กัมพูชางดนำเข้าน้ำมันไทย กระทบยุทธศาสตร์ ‘บ้านหลังที่ 2’ ปตท. OR
<span>กัมพูชางดนำเข้าน้ำมันไทย กระทบยุทธศาสตร์ ‘บ้านหลังที่ 2’ ปตท. OR</span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2025-06-29T19:10:01+07:00" title="Sunday, June 29, 2025 - 19:10">Sun, 2025-06-29 - 19:10</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>คำสั่งรัฐบาลกัมพูชาระงับการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภทจากประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 23 มิ.ย. อาจไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของกัมพูชา แม้ผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 อย่าง ปตท. OR หายไป แต่การนำเข้าน้ำมันจากไทยอยู่ที่ประมาณ 29% เท่านั้น สามารถหาแหล่งนำเข้าชดเชยได้จากเวียดนาม อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ทั้งยังมีแบรนด์น้ำมันอีกหลายเจ้า โดยเฉพาะเจ้าใหญ่ Kampuchea Tela ที่ใกล้ชิดรัฐบาล และมีโอกาสครองตลาดเพิ่ม</p><p>ในขณะที่ยุทธศาสตร์ “บ้านหลังที่ 2” หรือแผนขยายการลงทุนในกัมพูชาของ ปตท. OR ต้องสะดุด หากไม่มีการนำเข้าน้ำมันจากฝั่งไทยเพิ่มเติม ปั๊มน้ำมัน PTT ในกัมพูชาที่มีมากกว่า 186 สาขาจะทำได้เพียงระบายน้ำมันในสต็อกที่เหลือจนหมด เหลือแต่การดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมันอย่าง Café Amazon ร้านสะดวกซื้อ ร้านสะดวกซัก ฯลฯ ขณะที่สื่อกัมพูชาระบุมีปั๊มพาร์ทเนอร์ PTT บางสาขาระบุว่าจะหันมานำเข้าน้ำมันจากแหล่งอื่น</p><p class="picture-with-caption"> <img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54615078983_d096c1931e_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption">ณัฐพงศ์ แก้วตระกูลพงษ์ Managing Director บริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด (PTTCL), Cheap Sour (คนที่ 2 จากซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน รัฐบาลกัมพูชา, ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครรราชทูต ณ กรุงพนมเปญ, หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหารจาก OR และบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ร่วมพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT สาขา Neak Vorn กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 |
ที่มาภาพ: Facebook/ต้น ปีกทอง - Tone Peekthong </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54615079348_db5a03acb0_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พร้อมด้วย Cheap Sour รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเหมืองแร่และ และ ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ได้ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT สาขา Neak Vorn เมื่อ 21 มีนาคม 2568 |
ที่มาภาพ: Facebook/Royal Thai Embassy, Phnom Penh </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54614860611_c1d3f74fe4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เอกอัครราชทูตฯ พร้อมด้วย ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ และทีมผู้บริหารของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ได้ร่วมพิธีเปิดร้าน Café Amazon Concept Store Store สาขาตวลโก๊ก บนถนนหมายเลข 528 เป็นร้านคอนเซ็ปต์สโตร์ร้านแรกในกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 |
ที่มาภาพ: Facebook/Royal Thai Embassy, Phnom Penh </p><h2><strong>ปักหมุดกัมพูชา “บ้านหลังที่ 2” ของ OR</strong></h2><p>ย้อนกลับไปเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 21 มีนาคม 2568 ที่ย่านธุรกิจ ใจกลางกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พร้อมด้วยชีพ ซัว (Cheap Sour) รมช.กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน รัฐบาลกัมพูชา หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ OR ร่วมกับคณะผู้บริหารจาก OR และบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ร่วมพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT สาขา Neak Vorn ในกรุงพนมเปญ</p><p>ทั้งนี้PTT สาขา Neak Vorn บนถนน Russian Blvd. เป็นสาขาที่เพิ่งปรับปรุงใหม่ เพิ่มพื้นที่จอดรถ เพิ่มสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Station) ขยายพื้นที่ Café Amazon และเพิ่มบริการใหม่ๆ ในเครือของปตท. อาทิ ร้านสะดวกซัก Otteri Wash & Dry ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และร้านอาหาร Mike’s Burger โดยทั่วประเทศกัมพูชามีสถานีบริการน้ำมัน PTT ทั้งสิ้น 186 สาขา</p><p>ในช่วงบ่าย เอกอัครราชทูตฯ พร้อมด้วย ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ และทีมผู้บริหารของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีเปิดร้าน Café Amazon Concept Store สาขาตวลโก๊ก (Toul Kork) บนถนนหมายเลข 528 ซึ่งเป็นร้านกาแฟแบบคอนเซ็ปต์สโตร์แห่งแรกของ ปตท. ในกัมพูชา และเป็น Café Amazon สาขาที่ 254 ที่เปิดในกัมพูชา</p><p>ใน
