[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 กรกฎาคม 2568 23:13:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สื่อท้องถิ่นจะเอาตัวรอดยังไง (3) อุปสรรค ‘สื่อท้องถิ่น’ ไทย ในการเปลี่ยนแปลงยุค  (อ่าน 20 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: วานนี้ »

สื่อท้องถิ่นจะเอาตัวรอดยังไง (3) อุปสรรค ‘สื่อท้องถิ่น’ ไทย ในการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล
 


<span>สื่อท้องถิ่นจะเอาตัวรอดยังไง (3) อุปสรรค ‘สื่อท้องถิ่น’ ไทย ในการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล </span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก</p></div>
      <span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-18T13:25:04+07:00" title="Friday, July 18, 2025 - 13:25">Fri, 2025-07-18 - 13:25</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><div class="summary-box"><p>รายงานพิเศษชุด 'สื่อท้องถิ่น' จะเอาตัวรอดยังไง? ตอนที่ 3: อุปสรรค 'สื่อท้องถิ่น' ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล จะพาไปฟังเสียงจากคนทำสื่อท้องถิ่นในประเทศไทย ที่กำลังเผชิญความท้าทายหลายด้านในยุคดิจิทัล 'The Glocal - ท้องถิ่นเคลื่อนโลก' ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่นนอกกรุงเทพฯ ครอบคลุมหลายจังหวัด พบว่าปัญหาหลักคือการขาดเงินทุน ความเปราะบางของแรงงานสื่อที่ส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ และการแข่งขันจากสื่อโซเชียลและอินฟลูเอนเซอร์ รายงานนี้จะนำเสนอมุมมองจากนักสื่อท้องถิ่นว่าพวกเขารับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างไร พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อความอยู่รอดในอนาคต</p></div><p>สื่อท้องถิ่นทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในประเทศไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล แม้จะมีบทบาทสำคัญในฐานะกระบอกเสียงของชุมชนและเป็นแหล่งข้อมูลที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ แต่สื่อท้องถิ่นทั่วโลกต่างประสบปัญหาวิกฤตที่คุกคามความอยู่รอดในระยะยาว</p><p>ปัญหาสำคัญที่สื่อท้องถิ่นต้องเผชิญคือ วิกฤตด้านการเงิน ทั้งการขาดทุนและการขาดแคลนทรัพยากรในการดำเนินงาน นอกจากนี้ การปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลยังเป็นความท้าทายสำคัญ สื่อท้องถิ่นต้องแข่งขันกับโซเชียลมีเดียและสื่อกระแสหลักที่มีทรัพยากรมากกว่า ขณะที่ตัวเองยังมีข้อจำกัดทั้งด้านความรู้และเทคโนโลยี ทำให้ต้องพยายามสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด</p><p>แม้จะเผชิญความท้าทายมากมาย แต่บทบาทของสื่อท้องถิ่นในการรายงานข้อมูลเฉพาะพื้นที่ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตหรือภัยพิบัติ ทั้งในไทยและทั่วโลก สื่อท้องถิ่นยังคงเป็นผู้เข้าถึงและเข้าใจบริบทของชุมชนได้ดีที่สุด การศึกษาในหลายประเทศพบว่า พื้นที่ที่สื่อท้องถิ่นอ่อนแอหรือหายไป มักมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประชาธิปไตยลดลง และการทุจริตในการบริหารงานท้องถิ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น</p><p>สถานการณ์ของสื่อท้องถิ่นไทยจึงไม่ได้เป็นปรากฏการณ์เฉพาะในประเทศ แต่สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตของสื่อท้องถิ่นในระดับโลกที่กำลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและรักษาบทบาทสำคัญในการเป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชน</p><h2>ฟังเสียงคนทำสื่อท้องถิ่น</h2><p>ช่วงเดือน เม.