[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 05:31:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศิลป์ถิ่นล้านนาประยุกต์ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน เชียงใหม่ กับประเพณีปอยหลวง  (อ่าน 13783 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 มีนาคม 2557 16:55:38 »

.



วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน
(วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ความศรัทธาในเรื่องของศาสนาหรือความเชื่อต่างๆ ก่อให้เกิดสิ่งอันน่าอัศจรรย์มานักต่อนัก อย่างเช่นที่ “วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน" (วัดบ้านเด่น) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ก็สามารถเรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์ของศรัทธาได้เช่นกัน

ครูบาเทือง มีลูกศิษย์ลูกหาที่ให้ความเคารพนับถือมากมาย มีทั้งชาวไทย จีน ไทใหญ่ กะเหรี่ยง และชาวเขาหลายเผ่า เป็นเรียกขานว่า เป็นเกจิสหายหรือครูบาสองพี่น้อง คู่กับกับครูบาบุญชุ่ม เกจิดังแห่งสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งหากรูปใดรูปหนึ่งมีงานบุญสำคัญก็จะไปร่วมงานกัน และมีประชาชนที่ทราบข่าวแห่กันไปร่วมกราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่นเสมอ จึงมีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธานำเงินมาเป็นปัจจัยในการทำบุญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย

ตัวครูบาเทืองเอง ก็ไม่ต้องการจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้ ประกอบกับคิดอยากจะสร้างอนุสรณ์แห่งบุญที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา จึงได้มีการปรับปรุงก่อสร้างวัดเด่นฯ เสียใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บนพื้นที่ ๘๐ ไร่ ของวัด ที่มีทำเลที่ตั้งอยู่บนเนินสูงมองเห็นวิวทุ่งไร่ทุ่งนา

“ชื่อวัดแต่ก่อนชื่อวัดเด่นเฉยๆ ไม่มีต้นโพธิ์สักต้น แต่พอครูบามาอยู่ก็มีต้นโพธิ์ขึ้นมาให้เห็น แล้วต้นโพธิ์คนทางเมืองเหนือเขาเรียก “เก๊าสะหลี” ก็เห็นว่าชื่อมันเป็นมงคลดีก็เอามาตั้งเป็นสิริแก่วัดและที่ตั้งวัดแห่งนี้อยู่ในเขตเมืองเก่าสมัยโบราณที่ชื่อว่าเมืองแกน ก็เลยได้ชื่อวัดนี้มา”ครูบาเทือง เล่าถึงประวัติของชื่อวัดให้ฟัง

สำหรับรูปแบบการก่อสร้างนั้น เป็นแบบล้านนาประยุกต์ ที่ผสมผสานกับแนวคิดของครูบาเทืองเอง ที่ครูบาเรียกว่า “แนวสถาปนึก” คือคิดจะใส่อะไจะทำอะไรก็ทำ และต้องมีความมั่นคง ครูบาเทืองต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างวัดบ้านกับวัดป่า เพราะมีความเชื่อที่ว่าศาสนาอยู่ได้เพราะปฏิบัติ การแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องสำคัญ โดยยึดหลักการสร้างตามบุญ คงเพราะการสร้างตามบุญนี่เอง ที่ทำให้จนกระทั่งทุกวันนี้ วัดเด่นฯจึงมีขนาดสิ่งปลูกสร้างใหญ่และยังคงสร้างไม่แล้วเสร็จในหลายๆส่วน

แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม แต่ก็เริ่มมีคณะทัวร์มาแวะชมความโอฬารของวัดเด่นฯอยู่บ่อยครั้ง ความวิจิตรอันร่วมยุคสมัยนี้ ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านมาทางสิ่งปลูกสร้าง อาทิ พระอุโบสถอันอ่อนช้อยงดงาม มีพระประธานที่มีสีทองอร่ามประดิษฐานอยู่
....ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ “ผู้จัดการออนไลน์”