จดหมายข่าวของ OR หม่อมหลวงปีกทอง เปิดเผยว่า OR เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศกัมพูชา ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ OR จึงวางกลยุทธ์ให้ประเทศกัมพูชาเป็น “บ้านหลังที่สอง” (Second Homebase) ด้วยการนำธุรกิจของ OR จากประเทศไทยสู่ตลาดกัมพูชา โดยดำเนินธุรกิจที่ประเทศกัมพูชาภายใต้บริษัท PTT Cambodia Limited (PTTCL) พร้อมเสริมสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกับประเทศกัมพูชาตามแนวคิด “They Grow – We Grow” ซึ่งเป็นแนวทางที่ OR ยึดถือในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ</p><p>โดย Café Amazon Concept Store สาขาตวลโก๊ก เป็นร้านรูปแบบคอนเซ็ปต์สโตร์ร้านแรกในกัมพูชา ใช้แนวคิด People Concept ที่ต้องการให้ Café Amazon ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นตามพื้นที่ต่างๆ สามารถเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราว โดยได้นำไอเดียและความหลากหลายทาง Lifestyle ของคนแต่ละวัย รวมถึงที่ตั้งของร้านมาผสานกับการดำเนินธุรกิจ และออกแบบพื้นที่นั่งหลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงครอบครัว มีเครื่องดื่มฟิวชันที่หยิบยกวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นมาเป็นจุดเด่น มีเครื่องดื่มสูตรพิเศษ (Signature Menu) ที่นำเอาวัตถุดิบจากชุมชนที่ตั้งของร้านมารังสรรค์เป็นเมนูพิเศษที่มีจำหน่ายเฉพาะสาขานั้นๆ เช่น “Komlos Srok Yerng” (กัมเลาะ สรก เยิง) เมนูที่ได้แรงบันดาลใจจากข้าวต้มมัดกล้วยซึ่งเป็นขนมประจำงานมงคลของกัมพูชา โดยใช้กาแฟ Amazon House Blend ผสมผสานกับไซรัปกล้วยและท็อปปิ้งด้วยข้าวต้มมัดกล้วย และ “Nary Smai Thmey” (นารี สมัย ทไม) เมนูปั่นที่ใช้ฝรั่งชมพูซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของกัมพูชาเป็นส่วนประกอบ โรยด้วยผงบ๊วย ทานแล้วได้ความเปรี้ยวหวานและสดชื่น นอกจากนี้ยังมี Concept Bar ให้บริการกาแฟจากเมล็ดคัดพิเศษและเมล็ดกาแฟเฉพาะฤดูกาล และบริการอาหารหลากหลายตอบโจทย์คนทำงานในย่านตวลโก๊ก ฯลฯ</p><p>ใน
โพสต์เฟซบุ๊คของสถานทูตไทย กรุงพนมเปญ ระบุด้วยว่า การเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT Flagship Station แห่งแรกและร้าน Café Amazon Concept Store แห่งแรกในกัมพูชา มีขึ้นในปีอันสำคัญฉลองครบรอบ 75 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชา และครบรอบ 30 ปี ของความสำเร็จของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ในการดำเนินธุรกิจในกัมพูชา</p><p>ใน
รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2568 ตอนหนึ่งเปิดเผยผลการดำเนินงานในรอบปี 2567 ซึ่งมียุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1. Seamless Mobility, 2. All Lifestyles, 3. Global Market และ 4. OR Innovatio</p><p>โดยในส่วนของ Global Market มุ่งขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก โดย OR ดำเนินธุรกิจใน 11 ประเทศทั่วโลก และปักหมุด "กัมพูชา" เป็นบ้านหลังที่ 2 พร้อมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ</p><p>ทั้งนี้ Café Amazon เริ่มเปิดตัวในกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2556 โดยอยู่ภายในสถานีบริการน้ำมัน ก่อนที่จะเริ่มเปิดเฉพาะร้านกาแฟแบบสแตนด์อโลนในปี 2558</p><p>อย่างไรก็ตามความชื่นมื่น ภายใต้ยุทธศาสตร์บ้านหลังที่ 2 ของ ปตท. และความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-กัมพูชาครบรอบ 75 ปี กลับชะงักงันลงเมื่อเกิดข้อพิพาทชายแดนล่าสุดระหว่างไทยและกัมพูชา และหลังจากที่ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งว่าตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 23 มิ.