ย.2568 The Glocal - ท้องถิ่นเคลื่อนโลกได้ทำการ&nbsp;"สำรวจความคิดเห็นผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่นนอกกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความท้าทายในวงการสื่อปัจจุบัน" มีผู้ตอบแบบสอบถาม 13 คน โดยมีพื้นที่การทำงานในจังหวัด เชียงใหม่, แพร่, ลำปาง, พะเยา, ขอนแก่น, หนองบัวลำภู และสุราษฎร์ธานี พบข้อค้นพบที่สนใจดังต่อไปนี้</p><p>จากการสำรวจ ผู้ทำงานสื่อท้องถิ่นส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ถึง 33.3% รองลงมาคือขอนแก่น 25% โดยกว่าครึ่งหนึ่งทำงานให้กับเว็บไซต์ท้องถิ่น (รวมถึงเพจ/โซเชียลที่ประกอบ) คิดเป็น 53.8% และทำงานให้กับเพจโซเชียลข่าวท้องถิ่นที่ไม่มีเว็บไซต์หลัก อีก 30.8%</p><p>ในด้านตำแหน่งงานปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นกองบรรณาธิการ (ผู้สื่อข่าว/นักข่าว/ผู้ผลิตรายการ/ผู้เขียนเนื้อหา/ช่างภาพ) คิดเป็น 53.8% และเป็นเจ้าของ/ผู้บริหาร/บรรณาธิการ 30.8% ส่วนลักษณะการจ้างงาน ส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ 53.8% และเป็นเจ้าของ/ผู้ก่อตั้ง 30.8%</p><p>ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (76.9%) ระบุว่าสื่อท้องถิ่นที่ตนเองทำอยู่นั้น มีการปรับตัวสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลแล้ว แต่ยังพบความท้าทายสำคัญในการปรับตัวดิจิทัลคือ การขาดงบประมาณในการลงทุนเทคโนโลยี (23.1%) การไม่มีโมเดลธุรกิจรองรับโดยแพลตฟอร์มดิจิทัล (23.1%) และการไม่สามารถสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้เพียงพอ (23.1%)</p><h2>บก. LANNER มอง 'สื่อท้องถิ่น' ต้องทำข่าวเชิงลึก ไม่ใช่แค่รายงานอุบัติเหตุ-ข่าวจากหน่วยงาน</h2><p>วัชรพล นาคเกษม บรรณาธิการสำนักข่าว LANNER สำนักข่าวท้องถิ่นที่นำเสนอข่าวสารในภาคเหนือ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ถ้าย้อนกลับไปเราเองก็ไม่รู้หรอกว่า "สื่อท้องถิ่น" มีหน้าที่อะไร นอกจากการรายงานข่าวอุบัติเหตุ อาชญากรรม หรือหน่วยงานรัฐทำอะไร แน่นอนว่าทุกอย่างล้วนถูกสื่อสารออกมาในรูปแบบของข่าวรายวัน รายงานแบบจบไป นี่คือหน้าที่ที่เราเห็นสื่อท้องถิ่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ แม้หลายครั้งจะเห็นการติดตามโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในประเด็นที่อ่อนไหวต่อสังคมอย่างความขัดแย้งทางการเมืองเองก็มักจะไม่ถูกพูดถึง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54662547183_573be2e382_o.jpg" width="1280" height="1920" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วัชรพล&nbsp;นาคเกษม&nbsp;บรรณาธิการสำนักข่าว LANNER</p><p>"โดยส่วนตัวผมมองว่าแรงบันดาลใจหลักในการทำงานสื่อท้องถิ่น คือการดึงเสียงของพื้นที่และผู้คนที่อยู่ในทุกมุมเมืองให้ออกมาเป็นประเด็นสาธารณะให้ได้มากที่สุด ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะผมเชื่อว่าการทำข่าวไม่สามารถจบได้ด้วยข่าวแค่เพียงชิ้นเดียว ขณะเดียวกันความซ้ำซากของสื่อท้องถิ่นที่มีให้เห็นก็ไม่สามารถทำหน้าที่แบบนั้นได้อย่างที่น่าจะเป็น LANNER เลยเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มส่วนที่ยังขาด คือการฟังเสียงของผู้คนในพื้นที่ชายขอบ เมืองรอง และกลุ่มที่มักถูกมองข้ามในสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายทั้งภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการเมืองท้องถิ่น แม้ว่าสื่อท้องถิ่นในภาคเหนือจะมีอยู่เยอะแยะมากมายในทุกจังหวัด แต่สิ่งที่เราต้องทำคือการวิเคราะห์ข่าวที่ไม่ใช่การรายงานเพื่อรายงาน ซึ่งมีเพียงไม่กี่สำนักสื่อที่รายงานข่าวในลักษณะของการวิเคราะห์"</p><p>"โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าสื่อท้องถิ่นที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตของคนท้องถิ่น เป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงผู้คนในชุมชนเข้าหากัน ถูกมองเห็น การมีสื่อท้องถิ่นจึงสำคัญ เพราะมันคือพื้นที่ของการรับรู้และยืนยันตัวตน ในวันที่ข้อมูลข่าวสารถูกกำกับโดยสื่อศูนย์กลาง (กรุงเทพฯ) หรือกลุ่มทุนใหญ่"</p><p>"ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ Social Media เข้ามามีอิทธิพลกับสังคมอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านสามารถเป็นผู้เล่าเรื่อง เปิดวาระได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอให้สื่อกระแสหลักมาทำข่าวเหมือนแต่ก่อน ถ้าพูดแบบง่ายๆ สื่อเหนื่อยน้อยกว่าเดิม แต่อาจจะไปเหนื่อยในแง่ของการคิดให้เป็นข่าวที่มีแง่มุมเชิงสืบสวนวิเคราะห์มากกว่า เราจะเห็นว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือแรงงานพูดเรื่องค่าแรงในต่างจังหวัดแล้วกลายประเด็นสาธารณะอยู่บ่อยๆ (LANNER ก็เล่นข่าวนี้ทุกปีเลย ซึ่งก็ต้องหามุมเล่าใหม่อยู่เสมอ) หรือแม้แต่เรื่องการใช้ไฟของกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นที่อ่อนไหวและสร้างขัดแย้งในหลายระลอกก็มักจะเริ่มต้นจากการโพสต์บ่นในออนไลน์ก่อน"</p><p>"ขณะเดียวกันเรื่อง AI ก็ดูจะเป็นเรื่องที่น่าจะเข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อที่ลามมาถึงสื่อท้องถิ่นด้วย ในแง่ของเครื่องมือ แน่นอนว่ามันก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะทำข่าวเชิงสืบสวนได้แต่ก็น่าจะสร้างอิทธิพลบางอย่างที่น่าคิดต่อได้ เช่น การลดขนาดของนักข่าวลงและเพิ่มบทบาทของ AI มากขึ้น"</p><p>"ในฐานะสื่อท้องถิ่น ต้องพูดกันตามตรงว่าการสนับสนุนสื่อยังกระจุกตัวอยู่กับสื่อส่วนกลาง พวกงบโฆษณา หรือการเข้าถึงแหล่งทุน หรือหันมามองสื่อท้องถิ่นเองก็ต้องมีความสัมพันธ์กับทุนท้องถิ่น ซึ่งก็อาจจะแลกมาด้วยการพูดได้บางเรื่อง ขณะเดียวกันระบบสมาชิก (Subscription) ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะที่ผ่านมาข่าวเท่ากับของฟรี ระบบนี้จึงไม่เคยเกิดขึ้นจริงเท่าที่ควรจะเป็นเหมือนในต่างประเทศ"</p><p>"โมเดลธุรกิจของสื่อท้องถิ่นก็ดูจะเป็นเรื่องที่ต้องหาทางพัฒนาต่ออีกเยอะมาสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น ช่วงนี้เราจะเห็นสื่อกรุงเทพเฮโลกันทำ Event กันเยอะมาก และสื่อท้องถิ่นทำอะไรดี จะไปหาผูกปิ่นโตกับใครก็ยากไปหมด ยิ่งอย่าง LANNER แม้จะมีงานที่สร้างรายได้บ้างแต่ก็ไม่ต่อเนื่องพอ จะให้ไปทำเพจรีวิวก็ไม่น่าจะใช้ทางเลือกที่ดีเท่าไหร่ อีกเรื่องที่น่าสนใจคือการสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มด้วยก็ดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย"</p><p>"เรื่องระบบนิเวศสื่อเองก็เป็นเรื่องที่เราอยากเห็นเลยก็คือ สื่อท้องถิ่นต้องรอด แต่ก็ต้องมีคุณภาพข่าวที่ให้คุณค่ากับสังคมด้วย เราต้องเสิร์ฟข่าวสร้างสื่อที่มีแง่มุมวิพากษ์วิจารณ์กันให้มากๆ เหมือนเป็นการรณรงค์ไปในตัวว่ามาทำกันบ้าง เราจะดีใจมากที่เห็นสื่อท้องถิ่นมีข่าวเชิงสืบสวน มี Data Journalist มีคลิปข่าวสกู๊ปสนุกๆ ให้ดู"</p><p>"โจทย์ยากคือจะทำยังไงให้คนในท้องถิ่นรู้สึกรักและเป็นเจ้าของสื่อในท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนสื่อนี่แหละเป็นเรื่องน่าคิดต่อ"</p><h2>อุปสรรคสำคัญของสื่อท้องถิ่นยุคดิจิทัล 'เงินทุน-ฐานผู้บริโภค-เทคโนโลยี'</h2><p>จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่น ยังพบว่าอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาสื่อท้องถิ่นในยุคดิจิทัลมีหลายประการที่เชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน ซึ่งเป็นรากฐานของความท้าทายอื่นๆ</p><p>ประเด็นสำคัญที่พบคือแหล่งรายได้ของสื่อท้องถิ่น ส่วนใหญ่มาจากเงินทุนส่วนตัวถึง 69.2% รองลงมาคือรายได้จากการผลิตสื่อโฆษณาและการสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไร อย่างละ 38.5% และการรับทำคอนเทนต์จากหน่วยงานรัฐ 15.4% สะท้อนถึงสถานการณ์รายได้ที่ไม่มั่นคงและต้องพึ่งพาเงินทุนส่วนตัวเป็นหลัก</p><p>ความท้าทายหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุคือการไม่สามารถหารายได้เชิงธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาโครงสร้างการประกอบการของสื่อท้องถิ่นที่ส่วนใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก