[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 14:42:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธสายวัชรยาน “ตันตระ” พระพุทธศาสนาแรงศรัทธาในทิเบต  (อ่าน 2859 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 เมษายน 2557 13:21:00 »



พุทธสายวัชรยาน “ตันตระ” พระพุทธศาสนาแรงศรัทธาในทิเบต

พระพุทธเจ้าทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ซึ่งถูกครอบงำด้วยอวิชชา คือความไม่รู้ มิให้ลุ่มหลงเสียเวลาด้วยการถกเถียงถึงปัญหาที่ไร้ประโยชน์ เช่น คนเรามาจากไหน ตายแล้วจะไปยังที่ใด ฯลฯ ทว่า พระองค์ทรงสอนให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา และใจ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งศีล สมาธิ และปัญญา พระองค์ทรงย้ำถึงประโยชน์แห่งการศึกษาและภาวนา อันจะนำไปสู่การรู้แจ้งแห่งสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

คำสอนของพระพุทธองค์ที่มีชื่อในภาษาบาลีว่า ปฏิจฺจสมุปฺบาท (กฎแห่งธรรมที่ต้องอาศัยกันเกิดขึ้น) เป็นที่ประทับใจแก่ปัญญาชน เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และปัญญาชนทุกเพศทุกวัยจำนวนมาก ปฏิจจสมุปบาทสอนให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยตัวของมันเอง และไม่มีสิ่งใดที่มีคุณสมบัติถาวรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในตัวของมัน (อนัตตา) ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพไหลเลื่อนแปรเปลี่ยนอยู่ทุกขณะและตลอดเวลา นิพพานเท่านั้นที่ไม่มีการแปรเปลี่ยน ไม่ขึ้นอยู่กับกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท (อปฏิจฺจสมุปฺปนฺน) ไม่มีการปรุงแต่ง (อสังขตะ) ไม่มีการเกิด (อชาติ) ไม่มีการเสื่อมสลายหรือตาย (อมต)

มนุษย์จะรู้แจ้งในสัจจะนี้ได้ด้วยตนเองและเฉพาะตัว ไม่มีผู้ใดอื่นจะสามารถช่วยให้เขารู้แจ้งได้ อีกทั้งมนุษย์จะบรรลุสัจจะนี้ได้ก็ด้วยการประพฤติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนแห่งอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ กล่าวโดยย่อก็คือ มนุษย์ต้องมีความสมบูรณ์ในเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา จึงจะมีดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)

พระพุทธองค์มิได้ทรงแตะต้องความเชื่อถือของพราหมณ์ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล เป็นต้นว่า ความเชื่อถือในเรื่องพระพรหมผู้สร้างโลก ฯลฯ แต่พระองค์ทรงย้ำว่า ความรู้หรือความเชื่อถือประเภทนี้ ไม่อำนวยประโยชน์อันใดในการที่จะช่วยให้คนพ้นทุกข์อันเนื่องมาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย (สังสารวัฏ) พระองค์ทรงสอนว่าสัจจะหรือความจริงเป็นสิ่งที่ภาษามนุษย์ไม่สามารถจะให้อรรถาธิบายได้ เพราะฉะนั้น สถานบท (Premise) ใด ๆ ในตรรกศาสตร์ (Logic) จึงไม่สามารถจะนำมาใช้กับสัจจะได้

พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่จับจิตจับใจปัญญาชนชาวชมพูทวีปในสมัยนั้นมากความเจริญและความเสื่อมของพุทธศาสนานั้น ขึ้นอยู่กับความอุปถัมภ์ หรือการขาดความอุปถัมภ์จากราชามหากษัตริย์ เป็นสำคัญ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง แต่ในสมัยทายาทของพระเจ้าอโศกในยุคต่อมา พุทธศาสนาถึงแก่ความอับเฉา ครั้นต่อมาในยุคของกษัตริย์เชื้อสายอินเดียผสมแบคเทรีย (Indo-Bactria) ได้แก่ Menander (พระเจ้ามิลินท์ ในคัมภีร์พุทธศาสนา) และในยุคของกษัตริย์อินเดียผสม Scythia ได้แก่ พระเจ้ากนิษกะ พุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นอีก
ต่อจากนี้ พุทธศาสนาตกอยู่ในสภาพอับเฉาจนกระทั่งถึงสมัยกษัตริย์ศักราทิตย์ พุทธคุปตะ และหรรษวรรธนะ พุทธศาสนาจึงกลับมีพลังวังชาขึ้นใหม่ ในสมัยราชวงศ์ปาละ (คริสต์ศตวรรษที่ ๘-๑๒) พุทธศาสนาในรูปแบบและวัตรปฏิบัติของลัทธิ ตันตระ และ วัชรยาน มีอิทธิพลไพศาลในชมพูทวีป โดยเฉพาะในแคว้นเบงกอล แต่เป็นพลังที่วิปริตผิดแปลกไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธองค์อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ และในที่สุดความวิปริตนี้ได้กลายเป็นมูลเหตุสำคัญ ที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมสลายไปจากดินแดนที่เกิดของตน

เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

ศตวรรษที่14 “ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุขฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว ์พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ(บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไปความ อดทนมี 3 ประเภท1. อดทนต่อการต่อต้าน 2. อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม 3 .อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนย์ตาการบำเพ็ญตน

ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้3ประเภทพื้นฐาน 1. ปัญญา เกิดจากการมีความรู้ 2. ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา 3. ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ

แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น 1. ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ 2 .ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ 3.ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูงฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชรยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอน อย่างเต็มที่

การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษก แล้ว ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน

ถามว่าคำสอนวัชรยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียวต้องศึกษาปฏิบัติคำ สอนตันตระ เท่านั้น ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับการบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ

แล้วตันตระคืออะไร ตันตระโดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง อันเป็นคำสอนการ ปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการมนตราภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามาก เข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษาหรือปฏิบัติตันตระไม่ผ่านการมนตราภิเษก การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษหรือยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ และมีประสิทธิภาพสูง

ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่ เป็นลบต่างๆไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพ ซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถ ทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว ้เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆ ที่พระอาจารย์ชาว อินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบตเนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้นเราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบต เท่านั้น ในปัจจุบันภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆ ที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์สองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็น ทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีนและเนปาล ซึ่งเป็นชาวพุทธ ที่เคร่งครัดถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอน อันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้า สู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่าได้เกิดการสังคายนา พุทธศาสนาณ กรุงลาซาเป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนา วัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา

พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อแผ่แพร่พระธรรม โดยเฉพาะ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระ พุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูรินโปเช่ หรือแปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูรินโปเช่ ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาว ทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย
นิกายสำคัญ 4 นิกายในทิเบต

ณิงมาปะ

เป็นนิกายแรกและเก่าแก่ดั้งเดิมและยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยถือว่า กำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภพ ณิงมาปะ ได้มีพัฒนาการครั้งใหญ่ๆ3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่ม ต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และเป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้นคือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า ณิงมา แปลว่าโบราณ สัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดง ชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธา ท่านคุรุปัทมภพมากเชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือขจัดอุปสรรค ต่างๆได้จนหมดสิ้น ณิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระ คำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้น ด้ายใหญ่ๆหรือความต่อเนื่องซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษกและเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจาก อาจารย์สู่ศิษย์ ในคำสอนของตันตระจะเน้นในการสวดมนตราธารณี การใช้สัญลักษณ์มุทรา สัญลักษณ์มันดาลา ในการประกอบพิธีเพื่อเข้าสู่การบรรลุพระโพธิญาณ หลังจากสมัย คุรุปัทมสมภพแล้วก็ได้มีการค้นพบคำสอนซึ่งถูกซ่อนไว้โดยคุรุปัทมสมภพ ในทิเบตเรียกว่า เตอร์มา ซึ่งแปลว่าขุมทรัพย์อันล้ำค่า และได้ทำนายไว้ว่าในอนาคต ศิษย์ของท่านจะเป็นผู้ค้น พบและเปิดขุมทรัพย์ องค์คุรุปัทมสมภพได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ 1เพื่อไม่ให้คำสอนผิดเพี้ยน ไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ2 เพื่อให้พลังแห่งคำสอนนั้นอยู่ ครบถ้วนบริบูรณ์ 3 เพื่อเป็นการให้พร แก่คนรุ่นหลังที่ได้สัมผัสกับคำสอนดั้งเดิม
คำสอนณิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสาร ของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้นหรือทันทีทันใดคำสอนของ ณิงมาปะ ได้แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น9ยานคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้นกริยาตันตระ จริยะตันตระ โยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำและ มหาโยคะตันตระ อนุตรโยคะตันตระและอธิโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูง อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระทุกระดับยกเว้น อทิโยคะตันตระ คุหยสมาช กาลจักร จักรสังวร ล้วนจัดอยู่ในอนุตรโยคะตันตระทั้งสิ้น ส่วน อทิโยคะตันตระหรือซกเชนถือเป็นตันตระพิเศษสูงสุดกว่าตันตระใดๆซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของ สมัตรภัทรพุทธ เป็นวิธีการเจาะเข้าสู่พุทธะภาวะโดยตรงหกยานแรกเป็นพื้นฐานของพุทธ ตันตระทั่วไปทุกนิกายส่วนสามยานสุดแท้เป็นลักษณะพิเศษของณิงมา ท่านเชอเกียมตรุงปะ วัชราจารย์แห่งณิงมาผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกตะวันตกในศตวรรษที่20ได้กล่าวไว้ว่า หีนยานได้กล่าวว่าตนเข้าถึงความจริงแท้และให้หนทางที่ดีที่สุดมหายานก็กล่าวว่าพระโพธิ สัตว์ได้ให้หนทางที่ดีที่สุดในการเข้าสู่สัจจะธรรม ส่วนผู้ปฏิบัติวัชระยานก็ว่า มหาสิทธะผู้ทรง ฤทธิ์อำนาจวิเศษสามารถมอบ หนทางสู่การบรรลุได้อย่างวิเศษสุด คำถามและคำตอบมาก มายที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความสับสนต่างๆนาๆแล้วอะไรเล่าจึงเป็นสิ่งที่ปรารถนาของศิษย์ ผู้ต้องการเข้าสู่พระพุทธธรรม อธิโยคะตันตระได้ให้คำตอบไว้ว่าการมองทุกสรรพสิ่งด้วยสาย ตาของเอกซ์เรย์ มองทุกสรรพสิ่งได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และ ปฏิบัติตนอย่างเปล่าเปลือยทะลุ ปรุโปร่งเช่นกัน นั่นจึงเป็นธรรมชาติแท้แห่งพุทธะภาวะ


นิกายกาจู

นิกายกาจูเป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 กาจูแปลว่าการถ่ายทอดคำสอนด้วย การบอกกล่าวจากอาจารย์สู่ศิษย์ผู้ก่อตั้งคือมาร์ปะผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะนักปราชญ์ผู้ ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิหารนาลันทาผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฎว่า ท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดย ตรงจากพุทธวัชระธารา มาร์ปะเป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งของ ทิเบต ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนต่อให้มิลาเรปะโยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ นิกายกาจูได้ ชื่อว่านิกายขาวก็สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆสีขาวหรืออาจ จะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในกาจูปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความ สำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย มิลาเรปะ มีศิษย์ทั้งหมด21ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกัมโปปะ กาจูปะเป็นนิกายที่มีชื่อเสียงมากใน ศตวรรษที่13 เนื่องด้วยมิลาเรปะมีศิษย์หลายท่านกัมโปปะเองก็มีศิษย์หลายท่านทำให้นิกาย กาจูได้มีการพัฒนาไปตามแนวทางคำสอนของศิษย์แต่ละท่านได้รับจึงเกิดกิวในสายต่างๆขึ้น มามากมาย คำสอนของกาจูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนิกายอื่น คือเน้นไปที่พุทธตันตระ คำสอน คำสอนตันตระของกาจูเกี่ยวพันกับ ตันตระโยคะทั้ง 6 การสืบทอดวิญญาณและ การปฏิบัติ มหามุทรา