พระวิหารพระเจ้าปันตัน
สร้างจากไม้สักแกะสลักลวดลายประดิษฐ์ทั้งหลัง







สถานที่ประดิษฐานพุทธปฏิมาอันงดงามยิ่ง และพระพุทธรูปทองคำองค์เล็กๆ
ขนาดสูงราวฝ่ามือ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์  
(พระพุทธรูปทองคำ ประดิษฐานในที่ปลอดภัย มีซี่ลูกกรงเหล็กหนากั้นล้อมรอบ






ลวดลายแกะสลักอันวิจิตรงดงามของพระวิหารพระเจ้าปันตัน



ภาพจาก : www.komchadluek.net

ประวัติครูบาเจ้าเทือง  นาถสีโล
ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล  ถือกำเนิดที่บ้านหัวดง บ้านเลขที่ ๗๓/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ ปีมะโรง (ปีสี) เป็นบุตรของพ่อมูล แม่หล้า หน่อเรือง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน  ๑. นางทับทิม หน่อเรือง  ๒. นายทุน หน่อเรือง  ๓. ท่านครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล (หน่อเรือง) ๔. นายสุทัศน์ หน่อเรือง เมื่อเยาว์วัยได้อยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของ พ่ออุ้ยตา แม่อุ้ยคำ พงษ์ปา และแม่อุ้ยหนิ้ว หน่อเรือง ตลอดมาจนถึงได้บรรพชา

บรรพชา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ เวลา ๑๐.๔๖ นาฬิกา ณ วัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  พระครูชัย สีลวิมล เจ้าคณะอำเภอสารภี วัดพระนอนหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์  ชื่อว่า สามเณร เทือง หน่อเรือง

อุปสมบท
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เวลา ๐๗.๑๙ นาฬิกา แรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ณ พัทธสีมาวัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  พระครูปุญญาภิวัฒน์ วัดขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูอินสม ปภากโร วัดหัวดง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  พระครูชัยสีลวิมล วัดพระนอนหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๒๐ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหัวดง
พ.ศ. ๒๕๒๒ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนบ้านศรีดอนไชย
พ.ศ. ๒๕๒๕ จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนสารภีพิทยาคม
พ.ศ. ๒๕๒๘ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
พ.ศ. ๒๕๒๘ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๕๒๙ สอบได้นักธรรมชั้นโท


พลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในพุทธศาสนา และมีต่อครูบาเทือง นาถสีโล
ก่อให้เกิดพลังสามัคคีอันยิ่งใหญ่ พัฒนาวัดเด่นจากวัดเล็กๆ ให้มีความใหญ่โตวิจิตรตระการตา
ทรงคุณค่าของงานพุทธศิลป์ถิ่นล้านนาประยุกต์ อันอ่อนช้อยงดงาม
จากแนวคิดของครูบาเทือง นาถสีโล
















Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 16:40:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มีนาคม 2557 18:52:20 »

.






ครูบาเทือง นาถสีโล (นั่งในเสลี่ยงคานหาม)
แห่รอบหมู่บ้าน




ประเพณีปอยหลวง
งานบุญถวายทานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา
วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีปอยหลวง คือ งานฉลองถาวรวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อถวายวัดและเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชน เช่น วิหาร ศาลา โรงเรียน หอประชุม เป็นต้น นิยมทำการฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว ทำเป็นงานใหญ่โตเรียกว่า ปอยหลวง อุทิศสิ่งก่อสร้างเป็นของสงฆ์ และอุทิศบุญกุศลแก่บรรพชนด้วย ถ้าทำส่วนตัวเรียกว่า อุทิศกุศลไว้ภายหน้า หากอุทิศแก่คนตายไปแล้ว เรียกว่าอุทิศไปหาผู้ที่ถึงแก่กรรม