มีรายได้จำกัด ทำให้ไม่สามารถลงทุนในแพลตฟอร์มดิจิทัล เครื่องมือการผลิตสื่อ หรือระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัยได้เท่าสื่อขนาดใหญ่</p><p>อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือความไม่สมดุลระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า "คนอ่านไม่ใช่คนในท้องถิ่น แต่เป็นคนนอก ไม่ได้ตอบสนองเพื่อคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง" ซึ่งสะท้อนปัญหาในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการสร้างฐานผู้อ่านในพื้นที่</p><p>พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลเป็นอีกความท้าทายหนึ่ง โดยเฉพาะการที่ "ทุกคนสามารถผลิตสื่อได้ด้วย AI หรือสร้างขึ้นมาเองได้โดยมุ่งเน้นแต่ยอดวิว ยอดแชร์" ทำให้ความสำคัญของสื่อที่ทำงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนได้รับความสำคัญน้อยลงในยุคที่เนื้อหาเกิดขึ้นทุกวินาที</p><p>นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายในเชิงเนื้อหาและการทำงาน โดยมีความเห็นว่า "งานสื่อสารเชิงประเด็นที่เป็นประเด็นหนักๆ ชวนคิดวิเคราะห์แยกแยะ เป็นงานที่ขายได้ยากในเมืองเล็ก" สะท้อนความยากลำบากในการสร้างความสนใจในเนื้อหาเชิงลึกท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น</p><p>ปัญหาด้านทักษะและการพัฒนาบุคลากรก็เป็นอีกอุปสรรคสำคัญ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึง "ทักษะทางวิชาชีพ และการหารายได้" ว่าเป็นความท้าทายในการพัฒนาสื่อท้องถิ่น รวมถึงการขาดแหล่งทุนสนับสนุนและทีมงานที่พร้อมทำงานร่วมกัน</p><p>ความท้าทายอื่นๆ ที่ได้รับการกล่าวถึงรวมถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ("คู่แข่งเยอะ") และปัญหาการขาดความสนใจในประเด็นท้องถิ่นของผู้คน ซึ่งส่งผลต่อความอยู่รอดของสื่อที่นำเสนอเนื้อหาเฉพาะพื้นที่</p><h2>‘ฟรีแลนซ์’ ฟันเฟืองที่เปราะบางของสื่อท้องถิ่น</h2><p>กนกพร จันทร์พลอย ผู้ประสานงานมูลนิธิสื่อประชาธรรม ที่ได้ทำการอบรมให้สื่อท้องถิ่นในภาคเหนือมาบ่อยครั้ง และเธอยังเคยทำงานศึกษาในประเด็นการจ้างงานสื่อออนไลน์มาด้วย ชี้ว่าคนทำงานสื่อท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มฟรีแลนซ์ ต้องเผชิญความเปราะบางหลายด้าน</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53424079118_4872c702a9_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กนกพร&nbsp;จันทร์พลอย&nbsp;ผู้ประสานงานมูลนิธิสื่อประชาธรรม</p><p>"ส่วนใหญ่มีความเปราะบางโดยเฉพาะเรื่องการเงิน โดยเฉพาะสื่อที่เป็นฟรีแลนซ์ รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนมีงานเยอะ บางเดือนแทบไม่มีเลย ค่าตอบแทนก็ต่ำมากเมื่อเทียบกับชั่วโมงทำงาน หลายคนบอกว่าได้ชิ้นละ 300-500 บาท ทั้งที่ต้องลงพื้นที่ สัมภาษณ์ ถ่ายรูป เขียนบทความ ใช้เวลาเป็นวันๆ ที่น่าสนใจคือ เกือบทุกคนที่คุยด้วยต้องมีงานอื่นทำควบคู่ไปด้วย บางคนเป็นนายหน้าขายที่ดิน บางคนรับจ้างถ่ายรูปปริญญา เพราะรายได้จากงานสื่ออย่างเดียวไม่พอกิน พอกินแต่ไม่พอเก็บ ไม่พอมีชีวิตที่มั่นคง พวกเขาทำงานสื่อด้วยใจรัก แต่ต้องทำงานอื่นเพื่อให้อยู่รอด"</p><p>เมื่อถามว่าทำไมองค์กรสื่อท้องถิ่นจึงไม่สามารถจัดสวัสดิการที่ดีให้พนักงานได้ กนกพรอธิบายว่า</p><p>"คุยกับผู้ประกอบการสื่อท้องถิ่นหลายแห่ง พวกเขาก็อยากจ่ายค่าตอบแทนที่ดีและมีสวัสดิการให้ทีมงาน แต่ทำไม่ได้จริงๆ เพราะรายได้ของสื่อท้องถิ่นก็ไม่ได้มาก สื่อบางเจ้าพึ่งพากับแหล่งทุนอย่างเดียว ไม่มีรายได้จากแหล่งอื่นๆ พอเกิดวิกฤติทางการเมือง อย่างกรณีทรัมป์ ก็ทำให้สื่อบางเจ้าต้องชะงักไป เรื่องนี้ไม่ใช่แค่สื่อท้องถิ่นเท่านั้นที่เผชิญ แต่สื่อระดับต่างประเทศก็เผชิญเช่นกัน อีกส่วนหนึ่ง พอใครๆ ก็สามารถทำสื่อได้ ทุกคนคือคอนเท้นครีเอเตอร์ คืออินฟลูเอนเซอร์ รายได้ของสื่อท้องถิ่นก็ถูกแบ่งสัดส่วนไปอีก อาจเพราะเข้าถึงคนได้เยอะกว่า สื่อท้องถิ่นหลายแห่งต้องลดขนาดองค์กรลง จากที่เคยมีพนักงาน 10 กว่าคน เหลือแค่ 3-5 คน บางแห่งก็ปรับโมเดลให้จ้างฟรีแลนซ์แทนพนักงานประจำ เพราะจ่ายเป็นชิ้นๆ ถูกกว่า ไม่ต้องจ่ายสวัสดิการ ไม่ต้องส่งเงินประกันสังคม แต่นั่นก็ยิ่งทำให้สภาพการทำงานแย่ลง คนทำงานไม่มีความมั่นคง ต้องรับงานจากหลายที่ แข่งกันลดราคา เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ที่ทั้งสื่อและคนทำสื่อต่างก็เปราะบาง ต่างคนต่างดิ้นรนเอาตัวรอด"</p><p>"สิ่งที่เห็นชัดมากๆ คือ คนทำสื่อฟรีแลนซ์หลายคนทำงานด้วยใจรัก พวกเขามีจิตวิญญาณ มีอุดมการณ์ที่อยากผลัก อยากนำเสนอเรื่องราวในท้องถิ่น อยากให้เสียงของชุมชนได้ถูกได้ยิน แต่ความรักอย่างเดียวมันเลี้ยงปากท้องไม่ได้ ถ้าเราอยากแก้ปัญหานี้ เราต้องคิดใหม่ทั้งระบบ คือต้องสร้างความตระหนักให้สังคมเห็นคุณค่าของสื่อท้องถิ่นและเต็มใจจ่ายเพื่อได้ข่าวสารที่มีคุณภาพ รัฐมีนโยบายสนับสนุนที่เข้าใจบทบาทของสื่อท้องถิ่น และคนทำสื่อฟรีแลนซ์อาจต้องรวมตัวกันให้เหนียวแน่นเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง แชร์ทรัพยากร แชร์ความรู้ แชร์โอกาส แทนที่จะต่างคนต่างดิ้นรนแบบนี้"</p><h2>มองสื่อโซเชียล-อินฟลูเอนเซอร์ กระทบต่อสื่อท้องถิ่น ‘มากถึงมากที่สุด’</h2><p>อีกประเด็นที่น่าสนใจคือมุมมองของคนทำสื่อท้องถิ่นต่ออินฟลูเอนเซอร์และโซเชียลมีเดีย จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่น โดยพบว่ามากกว่า 72.8% เห็นว่า สื่อโซเชียลและอินฟลูเอนเซอร์ส่งผลกระทบต่อสื่อท้องถิ่นในระดับมากถึงมากที่สุด โดยผลกระทบที่สำคัญคือ การต้องปรับรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจมากขึ้น (69.2%) การแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้รับชม (61.5%) และต้องเร่งนำเสนอความไม่เร็วโดยอาจกระทบคุณภาพ (61.5%)</p><p>กลยุทธ์ที่สื่อท้องถิ่นควรใช้ในการรับมือกับการแข่งขันจากสื่อโซเชียลและอินฟลูเอนเซอร์ คือ การเน้นประเด็นท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย (46.2%) รวมถึงการเน้นความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในประเด็นท้องถิ่น (30.8%)</p><p>ผลสำรวจในประเด็นความคิดเห็นต่ออินฟลูเอนเซอร์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสะท้อนมุมมองที่หลากหลายจากผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่น โดยมีทั้งข้อกังวลและความเห็นเชิงบวก</p><p>หนึ่งในความกังวลที่สำคัญคือเรื่องการตรวจสอบ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าหากอินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลในการนำเสนอข่าวมากขึ้นโดยมีการตรวจสอบไม่เพียงพอ อาจเป็นอันตรายต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของประชาชน เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์มีผู้ติดตามจำนวนมาก สามารถชี้นำกระแสสังคมได้แม้เนื้อหาจะไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบเช่นเดียวกับสื่อมวลชนดั้งเดิม</p><p>อย่างไรก็ตาม บางความเห็นมองว่าควรมีการเติมเรื่องความเป็นมืออาชีพในด้านวารสารศาสตร์ให้กับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อพัฒนาให้เป็น ‘citizen journalist’ ที่มีคุณภาพ และมีผู้แสดงความเห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเมื่ออินฟลูเอนเซอร์ในท้องถิ่นนำประเด็นและสรุปข่าวจากสื่อท้องถิ่นไปนำเสนอต่อ ซึ่งหากมีการทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า จะช่วยขยายช่องทางเผยแพร่และดึงความสนใจได้ โดยเฉพาะถ้ามีความเชื่อและอุดมคติต่อการสื่อสารในทิศทางเพื่อการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน</p><p>มีความเห็นเชิงบวกอีกที่มองว่า การมีคนนำเสนอข่าวสารที่หลากหลายเป็นเรื่องดี