[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 17:52:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญญาญาณแห่งการให้อภัย ตอน เปลวไฟในสะดือ  (อ่าน 2385 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 21:36:39 »


 
 
เปลวไฟในสะดือ
 
หนึ่งเดือนหลังการชุมนุมของเหล่าผู้รับรางวัลโนเบลที่ออสโล ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ใหญ่ทะไลลามะที่ธรรมศาลา ระหว่างการพูดคุย ถึงวิถีแห่งการให้อภัย ทรงเล่าถึงเรื่อง ล็อบซัง เท็นซิน ว่าการให้อภัยอย่างแท้จริงช่วยให้การเติบโตทางจิตวิญญาณของเขาก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว
 
" เท็นซินเป็นนักต่อสู้เพื่อการปลดแอกธิเบต เขาอาศัยอยู่ในเขตเป็มโปและเป็นหนึ่งในผู้นำของหมู่บ้าน " ทะไลลามะเกริ่น " เขาถูกทางการ จีนจับกุมและขังคุกในปี ๑๙๕๙ ต่อมาจึงหลบหนีมาอยู่ในอินเดีย เดิมทีเขาไม่มีความเข้าใจใด ๆ ในหลักพุทธธรรม เขาลองฝึกพลังร้อน ที่เรียกว่าทูโม * ด้วยตนเองในช่วงที่อายุมากแล้ว "
 
ระหว่างฝึกปฏิบัติอยู่ในถ้ำบนเขาเขตธรรมศาลา เท็นซินเห็นแสงสว่างจ้า สัญญาญาณแรกที่บอกให้รู้ว่าเขาก้าวหน้าขึ้นไปขั้นหนึ่งในสาย การฝึกของตันตระ เขาลองหลับตาเพื่อดูว่าแสงที่เห็นจะหายไปหรือไม่ แสงนั้นกลับส่องสว่างยิ่งขึ้น ทั้งปรากฏภาพหมู่ดอกไม้ที่สวยงาม แล้วเขาก็รู้สึกถึงไอร้อนที่เผารน ราวกับมีเปลวไฟลุกปะทุอยู่ในท้องบริเวณสะดือ เมื่อเพ่งสมาธิที่ไฟนั้น เท็นซินค้นพบว่าตนสามารถขยาย ลดขนาด และควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกไฟนั้นได้ จึงเคลื่อนมาไว้ใกล้หัวใจ กำหนดไว้ที่นั่น และเจริญสมาธิต่อจนเข้าสู่อารมณ์ใหม่ ซึ่งเขาค้นพบว่าตนเองสามารถทนทานต่อความหนาวเย็นได้ เท็นซินงงงวยกับประสบการณ์ และความสามารถใหม่ที่ค้นพบจากการเจริญสมาธิให้เกิดพลังร้อนหรือทูโม
 
 
หลังจากฝึกปฏิบัติอยู่ราวหนึ่งปี เท็นซินพบว่าสมาธิของเขาก้าวไปอีกขั้น เขาสามารถเจริญพลังร้อนได้ง่ายขึ้นและมีพลังสูงขึ้น ทั้งสามารถนำทางพลังร้อนนั้นไปสู่แนวจักรในร่างกายได้ เมื่อใดที่ทำเช่นนั้น เขาจะเข้าสู่ภวังค์ปีติที่ดิ่งลึกและทอดยาว
 
ช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๘o ทะไลลามะแนะแก่เท็นซินซึ่งเวลานั้นอายุ ๔o เศษ ให้ยึดทูโมเป็นหลักในการปฏิบัติธรรม เท็นซินจึงเดินทางไป มานาลี เมืองเล็ก ๆ บนเขาในรัฐหิมาชัลประเทศของอินเดีย เพื่อฝึกกับลามะเค็นท์เซ ผู้รู้ในศาสตร์ทูโม
 
" ลูกศิษย์ของลามะเค็นท์เซฝึกเจริญทูโมตลอดทั้งปี โดยใช้เทคนิคผ้าเปียก แม้ในวันที่อากาศหนาวเหน็บ พวกเขาก็แทบจะไม่ใส่เสื้อผ้า " ทะไลลามะเล่า " เขาจะเอาผ้าชุบน้ำที่เย็นเหมือนน้ำแข็ง บิด นำมาห่มตัวแล้วเข้าสมาธิ เพียงไม่กี่นาที น้ำจะระเหยกรุ่นเป็นไอ และผ้าแห้งสนิทในเวลาไม่ถึงชั่วโมง พวกเขาจะปลดผ้าออกชุบน้ำอีก นำมาห่ม ทำซ้ำอย่างนั้น ๑o - ๑๓ ครั้งต่อคืน เรื่องนี้ทำให้ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบ็นสัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสนใจ และเดินทางมาธรรมศาลา เพื่อทำการทดลองกับผู้ที่ฝึกทูโมอยู่บนภูเขา พวกเขาทึ่งกับความสามารถของเท็นซินในการเจริญความร้อนในร่างกาย จึงมาขออนุญาตฉันและเชิญเท็นซินไปทดสอบเพิ่มเติมที่ฮาร์วาร์ด "
 
