[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:39:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย  (อ่าน 39584 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2561 15:21:56 »

.
             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


ครุฑฝ่ายมหายาน

ครุฑในวัชรญาณ หรือตันตระยานของฝ่ายมหายาน

ครุฑในอินเดียเป็นครุฑที่เกี่ยวพันกับสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ที่สืบต่อมาเป็นกษัตริย์ ผู้เป็นเจ้าในแผ่นดินต่าง

ส่วนครุฑที่มีอิทธิพลในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานหรือในนิกายวัชรญาณ ในทิเบต เนปาล ภูฏาน มีคติหรือสัญลักษณ์ที่ต่างกันออกไป

ครุฑของฝ่ายมหายานเหล่านี้จะมีคติ-สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

ครุฑเป็นพาหนะของพระพุทธเจ้า นาม อโมฆะสิทธิพุทธ ที่แปลว่าความสำเร็จไม่สูญเปล่า หรือความรู้ที่ทำให้สำเร็จ ทุกอย่าง

สัญลักษณ์ของครุฑในภูมิภาคนี้หมายถึง แสงทองแห่งรุ่งอรุณ เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ส่วนบนสุดของประตูทางเข้าศาสนสถาน หรือบัลลังก์ของพระพุทธเจ้า

กางปีกและหาง คาบนาคในปาก มงกุฎเป็นพระจันทร์ และดวงอาทิตย์หมายถึงรัศมีของดวงดาวทั้งสอง

เขาทั้งสองหมายถึงความจริง ๒ ประการ คือความจริงที่ปรากฏกับความจริงชั้นสูงสุด (conventional and ultimate)

ปีกทั้งสองหมายถึง การร่วมกันของแนวปฏิบัติและสติปัญญา เปลวไฟหมายถึงการเปลี่ยนพิษร้ายมาเป็นน้ำทิพย์ การเกิดจากไข่คือการเกิดครั้งที่สองของความรอบรู้





ครุฑอุษาคเนย์

ข้ามฟากทะเลจีนใต้มายังดินแดนอุษาคเนย์ เวียดนาม ชาวจาม ผู้มีเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งเดิมนับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ร่วมอารยธรรมซึ่งนับถือพระศิวะ โดยมีเรื่องคติ สัญลักษณ์ ของครุฑไปด้วย

การปรากฏเรื่องราวของครุฑในอาณาจักรจามนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ชาวจามยังนับถือศาสนาฮินดูอยู่ก่อนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แต่ก็ยังมีชาวจามบางกลุ่มที่ยังนับถือพราหมณ์ฮินดูอยู่ด้วย

ครุฑในดินแดนของอาณาจักรจาม ซึ่งอยู่ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม มักจะเป็นครุฑจับนาค อันเป็นเรื่องในเทพปกรฌัมของศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่กล่าวถึงความขัดแย้งกันในหมู่เทพเจ้า จนเป็นที่มาของครุฑจับนาค

ตามรูปครุฑของจามจึงเป็นรูปของครุฑคาบนาคล





ครุฑอินโดนีเซีย

จากดินแดนชมพูทวีป ครุฑจากศรัทธาและความเชื่อเรื่องครุฑของฮินดูได้ข้ามมามีอิทธิพลในบาหลี เกาะที่ชาวเกาะนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งหมายรวมไปถึงการบูชาพระนารายณ์หรือ พระวิษณุด้วย

ครุฑของชาวบาหลีจึงเกี่ยวพันกับสัญลักษณ์ของพระนารายณ์

ปรากฏเป็นพาหนะของพระนารายณ์ และหมายถึงอำนาจ พลัง ความเป็นอมตะ และสัญลักษณ์ของ ผู้พิทักษ์โลกไปด้วย ในภาพเป็นรูปที่เรียกว่า นารายณ์ทรงสุบรรณ หรือครุฑแบกพระนารายณ์อยู่บนบ่า

ทางนาฏลักษณ์ลีลาแสดงถึงพลังและอำนาจของผู้พิทักษ์ที่งดงามมาก





ครุฑขอม ครุฑไทย

แม้ประเทศไทยไม่มีนกใหญ่ระดับนกอินทรี แต่ครุฑหรือนกใหญ่ของไทย แต่เรื่องราวของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือจินตนาการของครุฑก็มีความหลากหลายน่าสนใจ เป็นทั้งสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ คติ เรื่องราวที่น่าสนใจ

ครุฑขอมกับครุฑไทยมีที่มาที่ไปเช่นเดียวกัน ใช้แสดงถึงฐานะและบทบาททางสังคมของชนชั้นผู้นำในชุมชน ในเมือง ในชาติ

แต่ดูประหนึ่งว่าครุฑของไทยมีอารมณ์สุนทรีย์กว่าครุฑของขอม ที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ที่หมายถึงอำนาจสูงสุด

ฐานานุศักดิ์ของกษัตริย์ขอมและกษัตริย์ไทยก็คือ ความเป็นรามาธิบดี ที่หมายถึงผู้ปกป้อง ผู้คุ้มครอง แต่ในฐานานุศักดิ์ที่เพิ่มขึ้นของกษัตริย์ไทยคือ พระอินทร์ ที่หมายรวมไปถึงหัวหน้าสูงสุดในการดูแลปกครองไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินทั้งปวง

จากภาพสลักหินที่แสดงถึงฐานะของกษัตริย์ขอมก็คือ การประทับอยู่เหนือพญาครุฑ ซึ่งมีฐานะของผู้ไม่มีใครชนะหรืออยู่เหนือนอกจากพระมหากษัตริย์

ภาพแกะสลักหินจากปราสาทกระวานในกัมพูชาหรือจากผนังด้านหลังของประสาทหินพิมายโคราชที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ขอมในฐานะรามาธิบดีได้ชัดเจน





ครุฑอยุธยา

คติ สัญลักษณ์ของครุฑไทย มีความหมายที่หลากหลายมากกว่าครุฑเขมรที่เป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงอำนาจของผู้ปกป้อง คือพระมหากษัตริย์ของไทย และมีเรื่องราวทางวรรณกรรมชวนฝันไว้ด้วย ซึ่งคงจะนำมาบรรยายเป็นตอนต่อไป

ที่น่าสนใจ คือครุฑในสมัยอยุธยาออกจะแตกต่างจากครุฑในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็คือท่ายืนที่แสดงพลังที่พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ ครุฑมีท่าที่ย่อเข่านั่งลง เพื่อแสดงถึงอาการโบยบินในอากาศโดยมีคาถาเป็นบาลีประกอบ

รูปแกะสลักลอยตัวที่หน้าบัน วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นภาพของครุฑแบกพระนารายณ์ที่อยู่ในซุ้มเรือนแก้วซ้อนบนด้วยเรือนยอด พระนารายณ์นั้นโดยปกติต้องนอนอยู่บนหลังพญานาคราชในมหาสมุทร

การตื่นของพระนารายณ์ หมายถึงการลุกขึ้นมาปกป้องโลก

ภาพจำหลักพระนารายณ์ทรงครุฑนี้ที่มีเทวดาพนมมือชุมนุมอยู่เสมือนการเฉลิมฉลองของพระเจ้าแผ่นดินในฐานะรามาธิบดีได้ปราบปรามทุกข์เข็ญบนแผ่นดินได้สำเร็จ





ครุฑในชาดก

ครุฑในตอนนี้ไม่ได้เป็นครุฑที่เป็นคติ หรือสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม

หากเป็นครุฑไทยที่อยู่นอกตำนานครุฑผู้ทรงอำนาจ เป็นครุฑในชาดกที่ออกจะละเมิดศีล ๕ ข้อที่ ๓ ก็คือการพรากของรักจากผู้อื่น และดูจะเป็นนิยายในชาดกที่มีผู้ชื่นชมกันอยู่ไม่น้อย

ในเรื่องก็คือพญาครุฑเวนไตย อุ้มนางกากีสาวแสนสวย กลิ่นกายหอม ผู้เป็นเมียของกษัตริย์นามพรหมทัต ไปยังวิมานฉิมพลี (หรือวิมานของครุฑ)

ภาพที่ประกอบเป็นภาพจาก www.skn.ac.thภาพที่สวยที่สุดภาพหนึ่งเป็นภาพฝีมือของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ

ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของครูศิลปินท่านหนึ่งซึ่งเปิดโรงเรียนวาดภาพอยู่ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชื่อ หอศิลป์หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์





ครุฑไทย

ครุฑในสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

ครุฑในสัญลักษณ์นี้หมายถึง อำนาจอันยิ่งใหญ่ อำนาจสูงสุด อันเฉียบขาด อำนาจแห่งการปกป้องภูตผี ปีศาจ หรือชั่วร้าย รวมหมายถึงพิษภัยต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง เป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มกัน

ครุฑจึงเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ และจากตำนานเรื่องราวของครุฑที่ไม่มีผู้ใดชนะได้ แม้แต่พระนารายณ์ผู้มี หน้าที่ปกป้องโลก ครุฑจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับพระนารายณ์ อันนำมาสู่สัญลักษณ์กษัตริย์ไทยต้องมีสัญลักษณ์เป็นรูปครุฑคู่กันเสมอ

การที่กษัตริย์ไทยต้องคู่กับครุฑ เราจึงเห็นรูปครุฑที่อยู่ในธงที่เรียก ธงมหาราชคู่กับกษัตริย์ไทย เช่น ธงมหาราชที่ติดไว้หน้ารถพระที่นั่งเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จฯ ไปในที่ต่างๆ และถ้าพระมหากษัตริย์ไทยประทับอยู่ในพระราชวังก็จะมีธงครุฑตั้งอยู่ที่พระราชวังนั้นๆ

จึงไม่ควรที่ประชาชนไทยคนใดนำครุฑไปติดไปตั้งในเขตเคหสถานบ้านเรือนของตน เว้นไว้แต่ว่าการติดตั้งครุฑนั้นโดยได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น





ความหมายพระพุทธรูป

พระพุทธรูปในความหมายทางพุทธศาสนานั้น มิได้มีฐานะเป็นรูปเคารพที่ผู้คนจะไปสวดอ้อนวอน ขอพร ขอลาภ ขอสรรเสริญ ขอขจัดปัดเป่าให้พ้นทุกข์ พ้นภัย เช่นเดียวกับรูปเคารพของกรีก ของฮินดู

พระพุทธรูปเป็นการนำเอาพระธรรม คำสอนอันเป็นนามธรรมมาอธิบายเป็น รูปธรรม เรียกว่า ปาง หรือมุทรา หรืออธิบายการแสดงธรรมโดยภาษามือ

เช่น พระพุทธรูปนั่งยกมือทั้งสอง ประสานนิ้วเป็นวงกลม ความหมายก็คือ การแสดงธรรมที่มีชื่อว่า ธรรมจักรมุทรา หรือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือการแสดงธรรมครั้งแรกแก่ปัจจวัคคีย์ ที่หมายถึงการตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือความจริง ขั้นสูงสุด

มีเนื้อหาของการมีชีวิตของมนุษย์ให้พ้นทุกข์ โดยการปฏิบัติตามวิธีการที่เรียกว่า มรรค อันมีองค์แปดประการ

เพื่อให้ผู้คนเกิดปัญญาจากศรัทธาในความเชื่อของผู้แสดงธรรม รูปปั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็นรูปที่มีเครื่องหมายของบุคลิกภาพที่แสดงถึงภูมิธรรมในระดับต่างๆ เช่น การมีเครื่องหมายที่เรียกว่า โลกุตตระ อยู่บนเศียร แสดงถึงคุณธรรมของผู้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ เป็นต้น

แต่กรณีที่มีผู้คนในภายหลังกราบไหว้บูชารูปปั้นพระพุทธเจ้านั้น เป็นการคลี่คลายทางการเชื่อมสัมพันธ์ทางศาสนา ระหว่างฮินดูกับพุทธ เป็นการรวมความระหว่างพระนารายณ์กับพระพุทธเจ้าเข้าด้วยกัน หรือพุทธกับความเชื่อในท้องถิ่น จึงเกิดการสวดอ้อนวอนขึ้น

แม้แต่การสวดมนต์ก็ตาม การสวดมนต์ของพุทธศาสนาคือ การท่องจำ ธรรมสอนของพระพุทธเจ้า ก็หาใช่คำสวดอ้อนวอน ไม่มีการสวดอ้อนวอนประการใดในพุทธศาสนา หลักสำคัญหนึ่งของพุทธศาสนาคือ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนที่ฝึกดีแล้ว จึงจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้"

การสวดมนต์ในพุทธศาสนาเป็นการ กล่าวคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อพิจารณา เพื่อมีสติปัญญา เพื่อการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อรู้ เพื่อเข้าใจชีวิต ความทุกข์ การพ้นจากความทุกข์ เท่านั้น





เจดีย์มหาธาตุ

เมื่อคิดถึงงานสถาปัตยกรรมก็มักจะนึกถึงอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใหญ่โต สวยงาม มั่นคง แข็งแรง และแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ของผู้สร้างอาคารนั้น

เมื่อคิดถึงงานสถาปัตยกรรมไทยก็มักจะนึกถึงวัดวาอาราม ปราสาท ราชวัง อาคารที่ทำการของหลวง บ้านคฤหาสน์ของคหบดีที่มีสิ่งตกแต่งประดับประดา มีคติ มีสัญลักษณ์ บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งาน บ่งบอกถึงฐานะทั้งทางสังคมและอำนาจทางการเมือง

ในมุมมองของฝ่ายสังคมนิคม สถาปัตยกรรมมีความหมายมากไปกว่านั้นว่า

"งานสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โตคือ ผลงานที่แสดงถึงอำนาจของการขูดรีด ทรัพยากร และแรงงานของชนชั้น เพื่อจารึกถึงความเป็นตัวตน เพื่อยืนยันของจิตใต้สำนึกอันผูกติดกับความเป็นนิรันดร์ที่ไม่มีวันสิ้นหาย"

และถ้ามองจากบางส่วนของผู้คิดว่าตัวเองเป็นพุทธศาสนิกชน เราอาจได้ทราบถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างศาสนสถานอย่างใหญ่โต เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับการกระทำบางประการของผู้สร้างหรือในภาษาชาวบ้านก็คือ "การไถ่บาป"

ดังนั้น เราจึงได้ยินตำนานการสร้างสถูปเจดีย์อันยิ่งใหญ่เพื่อไถ่บาปจากความผิดบาปที่ได้ทำ เช่น การสร้างเจดีย์ของพญากงผู้ทำปิตุฆาตต่อพญาพาน ผู้เป็นพ่อ เป็นต้น

ในมุมมองทางสังคม งานทางสถาปัตยกรรมบางส่วน เช่น การสร้างศาสนสถานที่ใหญ่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ เจดีย์มหาธาตุทั้งหลายมีความหมายและสัญลักษณ์ที่มากขึ้นไปอีกก็คือ การแสดงถึง "ความเป็นศูนย์อำนาจของนครรัฐต่างๆ ในภูมิภาค"

ดังนั้น บรรดาสถูป เจดีย์ อันมีความหมายดังกล่าว ก็คงจะได้ยกมาเล่าขานเรื่องราวและการสอดแทรกทั้งสัญลักษณ์และความหมายทางศาสนาและสังคมกันต่อไป





พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

พระมหาธาตุองค์แรกที่จะเขียนถึงก็คือ พระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เดิมชาวบ้านเรียก พระบรมธาตุ มาเปลี่ยนเป็น พระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามตำนานของพระบรมธาตุเจดีย์ที่นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ในรูปแบบของศิลปะยุคศรีวิชัย และมีการซ่อมแซมเพิ่มเติม ทั้งปฏิรูปและปฏิสังขรณ์กันมาอีกหลายครั้ง จนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในยุคสมัยของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่มีมหาราชองค์หนึ่งนามศรีธรรมโศกราช และพระเจ้าจันทรภาณุ ซึ่งมีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร พระบรมธาตุองค์นี้จึงปรับปรุงแบบเป็นศิลปะทรงลังกา และก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมความยิ่งใหญ่อีกหลายครั้ง

ครั้งสำคัญก็คือในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรีที่มีการซ่อมบำรุงเกิดจากพระภิกษุ พระครูเทพมุนีที่มีปัญหาข้อสงสัยทางการเมืองเช่นเดียวกับพระครูบาศรีวิชัย ซึ่งมีการสืบสานแล้วทางราชการก็ได้ร่วมกันบูรณะพระบรมธาตุที่มีรูปทรงในปัจจุบัน ก็คือ

องค์พระธาตุสูงถึง ๓๗ วา หรือ ๗๖ เมตร ประมาณกับความสูงของอาคารในปัจจุบันก็คือ ๒๕-๒๖ ชั้น

เรือนยอดประกอบด้วยปล่องไฉน ๕๒ ปล้อง ปลียอดเป็นทองคำ สัญลักษณ์ของพรหมชั้นอรูปพรม ทั้ง ๔ เนื่องจากการปฏิสังขรณ์ในสมัยต่อมามีศิลปะยุคสุโขทัยและอยุธยาเข้ามาเสริม

ฐานองค์เจดีย์ที่เรียกพระระเบียงคันธาตุรอบพระบรมธาตุเป็นหัวช้าง คติเดียวกับวัดช้างล้อม สุโขทัย

พระพุทธรูปปางประทานอภัย ๒๔ ซุ้ม เท่ากับพระพุทธเจ้าที่มีมาแล้ว ๒๔ พระองค์ จากจำนวนพระพุทธเจ้าที่ต้องมีในอายุของกาลจักร ๒๕ พระองค์

มีพระธาตุองค์เล็กโดยรอบขนาดย่อมอีก ๑๔๙ องค์

ในเชิงสัญลักษณ์ของคตินิยม พระบรมธาตุคือสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล

ในเชิงสัญลักษณ์เป็นการแสดงพลังทางสังคมการเมือง ความยิ่งใหญ่ อำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะในดินแดนที่เคยมีอำนาจทางการเมือง ทางเศรษฐกิจสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ไม่มีใคร อะไร ในเมือง




วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร หรือวัดมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย

เมืองศรีสัชนาลัย ชื่อเดิมเมืองเชลียง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง สัญลักษณ์ของศูนย์อำนาจที่เชื่อว่ามีมาก่อนสุโขทัย ปรากฏนามพ่อขุนศรีนาวนำถม ในจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ ผู้เป็นพระบิดาของพ่อขุนผาเมือง (ศรีอินทรบดินทราทิตย์) ผู้ประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุใกล้ฝั่งน้ำในนครสุโขทัย และวัดในเมืองเชลียง

สันนิษฐานคือ พ่อขุนผาเมืองเป็นผู้สถาปนาวัดพระศรีมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย ทับลงบนเทวสถานของพวกขอม

ภายหลังการขึ้นมีอำนาจในเขตลุ่มน้ำยมของพ่อขุนผาเมือง (ในฐานะลูกเขยของพระเจ้าชัยวรมันต์ที่ ๗) พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้ขึ้นมามีศรัทธาต่อกลุ่มพลังอำนาจในลุ่มน้ำนี้ จึงมีการสถาปนาวัดพระศรีมหาธาตุในสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ ศูนย์กลางทางศาสนาตามคติของฝ่ายเถรวาท เป็นต้นแบบของวัดมหาธาตุในยุคหลังต่อมา

แต่รูปแบบของพระธาตุมีอิทธิพลของปรางขอม ซึ่งก็เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ของลัทธิไศวนิกายเพิ่มเติม พระอุโบสถหรือวิหารในด้านหน้าของพระธาตุที่มีคติอันเป็นตัวแทนของที่ประทับของพระพุทธเจ้าหรือเป็นสัญลักษณ์ของดินแดนที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น





วัดมหาธาตุ สุโขทัย

นักโบราณคดีเชื่อกันว่า วัดมหาธาตุ สุโขทัย ซึ่งตั้งห่างจากวัดมหาธาตุเมืองเชลียงประมาณ ๕๐ กิโลเมตร น่าจะสร้างกันประมาณปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙

การไม่ยอมยกกองทัพเข้าเมืองสุโขทัยของพ่อขุนผาเมือง (ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างวัดมหาธาตุเมืองเชลียง) ภายหลังการปราบปรามขอม สบาดโขลญลำพง โดยให้ พ่อขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดครองสุโขทัย พร้อมสถาปนาตำแหน่งศรีอินทราทิตย์ให้ด้วย เป็นสัญญาณชี้บอกว่าเมืองสุโขทัยเป็นชุมชนใหญ่และเก่าแก่ เป็นศูนย์อำนาจทางสังคมและเศรษฐกิจระดับสำคัญของลุ่มน้ำยม

การสถาปนาวัดมหาธาตุขึ้นกลางเมืองสุโขทัยจึงเป็นการประกาศความสำคัญและความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนด้วยการรังสรรค์รูปแบบของเจดีย์ที่เรียกว่าเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์

อันเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย (ทับลงบนสถูปหรือเจดีย์ที่มีอิทธิพลศิลปะสถาปัตย์ขอม ที่ชื่อว่ามีรูปทรงชั้นเดียวกับเจดีย์ทิศที่อยู่รายรอบ)

แผนผังของวัดมหาธาตุ สุโขทัย เป็นแผนผังที่เกิดจากคติจักรวาลทัศน์ เช่นเดียวกับ/หรือมีอิทธิพลต่อมายังวัดมหาธาตุอีกหลายวัดตลอดมา

กล่าวคือ ด้านหน้ามีวิหารหรืออุโบสถอันหมายถึงชมพูทวีปที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มีพระมหาเจดีย์เป็นดั่งศูนย์กลางจักรวาลทัศน์ เป็นเขาพระสุเมรุหรือเป็นดั่งมณฑลเกษตรที่มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีความเชื่อตามอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่มีอำนาจครอบคลุมมาถึง





วัดใหญ่ พิษณุโลก

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ หรือ วัดพระศรี เมืองพิษณุโลกที่เรียกกันนั้น เชื่อกันว่าสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหากษัตริย์จากสุโขทัย เชื้อสายพ่อขุนศรีนาวนำถม

ลักษณะแผนรวม มีวิหาร ๔ ทิศ มีระเบียงคดล้อมพระปรางค์มหาธาตุอยู่ตรงกลาง มีคติห้วงจักรวาลทัศน์เช่นเดียวกับเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางวิหารทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ๔ พระองค์ ที่มีความหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์ ที่จะมาอุบัติในภัทรกัปป์ (เป็นศรัทธาร่วมสมัยกับความเชื่อในเรื่องนี้เช่นเดียวกับศรัทธาของพม่า)

พระพุทธชินสีห์ แทน พระกุกะสันโธ ในวิหารด้านทิศเหนือ

พระอัฏฐารส แทน พระโกนาคม ในวิหารด้านทิศตะวันออก

พระศรีศาสดา แทน พระกัสสปะ ในวิหารด้านทิศใต้ (ปัจจุบันสถิต ณ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ)

และ พระพุทธชินราช แทน พระศากยมุนีซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาในปัจจุบัน อยู่ในทิศตะวันตก

ตัวมหาธาตุองค์ใหญ่เดิมมีรูปพรรณสัณฐานเป็นเจดีย์ทรงข้าวบิณฑ์ แบบศิลปะสุโขทัย แต่ได้ถูกปฏิสังขรณ์เป็นทรงปรางค์แบบขอมในสมัยอยุธยาต้น ซึ่งนิยมสร้างพระมหาธาตุเป็นทรงปรางค์ขอม และนำมาเป็นต้นแบบของพระมหาธาตุวัดจุฬามณี พิษณุโลก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

การเปลี่ยนรูปทรงของพระปรางค์ในทางการเมืองก็คือ ความหมายของการลดบทบาทและอำนาจของกรุงสุโขทัยในพื้นที่ดังกล่าวลง ทั้งนี้น่าจะเริ่มต้นตั้งแต่สมัยของพระราเมศวร กษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งกรุงศรี อยุธยาซึ่งต้องย้ายที่อยู่จากอยุธยาไปยังเมืองพิษณุโลก ตามเหตุผลทางการเมือง

การประดิษฐานวัดมหาธาตุขึ้นในยุคของสุโขทัยที่เข้าใจว่าเกิดจากการสถาปนาพิษณุโลกขึ้นในสมัยพระเจ้าลิไทยนั้น หมายความต่อไปว่าพิษณุโลกหรือเมืองสองแคว ต้องเป็นศูนย์กลางของชุมชนขนาดใหญ่ มีพลัง ทางเศรษฐกิจในฐานะศูนย์กลางการค้าที่น่าจะมั่งคั่งไม่น้อย จึงมีพลังพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ได้

การยืนยันความเป็นศูนย์กลางของชุมชนขนาดใหญ่ก็คือ การที่มีพระมหากษัตริย์ของอยุธยาไปตั้งมั่นอยู่ที่พิษณุโลก เช่น

พระราเมศวร ที่ขึ้นไปครองราชย์ที่พิษณุโลกก่อนกลับเข้ามาสู่อยุธยา

พระบรมไตรโลกนาถ ที่ต้องไปตั้งมั่นทางการทหารยันอำนาจพระเจ้าติโลกมหาราช แห่งเชียงใหม่

พระนเรศวรมหาราช ที่ว่ากันโดยความจริงประทับอยู่ที่พิษณุโลกเกือบตลอดรัชสมัยของพระองค์

พระมหาธรรมราชา พระบิดาของพระนเรศวรมหาราชนั้น ก่อนจะเข้ามาเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยานั้นก็ประทับอยู่ที่พิษณุโลก

และแม้สุดท้าย สมัยกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่านั้น เจ้าพระยาพิษณุโลกก็ยังทรงอำนาจตั้งตนเป็นใหญ่ ปกป้องชุมชนในภูมิภาคอยู่ที่พิษณุโลกนี้เอง

