[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 14:15:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผ่านบทบาท ‘ธานินทร์ กรัยวิเชียร’  (อ่าน 107 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2568 15:45:47 »

ทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผ่านบทบาท ‘ธานินทร์ กรัยวิเชียร’
 


<span>ทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผ่านบทบาท ‘ธานินทร์ กรัยวิเชียร’</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-02-25T13:22:57+07:00" title="Tuesday, February 25, 2025 - 13:22">Tue, 2025-02-25 - 13:22</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ถึงแก่อสัญกรรมในวัย 97 ปี เมื่อ 23 ก.พ.2568 เขาเป็นบุคคลซึ่งเคยมีบทบาทสูงยิ่งในช่วงหนึ่งของการเมืองไทย และยังคงเป็นอาจารย์นักกฎหมายผู้ยิ่งใหญ่สืบต่อมา</p><p>การสูญเสียบุคคลสำคัญซึ่งเป็นทั้งอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 (2520-2559) นำมาซึ่ง ‘คำไว้อาลัย’ ที่สะท้อนภาพการมองบทบาทของเขาที่เกี่ยวพันกับการเมืองการปกครองประเทศ</p><p>ไม่ว่าจะเป็นข้อความของ ‘จักรภพ เพ็ญแข’ ที่กล่าวถึงบทบาทอาจารย์นักกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ตัวตึงระดับชาติ เช่น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ วิษณุ เครืองาม ธงทอง จันทรางศุ เป็นต้น บทบาทต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผยและรุนแรงในเวลานั้น โดยการเขียนตำรับตำราและเดินสายบรรยายทางด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ทั่วประเทศและในโทรทัศน์ ทั้งยังก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ผู้ถูกยึดอำนาจเมื่อตอนหกโมงเย็นของวันที่ 6 ตุลาคม 2519</p><p>ไม่ว่าจะเป็นข้อความของ ‘ธงทอง จันทราศุ’ ที่เล่าประสบการณ์ในแง่มุมส่วนตัวสมัยเรียนนิติศาสตร์และได้สัมพันธ์กับ ‘อาจารย์’ ที่เคารพรัก หลังเป็นองคมนตรีแล้วก็ยังเขียนหนังสือรับรองให้สำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศ</p><p>ไม่ว่าจะเป็นข้อความของ ‘ไพศาล พืชมงคล’ ที่เล่าถึงประสบการณ์ระหว่างธานินทร์กับสำนักงานธรรมนิติ รวมทั้งกล่าวถึงลูกศิษย์คนสำคัญที่อาจารย์ธานินทร์ไว้วางใจและเก่งกล้าสามารถ ทรงคุณธรรมอย่างยิ่ง อย่าง ศ.วิชา มหาคุณ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตกรรมการ ป.ป.ช. และอดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ชุดของมีชัย ฤชุพันธ์ุ</p><p>หากเราหาอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ในช่วงหลัง เราจะพบคำอธิบายยุคของรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ในหลากหลายเล่มที่สะท้อนบทบาทในบริบทของ ‘สงครามคอมมิวนิสต์’ จึงขอคัดบางช่วงตอนมานำเสนอ ซึ่งแม้ผู้อ่านไม่มีพื้นฐานประวัติศาสตร์การเมืองที่แม่นยำก็ยังพอมองเห็นภาพบางส่วนได้</p><p>“ระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่&nbsp;2516-2519 การเติบโตของนักศึกษาประชาชนหัวเอียงซ้าย การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมทั้งทฤษฎีโดมิโนที่เกิดขึ้นภายหลังสามประเทศอินโดจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2518 ก็สร้างความตื่นตระหนกให้กับชนชั้นนำอย่างสูง ความพยายามฟื้นฟูระบอบเผด็จการจึงเกิดขึ้นอีกครั้งโดยอาศัยการเดินทางกลับไทยหลังบวชเป็นสามเณรของถนอม