลือกยังมี-ความหวังยังอยู่ 'ณัฐพงษ์' คาด 4 ร่างเข้าสภาสมัยหน้า</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-02-22T22:28:03+07:00" title="Saturday, February 22, 2025 - 22:28">Sat, 2025-02-22 - 22:28</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงานโดย ยศวดี สงวนนาม </p><p>ภาพโดย แมวส้ม ประชาไท</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>Thumb Rights จัดเสวนา 1 ปี นิรโทษกรรมประชาชน ศูนย์ทนายเปิด 3 แนวโน้มน่ากังวลคดี 112 ในปัจจุบัน ชี้คลี่คลายความตึงเครียดได้ทันทีหากศาลให้สิทธิประกันตัว 'ณัฐพงษ์' หัวหน้า ปชน. คาดได้บรรจุวาระในการประชุมสมัยหน้า ราว ก.ค. หวังทุกฝ่ายผลักดัน 4 ร่างผ่านวาระ 1 เพื่อพูดคุยในชั้น กมธ. 'นัสรี' รวมประสบการณ์ในอดีต-ต่างประเทศ ช่วยนักโทษการเมืองออกคุก </p><p> </p><p>เมื่อ 21 ก.พ. 2568 กลุ่มภาคประชาสังคม 'Thumb Rights' จัดเสวนา 1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน ชวนทบทวนและเน้นย้ำถึงระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา กับการยื่นเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง โดยงานนี้มีวิทยากร ได้แก่ <strong>พูนสุข พูนสุขเจริญ</strong> จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้เสนอ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน, <strong>ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์</strong> จากศูนย์ทนายฯ, <strong>ธี-ถิระนัย และมายด์-ชัยพร</strong> จากกลุ่มแนวร่วมอาชีวะเพื่อประชาธิปไตย อดีตผู้ต้องขังคดีทางการเมือง, <strong>ณธกร นิธิศจรูญเดช</strong> จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย, <strong>ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ</strong> ผู้นำฝ่ายค้านจากพรรคประชาชน และ <strong>นัสรี พุ่มเกื้อ</strong> ผู้อำนวยการเครือข่ายประชาชน จาก Thumb Rights</p><p>ทั้งนี้ ทีมผู้จัดงานเผยด้วยว่างานนี้มีความพยายามเชิญตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาร่วมงานด้วย แต่ไม่ได้รับการตอบรับใดๆ </p><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/nNb1fqCZrMg?si=abHFdGSxLdd_rqve" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><h2>สิทธิประกันตัวคดีการเมืองริบหรี่</h2><p>ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์<strong> </strong>ฝ่ายข้อมูลจากศูนย์ทนายฯ รายงานข้อมูลสถานการณ์คดีมาตรา 112 นับตั้งแต่เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศว่าจะกลับมาใช้กฎหมายทุกหมวด และทุกมาตราดำเนินคดีกับประชาชน พบว่า</p><ul><li>ตั้งแต่ปลายปี 2563 จนถึง 21 ก.พ. 2568 มีผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 อย่างน้อย 277 คน จากทั้งหมด 309 คดี</li><li>ในทุกๆ 1 เดือนของปีที่ผ่านมา (2567) จะมีผู้ถูกดำเนินคดี มาตรา 112 ประมาณ 1-2 คน</li><li>ภาพรวมของคดีทั้งหมดที่ศูนย์ทนายความดูแล มียอดรวมผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองรวม 1,960 คนในจำนวน 1,313 คดี </li></ul><p>ณัฐฐา กล่าวต่อว่า สถานการณ์ที่น่ากังวลมีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ </p><ol><li>มีการดำเนินคดีความกับสื่อมวลชนและนักข่าวที่ลงพื้นที่ทำข่าวในพื้นที่ชุมนุม</li><li>มีการดำเนินคดีทางไกลในคดี ม. 112-116 ไม่น้อยกว่า 32 คดีจากกลุ่มปกป้องสถาบัน โอกาสการดำเนินคดีคนทางไกลอาจมีมากขึ้นเรื่อยๆ</li><li>การพิพากษาคดีแม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้อง แต่ศาลสูงไม่ว่าศาลอุทธรณ์หรือฎีกามีแนวโน้มจะกลับคำพิพากษาให้มีความผิด โอกาสยกฟ้องน้อยมาก</li></ol><p>ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายฯ ระบุว่า โอกาสได้รับสิทธิการประกันตัวของผู้ต้องขังที่ยังอยู่ในเรือนจำขณะนี้มีน้อยมาก มีการยื่นประกันตัวไม่น้อยกว่า 183 ฉบับ ศาลยกคำร้องรวม 168 ฉบับ แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ 'บุ้ง' เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมการเมือง เสียชีวิต แต่เมื่อยื่นประกันตัวนักโทษคดีการเมือง ก็พบว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ ได้ประกันตัวเพียง 1 คนเท่านั้น นอกจากนี้ โอกาสของคนที่ถูกศาลชั้นต้นตัดสิน และได้ประกันตัวระหว่างต่อสู้คดีชั้นอุทธรณ์ต่อนั้น มีเพียง 8.3% ในปี 2567 </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54342827292_2425af16c9_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์</p><h2>ใครกุมชะตานิรโทษกรรม ?</h2><p>ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า เขาเป็นตัวแทนของฝั่งการเมืองมาให้กำลังใจ เพื่อเป็นกำลังใจและมอบความหวังให้นักโทษการเมืองมีแรงในการต่อสู้ต่อ และวันนี้ไม่อยากใช้เวทีนี้มาเป็นเวทีต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาล แต่เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องกฎหมายของภาคประชาชนที่ต้องช่วยกันผลักดัน</p><p>ณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า สถานการณ์เรื่องการนิรโทษกรรมคดีการเมืองที่ผ่านมาเคยมีผลรายงานศึกษาของคณะกรรมการนิรโทษกรรมคดีการเมืองออกมาฉบับหนึ่ง ซึ่งข้อสังเกตหลายข้อสามารถส่งให้หน่วยงานดำเนินการได้ก่อน แต่ผลปรากฏว่า สส.ส่วนใหญ่ไม่รับข้อสังเกต </p><p>หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 4 ฉบับ โดยยังไม่ทราบว่ารายละเอียดร่างของพรรคเพื่อไทยหน้าตาเป็นอย่างไร เบื้องต้น คาดว่ากระบวนนำร่างเข้าสู่สภาฯ อาจจะไม่ทันสมัยประชุมนี้ เพราะว่ากำหนดคิวอภิปรายแน่นมาก แต่ถ้าทันก็ถือว่าเร็วมาก จึงคิดว่าอาจจะเข้าประชุมสภาฯ สมัยหน้าประมาณ ก.ค. 2568</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54343720546_998a505ee3_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ</p><p>ณัฐพงษ์ อยากขวนคุยว่าแล้วใครเป็นผู้กำหนดอนาคตการนิรโทษกรรมฯ พรรคเพื่อไทย หรือพรรคภูมิใจไทยรึเปล่า มันมีตัวอย่างที่ผ่านมาโดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการแก้ไขประมวลจริยธรรม องค์กรอิสระ คือพรรคภูมิใจไทย และ สว.ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญที่สุด </p><p>ณัฐวุฒิ พูดถึงเกมในสภาฯ ตอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพิ่มเติมหมวด 15/1 ว่าด้วย สสร. ทางฝั่งพรรคภูมิใจไทยวอล์กเอาต์ก่อน และให้ สว.บางส่วนที่เราอาจจะเชื่อได้ว่ามีความเชื่อมโยงพรรคหนึ่งพรรคใด โหวตขอญัตติเลื่อนพิจารณาส่งศาลรัฐธรรนูญตีความอำนาจรัฐสภาไม่ผ่าน เพื่อให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 1 เดินหน้า และสุดท้ายก็รอดูว่าพรรคเพื่อไทยเดินเกมในสภาฯ อย่างไร </p><p>หัวหน้าพรรค ปชน. กล่าวต่อว่า เรื่องนี้มันเกี่ยวอย่างไร มันเกี่ยวตรงที่ว่าเราบอกว่าอย่างน้อยๆ ขอให้มีการอภิปรายเรื่องร่างรัฐธรรมนูญในสภาฯ ก่อนโดยที่ยังไม่ต้องมีการลงมติก็ได้ แต่ปรากฏว่าเพื่อนสมาชิกฝั่งรัฐบาลเขากังวลว่า แม้แต่การอภิปราย เขาก็ยังไม่กล้าพูดในสภาฯ จนกว่าจะมีการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญให้ชัด เพราะเกรงว่าการอภิปรายในสภาฯ อาจจะขัดกฎหมาย และสุดท้ายจะมีการไปยื่นร้องขัดรัฐธรรมนูญและโดนดำเนินคดี มันเลยทำให้ประชุมวันที่ 2 เกิดภาวะสภาฯ ล่ม และญัตติก็ค้างอยู่</p><p>"ตอนนี้ภาวะที่เกิดขึ้นสภาฯ หลายๆ ครั้งพูดง่ายๆ คือ สส.