ย. “การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภทจากประเทศไทยจะถูกระงับทั้งหมด” โดยระบุว่า “บรรดาบริษัทจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกัมพูชา มีความสามารถในการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากแหล่งอื่นได้อย่างเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศของประชาชน ไม่เพียงแค่เดือนเดียว แม้จะเป็นระยะยาวก็ไม่เป็นปัญหา”</p><h2><strong>กัมพูชาไม่มีโรงกลั่น นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย</strong></h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54615175995_e2b1fd2491_c.jpg" width="533" height="800" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">“ฮุนมาเนต” นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สั่งระงับนำเข้าน้ำมันไทยหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 23 มิ.ย. 2568 | ที่มาภาพ: Facebook/
Hun Manet</p><p>มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทยอาจไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงในกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชายังมีแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปหลายแหล่ง โดย
รายงานในพนมเปญโพสต์ เมื่อ 23 มิ.ย. อ้างถึง เคซีย์ บาร์เนตต์ ประธานหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา (AmCham) เปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดียเมื่อไม่นานมานี้ว่า ประเทศไทยและเวียดนามเป็นแหล่งจัดหาน้ำมันให้กับกัมพูชาราวร้อยละ 29 เท่ากัน ขณะที่สิงคโปร์มีสัดส่วนร้อยละ 13 และอินโดนีเซียร้อยละ 11 แม้น้ำมันดิบส่วนใหญ่จะมาจากซาอุดีอาระเบียและประเทศในตะวันออกกลาง แต่กระบวนการกลั่นน้ำมันนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยและเวียดนาม เนื่องจากในปัจจุบัน กัมพูชายังไม่มีโรงกลั่นน้ำมันเป็นของตนเอง</p><p>จากข้อมูลของหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา สัดส่วนนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากไทยถือว่าต่ำกว่าข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งอ้างอยู่ใน
เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจระบุว่า กัมพูชานำเข้าน้ำมันจากไทยถึงร้อยละ 67.4</p><p>บาร์เนตต์เสนอว่า กัมพูชาสามารถกระจายแหล่งนำเข้าน้ำมันที่ผ่านการกลั่นแล้วได้ โดยอาจหันไปซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของน้ำมันกลั่นจากประเทศอย่างซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอเมริกา</p><p>และในขณะที่มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทยมีผลมาตั้งแต่เที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 23 มิ.ย. แต่ใน
เพจ CFILA โพสต์ว่ามีเรือบรรทุกน้ำมันชื่อเชษฐ์ธนบดี 6 (CHETTHANABODI 6) เดินทางออกจากท่าเรือศรีราชาถึง “ท่าสีหนุวิลล์” จังหวัดพระสีหนุ ตั้งแต่ 24 มิ.ย. และมีสถานะเทียบท่า ก่อนเดินเรือเข้าสู่น่านน้ำไทย ทั้งนี้
Khmer Times รายงานด้วยว่ากองทัพเรือกัมพูชาได้ขับไล่เรือเชษฐ์ธนบดี 6 ออกจากน่านน้ำของกัมพูชาเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิ.ย. หลังตรวจพบว่าเรือลำดังกล่าวได้เข้ามาในเขตน่านน้ำจังหวัดพระสีหนุโดยผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามการขับไล่เกิดขึ้นหลังจากเรือจอดเทียบท่า และออกจากท่าสีหนุวิลล์มาแล้วหลายวัน ส่วน เขียว รัตนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า นับตั้งแต่มาตรการของรัฐบาลมีผลบังคับใช้ จะไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าน้ำมันหรือก๊าซจากไทยไม่ว่ากรณีใดๆ</p><p>ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวประชาไทไม่สามารถตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลอิสระได้ว่าเรือบรรทุกน้ำมันดังกล่าวได้ขนถ่ายสินค้าระหว่างเทียบท่าสีหนุวิลล์หรือไม่ ส่วนสถานะของเรือเชษฐ์ธนบดี 6 (CHETTHANABODI 6) สามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบสถานะเดินเรือ เช่น
vesselfinder หรือ
marinetraffic ฯลฯ</p><h2><strong>ปีที่แล้วนำเข้าน้ำมันและก๊าซ 2.69 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ</strong></h2><p>