กรรมะ เกเลก ลามะหนุ่มซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เดินทางไปสหรัฐอเมริกาพร้อมเท็นซิน เขาเล่าให้ผมฟังว่า การเดินทางหนนั้น เมื่อปี ๑๙๘๕ ค่อนข้างยากลำบาก เท็นซินไปถึงบอสตันในอาการเมาเครื่องรุนแรง เขาเหน็ดเหนื่อยและอยากขอเลื่อนการทดลองไปจน กว่าจะหายดีและปรีบตัวได้ แต่ห้องทดลองของ ดร.เบ็นสัน มีตารางงานแน่นมาก การทดลองจึงมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น
 
ในห้องทดลองที่คุมอุณหภูมิไว้ต่ำระดับห้องแช่แข็ง เจ้าหน้าที่ต่างใส่เสื้อกั๊กทับอยู่ในเสื้อคลุมแล็บสีขาว ขณะที่เท็นซินต้องถอดจีวรท่อนบน ออกจนเหลือแต่เสื้อกล้ามผ้าฝ้ายเนื้อบาง และเผชิญการทดสอบมากขั้นตอนที่ดูไม่จบสิ้น จากคำบอกเล่าของเกเลก ตลอดการทดสอบนั้น เท็นซินอยู่ในสภาพเหมือนถูกแช่แข็งดี ๆ นี่เอง
 
 

 
 
ในที่สุดเมื่อเท็นซินดิ่งอยู่ในสมาธิ ความต้องการออกซิเจนของเขาลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับการทำงานของระบบเผาผลาญ ในร่างกาย เขาหายใจเข้าออกเพียง ๕ - ๖ ครั้งต่อนาที จากปกติ ๑๓-๑๔ ครั้ง เมื่อทูโมได้รับการการตุ้นเต็มที่ อุณหภูมิร่างกายของ เขาเพิ่มขึ้นถึง ๑o องศา ดร.เบ็นสันเขียนในรายงานกรณีศึกษาผู้ปฏิบัติทูโม ( ศาสตร์แห่งจิต : บทสนทนาระหว่างตะวันและตะวันตก , องค์ทะไลลามะ ฯลฯ สำนักพิมพ์วิสดอม , ๑๙๙๑ ) " จากการทดลองเหล่านี้ เราค้นพบว่า กระบวนการทำสมาธินำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทางสรีระอย่างสำคัญ ซึ่งมีผลงานโดยตรงต่อสุขภาพ ... ความป่วยไข้มักมีมีสาเหตุหรือทรุดลงจากความเครียด "
 
ผมทึ่งกับเรื่องราวของล็อบซัง เท็นซิน ทั้งประหลาดใจว่าผู้ที่เคยจับอาวุธขึ้นสู้เพื่ออิสรภาพและเคยสังหารผู้คน กลับสามารถพัฒนาพลัง ทางจิตวิญญาณขั้นสูงเมื่อมีอายุมากแล้วได้อย่างไร ขณะที่พระธิเบตส่วนใหญ่ที่อุปสมบทอยู่ในอาราม มักเริ่มต้นการปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ ๖ - ๗ ปี
 
กรรมะ เกเลกเล่าว่า เท็นซินเชื่อว่า การเติบโตทางจิตวิญญาณของตนเริ่มต้นและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วระหว่างอยู่ในคุกจีน ในช่วงที่ต้องทน ทุกข์นั้นเอง เขาเกิดตระหนักรู้ ๒ ประการด้วยกัน หนึ่ง ช่วงเวลาที่เขาทนทุกข์ทรมาณอยู่ในคุกนั้น เป็นผลกรรมที่เกี่ยวเนื่องหรืออาจเรียกได้ ว่าเป็นกรรมทันตาจากการที่เขาเข่นฆ่าชาวจีนในช่วงการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของธิเบต สอง เขาหยั่งเห็นว่า หากปล่อยให้ความเกลียดชังชาวจีน สุมรุมใจตนเอง หากมุ่งหมายแต่การแก้แค้น ก็รังจะทำให้ตัวเองเสียสติ
 