เพิ่มความหลากหลายของเนื้อหาและการแข่งขัน พร้อมให้ข้อสังเกตว่าการเป็นสื่อกระแสหลักไม่ได้หมายความว่าจะน่าเชื่อถือเสมอไป ย้อนให้เห็นว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในอดีตอย่าง 6 ตุลา ก็มาจากการนำเสนอของสื่อดั้งเดิมมาก่อน</p><p>อีกมุมหนึ่งเน้นเรื่องความรับผิดชอบร่วมกัน โดยเสนอว่าต้องให้ประชาชนตื่นตัวในเรื่องการบริโภคสื่อด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุล เมื่อประชาชนมีวิจารณญาณมากขึ้น คอนเทนต์ฉาบฉวยหรือเน้นยอดวิวจะลดลงเอง ขณะเดียวกันสื่อเองก็ต้องสำรวจตนเองว่าทำงานหนักพอหรือทำดีพอหรือยัง</p><p>ความเห็นบางส่วนก็มีมุมมองเชิงวิพากษ์ต่ออินฟลูเอนเซอร์บางกลุ่มว่า "ไร้สาระทำแต่รีวิวขยะๆ" หรือนำเสนอเพียงเรื่องไลฟ์สไตล์เท่านั้น โดยเน้นย้ำว่าข่าวสารที่นำเสนอควรน่าเชื่อถือและมีข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้อง</p><p>ภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่นตระหนักถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของอินฟลูเอนเซอร์ในการนำเสนอข่าวสาร มีทั้งความกังวลด้านคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ แต่ก็มองเห็นโอกาสในการร่วมมือเพื่อขยายการเข้าถึงผู้รับสาร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อที่คนทั่วไปสามารถผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้นในยุคดิจิทัล</p><h2>ทางเลือกหรือทางรอด? มุมมองผู้ก่อตั้ง The Isaander ต่อการปรับตัวของสื่อยุคใหม่</h2><p>นนทรัฐ ไผ่เจริญ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ The Isaander เว็บไซต์ที่นำเสนอเรื่องราวของภาคอีสานโดยเฉพาะ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า "ผมคิดว่าประเด็นนี้สามารถคิดได้หลายมุม ถ้ามองในมุมข่าวแบบดั้งเดิม หรือสื่อเก่า เราอาจคิดว่า รูปแบบการทำงานข่าวแบบอินฟลูเอ็นเซอร์ จะไม่สามารถทำงานได้ในมาตรฐานเดียวกับกองบรรณาธิการแน่นอน เพราะอาจไม่มีทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอในการหาข้อมูล กลั่นกรองประเด็น สัมภาษณ์ หรือประสานงานต่างๆ รวมถึงอาจชนะเรื่องความน่าเชื่อถือในแบบขนบเก่า"</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54486698558_174bbc35c1_o_d.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">นนทรัฐ&nbsp;ไผ่เจริญ (คนกลาง)&nbsp;ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ The Isaander</p><p>"อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดว่า การทำงานข่าวแบบอินฟลูฯ เป็นนิวมีเดียที่เกิดขึ้น และเป็นรูปแบบแห่งอนาคต ที่ทำให้กองบรรณาธิการที่เทอะทะ ลดขนาดลง สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง หรือทีมที่เล็กลง เลือกประเด็นที่ตัวเองสนใจจริงๆ และสุดท้ายให้ผู้อ่าน หรือผู้รับสารเป็นคนตัดสิน ก็อาจเป็นทางออกที่เป็นจริงสำหรับโลกยุคปัจจุบัน"</p><p>เขากล่าวว่า "เราคนทำข่าว ไม่สามารถตัดสินแทนคนเสพข่าวได้ว่า ข่าวแบบที่เราเชื่อยังจำเป็นอยู่หรือไม่ คุณค่าข่าวแบบที่เรายึดถือยังจำเป็นสำหรับสังคมในยุคปัจจุบันไหม ข่าวเจาะ ข่าวสืบสวน ข่าวเชิงข้อมูล ยังจำเป็นจริงๆ หรือไม่ในยุคนี้ คำถามนี้แท้จริงแล้วคนที่จะตอบได้คือคนเสพข่าว หรือถ้าคิดแบบเป็นธุรกิจ คนที่จะตอบเรื่องนี้คือนายทุนสื่อ หรือสปอนเซอร์ว่าเขาพร้อมให้เราทำข่าวแบบนั้น เพื่อที่เขาจะสนับสนุนหรือไม่"</p><p>นนทรัฐยังตั้งคำถามว่า "หน้าที่หมาเฝ้าบ้าน เกทคีพเปอร์จำเป็นต้องมีเพียงรูปแบบที่คนรุ่นเก่าถือปฏิบัติมาหรือไม่ เพราะยุคนี้ การตรวจสอบอาจถูกส่งต่อให้เอไอ หรือกลไกเทคโนโลยีอื่นๆ การตรวจสอบอาจสามารถทำได้ด้วยปลายนิ้วของประชาชนทุกคนที่สนใจ และตระหนักถึงปัญหา อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าไม่มีข้อสรุปที่ตายตัว เพียงแค่ว่า เรายึดถือความเชื่อแบบไหน