ตามปกติคนไทยไม่ว่าท้องถิ่นใด ต่างก็ยึดมั่นในพระศาสนาด้วยกัน ชาวเหนือก็เช่นเดียวกัน พระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของจิตใจ เป็นเครื่องหล่อหลอมให้ บุคลิกภาพนิสัยใจคอคนเหนือให้มีลักษณะอ่อนโยนพูดจาดีมีความไพเราะชวนฟัง มีกิริยามารยาทแช่มช้อยผสมผสานไปกับความงดงามของรูปร่าง หน้าตาด้วยก็ยิ่งเป็นเสน่ห์ที่ ทำให้คนในท้องถิ่นอื่นๆ มีความสนใจที่จะมาท่องเที่ยวในดินแดนแคว้นล้านนาไทยกันมากยิ่งขึ้น

จากการที่ชาวเหนือยึดมั่นในพระพุทธศาสนานี้เอง ทำให้มีการฝักใฝ่ในการทำบุญทำทานกันมาก จะเห็นว่าในท้องถิ่นภาคเหนือมีวัดมากมายแทบจะมีกำแพงติดๆกัน และคนเหนือก็มีความยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนตลอดมา เมื่อเสร็จจากการประกอบอาชีพแล้วก็จะมีเวลาที่จะไปทำบุญทำกุศลกันในช่วงที่ว่างงาน เหตุนี้งานทำบุญงานเฉลิมฉลอง ต่างๆ จึงมีชุกชุมในช่วงที่ว่างในฤดูหนาวต่อกับ ฤดูร้อน

ระยะเวลาที่นิยมทำบุญประเพณีปอยหลวงก็คือช่วงที่ปลอดจากฤดูฝนและประชาชนเว้นว่างจากการประกอบอาชีพแล้ว คือ ช่วงระยะเวลาเดือน ๕ จนถึงเดือน ๗ เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี)

ระยะเวลาที่มีงาน ปอยหลวงจะมีเวลาจัดงานประมาณ ๓-๗ วัน ตามแต่กำลังความสามารถของวัดที่เป็นเจ้าภาพ หากเป็นวัดใหญ่ๆ และมีความสำคัญมากก็จัดงาน ปอยหลวงกัน ๗ วัน ๗ คืน หากวัดเล็กก็จัดเพียง ๓ วันก็พอพอ

พิธีกรรม ก่อนวันงาน ๑ วัน จะมีการเตรียมของเรียกว่า วันดา (วันสุกดิบ) วันนี้คณะศรัทธาจะนำของมารวมกันเรียกว่า ฮอมครัว และในวันแรกของงานปอยหลวง จะมีการทานธงแบบต่างๆ ซึ่งเมืองเหนือเรียกว่า ตุง ช่อธงยาวและช่อช้าง จะนำตุงไปปักไว้บนเสาไม้ไผ่หรือไม้ซาง ตลอดแนวสองข้างทางเข้าวัด ตุงจะทำด้วยผ้าแพรหรือผ้าฝ้ายสีต่างๆอย่างสวยงาม ในงานปอยหลวงจะมีการแห่แหนเครื่องไทยทานจากหัววัดต่างๆ ไปร่วมทำบุญด้วยเรียกว่า แห่ครัวทาน ขบวนแห่ครัวทานจะมีช่างฟ้อนสาวรูปร่างสวยงาม แต่งกายแบบพื้นเมือง ฟ้อนนำหน้าครัวทานเข้าวัดด้วย วันสุดท้ายของงานปอยหลวง คณะศรัทธาจะแห่ครัวทาน หรือพุ่มเงินบ้านละต้นหรือหลายบ้านรวมเป็นหนึ่งต้น ครัวทานนี้จะมีการแห่กันตอนเย็น มีขบวนแห่อย่างสนุกสนาน กลางคืนจะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการสวดสมโภชหรือสวดเบิก และมีการสวดถึงอานิสงส์ของการก่อสร้าง วันรุ่งขึ้นมีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และกล่าวโอกาสเวนทานสิ่งปลูกสร้างขึ้น เสร็จแล้วถวายไทยทานพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี พระให้ศีลให้พรเป็นเสร็จพิธี
 