กลัวที่จะโดนคดีต่างๆ แล้วไม่กล้าแม้แต่จะอภิปราย แค่อภิปรายก็รู้สึกเดี๋ยวฉันจะโดนดำเนินคดีได้" ณัฐพงษ์ กล่าว </p><p>หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวต่อว่า ที่ชวนคุยเรื่องนี้เพราะพรรคประชาชนเราโหวตรับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกร่างในวาระที่ 1 ได้อยู่แล้ว และไปถกเถียงในวาระที่ 2 ได้ และอย่างน้อยถ้ามีพรรคเพื่อไทยช่วยเติมมันผ่านได้ทุกร่างอยู่แล้ว แต่คำถามก็คือเขาจะโหวตด้วยหรือเปล่า</p><p>"ผมคิดว่าใจความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าจะออกมาเป็นร่างของ ครม. หรือเปล่า แต่สภาวะทางการเมืองใหญ่ๆ ของประเทศนี้มันติดอยู่ตรงที่ว่านักการเมืองโดยส่วนใหญ่กลัวจะใช้อำนาจตัวเอง เพราะกลัวว่าการใช้อำนาจต่างๆ เหล่านี้มันจะทำให้มีคดีตามหลังมา" ณัฐพงษ์ กล่าว </p><p>ดังนั้น ถามว่าใครเป็นผู้กำหนดอนาคตของการนิรโทษกรรม ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ประเมินความเป็นไปได้ทางการเมือง ตอนนี้ร่างที่เข้าไป ถ้าไม่แตะเรื่องมาตรา 112 มีโอกาสที่ สส.จากหลายๆ พรรคเขาจะดันต่อ แต่ยังไงก็ตาม สุดท้ายคนที่จะเปลี่ยนภาพบริบทการเมืองตอนนี้ได้ คือทำยังไงให้การเมืองยึดโยงกับประชาชน ให้ สส.ที่นั่งอยู่ในสภาฯ มาจากประชาชนมากที่สุด
"ทำยังไงให้ต่อไป เวลา สส.จะลงมติโหวตอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เข้าไปนั่งในสภา แล้วรู้สึกว่าฉันต้องกลัวที่จะรักษาอำนาจตัวเองไว้ ฉันต้องกลัวใครจะดำเนินคดี ตราบใดที่ สส.ในสภามีความยึดโยงกับประชาชน เขาก็ต้องโหวตเพื่อประโยชน์ของเราทุกคน" ณัฐพงษ์ กล่าว</p><p>หลังจากจบงาน ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ณัฐพงษ์ เพิ่มเติมว่า หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ไม่ผ่านที่ประชุม สส. พรรคประชาชนจะมีมติพรรคหรือแนวทางของพรรคอย่างไร เพื่อดำเนินการต่อไป</p><p>หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า ลำดับแรกคือการสู้ในยกแรกเพื่อผลักดันร่างกฎหมายให้เข้าสภาฯ ได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างของภาคประชาชน หากร่างของภาคประชาชนได้ผ่านในวาระที่ 1 รับหลักการ ก็จะได้มีตัวแทนภาคประชาชนในการเข้าไปนั่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญ และยังยืนยันเช่นเดิมว่าควรจะรับหลักการทุกร่าง และไม่ควรมีการยกเว้นกฎหมายข้อใดข้อหนึ่งก่อน เพื่อสามารถนำพิจารณาในวาระที่ 2 ได้ </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54343930009_08bdbc38f9_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ธงชัย วินิจจะกูล</p><h2>ทางเลือกอื่นนอกจากการนิรโทษกรรม</h2><p>นัสรี พุ่มเกื้อ ตัวแทนจาก Thumb Rights ชี้ว่า หลังจากที่เสนอร่างกฎหมายนี้เข้าไป ผ่านไป 1 ปี 7 วัน ไม่มีอะไรคืบหน้าเลย ทั้งๆ ที่มีผู้ต้องหาคดีการเมืองเพิ่มขึ้นทุกวัน หลักการสำคัญที่ต้องคงไว้ คือเราจะต้องไม่มีการลบล้างความผิดและไม่มีการบังคับการสารภาพก่อนกระบวนการ</p><p>นัสรี ได้นำกรณีศึกษาทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอในทางเลือกอื่น เมื่อรัฐสภาไม่สามารถผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเสียที</p><p><strong>กรณีศึกษาจากประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย</strong></p><ul><li aria-level="1">การออกคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี อ้างอิงจากคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ลงนามโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เปิดโอกาสให้มวลชนที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับรัฐบาล ได้รับการนิรโทษกรรมคดีการเมืองทั้งหมด และใช้ชีวิตตามปกติ</li><li aria-level="1">การออกพระราชกำหนด