[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 02:04:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทวประติมากรรม "พระพิฆเนศ" เทพในจินตนาการจากสัตว์หิมพานต์  (อ่าน 5880 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 มีนาคม 2557 16:03:40 »

.



การสร้างรูปเคารพพระพิฆเนศ

รูปองค์พระพิฆเนศคงจะเกี่ยวเนื่องกับคติบูชาสัตว์หรือเจ้าแห่งสัตว์ของชนพื้นเมืองในเอเชียใต้ ซึ่งแพร่หลายในอินเดียทางตอนใต้ในระยะเริ่มแรก ก่อนจะมาปรากฏเป็นงานประติมากรรมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นปลายสมัยพระเวทต่อยุคมหากาพย์ ยุคพุทธกาล และศาสนาเชน เรื่อยมาจนแพร่หลายไปทั่วโลก โดยการผสมผสานระหว่างความเชื่อพื้นเมืองกับคติเทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดู คติพุทธศาสนา และเชนขึ้น

รูปองค์พระพิฆเนศระยะเริ่มแรกจะเป็นงานประติมากรรมที่จำหลักจากศิลาทรายเป็นรอยขูดขีด ก่อนจะพัฒนาเป็นศิลปะนูนต่ำ ศิลปะนูนสูง และศิลปะลอยตัวในเวลาต่อมา

งานประติมากรรมรูปองค์พระพิฆเนศระยะเริ่มแรก ปรากฏเศียรเป็นช้างแต่เริ่มต้น อันนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงความยืนยาวก่อนการเข้ามาของพวกอารยัน (Aryan) อย่างชัดเจน เนื่องจากมิได้มีเทพอื่นที่ปรากฏเทวลักษณะดังกล่าวเป็นเฉพาะ นอกจากการอวตารของเทพชั้นสูงบางองค์ เช่น นรสิงหาวตาร คือ การที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์อวตารเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ ส่วนใหญ่อวตารจะเป็นสัตว์ประเภทนั้นๆ ไปเลย เช่น กูรมาวตาร คือการอวตารเป็นเต่า หรือการแบ่งภาคของพระอิศวรเป็นช้างหรือสัตว์อื่น

อาจกล่าวได้ว่า "พระพิฆเนศ" นับเป็นเทพเบื้องต้นองค์แรกแห่งการผสมผสานระหว่างสัตว์กับมนุษย์ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมาปรากฏมากขึ้นในการจินตนาการเหล่าสัตว์หิมพานต์ในเวลาต่อมา

งานประติมากรรมแห่งองค์พระพิฆเนศ เริ่มจากการปรากฏเศียรเป็นช้างงาหักข้างใดข้างหนึ่ง ปลายงวงมักตวัดไปทางซ้ายขององค์ ระยะแรกมีเพียงสองกร ประทับนั่งขัดสมาธิแบบราบบนบัลลังก์ ก่อนจะปรากฏเทวพาหนะเป็นมุสิกะ หรือหนู, นกยูง, สิงห์ และช้าง ตลอดจนแสดง "ปางมหาราชลีลา" ในภายหลัง

ต่อมาเมื่อลัทธิบูชาพระพิฆเนศได้แพร่หลายจึงปรากฏการสร้าง "เทวสถานพระพิฆเนศ" ตลอดจนเทวประติมากรรมในแถบอินเดียใต้ก่อนสมัยคุปตะ และเผยแพร่ไปทั่วโลกอย่างน่ามหัศจรรย์

ในพุทธศาสนาคติมหายาน "พระพิฆเนศ" ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรคและการกำจัดอุปสรรค เป็นตัวแทนแห่งความสำเร็จ มีบทบูชาในลักษณะของลัทธิมนตระยาน ชื่อ "คณปติ-หฤทยา" หมายถึง หัวใจพระพิฆเนศ ในฐานะผู้ทำลายและผู้สร้าง โดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ.320-535) ซึ่งถือเป็นยุค Classical Age ของอินเดีย ในตอนปลายจะปรากฏรูปองค์พระพิฆเนศปะปนอยู่กับเทพอื่นๆ ทางพุทธศาสนา ในภาพพุทธประวัติ ที่สารนาถ ตอนพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน


   ศาสนาเชน ของพระมหาวีระ ที่มีอายุร่วมกับพุทธศาสนา โดยเน้นการปฏิบัติ แบ่งเป็นนิกายเศวตัมพร (ผู้นุ่งขาวห่มขาว-ชีปะขาว) และนิกายฑิฆัมพร (ผู้นุ่งฟ้า-ชีเปลือย) ปรากฏเรื่องราวและประติมากรรมพระพิฆเนศ โดยเฉพาะในนิกายเศวตัมพร พระองค์ทรงปรากฏบทบาทในฐานะยักษ์ มีพระนามว่า ปาวรศวยักษะ หรือธรรมเมนทรา งานประติมากรรมที่พบเป็นเทวรูป ประทับนั่งบนหลังเต่า มีนาคปรก จัดเป็นเทพสำคัญองค์หนึ่งของนิกายเศวตัมพร มักสร้างโดยมี ๒ พระกร จนถึง ๑๐๘ พระกร

พระพิฆเนศได้รับการนับถือแพร่หลาย มีการสร้างเทวประติมากรรมในหลายลักษณะ ชาวทมิฬในอินเดียใต้และลังกาเอ่ยนามพระองค์ว่า "Pillaiyar" จีนที่เป็นพุทธแบบมหายานปรากฏงานประติมากรรมและจิตรกรรมเกี่ยวกับองค์พระพิฆเนศ และเรียกพระองค์ว่า "Knangi-Ten" ทิเบตเรียกว่า "Tsoge-Bdag" พม่าและมอญซึ่งเป็นพุทธแบบหินยาน เอ่ยนามพระองค์ว่า "Mahapienne"

ส่วนขอมที่ได้รับอิทธิพลของฮินดูจากอินเดียโบราณมากที่สุดเอ่ยนามพระองค์ว่า "Prah-Kenes" ในญี่ปุ่นเรียกว่า "Daikon" ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันคล้ายท้าวจตุโลกบาลของไทย

บางครั้งในญี่ปุ่นปรากฏเป็นรูปองค์พระพิฆเนศสององค์ในท่ากอดปล้ำเรียกว่า "Deva Bliss" หมายถึง เทพแห่งความสุขและความยินดี และประติมากรรมของพระองค์ยังแพร่หลายไปยังที่ต่างๆ อาทิ อินโดนีเซีย ชวา มลายู อีกด้วย



ในอินเดีย มีเทวสถานองค์พระพิฆเนศมากมายตามลัทธินิกายต่างๆ แม้ในนิกายที่มิได้นับถือพระพิฆเนศเป็นเทพสูงสุด ก็ยังปรากฏรูปองค์พระพิฆเนศบูชา และที่น่าสนใจก็คือ ปรากฏ "ประติมากรรมรูปองค์พระพิฆเนศในลักษณะเทวสตรี" ทรงพระนาม "พระคเณศานี" หรือ "พระไว นายกี" เป็นรูปสลักบนระเบียงในเทวสถานหิระปุระ (Hirapura) เมืองภูวเนศวร รัฐโอริสสา เทวลักษณะมีเศียรเป็นช้าง สองกร ประทับยืนในท่าตริภังค์ (การหย่อนสามส่วน ได้แก่ หย่อนไหล่-หย่อนสะโพก-หย่อนหัวเข่า) บนหลังมุสิกะหรือหนู ปรากฏพระถันเหมือนเทวสตรี

เทวประติมากรรมองค์พระพิฆเนศในลักษณาการเช่นนี้ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากอิทธิพลของนิกายศักติ อันเป็นนิกายที่เกิดขึ้นหลังไศวนิกายและไวษณพนิกาย โดยหลักคิดที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลมิได้กำเนิดจากเทวบุรุษหรือลึงค์อย่างเดียว หากต้องประกอบด้วยเทวสตรีหรือโยนีด้วย

ลัทธินี้ให้ความสำคัญแก่เทวสตรีและเข้าผสมกลมกลืนกับลัทธินิกายอื่นๆ เช่น ปรากฏการสร้างฐานโยนีอยู่ใต้แท่นศิวลึงค์ หรือการบูชาพระแม่ปวารวตีหรือพระอุมาในภาคต่างๆ เช่น พระแม่ทุรคา พระแม่กาลี และบูชาพระมหาเทวีอื่นๆ เช่น พระลักษมี เป็นต้น
 
