[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:12:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ไอซอน” ดาวหางแห่งศตวรรษกลางหมู่มวลกาแล็กซี  (อ่าน 52218 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พัดลมเพดานหมุนติ้ว
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 102


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 34.0.1847.116 Chrome 34.0.1847.116


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 เมษายน 2557 16:14:16 »

“ไอซอน” ดาวหางแห่งศตวรรษกลางหมู่มวลกาแล็กซี



       กล้องฮับเบิลบันทึกภาพอันแสนงดงามของ “ดาวหางไอซอน” ท่ามกลางดวงดาวและกาแล็กซี ซึ่งจะเข้าสู่ด้านในของระบบสุริยะ และคาดว่าคนบนโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงปลาย พ.ย.56นี้ ด้วยความสว่างราวกับดวงจันทร์เลยทีเดียว
       
       กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) บันทึกภาพดาวหางไอซอน (ISON) ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.2013 ที่ผ่านมา และหลังจากประมวลภาพเข้าด้วยกัน 5 ภาพก็เผยให้ภาพดาวหางท่ามกลางดวงดาวที่สว่างเจิดจ้าและกาแล็กซีที่อยู่แสนไกล
       
       จากรายงานของสเปซด็อทคอมซึ่งอ้างคำอะบายของนักวิจัยในโครงการฮับเบิลระบุว่า ภาพดังกล่าวบันทึกด้วยกล้อง 5 ตัวที่บันทึกย่านแสงที่ต่างกัน 3 ตัวแรกเป็นกล้องที่กรองแสงสีเหลืองและเขียว ทำให้ได้ภาพในย่านแสงสีน้ำเงิน ส่วนอีก 2 ตัวเป็นกล้องที่บันทึกแสงสีแดงและรังสีอินฟราเรด
       
       จอช โซกอล (Josh Sokol) จากสถาบันวิทยาการกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) ในบัลติมอร์ แมรีแลนด์ ซึ่งควบคุมการทำงานของฮับเบิล ให้ความเห็นว่า โดยทั่วไปสีแดงยิ่งเข้มหมายถึงสิ่งนั้นยิ่งเก่าแก่มาก มีวิวัฒนาการมามากกว่าสิ่งที่เป็นสีน้ำเงิน
       
       ดาวหางไอซอนจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ด้วยระยะห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.16 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะทำให้ดาวหางดวงนี้ส่องสว่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจจะสว่างราวกับพระจันทร์เต็มดวงเลยทีเดียว กระนั้นเราก็ไม่อาจคาดหวังอะไรมากกับดาวหางดวงนี้ เพราะดาวหางทั้งหลายมีชื่อเสียงแง่ลบว่ายากต่อการคาดการณ์ และพฤติกรรมของดาวหางไอซอนก็อาจจะมีลูกเล่นให้ยากจะพยากรณ์



นักสังเกตปรากฏการณ์ฟ้าและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างจดจ้องการเดินของดาวหางดวงนี้ ที่ถูกขนานนามว่า “ดาวหางแห่งศตวรรษ” โดยคลิปวิดีโอจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซาอธิบายว่า ดาวหางล้วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่มีดาวหางประเภทที่เรียกว่า ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (sun grazing comet) นั้นจะเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มาก และมีระยะจุดปลายวงโคจร (perihelion) ไม่เกิน 1.37 ล้านกิโลเมตร บางดวงก็ใกล้จนพุ่งชนพื้นผิวดาว ซึ่งไอซอนก็จัดอยู่ในประเภทนี้
       
       ไอซอนถูกค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.2012 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเข้ามาชั้นในของระบบสุริยะครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีถิ่งกำเนิดแถบเมฆออร์ต (Oort Cloud) ที่ระบบสุริยะชั้นนอกเช่นเดียวกับดาวหางอื่น และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วไอซอนจะถูกโมเมนตัมเหวี่ยงออกจากระบบสุริยะชั้นในแล้วไม่กลับมาอีกเลย
       
       ดาวหางไม่ต่างจากดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบเดียวกันระหว่างช่วงก่อกำเนิดเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าการศึกษาองค์ประกอบของดาวหางไอซอนที่เดือดจากการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้อย่างใกล้ๆ นั้น จะเผยให้เห็นอดีตของระบบสุริยะเมื่อแรกเริ่ม


เครดิต  โพสจัง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.267 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มกราคม 2567 09:13:24