สำนักข่าวซินหัว ของทางการจีน อ้างรายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ระบุว่า การนำเข้าน้ำมันดีเซล น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซของกัมพูชาในปี 2567 ที่ผ่านมา มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดีเซล น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซในปีที่แล้วรวมอยู่ที่ 2.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 2.4 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า โดยจำแนกเป็น น้ำมันดีเซล 1.41 พันล้านดอลลาร์ น้ำมันเบนซิน 946 ล้านดอลลาร์ และก๊าซธรรมชาติ 334 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 7, 11 และ 42 ตามลำดับ</p><p>ปัจจุบันกัมพูชายังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซทั้งหมด เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมใต้ทะเลของประเทศยังไม่ได้รับการพัฒนา โดยในปี 2547 เชฟรอนค้นพบ
แหล่งน้ำมันอัปสรา ห่างจากชายฝั่งจังหวัดพระสีหนุราว 150 กิโลเมตร เคยมีบริษัทขุดเจาะน้ำมันสิงคโปร์คริสเอ็นเนอร์ยี (KrisEnergy) เข้ามาดำเนินการ ประเมินเอาไว้ว่าอาจผลิตน้ำมันได้ราว 7,500 บาร์เรลต่อวัน แต่ผลิตได้จริง 2,800 บาร์เรลต่อวัน คริสเอ็นเนอร์ยีดำเนินการขุดเจาะจนหมดเงินทุนและยื่นขอล้มละลายในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทยที่รอการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีก</p><p>ส่วนโรงกลั่นน้ำมันพระสีหนุ-กัมปอต ที่ร่วมทุนระหว่าง CPC กัมพูชา กับ Sinomach ของจีนซึ่งวางศิลาฤกษ์ในปี 2560 ก็ไม่มีความคืบหน้าและเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จมาตลอด ส่วน Guanzun Energy จากจีนก็สนใจลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันเช่นกันโดยระบุว่าจะเริ่มสร้างในปี 2569</p><p>กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชาคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตันในปี 2573 จาก 2.8 ล้านตันในปี 2563</p><h2><strong>ความต้องการใช้รถยนต์สันดาปยังสูง การใช้รถ EV ยังไม่มาก</strong></h2><p>กัมพูชายังคงมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภท เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มจำนวนของยานพาหนะบนท้องถนน
Kiripost สื่อกัมพูชา รายงานว่า ละ วิบล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมวิชาชีพของกัมพูชา เปิดเผยว่าในเดือนมีนาคม 2568 กัมพูชามียานพาหนะที่จดทะเบียนแล้วมากกว่า 7.7 ล้านคัน โดยเป็นรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 85 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลร้อยละ 10 และรถบรรทุกกับรถจักรกลร้อยละ 5</p><p>
Khmer Times อ้างข้อมูลของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งระบุว่า ในปี 2567 มียานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจดทะเบียนใหม่จำนวน 413,067 คัน ในจำนวนนี้รถจักรยานยนต์มีสัดส่วนมากที่สุดคือ 353,603 คัน ตามด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 54,692 คัน และรถบรรทุกกับรถจักรกล 5,841 คัน</p><p>ในขณะเดียวกัน ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 มีการจดทะเบียน EV ใหม่จำนวน 2,253 คัน อย่างไรก็ตาม ตลาด EV ในกัมพูชายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2568 ระบุว่ามีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับ EV เพียง 21 แห่งทั่วประเทศ</p><p>สำหรับจำนวน EV ทั้งหมดในประเทศ ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2567 ระบุว่ามียานพาหนะ EV จดทะเบียนแล้วรวม 4,320 คัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตัวเลขยานพาหนะ EV ในกัมพูชาน่าจะสูงกว่านี้</p><p>ทั้งนี้ทางการกัมพูชา ตั้งเป้าหมายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารในเขตเมืองให้ได้ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2593 เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์</p><h2><strong>“OR” กระทบสุด ส่วนเจ้าใหญ่ “Kampuchea Tela” มีโอกาสครองตลาดเพิ่ม</strong></h2><p>การระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทย ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งดำเนินธุรกิจในกัมพูชาผ่านบริษัท PTT (Cambodia) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสอง โดยมีสถานีบริการน้ำมันในกัมพูชา 186 แห่ง</p><p>ใน
รายงานของกรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 24 มิ.ย. 2568 อ้างแหล่งข่าวจาก ปตท. ระบุถึงมาตรการของ OR ต่อสถานีบริการน้ำมัน PTT ในกัมพูชาว่าเปิดดำเนินการสถานีน้ำมันตามปกติ โดยจะจำหน่ายน้ำมันที่คงค้างสต๊อกในคลังน้ำมันและในสถานีบริการน้ำมันแต่ละแห่งจนหมด นอกจากนี้ได้เรียกพนักงานที่เป็นคนไทยให้เดินทางออกจากกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. เหลือแต่พนักงานส่วนใหญ่ที่เป็นชาวกัมพูชา</p><p>ขณะที่ผู้สื่อข่าว