นิกายสักกยะ

นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสักกยะ คำว่าสักกยะหรือสำเนียงทิเบตว่าสักเจียแปลว่าดินชนิดหนึ่ง ในบริเวณจั้ง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำยาลุงซังโป วัดของสักกยะมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น3 แถบ คือแถบสีแดงสีขาวสีดำ สีทั้ง3เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ซึ่งนิกายสักกยะ ให้ความ สำคัญมาก คือ สีแดงสีแห่งพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ผู้ทรงปัญญาคุณ สีขาวสีแห่งพระอวโลติเก ศวรโพธิสัตว์ ผู้เมตตากรุณาคุณ สีดำสีแห่งพระวัชระปราณีโพธิสัตว์ ผู้ทรงพลาคุณ ในประเทศ ได้เรียกชื่อนิกายนี้ว่า นิกายหลายสี ซึ่งก็ได้เรียกมาจนถึง ทุกวันนี้นิกายสักกยะได้ตั้งขึ้นใน ศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อ สายขุนนางเก่าตระกูล คอนคอนโซก เกียวโป ท่านได้รับคำสอนตันตระกาลจักรจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะโยคีชาวอินเดียคอน คอน โซกเกียวโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา คอน คอน โซกเกียวโปได้สร้างวัดของนิกายสักกยะขึ้นใกล้แม่น้ำถอม เป็นบัญญัติของคอนคอนโซกเกียว โปว่าการสืบทอดในนิกายสักกยะจะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลคอนเท่านั้นตำแหน่งของเจ้านิ กายสักกยะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญในเชิงประวัติ ศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสักกยะท่านที่4คือคุงก้าเกียวเจนหรือสักกยะบันฑิตและ หลานของท่านที่ชื่อว่าพักปะโลดุปเกียวเจนทั้ง2ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการเมืองของทิเบตมาก ทั้ง2ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แพร่พุทธตันตระในประเทศจีนเป็นที่ เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะโลดุปเกียวเจนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนะจักร


นิกายกาดัมและเกลูปะ

จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอติษะและศิษย์ของท่านชื่อดอมทอนปะ อติษะได้เน้นมากในเรื่อง คำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนาและเน้นในการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดโดยไม่เน้นในคำ สอนตันตระศิษย์ของอติษะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้นคำว่ากาดัมแปลว่าคำสอนของพระพุทธ เจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจากตันตระ ในศตวรรษที่14ซองคาปาพระภิกษุที่มีชื่อเสียงทรงความรู้ความสามารถในการจัดการองค์กรได้ ศึกษาคำสอนของอติษะได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์เดิมและได้เปลี่ยน ชื่อใหม่เป็นนิกายเกลูปะ คำว่าเกลู แปลว่าความดีที่เป็นกุศล คำสอนของเกลูปะ เน้นที่การ ค่อยๆศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นในวินัยเน้นในด้านตรรกะเกลุปะจะบัญญัติให้ภิกษุที่พรรษาไม่ มากไม่ให้ศึกษาตันตระเอกลักษณ์ของนิกายคือสวมหมวกสีเหลืองหรือนิกายหมวกเหลืองซึ่ง เป็นนิกายในสังกัดของดาไลลามะ

มีนิทานพุทธที่เล่ากันทั่วไปในทิเบตเรื่องต้นไม้พิษ ต้นไม้พิษนี้เป็นต้นไม้ที่มีพิษร้ายแรงมากแม้ ใครหลงไป กินผลของมันเข้าจะทุรนทุรายสาหัสสากรรจ์เนื่องจากทุกคนรู้ถึงพิษของต้นไม้นี้จึง คิดที่จะทำลายต้นไม้นี้เสียคนกลุ่มหนึ่งก็ให้ความคิดว่าต้องถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือแม้แต่ รากฝอยของต้นไม้ไว้แต่ก็มีคนอีกกลุ่มเสนอว่าเพียงตัดโคนหรือตัดส่วนสำคัญของมันต้นไม้ก็ จะตายไปในที่สุดและยังมีอีกกลุ่มซึ่งมีภูมิความรู้ทางการแพทย์และเคมีมาบ้างเสนอว่าไม่จำเป็น ต้องไปทำลายต้นไม้ทิ้งเพียงแต่นำพิษของมันไปปรุงเป็นยาวิเศษเพื่อเพิ่มพลังในการรักษาโรค ได้ เป็นเพราะพวกคุณ 2 กลุ่มแรกไม่รู้ในวิธีปรุงยาถ้าไม่มีพิษนี้ก็ไม่มีวัตถุดิบในการปรุงยา ใน ขณะที่กลุ่มคนทั้ง3กำลังให้ความเห็นกันอยู่นั้นก็มีนกยูงตัวหนึ่งเข้ามาและกินผลไม้พิษนั้นเป็น อาหารโดยที่พิษไม่เป็นอันตรายต่อนกยูงแต่ประการใดอีกทั้งยังช่วยเพิ่มสีสันความสวยสดงด งามของขนหางความแข็งแรงของร่างกายด้วยจากนิทานต้นไม้พิษนี้พอจะเปรียบเทียบได้กับ การปฏิบัติในพุทธศาสนาที่เน้นวิธีการที่ไม่เหมือนกันกลุ่มแรกเน้นในเรื่องการขุดรากถอนโคน โดยสิ้นเชิงในกิเสลทั้งปวงเพื่อป้องกันมิให้มันเกิดขึ้นได้ใหม่โดยการปฏิบัติศีลสมาธิเพื่อให้เกิด ปัญญาอันเป็นแนวทางของเถรวาทการปฏิบัติตามแนวนี้ต้องบวชเป็นภิกษุจึงเป็นแนวทางที่ดีที่ สุด การปฏิบัติศีล สมาธิโดยการทำให้จิตว่างเข้าไปสู่ ปัญญา โดยการใช้สมถะ วิปัสสนา จะทำ ให้ผู้ปฏิบัติค่อยๆหลุดจากพิษของความโลภ โกรธ หลง