นั่นก็คือ การยืนยันทางสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นความสำคัญของชุมชนขนาดใหญ่และที่บอกความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ เจดีย์ทรงปรางค์ขอม ที่กำหนดไว้ในลักษณะของฐานานุรูปฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรมคือ

"พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ทรงปรางค์ได้"





วัดมหาธาตุเมืองสวางคบุรี

เมืองฝางหรือ สวางคบุรี หรือ อ.สวางคบุรี จ.อุตรดิตถ์ ศูนย์กลางอำนาจรัฐเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างกลางของมหาอำนาจอยุธยาและส่วนของเมืองที่อุดมสมบูรณ์ในราบลุ่มแม่น้ำน่าน เติบโตขึ้นมาจากศรัทธา ความเชื่อในศาสนา ในศรัทธาจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สมัยสุโขทัย พระมหาธาตุที่เชื่อว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า

พระมหาธาตุองค์นี้มีอายุยืนยาวและคงได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยอยุธยา ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบจากเจดีย์ทรงข้าวบิณฑ์เป็นทรงลังกา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรับสั่งให้มีการปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุเจดีย์วัดมหาธาตุในเมืองสวางคบุรี ซึ่งหักพังทรุดโทรมอย่างมาก

เมื่อรื้ออิฐเก่าจนถึงฐานพระเจดีย์ได้พบผอบทองเหลืองซึ่งบรรจุพระธาตุขนาดน้อยสีดอกพิกุลประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ จึงนำมายังกรุงเทพมหานคร ภายหลังได้จัดแบ่งพระธาตุบางส่วนไว้ที่กรุงเทพฯ บางส่วนได้บรรจุลงในกล่องทองคำ กล่องเงินและกะไหล่เงิน นำกลับไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทองเหลืองนำกลับไปบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เดิมจึงเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์เป็นทรงลังกา

ปัจจุบันพระมหาธาตุองค์นี้มีนามว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า เมืองฝางหรือสวางคบุรี เป็นชุมชนที่ก่อตัวขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และพัฒนาเจริญเติบโตตั้งแต่ยุคสุโขทัย เป็นเมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอำนาจรัฐสุโขทัย อโยธยา น่าน หลวงพระบาง และในที่สุดอยู่ระหว่างกลางระหว่างอำนาจรัฐอยุธยา และล้านช้าง

การสถาปนาเป็นเมืองเกิดขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ศิลาจารึกหลักที่ ๒ กล่าวว่า พระมหาเถร ศรีศรัทธา หลานพ่อขุนผาเมืองได้เคยมานมัสการพระมหาธาตุที่วัดพระฝาง ซึ่งหมายความว่าเมืองสวางคบุรีนี้น่าจะเจริญมาก่อนสุโขทัย

และการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองที่มีวัดพระมหาธาตุอยู่กลางเมืองย่อมหมายถึงการพัฒนาจากชุมชนชายขอบขึ้นมาเป็นเมืองสำคัญ เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐที่ดูแลปกป้องชุมชนของตน และทรงอำนาจสูงสุดเมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มลง

เมื่อเจ้าพระฝาง พระภิกษุนามพระพากุลเถระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี เป็นผู้นำชุมชนเมืองฝางได้นำกำลังเข้ามายึดเมืองพิษณุโลก และกวาดต้อนผู้คนและเสบียงอาหารกลับไปเมืองฝาง มีความเชื่อว่าเหตุที่เจ้าพระฝางได้ยกกำลังกลับไปเมืองฝางก็เพราะศรัทธาในพระมหาธาตุเจดีย์พระองค์นี้ หรือในอีกข้อสังเกตก็คือชุมชนเจ้าพระฝางคงมีเจตนาเพียงเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชุมชนตัวเองเท่านั้น

ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นขีดสูงสุดของเมืองฝางครั้งนี้กินเวลาประมาณ ๓ ปี กองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ปราบปรามชุมชนเจ้าพระฝางลง เจ้าพระฝางหายสาบสูญไป ชุมชนสลายตัว ผู้คนอพยพโยกย้ายออกไป เมืองก็ล่มลง ชุมชนใหม่ก็คือ เมืองบางโพธิท่าอิฐก็เจริญรุ่งเรืองและพัฒนาเป็นเมืองอุตรดิตถ์

สิ่งที่ยังคงอยู่ต่อมาจนปัจจุบันก็คือ วัดมหาธาตุหรือวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ วัดมหาธาตุเล็กๆ ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ เจริญขึ้น เสื่อมลง และกลับมาใหม่





วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี

การค้นพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรเก่าสุดในประเทศไทยที่ลพบุรี เป็นอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ที่มีขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒

ประกอบกับจารึกบนเสาแปดเหลี่ยม พบที่ศาลพระกาล ศ.ยอร์ช เชเดย์ กล่าวว่า มีอายุราวพุทธศตวรรรษที่ ๑๔ และ จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนที่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ประกอบกับศิลปกรรมที่พบในจังหวัดลพบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕

รวมทั้งการปรากฏของขบวนทหารจารึกว่าทหารจากลวยทปุระ ในปราสาทนครวัดสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ของอาณาจักรขอม และรวมทั้งมีเรื่องราวตำนานต่างๆ เช่น เรื่องของพระนางจามเทวี ที่ได้รับเชิญไปจากลพบุรีไปครองเมืองหริภุญชัย จึงน่ายืนยันได้ว่า ลพบุรีเป็นชุมชนใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ที่มีอิทธิพล อำนาจควบคุมอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง

ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีสร้างขึ้นในสมัยใด ในตำนานพงศาวดารเหนือ (ที่รวบรวมเรื่องราวของกษัตริย์ในพื้นที่ภาคกลาง พูดถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีว่า

พระยากาฬวราณดิษราชได้ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ไว้ประมาณ พ.ศ.๑๐๑๑ แล้ว อาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุของพระพุทธ เจ้าจากเมืองสวางคบุรีมาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองละโว้ ประมาณพุทธศตรวรรษที่ ๑๐๔๑ ซึ่งก็คงมีการบูรณปฏิสังขรณ์กันต่อมาอีกหลายครั้ง

องค์พระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน ลายปูนขึ้นหน้าบันพระปรางค์แสดงอิทธิพลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หรืออิทธิพลของศิลปะร่วมสมัยในพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ รูปแบบพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นเช่นเดียวกับพระปรางค์วัดมหาธาตุพิษณุโลก และพระปรางค์วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี และก็มีแผนผังตามคติจักรวาลทัศน์ทางพุทธศาสนาที่พระปรางค์เป็นดั่งศูนย์กลางของจักรวาลหรือพุทธเกษตรของฝ่ายมหายาน อันเป็นที่ที่พระพุทธเจ้ายังคงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวง



ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มิถุนายน 2561 15:47:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2561 15:21:57 »


             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร พระมหาเจดีย์หรือมหาธาตุเจดีย์ของนครเชียงใหม่ ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรล้านนา และเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล

ตามความเชื่อในเรื่องของจักรวาลทัศน์ เชื่อว่าบรรจุพระเกศาธาตุและธาตุของพระพุทธเจ้า ครั้นสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งสมณทูต ๘ รูป ภายใต้การนำพระโสณะและ พระอุตตะระ ที่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ ได้นำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เล็กๆ ที่สูงเพียง ๓ ศอก ซึ่งต่อมาก็คือบริเวณที่พระธาตุเจดีย์หลวงมาสร้างครอบทับไว้

พระเจดีย์หลวง (หรือน่าจะชื่อพระธาตุหลวง) สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ประมาณ พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๔๕ พระองค์เป็นโอรสของพญากือนา โปรดให้สร้างขึ้นขณะพระองค์มีพระชนมายุ ๓๙ ปี

เชื่อกันว่าในยุคสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมานั้น ผู้คนในอาณาจักรล้านนากำลังเปลี่ยนศรัทธาความเชื่อของศาสนาผี มาเป็นศาสนาพุทธ

การสถาปนาวัดเจดีย์หลวงมาจากตำนานที่กล่าวว่า พระเจ้าถือนาผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าแสนเมืองมาชิงสวรรคตไปนั้น ได้ไปเกิดเป็นอสุรกายรุกขเทวดารักษาต้นไม้นิโครธ (ต้นไทรใหญ่) ได้บอกแก่พ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายยังอาณาจักรพุกามว่า พระองค์นั้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ แต่ไปเกิดเป็นเทวดาไม่ได้ ให้พ่อค้าไปบอกแก่พระเจ้าแสนเมืองมาผู้เป็นบุตรให้สร้างมหาเจดีย์ที่สูงใหญ่ คนเห็นไกลตั้งแต่ ๒ พันวา

พระเจ้าแสนเมืองมาจึงได้สร้างเจดีย์ (ครอบเจดีย์พระธาตุเดิมไว้) แต่ไม่แล้วเสร็จ ท่านสวรรคตเสียก่อน พระมารดาของท่านจึงสร้างต่อสูงถึง ๙๒ ศอก หรือประมาณ ๔๕ เมตร กว้าง ๕๒ ศอก หรือ ๒๖ เมตร ใช้เวลาสร้างรวมเกือบ ๑๐ ปี โดยศรัทธาที่ปรารถนาพุทธภูมิ

พระเจดีย์หลวงวรวิหารนี้นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลแล้ว ยังมีคติความเชื่อในเรื่องของภูมิทัศน์ที่เรียกว่าทักษาเมือง กล่าวคือมีการสร้างวัดที่อยู่เป็นวัดบริวารโดยรอบอีก ๘ วัด ตามทักษาเมือง คือบริวารเมืองชื่อวัดสวนดอก อายุเมืองชื่อวัดเจดีย์ยอด, เดชเมืองคือวัด เชียงมัน, ศรีเมืองชื่อ วัดชัยศรีภูมิ, มูลเมืองชื่อวัดบุพพาราม, อุสาหเมืองชื่อวัดชัยมงคล มนตรีเมืองชื่อวัดนันทาราม และกาลกิณีเมืองคือวัดตโปทาราม โดยรอบ และมีการสร้างรูปเคารพอีกจำนวนมาก

พระเจดีย์หลวง เชียงใหม่ จึงมีสถานะเป็นวัดมหาธาตุประจำเมืองที่บ่งบอกถึงศูนย์กลางของอำนาจ ความมั่งคั่ง และความรุ่งเรือง




พระธาตุลำปางหลวง

วัดมหาธาตุลำปางหลวงปรากฏชื่อในปี พ.ศ.๑๘๔๕ เมื่อพญามังรายยึดเมืองเขลางค์นคร หรือนครลำปาง แล้วจัดให้มีการบำรุงปฏิสังขรณ์

เมืองลำปางหรือเมืองเขลางค์นครเป็นเมืองใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำวังที่มีขุนเขาโอบล้อม เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่น่าจะเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชุมชน ที่มีหลักฐานการ ตั้งถิ่นฐานของผู้คนยุคก่อนสมัยประวัติศาสตร์คือ กว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีตำนานการสร้างวัดมหาธาตุที่เชื่อว่าจะมีบรรจุพระเกศาและพระอัฐิธาตุจากพระนลาฏข้างขวาและพระศอด้านหน้าและด้านหลังของพระพุทธเจ้าไว้ในพระธาตุองค์นี้

(ในหนังสือท่องกรรมฐาน อาจารย์บุนนาคเล่าว่า เมื่อธุดงค์เข้าไปในพื้นที่ทุรกันดาร ผู้คนในพื้นที่นั้นจะเรียกพระธุดงค์ว่า พระเจ้า ฉะนั้นบางทีคำว่าพระพุทธเจ้าในตำนานนี้ อาจจะหมายถึงพระธุดงค์ที่เข้าใจและเรียกกันว่า พระเจ้า เลยกลายเป็นพระพุทธเจ้า)

การที่ลำปางเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมนำไปสู่การเป็นชุมชนใหญ่และเป็นเมืองใหญ่ต่อมา และในที่สุดก็มาเป็นเมืองยุทธศาสตร์ระหว่างล้านนากับสุโขทัย และเมื่อสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ลำปางจึงมาเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ และแน่นอนที่สุด เมืองสำคัญย่อมมีสิ่งก่อสร้างที่งดงามใหญ่โต

พระธาตุลำปางหลวง มีมาตั้งแต่พุทธศักราชที่ ๑๓ สมัยพระจามเทวี ที่ตำนานว่ากันว่าพระนางจามเทวีได้พบปาฏิหาริย์ขึ้นที่บริเวณเจดีย์หลวงองค์นี้ และพื้นที่ตั้งของวัดเจดีย์หลวงลำปางก็คือ หนึ่งในความเชื่อว่าเป็นเมืองลำปางเดิมที่ชื่อ "ลัมภะ กัปปนคร" เมืองที่สุพภามฤาษีและพรานเขลางค์สร้างให้พระเจ้าอนันตยศโอรสของพระนางจามเทวีที่บริเวณเกาะคาน

มีศิลาจารึก ๓ หลัก ที่กล่าวถึงการซ่อมแซมพระธาตุลำปางหลวงคือ พ.ศ.๑๙๙๒ พ.ศ.๒๐๑๙ พ.ศ.๒๐๓๙ พ.ศ.๒๑๔๕ และ พ.ศ.๒๑๙๒
ใน พ.ศ.๒๐๑๙ มีการสร้างพระวิหารที่งดงาม โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก และหลังจากนั้นในปี ๒๑๐๑ พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมายึดเชียงใหม่ได้ นครลำปางจึงตกไปอยู่ใต้อิทธิพลพม่าถึง ๒๐๐ ปี

อย่างไรก็ตามรูปแบบของวิหาร ๓ หลัง คือ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ วิหารน้ำแต้ม นักโบราณคดีก็ยกว่า เป็นต้นแบบและมีอายุเก่าแก่ที่สุดของศิลปล้านนา

วัดพระธาตุลำปางหลวงมีการซ่อมแซมบำรุงอยู่หลายครั้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ แผนผังแบบแปลนเป็นแผนผังแบบแปลนที่สะท้อนทัศนคติ ความ เชื่อ ในเรื่องจักรวาลทัศน์อย่างสมบูรณ์และงดงาม เหมือนยุคสุโขทัย อันสะท้อนให้เห็นว่าสังคมหรือเมืองที่มีอำนาจ พลังทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสยามประเทศย่อมต้องมีพระมหาธาตุเป็นเครื่องรองรับความเชื่อนี้




วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เมืองเชียงแสนหรือเวียงเชียงแสน ที่ราบลุ่มริมฝั่งโขง เป็นจุดรวมของการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในอดีตกาลหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ ตั้งบ้านแปงเมืองที่มีนามว่า สุวรรณโคมคำ หรือเชื่อกันว่าคือเมืองเชียงลาว ที่เคยเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่าลาว (คำว่าลาวแปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่)

ผู้ปกครองชุมชนในกลุ่มนี้จึงมักมีชื่อนำว่า ขุนลาว กันหลายต่อหลายท่าน

จากสุวรรณโคมคำมาเป็นนาคพันธุสิงหนวัตนคร โยนกนาคนคร (ปัจจุบันที่ตั้งคือ บริเวณทะเลสาบเชียงแสน ปรากฏในตำนานของสิงหนวัติ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ และล่มสลายลงจากแผ่นดินไหว และยุบตัวลงเป็นทะเลสาบเชียงแสนในปัจจุบัน

เมืองเชียงแสนได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ชื่อว่าเมืองเงินยาง หรือภาษาบาลีว่า หิรัญนคร หรือหิรัญนครเงินยาง และเมืองนี้ก็เป็นที่เกิดของพญามังราย ที่ขึ้นมามีอำนาจประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๒ ใช้อำนาจและฐานะทางกำลังคน ทุน ทรัพย์สิน ขยายอำนาจไปตลอดบริเวณนี้จนถึงเมืองลำปางเรียกว่า อาณาจักรล้านนาที่ร่วมสมัยกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง สถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่มีเจดีย์หลวงที่สูงที่สุดของเมืองเชียงแสนคือสูงถึง ๘๘ เมตร หรือ ๔๔ วา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๓๔ บ้างก็ว่าปี พ.ศ.๑๘๘๗ โดยหลานของพ่อขุนเม็งราย ชื่อ พระเจ้าแสนภู

คติและสัญลักษณ์ของวัดพระธาตุเจดีย์หลวงก็คือ จักรวาลทัศน์ที่มีพระเจดีย์หลวงหรือเจดีย์ใหญ่หรือเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีวิหารและพระธาตุเล็ก ๔ พระองค์โดยรอบวิหารคือ อนุทวีป ทั้งสี่ ส่วนเจดีย์องค์ย่อมคงหมายถึงสัตต บริเวณหรือเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

การก่อสร้างวัดพระธาตุเจดีย์หลวงเชียงแสน ก็คือ การประกาศความสำคัญของเมืองหรือความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของบริเวณกลุ่มเมืองโดยรอบ


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 สิงหาคม 2561 18:43:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2561 18:42:27 »


             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



วัดพระธาตุหริภุญชัย

เช่นเดียวกับความหมายของวัดมหาธาตุที่ปรากฏอยู่ในเมืองที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจรัฐ รุ่งเรืองทั้งเศรษฐกิจ สังคม และศิลปะ

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารปรากฏอยู่ในเมืองที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานของผู้คนแต่อดีตกาล มีตำนานกล่าวถึงการตั้งเมืองหริภุญชัย โดยฤๅษี ๒ ตน นามฤๅษีวาสุเทพและสุกกทันตฤๅษี (ปัจจุบันคงเทียบได้คือสถาปนิกนักผังเมือง) ที่นำชุมชนที่อยู่ในบริเวณนี้มาก่อนแล้วสร้างเป็นเมืองโดยเชิญกษัตริย์นามว่า พระนางเจ้าจามเทวีมาเป็นผู้ปกครองในปี พ.ศ.๑๒๐๖ ที่อยู่ในยุคประวัติศาสตร์ทวารวดี

ในสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์องค์ที่ ๓๒ ของราชวงศ์จามเทวี เป็นผู้สถาปนาวัดพระธาตุหริภุญชัยขึ้นประมาณปี พ.ศ.๑๖๙๐ ที่มีตำนานของการสร้างพระธาตุคือ รูปแบบของสงครามธรรมยุทธ (สร้างพระธาตุแข่งกัน) และในสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช นครหริภุญชัยได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดของศูนย์กลางอำนาจ พระเจ้าอาทิตยราชได้มีสงครามกับเมืองละโว้ (เมืองที่ส่งต้นตระกูลคือ พระนางจามเทวีไปเป็นปฐมกษัตริย์อยู่หลายครั้ง) และได้ชัยชนะทุกครั้ง

รูปแบบของพระธาตุหริภุญชัยในสมัยเริ่มแรกเป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท สูง ๑๕ วา หรือ ๓๐ เมตร มีซุ้มทางเข้าออกทะลุกันได้ ๔ ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ที่มีปราสาทสี่เหลี่ยมที่อยู่ตรงมุม พระธาตุเป็นอนุทวีปทั้ง ๔

ในสมัยของเหลนพระอาทิตยราช นามพระสัพพสิทธิ์ ได้ปฏิสังขรณ์และมีแท่นภายในสถูปเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระสถูปจึงกลายเป็นพระธาตุเจดีย์

มีการซ่อมแซม ดัดแปลง องค์พระธาตุโดยพญามังรายเมื่อพระองค์ขยายอำนาจเข้าครอบครองหริภุญชัย กล่าวคือดัดแปลงเจดีย์เป็นเจดีย์ฐานกลมทรงลังกาที่เรียกว่า ศิลปะแบบล้านนา ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ชนะย่อมต้องสถาปนาความยิ่งใหญ่และความคิดของตนไว้บนงานสถาปัตยกรรมของผู้แพ้

พระเจ้าติโลกราช ผู้ทรงอำนาจแห่งอาณาจักรล้านนามีอิทธิพลเหนือหริภุญชัย ได้สถาปนาความยิ่งใหญ่ด้วยการเสริมความสูงและความกว้างของพระธาตุหริภุญชัยเป็นสูงถึง ๒๓ วา หรือ ๔๖ เมตร และกว้างด้านละ ๑๓ วา หรือ ๒๖ เมตร ที่ปรากฏเป็นรูปทรงในปัจจุบัน

พ้นสมัยของพระเจ้าติโลกราช หริภุญชัยก็ลดฐานะและบทบาทของศูนย์กลางของอำนาจเศรษฐกิจ สังคม และศิลปะไป แต่ที่ยังยืนหยัดปรากฏความยิ่งใหญ่ของศูนย์กลางนี้ยังคงเป็น พระธาตุหริภุญชัย ที่งดงาม มั่นคง ต่อไป

หมายเหตุ คำแปลว่า หริภุญชัย น่าจะมีข้อสังเกตดังนี้

หริ เป็นชื่อของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ แปลความหมายว่าเป็นผู้ดูแลแห่งจักรวาล ภุญ แปลว่า ยิ่งใหญ่ หริภุญชัย น่าจะหมายถึง ดินแดนที่มีผู้ดูแลที่มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่

ความหมายอีกประการก็คือ มาจากตำนานที่เล่าขานกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ พื้นที่นี้ และทรงฉันและหมุนลูกสมอ ลูกสมอตรงกับคำว่า หริตะกะ คำว่าฉัน บาลีว่า ภุญชัยย รวมกันก็คือ หริภุญชัย

ในอีกความหมายหนึ่ง หริ รากศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ทอง หริภุญชัย แปลว่า บนกองทอง ตามตำนานที่ฤๅษีวาสุเทพและสุกกทันตฤๅษี ได้สถาปนาพระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์บนแผ่นทอง




วัดพระธาตุจอมทอง พะเยา

เมืองพะเยาหรือเวียงกามยาว เมืองที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสันยาว เป็นเมืองเก่าแก่ก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ หรือก่อน พ.ศ.๑๘๓๙

ตำนานเมืองพะเยากล่าวว่า ขุนศรีจอมธรรม บุตรชายขุนลาวเงิน ราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจกหรือลัวะจังคราช แห่งนครเงินยางเชียงแสน ได้นำกำลังผู้คนเดินทางจากนครเงินยางเชียงแสนมาถึงเมืองเชียงมัน (บ้านกว้างในปัจจุบัน) พบเมืองร้างมีชัยภูมิเหมาะสร้างบ้านแปงเมืองขึ้น จึงได้สร้างเมืองขึ้นเรียกเมืองนี้ว่า เมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นเมืองชุมชนที่เก่าแก่ มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าตามธรรมเนียมการตั้งเมืองในอดีต

โดยภูมิศาสตร์ของเมืองเป็นที่ราบระหว่างขุนเขา ขนานไปกับลำน้ำอิง มีกว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่อันดับหนึ่งของภาคเหนือ จึงมีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์

ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่ง ในสมัยของพญางำเมือง (กษัตริย์องค์ทรงที่ ๙ ร่วมสมัยและเป็นสหายร่วมสาบานกับพ่อขุนรามคำแหงและพญามังราย) พ.ศ.๑๘๐๑-๑๘๔๑ เป็นผู้อุปัฏฐากพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทองนั้นน่าจะหมายความว่าพระธาตุองค์นี้น่าจะได้สถาปนาขึ้นก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของราชวงศ์ลัวะจังคราชภายหลังการเข้ามามีอำนาจของอาณาจักรล้านนา รูปแบบของพระธาตุจึงปรากฏเป็นศิลปะล้านนา

เนื่องจากประวัติตำนานของพญางำเมือง เป็นผู้ไม่ชอบสงคราม ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา การอุปัฏฐากพระธาตุจอมทองจึงไม่น่าจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อประกาศการเป็นศูนย์อำนาจของพื้นที่ในบริเวณนี้ คงมุ่งหมายเป็นเพียงเพื่อแสดงความศรัทธาในพุทธศาสนานั้น และมีการบูรณะภายหลังอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในประมาณ พ.ศ.๒๔๐๐ เจ้าหลวงอินตะชมพู ที่เชื่อว่ายังคงคติของจักรวาลทัศน์ตามแบบของวัดมหาธาตุทั้งหลายที่ตั้งอยู่บนเนินสูง

เช่นเดียวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง ที่มีกว๊านพะเยาเป็นดังทะเลสีทันดร มีเจดีย์ศิลปะล้านนาเป็นศูนย์กลางจักรวาล มีวิหารอันใหญ่เป็นดังอนุทวีปอันเป็นที่อุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านามสมณโคดมมีวิหารโดยรอบเป็นดังกำแพงจักรวาล




วัดมหาธาตุ สิงห์บุรี

วัดมหาธาตุหรือวัดหน้าพระธาตุ สิงห์บุรี ห่างจากสี่แยกเข้าวัดพระนอนจักรศรีไปทางทิศตะวันตก บนถนนเล็กๆ ประมาณ ๕๐๐ เมตร พระปรางค์วัดมหาธาตุหรือวัดหน้าพระธาตุองค์ไม่ใหญ่นัก ปรากฏอยู่บนเนินเตี้ยๆ ที่มีซากของวิหารองค์เล็ก อยู่ด้านหน้าทิศตะวันออก มีซากฐานเจดีย์อยู่ประมาณ ๔ องค์

คติของการสร้างเจดีย์ทรงพระปรางค์ที่ผู้สร้างต้องมีบุญญาภินิหารที่เป็นกษัตริย์หรือผู้นำสูงสุดของชุมชนสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลในคติจักรวาลทัศน์พระวิหารด้านหน้าที่อุปมาเป็นดังอนุทวีปที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวง เนินที่ตั้งเป็นดังฐานโดยรอบเขาพระสุเมรุเป็นคติของนิพพานนี้ นอกเนินเขาก็คือทะเลสีทันดร