ซึ่งกลายเป็นชนวนของอาชญากรรมรัฐต่อประชาชนเป็นครั้งที่สอง กองกำลังของรัฐและกึ่งรัฐที่เป็นกลุ่มขวาจัดบุกเข้าปราบปรามการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาประชาชนด้วยอาวุธสงครามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิต 46 คน รอดตายถูกจับกุม 3,154 คน ชนชั้นนำใช้เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารอีกครั้ง แล้วสถาปนารัฐบาลขวาจัดที่มี ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น ‘นายกพระราชทาน’ พร้อมแผนแม่บท 12 ปีและการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างแข็งกร้าวจนผลด้านกลับทำให้นักศึกษาหนีเข้าป่าไปร่วมกับ พคท.และจับอาวุธลุกขึ้นสู้กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่กระจายไปทั่วประเทศ รัฐบาลขวาตกขอบนี้มีอายุได้เพียง 1 ปี ก็ถูกโค่นล้มด้วยคณะปฏิวัติชุดเดิม การเมืองไทยกลับสู่ยุคที่ผู้นำทหารมีบทบาทหลักอีกครั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ทหารปีกปฏิรูป ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินหน้านโยบายประนีประนอมกับฝ่ายซ้าย แต่ความพยายามควบรวมอำนาจมากเกินไปของเขาก็ทำให้ในที่สุดสถาบันกษัตริย์และชนชั้นนำไทยเลือกสนับสนุน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แทน จากนั้นหลังต้นทศวรรษ 2520 การเมืองไทยจึงเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่ผู้นำทหารกับสถาบันกษัตริย์ผูกสัมพันธ์กันแนบแน่นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”</p><p>ตอนหนึ่งในหนังสือ ‘เนื้อในระบอบถนอม ความสืบเนื่องและเสื่อมถอยของเผด็จการทหาร พ.ศ.2506-2516’ โดยธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (สนพ.ฟ้าเดียวกัน, 2566)</p><p>ชื่อของธานินทร์ยังไม่อาจแยกขาดจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพราะหลังเกิดเหตุล้อมปราบอย่างรุนแรงในช่วงเช้ามืด ตกเย็นคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจ ต่อมาอีก 2 วันก็แต่งตั้ง ธานินทร์ ขึ้นเป็นนายกฯ</p><p>“นายธานินทร์ นั้นเป็นบุตรของนายแห กรัยวิเชียร เจ้าของโรงรับจำนำที่ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2470 จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบเนติบัณฑิตจากอังกฤษและเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคอมมิวนิสต์ ขณะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา นายธานินทร์อายุ 50 ปี ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เป็นบุคคลที่ประชาชนทั่วไปไม่เคยได้ยินชื่อในวงการเมืองมาก่อนเลย นอกจากชื่อเสียงในฐานะที่เป็นวิทยากรต่อต้านคอมมิวนิสต์ ออกรายการโทรทัศน์ชื่อ ‘สนทนาประชาธิปไตย’ ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ และเมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว นายธานินทร์ก็เป็นที่ปรึกษาสำคัญของคณะปฏิรูปในการดำเนินการมาตรการทางกฎหมาย....