[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:39:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอุปคุปต์ (พระบัวเข็ม) ในคติของชาวมอญ  (อ่าน 2766 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 มีนาคม 2557 12:57:34 »

.

   
มอญ ผู้บูชาพระอุปคุปต์

พระอุปคุปต์ เป็นรูปเคารพที่สร้างขึ้นแทนพระอรหันตสาวกสำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ในสมัยหลังพุทธกาล เช่นเดียวกันกับที่พระโมคคัลลาน์ได้รับการยกย่องสมัยเมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนมชีพ ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม" ความเป็นมาในการบูชา "พระอุปคุปต์" สืบสาวราวเรื่องได้ว่าเริ่มต้นมาจากชาวมอญครับผม

"มอญ" เป็นชนชาติโบราณที่อาศัยอยู่ในแถบตอนล่างของพม่า เขตเมืองเมาะตะมะ เมาะลำเลิง พะสิม หงสาวดี แล้วก่อตั้งเป็นอาณาจักร "ศิริธรรมวดี" โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหงสาวดี นับถือศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์

ศูนย์กลางของชาวมอญที่เรียกตัวเองว่า "รามัญ" หรือ "ตะเลง" นั้น จะอยู่ที่เมือง หงสาวดี ที่มีตำนานการสร้างเมืองเนื่องจากพบหงส์ทองสองตัวลงมาเล่นน้ำ ก่อนที่จะถูกพวก "พยู" หรือ "พม่า" แห่งอาณาจักรพุกามรุกราน จนต้องอพยพหลบหนีและกลายเป็นเมืองขึ้นกระทั่งถูกกลืนชาติในที่สุด อย่างไรก็ตาม ปรากฏหลักฐานค่อนข้างแน่ชัดว่า มอญเป็นกลุ่มชนชาติที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่ยุคทวารวดี เนื่องจากความสัมพันธ์ทางศาสนาและการค้ารูปงานประติมากรรม และงานสถาปัตยกรรม ที่ค้นพบในแถบนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์

แต่อาจกล่าวได้ว่าแม้มอญจะพ่ายแพ้ในการรบ หากแต่มีชัยชนะเหนือ "งานศิลปะ" ซึ่งได้เข้าไปปรากฏอิทธิพลในพม่า จนอาจกล่าวได้ว่าศิลปะของพม่านั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานศิลปะของชาวมอญนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ชาวมอญจำนวนมากอพยพหนีภัยพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์แห่งสยามประเทศ โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ชานพระนครกรุงศรีอยุธยาและบริเวณเมืองนนทบุรี ในสมัยกรุงธนบุรีชาวมอญได้ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักเป็นฐานอยู่บริเวณบ้านสามโคก ปทุมธานี และบริเวณเกาะเกร็ด นนทบุรี เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราโชบายที่จะรวบรวมผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในพระนครธนบุรีที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่

การอพยพของชาวมอญที่เป็นต้นตระกูลมอญปากเกร็ดนั้นเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณปากเกร็ด สามโคก และที่ปากลัด นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) อันเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวมอญกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่ยังคงรักษาขนบ ธรรมเนียมประเพณีที่เคร่งครัดกลายเป็นเอกลักษณ์แม้จะผสมกลมกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชาวไทยไปแล้วก็ตาม และที่จะยกมากล่าวถึงนี้คือ "ประเพณีลอยกระทง" ที่ชาวมอญมีคติความเชื่อแตกต่างจากไทยมาแต่ครั้งอดีต และนับเป็นต้นกำเนิดแห่ง "การบูชาพระอุปคุปต์"

ขณะที่สยามประเทศเชื่อเรื่องการบูชาพระแม่คงคาตลอดจนประเพณีการจองเปรียง หรือตำนานของนางพระยากาเผือก อันเป็นการผสมผสานระหว่างคติฮินดูกับพุทธศาสนา ชาวมอญกลับมีความเชื่อว่าประเพณีลอยกระทงผูกพันกับ "พระอุปคุปตเถระ" พระมหาเถระผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ปรากฏเรื่องราวทางพุทธศาสนาว่า ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่กลางมหานทีอันกว้างใหญ่ในโลหะปราสาท เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในอินเดีย โปรดให้กระทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ ๓ ปรากฏพญามารมาก่อกวนมณฑลพิธี จนต้องอาราธนาพระอุปคุปต์มาปราบ การสังคายนาพระไตรปิฎกจึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ชาวมอญแห่งเมืองศิริธรรมวดี หรือเมืองสะเทิม ที่มีนิวาสสถานใกล้กับใจกลางมหานทีหรือมหาสมุทร อันเป็นที่บำเพ็ญธรรมขององค์พระอุปคุปต์

เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ของทุกปี ชาวมอญจึงพากันบูชาโดยการสร้างเป็นแพไม้ไผ่ขนาดใหญ่ มุงด้วยใบจาก ภายในบรรจุอาหารคาวหวาน ข้าวของเครื่องใช้ รูปจำลองขององค์พระอุปคุปต์ ซึ่งทุกเรือนชานบ้านช่องต่างพากันบริจาคข้าวของสิ่งละอันพันละน้อย เพื่อบูชาองค์พระอุปคุปต์ที่อยู่กลางมหานที และนำแพไม้ไผ่ไปลอยลงแม่น้ำใหญ่ หรือทะเล ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง หากผู้ใดตกทุกข์ได้ยากขาดแคลน เมื่อพบเจอแพบูชาก็สามารถนำข้าวของต่างๆ ไปใช้ได้ ซึ่งก็นับเป็นการทำกุศลของชาวมอญอีกลักษณะหนึ่ง

ธรรมเนียม "การบูชาพระอุปคุปต์" นี้แพร่หลายในหมู่ชาวพม่า โดยมีการสร้างรูปเคารพในลักษณะพระพุทธรูปไม้นั่งอยู่กลางน้ำ บนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว และมีเข็มปักติดอยู่ทั่วพระกาย สื่อความหมายถึงพระธรรมที่ทรงแสดงปราบพญามาร นอกจากนี้ ชนชาติเขมรยังรับคติความเชื่อเรื่องพระอุปคุปต์มาจำลองเป็นเทวประติมากรรมขนาดเล็กทำด้วยสัมฤทธิ์เป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ในเปลือกหอยลักษณะต่างๆ

สำหรับประเทศไทย รูปเคารพอุปคุปต์เข้ามาแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยพระรามัญได้นำมาถวายพระวชิรญาณภิกขุ (ต่อมาคือ รัชกาลที่ ๔)

ต่อมากลายเป็นที่นิยมและมีการจัดสร้างกันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน โดยเชื่อในพุทธคุณว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดลาภผล ความมั่งมี ขจัดภยันตราย และมีอิทธิฤทธิ์ในทางขอฝนอีกด้วย
...ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเถระชีวิตพิสดาร (พระสีวลี พระสังกัจจายน์ และ พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม)
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 8161 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2556 14:33:31
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.248 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 06:09:20