การปรากฏของวัดมหาธาตุหรือปัจจุบันเรียกว่า วัดหน้าพระธาตุ รูปแบบพระปรางค์เตี้ยเป็นรูปแบบของพระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น อันเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งหมดคติทางโลกก็คือศูนย์กลางแห่งอำนาจ

สิงห์บุรีเป็นเมืองที่มีมาแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง อ.อินทร์บุรี มีการค้นพบเหรียญเงินที่มีจารึกสมัยทวารวดีและยังซากเมืองโบราณปรากฏอยู่ในบริเวณเมืองสิงห์บุรี

สิงห์บุรีปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ก็คือ ที่สำคัญคือเมืองลูกหลวงในสมัยพระรามาธิบดี ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในวิกิพีเดีย ก็เป็นเรื่องราวที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าเรื่องเมืองสิงห์ถวายแก่กรมพระยานริสรานุวัดติวงศ์ ว่าสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีวัด วัง วัดมหาธาตุ

สิงห์บุรีเมืองใหญ่ ที่ไม่ปรากฏเรื่องราวผู้คน การครอบครอง การควบคุม อาณาบริเวณใดๆ ไม่ปรากฏความยิ่งใหญ่ของสิงห์บุรี แต่ปรากฏเฉพาะหลักฐานทางสถาปัตยกรรมใหญ่ เช่น พระนอนจักรี ที่มีพระปรางค์ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน หรือเมืองสิงห์บุรีเดิม ก่ออิฐขนาดใหญ่ ใกล้กันก็คือ เตาเผาขนาดใหญ่ถึง ๓ เตา ที่คาดว่ามีมาก่อนสมัยอยุธยา อันบ่งบอกถึงความสำคัญ ของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ที่หมายถึงการตั้ง และอยู่ของชุมชนขนาดใหญ่  




วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

วัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏประวัติผู้สร้าง แต่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว พร้อมกับวัดเก่าแก่อีกหลายวัด เช่น วัดพระรูป วัดแค

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ประกอบด้วยพระปรางค์ก่ออิฐฐานเตี้ย รูปแบบศิลปะอยุธยาสมัยต้น (คล้ายกับวัดพระธาตุหรือวัดหน้าพระธาตุ สิงห์บุรี ที่ผ่านมา) รูปแบบ แบบแปลนของวัด เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศที่มีพระปรางค์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์คือเขาพระสุเมรุที่เป็นที่ตั้งของสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น พระอุโบสถ และวิหารน้อยเป็นดั่ง อนุทวีปที่รายล้อมศูนย์กลางแห่งจักรวาล

ด้วยความที่สุพรรณบุรีเป็นชุมชนเก่าที่เชื่อกันว่ามีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคสมัยทวารวดี ประวัติศาสตร์ของสุพรรณบุรีจึงมีเรืองราวมากมาย เช่น ตำนานกล่าวว่าพระเจ้าไชยสิริ กษัตริย์แคว้นโยนกเชียงแสน ผู้ครอบครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) อพยพแยกย้ายผู้คนมาตั้งบ้านเรือนกันในพื้นที่ดินแดนตอนกลางของประเทศ (ข้อสังเกตก็คือ ผู้ปกครองในดินแดนตอนเหนือเรียกว่า พญา ไม่เรียกว่า พระเจ้า) หรือตำนานว่าพระยาพาน สร้างเมืองชื่อพันธุมบุรีที่ด้านตะวันตกริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๒๕

หรือบางตำนานกล่าวถึงการเสื่อมสลายของอำนาจกษัตริย์ หลังสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ที่ทำให้ชุมชนชาวขอมขยายตัวเข้ามายังทิศตะวันตกของเมืองพระนคร กระจายไปอยู่ตั้งแต่ลพบุรีถึงสุพรรณบุรี

อย่างไรก็ตาม สุพรรณบุรีต้องเป็นเมืองใหญ่ที่ทรงอำนาจ และมีอำนาจเข้าควบคุม ครอบครอง ราชธานีกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ขุนหลวงพะงั่ว (งั่ว แปลว่า ห้า) และมีกษัตริย์สืบทอดราชวงศ์สุพรรณบุรีมาอีกถึง ๑๓ พระองค์

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุก็คือการยืนยันในฐานะของเมืองหรือศูนย์กลางของอำนาจ เศรษฐกิจ สังคม ส่วนภาคกลางของประเทศ




วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี

ชื่อทางวิชาการ วัดมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏผู้สถาปนาพระปรางค์ของวัดนี้ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า วัดมหาธาตุก็คือสัญลักษณ์ของศูนย์อำนาจอันสำคัญของท้องถิ่น เป็นที่น่าสังเกตคือ วัดมหาธาตุราชบุรีคงไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์อำนาจทาง การเมือง หากจะเป็นก็คงเป็นศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ

ราชบุรีเป็นเมืองเก่า ที่พบการอยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมืองเก่าแก่เมืองแรกที่ปรากฏขึ้นใน ดินแดนราชบุรี ชื่อเรียกปัจจุบันคือเมือง คูบัว กำแพงเมืองสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๘๐๐ เมตร ยาว ๒,๐๐๐ เมตร มีคูน้ำ คันดินโดยรอบ ในยุคสมัยที่เรียกว่า ทวารวดี ประมาณศตวรรษที่ ๑๓ ในฐานะศูนย์กลางเมืองท่าสำคัญของ ลุ่มน้ำแม่กลอง สันนิษฐานว่าการเปลี่ยนและตื้นเขินของแม่น้ำอ้อมที่ผ่านตัวเมือง ศูนย์กลางเมืองจึงขยายตัวไปทางใต้ไปประมาณ ๕ กิโล

เมืองราชบุรีไม่มีบันทึกเรื่องราวพงศาวดาร มีแต่ประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายผู้คนเข้าอยู่อาศัยในฐานะของการทำมาหากินกันตามปกติ

เมืองราชบุรีปรากฏชื่อในจารึก พระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณ พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒ ชื่อว่าชัยราชบุรี (และปรากฏชื่ออีกในจารึกหลักสุโขทัยหลักที่ ๑) แบบแปลนแผนผังของวัดมหาธาตุจึงมีอิทธิพลของแผนผังศาสนสถานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (คล้ายกับวัดกำแพงแลง เพชรบุรี)

แผนผังวัดมหาธาตุ ราชบุรี ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและพระปรางค์บริวาร ๓ องค์ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ทิศตะวันออกมีวิหารหลวง อยู่ด้านหน้าแทนคติ-สัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์

รูปแบบพระปรางค์เป็นเจดีย์ก่ออิฐฐานเตี้ย เป็นรูปแบบของอยุธยาตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ครอบทับพระปรางค์เดิมภายในพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่บนฐานเดิม ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายปางมารวิชัย ๒ องค์ หันหลังชนกันแบบอยุธยาตอนต้น วิหารคดโดยรอบประดิษฐานพระพุทธรูปหลายยุคหลายสมัย อันแสดงถึงศรัทธาการต่อเนื่องกันมา

แม้ภายหลังวัดมหาธาตุจะเป็นวัดร้างอยู่สมัยสั้นๆ ที่กลับมารุ่งเรืองในภายหลังนับแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมาจนปัจจุบัน




วัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี

เพชรบุรีเป็นเมืองเก่าที่ไม่เคยถูกครอบครองหรือถูกทำลายเปลี่ยนแปลง หรือโยกย้ายศูนย์กลางเมือง นับแต่ตำนานของเมืองที่เชื่อว่าเมืองนี้เกิดขึ้นในสมัยทวารวดีหรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ รุ่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองใกล้เคียงคือราชบุรี

สิ่งที่แตกต่างจากเมืองราชบุรีก็คือ การมีประวัติพงศาวดารของรายชื่อผู้ปกครองเมืองในฐานะของเจ้านครวัดนาม พระเจ้าอู่ทอง ร่วมสมัยกับสมัยสุโขทัย

 เขตเมืองเก่าของเพชรบุรีเป็นเมืองเล็กที่มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่าน

ด้วยสภาพของที่ตั้งเมืองหรือชัยภูมิที่ติดลำน้ำใหญ่และความอุดมสมบูรณ์ และในฐานะของศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญ สัญลักษณ์ของความสำคัญก็คือ วัดมหาธาตุที่เป็นศูนย์กลางของนครรัฐจึงเกิดขึ้น

 พระมหาธาตุ เพชรบุรี ศูนย์กลางของเมืองหรือในคติก็คือ ศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ พระปรางค์ที่มีโครงสร้างเป็นศิลาแลง ๕ ยอด องค์ประธานสูงถึง ๕๕ เมตร รอบบริเวณ ๑๒๐ เมตร (ที่น่าจะมีคติของการสถาปนาพระปรางค์ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) เจดีย์ทิศ ก็คือสัญลักษณ์ของอนุทวีปทั้ง ๔ ระเบียงคด คือ เขาสัตตบรรณ ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

 จากการที่เมืองเพชรมิได้เคยถูกบุกรุก ยึดครอง และทำลาย หรือโยกย้ายเมือง (มีเพียงในสมัยของพระนเรศวรมหาราชของอยุธยาเท่านั้นที่พระยาจีนจันตุของเขมรเข้ายึดครองเป็นฐานส่งกำลังบำรุงในการรุกอยุธยาอยู่ชั่วขณะเท่านั้น) พระมหาธาตุองค์นี้จึงมีการบูรณะต่อเติมกันมาโดยมิได้ขาดสาย และบรรดาศิลปิน สถาปนิก ผู้มีส่วนในการต่อเติม ก็เป็นระดับของฝีมือชั้นยอด

ความยิ่งใหญ่ของพระมหาธาตุองค์นี้จึงคงความมีชีวิต มีรูปแบบที่ยังคงเป็นศรีสง่าแก่จังหวัด และแก่สถาปัตยกรรมไทยจนทุกวันนี้


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 สิงหาคม 2561 18:44:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 11 กันยายน 2561 17:29:02 »

             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



วัดมหาธาตุ ของกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงเทพฯ มี วัดชื่อวัดพระศรีมหาธาตุ ๒ วัด คือ วัดที่ชื่อ วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร ในปี พ.ศ.๒๓๔๖ หรือ ชื่อในปัจจุบัน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กับ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๕

ความพ้องกันของชื่อวัดทั้งสองวัดก็คือ มิได้ใช้แผนผัง คติสัญลักษณ์ที่เป็นรูปแบบของคำว่า มหาธาตุ ตามรูปแบบที่ปรากฏมาในอดีต

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์นั้น เดิมชื่อวัดสลัก มีมาก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้น วัดสลักอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังของกรมพระราชวังบวร จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดนิพานาราม

ภายหลังการทำสังคายนาพระพุทธศาสนาในปี ๒๓๑๑ ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพชร และในปี ๒๓๔๖ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร

จากนั้นได้เปลี่ยนนามอีกครั้งว่า วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี ๒๔๓๙

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์์ไม่มีมหาเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลทัศน์ แต่ปรากฏพระปรางค์ขนาดย่อม ๒ องค์ ริมวิหารคดที่ล้อมพระอุโบสถและวิหารหลังใหญ่ ซึ่งไม่อาจจะนับได้ว่าได้ก่อสร้างวัดนี้เพื่อเป็นวัดพระมหาธาตุที่แสดงถึงศูนย์กลางของอำนาจและเศรษฐกิจอย่างเช่นวัดในอดีต





วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

จากการจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ พัฒนามาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ที่สร้างขึ้นในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างขึ้นในบริเวณที่มีการสู้รบกันระหว่างฝ่ายคณะราษฎร และฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการเปลี่ยนการปกครองประเทศมาเป็นประชาธิปไตยและตั้งใจจะให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย

วัดนี้จึงมิใช่สัญลักษณ์ของคำว่าวัดมหาธาตุที่คติและสัญลักษณ์ของศูนย์กลางอำนาจ ศูนย์กลางของชุมชนใหญ่อย่างวัดทั้งหลายในอดีต

เหตุที่ใช้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาธาตุก็เนื่องจากขณะกำลังก่อสร้างนั้น พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์อดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งของประเทศไทย ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ณ มหาสถูป ธรรมราษิกะ (ความจริงต้องเรียกว่า มหาเจดีย์ธรรมราชิกะ) ที่อินเดียและได้รับมอบกิ่ง พระศรีมหาโพธิ์ ๕ กิ่ง พร้อมดินจากสังเวชนียสถานจากที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน มาไว้ที่วัดนี้

โดยที่ผู้สร้างมิใช่พระมหากษัตริย์ เจดีย์ที่สถาปนาขึ้นจึงเป็นทรงระฆังคว่ำที่ออกแบบโดยพระพรหมพิจิตร สถาปนิกไทยที่เป็นที่เคารพนับถือในความรู้ความสามารถและเป็นครูอาจารย์ที่สอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ด้วยความที่วัตถุประสงค์เดิมมิได้มีความประสงค์ที่จะให้เป็นวัดมหาธาตุ แต่จะให้เป็นที่ระลึกถึงความเป็นประชาธิปไตย ผังบริเวณและแบบแปลนของวัดจึงปรับเปลี่ยนที่จะไม่เป็นรูปแบบคติของวัดมหาธาตุเดิม พระมหาเจดีย์จะอยู่กึ่งกลางของผังบริเวณด้านหน้า ของพระวิหารหรืออุโบสถ แต่กลับตั้งอยู่ด้านหน้าของกลุ่มอาคาร

พระมหาเจดีย์นั้นมิใช่แกนของจักรวาลทัศน์ โดยมีจุดมุ่งหมายของแกนของการปกครองแบบประชาธิปไตย พระมหาเจดีย์ไม่มีบัลลังก์หรือหัมมิกะที่มีรูปเป็นฐานระหว่างองค์ระฆังกับปล้องไฉน อันเป็นเครื่องหมายเชื่อมกันระหว่างโลกกับสวรรค์ทั้ง ๖

ปล้องไฉน ๖ ชั้น ก็มิได้มีความหมาย ของสวรรค์ชั้นกามาพจรสุข หากแต่เป็นสัญลักษณ์ซ้อนที่หมายถึงหลัก ๖ ประการ ของคณะราษฎร ที่จะทำให้ประชาชนได้รับความสุขความเจริญเท่าเทียมกัน

ตัวมหาเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์ ๒ ชั้น ที่ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ภายนอกบรรจุอัฐิของบุคคลในคณะราษฎรทั้งหมด ๑๑๒ ท่าน ตัวพระอุโบสถอยู่หลังพระมหาเจดีย์ที่กลับนำสัญลักษณ์ของอนุทวีปมาใช้ ซึ่งน่าจะหมายถึงคติที่แสดงว่า "สังคมประชาธิปไตยนั้นเกี่ยวเนื่องต่อจากสังคมอดีต"

กรุงเทพมหานครยังไม่มีวัดมหาธาตุตามคติไทยแต่โบราณ





คติใหม่ วัดมหาธาตุ

หลายตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงคติสัญลักษณ์ของวัดมหาธาตุ ที่เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์อำนาจทั้งทางการปกครอง เศรษฐกิจ หรือความยิ่งใหญ่ของเมือง ของชุมชนในอดีตสังคมในสุวรรณภูมิของไทย ศูนย์กลางของวัดมหาธาตุคือรูปแบบของสถูป เจดีย์ใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ และเชื่อว่าได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ด้วย

แต่ในดินแดนสุวรรณภูมิของไทย สถูป เจดีย์ บางองค์ บางแห่ง ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความปรองดอง ความสงบ บางแห่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น

สัปดาห์ก่อน ยกตัวอย่างของวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งในวัตถุประสงค์ที่ซ่อนอยู่นั้น ผู้คิดสถาปนาวัดนี้มิได้หวังให้เป็นวัดพระศรีมหาธาตุในคติและสัญลักษณ์เดิม แต่หากมุ่งหวังเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของการเมืองในประเทศที่เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ได้ปรับรูปแบบผังบริเวณให้คล้ายกับคติในการสร้างวัดมหาธาตุเดิม โดยปรับสับที่ตั้งของเจดีย์และโบสถ์วิหารให้แตกต่างจากคติเดิม และแปรเปลี่ยนความหมายขององค์ประกอบ เช่น ปล้องไฉน ปล้องบนยอดเจดีย์จากเดิมที่หมายถึงสวรรค์ ๖ ชั้น ซ้อนทับ หมายถึงเจตนารมณ์ ๖ ประการของคณะราษฎร เป็นต้น และยังใช้ตัวเจดีย์เป็นที่เก็บอัฐิของคณะผู้ก่อการ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคณะผู้ก่อการอีกด้วย และมีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในเจดีย์ย่อมที่ซ่อนอยู่ในเจดีย์ใหญ่

ในลำดับต่อไป จะยกตัวอย่างสถูป เจดีย์ ที่เป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์หรือเรื่อง อื่นๆ มาขยายความ





วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

รูปแบบของวัดมหาธาตุ วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นรูปแบบที่มีคติหรือสัญลักษณ์ ของจักรวาลทัศน์ หรือโลกทัศน์ในความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยมีเจดีย์ขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของวัด เป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ มีพระอุโบสถ พระวิหารอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของเจดีย์เป็นเสมือนอนุทวีป มีฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความสำคัญทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจทางการเมือง ของพื้นที่นั้นๆ

แต่ก็มีวัดบางวัดในเมืองในท้องที่หรือชุมชนหลายแห่งที่รูปแบบคติและสัญลักษณ์เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ แต่มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ

วัดต่างๆ เหล่านั้น มีจุดมุ่งหมายแสดงถึงความสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลา เช่น เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะใน การรบ การขึ้นมามีอำนาจของผู้ใดผู้หนึ่ง ฐานะของการให้อภัย ฐานะของการไถ่บาป ฐานะหรือเครื่องหมายของการปรองดองสมานฉันท์ หรือมิตรไมตรี

ภาพเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา (น่าจะเรียกว่าสถูป) เจดีย์ที่เชื่อกันว่าสร้างเพื่อแสดงถึงชัยชนะครั้งสำคัญของการรบหรือสงครามระหว่างพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี (น่าจะกรุงอังวะมากกว่า)

วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นวัดเก่าที่มีอายุเริ่มต้นเท่ากับกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารหลายฉบับ เล่าว่า พระเจ้าอู่ทองให้ขุดศพเจ้าแก้ว เจ้าไท ตัวประกันของขอมละโว้ ซึ่งเป็นโรคห่าทิวงคต ขึ้นมาเผา และให้สร้างวัดครอบไว้บริเวณนั้น คำว่าเจ้าไทในความหมายเดิมเป็นชื่อเรียกพระผู้ใหญ่ เจ้าแก้ว เจ้าไท น่าจะหมายถึงตัวประกันที่บวชเป็นพระ และจำพรรษาอยู่ขณะนั้น ให้ชื่อวัดนั้นว่า วัดป่าแก้ว (ในแผนผังของหนังสือ "อยุธยามาจากไหน" วัดป่าแก้วอยู่ในบริเวณอำนาจขอมละโว้เรียกดินแดนนี้ว่า อโยธยาศรีรามเทพ)

การสงครามยุทธหัตถีมีเรื่องราวที่พระวันรัต สังฆราชฝ่ายขวา ได้ขอให้พระนเรศวรมหาราชสร้างเจดีย์องค์ใหญ่เพื่อระลึกถึงชัยชนะในสงครามครั้งนั้น แทนการประหารชีวิตแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จเข้าไปรบกับพระมหาอุปราชาไม่ทัน (พงศาวดารพม่ากล่าวว่า การรบในสงครามยุทธหัตถี เกิดขึ้นที่ชานกรุงศรีอยุธยา) และเรียกชื่อว่า วัดใหญ่ชัยมงคล ประกอบกับขุดพบพระพุทธรูปที่กลางพระอุโบสถชื่อ พระชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคลจึงมีสถานะหรือเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพระนเรศวร มิได้เหมือนวัดมหาธาตุตามคติและสัญลักษณ์

หมายเหตุ : สำหรับหลุมลึกกลางองค์เจดีย์นั้น มิใช่ให้ผู้คนโยนทรัพย์สินบริจาคหรือบูชาพระเจดีย์ตามแบบของพม่า แต่เป็นเทคนิคการก่อสร้างของสถาปัตยกรรมทรงโดมหรือทรงเจดีย์ที่กระจายน้ำหนักขององค์เจดีย์ไปโดยรอบ ไม่ให้น้ำหนักขององค์เจดีย์ทั้งหมดพุ่งลงศูนย์กลางของเจดีย์ ภายหลังโพรงแบบนี้ในเจดีย์อื่นมีการใช้เป็นที่บรรจุพระเครื่องรางของขลังกันขึ้น 





พระธาตุพนม

พระธาตุขนาดใหญ่ของจังหวัดนครพนม มีรูปแบบหรือคติของจักรวาลทัศน์ อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง แต่มิได้เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และชุมชน หากแต่เป็นมหาเจดีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาในบุคคล

ตำนานคือเป็นเรื่องเล่ากัน พระธาตุพนมนั้น ว่ากันว่าพระธาตุพนมมีมาแต่สมัยหลังพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ (มีการขุดพบธรรมจักรที่มีจารึกธัมมจักรกัปวัตนสูตรเช่นเดียวกับรูปเสมาธรรมจักรที่นครปฐม ท่านมหากัสสปะได้นำเอาพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) มายังดินแดนแห่งนี้ และมีพระเจ้าแผ่นดินในระดับผู้ครอบครองรัฐ ๕ พระองค์ มาช่วยกันสร้างพระเจดีย์ครอบพระอุรังคธาตุไว้

พระธาตุพนมตามรูปนี้เข้าใจว่าเป็นรูปแบบที่ปฏิสังขรณ์พระธาตุนี้โดยพระครูยาหอมหรือพระครูยอดแก้วโพนาสัตหรือ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ผู้เป็นพระสงฆ์ที่ชนชาวไทย ลาว ทั้งสองฝั่งให้ความเคารพนับถือ

พระครูโพนสะเม็กมีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๗๓-๒๒๖๓ หรือมีพรรษาอยู่ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปี ๒๒๙๓ จนมรณภาพเมื่ออายุได้ ๙๐ ปี

การเข้าไปบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม มาจากการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรลาวจากเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๒๓๓ จากความขัดแย้งในการช่วงชิงอำนาจในนครเวียงจันทน์ การเลือกช้างและช่วยเหลือนางสุมังคลา (พระธิดาของเจ้าสุริยวงศา เจ้าเมืองเวียงจันทน์ในปี ๒๒๓๓ ที่ทำให้พระครูโพนสะเม็กพาผู้คน ๓,๐๐๐ คน เคลื่อนย้ายออกจากเมืองเวียงจันทน์ลงสู่ภาคใต้ของลาว เลยไปถึงบางส่วนของดินแดนกัมพูชา และในที่สุดก็ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจนถึงเมืองหนองคาย การเคลื่อนย้ายผู้คนเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดชุมชนอีกมากมายที่บางส่วนไม่ได้เคลื่อนย้ายตามพระครูโพนสะเม็กขึ้นไปตามลำดับและการเคลื่อนย้ายได้ก่อให้เกิดการก่อตั้งอาณาจักรจำปาศักดิ์ขึ้น

ณ ที่จุดสุดท้ายของการเคลื่อนย้ายคือเมืองมรุกนคร หรือนครพนมในปัจจุบัน และขณะที่พระครูโพนสะเม็กได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์หนึ่งครอบทับพระธาตุเดิม ที่คนในชั้นหลังต่อมาเรียกว่า พระธาตุพนม

พระธาตุพนมองค์นี้ได้มีการเสริมสร้างความยิ่งใหญ่และงดงามตลอดมา แม้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระธาตุพนมได้ล้มลง และจัดสร้างขึ้นใหม่ในปี ๒๕๒๒พระธาตุพนมจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธาของผู้คนในแถบนั้น และศรัทธานั้นได้ทำให้เกิดความสงบขึ้นในดินแดนที่ขัดแย้งและช่วงชิงอำนาจกัน



ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 10 มกราคม 2562 16:07:24 »

            
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



วัดพระธาตุศรีสองรัก

วัดพระธาตุศรีสองรัก เป็นวัดที่มีเฉพาะพุทธาวาส หรือไม่ปรากฏเขตสังฆาวาส เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นที่เรียกว่า อุเทสิกเจดีย์ (เพื่อระลึกถึงพระพุทธศาสนา โดยเชื่อว่ามิได้สร้างขึ้นเพื่อเก็บวัตถุธาตุที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า)

สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของสองกษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์ในปัจจุบัน) เป็นพระธาตุที่สถาปนา เพื่อแสดงความปรองดองและสมานฉันท์ของราชอาณาจักรทั้งสองที่จะไม่เป็นศัตรูกัน และร่วมมือกันเพื่อต่อต้านอิทธิพลของอาณาจักรพม่า กษัตริย์ทั้งสองพระองค์คือ พระเจ้าจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าไชยเชษฐ์แห่งกรุงเวียงจันทน์ สถาปนาพระธาตุนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๐๓-๒๑๐๖

บางตำนานกล่าวว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ให้มหาอุปราชและเสนามาตย์ตลอดจน พระสงฆ์ผู้ใหญ่ทั้งสองแผ่นดินมาเป็นผู้ทำ สัตยาบันในครั้งนั้น

พระธาตุศรีสองรัก สร้างขึ้นตรงกลางระหว่างเมืองน่านและเมืองเวียงจันทน์ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของภูมิประเทศนี้โดยเฉพาะ ดูเสมือนว่าไม่เคยมีการปฏิสังขรณ์เปลี่ยนรูปแบบขององค์พระธาตุ

เป็นคติทางจักรวาล ทัศน์ที่เชื่อว่าโลกมีสัณฐานเป็นเขาพระสุเมรุ ๔ ด้าน มีชั้นปล้องไฉนแทนสวรรค์และชั้นพรหม