แม้การทารุณกรรมทางกายโดยทหารจีนจะอยู่เหนือการควบคุม แต่ที่สุดเท็นซินตระหนักว่า ทหารจีนเพียงลำพังไม่สามารถทำอะไรต่อ จิตใจเขาได้ ทางเดียวที่จิตจะได้รับความกระทบกระเทือน ก็ด้วยทัศนะและการสนองตอบของเขาเอง ในสภาพการณ์อันเลวร้ายนั้น เขาพบว่าหากสามารถปรับอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้ที่จองจำเขาให้เป็นกลาง หรือดีกว่านั้นคือเป็นบวก เขาจะสามารถนอนหลับได้ และไม่ ว่าจะโดนทรมาณสาหัสแค่ไหน จิตเขาเองจะเป็นกำบังภัยให้หลบลี้เข้าพักได้ทุกเมื่อ
 
ตามคำบอกเล่าของเกเลก เท็นซินได้เอาชนะความเกลียดชังที่มีต่อชาวจีน เขายกโทษให้คนเหล่านั้น และภายหลังยังสามารถเจริญให้ เกิดการุณยจิตอันบริสุทธิ์ต่อชาวจีน สิ่งนี้อธิบายว่าเหตุใดเขาจึงผ่านความทุกข์ยากในคุกมาโดยได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ น้อยเหลือเกิน ในช่วงท้ายของชีวิตในคุก เท็นซินหันมาเชื่ออย่างแท้จริงในอำนาจการเยียวยาจากการให้อภัย เกเลกคิดว่านั่นทำให้เท็นซินก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติธรรม และการพัฒนาพลังทูโม
 
" เช่นนี้แล้ว การสามารถให้อภัยแก่ศัตรูมีผลต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมหรือครับ " ผมถามทะไลลามะ
 
" ใช่อย่างไม่ต้องสงสัย " ทรงตอบ " เรื่องนี้สำคัญมาก เป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่สุด สามารถเปลี่ยนชีวิตเราได้ การจะบรรเทาความเกลีดชังและ อกุศลจิตทั้งหลาย เราจักต้องเจริญเมตตาและกรุณา หากเรามีการุณจิตที่เปลี่ยมล้น และเคารพผู้อื่นอย่างจริงแท้ การอภัยย่อมเป็นเรื่องง่าย และเราจักไม่ต้องการทำร้ายผู้อื่น การอภัยช่วยโน้มนำจิตไปสู่อารมณ์ที่เป็นกุศลซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า "
 
" ท่านมีวิธีเจริญภาวนาพิเศษใดสำหรับเรื่องนี้หรือไม่ " ผมถาม
 
" ฉันใช้การภาวนาที่เรียกว่าการให้และการรับ " ทรงอธิบาย " ด้วยการตั้งจิตว่ากำลังแผ่กุศลจิต อย่างความสุข ความรักแก่ผู้อื่น จากนั้น กำหนดภาพในใจว่า กำลังรับเอาความทุกข์และอกุศลจิตของพวกเขาเข้ามาไว้ ฉันทำเช่นนี้ทุกวัน ฉันจะใส่ใจต่อชาวจีนเป็นพิเศษ โดย เฉพาะต่อผู้ที่ก่อกรรมทำเข็ญกับชาวธิเบต ขณะอยู่ในสมาธิฉันจะหายใจสูดเอาพิษร้ายอย่างความเกลียดชัง ความกลัว ความโหดร้ายเข้าไว้ แล้วหายใจเอาสิ่งดี ๆ ทั้งมวลออกมา อย่างความกรุณาและการอภัย ฉันรับเอาอารมณ์ที่เป็นพิษร้ายเหล่านั้นเข้าไว้ในตัว แล้วมอบอากาศ สดชื่นกลับออกมา เป็นการให้และการรับ ทั้งระวังที่จะไม่กล่าวโทษ ไม่ว่าต่อชาวจีนหรือตัวเอง การทำสมาธิเช่นนี้มีผลดีมาก มีประโยชน์ ในการลดความเกลียดชัง และช่วยบ่มเพาะจิตที่รู้จักให้อภัย "
 
* Tumo หรือ Tummo หนึ่งในโยคะหกของนโรปะ การภาวนาเพื่อเจริญธาตุไฟ และอาศัยธาตุไฟเข้าไปชำระล้างจักรทั้งเจ็ด ยังผลให้จิต ผ่องใส นัยหนึ่งใช้ธาตุไฟเผาล้างอวิชชา ให้จิตหยั่งเห็นและหลุดพ้นจากเหตุปัจจัยแห่งการเกิดดับ - ผู้แปล
 
 

 
- คัดบางส่วนจาก ปัญญาญาณแห่งการให้อภัย ตอน เปลวไฟในสะดือ หน้า 72 - 78 -
- บทสัมภาษณ์ องค์ทาไลลามะ -


http://board.agalico.com/showthread.php?p=175175#post175175

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=270&ss=

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.456 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2568 00:25:34