&nbsp;</p><p>“คณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ยกเลิกรัฐสภาและการเลือกตั้ง ยุบพรรคการเมือง แล้วให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย 13 คนร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม คณะปฏิรูปก็ได้ประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งมีทั้งหมด 29 มาตรา และมีมาตรา 21 ที่ให้อำนาจสิทธิขาดแก่นายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการเพื่อความมั่นคง ตามธรรมนูญนี้ให้อำนาจอย่างมากแก่ฝ่ายบริหาร และกำหนดให้มีสภาปฏิรูปทำหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติ ซึ่งสมาชิกส่วนมากแต่งตั้งจากข้าราชการประจำ เช่นเดียวกับยุคจอมพลสฤษดิ์ ไม่มีสภาจาการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังกำหนดให้คณะทหารทั้งหมด 24 คนที่ทำการยึดอำนาจทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคอยกำกับความเป็นไปของรัฐบาล นายธานินทร์ก็ยอมรับสถานะเช่นนี้ โดยเปรียบเทียบว่า คณะรัฐบาลที่บริหารประเทศก็เปรียบเหมือนเนื้อหอย คณะทหารก็เหมือนเปลือกหอยที่ทำหน้าที่คุ้มครอง ดังนั้น รัฐบาลธานินทร์จึงได้สมญาต่อมาว่า รัฐบาลหอย”

ตอนหนึ่งในหนังสือ ‘สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย’ โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (บริษัทพี.เพรส, 2551)</p><p>ในนามานุกรมท้ายหนังสือชื่อ ‘กว่าจะครองอำนาจนำ การคลี่คลายขยายตัวของเครือข่ายในหลวง ภายใต้ปฏิสัมพันธ์ชนชั้นนำไทย ทศวรรษ&nbsp;2490-2530’ โดยอาสา คำภา (สนพ.ฟ้าเดียวกัน, 2564)&nbsp; อธิบายชื่อของธานินทร์ กรัยวิเชียร ว่า

“อดีตข้าราชการตุลาการ ‘สายวัง’ ผู้มีความใกล้ชิดกับราชสำนักตั้งแต่ช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ช่วงต้นทศวรรษ 2510 เขาเป็นหนึ่งในพระสหายร่วมเล่นกีฬาแบดมินตันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นสมาชิก สนช.กลุ่มดุสิต 99 ธานินทร์มีความเชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายการกระทำอันเป็นคอมนิวนิสต์ ช่วงปี&nbsp;2518-2519 เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะวิทยากร “นักต่อต้านคอมมิวนิสต์” หลังรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.....”</p><p>อย่างไรก็ดี รัฐบาลธานินทร์ มีอายุได้เพียง 1 ปี 12 วันก็ถูกรัฐประหารยึดอำนาจ นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ซึ่งเป็นผู้นำเขาขึ้นสู่ตำแหน่งและนำเขาลงจากตำแหน่ง ในหนังสือของอาสา คำภา วิเคราะห์สาเหตุความอายุสั้นของรัฐบาลว่า นั่นเป็นเพราะบุคลิกความซื่อสัตย์ เถรตรง เป็นตัวของตัวเองสูงของธานินทร์ และแนวทางการดำเนินนโยบายแบบขวาจัดที่ทำให้ขัดแย้งกับพันธมิตรในเครือข่ายชนชั้นนำ ทั้งข้าราชการ นายทุนธุรกิจ รวมทั้งกับฝ่ายทหารเอง ทำให้ ‘แปลกแยก’ จากเครือข่ายชนชั้นนำอื่นๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ที่ต่อมาหลังการยึดอำนาจ ได้เป็นนายกฯ ต่อจากธานินทร์) แต่แม้เขาจะไม่ฟังคณะปฏิรูปฯ เช่น การแต่งตั้งรัฐมนตรีตามใจตนเองเพราะเชื่อว่าจะดีที่สุด ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามกระชับความสัมพันธ์กับกองทัพด้วยการสนับสนุนแผนการปรับปรุงแสนยานุภาพของกองทัพตามที่คณะปฏิรูปฯ เสนอ ด้วยการออก พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อป้องกันประเทศเป็นจำนวนถึง 20,000 ล้านบาท เมื่อ 29 พ.