ตัวพระธาตุสูง ๑๙.๑๙ เมตร หรือประมาณ ๘ วา ฐานกว้าง ๑๐.๘๙ เมตร หรือ ๕ วา ทาสีขาวทั้งองค์ ตั้งอยู่บนฐาน ๓ ชั้น อันเป็นแนวคิดของภพภูมิทั้งสาม (คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ อันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลก)

ด้วยเหตุที่เป็นพระธาตุแห่งความปรองดองสมานฉันท์ทาด้วยสีขาว หมายถึงความจริงใจต่อกัน ดังนั้นจึงมีธรรมเนียมที่จะไม่นำสิ่งของหรือวัตถุอุปกรณ์ใดๆ ที่เป็นสีแดงเข้ามาในพระธาตุองค์นี้  





พระปฐมเจดีย์ นครปฐม

มหาเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดของประเทศไทย แต่มิใช่คติสัญลักษณ์ของวัดมหาธาตุ แม้รูปแบบ แผนผัง แบบแปลน จำลองคติ จักรวาลทัศน์ ที่มีมหาเจดีย์องค์ใหญ่เป็นประธาน มีพระอุโบสถและวิหารประจำทั้งสี่ทิศ ในคติและสัญลักษณ์ของอนุทวีปทั้งสี่และล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วหรือกำแพงจักรวาล

องค์พระปฐมเจดีย์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเป็นเจดีย์ทรงลังกาศิลปะสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อครอบเจดีย์ทรงปรางค์ รูปแบบเช่นเดียวกับเจดีย์วัดพระประโทน ซึ่งอยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบันประมาณ ๔ กิโลเมตรที่สร้างครอบเจดีย์ทรงสถูปอีกชิ้นหนึ่ง

เชื่อว่าสร้างเมื่อพระเจ้าอโศกส่งสมณทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ซึ่งในข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าพระเจ้าอโศก ซึ่งอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๓ มีการส่งสมณทูตมายังดินแดนแห่งนี้แต่ประการใด

ในอีกตำนานพื้นบ้าน เป็นเรื่องของ พญากงผู้พ่อถูกพญาพานผู้ลูกทำปิตุฆาตโดยไม่รู้ว่าพญากงนั้นเป็นพ่อ และเมื่อรู้ความจริงก็โกรธและฆ่ายายหอมผู้เอาไปเลี้ยงดู ฐานไม่บอกความจริง ภายหลังสำนึกผิดจึงสร้างเจดีย์สูงเท่านกเขาเหินเพื่อไถ่บาป

เจดีย์พระปฐมองค์แรกๆ จึงมีฐานะเป็นวัตถุทางศาสนา มีสถานะเป็นเจดีย์เพื่อไถ่บาป





เจดีย์ภูเขาทอง อยุธยา

เจดีย์ภูเขาทอง ขาวสะอาด สูงเด่นของเจดีย์ภูเขาทอง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบ้านป้อม (เจ้าพระยา) ตำบลภูเขาทอง นอกเกาะเมือง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (น่าจะเรียกเป็นสถูป) เพราะมิได้มีบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น พระธาตุหรือเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น เป็นบริโภคเจดีย์หรือเป็นธรรมเจดีย์

ประวัติการสร้างที่ค้นพบหลักฐานในการบูรณะครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ ก็คือ การพบฐานรากเดิมและฐานรากที่มีการก่อสร้างกันถึง ๔ ครั้ง

ครั้งแรกเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระราเมศวร กษัตริย์องค์ ที่ ๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่า ถ้าเป็นสถูปและเจดีย์ในสมัยต้นอยุธยาที่พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างน่าจะเป็นรูปทรงที่เรียกว่า ปรางค์ หรือว่าในสมัยของพระราเมศวร ท่านสร้างแต่ส่วนของโบสถ์วิหาร และยังมิได้สร้างองค์ปรางค์ขึ้น

ในการสร้างหรือบูรณะครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิโดยมหาราชของกษัตริย์พม่า พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา หรือพระเจ้าบะยิ่น เหน่าง์จ่อถิ่นหน่อยะถ่า หรือผู้ชนะสิบทิศที่คนไทยรู้จักกันถ้วนหน้า เป็นสัญลักษณ์ของการครอบครองการมีอำนาจในฐานะของลัทธิจักรพรรดิราชาผู้ครอบครองทวีปทั้งสี่ผู้เป็นราชาเหนือราชา เนื่องจากพระองค์เป็นผู้มีชัยเหนือกรุงศรีอยุธยา

รูปแบบของสถูปหรือเจดีย์ภูเขาทองนี้เป็นมหาเจดีย์หอพีระมิด สัณฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ฐานย่อชั้น ประทักษิณขึ้นไปและมีองค์เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำครึ่งวงกลมที่ยังมีเจดีย์รูปทรงนี้ทั่วไปในพม่า

การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชผู้ปลดปล่อยอยุธยาจากพม่าได้จึงมีการบูรณะปรับเปลี่ยนเป็นรูปพระเจดีย์ย่อมุมสิบสอง โดยมีเอกสารทางประวัติศาสตร์เป็นรูปภาพลายเส้นของหมอแกมเฟอร์ ผู้เข้ามาในอยุธยาในสมัยพระเพทราชา

การบูรณะเปลี่ยนรูปของสถูปหรือเจดีย์ของ พระนเรศวรวรราชาธิราชในความหมายก็คือ การประกาศความเป็นจักรพรรดิของพระราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาแทนพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า

การบูรณะครั้งที่ ๓ เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกษัตริย์ปลายสมัยอยุธยาที่ปราบดาภิเษกมาจากการชิงราชสมบัติกับเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมษฎที่เป็นสงครามภายในกันอยู่เป็นเวลา ๑ ปี เข้าใจว่าการบูรณะครั้งนี้ไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมแต่อย่างไร

ในการบูรณะครั้งที่ ๔ เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการซ่อมแซมรอยร้าว

ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.๒๕๔๑ เนื่องจากฐานของเจดีย์ทรุด เอียงลง ทำให้ต้องบูรณะให้โครงสร้างฐานรากของเจดีย์มีความมั่นคงแข็งแรง โดย ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย แห่งสถาบัน AIT

(สถูป) เจดีย์ภูเขาทองจึงยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นจักรพรรดิราชของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าบุเรงนองและพระนเรศวรวรราชาธิราช





วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๙๖๗ โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณบุรี สร้างพระสถูปนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้กับพี่ชายทั้งสองคือ เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาที่เข้ารบกันเพื่อแย่งชิงการขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา และสิ้นพระชนม์ลง ณ บริเวณนี้ด้วยกัน

แต่ด้วยมีการบรรจุพระบรมธาตุซึ่งอยู่ ในห้องชั้นล่างสุด (๓ ห้อง) ของพระสถูปนี้ พระสถูปนี้จึงมีสถานะเป็นเจดีย์และโดยคติของการสร้างเจดีย์โดยพระมหากษัตริย์ เจดีย์ของวัดนี้จึงมีรูปแบบที่เรียกว่า พระปรางค์ตามที่ปรากฏในรูป

แบบแปลนของวัดราชบูรณะเป็นแบบแปลนคติจักรวาลทัศน์ในการสร้างวัดมหาธาตุโดยมีพระเจดีย์ทรงปรางค์อยู่พื้นที่ส่วนกลางของวัด มีพระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก อันน่าจะมีความหมายทางคติของฝ่ายมหายาน คือ ที่ตั้งของแดนสุขาวดีอันเป็นที่สถิตของพระอมิตาภพุทธ หรือในรูปของมนุษย์พุทธคือ พระสมณโคดม หรือ พระพุทธเจ้า

ในบริเวณสังฆาวาสล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ก่ออิฐ หรือสัญลักษณ์ของกำแพงจักรวาล ภายในกำแพงจักรวาลนอกจากมีพระวิหารขนาดใหญ่รูปทรงแบบเดียวกับพระอุโบสถและมีเจดีย์ทรงระฆัง ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นภายหลังเป็นดังอนุทวีป

สิ่งสำคัญที่บรรจุอยู่ในพระปรางค์เป็นสมบัติที่ทำด้วยทองคำเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญก็คือพระขรรค์ชัยศรี อันเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ ตามคติของกษัตริย์เมืองนครหลวง (ที่บุคคลธรรมดาจะมีไม่ได้) การบรรจุพระขรรค์ชัยศรีนี้น่าจะหมายถึงการอุทิศนี้อำนาจนี้ให้แก่พระศาสนา

พระเจดีย์ของวัดราชบูรณะจึงเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นส่วนกุศลแก่พระเจ้าพี่ของพระเจ้าสามพระยาทั้งสององค์ เพื่อยุติความขัดแย้งชิงอำนาจที่เปล่าประโยชน์





วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

พระเจดีย์วัดมเหยงคณ์เป็นเจดีย์ที่มีช้างล้อมรอบกำแพงแก้วที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งของอยุธยา นำรูปแบบการก่อสร้างเจดีย์หรือสถูปที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลของสถาปัตยกรรม รูปแบบสุโขทัยลงมาในอยุธยาของสมเด็จเจ้าสามพระยาหรือพระบรมราชาธิราชที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา

เจดีย์วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็ยังคงคติและสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลที่หมายถึงเจดีย์หรือสถูปที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ และเพิ่มเติมองค์ประกอบของเขาพระสุเมรุด้วยป่าหิมพานต์ อันเป็นที่อยู่ของสัตว์หิมพานต์ สัตว์ในจินตนาการที่มีคุณลักษณะพิเศษ

ช้างในป่าหิมพานต์เป็นช้างแห่งจินตนา การที่มีคุณสมบัติพิเศษทั้งทางกายภาคและพลังพิเศษ เช่น เหาะเหินเดินอากาศได้และมีที่อยู่เป็นถ้ำทองคำ ช้างในป่าหิมพานต์มี ๑๐ ตระกูล

ที่สำคัญคือ ตระกูลฉัททันต์ ที่อาศัยและเล่นน้ำกันที่สระฉัททันต์มีพญาช้างที่พระโพธิสัตว์ที่จะต้องสร้างบารมีเสวยชาติหรือเกิดเป็นช้างชื่อพญาฉัททันต์เป็นหัวหน้าฝูง

สัญลักษณ์ทางปกครองเชื่อกันว่า ผู้ชนะในการสงครามกับ ผู้พ่ายแพ้ มักจะถ่ายทอดหรือนำศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม หรือสัญลักษณ์ของความเชื่อถือมายังดินแดนของตน

การสร้างเจดีย์วัดมเหยงคณ์ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมของกรุงสุโขทัย เช่น วัดที่มีกำแพงอันมีสัญลักษณ์ของช้างในหิมพานต์ก็น่าจะมาจากคตินิยมดังกล่าวด้วย ถึงแม้การเข้าไปมีอำนาจเหนือสุโขทัย เกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระบิดาของพระองค์ก็ตาม แต่การล้มอำนาจควบคุมของสุโขทัยก็เกิดในสมัยของพระเจ้าสามพระยา ซึ่งมเหสีของพระองค์เป็นพระราชบุตรีของพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พระเจ้าไสลือไทย) ด้วย

เจดีย์วัดมเหยงคณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่การมีอำนาจและการครอบครอง  





ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ จังหวัดยโสธร

อนุสาวรีย์ของการไถ่บาปในตำนานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ที่จังหวัดยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธาตุองค์นี้จึงมิใช่มหาธาตุหรือเจดีย์ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หากเป็นธาตุที่สร้างขึ้นเพื่อไถ่บาปที่ได้ทำมาตุฆาต

ธาตุก่องข้าวน้อยมีอยู่ ๒ องค์ ที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน

องค์แรก(ซ้าย) เป็นรูปแบบของสถูปที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์หรือเขาพระสุเมรุมีขนาดใหญ่พอสมควร เรือนธาตุเป็นสี่หลี่ยมสี่ด้าน เป็นสัญลักษณ์ของทิศทั้ง ๔ ของจักรวาล ตั้งอยู่บนฐานบฏ ๓ ชั้น ย่อระดับเอกขันธ์ มีเรือนยอด ๓ ชั้น แทนคติสวรรค์ ยอดบนไม่มีลวดลายเป็นดั่งอรูปพรหม

ด้วยเหตุที่มีรูปแบบที่นับได้ว่ามีความงามสมดุลอยู่ในตัวเอง จึงมีผู้ไม่เชื่อว่าชาวนาอันมีฐานะเป็นไพร่ในสังคมเดิม น่าจะไม่มีกำลังทางเศรษฐกิจและอำนาจมาสร้างอนุสรณ์สถานที่ดูไม่น่าจะเป็นสถูปที่งดงามเช่นนี้ได้ (ตัวรูปทรงของสถูปนี้คล้ายกับธาตุพระอานนท์ วัดมหาธาตุที่ จ.ยโสธร)

องค์สองเป็นธาตุขนาดเล็กที่อยู่ในเขต อ.เมือง จ.ยโสธร เช่นกัน เป็นเรือนธาตุองค์เล็ก ตั้งอยู่บนฐานบัวหงาย ตั้งอยู่บนฐาน ๙ ชั้น ไม่อยู่ใน คติหรือสัญลักษณ์ทางจักรวาลทัศน์

ธาตุหรือสถูปองค์นี้ ชาวบ้านในบริเวณนั้นเชื่อว่าเป็นธาตุก่องข้าวน้อย เพราะมีขนาดเล็กพอที่ชาวบ้านญาติพี่น้องของ ผู้สร้างที่อยู่ในฐานะไพร่เมือง ออกแรงออกทุนในฐานะสังคมของชาวนาชาวไร่ น่าจะมีกำลังสร้างได้ [/b]





วัดมหาธาตุ จ.ยโสธร

วัดมหาธาตุ จ.ยโสธร ชื่อที่เป็นมหาธาตุ แต่รูปแบบหรือคติและสัญลักษณ์ของบริเวณวัดหรือเขตพุทธาวาสมิใช่คติของวัดมหาธาตุ มิใช่เมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีอิทธิพลทั้งการทหาร และเศรษฐกิจ

ประการสำคัญก็คือ เมืองยโสธรหรือชื่อที่ปรากฏเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เมืองยศสุนทร เมื่อครั้งแต่งตั้งอุปราชฝ่ายบุตรเจ้าพระยาวิไชยสุริยวงศ์ขัตติราช ผู้ครองนครจำปาสัก เป็นเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร หรือยโสธรในปัจจุบัน

ประวัติการตั้งเมืองและสร้างวัดในราวปี พ.ศ.๒๓๒๑ หลังเสียกรุง ๑๐ ปี โดยเจ้าฝ่ายหน้าในตำแหน่งเสนาบดีของนครเวียงจันทน์ที่โยกย้ายถิ่นฐานออกจากนครเวียงจันทน์ร่วมกับพระวอ พระตา ลงสู่ทางทิศใต้ของราชอาณาจักรลาว

รูปแบบ รูปทรง และผังบริเวณหลักประกอบด้วยพระธาตุ ชื่อพระธาตุพระอานนท์ ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระธาตุของพระอานนท์ ตามตำนานว่าประมาณพุทธศตวรรษปีที่ ๑๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ ซึ่งมีรูปแบบตรงข้ามกับคติ การจัดวางอาคารของวัดมหาธาตุทั่วไป อีกทั้งตัวธาตุก็มิได้มีฐานะเป็นเจดีย์ตามคติการสร้างเจดีย์ แต่มีฐานะเป็นสถูปที่เชื่อกันว่าบรรจุพระธาตุของพระอานนท์

แต่ที่ต้องยกย่องกันก็คือ รูปแบบของตัวธาตุที่มีคติสัญลักษณ์คล้ายเจดีย์ทรงปราสาทที่ตั้งอยู่บนเรือนธาตุ ๔ เหลี่ยม ที่ยังแปลความได้ว่า เป็นสวรรค์ที่ตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ ๔ ด้าน ๔ ทิศ ตัวเรือนยอดเป็นเจดีย์ ๔ ทิศ ที่น่าจะแปลความหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ ได้แก่

พระกุกะสันโธ ประจำทิศเหนือ

พระโกนาคม ประจำทิศตะวันออก

พระกัสสปะ ประจำทิศใต้

พระสมณโคดม ประจำทิศตะวันตก

ตัวเรือนยอดสุดคงหมายถึงสวรรค์ทั้ง ๖ และชั้นรูปพรหม

สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจของวัดมหาธาตุนี้ก็คือหอไตรกลางน้ำที่ยกย่องกันว่าเป็นหอไตรที่งดงามที่สุดหลังหนึ่งของประเทศ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๓ และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น





พระนอนวัดใหญ่ชัยมงคล

พระนอน อุเทสิกเจดีย์ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงธรรมะบางข้อที่พระพุทธเจ้าได้เทศนาโปรดแก่สาวก การสร้างพระนอนเป็นการแสดงคติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนในภาวะต่างๆ

พระนอนที่พุทธศาสนิกชนกราบไหว้เพื่อระลึกถึงข้อธรรมะนั้นมีนัยยะหรือความสัมพันธ์ของอิริยาบถของพระพุทธเจ้าขณะแสดงธรรมต่อสาวกที่เรียกกันในภาษาพระคือ มีปางต่างๆ เช่น

๑. ปางไสยาสน์ ปางไสยาสน์นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายของธรรมะอยู่ ๒ ประการ คือ

๑) เป็นสัญลักษณ์ของรูปกายของพระพุทธเจ้า สัญลักษณ์เมื่อกล่าวถึงกายของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายในภัทรกัปป์ (กัปป์ อายุของโลกที่จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๕ พระองค์ ในเวลาที่ต่างๆ กัน) ที่มักจะกล่าวถึงรูปกายของพระพุทธเจ้าในฐานะผู้มีบุญสูงสุด จะมีร่างกายสูงใหญ่กว่ามนุษย์ธรรมดา เช่น พระกุกะสันโธสูง ๔๐ ศอกหรือ ๒๐ เมตร

๒) เป็นสัญลักษณ์ของความพอเพียง ที่แสดงถึงที่อยู่อาศัยหรือกุฏิพระพุทธเจ้านั้นมีขนาดพอเหมาะพอควรแก่การใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์อย่างสมบูรณ์เต็มที่

๒.ปางปรินิพพาน เป็นศูนย์ปริศนาธรรมที่กล่าวถึง ปรินิพพานสูตร ที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาครั้งสุดท้ายถึงการแตกดับ ความไม่เที่ยงของสังขาร และหลักเกณฑ์ของการพิจารณาธรรม

รูปแบบของพระนอนในประเทศไทย มักจะสร้างพระนอนที่มีขนาดใหญ่โตกันเป็นส่วนมาก ซึ่งแน่นอนว่าผู้สร้างต้องเป็นผู้มีอำนาจ เป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี จึงจะมีกำลังทรัพย์ที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ได้ ซึ่งนิยมสร้างกันมาน่าจะนับได้ตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ เป็นต้นมาและในการสร้างพระนอนขนาดใหญ่นี้เอง นอกจากจะหมายถึงการแสดงธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว

ในทางสังคมของท้องที่ ณ ที่ตั้งของพระนอนนั้น มีนัยยะแห่งความเป็นผู้มีอำนาจ มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง มั่นคง ของ ผู้สร้างและของพื้นที่นั้น





พระนอนที่โคราช

พระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พระนอนหินทรายศิลปะทวารวดี ยาว ๑๓.๓๐  เมตร สูง ๒.๘๐เมตร ที่ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี

ปัจจุบันยังคงประดิษฐาน ณ ที่เดิม ในบริเวณวัดชื่อวัดธรรมจักรเสมาราม

ณ บริเวณวัดแห่งนี้ยังมีวัตถุทางศาสนาที่อยู่ในยุคทวารวดีนี้อีกหลายชิ้น เช่น รูปเสมาธรรมจักร พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระพิมพ์ดินเผา เป็นต้น

วัดเสมาธรรมจักรนี้อยู่ในเขตเมืองโบราณ คือ เมืองเสมามีปราสาทหินเก่าสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดเสมาธรรมจักร จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า เมืองเสมาต้องเป็นเมืองชุมชนขนาดใหญ่ มีพลังทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองที่ทำให้เกิดศาสนสถานขนาดใหญ่โต

องค์พระนอนหินทรายขนาดใหญ่จึงเป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงความสำคัญของชุมชนเมืองในบริเวณนี้ และขณะเดียวกันย่อมแสดงถึงศรัทธาของผู้คนต่อพระพุทธศาสนาในพื้นที่

องค์พระนอนเป็นพระนอนปางปรินิพพาน พระเศียรไปทางทิศใต้ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แต่มิได้ใช้คติของการเข้าสู่นิพพานของพระพุทธเจ้าที่การสร้างพระนอนปางปรินิพพาน ที่จะต้องหันพระเศียรไปทางทิศเหนือและหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

แต่สิ่งที่เห็นว่าเป็นปางปรินิพพานก็คือ การที่มีพระอุโบสถเล็กๆ อยู่ที่ปลายพระบาท มีเสมาธรรมจักรหินทรายล้อมพระอุโบสถนั้น อันมีความหมายถึงการปริพาชก (ผู้คนในศาสนาอื่น) นามสุภัททะได้รับอนุญาตจากพระพุทธเจ้าให้พระอานนท์เป็นผู้อุปสมบทให้เป็นพระภิกษุองค์สุดท้ายในกาลสมัยที่พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  





พระนอน เมืองศรีเทพ

โบราณสถานเขาคลังในเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เมืองร่วมสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ ต่อเนื่องกับเมืองที่มีสถาปัตยกรรม "ปรางศรีเทพ" เทวสถาน อิทธิพลของศิลปะขอมบาปวนต่อนครวัด ในสมัยชัยวรมันที่ ๗ พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗

เขาคลังในนั้นเป็นซากอาคารศิลาแลงกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๔๔ เมตร ตั้งอยู่กลางเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและสมบัติต่างๆ จึงได้ชื่อว่า คลัง แต่การเจาะสำรวจภายในไม่พบวัตถุหรือหลักฐานของอาวุธหรือทรัพย์สมบัติอย่างใด

ต่อไปนี้คือคำถามและความเห็นว่า เขาคลังในคือสิ่งก่อสร้างอะไร พิจารณาจากสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏก็คือ กองหินศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ที่ปรากฏหลักฐานที่ยังปรากฏก็คือ ซากของอุโบสถหรือวิหารเล็กๆ ที่ปลายด้านทิศตะวันออกของกองศิลาแลง

ลักษณะดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับ รูปแบบของพระนอนหินทรายวัดเสมาธรรมจักร ซึ่งมีอายุอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นไปได้หรือไม่ที่สถานที่นี้คือ พระนอนขนาดใหญ่ (ปางปรินิพพาน) ที่สร้างขึ้นกลางเมือง เมืองที่มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจสำคัญ เมืองที่ค้นพบหลักฐานโบราณสถานขนาดใหญ่หลายชิ้นที่มีรูปแบบไม่เหมือนรูปแบบในภาคอื่นของไทย เมืองที่มีคูเมืองซ้อนกัน ๒ คูเมือง

เรื่องที่น่าสนใจต่อมาก็คือ การล่มสลายหายไปของประชากรผู้คนในเมืองที่โยกย้ายออกจากพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์นั้น โยกย้ายไปด้วยเหตุผลใด ไม่ปรากฏหลักฐานการทำลายเมือง หรือการศึกสงครามที่แย่งชิงผู้คน ไม่ปรากฏซากกระดูกของผู้คนที่ เสียชีวิตด้วยโรคระบาด ที่ทำให้ผู้คนที่หนีออกจากเมืองและทิ้งไว้เหมือนเมืองจันเสนในยุคเดียวกัน

คนหายไปไหนหมด หายไปอยู่ที่ใด

ศาสนสถานอย่างใหญ่โตถูกทิ้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็ย่อมขาดการดูแลรักษา

พระนอนองค์มหึมาปางปรินิพพานจึงถูกทิ้งเป็นกองศิลาแลงที่เป็นคำถามของเมือง





พระนอน วัดขุนอินทประมูล

ตํานานเล่าขานกันมาว่า พระนอนวัดขุนอินทประมูล อยู่ในตำบลบางพลับเดิม หรือตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างโดยพญาเลอไทย เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ชักชวนผู้คนในเขตนี้กว่า ๖๐๐ คน ช่วยกันสร้างพระนอนหรือที่เรียกกันว่า ปางไสยาสน์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนยาว ๕๐ เมตร หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพระวิหารคลุม โดยปรากฏหลักฐานเป็นเสากลมก่ออิฐ ยอดเสาเป็นรูปดอกบัว ที่เป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว อันมีความหมายถึงความบริสุทธิ์

ประวัติที่ปรากฏในสมัยหลังก็คือ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขุนอินทประมูลหรือชื่อเดิมนามเส่ง เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยมีหน้าที่เก็บภาษีอากรในเขตนั้น (อันน่าจะหมายถึงชุมชนในบริเวณนั้นมีความหนาแน่นและมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี) ได้ยักยอกเงินภาษีอากรที่เก็บจากราษฎรในเขตนั้น ไปสมทบกับเงินส่วนตัว สร้างศาสนสถาน เช่น สร้างวิหารและเจดีย์ (ที่ยังปรากฏซากโบราณสถานนี้ในปัจจุบัน) และได้ชักชวนราษฎรแถบนั้นมาร่วมกันบูรณะองค์พระนอนซึ่งได้ชำรุดทรุดโทรม เหลือเพียงซากกองอิฐให้เป็นองค์พระนอนขึ้น