ในเหตุการณ์พฤษภา 2535 ในยุคพลเอกสุจินดา คราประยูร</li></ul><p>"นี่คือสิ่งหนึ่งที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ที่ชูศักดิ์ หรือคนในรัฐบาลทั้งหลายทั้งควรจะมาดูตัวอย่างไว้ว่า มันเคยทำแล้ว ทำได้หลายรอบมาก ยี่สิบกว่าครั้งที่เคยเกิดขึ้น" นัสรี ยืนยัน</p><p>ตัวอย่างทางเลือกอื่นอิงจากกรณีศึกษาต่างประเทศ</p><ul><li aria-level="1">การจัดตั้งคณะกรรมการความจริงและความปรองดองขึ้นมา (TRC) เพื่อกลั่นกรองช่วยดำเนินการการเกิดนิรโทษกรรมขึ้นในคดีการเมือง จากกรณีความขัดแย้งภายในประเทศของแอฟฟริกาใต้</li><li aria-level="1">วิธีการไม่ฟ้องร้อง มีการเพิกถอนคำฟ้อง กรณีการหมิ่นประมาทประธานาธิบดีอินโดนีเซีย หลังจากการปฏิรูปกฎหมาย และลดการดำเนินคดีลง</li><li aria-level="1">การยกเลิกกฎหมาย ในกรณีของเกาหลีใต้ที่เรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มองว่ากฎหมายนี้ขัดต่อหลักสิทธิและเสรีภาพ จึงยกเลิกกฎหมายไปและลบล้างความผิดผู้ต้องหาคดีดังกล่าวทั้งหมด</li></ul><p>สุดท้าย นัสรี กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางหรือทางเลือกทั้งหมดนี้เพียงให้รับทราบว่าจะมีวิธีการใดบ้าง เพื่อนำไปสู่การลบล้างความผิด ยกเลิกกฎหมายหรือการประกาศนิรโทษกรรมได้</p><p>"คนที่มีอำนาจกลายเป็นคนที่ไม่กล้าใช้อำนาจ ผมก็งงเหมือนกันว่า ถ้าเกิดว่าคนที่มีอำนาจ ในการที่จะเข้าไปผ่านกฎหมาย ไปดำเนินการอะไรต่างๆ เขามีอำนาจแต่เขาไม่ใช้อำนาจ คำถามคือเขาจะมีอำนาจไปเพื่ออะไร มีอำนาจเพื่อไปใช้ผลประโยชน์ของตนเองเหรอ พอถึงจังหวะที่สังคมต้องการอำนาจของคุณมากที่สุด เราอุตส่าห์เลือกตั้งให้อำนาจคุณไปแล้ว และต้องการให้คุณใช้อำนาจนั้น แต่คุณกลับไม่ใช้ ผมรู้สึกว่าอยากให้ถึงวันที่เราจะต้องขออำนาจกลับคืนมาสู่ประชาชน รู้สึกว่าเราให้อำนาจเขาไปแล้ว ผู้แทน สส.ของเราก็ใช้มันซะ ทำในสิ่งที่ถูก ทำในสิ่งที่ควรทำ" นัสรี กล่าว</p><p>Talk session อื่นๆ ยังมี พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือทนายเมย์ นำเสนอเรื่องราว 1 ปีของร่างกฎหมายนี้ผ่าน 3 เส้นเรื่อง</p><ul><li aria-level="1">เส้นเรื่องแรก การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ทนายเมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีอยู่ 4 ร่างจากหลายส่วนที่รอบรรจุวาระ สำหรับร่างจากประชาชนมีกระบวนการรับฟังความคิดผ่านเว็บของรัฐสภาแล้ว และได้รับความสนใจมากถึง 400,000 วิวด้วยกัน มีผู้แสดงความคิดเห็น 80,000 กว่าราย ยอดไม่เห็นด้วย 65% แต่ทางสภาฯ ก็รับว่ามีกระบวนการที่ผิดปกติเพราะมีบ็อตอยู่ด้วย แต่ตัวเลขนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข จนถึงตอนนี้ได้รับทราบว่าจะมีร่างกฎหมายนี้เพิ่มคือ ฉบับพรรคประชาชนและอีกร่างหนึ่งไม่มั่นใจว่าจะเป็นฉบับพรรคเพื่อไทย หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ต้องรอดูกันต่อไป</li><li aria-level="1">เส้นเรื่องที่ 2 การตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขึ้นเพื่อศึกษาร่างกฎหมายนี้ สุดท้ายที่ประชุมสภามีมติไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของรายงานของกมธ.</li></ul><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54343930184_509847a338_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พูนสุข พูนสุขเจริญ</p><p>ปี 2567 ที่ผ่านมา มีผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองเพิ่มขึ้น วนเวียนเข้าออกประมาณ 68-70 คน นั่นทำให้มีผู้ลี้ภัยคดีการเมืองอย่างน้อย 11 คน และสูญเสีย 'บุ้ง' เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมการเมืองขณะอยู่ในเรือนจำ ความขัดแย้งหลักในการนำเสนอร่างกฎหมายนี้ กล่าวได้ว่าเป็นคดีมาตรา 