สำหรับประเทศไทย งานประติมากรรมรูปองค์พระพิฆเนศพบในแถบภาคใต้ เช่น ที่บ้านทุ่งตึก อ.คุระบุรี จ.พังงา พบประติมากรรมองค์พระพิฆเนศศิลาทรายสูงประมาณ ๓๖.๕ ซ.ม., ที่ ต.พังหนุน อ.สทิงพระ จ.สงขลา พบประติมากรรมพระพิฆเนศดีบุก สูง ๖.๕ ซ.ม. ฐานกว้าง ๕ ซ.ม., บริเวณถ้ำเกาะหลัก ทางออกสู่ทะเลอันดามัน เป็นปางประทับนั่ง มี ๔ กร อายุราวอยุธยาตอนต้น และรูปประติมากรรมพระพิฆเนศยังปรากฏในงานศิลปะขอมโบราณตามปราสาทหินต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยอีกด้วย

นอกจากนี้ ในสยามประเทศองค์พระพิฆเนศยังได้รับการยกย่องในฐานะบรมครูช้าง และเรียกในอีกพระนามหนึ่งว่า "พระเทวกรรม" จึงมีการจัดสร้างประติมากรรมพระเทวกรรมอันเป็นบรมครูที่สำคัญของผู้ที่ศึกษาวิชาคชศาสตร์ หรือที่เรียกว่า "ตำราช้าง" ซึ่งรับมาจากอินเดีย ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย "ตำราคชลักษณ์" กล่าวถึงลักษณะของช้าง และ "ตำราคชกรรม" ว่าด้วยการหัดช้างเถื่อนและวิธีหัดขี่ช้าง มนต์สำหรับบังคับช้าง และระเบียบพิธีต่างๆ ที่จะทำให้เกิดสิริมงคลและบำบัดเสนียดจัญไรในการที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง และยังพบรูปพระเทวกรรมบนด้ามขอสับช้างและด้ามมีดของควาญช้างด้วย


  ในสมัยอยุธยา การคชกรรมเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก เนื่องจาก "ช้าง" นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของสยาม และสื่อถึง "ช้างแก้ว" ในรัตนมณีทั้งเก้าประการในคติจักรพรรดิราชแล้ว ยังส่งช้างเป็นสินค้าออกสำคัญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) พระองค์โปรดให้มีการสร้างเพนียดคล้องช้างที่ลพบุรี และเสด็จประทับ ณ นารายณ์ราชนิเวศฯ เป็นเวลายาวนานในช่วงปีหนึ่ง การให้ความสำคัญกับบรมครูช้าง ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ถึงการที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปพระพิฆเนศ และพระเทวกรรมหลายครั้งด้วยกัน

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชวงศ์จักรี ทรงอัญเชิญพระนาม "พระพิฆเนศ" มา สถาปนาพระราชทานเป็นพระนามทรงกรมฯ ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุได้ ๙ พรรษา โดยจารึกในพระสุพรรณบัฏขึ้นทรงพระอิสริยยศเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ" ถือศักดินา ๘๐๐

จึงนับได้ว่าพระองค์ทรงสนพระทัยถึงขนาดอัญเชิญพระนามองค์พระพิฆเนศมาเป็นอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอฯ ภายหลังจึงได้พระราชทานพระนามอีกครั้ง เปลี่ยนเป็น "กรมขุนพินิตประชานารถ" ซึ่งต่อมาเสวยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องราวขององค์พระพิฆเนศ ก็ได้ปรากฏและถ่ายทอดแพร่หลายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา

ในเวลาเหล่านี้ยังนิยมสร้างรูปเคารพพระพิฆเนศขนาดเล็ก จากสำริดบ้าง ทองแดง ทองเหลือง หินทรายบ้าง เพื่อใช้พกติดตัวบูชาในลักษณะเครื่องรางของขลังครับผม
   ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


ภาพจากร้าน Suan Lahu Cafe' จังหวัดเชียงใหม่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“พระพิฆเนศ” มหาเทพที่เก่าแก่กว่าพระอิศวร? จากเทพพื้นเมือง ปรุงแต่งเป็นเทพฮินดู
เกร็ดศาสนา
ใบบุญ 0 457 กระทู้ล่าสุด 15 มีนาคม 2565 16:08:59
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.387 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 12:14:15