CamboJA News ไปสำรวจสถานีบริการน้ำมัน PTT หลายแห่งในพนมเปญเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (23 มิ.ย.) พบว่ายังคงเปิดให้บริการได้ โดยพนักงานระบุว่ามีจำนวนผู้มาเติมน้ำมันลดลงหลังการระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากไทย และเกิดกระแสรณรงค์ออนไลน์ให้ประชาชนคว่ำบาตรสถานีบริการน้ำมัน PTT</p><p>ส่วนหัวหน้าคนงานสถานีบริการน้ำมัน PTT สาขาบกกอ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนมณีวงศ์ตัดกับถนนเหมาเจ๋อตงกล่าวว่า “เราจะหยุดให้บริการทั้งหมดไม่ได้ เพราะสถานีนี้ไม่ได้เป็นของบริษัท PTT ทั้งหมด และเราสามารถนำเข้าน้ำมันจากแหล่งอื่นได้”</p><p>และถึงแม้ OR จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันต่อไปได้เมื่อน้ำมันในคลังหมดลง แต่ในกัมพูชายังมีผู้เล่นในธุรกิจสถานีบริการน้ำมันอีกหลายเจ้า โดยเฉพาะเจ้าใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งอย่าง Kampuchea Tela ซึ่งมีสถานีบริการน้ำมันมากกว่า 2,000 แห่ง และคู่แข่งที่เหลืออย่าง Caltex (Chevron Cambodia), Total Cambodge (TotalEnergies), SOKIMEX (Sok Kong Import Export Co., Ltd.), Bright Victory Mekong Petroleum ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54613998002_20b7f31640_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เพจ Kampuchea Tela โพสต์คลิปขบวนรถบรรทุกน้ำมันเตรียมออกจากคลังน้ำมัน แสดงความพร้อมบริการน้ำมันและเชื้อเพลิงในกัมพูชา เมื่อเที่ยงวันที่ 23 มิ.ย. หรือ 12 ชั่วโมงหลังคำสั่งระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากไทยมีผล | ที่มาภาพ: Facebook/
Kampuchea Tela</p><p>สำหรับธุรกิจน้ำมันเจ้าใหญ่อย่าง Kampuchea Tela ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ทุนจดทะเบียน 1 พันล้านเรียล หรือประมาณ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น แบ่งเป็น 1,000 หุ้น หุ้นละ 1 ล้านเรียล โดยมีชุน ออน ผู้ก่อตั้งบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่</p><p>แม้ไม่ใช่เครือญาติกับฮุน เซน แต่ชุน ออนก็เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครือข่ายชนชั้นนำภายในพรรครัฐบาลอย่างพรรคประชาชนกัมพูชา และเคยยังตกเป็นเป้าโจมตีจากพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา โดยในจดหมายข่าวที่เผยแพร่โดยอดีตพรรคสม รังสี สาขาสหรัฐฯ/แคนาดา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ได้กล่าวอ้างว่า Kampuchea Tela มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับครอบครัวของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าทั้งภรรยาและบุตรสาวของฮุน เซนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่</p><p>ในจดหมายข่าวได้อ้างถึง "หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท" ซึ่งในเวลานั้นระบุว่า “บุน สมเฮียง” หรือ “บุน รานี” ภริยานายกรัฐมนตรี ถือหุ้นร้อยละ 22 และ “ฮุน มานา” บุตรสาว ถือหุ้นร้อยละ 10 ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่น เช่น ชุน ออน, เต็บ งอน, ปรัก จำเรือน และ งวน เลง ถูกอดีตพรรคสม รังสี กล่าวหาว่าเป็นเพียงตัวแทนในนามหรือนอมินี ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยในเครือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และยังระบุว่าบริษัทดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจของพรรคประชาชนกัมพูชาและเครือข่ายฮุน เซน</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">กัมพูช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">น้ำมั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">พลังงา
http://prachatai.com/category/or" hreflang="th">OR[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81" hreflang="th">ปตท. น้ำมันและการค้าปลี
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูช
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2" hreflang="th">แบนสินค้
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97" hreflang="th">ปตท.[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/kampuchea-tela" hreflang="th">Kampuchea Tela[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95" hreflang="th">ฮุนมาเน
http://prachatai.com/journal/2025/06/113516 