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการสวดสมโภชหรือสวดเบิก และมีการสวดถึงอานิสงส์ของการก่อสร้าง วันรุ่งขึ้นมีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และกล่าวโอกาสเวนทานสิ่งปลูกสร้างขึ้น เสร็จแล้วถวายไทยทานพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี พระให้ศีลให้พรเป็นเสร็จพิธี

สาระ เป็นการแสดงความยินดีที่ทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์แก่วัดและสาธารณะ รวมทั้งอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้น
...ข้อมูล เว็บไซต์ ประเพณีไทยดอทคอม

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ มีภารกิจอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
พอมีโอกาสว่างได้ไปเที่ยวชมวัดเด่นสะหรีฯ แห่งนี้ ถึงสองวันติดต่อกัน
(ดูวันแรกยังไม่จุใจ...สวยเหลือเกิน) วันรุ่งขึ้นหาโอกาสไปอีก
จึงได้ไปพบพิธีปอยหลวงของวัดแห่งนี้
จากแรงศรัทธาอย่างสูงยิ่งต่อบวรพุทธศาสนาของชาวบ้านในท้องถิ่น
ที่ร่วมแรงร่วมใจเสียสละแรงกาย เงินทอง สิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น
สำหรับพระภิกษุ สามเณร เช่น สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สมุด ดินสอ
แห่แหน ฟ้อนรำประกอบเสียงเพลงอันไพเราะของเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา
เพื่อนำไปถวายให้กับวัด ด้วยบรรยากาศที่สนุกสนานคึกคักของผู้เฒ่าผู้แก่

ต้นเงิน ธนบัตรฉบับละ ๒๐ บาท จากศรัทธาของประชาชน
สอดไว้ในซองพลาสติดใสอย่างหนา เสียบไม้นำไปปักเสา
(ต้นละหนึ่งแสนบาท) รวม ๒๐ ต้น




แรงศรัทธา : ธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาท ปักประดับเป็นช่อชั้นรูปใบโพธิ์
(จำนวนธนบัตรในใบโพธิ์ ๑๐๐ ฉบับ รวม ๑๐,๐๐๐ บาทถ้วน)







ประชาชนในหมู่บ้าน รอเข้าขบวนแห่ พร้อมด้วยเสลี่ยงพุ่มเงินรูปใบโพธิ์
และข้าวของเครื่องใช้ที่จัดเตรียมไว้ถวายวัด





















  

 

ปอยหลวง วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)

งานปอยหลวง วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)
ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่ ๒๐ กพ. ๒๕๕๗

งานประเพณีปอยหลวงของวัดแห่งนี้
ไม่มีการบอกบุญ หรือขึ้นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์  
ไม่ว่าจะเป็นภายในบริเวณวัด หรือตามถนนหนทางในหมู่บ้าน
และวัดไม่ได้จัดให้มีมหรสพใดๆ ทั้งสิ้น
(ผู้โพสต์ได้ทราบจากชาวบ้านท่านหนึ่งเมื่อใกล้าจะกลับเข้าเมืองเชียงใหม่...จึงขออยู่ชมต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 15:46:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ดอกไม้บาน ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 2333 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2555 18:41:58
โดย Kimleng
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 4898 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2556 19:55:32
โดย Kimleng
วัดมณเฑียร จ.เชียงใหม่ วัดแห่งแรกของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 3974 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2556 15:58:53
โดย Kimleng
วันรอฟ้าสางที่ม่อนแจ่ม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 3063 กระทู้ล่าสุด 07 มีนาคม 2557 11:53:21
โดย Kimleng
ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ - หลากพันธุ์ไม้สวยงามและสัมผัสวิถีสงบสุขของชนเผ่า
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 9234 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2557 15:09:30
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.324 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 เมษายน 2567 08:38:55