วิธีการที่2 เป็นวิถีทางแห่งมหายานซึ่งถือว่าการตัดจุดสำคัญของต้นไม้พิษก็จะทำให้ต้นไม้พิษ นั้นตายได้จุดสำคัญสุดยอดก็คืออาตมันการยึดติดกับอาตมันคือตัดตรงจุดนี้ก็ทำให้หลุดพ้น ได้การยึดในความเป็นแก่นสารหรือความจีรังต่างๆเมื่อถูกตัดด้วยดาบแห่งศูนยตา ฟันแก่นของ การยึดติด เข้าสู่ปัญญาแห่งความไม่มีแก่นสารของจักรวาล

กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มของแพทย์และนักเคมีที่ต้องการแปรเปลี่ยนสภาพ คือวิถีแห่งวัชรยานแทนที่ จะทำลายต้นไม้พิษทิ้ง แต่กลับนำพิษจากต้นไม้พิษใช้วิธีการพิเศษให้แปรสภาพพิษกลายเป็น ยาวิเศษยาวิเศษก็คือ ฌานให้เกิดปัญญาโดยวิธีการสร้างมโนจิตตัวเองให้ดำรงจิตอยู่ใน ฌาน ความรู้ตัวทุกขณะจิตไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ปัญญาแห่งการบรรลุก็บังเกิดขึ้น

ตัวนกยูงก็คือวิถีทางแห่งการหลุดพ้นดั้งเดิม ซึ่งในทิเบตเรียกว่า อธิโยคะ หรือซกเชนหรือใน สันสฤตเรียกมหาสันติ ในวิธีนี้คือการเข้าไปสู่การรู้แจ้งโดยการเจาะทะลวงเข้าไปเลย การเข้า สู่การรู้แจ้งโดยไม่ผ่านขั้นตอนต่างๆเช่นการตัดขาด การขจัดชำระล้าง หรือการแปรสภาพใดๆ เป็นการเข้าสู่การรู้แจ้งแบบตรงดิ่งเข้าไปเลย ไม่ต้องผ่านพิธีการใดๆซึ่งหนทางนี้ได้รับการ กล่าวขานว่าเป็นวิธีที่สูงที่สุดในวัชระยานในทิเบตได้มี การเก็บรักษาคำสอนต่างๆของพุทธ ศาสนา ไว้อย่างสมบูรณ ์แบบทุกหนทางเพื่อเป็นหนทางแก่พุทธศาสนิกชนทุกแบบทุกประเภท ได้เลือกรูปแบบและวิธีการที่เหมาะกับตนในการบรรลุสู่ความรู้แจ้งซึ่งบางรูปแบบก็ไม่เป็นที่ ยอมรับของพุทธศาสนิกชนในประเทศอื่นแต่ในประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาวัชรยานมีพระ อาจารย์ในสายปฏิบัตินี้มากมายที่บรรลุความรู้แจ้งในบริเวณประเทศแถบหิมาลัยและประเทศใน สายปฏิบัติวัชรยาน

ธนวรรธน์ จรณชัยวัจน์
ทีมข่าว cnxnews รายงาน http://www.cnxnews.net/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 5 7049 กระทู้ล่าสุด 17 มกราคม 2554 15:02:59
โดย คนดีศรีอยุธยา2
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.714 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มีนาคม 2567 00:43:09