112 การแก้กฎหมายมีความหวังแสนจะเลือนลาง การนิรโทษกรรมจึงกลายเป็น ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง</p><p>"อยากย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การนิรโทษกรรมเป็นการลบล้างการกระทำของบุคคลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแก้ไขกฎหมาย ภายใต้ที่เราเห็นว่าเรื่องนี้คือเรื่องเล็กๆ นิดเดียวที่นักการเมืองอาจจะไม่สนใจก็ได้ แต่มันก็คือโอกาสว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดและทำได้ง่ายที่สุด โดยที่ยังไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง" พูนสุข กล่าวและคาดการณ์ว่าอย่างเร็วเรื่องนิรโทษกรรมจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาในสมัยหน้าช่วงกลางปี 2568 </p><ul><li aria-level="1">เส้นเรื่องสุดท้าย บรรยากาศของผู้ต้องขัง แนวโน้มนักโทษคดีการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ทนายเมย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ต้องสู้ต่อไป แต่สิ่งที่ได้เห็นและได้รับตลอดทั้งปีคือ การสนับสนุนจากประชาชน สุดท้ายหวังว่าจะจับมือ หาโอกาสแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ต่อไป</li></ul><p>นอกจากนี้ Thumb Rights ยังได้เชิญชวน 'ธี' ถิระนัย และ 'มายด์' ชัยพร แนวร่วมอาชีวะฯ ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิต ความรู้สึก เรื่องของผู้ต้องขังคดีการเมือง</p><p>ธี และมายด์ เล่าว่า คนที่ทำความผิดจริงกับคนที่ไม่ได้ทำอะไรผิด เข้าไปในเรือนจำนั้น ความรู้สึกต่างกันมากๆ การใช้ชีวิตในเรือนจำของทั้งคู่นั้นเป็นความรู้สึกที่แย่มาก เพื่อนบางคนในเรือนจำถึงขั้นต้องรับยา เพราะเป็นผู้ป่วยจิตเวช อีกทั้งมายด์ยังเล่าว่า เรื่องราวในเรือนจำเองก็ต้องเล่าอย่างระมัดระวัง เพราะจะโดนฟ้องได้</p><p>“เรื่องของภายในเรือนจำ เราค่อนข้างที่จะพูดในเรื่องเจาะลึกไม่ได้ บางทีเราอาจจะถูกฟ้องเพิ่มเติม เพราะเรื่องบางเรื่องเราก็รู้อยู่ว่า ประเทศเราเป็นอย่างนี้ เราพูดความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้” มายด์เล่า</p><p>ส่วน ณธกรจากแอมเนสตี้ กล่าวว่าการเขียนจดหมายเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการให้กำลังใจและเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวที่ผู้ต้องขังมี เพื่อให้กำลังใจ และเชื่อว่าการวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองเป็นสิทธิมนุษยชนของทุกคน</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54343921874_03c7ca3798_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณธกร นิธิศจรูญเดช</p><p> </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดี
http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4" hreflang="th">ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
http://prachatai.com/category/thumb-rights" hreflang="th">Thumb Rights[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%90%E0%B8%B2-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C" hreflang="th">ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ธี ถิระนั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3" hreflang="th">มายด์ ชัยพ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82-%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D" hreflang="th">พูนสุข พูนสุขเจริ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD" hreflang="th">นัสรี พุ่มเกื้
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีการเมือ
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2025/02/112206 