วัตถุประสงค์ของการบูรณะ ทำให้เกิดความสงสัยในความร่ำรวยผิดปกติของขุนอินทประมูลจากเจ้าเมืองวิเศษไชยชาญ จึงได้ร้องเรียนไปยังพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งได้ส่งพระยากลาโหม (ทำหน้าที่เสมือน ป.ป.ช.) มาสอบสวนโดยวิธีที่เรียกว่าจารีตนครบาลคือ ตีด้วยลวดหวาย ๓ ยก ยกละ ๓๐ ที ซึ่งขุนอินทประมูลปฏิเสธข้อกล่าวหานั้น แต่ด้วยขุนอินทประมูลอายุถึง ๘๐ ปี ทนการทรมานไม่ได้จึงถึงแก่อนิจกรรม

และเชื่อกันว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ที่ปลายพระบาทของพระนอนองค์นี้ การฝังร่างของขุนอินทประมูลซึ่งเป็นข้าราชการระดับล่างไว้ที่ปลายพระบาทของพระพุทธรูปองค์นี้ ไม่เป็นคตินิยมที่เคยมีมาก่อน เพราะขนบธรรมเนียมโบราณนั้น การบรรจุอัฐิไว้ในฐานพระพุทธรูปนั้นต้องเป็นอัฐิของพระมหากษัตริย์ หรือพระญาติวงศ์ชั้นสูง

การฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ที่ปลายพระบาทพระนอน น่าจะหมายถึงการให้เกียรติยศนับถืออย่างสูงแก่บุคคลผู้ซึ่งยอมอุทิศทรัพย์สิน ชีวิตตน เพื่อทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไปชั่วกาลนาน  





พระนอนวัดจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี

พระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ยาวประมาณ ๔๗ เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปที่เรียกว่า พระนอน (ตามปกติ) ของพระพุทธเจ้า ที่ประดับอยู่ในคันธกุฏิ เพื่อแสดงธรรมต่อเทพบุตรมารตนหนึ่งที่หลงตนว่าเป็นผู้มีร่างกายสูงใหญ่กว่าผู้ใดนั้น เป็นความเข้าใจในระดับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดสำคัญตนผิดเป็นทุกข์ เรียกในทางธรรมก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เพราะไปยึดมั่นถือมั่นในความสำคัญของตัวตน

อีกมุมมองทางอำนาจเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของการสถาปนาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่น่าจะพิจารณาก็คือ บริเวณที่ลุ่มภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำ ๒ สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย มีเมืองสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายเมือง ปรากฏชื่อเมืองมาแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน เช่น เมืองสุพรรณบุรี สพงครองพลับ แพรกศรีราชา นครพนม แต่กลับไม่ปรากฏเรื่องราวที่เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการบ้านเมืองมีเพียง ๒ เมืองที่กล่าวขานถึง

เมืองสุพรรณบุรีที่ปรากฏเรื่องในประวัติศาสตร์ ว่าสมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์องค์ที่ ๖ ของกรุงศรีอยุธยา ให้บุตรชายคนโตคือ เจ้าอ้ายพระยาไปปกครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรคบุรีหรือเมืองชัยนาท) ให้เจ้ายี่พระยาไปปกครอง

ข้อสำคัญก็คือ โบราณสถานที่ปรากฏในเขตบริเวณที่มีขนาดและรูปแบบอันสำคัญและใหญ่โต ไม่ว่าวัดมหาธาตุของเมืองสวรรค์บุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองสิงห์บุรีที่มีทั้งวัดหน้าพระธาตุ และพระปรางค์พร้อมเตาเผา เครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ อันแสดงถึงพลังทางเศรษฐกิจที่สูงของเมืองเหล่านี้ และที่ชัดเจนก็คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เรียกกันว่า พระนอนจักรสีห์ที่เชื่อกันว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัยนั้นมีขนาดใหญ่โต ที่ผู้สร้างต้องเป็นผู้มีอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด แต่มีตำนานเล่าขานคาบเกี่ยวไปถึงเรื่องของลูกผู้ฆ่าพ่อที่เป็นสิงห์ คล้ายกับตำนานเรื่องสิงห์ของพม่ากับวัดทางเหนือของไทย

เรื่องของลูกฆ่าพ่อซึ่งเป็นสิงห์ถึงเป็นความเชื่อที่เก่ากว่านั้นในเรื่องของการนับถือ

พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะมีการเสื่อมสลายลงเป็นกองอัฐิ (น่าจะคล้ายกับอาคารที่เรียกว่าคลังในในเมืองศรีเทพ) แต่ไม่ทราบใครบูรณะกลับมา นอกจากตำนานที่พาดพิงไปถึงพระนอนขุนอินทประมูล การบูรณะครั้งนั้นน่าจะอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลายคือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงไปประทับแรม ณ ที่นั่น ๑ คืน

คงเป็นพิธีสมโภชการบูรณะแล้วเสร็จและมีการบูรณะครั้งสำคัญอีกครั้งในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่คงความงดงามมาจนถึงปัจจุบัน





พระนอนวัดสามวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดสามวิหารเป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณการสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.๑๙๒๐ และมีประวัติศาสตร์บันทึกการมีอยู่ของวัดนี้ในสมัยอยุธยาอีกหลายครั้ง เรียกชื่อเดิมว่า "สามพิหาร" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี ๑๙๓๐ มีชื่อว่า สามวิหาร คือมีวิหาร ๓ หลัง คือ วิหารพระนอน วิหารพระนั่ง (ปางมารวิชัย) และวิหารพระยืนที่ไม่ปรากฏในปัจจุบัน

พระไสยาสน์ในวิหารนี้ เป็นศิลปะที่เรียกได้ว่ามีรูปแบบของพระนอนสมัยสุโขทัย คือ ท่อนแขนเอนออกนอกตัว ไม่เหมือนพระนอนในสมัยหลังต่อมาที่แขนของพระพุทธรูปจะงอตรงขึ้นรับพระเศียร

พระไสยาสน์องค์นี้อยู่ในวิหารจึงเข้าใจได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ปางเทศนาธรรมให้เทพอสูรมารเข้าใจถึงความใหญ่โตที่ไม่ใช่ตัวตน

การวางตำแหน่งของพระวิหารหรือศาสนสถานสำคัญคือ พระอุโบสถ พระวิหาร และเจดีย์ ที่ยังคงคติของวัดที่สร้างโดยพระเจ้าแผ่นดิน

แกนหลักคือ พระอุโบสถหรือพระวิหารอู่ด้านหน้า มีมหาเจดีย์ที่อยู่เบื้องหลังพระอุโบสถหรือพระวิหารที่จะมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระประธาน องค์เจดีย์เปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

วัดสามวิหารนี้กลับเพิ่มเติมการวางตำแหน่งของวิหารพระนอน วิหารพระประธาน มีมหาเจดีย์อยู่ด้านหลัง พระอุโบสถอยู่ถัดมา

ทั้ง ๓ อาคาร หันหน้าไปทางคลองบางขวดทิศตะวันตก จึงไม่อาจแปลความของการจัดวางที่ตั้งของศาสนสถานทั้ง ๓ ได้ว่ามีจุดมุ่งหมายจะแสดงถึงธรรมะในเรื่องใด

ตามตำนานกล่าวถึงผู้สร้าง ๓ ท่าน ที่ปรากฏชื่ออยู่ในลำดับสูงของราชวงศ์ จึงน่าจะเข้าใจว่าอยู่ในฐานะเดียวกันทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจที่จะสร้างสรรค์งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้จึงสร้างอาคารศาสนสถานให้เสมอกัน [/b]


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มกราคม 2562 16:09:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 10 มกราคม 2562 16:08:58 »

            
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



พระนอน วัดโลกยสุธาราม

พระนอนที่ใหญ่ที่สุดกลางเกาะเมืองศรีอยุธยา ที่ยาวถึง ๔๒ เมตร สูงถึง ๘ เมตร ที่เชื่อกันว่าสร้างมาสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปี พ.ศ.๑๙๙๕ ด้วยความที่วัดโลกยสุธารามมีขนาดใหญ่โต มีศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่หลายองค์เช่นกัน โดยเฉพาะที่สำคัญก็คือ พระปรางค์ก่ออิฐฐานเตี้ยที่เป็นรูปแบบศาสนสถานที่พระเจ้า แผ่นดินที่มีฐานานุรูปฐานานุศักดิ์ในระดับนี้ จึงจะสร้างวัดที่มีรูปแบบเช่นนี้ได้

องค์พระนอนเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ หันพระพักตร์คือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก พระบาทเสมอกันนั้น น่าจะเป็นปางปรินิพพาน แต่กลับปรากฏว่ามีเสา ๘ เหลี่ยม ๒๔ ต้น ที่เข้าใจว่าเป็นพระวิหารครอบอยู่ แต่ก็คงพังทลายลงหลังจากเสียกรุงครั้งที่ ๒ เนื่องจากขาดการดูแล โดยเฉพาะในบริเวณนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นั้น มีสภาพเป็นป่ารกทึบ

พระปางไสยาสน์องค์นี้คงเป็นพระปรางค์ที่แสดงธรรมให้อสุรินทราหูได้ลดมานะทิฐิที่เชื่อว่าตัวของอสุรินทราหูนั้นใหญ่โต อันเป็นความเชื่อมั่นที่เป็นสิ่งสำคัญของความสำคัญผิดที่เรียกว่า อัตวาทุปาทาน ในพระธรรมคำสั่งสอนที่อุปาทานขั้น ๕ เป็นทุกข์

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ชำรุดทรุดโทรม เพิ่งจะมีการบูรณะ ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ และปี พ.ศ.๒๕๓๒ อีกครั้ง  





พระนอน วัดพุทไธศวรรย์

ประวัติวัดพุทไธศวรรย์ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๖ โดยพระเจ้าอู่ทอง หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บนพื้นที่ที่เชื่อว่าเป็นที่ประทับก่อนย้ายเข้ากรุงศรีอยุธยา โดยใช้รูปแบบคติสัญลักษณ์ ของวัดตามคติการสร้างวัดมหาธาตุในสมัยสุโขทัยที่มีพระปรางค์ (แบบไทย) เป็นสัญลักษณ์ศูนย์กลางแห่งจักรวาล

เป็นที่น่าสังเกตก็คือ กรณีที่จะสถาปนางานทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบนี้นั้น ผู้สร้างน่าจะต้องเป็นผู้มีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองอย่างสูง ประวัติของวัดที่กล่าวว่าสร้างเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้ ๓ ปี แล้ว ในขณะที่การจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นนั้นจำเป็นที่อยุธยาหรือพระเจ้าอู่ทองต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีเงินทอง และไพร่พลมากพอที่จะจัด ทำจัดหาวัสดุ ช่างฝีมือ และแรงงานมาสร้างสรรค์งานในระดับนี้มากมาย ซึ่งอาจจะคาดได้ว่าอยุธยาในสมัยนั้นคงเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม ร่ำรวยอยู่มาแล้ว และการสถาปนากรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอู่ทองก็เริ่มต้นด้วยการพัฒนาที่ดินที่เป็นหนองน้ำชื่อหนองโสนก็หมายถึงการลงทุนค่อนข้างมากทีเดียว

ในส่วนของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์กับพระพุทธไสยาสน์นั้นก่อสร้างอยู่ในเขตพุทธาวาสก็มีรูปแบบที่น่าจะแตกต่างสมัยกัน

องค์พระพุทธรูปปางไสยาสน์นั้น พระเศียรหันไปทางทิศตะวันตก หันพระพักตร์ (หน้า) ไปทางทิศใต้ จึงไม่ใช่พระพุทธรูปที่มุ่งหมายจะเน้นไปถึงการแสดงธรรมที่เรียกว่า ปรินิพพานสูตร อีกทั้งพระพุทธรูปองค์นี้ก็ยาวประมาณ ๑๐.๐๐ เมตร ไม่นับว่าเป็นพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่สำคัญนัก และก็ไม่แน่ใจว่าสร้างพร้อมวิหารหรือไม่ เพราะตัวพระวิหารมีฐานวิหารเรียกว่าทรงสำเภานั้นก็เป็นรูปแบบของอุโบสถหรือวิหารในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓

คำถามเชิงศึกษาคือ ใครเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ และการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้คงไม่ใช่มาจากความเชื่อหรือศรัทธาของการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างเดียว น่าจะมีจุดมุ่งหมายทางธรรมอย่างอื่น ที่น่าจะวิพากษ์วิจารณ์กันก็เพราะงานประเภทนี้ปัจจุบันเขาเรียกการพัฒนาเมือง ซึ่งในอดีตการพัฒนาเมืองก็คือการเริ่มต้นสร้างศูนย์กลางหรือศาสนสถานขนาดใหญ่ของชุมชน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจของชุมชนนั้นๆ





พระนอน วัดเสนาสนาราม

พระนอนที่วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ระบุว่า เป็นวัดที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จากวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาร่วมกับวัดเดื่อหรือวัดท่าเดื่อที่มีประวัติเกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจในสมัยขุนวรวงษาธิราช สมัยอยุธยากลาง แต่ในแผนที่อยุธยา ๒๕๐๓ แสดงว่าวัดเสือหรือวัดท่าเสื่อเป็นคนละวัดกับวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ซึ่งไม่ปรากฏซากไปแล้ว

แผนผังวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เป็นแผนผัง การวางผังพระอุโบสถ เจดีย์ และวิหาร กำแพงวัดคูนำรอบวัดเป็นคติ สัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ที่สืบเนื่องมาจากสมัยสุโขทัย อันเป็นคตินิยมการสร้างวัดตามคตินี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เช่น วัดเทพสรนาวาส วัดโสมนัสวิหาร และวัดมกุฏกษัตริย์ ในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน

พระนอนปางไสยาสน์ของวัดนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุ จึงไม่ทราบจุดประสงค์ของการสร้างพระนอนองค์นี้ ว่าสร้างในปางเทศนาอสุรินทราหู หรือปางแสดงธรรมในมหาปรินิพพานสูง

เป็นพระพุทธรูปที่ประกอบด้วยศิลาเป็นท่อนๆ ยาว ๑๔.๒๐ เมตร (แบบเดียวกับพระนอนวัดเสมาธรรมจักร นครราชสีมา) รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารที่ท้าย พระเจดีย์และย้ายพระนอนมาจากวัดมหาธาตุ มาประดิษฐานไว้ที่วิหารองค์นี้

ว่ากันว่า พระไสยาสน์องค์นี้เป็นพระนอนที่สวยที่สุดในอยุธยา  


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2562 15:32:41 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 11 เมษายน 2562 16:25:19 »

             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



พระนอนวัดพนมยงค์

วัดพนมยงค์ เป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาตอนกลาง มีพระอุโบสถทรงที่เรียกว่า ท้องสำเภา อันเป็นคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่แฝงอยู่กับคติเถรวาท อันหมายถึงพุทธศาสนาเป็นดั่งสำเภาที่จะพาปุถุชนข้ามโอฆสังสารไปสู่ความสิ้นทุกข์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง (น่าจะหมายความว่าคงเป็นวัดเก่ามาก่อนที่จะบูรณะขึ้นทั้งวัดในสมัยอยุธยาตอนกลาง)

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารโปร่ง คือมีฝาผนังตันที่ด้านหัวและท้ายของตัววิหารชั้นเดียว ฐานเตี้ย ผนังด้านข้างโปร่งทั้งสองข้าง

หลังจากสงครามเสียกรุงในปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดพนมยงค์ได้ชำรุดทรุดโทรมและมีการปฏิสังขรณ์โบสถ์วิหารขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนพระพุทธไสยาสน์องค์นี้พร้อมวิหารได้รับการปฏิสังขรณ์ให้งดงาม ช่วงปี ๒๕๓๘-๒๕๔๐ จากการถูกทอดทิ้งมานับแต่สงครามเสียกรุง

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีรูปแบบเป็นศิลปะสุโขทัยที่มีความยาวน่าจะประมาณไม่น้อยกว่า ๑๖ เมตร พิจารณาจากการวางแขนหนุนพระเศียรและมีพระเกศา (ผม) เป็นรูปหอยขม และประดิษฐานอยู่ในพระวิหารโปร่งที่ดูเสมือนมีต้นไม้ใหญ่อยู่ส่วนหัวและส่วนท้ายของพระวิหาร

พระเศียรหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พระพักตร์หันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นปางปรินิพพาน

คติแห่งพระปรินิพพานตามปรินิพพานสูตรที่สำคัญมี ๒ ประการ คือ การเทศนาครั้งสุดท้ายที่ได้ตรัสเป็นบาลีและปัจฉิมเทศนาครั้งสุดท้ายว่า "อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก ร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้"

และ "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล เป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาจิตของตนเองในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วจักละชาตสังสารทำที่สุดแห่งทุกข์ได้"





พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์

เพชรบุรีหรือ เมืองพริบพี ในอดีต เป็นเมืองท่า ชุมชนเก่า ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทวารวดี เป็นเมืองปลายเขตแดนของภาคกลางตอนใต้ที่ หัวเมืองที่ต่อจากเพชรบุรีไปนั้นเรียกว่า หัวเมืองปักษ์ใต้

ด้วยเหตุที่เป็นเมืองท่า เป็นชุมชนทางการค้าฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ จึงมีผู้คนเคลื่อนย้ายเข้าออกตลอดเวลา ทั้งชาวมอญ ชาวจีน ชาวลาว และชาวไทพื้นถิ่นดั้งเดิม ที่ปะปนกัน เพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่มั่งคั่งร่ำรวย มีงานสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่ทรงคุณค่าทางศิลปะ หรือ ช่างฝีมือชั้นยอดของประเทศยังมีช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างแกะ ช่างปูนที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปที่มีความยาวตั้งแต่พระเศียรถึงพระบาทประมาณ ๔๓ เมตร นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่โตองค์หนึ่งที่ไม่ปรากฏผู้สร้าง

เมื่อเปรียบเทียบกับรูปทรงพระอุโบสถซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระพุทธรูปองค์นี้ก็น่าเปรียบเทียบว่าอยู่ในยุคอยุธยาด้วยกัน แต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้สร้าง ด้วยเหตุที่เมืองเพชรบุรีอยู่ชายเขตแดนของภาคกลาง จึงไม่มีการบันทึกประวัติของชุมชนมากพอที่จะรู้วัตถุประสงค์ของการสร้างศาสนสถานแห่งนี้

งานหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตที่เรามักจะเชื่อกันว่าจะเป็นงานที่สร้างบุญกุศลอย่างสูงแก่ผู้สร้าง จะซ่อนเจตนารมณ์ของจิตใต้สำนึกบางประการ ก็คือการประกาศความยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง และเพื่อชดเชย ทดแทนอกุศลกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตด้วย

องค์พระพุทธรูปนอนประทับในอิริยาบถตะแคงขวา พระเศียรหันไปทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่กลางแจ้งบนแท่นประทับที่มีระดับสูง แยกองค์วิหารที่มีผนังด้านหลังออกจากกำแพงแก้วของพระอุโบสถ ตัววิหารสร้างหลังคาคลุมองค์พระด้วยสังกะสี ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และเพิ่มเติมการปฏิสังขรณ์องค์วิหารทั้งหมดในสมัยรัชกาลที่ ๕

สันนิษฐานเป็นคติ สัญลักษณ์ของปางปรินิพพาน จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเทศนาปัจฉิมเทศนา มหาปรินิพพานสูตร เช่นเดียวกับพระนอนวัดพนมยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา





พระนอนป่าโมก จ.อ่างทอง

อ่างทอง จังหวัดเล็กๆ ของภาคกลาง ที่ร่ำรวยด้วยศาสนสถานขนาดใหญ่ มีวัด ๒๑๗ วัด จากจำนวนประชากรประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน ๗ อำเภอ ในพื้นที่ ๒๙๒ ตารางกิโลเมตร

อ่างทองเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่มีหลักฐานการมีอยู่ของชุมชนมาแต่สมัยทวารวดี มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นคูเมืองที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ซึ่งคงมีการก่อตั้งชุมชนอยู่ต่อมาที่ปรากฏเป็นตำนานก็คือ โครงสร้างของพระนอนขุนอินทประมูล ที่เป็นพระนอนองค์ใหญ่ ที่เชื่อว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัยมีอำนาจอยู่ในตอนเหนือของภาคกลาง

พระนอนป่าโมกเป็นพระนอนขนาดใหญ่เช่นเดียวกับพระนอนขุนอินทประมูล โดยมีความยาวถึง ๒๔ เมตร ลักษณะขององค์พระน่าจะมีขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น มีพระราชพงศาวดารกล่าวถึงในสมัยพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ก่อนจะยกทัพไปรบกับพระยาพะสิมที่สุพรรณบุรี ได้ทำพิธีตัดไม้ข่มนามที่เมืองอ่างทองนี้

พระนอนป่าโมกนี้เดิมประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เนื่องจากต้องถูกน้ำเซาะเกรงว่าตลิ่งจะพังลง มีการร้องเรียนมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระราชสงครามเป็นนายกอง (ปัจจุบันเรียกกันว่าที่ปรึกษา) ไปจัดการย้ายให้อยู่ห่างจากที่เดิม ๔ เส้น ๔ วา ก็คือประมาณ ๘๐๐ เมตร (นี่คือความสามารถประสบการณ์สำคัญของนายกองหรือที่ปรึกษาสมัยนั้นที่เคลื่อนย้ายพระพุทธรูปหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่โครงเป็นก่ออิฐถือปูนด้วยเทคโนโลยีโบราณ

การเคลื่อนย้ายพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ จึงทำให้ไม่อาจแปลความหมายได้ว่าพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีคติหรือสัญลักษณ์ของธรรมะในข้อใดว่าเป็นปางทรมานอสุรินทราหูหรือปางปรินิพพาน

สิ่งที่สำคัญสำหรับพระนอนองค์นี้คือ เทคโนโลยีในการเคลื่อนย้ายองค์พระขนาดใหญ่ในสมัยที่มิได้มีเครื่องมือใดสำคัญกว่าจิตใจอันมั่นคง มีสติที่จะกำกับการเคลื่อนย้ายนั้นโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยใดๆ 





พระนอนวัดอรัญญิการาม จังหวัดราชบุรี

เป็นพระนอนยาว ประมาณ ๓๐ วา สร้างขึ้นครอบพระนอนหินทรายแดงยาวประมาณ ๑๕ วา ที่เชื่อกันว่าสร้างมาในสมัย พ.ศ. ๒๐๓๐-๒๐๓๕ ปลายสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระบรมราชาธิราชที่ ๓ - พระรามาธิบดีที่ ๒ สมัยอยุธยาตอนต้น

พระนอนองค์นี้ประดิษฐานกลางแจ้ง ด้านหลังพระปรางค์ ก่ออิฐปูนปั้นเรื่องราวของเทพในไศวนิกาย ไม่นับเป็นมหาธาตุทางพุทธศาสนา ตัวพระปรางค์สูง ๔๐ เมตร มีพระปรางค์ ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ ซึ่งน่าจะสร้างในภายหลังเช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระนอนปางไสยาสน์องค์นี้

การสร้างพระนอนและพระอุโบสถในพื้นที่นี้ น่าจะสันนิษฐานว่าเป็นการสร้างทับศาสนาสถานทางไศวนิกายเดิมที่มีอิทธิพลทางสังคม ประกอบกับราชบุรีเป็นชุมชนเมืองที่มีมาแต่สมัยทวาราวดีและศรีวิชัย ผู้สร้างก็คงเป็นผู้มีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองพอสมควร จึงสร้างได้ใหญ่โต

การสร้างพระนอนองค์นี้สร้างมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๕ มาสำเร็จประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นการยืนยันของการเผยแพร่ศรัทธาในพุทธศาสนาที่หยั่งลงในพื้นที่นี้กว่า ๕๐๐ ปี





พระนอนวัดศรีมหาโพธิ์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

พระนอนองค์นี้เป็นพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่โตนัก ทำจากหินทรายแดงเช่นเดียวกับพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ประดิษฐานในวิหารที่สันนิษฐานว่าสร้างรวมสมัยกันประมาณปี พ.ศ.๒๑๙๔ สมัยอยุธยากลางระหว่างพระเจ้าเอกาทศรถจนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พระเจ้าปราสาททองครองราชย์ พ.ศ.๒๑๗๓ - พ.ศ.๒๑๙๙)

เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประทับอยู่กลางแจ้งใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งชาวบ้านบอกเล่ากันต่อมาว่า ต้นโพธิ์ต้นนี้ลอยทวนน้ำในคลองบางพระ ชาวบ้านจึงนำมาปลูกไว้ เล่าขานแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธรูปปางไสยาสน์หินทรายแดงองค์นี้ลอยติดกับต้นโพธิ์มาด้วย

แต่โดยที่พระพุทธรูปองค์นี้ได้มีรูปแบบและองค์ประกอบภายนอก เช่น มีต้นรังขนาดใหญ่ ที่จะหมายถึงการเทศนาปางปรินิพพานหรือมิใช่ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่คับแคบที่เรียกกันว่าปางอสุนรินทราหู

พระพุทธรูปองค์นี้จึงน่าจะเป็นการแสดงถึงการพิจารณา ระลึกถึงความไม่เที่ยงของอริยาบถ ๔ คือ เดิน นั่ง นอน ยืน ที่ต้องมีสติกำกับ





พระนอน-พนมกุเลน

ขอไปเล่าถึงพระนอนองค์ใหญ่ที่น่าสนใจองค์หนึ่งที่พนมกุเลน (เขาลิ้นจี่) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ซึ่งเดิมบริเวณนี้อยู่ในความครอบครองของพระเจ้าแผ่นดินเขมร ไม่มีเขตแดนประเทศที่ชัดเจน ความแตกต่างของกลุ่มชนก็คือ ภาษาและวัฒนธรรม

พนมกุเลนปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่เทือกเขาที่สลับซับซ้อนกลางดินแดนที่เรียกกันว่า เขมร หรือ ขอม ในอดีต ที่มีศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า ไศวนิกาย ที่มีอิทธิพลและคติของการก่อสร้างเป็นปราสาทหินเพื่อบูชาแก่พระศิวะ เทพผู้มีอำนาจสูงสุด

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ.๑๓๔๕) ผู้สถาปนาศูนย์กลางแห่งอำนาจที่เมืองหริหราลัย ใช้เป็นฐานกำลังและการบัญชาการ การขยายตัวหรือพัฒนาการงานทางสถาปัตยกรรมที่บูชาพระศิวะ ในยุคนี้เป็นการก่อสร้างด้วยอิฐและพัฒนาต่อเป็นการใช้หินทรายก่อสร้างเป็นปราสาทหรือวิหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อมาจนถึงนครวัด กระทั่งหมดอิทธิพลลงประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ท่ามกลางงานสถาปัตยกรรมของศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในปลายสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ที่ใช้หินทรายเป็นองค์ประกอบสำคัญ ได้มีงานสถาปัตยกรรมฝ่ายเถรวาท คือ พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระนครธมบนภูเขาพนมกุเลน (หรือภูเขาลิ้นจี่) เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่แกะเป็นภาพนูนสูงจากหินก้อนใหญ่

พระพุทธไสยาสน์นี้ยาวประมาณ ๑๐ เมตร สูง ๓ เมตร พระเศียรประทับอยู่บนแขนที่วางราบ ซึ่งดูจะร่วมสมัยกับสมัยอยุธยาตอนกลาง





พระพุทธไสยาสน์ พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เจดีย์ที่เชื่อกันว่า เป็นมหาเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ มีการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปฏิสังขรณ์มหาเจดีย์องค์นี้อยู่ตลอดรัชกาล

การปฏิสังขรณ์มหาเจดีย์ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางต่างๆ มาประดิษฐานไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์หลายองค์ ที่สำคัญได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถ ภายในพระวิหารด้านทิศเหนือประดิษฐานพระปฏิมาปางพระกุมารพร้อมบริวารสตรีสองคน

วิหารด้านตะวันออกหรือวิหารหลวง ประดิษฐานพระพุทธนิรันตราย ปางสมาธิ

วิหารด้านทิศใต้ ประดิษฐานพระปางโปรดปัญจวัคคีย์ ปางประธานปฐมเทศนาพร้อมพระสาวก ๕ รูป เป็นพระประธานและพระพุทธรูปปางนาคปรก

พระวิหารทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ยาว ๑๗ เมตร เป็นพระประธานพร้อมพระพุทธรูปปูนปั้นปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ยาว ๓ เมตร พร้อมพระสาวก ๓ องค์

การประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ตั้งแต่ พระปฏิมาปางพระกุมารจนถึงพระพุทธรูปปางปรินิพพาน จึงเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

สัญลักษณ์ของพระนอนปางปรินิพพานที่ประกอบด้วยพระสาวก ๓ รูป น่าจะเป็นคติสำคัญที่เน้นไปถึงการแสดงธรรมที่ในพระสูตรเรียกว่ามหาปรินิพพานสูตร ที่รวบรวมสรุปคำสอน แนวทางการปฏิบัติที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาทั้งแนวความคิด การปฏิบัติ

ส่วนพระสาวก ๓ รูปนั้น เป็นสัญลักษณ์ของภิกษุ ผู้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย และหมายถึง พระภิกษุระดับเอตทัคคะ คือพระอนิรุทเถระ พระอานนท์ ผู้เป็นอุปัฏฐาก และพระอุปวาณะ ผู้เป็นอุปัฏฐากอีกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า





พระพุทธไสยาสน์ พระนอนเมืองกุสินารา

พระพุทธไสยาสน์ ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่เมืองกุสินารา สถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน อายุการสร้างกว่า ๑,๕๐๐ ปี มีบันทึกชื่อของผู้สร้าง ทวิพลสวามี นายช่างชื่อ ทินะ เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน

พระพุทธรูปองค์นี้ ประทับนอนราบตะแคงขวา พระเศียรหนุนพระหัตถ์ขวา ที่วางนอนแบนราบ (ต่างจากพระพุทธรูปไสยาสน์ในประเทศไทยที่มักจะสร้างเป็นพระเศียรหนุนพระหัตถ์ที่ตั้งฉากและมีหมอนเอียงช่วยรองพระเศียร)

ข้อสังเกตของพระพุทธรูปปางปรินิพพานนี้ก็คือ รูปปั้น ๓ แห่ง ที่ฐานของพระพุทธรูป ทางด้านพระเศียรเป็นรูปปั้นแทนบรรดาวรรณะกษัตริย์มัลละ

องค์กลางที่อยู่กลางองค์พระพุทธไสยาสน์ก็คือ พระอนิรุทธเถระ เอตทัคคะ ผู้เป็นเลิศในการรู้จิตใจ เป็นประกาศว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

พระอานนท์ องค์ที่อยู่ปลายพระบาทพระพุทธเจ้าในท่าร้องไห้คร่ำครวญถึงการจะจากไปของพระพุทธเจ้า

สาระสำคัญสุดท้ายของคำสอนพระพุทธเจ้าที่มีต่อพระอานนท์ก็คือ "อานนท์ เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้น เป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ"





พระนอนวัดโพธิ์

พระนอนที่มิได้นำมาเล่าสู่ให้อ่านกัน ยังมีอีกหลายองค์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยหลังๆ อายุไม่เกิน ๑๐๐ ปี คติและสัญลักษณ์ไม่ชัดเจนว่า เป็นพระพุทธรูปปางใดใน ๓ ปาง

ปางปราบอสุรินทราหู หรือในคติที่กล่าวว่า เรื่องการสำคัญผิดถึงความยิ่งใหญ่ของตัวตน

ปางปรินิพพานที่คติมุ่งหมายให้ศึกษาบทสรุปรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ปางถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าที่เป็นคติของการแตกสลายของรูปกาย

พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปพระนอนที่จะเขียนเล่าถึงความสำคัญ คติและสัญลักษณ์ที่ปรากฏในพระพุทธรูปองค์นี้

พระวิหารและพระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ที่มีขนาดสูง ๑๕ เมตร ยาว ๔๖ เมตร ก่อสร้างในการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แต่เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี พระกนิษฐาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายหลังไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์ประทับแล้ว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงให้รื้อวัง แล้วสร้างพระวิหาร และพระนอนวัดโพธิ์ขึ้น ซึ่งนับกันว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่สวยงามที่สุด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสัญลักษณ์ของปางปราบอสุรินทราหู

ความสำคัญอีกส่วนหนึ่งของพระพุทธรูปองค์นี้คือ ภาพฝังมุกประดับที่พระบาทของพระพุทธรูปที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาบุรุษผู้ที่พ้นไปจากสังสารวัฏ หรือเหนือจักรวาลทัศน์ หรือความเป็นโลกไปแล้ว





คติสัญลักษณ์ของพระนั่ง

หลังจากอธิบายคติ สัญลักษณ์ ความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า พระนอน ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศมาพอสมควร ครั้งนี้จะอธิบายคติสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปอีกชนิดหนึ่ง (เฉพาะขนาดใหญ่) ที่เป็นที่รู้จักกันดีของพุทธศาสนิกชนอีกรูปแบบที่เรียกว่า พระนั่ง

พระนั่งขนาดใหญ่ในประเทศที่ประดิษฐานอยู่ในวัดต่างๆ มีหลายรูปแบบ เรียกว่า ปางต่างๆ นั่งราบก็มี นั่งห้อยพระบาทหรือขาก็มี แต่ที่สำคัญก็คือ การใช้อิริยาบถที่เป็นการแสดงธรรมที่เรียกเป็นภาษาพระคือ มุทรา หรือท่าต่างๆ เป็นคติสัญลักษณ์ในการแสดงธรรมะว่าด้วยเรื่องใด

พระพุทธรูปที่นำมาเล่ามาอธิบายนี้ ขอเริ่มที่พระพุทธรูปศิลาสีเขียวเก่าแก่ อยู่ในยุคต้นๆ ของพระพุทธรูปในประเทศไทย เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี หรือรูปแบบเรียกว่า พระคันธารราฐ (มีเรือนแก้วรอบพระเศียรเป็นศิลปะแบบจีน) อยู่ที่วิหารหลักข้างพระอุโบสถวัดหน้า พระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุ เกาะเมืองอยุธยา ที่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม บันทึกของพระยาไชยวิชิต ผู้บูรณะวัดหน้าพระเมรุ ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ พระอุบาลี มหาเถระนำมาจากศรีลังกา

เป็นพระพุทธรูปปางนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์วางอยู่บนพระเพลา (เข่า) ทอดพระเนตรดูต่ำ เป็นลักษณะของพระนั่งสมาธิทำวิปัสสนา พิจารณาเรื่องของมหาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การพิจารณากาย เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์) จิต และธรรม





พระนั่งวัดถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี

เป็นพระพุทธรูปใหญ่ จำหลักอยู่ปากทางเข้าถ้ำ เป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ปางปฐมเทศนา ศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓ ประมาณว่าอยู่ในยุคต้นที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิปักหลักฐานในบริเวณนี้ และปรากฏชุมชนหรือเมืองเก่าสมัยเดียวกัน คือ เมืองคูบัว ถึงแม้จะโยกย้ายกันตามลำน้ำที่เปลี่ยนทางเดินก็ตาม

นั่นก็คือหลักฐานสำคัญของการเป็นศูนย์กลางที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่น่าแสดงถึงความมั่งคั่ง มั่นคง ของผู้คนในยุคนั้น

พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทองค์นี้ ยกพระหัตถ์หรือมือข้างขวาที่ดูเหมือนการวางนิ้วเป็นวงกลมน่าจะหมายถึงการแสดงธรรมที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การหมุนวงล้อแห่งธรรมจักร แต่คงไม่ใช่ปฐมเทศนา โดยปกติ แต่น่าจะหมายถึง การหมุนวงล้อแห่งธรรมจักรในสุวรรณภูมิได้ปรากฏมั่นคงขึ้นแล้ว





วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

พระพุทธรูปศิลาขาว (ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อประทานพร) เป็น "พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี" ทำด้วยศิลาขาว (ถอดได้เป็นชิ้น) ร่วมสมัยกับพระพุทธรูปศิลาเขียวที่วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา แสดงธรรมชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หมายถึงการเคลื่อนกงล้อแห่งธรรม) หรือเรื่องของอริยสัจ ๔ ที่รู้จักกันทั่วไปของพุทธศาสนิกชนต่อปัญจวัคคีย์ และพระพุทธรูปศิลาขาวอีก ๒ องค์ ซึ่งปัจจุบันองค์หนึ่งประดิษฐานไว้ในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา

และอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งค้นพบพร้อมกันทั้ง ๔ องค์จากวัดพระเมรุ จ.นครปฐม สมัยของพระบรมราชาธิราชที่ ๑ สมเด็จพระราเมศวร (โอรสของพระเจ้าอู่ทอง) จากนั้นแยกย้ายทั้งพระพุทธรูป ๓ องค์ไปไว้ที่อยุธยา

ส่วนพระพุทธรูปศิลาขาวองค์นี้ยังคงทิ้งไว้วัดพระเมรุ ที่ จ.นครปฐม เคยถูกกองอิฐจากการพังทลายของวิหารขององค์พระนี้ทับถมไว้ กระทั่งมีการรื้อกองอิฐที่จะนำมาสร้างหรือบูรณะพระปฐมเจดีย์ จึงพบอีกครั้ง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์เสร็จแล้วจึงได้นำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถของพระปฐมเจดีย์

การที่ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อประทานพรน่าจะเข้าใจได้ว่าท่าของการยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมออกนั้น หมายถึงปางที่พระพุทธเจ้าประทานพรให้กับพระอานนท์ (คำว่าประทานพรของพระพุทธเจ้าในที่นี้หมายความว่าเป็นการให้คำมั่นโดยประเสริฐแก่ พระอานนท์ในการที่พระอานนท์จะปฏิบัติตนอย่างไรที่จะเป็นพระอุปัฏฐากแก่พระพุทธเจ้า)

สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ การมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๔ องค์ ในพื้นที่เดียวกัน คือ วัดพระเมรุ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ธนิต อยู่โพธิ์ ให้ความเห็นว่าพระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์นี้ อยู่ประจำมุขทั้ง ๔ ของสถูปโบราณที่วัดพระเมรุ นครปฐม ยืนยันถึงเมืองนครปฐมว่าเป็นเมืองใหญ่สำคัญ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำคัญของเมืองนครปฐม

และเมื่อศึกษาถึงประวัติของเมืองบางส่วนที่กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา พ่อขุนผาเมือง ผู้เป็นสหายกับพ่อขุนบางกลางหาว (ขุนศรีอินทราทิตย์) ได้เสด็จกลับจากเมืองลังกามาซ่อมยอดพระปฐมเจดีย์ ณ เมืองนครปฐม ยืนยันได้ว่า เมืองนครปฐมย่อมเป็นศูนย์กลางที่สำคัญยิ่ง แต่หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของนครปฐมก็หายไป ไม่มีสาเหตุให้ทราบว่าทำไมชุมชนขนาดใหญ่ที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจจึงเลือนไป

ไม่มีพงศาวดารที่กล่าวถึงการถูกรุกรานต้อนผู้คนไปจากเมืองนี้แต่ประการใด





พระนั่ง วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

พระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองขนาดใหญ่ นั่งห้อยพระบาท สูงประมาณ ๑๑ วา หรือ ๒๓.๑๗๑ เมตร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ อยู่ในศิลปะสมัยอู่ทอง มีอายุไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี มีการซ่อมบำรุงกันถึง ๓ ครั้ง ตามตำนานเล่าขานกันมาว่า ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๖  โดยกลุ่มของชาวมอญซึ่งเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่นั้น ครั้งที่สอง สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ พระเจ้าเอกทัศ และสร้างวิหารครอบพระพุทธรูปองค์นี้

ครั้งที่ ๓ สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซ่อมบำรุงขยายพระวิหารและซ่อมบำรุงหลวงพ่อโตองค์นี้

 เดิมทีเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในปางปฐมเทศนา แสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เรื่องอริยสัจ ๔ แก่ปัญจวัคคีย์ พระหัตถ์ ๒ ข้าง บรรจบกันเว้นวงซ้อนกัน (ที่หมายถึง กงล้อแห่งธรรมได้หมุนมายังพื้นที่นี้แล้ว)

ภายหลังพระกรทั้งสองข้างหักลงจึงบูรณะเปลี่ยนเป็นปางป่าเลไลยก์ คือ พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำลงที่หัวเข่า ส่วนพระหัตถ์ขวา วางหงายบนหัวเข่าแสดงกิริยาคือ การรับของ

คติสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นเรื่องราวของการแยกตัวของพระพุทธเจ้า เสด็จหลีกบรรดาภิกษุมากรูปที่เป็นผู้ว่ายาก วิวาทกัน ไม่อยู่ในโอวาท ประพฤติตามใจด้วยอำนาจทิฐิ ไปประทับอยู่ในป่ารักขิตวันพระองค์เดียว โดยมีช้างชื่อปาลิไลยกะ ที่เป็นเจ้าแห่งโขลงช้าง และลิง ๑ ตัว เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์

เป็นคติคำสอนในเรื่องความสำรวมในการอยู่ด้วยกัน หรือมีความสามัคคีในธรรมเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง โกลาหลวุ่นวาย ทะเลาะวิวาทกัน ไม่ประพฤติตามใจตัวด้วยอำนาจ มานะ (ความถือตัว) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ไม่มีขันติ (ความอดกลั้น (ต่อบาป) และโสรัจจะ (ความเสงี่ยมเจียมตัว) ย่อมได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับการต้อนรับ ไม่ได้รับการบำรุงจากผู้อื่น


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2562 14:56:30 »

            
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



พระนั่งเมืองแก้ว (วัดป่าพุทธาราม) ถ้ำสติ

เรื่องของพระนั่ง ที่เขียนผ่านมา เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในอดีตมีอายุเป็นร้อยปี แต่พระนั่งเมืองแก้ว พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาอายุไม่เกิน ๑๒ ปีนี้เอง

ด้วยรูปแบบของพระพุทธรูปที่งดงาม แกะสลักจากหินลอยตัวในถ้ำ ในปางธัมมจักกัปปวัตนสูตรร่วมสมัยกับศิลปะแบบทวารวดีในเขตเมืองราชบุรี เมืองที่มีพุทธศิลปะและซากโบราณสถานแบบศิลปะทวารวดีที่เก่าแก่หลายสถานที่

ประวัติสั้นๆ ของพระพุทธรูปองค์นี้มาจากการดำริของพระสงฆ์องค์หนึ่ง นาม พระสุรินทร์ รตนโชโต ซึ่งมาเป็นเจ้าอาวาสจากคำเชิญของแม่ชีสมจิต รัตนชัยยวีร์ และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาว่า วัดป่าพุทธาราม และได้ดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ โดยแกะสลักจากหินในถ้ำเป็นพระพุทธรูปลอยตัว ใช้เวลาแกะสลักอยู่ถึง ๖ ปี

ปางแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้ เป็นปางที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หรืออดีตผู้เป็นอุปัฏฐากแก่เจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้ และได้หลีกตัวออกมาจากเจ้าชายสิตธัตถะเมื่อเห็นว่าเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเลิกบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานตนให้ยากลำบาก เป็นเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะประทับอยู่แต่ผู้เดียวในพื้นที่อันเป็นสัปปายะแห่งการตรัสรู้สำคัญคือ เรื่องอริยสัจ ๔

เรื่องสำคัญของอริยสัจ ๔ ก็คือ คำว่าทางสายกลาง เป็นเรื่องที่บุคคลในปัจจุบันยกมาตั้งคำถามและเชื่อกันว่า ทางสายกลางน่าจะหมายความว่า พอดี โดยไม่ชัดเจนคำว่า พอดี ไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปนั้นวัดกันตรงไหน

คำว่าทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทานั้น ในทางพุทธศาสนาหมายความว่า เป็นการปฏิบัติตนด้วยการไม่บำเรอตนเพื่อหาความสุขในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือไม่ทรมานตนให้ได้รับความยากลำบาก

การปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้นคือ การทำปัญญา ทำความรู้ เครื่องรู้ เพื่อให้จิตสงบ ระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดีรู้แจ้งเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากความคิด





พระนั่ง วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง ที่พระราชทานนามโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง นักโบราณคดีกำหนดเป็นพุทธศิลป์สมัยอู่ทองตอนปลาย

ปางสมาธิ หรือ นั่งสมาธิเรียบ หงายพระหัตถ์ (มือซ้ายบนตัก ส่วนมือขวาคว่ำลง อันเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศชัยชนะต่อพญามารของฝ่ายเถรวาท ส่วนฝ่ายมหายานกล่าวถึงคติแห่งการแสดงความเป็นผู้อยู่เหนือโลก หรือการพ้นไปจากสังสารวัฏด้วยการชี้นิ้วพระหัตถ์ลงไปอยู่เหนือโลก

พระพุทธรูปองค์นี้อายุยาวนาน จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ กล่าวว่าสถาปนาพระพุทธรูปองค์นี้ในปี พ.ศ.๑๘๖๗ ก่อนพระเจ้าอู่ทอง จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี

ตามตำนานพงศาวดารเหนือที่เรียบเรียงจากตำนานเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวถึงพระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระนางสร้อยดอกหมาก ลูกเลี้ยงพระเจ้ากรุงจีน พระราชทานเป็นมเหสี

เปรียบเทียบยุคสมัยของพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับปีที่สถาปนาพระไตรรัตนนายกและจักรพรรดิจีน ตกอยู่ในสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย ระหว่างฮ่องเต้หยวนจินจงกับฮองเต้หยวนเทียนซุนตี

นั่นอาจจะพอคาดเดาได้ว่า ในเวลานั้นอยุธยา ต้องเป็นเมืองใหญ่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจร่ำรวย การสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตจึงจะสร้างได้และด้วยความเป็นศูนย์อำนาจทางสังคม เศรษฐกิจ จึงทำให้การเข้ามาสถาปนากรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอู่ทอง เป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ใหญ่โตที่สุดของดินแดนสุวรรณภูมิที่ยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี  





พระนั่งวัดมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา

พระมงคลบพิตร วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ก่ออิฐเป็นแกนและบุด้วยทองสัมฤทธิ์รอบองค์พระ หน้าตัก ๙.๕๕ เมตร สูง ๑๒.๔๕ เมตร เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง

โบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๙๑-๒๑๔๕ ราวสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เป็นศิลปะผสมผสานพุทธศิลป์แบบสุโขทัยไว้ด้วย เดิมตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของวังหลวงแล้วพระเจ้าทรงธรรม (ปี พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) ได้ชะลอย้ายพระพุทธรูปองค์นี้มาทางฝั่งตะวันตกของวังด้านข้างนอกเขตวัดพระศรีสรรเพชร แล้วสร้างมณฑปครอบไว้ แต่มีอุบัติเหตุที่ต้องซ่อมบำรุงและปฏิสังขรณ์วิหารหลังนี้หลายครั้ง รวมทั้งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย

ภายหลังการเสียกรุง พ.ศ.๒๓๑๐ วิหารและพระพุทธรูปองค์นี้ถูกทำลายเสียหายมากมาย ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระยาโบราณราชธานินทร์ซ่อมแซมพระพุทธรูปที่พระเมาลีและพระกรข้างขวา ซึ่งหักให้เต็มบริบูรณ์

ปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีการทำนุบำรุงพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน จอมพล ป.พิบูลสงครามในสมัยนั้นจึงได้จัดการให้มีการปฏิสังขรณ์พระวิหารมงคลบพิตรขึ้น

แบบแปลนที่ใช้ในการปฏิสังขรณ์นี้ มาจากฝีมือของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่พวกข้างในกรมศิลปากรเรียกท่านว่า "สมเด็จครู" และพระพรหมพิจิตรเป็นผู้ช่วยในการออกแบบที่ใช้เค้าโครงของซากวิหารเดิม

เป็นมหาวิหารที่งดงามทั้งรูปแบบ รูปทรง สัดส่วน ที่งดงามเป็นที่สุดหลังหนึ่งของประเทศ

เมื่อพิจารณาถึงพระพุทธรูปพระมงคลบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแกนปูนหุ้มด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่น่าจะบอกถึงความร่ำรวย รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พลังอำนาจของอยุธยาตอนต้นที่ทำให้มีการสร้างศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่ ที่น่าจะหมายถึงการตั้งถิ่นฐาน ความรุ่งเรืองที่ชัดเจนของยุคต้นอยุธยา





วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง

พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ หลวงพ่อโต พระนั่งปางสมาธิขนาดใหญ่ ที่วัดไชโย หรือวัดเกษไชโย จ.อ่างทอง

วัดไชโย ตำนานว่าเป็นวัดเก่า เป็นวัดราษฎร์ที่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือหลวงพ่อโตที่รู้จักกันดีได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น

เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทาสีขาวตั้งอยู่กลางแจ้ง ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๐๕ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ถวายวัดนี้ให้เป็นวัดหลวง รัชกาลที่ ๔ พระราชทานนามว่า วัดเกษไชโย

พระพุทธรูปปางสมาธิมีขนาดหน้าตักกว้าง ๘ วา ๖ นิ้วหรือ ๑๗ เมตร สูงถึง ๑๑ วา ๑ ศอก หรือประมาณ ๒๓ เมตร

ประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยารัตนบดินทรไปปฏิสังขรณ์วัดนี้ โดยมีการสร้างพระวิหารครอบพระพุทธรูปองค์นี้ เกิดอุบัติเหตุให้พระพุทธรูปพังลง จึงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์
คติและสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางสมาธิที่สร้างไว้กลางแจ้งของหลวงพ่อโตก็คือ การแสดงถึงการทำสมาธิเพื่อการตรัสรู้ แต่เมื่อมีการสร้างพระวิหารครอบพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว เป็นคติในวิถีของการดำรงสติของพระพุทธเจ้าในกุฏิหรือเสนาสนะที่พอดีกับพระองค์

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพังทลายของพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ การพบพระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ เป็นพระสมเด็จที่มีฐาน ๗ ชั้น มีรูปแบบงดงามเป็นที่ไขว่คว้าของผู้มีศรัทธาในสมเด็จหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก





พระนั่งวัดสุทัศน์

พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะหน้าตักกว้าง ๓ วา ๑ คืบ หรือประมาณ ๖.๒๕ เมตร สูง ๔ วา เป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุด องค์หนึ่งของประเทศไทย เดิมเป็นพระประธานอยู่ในวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย (วัดที่มีฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสให้อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งมีฐานะเป็นศูนย์กลางของกรุงรัตนโกสินทร์

การเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นสถิต ณ วิหารนี้ (ยังสร้างวิหารไม่แล้วเสร็จ ต้องประดิษฐานพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงสร้างวิหารครอบองค์พระ) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จฯ ตามขบวนแห่โดยไม่ได้ทรงฉลองพระบาท (ไม่ใส่รองเท้า) จากท่าพระ จนได้ยกพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานบนแท่นแล้วเสร็จ

เมื่อสร้างพระวิหารที่สูงใหญ่ครอบองค์พระจนเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพิจารณาพระเศียรของพระพุทธรูปนี้ดูเล็กไปไม่สมส่วน เมื่อมองจากพื้นพระวิหาร จึงโปรดเกล้าฯให้ถอดพระเศียรไปขยายใหม่ให้ดูถูกส่วนขึ้น