และเราจะปรับตัวสู้กับมันแบบใด"</p><p>เมื่อถามถึงอุปสรรคในการทำงานสื่อท้องถิ่น นนทรัฐอธิบายว่า "ทุนเป็นปัญหาสำคัญ การทำงานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทุน และในฐานะที่เราเชื่อเรื่องการแบ่งปันค่าตอบแทนที่เหมาะสม ยิ่งยากเข้าไปอีกขั้นเพราะเราแบ่งค่าตอบแทนให้กับคนทำงานทุกคนเท่าๆ กันตั้งแต่เริ่มต้นลงมือ แต่บางครั้งอาจไม่สามารถควบคุมคุณภาพงานได้ เพราะไม่มีรูปแบบในการตรวจสอบคุณภาพ และแบ่งค่าตอบแทนที่ดีพอตั้งแต่ต้น ทุนจำเป็นอย่างยิ่งกับการบริหารงาน ไม่ว่ากองบรรณาธิการจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ สิ่งที่ยากอีกอย่างคือการบริหารความพึงพอใจของคนที่ทำงานด้วย"</p><p>นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายเรื่องประเด็น ‘การไล่ตามประเด็น’ ประเด็นข่าวสำคัญมีมากมาย ทั้งแบบที่เป็นวาระประจำ เป็นวาระทั่วๆไป หรือสถานการณ์ปัจจุบันทันด่วน การมีกองบรรณาธิการขนาดเล็กสิ่งที่ยากคือการพยายามติดตามทุกประเด็นที่น่าสนใจ แต่ก็เป็นงานหนัก เพราะทุกประเด็นมีมิติที่ลึกและกว้าง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการลงมือทำแต่ละประเด็นให้ครอบคลุม รอบด้าน และทันเวลา</p><p>เขายังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายจากอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม "แม้ข่าวเราจะดีแค่ไหนในมาตรฐานความเชื่อของเรา แต่ถ้าหากเราไม่เข้าใจ และตามการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึ่มไม่ทัน ก็มีโอกาสพ่ายแพ้ในสมรภูมินี้สูง เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องแบ่งเวลาส่วนใหญ่ให้การติดตามประเด็นสำคัญ"</p><p>ปัญหาสำคัญอีกประการคือการหาคนทำงาน ท้องถิ่นหรือต่างจังหวัดเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญด้านสื่อ เราหาผู้สื่อข่าวท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญ ทุ่มเทและรอบด้านได้ยากมากๆ เนื่องจากคนเก่งมักเลือกทำงานกับสื่อใหญ่ในเมืองหลวงมากกว่า ด้วยเหตุผลด้านค่าตอบแทน และการเติบโตในสายอาชีพ ดังนั้นการหาคนทำงานและรักษาเขาไว้ให้ทำงานด้วยเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะหากมีทุนน้อย</p><p>เมื่อมองไปถึงอนาคต นนทรัฐกล่าวว่า "ผมมองว่า คงต้องหาโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับโลกที่กำลังจะมาถึง อาจต้องลดขนาดกองบรรณาธิการ สร้างรูปแบบการหาทุนที่เหมาะสมกับคนเสพสื่อในอนาคตให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็คงต้องเปลี่ยนอาชีพกัน"</p><h2>ความคาดหวังเพื่อความอยู่รอดของสื่อท้องถิ่นในอนาคต</h2><p>จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานสื่อท้องถิ่น โดย The Glocal - ท้องถิ่นเคลื่อนโลก ยังระบุว่า ในด้านการสนับสนุน ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า องค์กรสื่อท้องถิ่นควรได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น กองทุนสื่อสำหรับสื่อท้องถิ่น (38.5%) และเงินทุนสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี (30.8%)</p><p>ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางที่จะทำให้สื่อท้องถิ่นอยู่รอดได้ในอนาคตสะท้อนมุมมองที่หลากหลายตั้งแต่การสนับสนุนเชิงนโยบาย การปรับตัวด้านธุรกิจ ไปจนถึงการพัฒนาเนื้อหาและสร้างเครือข่าย</p><p>ในด้านนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอว่า "ภาครัฐควรมีกองทุนให้กับสื่อท้องถิ่น" พร้อมกันนี้ "แพลตฟอร์มออนไลน์ควรปรับอัลกอริทึมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสื่อท้องถิ่นให้มากขึ้น มากกว่าอินฟลูเอนเซอร์" เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้ชมที่กว้างขึ้น</p><p>การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสื่อท้องถิ่นด้วยกันเองก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ โดยมีข้อเสนอว่า "สื่อท้องถิ่นสามารถจับมือกันสร้างเครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือจับกลุ่มตามลักษณะพื้นที่ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหา แชร์ทรัพยากร" ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ทรัพยากรร่วมกัน</p><p>ด้านโมเดลธุรกิจใหม่ มีการเสนอแนวทางการร่วมมือกับสื่อท้องถิ่นขนาดเล็กที่ต้องการเติบโต โดย "จับมือกับสื่อท้องถิ่น Size S ที่อยากจะเติบโตเป็น Size M และ L ประมาณ 2-3 สำนักแล้วช่วยกันคิดและกำหนดวาระสื่อสารทางสังคม" แล้วนำแนวคิดไปขอทุนจากแหล่งทุน ซึ่งเป็นการสร้างพันธมิตรเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน</p><p>การพัฒนาคุณภาพเนื้อหาและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (niche market) ก็เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ถูกกล่าวถึง โดยมีข้อเสนอให้ "ต้องนำเสนอฮาร์ดนิวที่น่าสนใจ แล้วเจาะหากลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะให้ได้ เช่น มีกลุ่มคนที่สนใจประวัติศาสตร์อีสานในกลุ่มแฟนเพจนับแสนคน ถ้าเราทำเนื้อหาที่เป็นฮาร์ดนิว คนเหล่านี้ก็สนใจ แค่ต้องหาให้เจอ"</p><p>ในด้านการพัฒนาองค์กรสื่อ ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอให้ "เติมความน่าสนใจ เข้าใจ audience และเป้าหมายของตัวเองให้มากขึ้น" รวมถึงการ "ปรับตัว พัฒนาในทุกองค์ประกอบ รักษาคุณภาพ เข้าถึงผู้รับสาร" เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป</p><p>สำหรับสำนักข่าวท้องถิ่นที่มีระบบการทำงานข่าว มีบรรณาธิการ มีข้อเสนอให้ "ต้องทำงานหนัก คิดรูปแบบวิธีการนำเสนอให้เท่าทันกับสื่ออินฟลูเอนเซอร์ทั้งหลาย" โดยเน้นการทำประเด็นที่ลึกลงไปจากเดิม เจาะประเด็นนั้นๆ "ถ้าทำดีมีข้อมูลใหม่ เห็นปัญหาแท้จริง เดี๋ยวคนรับสื่อก็จะมีเวลามาอ่านของท่านเอง" โดยไม่จำเป็นต้องไล่ตามกระแสหรือมุ่งเน้นยอดวิวและการแชร์</p><p>แนวคิดเชิงอุดมการณ์ก็ถูกกล่าวถึงว่าเป็นส่วนสำคัญของความอยู่รอด โดยเสนอให้ "มีจุดยืน มีจินตนาการ สะสมผู้คน และมีความหวังอยู่เสมอ ให้กำลังใจทุกคน" รวมถึงคุณค่าของความ "ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน" ว่าเป็นหนทางรอดของสื่อท้องถิ่น</p><p>อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่ตรงไปตรงมาว่า "เงินแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เงินมาไอเดียบรรเจิด และคิดว่าสื่อท้องถิ่นมีศักยภาพพอในการทำงานหากมีเงิน" สะท้อนว่าปัญหาทุนยังคงเป็นอุปสรรคหลักที่สื่อท้องถิ่นต้องเผชิญ</p><p>ภาพรวมของข้อเสนอแนะแสดงให้เห็นว่าความอยู่รอดของสื่อท้องถิ่นต้องการการสนับสนุนในหลายด้าน ทั้งจากภาครัฐผ่านนโยบายและกองทุน การปรับตัวทางธุรกิจที่เข้าใจผู้บริโภคยุคใหม่ การพัฒนาเนื้อหาที่มีคุณภาพและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสื่อท้องถิ่นด้วยกันเองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในยุคดิจิทัล</p><h2 class="text-align-center">0 0 0</h2><p>ในตอนสุดท้ายของรายงานชุดนี้ จะขอนำเสนอแนวทางและนวัตกรรมจากต่างประเทศที่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้สื่อท้องถิ่นไทย ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าหลายประเทศได้พัฒนากลไกสนับสนุนสื่อท้องถิ่นที่น่าสนใจ ตั้งแต่กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ กองทุนสนับสนุนจากภาครัฐ ไปจนถึงโมเดลธุรกิจใหม่ๆ อย่างระบบสหกรณ์ การเปลี่ยนเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร และการระดมทุนแบบมีส่วนร่วมจากชุมชน บทเรียนเหล่านี้อาจเป็นแนวทางให้สื่อท้องถิ่นไทยปรับตัวเพื่อความยั่งยืนในยุคดิจิทัล</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>สื่อท้องถิ่นจะเอาตัวรอดยั

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.955 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 18 ชั่วโมงที่แล้ว