ย.2520 จากธนาคารโลกและซาอุดิอาระเบีย กำหนดผ่อนชำระ 20 ปี และเพิ่มงบประมาณป้องกันประเทศจากปีก่อนหน้าราว 3,000 ล้าน</p><p>ตัวอย่างลักษณะนโยบายแข็งกร้าวในยุคสมัยของรัฐบาลธานินทร์ อาทิ&nbsp;</p><ul><li>ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ มีอำนาจกักตัวบุคคลเป็นเวลา 7 วันหากสงสัยว่าเป็นภัยความมั่นคง</li><li>ปรับประกาศคำสั่งคณะปฏิรูปทำให้เจ้าพนักงานจับ ค้น ควบคุมตัวผู้เข้าข่ายต้องสงสัยเป็นภัยความมั่นคงโดยไม่ต้องใช้หมายจับหรือหมายค้น</li><li>กำหนดลักษณะบุคคล ‘ภัยสังคม’ เพื่อกำราบการชุมนุมประท้วงและนัดหยุดงานซึ่งมีจำนวนมากในเวลานั้น ผู้ต้องสงสัยจะถูกคุมตัวได้ 30 วัน ตลอด 1 ปีเศษ มีผู้ต้องหาประมาณ 8,000 คนที่ถูกจับกุมข้อหาภัยสังคม</li><li>มาตรา 21 ของธรรมนูญชั่วคราว คล้ายกับมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญ 2502 ยุคสฤษดิ์ ที่ให้อำนาจเด็ดขาดแก่นายกฯ แต่เพียงผู้เดียว ในการตัดสินโทษผู้กระทำความผิดบางประเภท คล้ายกับยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์</li><li>มีการควบคุมสื่ออย่างหนักหน่วง&nbsp; ปิดหนังสือพิมพ์ไปถึง 22 ครั้ง โดยถูกหยุดใช้ใบอนุญาต 3 วันบ้าง 5 วันบ้าง ไปจนถึง 15 - 30 วัน</li><li>มีการประกาศรายชื่อหนังสือต้องห้ามและเผาหนังสือต้องห้าม</li><li>ฟื้นฟูการยืนตรงเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น.และ 18.00 น.</li><li>ข้าราชการต้องเข้าอบรมโดยวิทยากรจาก กอ.รมน.เพื่อผูกฝังความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กรมกองละ 2 สัปดาห์ต่อวัน ซึ่งมีการจัดอยู่เสมอ</li><li>ในทางการต่างประเทศเลือกใช้นโยบายไม่คบค้ากับประเทศสังคมนิยมใด มีการออก พ.ร.บ.ห้ามคณะผู้แทนรัฐบาลเดินทางไปติดต่อเป็นทางการกับประเทศคอมมิวนิสต์</li></ul><p>เป็นต้น&nbsp;</p><p>ลักษณะการดำเนินนโยบายเช่นนี้ส่งผลให้ยิ่งเร่งปฏิกิริยาให้นักศึกษาเข้าร่วมต่อสู้กับ พคท.มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับการยอมรับจากเครือข่ายชนชั้นนำอื่นๆ อีกต่อไป</p><p>หนังสือดังกล่าววิเคราะห์ว่าธานินทร์เชื่อว่า “ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองต้องมาก่อน และสิ่งอื่นจะตามมาทีหลัง” ดังที่เคยให้ความเห็นในรายการสนทนาประชาธิปไตยว่า “หากเราลองชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเราต้องเคารพนี้ กับอ้ายความมั่นคงของรัฐ กับภัยคอมมิวนิสต์นี่ ก็ต้องกลับมาปัญหาอย่างแรกที่ผมได้เรียนไว้ว่ามันคุ้มกันไหม ผมถึงเห็นว่า ความมั่นคงของประเทศต้องมาก่อน”</p><p>ในทางรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาลธานินทร์นี้เอง ที่ปรากฏคำว่า ‘ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” เป็นครั้งแรก อยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับ 2519 นอกจากนี้ในยุคนี้ยังเพิ่มโทษกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากจำคุกสูงสุดไม่เกิน 7 ปี ให้เป็นจำคุกสูงสุดไม่เกิน 15 ปี</p><p>ประชาธิปไตยไทยเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ อย่างพิศดารตลอดเส้นทางราว 93 ปีของมัน และช่วง 1 ปีเศษในยุครัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งบริบทสถานการณ์โลกแหลมคมหนัก ก็นับเป็นช่วงเวลาที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3" hreflang="th">ธานินทร์ กรัยวิเชียhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-6-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2519" hreflang="th">เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">ฝ่ายขวาไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82" hreflang="th">ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112228
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.258 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มิถุนายน 2568 09:34:00