เรื่องที่น่าสังเกตของพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ เมื่อมองจากนอกประตูกลางพระวิหาร จะมีความรู้สึกว่าพระพุทธรูปองค์นี้มองมายังคนที่ยืนอยู่และดูเสมือนจะเรียกให้ผู้ที่มองพระอยู่นั้นเข้าไปในวิหาร

เมื่อยืนมองพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้จากประตูทางเข้าพระวิหาร จะดูเสมือนพระโอษฐ์จะยิ้มน้อยๆ เหมือนแผ่เมตตามายังผู้ดู

และเมื่อนั่งลงหน้าพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว ก็จะรู้สึกว่า พระเนตรของพระพุทธรูปองค์นี้ทอดลงที่กลางอกพระพุทธรูป อันเป็นความหมายทางธรรมถึงการพิจารณา การมีสติ ที่กำหนดอยู่ พิจารณาอยู่ ถึงความสงบ ความคิดที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในจิตอันหมายถึงมงคลใน ๓๘ ประการที่กล่าวถึงมงคลสูงสุด คือ สงบสันติ





พระนั่งวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทององค์ ที่ใหญ่โตกว่าพระศรีศากยมุนีสุโขทัย ที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่งดงามนี้ตามตำนานกล่าวว่าสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช แห่งเมืองนครศรีธรรมราช (ผู้เป็นตำนานร่วมศิษย์ของพระสุกทันตะฤๅษี ที่เขาสมอคอน แห่งเมืองลพบุรี) ร่วมกับพ่อขุนเม็งรายแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ พญางำเมือง แห่งอาณาจักรน่าน และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย

แต่มีบางตำนานกล่าวว่าพระวิหารหรือพระอุโบสถหลังนี้ในปัจจุบันสร้างขึ้นพร้อมกับเจดีย์พระบรมธาตุวัดพระมหาธาตุเมืองนครแห่งนี้ ซึ่งถ้าเช่นนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็น่าจะสร้างมาพร้อมกับวิหาร ซึ่งจะมีอายุมากกว่าในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ หน้าตักกว้างถึง ๓ วา ๑ ศอก ๑๒ นิ้ว หรือประมาณ ๗ เมตรเศษ สูง ๕ วา หรือประมาณ ๑๐ เมตร เป็นศิลปะของพุทธศิลป์ภาคใต้ที่แสดงรูปแบบ รูปทรง มีความมั่นคงแข็งแรงและงดงามมาก

พระอัครสาวกทั้งสององค์ที่ประดิษฐานอยู่ด้านข้างยังส่งเสริมให้พระพุทธรูปองค์นี้งดงามยิ่งขึ้น





พระนั่ง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ ก็คือ พระพุทธรูปปางประทานพร องค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง หมู่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ความกว้างหน้าตัก ๑๑ วา ๒ ศอก หรือ ๒๓ เมตร สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว หรือประมาณ ๔๒ เมตร

เป็นพระพุทธรูปแกนคอนกรีต ประดับองค์พระด้วยโมเสกสีทอง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๐ (ออกแบบโดยสถาปนิก สุนทร งามพร้อม ชาวสิงห์บุรี ขณะที่มีอายุไม่ถึง ๓๐ ปี ขอประทานโทษไม่ทราบนามวิศวกรโครงสร้าง)

พระพุทธรูปปางประทานพรนี้ เป็นสัญลักษณ์ของการให้พร (แปลว่า สิ่งประเสริฐ) หรือคำอนุญาตของพุทธเจ้าแก่พระอานนท์ พระอุปัฏฐาก (ผู้จัดการส่วนพระองค์) ของพระพุทธเจ้า ๘ ประการ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันคำครหาทั้งปวงที่มีต่อพระอานนท์ ที่อาจจะถูกกล่าวหาถึงประโยชน์อันมิชอบหรือมิควรได้ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพระอานนท์

พรทั้ง ๘ ประการมีดังนี้
๑. ไม่ประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน
๒. ไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้มาแก่ท่าน
๓. ไม่ประทานให้ท่านอยู่คันธกุฏิเดียวกับพระพุทธองค์
๔. ไม่ทรงพาท่านไปในที่รับนิมนต์
๕. ขอให้พระพุทธองค์ไปในที่นิมนต์ที่ท่าน (พระอานนท์) รับไว้
๖. ถ้าท่านนำพุทธบริษัทมาจากแดนไกลขอให้ได้เข้าเฝ้าทันที
๗. ถ้าท่านมีความสงสัยขอให้ถามท่านได้ทันที
๘. ถ้าพระพุทธองค์ทรงไปแสดงพระธรรมที่ไหน ถ้าท่านไม่ได้ฟัง ขอให้แสดงแก่ท่านอีกครั้งหนึ่ง(





พระนั่งวัดศรีชุม จ.สุโขทัย

พระอจนะ วัดศรีชุม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ แกนในก่ออิฐและศิลาแลงปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๓.๓๐ เมตร สูง ๑๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่พอดีกับตัวองค์พระ เป็นคติเดียวกับหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา แต่พระอจนะมีอายุเก่าแก่กว่า ที่น่าจะสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรากฏเป็นคำกล่าวถึงอยู่ในศิลาจารึกหลัก ๑ ของสุโขทัย

ข้อมูลวิกิพีเดีย ระบุว่า พระอจนะ แปลความหมายว่า อจละ แปลว่าผู้ไม่หวั่นไหว มั่นคง ผู้ควรแก่การเคารพกราบไหว้

ปางมารวิชัยที่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปที่ปลายนิ้วของพระหัตถ์ขวาชี้ลงดิน อันมีความหมายว่า พระพุทธองค์นั้นพ้นไปแล้วจากโลกหรือสังสารวัฏ การไม่หวั่นไหว มั่นคง เป็นกริยาหรือสัญลักษณ์ของความหลุดพ้น ดังในพระสูตรธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่แสดงต่อลูกพญามาร นางตัณหา ราคะ อรตี ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะพระองค์ไม่มี ไม่ติด ไม่ข้องแวะ ซึ่งมีความหมายดังนี้ ไม่ยินดีในภาวะของอารมณ์นั้นแล้ว

คำว่า ตัณหา ราคะ อรตี มีความหมายดังนี้

ตัณหา ความทะยานอยาก ความร้อนรน อยากได้ อยากเอาเพื่อตน ในมหาสติปัฏฐานสูตร ๔ คำว่า ตัณหา แปลความว่า ความอยากอันมีความเกิดอีกเป็นธรรมดา เจือด้วยกำหนัด ด้วยราคะ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น

ราคะ ความกำหนัด ความติดใคร่ในอารมณ์

อรตี ความไม่ยินดี ไม่พอใจ (แต่ไม่ใช่หมายความว่าเป็นความวางเฉย ซึ่งปนอยู่ระหว่าง โทสะ ความขัดข้องในจิต กับโมหะ คือความไม่รู้ชัด)





พระนั่งองค์ใหญ่สุด อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่เชื่อกันว่าใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานอยู่ที่ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระพุทธรูปที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (หมายเหตุ เคยเกิดวิบัติโครงสร้างอยู่ครั้งหนึ่งและได้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงจนแข็งแรง)

องค์พระก่ออิฐถือปูนทาสีทองตลอดทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๖๒ เมตร สูง ๙๓ เมตร เด่นสง่าอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี

พระพุทธรูปองค์นี้นาม พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เจ้าอาวาสชื่อ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโธ ซึ่งเดินธุดงค์มาปักกรดอยู่ที่บริเวณนี้ เชื่อว่าเป็นบริเวณวัดเก่าสมัยอยุธยาได้รับศรัทธาจากชาวบ้านให้สร้างบูรณะเป็นวัดขึ้น ประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร ขนาดใหญ่ และด้วยศรัทธาของชาวบ้านที่มากขึ้น หลวงพ่อเกษม และคณะลูกศิษย์จึงได้ร่วมใจร่วมพลังกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในปี ๒๕๓๔ ใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ จนมีการฉลองกันเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ รวม ๑๖ ปี ใช้งบประมาณไปประมาณ ๑๐๖ ล้านบาท

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และมีฉายาพระนามพระองค์ว่า พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ

กรณีที่มีคำถามว่า ทำไมเราจะต้องสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โต ซึ่งดูเหมือนไม่มีความจำเป็นต่อศรัทธาที่ถูกต้องทางพุทธศาสนานัก

การดำริของหลวงพ่อเกษม อาจารสุโธ จะเป็นคำตอบอย่างหนึ่งในเหตุผลของการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่





หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง

เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางปาลิไลยก์ ที่สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ โดยความร่วมมือของพระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส หลวงพ่อปั้น หรือ พระครูสังฆกิต เจ้าอาวาสวัดพิกุล (วัดพิกุลโสคันธ์) ตำบลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับหลวงพ่อบุญ เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์องค์นี้จำลองมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว้าง ๖ เมตร สูง ๒๑ เมตร มีรูปช้างและลิง อยู่ที่ปลายพระบาท อันมาจากพุทธประวัติที่กล่าวถึงการแตกแยกทางความคิดของพระภิกษุสงฆ์ที่ทะเลาะวิวาทกัน เรียกว่าเป็นผู้สอนยาก

พระพุทธเจ้าจึงปลีกพระองค์ไปจำพรรษาในป่าชื่อปาลิไลยก์ โดยมีช้างและลิงคอยปรนนิบัติ ด้วยการที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในป่า เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเบื่อหน่ายการทะเลาะวิวาทของหมู่สงฆ์ จึงไม่ปวารณาดูแลหมู่สงฆ์ทำให้หมู่สงฆ์รู้สึกสำนึกถึงความผิดพลาด จึงพร้อมด้วยพระอานนท์ พระอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ากราบทูลขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ ชาวบ้านจึงได้กลับมาดูแลพระภิกษุสงฆ์

ปางปาลิไลยก์นี้จึงน่าจะมีความหมายถึงผลเสียอันเกิดจากการทะเลาะวิวาทกัน ก็คือ การจะขาดความเชื่อถือในผู้อื่นๆ แต่โดยที่พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสี่ร้อย ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับกองทหารอาทมาตที่เป็นหน่วยตระเวนหาข่าวนำหน้ากองทัพที่เสียชีวิตหมดทั้งกองทัพ จากการเข้ารบตะลุมบอนกับกองทัพพม่าในสงครามเสียกรุงครั้งที่ ๒

เรื่องราวของนักรบอาทมาตจึงนำหน้าคติของพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ที่เน้นถึงการเป็นผู้สอนยาก การทะเลาะ การไม่รับฟังความเห็นของหมู่เหล่า อันจะทำให้เกิดการขาดความเชื่อถือ)





พระนั่ง วัดไตรมิตร

พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปทองคำ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๓ เมตร น้ำหนัก ๕.๕ ตัน

เป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีเนื้อทองคำมีความบริสุทธิ์ปานกลาง คือมีโลหะอื่นปนอยู่บ้าง

คติและสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางมารวิชัยก็คงได้เคยอธิบายถึงคติและความหมายของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

แต่เรื่องที่น่าจะนำมาวิพากษ์กันก็คือ ที่มาของพระพุทธรูปองค์นี้ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปูนลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร (วัดโชตนาราม) บางรัก กับพระพุทธรูปสำริดอีก ๑ องค์ ซึ่งอัญเชิญไปอยู่วัดไผ่เงิน พระพุทธรูปองค์นี้จึงถูกย้ายมาตั้งไว้ที่เพิงสังกะสีริมกำแพงวัดไตรมิตรจนถึง ๒๐ ปี และมีการสร้างวิหารใหม่เพื่อจะประดิษฐานพระองค์นี้

ขณะที่ยกพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นนั้นเกิดทำให้พระพุทธรูปนี้ตกลงมา เป็นเหตุให้ปูนที่หุ้มพระอุระแตกออกจึงรู้ว่าเป็นทองคำ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โปรดให้สร้างพระมหามณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ และให้นามว่าพระพุทธมหาสุวรรณีปฏิมากร

ปัจจุบันมีผู้คนทั้งชาวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้าไปกราบไหว้ สักการบูชากันเป็นจำนวนมากทุกวัน แตกต่างจากเมื่อเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ตั้งอยู่ในศาลาเพิงสังกะสีถึง ๒๐ ปี ที่ไร้คนบูชา อันน่าจะประเมินว่า การบูชาด้วยอามิส ดอกไม้ ของหอมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมาจากความเป็นทองคำขององค์พระมากกว่าคติของการสร้างพระพุทธรูป

เนื้อแท้แล้ว พระพุทธรูปไม่ใช่รูปเคารพเช่นในศาสนาอื่น หากมีความหมายของธรรมะที่แสดงออกด้วยการแสดงท่าทางของพระพุทธรูปนั้นเป็นสำคัญ





พระนั่ง วัดมหามุนี ประเทศเมียนมา

อาทิตย์นี้ขอออกนอกประเทศไปประเทศเพื่อนบ้าน พระมหามัยมุนี แห่งวัดมหามุนี เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือประเทศพม่า

พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่มีหน้าตักกว้าง ๑.๘๔ เมตร สูง ๓.๘๒ เมตร นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปโลหะที่มีขนาดใหญ่มากองค์หนึ่ง มีตำนานความเป็นพระพุทธรูปองค์นี้ก็คล้ายคลึงกับตำนาน อุรังคธาตุของพระธาตุพนมคือมีมาแต่สมัยพุทธกาล

ความเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีชีวิตหรือด้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า จึงเกิดมีประเพณีล้างหน้าพระพุทธรูปในเวลาตีสี่ของทุกวัน ที่จะมีพุทธบริษัทไปนั่งอยู่เต็มพระวิหารองค์นี้ทุกวัน ด้วยศรัทธาเหมือนได้ชื่อว่าได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า

ความสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้มีมากกว่าคติและสัญลักษณ์ในทางธรรมของพระพุทธรูปปางพิชิตมารที่ได้เคยเขียนอ่านกันมา

ความสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในทางโลก สัญลักษณ์ของผู้พิชิต ผู้ครอบครองและควบคุมหรือความยิ่งใหญ่ของชาติพันธุ์

พระมหามัยมุนีเดิมเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่หรือแคว้นอาระกัน ซึ่งไม่เคยมีกษัตริย์พม่าหรือมอญองค์ใดพิชิตได้ และไม่อาจจะเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้จากรัฐยะไข่ได้

เมื่อพระเจ้าปดุงเข้าพิชิตเมืองยะไข่ได้ จึงอัญเชิญพระพุทธรูปมหามัยมุนี (ที่แปลว่า ผู้รู้อันประเสริฐ) มาไว้ยังเมืองมัณฑะเลย์ เน้นย้ำถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าปดุง และทำลายความเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของยะไข่





พระนั่งวัดไดโตกุ ประเทศญี่ปุ่น

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ของต่างประเทศอีกองค์หนึ่งที่รู้จักกันดีในพุทธ ศาสนิกชนคือ

พระพุทธรูปนาม ไดบุตสึ (Dai butsu) แห่งเมืองคามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น เป็นพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ มีความสูงเฉพาะองค์พระ ๑๑ เมตร

พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นแทนพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้ จากดำริของโชกุนมินะโมโตะ โนะ โยะริโตะโมะ น่าจะประมาณปี พ.ศ.๑๖๘๐-๑๗๓๕ อันเป็นปีหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุน แต่พระพุทธรูปไม้ถูกพายุพัดพัง จึงสร้างใหม่โดยศรัทธาหลวงพ่อโจโดที่เดินขอรับบริจาคทุนทั่วประเทศ (ก็คล้ายกับการวิ่งรอบประเทศรับบริจาคไปช่วยโรงพยาบาลในปัจจุบัน)

พระพุทธรูปองค์นี้ชื่อจริงก็คือ พระอมิตาภพุทธ เนียวยูไล พระอมิตาภ พุทธเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในพุทธศาสนามหายานที่เชื่อกันในประเทศจีน เป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตร (MANDALA ชื่อ สุขาวดี

เป็นพุทธเกษตรที่สถิตอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพุทธเกษตรองค์กลาง ผู้ที่ปรารถนาจะไปเกิดในพุทธเกษตรนี้จะต้องพร่ำภาวนาคำว่า อมิตาภพุทธอยู่ตลอดเวลา

เพราะฉะนั้นในพุทธเกษตรนี้จึงไม่แบ่งแยกระหว่างคนดีและคนชั่ว

อมิตาภพุทธแปลอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้มีแสงสว่างที่จะเข้าไปถึงทุกที่หรือหมายถึง ผู้มีปัญญาย่อมรู้ได้ทุกปัญหา

ส่วนคำว่า เนียวยูไล ยูไล แปลว่า ตถาคต หรือ พระพุทธเจ้า หรือแปลว่า ผู้มาแล้ว

ไดบุตสึ แปลว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ฉะนั้นพระพุทธรูปไดบุตสึองค์นี้จึงหมายความว่า พระพุทธรูปองค์ใหญ่อันเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้านามอมิตาภพุทธ





พระนั่งเมืองทิมพู ประเทศภูฏาน

ฉบับนี้ยังขอนำพระพุทธรูปขนาดใหญ่นอกราชอาณาจักรไทย คือพระพุทธรูปที่มีนามว่า ดอร์เดนมา แปลว่า บัลลังก์วัชร

เป็นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าศากยมุนี หรือนามของพระพุทธเจ้าที่เรา (ฝ่ายเถรวาท) นับถือกัน

พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติของกษัตริย์แห่งภูฏาน องค์จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งถือเป็นอุเทสิกเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง

สร้างด้วยสัมฤทธิ์ถอดเป็นชิ้นๆ จากประเทศจีนมาประดิษฐานอยู่บนเขา เหนือแม่น้ำวังซุก หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

ขนาดขององค์พระ ความสูง ๕๑ เมตร ฐานขององค์พระที่เรียกว่ารัตนบัลลังก์ สูงถึง ๑๕ เมตร ภายในเป็นโถงขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ประดิษฐานโดยรอบผนัง จำนวน ๑๒๕,๐๔๖ องค์

ถึงแม้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะเป็นพระพุทธรูปศากยมุนี แต่คติสัญลักษณ์ที่เรียกมุถุราของพระพุทธรูปก็แตกต่างจากพระพุทธรูปที่เป็นสัญลักษณ์ของพระศากยมุนีหรือสมณโคดมในฝ่ายเถรวาท ซึ่งจะไม่มีสัญลักษณ์ของอัฐ เช่น หม้อหรือบาตรในพระหัตถ์ ที่น่าจะหมายถึงพระไภษัชคุรุที่ถือหม้อยา อันมีความหมายถึงยาที่จะบำบัดความไม่รู้ธรรมของประชาชน

วัชระที่วางอยู่ด้านหน้าขององค์พระพุทธรูป ที่เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาที่วางอยู่หน้าองค์พระ

ทั้งหมดก็คือ สัญลักษณ์อันเป็นส่วนหนึ่งของความสุขมวลรวม ที่กำหนดไว้ว่า พระพุทธศาสนานิกายตันตระยานเป็นศาสนาประจำชาติของภูฏาน





พระเจ้าพาราละแข่ง หรือพระมหามุนี (จำลอง)

พระเจ้าพาราละแข่ง เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คล้ายกับพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย

ความแตกต่างของพระเจ้าพาราละแข่งกับพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยก็คือ เป็นพระพุทธรูปจำลองของพระมหามัยมุนี พระพุทธรูปอันเป็นศูนย์รวมของประชาชน ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่พระเจ้าปดุงนำมาจากยะไข่ อันเป็นพระพุทธรูปศูนย์กลางของชาวยะไข่หรืออาระกันมาก่อน (เพื่อแสดงถึงเดชะบารมีของพระองค์ที่อยู่เหนือประเทศราชโดยรอบ)

พระเจ้าพาราละแข่ง สร้างขึ้นโดยช่างชาวเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อประมาณ ๙๐ ปีล่วงมาแล้ว หล่อและถอดออกได้เป็น ๙ ชั้น และประดิษฐานไว้ที่วัดหัวเวียง ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เชื่อว่าได้บรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูคล้องกับคติของพระมหามัยมุนีที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้บรรจุลมหายใจของพระองค์ไว้ในองค์พระ

พระเจ้าพาราละแข่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมายถึงการแสดงออกหรือการยืนยันว่าพระพุทธองค์ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์ผู้อยู่เหนือโลก


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หรรษา sun หนังสือพิมพ์ข่าวสด nec. ๒๘/๘ p.๔๐๐ 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กรกฎาคม 2562 15:04:49 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2562 16:02:29 »

   
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


พระนั่งวัดเขากง จังหวัดนราธิวาส

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล พระพุทธรูปปางประทานพร ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๗ เมตร สูงถึงปลายยอดพระเกศ ๒๓ เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสกสีทองทั้งองค์

บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน คือ ดินจากสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขากง ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส พื้นที่ที่มีหลักฐานทางโบราณคดีว่าเคยเป็นและมีซากโบราณสถานของวัดทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมาก่อน

คติของพระพุทธรูปปางประทานพรนั้น ในภาษาและความเข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไปก็คือ การให้ข้อตกลงในการรับเป็นอุปัฏฐากของพระอานนท์กับพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของผู้คนถึงประโยชน์หรือความขัดแย้งใดๆ อันอาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ของพระอานนท์

ความเชื่ออีกด้านหนึ่งของพุทธศาสนิกชนก็คือ การให้พร หมายถึงการให้ความสุข ความเจริญแก่ผู้คนทั่วไป

ดังนั้น ปางประทานพรของพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลก็คือ การขอให้เกิดประโยชน์สุข คือความสงบ ร่มเย็นของทุกๆ คน ในพื้นที่




พระนั่ง วัดพระแก้ว ปางขอฝน

พระพุทธรูปที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ องค์นี้เป็นพระพุทธรูปขนาดธรรมดาที่มิใช่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั่วไปและก็มิใช่เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่จัดสร้างขึ้นจำนวนมากและบรรจุอยู่ในวิหาร ซึ่งเป็นคติหรือสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้อุบัติขึ้นมาในจักรวาลทัศน์นี้มีจำนวนประมาณเท่ากรวดทรายในมหาคงคานที

พระคันธารราษฎร์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดให้สร้างหรือหล่อขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๒๖ เป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระหรืออก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายลงบนพระเพลาเป็นกิริยารับน้ำ เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน คือปางขอฝน

ภายหลังได้หล่อเป็นพระยืนขึ้นอีกองค์หนึ่ง แต่ก็มีการสร้างพระพุทธรูปปางขอฝนกันอีกหลายแบบหลายองค์

พระคันธารราษฎร์นี้จะใช้เป็นพระประธานในพิธีที่เรียกว่าพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเดิมเป็นพิธีของพราหมณ์ที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยที่กระทำกันในเดือนไทยเรียกเดือน ๙ หรือประมาณเดือนกรกฎาคม เพื่อบวงสรวงเทพยดาขอให้ฝนตก โดยอ้างอิงไปกับพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะอนุเคราะห์แก่มหาชนชาวสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนขาดแคลนน้ำทั้งการอุปโภคและบริโภค พระองค์จึงทรงผ้าอาบน้ำฝน และเสด็จประทับ ณ บันไดสระ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นกวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองน้ำฝน ซึ่งได้บังเกิดฝนตกขึ้น

พระพุทธรูปปางขอฝนจึงเป็นพระพุทธรูปมีคติเป็นรูปเคารพที่มีการกราบไหว้ขอพร ขอลาภ มิใช่เป็นพระพุทธรูปที่แสดงถึงการสอนหรือแสดงธรรมะอย่างเช่นปางปฐมเทศนาหรือปางปรินิพพาน




พระพุทธไตรรัตนายก หลวงพ่อโต (ซำปอกง)


พระพุทธรูปปูนปั้นลงรัก ปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร (เขตธนบุรี) หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกหนึ่งคืบ หรือประมาณเท่ากับเกือบ ๑๒ เมตร สูง ๗ วา ๒ ศอก คืบ ๑๐ นิ้ว หรือประมาณ ๑๕ เมตร สถิตอยู่ ณ วิหารหลวงวัดกัลยาณมิตร ถนนอรุณอัมรินทร์ตัดใหม่ เขตธนบุรี

เดิมพระพุทธรูปองค์นี้และวิหารหลวงเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้สร้างพระราชทานให้กับพระยาราชสุภาวดี ผู้เป็นกัลยาณมิตร หมายถึง ผู้เป็นมิตรดีอันประเสริฐ ที่ได้ร่วมทำกิจกรรมค้าขายสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยนั้นได้อุทิศบ้าน ที่ดิน ที่อยู่อาศัยของท่านสร้างเป็นวัด พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร

ที่ยกเรื่องพระพุทธไตรรัตนายก พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ได้เคยอธิบาย คติและสัญลักษณ์กันไปหลายครั้ง ทั้งที่ผู้อ่านจะหาอ่านศึกษาประวัติวัดได้จากข้อมูลในวิกิพีเดีย ก็เพราะมีผู้ถามมาว่า ทำไมพุทธศาสนิกชนทั้งอดีตและปัจจุบันจึง นิยมสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โต สิ้นเปลืองทรัพย์สิน เงินทอง ทั้งที่มีพระพุทธรูปบูชาชนิดธรรมดากันอยู่มากมาย

เรื่องนี้มีมิติของความปรารถนาอยู่ในจิตใจหลายประการ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มว่าคติสร้างพระใหญ่โตนั้นมาจากลำดับดังนี้

ผู้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นผู้มีจิตศรัทธา หวังจะสร้างเป็นศาสนสถานสำคัญเพื่อ

๑. เป็นบุญกุศลที่จะส่งให้ผู้สร้างได้ไปอุบัติชนในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาอีก

2#. ผู้สร้างเป็นผู้มีบุญ มีพลัง ทั้งทางอำนาจ ทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคม จะทำอะไรจะสร้างอะไรก็ต้องแสดงความยิ่งใหญ่ ความสำคัญของผู้สร้าง

$. การสร้างศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญใหญ่โต ก็คือการสะท้อนความ ยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง

๔. การสร้างศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างใหญ่โตเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ก็คือ การยืนยันถึงความมีอยู่ เป็นอยู่ความรู้สึก มั่งคง ความเป็นตัวตนที่จะปรากฏในประวัติศาสตร์ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตนั้น ก็ได้เป็นประโยชน์ทางจิตใจและความคิดในทางที่เป็นกุศลจิตแก่ผู้พบเห็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำรงอยู่ของผู้คนในสังคมเสมอ




พระเจ้าพร้าโต้

เล่าเรื่องพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศมาหลายองค์ เรื่องที่จะเล่าในอาทิตย์นี้ก็คือ พระพุทธรูปองค์เล็กที่สร้างขึ้นจากไม้ที่เรียกว่าไม้แก่นจันทน์ขนาดใหญ่ต้นเดียว

พระเจ้าพร้าโต้ วัดศรีดอนดำ อ.ลอง จ.แพร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๖ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป เป็นพระพุทธรูปฝีมือชาวบ้านที่แสดงถึงศรัทธาและความเชื่อในพุทธลักษณะ หรือมหาบุรุษ ออกเป็นรูปแบบ รูปทรงเฉพาะตัว โดยใช้มีดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า พร้า เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก และจะต้องแกะสลักให้แล้วเสร็จภายในเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

พระเกศพุ่มสูงใหญ่ สัญลักษณ์แห่งโลกุตตระ ผู้มีธรรมอันอยู่พ้นโลก

พระเกศา (ผม) เป็นหนามแหลมที่แสดงถึงความเฉียบแหลมแห่งปัญญา

พระกรรณ (หู) ที่กว้างใหญ่ สัญลักษณ์ความเป็นผู้รู้มาก ฟังมาก เรียกว่า สัพพัญญู

พระพักตร์ เป็นใบหน้าที่ยิ้มอย่างสงบแสดงถึงเมตตาธรรม

พระพุทธรูปมีขนาดรวมฐานสูง ๓ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่คติและสัญลักษณ์คือการประกาศถึงการพ้นไปจากสังสารวัฏของพระพุทธเจ้าที่แสดงด้วยการใช้ปลายพระหัตถ์ชี้ลงสู่พื้นว่า พระองค์อยู่พ้นจากโลกไปแล้ว (หรือนัยคือการประกาศการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) เช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยอื่นๆ

ทั้งนี้ ที่เว็บไซต์มิวเซียมไทยแลนด์ www. museumthailand.com มีรายละเอียดและภาพที่สวยงามของพระเจ้าพร้าโต้ ๓ องค์ จากเดิม ๕ องค์ ที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ เป็นองค์ใหญ่ ๑ องค์ และองค์เล็ก ๒ องค์

ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากความเคารพนับถือ ความเลื่อมใส ความศรัทธา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาของชาวอำเภอลอง




พระนั่ง ขนาดเล็ก

ได้เขียนถึงคติสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ในมุมมองของการแสดงธรรมหรือการเทศนาธรรมสำคัญของพระพุทธเจ้า โดยรูปแบบที่เรียกกันว่า มถุรา (ที่มิใช่เป็นเพียงรูปเคารพ เช่นเดียวกับรูปเคารพในลัทธิหรือในศาสนาอื่นๆ) พร้อมกับเหตุผลและจุดมุ่งหมายในทางจิตวิทยาหรือสังคมของผู้สร้าง

อาทิตย์นี้จึงขอเขียนถึงพระพุทธรูปองค์เล็กหรือที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปในประเทศไทยเรียกว่า พระเครื่อง และพระเครื่องที่จะเขียนถึงก็คือ "พระสมเด็จ" ซึ่งเป็นพระเครื่องที่ได้รับ ศรัทธาและความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในประเทศมากที่สุด และบางกรณีได้ทำให้ศรัทธาและความเชื่อนั้นเป็นประโยชน์ในทางพาณิชย กรรมไปด้วย

เชื่อกันว่าในบรรดาผู้ที่มีศรัทธาในพระเครื่องของไทยเกือบทุกท่านจะต้องมีพระสมเด็จอยู่ในการครอบครองเกือบทุกคน

และทุกคนก็คงจะเชื่อว่า พระสมเด็จ ที่มีอยู่นั้นเป็นพระสมเด็จจริงและมีสนนราคาในการจะมีจะครอบครองนั้นสูงมาก เป็นหลักหมื่น หลักแสนและหลายล้าน

พระเครื่องที่น่าจะเรียกว่าเป็นพระสมเด็จนั้นผู้รู้หลายท่านอธิบายว่า น่าจะเป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ซึ่งคงจะเริ่มสร้างเมื่อท่านได้สมณศักดิ์เป็นพระพุฒาจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๙ จนถึง ๒๔๑๕ ประมาณ ๑๘,๗๐๐ องค์ ส่วนที่เกินจากนั้นเป็นพระสมเด็จที่ปรากฏอยู่ในกรุวัดต่างๆ เช่น วัดอินทร์ บางขุนพรหม ๘๔,๐๐๐ องค์ ก็มาจากการร่วมมือของช่างชาวบ้านภายใต้การนำของเสมียนตรามี เป็นหัวหน้าในการจัดการ

พระสมเด็จ พระพุทธรูป ไม่ว่าใครจะเป็นผู้สร้าง ผู้ทำ ล้วนเป็นอุเทสิกเจดีย์ที่เป็นเครื่องระลึกถึงพุทธคุณทั้ง ๓ (ไม่มีพระปลอม) อันได้แก่ พระบริสุทธิ์คุณ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณ ส่วนจะเพิ่มเติมเป็นพุทธคุณ ๙ ประการ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้มีสตินั้นมากขึ้น (พระปลอมนั้นคือการนำพระไปเป็นของมีราคาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ)

พระสมเด็จที่มีผู้ครอบครองกันนั้น มีรูปแบบที่เรียกว่าพิมพ์ต่างๆ อยู่มากมาย หลายแบบ เช่น พิมพ์พระประธาน พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ทรงเจดี พิมพ์อกครุฑ (เซียนสมัยก่อนเรียกพิมพ์นี้ว่าพิมพ์ ไกเซอร์) พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์นอนไสยาสน์ พิมพ์ฐานสิงห์ ฯลฯ

แต่รูปแบบสำคัญก็คือ เป็นพระพุทธรูปในปางสมาธิกับปางมารวิชัย ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ขนาดประมาณกว้าง ๒.๕ ซ.ม. สูง ๓.๕ ซ.ม. เหมาะสำหรับการนำไปห้อยคอ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า และแถมด้วยศรัทธาที่จะได้รับความแคล้วคลาดจากอันตราย ได้รับเมตตามหานิยมและโชคลาภ กับการที่ได้แขวนพระสมเด็จไว้ด้วย

การแขวนพระเครื่องไว้เตือนสติของพุทธศาสนิกชนนั้น นอกจากจะเข้าใจในเรื่องของคติ สัญลักษณ์ หรือ มถุราในพระพุทธรูปนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปาโมกข์ (สุนทร สุนทราโภ) เจ้าอาวาสวัดราชกติการาม ให้คติของการบูชาพระสมเด็จ ก็คือการระลึกและปฏิบัติตนเช่นเดียวกับปฏิปทาของสมเด็จพุฒาจารย์โต

ไม่ถือตัว ไม่กลัวใคร น้ำใจดี และมีปฏิภาณ (ซึ่งก็คือ การมีศีล มีสติ มีสมาธิ และมีปัญญา)




พระพุทธรูป ปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก แต่ด้วยการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ค่อนข้างยาก กล่าวคือ การสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และอยู่ในอิริยาบถของการก้าวเดิน ทำให้โครงสร้างขององค์พระพุทธรูปมีความมั่นคงแข็งแรงไม่ล้มนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากจุดถ่ายน้ำหนักขององค์พระพุทธรูปต้องสมดุลกัน

ด้วยความยากลำบากในการจัดการก่อสร้างหรือสร้างองค์พระพุทธรูปปางนี้ จึงทำให้มีพระพุทธรูปปางนี้น้อยมาก ที่ดูเสมือนว่ามีเฉพาะการสร้างในสุโขทัย กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัย แล้วไม่ค่อยปรากฏพระพุทธรูปนี้ในยุคสมัยต่อมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและทำให้เกิดพุทธมณฑลขึ้นที่จังหวัดนครปฐม

ณ ที่นั่นเอง ที่พระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยได้ประดิษฐาน อันเป็นความหมายของการดำรงอยู่ มั่นคง และขยายตัวของพระพุทธศาสนาในสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางลีลาที่งดงาม

จากหนังสือ ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ ของท่านพระพิมลธรรม ราชบัณฑิต ชอบ อนุจารีมหาเถร ได้บรรยายตำนานพระพุทธรูปปางลีลานี้ไว้ดังนี้

ความจริง การยกพระบาทเยื้องย่างเสด็จพระดำเนิน ซึ่งนิยมเรียกว่าการลีลาของพระพุทธเจ้านั้น โดยปกติก็ทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่น่าจะมีความสำคัญอะไร ถึงกับเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นเลย แต่บังเอิญคราวเสด็จพระพุทธดำเนินลงจากดาวดึงส์เทวโลก ท่ามกลางเทวดาและพรหมห้อมล้อมครั้งนั้น ว่ากันว่างามนักงามหนา ถึงกับพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังไม่ วายจะชื่นชมปรากฏว่าท่านได้กล่าวคาถาสรรเสริญการเสด็จพระพุทธดำเนินครั้งนั้น ถวายพระบรมศาสดาด้วยความเบิกบานใจว่า

น เม ทิฎิโฐ อิโต ปุพฺเพ น สุโต อุท กสฺสจิ

เอวํ วคฺคุคโท สตฺถา ตุสิตา คณิมา คโต

ความว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงพระสิริโสภาคอันงามปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยเห็นเลย ไม่เคยได้ยินแม้แต่ถ้อยคำ ใครๆ บอกเล่า พระบรมศาสดามีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้เสด็จจากดุสิต มาสู่แผ่นดิน




พระพุทธรูปปางลีลา จ.กำแพงเพชร

พระพุทธรูปปางลีลา ณ วัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร หรือวัดพระยืนที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ เจดีย์ประธานของวัดมีลักษณะเป็นวิหารจัตุรมุข แต่ละด้านของวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ทิศตะวันออกของพระพุทธรูปในอิริยาบถปางลีลา ทิศตะวันตกพระพุทธรูปประทับยืน ทิศเหนือพระพุทธรูปประทับนอน และทิศใต้พระพุทธรูปประทับนั่ง

คติของพระพุทธรูปปางลีลาของพระวิหารวัดนี้แตกต่างจากพระพุทธรูปปางลีลาที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ที่เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และแสดงออกถึงความงดงามของสัญลักษณ์ของมหาบุรุษ

พระพุทธรูปปางลีลาของวัดสี่อิริยาบถนี้เป็นคติและสัญลักษณ์ร่วมกันของพระพุทธรูปปูนปั้นรอบพระวิหารที่หมายถึงคติธรรมของการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า มหาสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ

การตั้งสติ กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายในความเห็นตามความเป็นจริง ตามที่สิ่งนั้นมันเป็นของ มัน เป็นการตั้งสติพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงแต่งกาย ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลตัวตน

วิธีปฏิบัติก็คือการรู้อิริยาบถทั้งสี่ ได้แก่ ยืน เดิน นอน นั่ง ว่าเป็นเพียงรูปที่ปรากฏและต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เพื่อให้เข้าใจว่า "สิ่งที่ปรากฏนั้น เป็นเพียงความรู้สึก หรือความระลึกได้"

เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจแจ้งชัดว่า

"ตัณหา และอุปาทาน" (ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นตัวตน) "ก็ย่อมอาศัยมิได้" ก็คือ มันเป็นเช่นนี้เอง

ซึ่งก็คือการปฏิบัติเพื่อการพ้นไปจากทุกข์โดยสิ้นเชิง อันเป็นสุดทางแห่งอุดมคติของการนับถือพุทธศาสนา




พระพุทธรูปปางลีลา วัดเบญจมบพิตร

พระพุทธรูปปางลีลาวัดเบญจมบพิตร เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด สมัยสุโขทัย ที่กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ที่งดงามที่สุด

งามด้วยเส้นสายที่อ่อนช้อย ด้วยพระภูษาที่แนบพระองค์ งามด้วยการบรรยายถึงพุทธลักษณะของมหาบุรุษ ๓๒ ประการ หรือมหาปุริสลักษณะ

พุทธทาสภิกขุกล่าวว่า หากพิจารณามหาปุริสลักษณะให้ละเอียดจะพบว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงมารยาทอันละเอียดประณีตของพระองค์ เป็นลักษณะทางกายทางวาจา รวมอยู่ในคำว่า ศีล มีศีล คือการประพฤติทางกาย ทางวาจาถูกต้องบริสุทธิ์สะอาด น่ารัก เลื่อมใส พระพุทธลักษณะทางกายเป็นอย่างนี้

สำหรับพระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายว่านำมาจากวัดราชธานี (วัดเก่าริมแม่น้ำยม)

คติและสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อพิจารณาที่พระหัตถ์ข้างซ้ายที่ยกขึ้นเสมออก ปลายนิ้วจีบเป็นวงกลม น่าจะหมายถึงการแสดงธรรมที่หมายถึงธัมมจักกัปปวัตนสูตร

แต่แตกต่างจากพระพุทธรูปปางนี้ในที่อื่นที่เป็นรูปยกพระหัตถ์ขวา




พระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย

พระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา (อุเทสิกเจดีย์) ที่สวยงามองค์หนึ่งของศิลปะสุโขทัย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มณฑปพระสี่อิริยาบถ หลังพระธาตุมุเตา ด้านหลังสุดบริเวณวัด เป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่งดงาม มีอิริยาบถดังการเคลื่อนไหวที่สง่างาม การจัดวางการสะบัดแขนไปด้านหลังดูประหนึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ยังเคลื่อนไหวอย่างสงบ เยือกเย็น

พระสี่อิริยาบถของพระวิหารหลังนี้ก็คือ บทของการฝึกการศึกษา การตั้งสติ สมาธิ และวิปัสสนาญาณ ถึงอาการทั้ง ๔ นั่ง ยืน เดิน นอน ในมหาสติปัฏฐาน ๔ ที่เรียกว่า กายานุปัสสนา ที่เห็นว่ารูปในอาการทั้งสี่นั้นไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าเกิดดับจากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่งตลอดเวลา

จนเข้าใจว่า "สิ่งที่ปรากฏแก่เธอนั้น เป็นเพียงความรู้สึกหรือความระลึกได้ (ว่ามิใช่รูป มิใช่ตัวตน ดังนั้น เมื่อมิใช่รูป มิใช่ตัวตน สักแต่เป็นที่ปรากฏ) ตัณหา (คือความอยากอันมีความเกิดอีกเป็นธรรมดา เจือด้วยกำหนัด ด้วยราคะ) และอุปาทาน (ขันธ์ ๕ ความยึดมั่น ถือมั่น) ย่อมอาศัยเธอมิได้ (คือไม่มีความยึดติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์




พระโพธิสัตว์ อุลตร้าแมน

อาทิตย์นี้ขอเอาเรื่องที่เกิดความขัดแย้งทางความเชื่อในพุทธศาสนาอันเกิดจากรูปเคารพพระพุทธรูปจากฝีมือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เดิมมีการฟ้องร้องข้อหาดูหมิ่นและทำลายพุทธศาสนากันทางคดี กับมีการแข่งขันประมูลเป็นเจ้าของภาพดังกล่าว และต่อมาก็มีการถอนฟ้องเลิกรากันไป

ประเด็นแรกที่ขอวิพากษ์วิจารณ์รูปภาพนี้ก็คือ ภาพนี้ไม่ใช่ รูปเคารพทางพุทธศาสนา

ไม่ใช่ รูปพระพุทธเจ้า

แลมิได้มีคติและสัญลักษณ์ของการแสดงธรรมบทใดข้อใดทางพุทธศาสนา

การอธิบายพุทธภาวะของพระพุทธเจ้ากับภาวะวิสัยของอุลตร้าแมนที่กล่าวว่า อุลตร้าแมนเป็นยอดมนุษย์ช่วยเหลือคนให้พ้นทุกข์ให้ปลอดภัย ให้อยู่รอด มิใช่พุทธภาวะของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโพธิสัตว์ภาวะ

กล่าวคือเพียงช่วยให้พ้นทุกข์ทางโลก ให้อยู่รอดปลอดภัยทางโลกเท่านั้น

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ อริยสัจ ๔ ที่กล่าวถึงทุกข์ ได้แก่การกำหนดรู้ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ นิโรธ การทำให้แจ้งหรือรู้แจ้งชัดในทุกข์ มรรค ทำให้เจริญให้ยิ่งก็คือ การปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์หรือทางสายกลางที่ทำให้พ้นทุกข์

นั่นก็คือ ความแตกต่างของแนวทางคิด แนวทางปฏิบัติระหว่างพุทธศาสนากับแนวปฏิบัติของอุลตร้าแมน เพราะฉะนั้น รูปนี้จึงไม่ใช่พระพุทธรูป


ขณะเดียวกัน คำว่า พระโพธิสัตว์ในความหมายทางเถรวาทกับมหายาน ทางพุทธศาสนาก็มีความแตกต่างกัน พระโพธิสัตว์ในความหมายทางเถรวาทก็คือ ผู้ประสงค์จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าด้วยการบำเพ็ญบารมีที่เรียกว่า ทศบารมี ได้แก่

๑.ทาน (การให้ การเสียสละ) ๒.ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย) ๓.เนกขัมมะ (การออกบวช) ๔.ปัญญา (ความรอบรู้) ๕.วิริยะ (ความเพียร) ๖.ขันติ (ความอดทน) ๗.สัจจะ (ความจริง) ๘.อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น) ๙.เมตตา (ความรักใคร่) ๑๐. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) ซึ่งเชื่อกันว่า พระศรีอริยเมตไตรย ก็คือพระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญทศบารมีที่จะได้มาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า

ส่วนพระโพธิสัตว์ในฝ่ายมหายานหมายถึง ผู้ที่เข้าถึงพุทธจิตคือพร้อมที่จะเป็นพระพุทธเจ้า แต่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นไปจากทุกข์ด้วย ซึ่งรวมทั้งการพ้นทุกข์ภัยทางโลก พระโพธิสัตว์ที่เรารู้จักกันดีก็คือ พระอวโลกิเตศวร เป็นต้น

ฉะนั้น พระพุทธรูปที่มีหัวเป็นอุลตร้าแมน ถ้าจะเรียกกันให้ใกล้เคียงที่สุดก็คือรูปพระโพธิสัตว์อุลตร้าแมน ในวิถีคิดทางมหายาน




พระพุทธรูปปางลีลา สมัยสุโขทัย

พระพุทธรูปปางลีลา สมัยสุโขทัย ทำด้วยโลหะในภาพนี้เป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่สวยที่สุด ด้วยอาการของรูปทรงที่แสดงถึงพลังการเคลื่อนไหวประหนึ่งพระพุทธรูปนี้กำลังย่างเดินด้วยความสงบและองอาจ มั่นคง

แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หอพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

การปรากฏพระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยขึ้นที่นครราชสีมา จึงมิใช่เกิดขึ้นจากช่างฝีมือของศิลปินพื้นถิ่น และโดยเฉพาะในเขตนครราชสีมา ซึ่งมีอิทธิพลของศิลปะแบบขอม แบบบายน เป็นส่วนใหญ่

แต่การปรากฏพระพุทธรูปองค์นี้ที่จังหวัดนครราชสีมาคือความหมายของการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ที่ยังดำรงก้าวเดินไปในดินแดนที่กว้างขวางต่อไป


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หรรษา sun หนังสือพิมพ์ข่าวสด nec. ๑๓/๙ p.๔๐๐ 


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 05 มีนาคม 2563 16:17:33 »

.

 
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


ปางโปรดสุภัททะ

พระพุทธรูปนอนตะแคงขวา ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรซ้าย ทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกตั้งพาดพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม (คล้ายกับแสดงธรรมเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตรอันเป็นธรรมที่แสดงครั้งแรก การแสดงธรรมครั้งนี้เป็นการแสดงธรรมต่อสุภัททะ ซึ่งขอเข้าเฝ้าเพื่อถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเทศนาให้ฟังเป็นองค์สุดท้าย

เรื่องที่พระพุทธเจ้าเทศนาสุดท้ายเป็นส่วนหนึ่งของพระสูตรนาม ปรินิพพานสูตร ที่มีคติของคำเทศนา โดยที่สุภัททะมีความประสงค์จะรู้ว่าบรรดาครูทั้ง ๖ ในสมัยนั้นมีความรู้จริงหรือไม่รู้จริงตามที่กล่าวอ้าง

พระพุทธเจ้าทรงตอบพระสุภัททะว่า

"สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔ ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ

ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น

ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"

สมณะ แปลว่า ผู้สงบกิเลสแล้ว ผู้ระงับบาป ภิกษุ




ปางขับพระวักกลิ

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายพาดบนตัก พระหัตถ์ขวาวางเสมอท้อง หันด้านหลังของพระหัตถ์ มีลักษณะเป็นการขับไล่สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ไปให้พ้นจากตัว

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปที่เป็นทั้งคติและสัญลักษณ์ของการที่จะต้องเข้าใจในพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของการศึกษาพระพุทธศาสนาเรื่องนี้มุ่งเน้นไปที่ใดที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับทั้งศรัทธา รูปธรรม นามธรรม และการปฏิบัติ

พุทธภาษิตตอนนี้มาจากเรื่องราวของพระอรรคสาวกองค์หนึ่งชื่อพระวักกลิ ที่บวชในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลแล้ว จิตไปติดอยู่ที่ความยินดีในรูปหรือหลงติดอยู่ในรูปหรือกาย ของพระพุทธเจ้าเฝ้าเพ่งดูแต่พระรูปของพระพุทธเจ้าตลอดเวลาจนพระพุทธเจ้าตรัสถามและสอนเป็นคติธรรมที่เรียกกันกายานุเวปัสนา

“อย่าเลย วักกลิทำไมเธอจึงยินดีในรูปที่ชนพาลชอบเล่า ผู้ใดเห็นพระสัทธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเห็นเรา ผู้ไม่เห็นพระสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น ร่างกายมีโทษไม่สิ้นสุดเหมือนต้นไม้มีพิษ เป็นที่อาศัยของโรคทุกชนิด ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น เธอจงเบื่อหน่ายในรูปเถิด พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จะถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย”

อันทำให้พระวักกลิบรรลุพระอรหันต์




ปางโอวาทปาติโมกข์

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน มีการประชุมคณะสงฆ์ที่บวชโดยพระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันในวันเพ็ญเดือน ๓ เรียกว่า วันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมที่เรียกว่าเป็นข้อละเว้นในการประพฤติปฏิบัติของการเป็นพระภิกษุ เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ เป็นข้อห้ามข้อปฏิบัติที่เรียกว่า วินัยปาติโมกข์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดพระศาสนาให้เป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกให้ยาวนานให้ความเชื่อถือน้อมรับคำสอนจากผู้สำรวมในกายใจของพระภิกษุ

พุทธประวัติระบุว่า พระพุทธเจ้าเป็นประธานและนำสวดพระปาติโมกข์นี้ตลอดระยะ ๒๐ พรรษาแรกของการตรัสรู้ และบัญญัติให้พระสงฆ์ทั้งหลายต้องสวดปาติโมกข์นี้ทุก ๑๕ วัน

การต้องสวดทุก ๑๕ วัน ก็คือการย้ำเตือนถึงการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์ผู้เป็นสาวกในพุทธศาสนาต้องมีศีลที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ๒๒๗ ข้อและหากมีการฝ่าฝืนจะมีบทกำหนดการดำเนินการตั้งแต่ขาดจากความเป็นภิกษุไปจนถึงต้องสารภาพความผิดและต้องยืนยันที่จะไม่กระทำผิดนั้นอีก

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในอิริยาบถนั่งสมาธิยกพระหัตถ์ฝ่ามือหันออกไปด้านหน้า นั่งพระหัตถ์จีบเป็นวงกลมอันหมายถึงท่าของการแสดงธรรม (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) และการบอกห้าม การกระทำอันเป็นการทุศีล ละเมิด จรรยาบรรณของสงฆ์ แต่สาระสำคัญของคติในพระพุทธรูปปางนี้ก็คือ เจตนารมณ์เบื้องต้นและเบื้องปลายของการดำรงอยู่ในสมณเพศในหลักการของการถือเป็นพระภิกษุ คือคำกล่าวที่แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้

การไม่ทำบาปทั้งปวง (ผิดศีล)

การทำกุศลให้ถึงพร้อม (การภาวนาคือการทำให้มาก ให้เจริญในการพิจารณาธรรม)

การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ (การขจัดเหตุแห่งทุกข์ การรู้แจ้งแห่งทุกข์ได้บังเกิดแล้ว)

ธรรมทั้งสามอย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และหลังจากนั้นก็คือ ข้อวินัยปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ที่ควบคุมความประพฤติปฏิบัติของหมู่สงฆ์ทั้งหลาย




ปางสุบินนิมิต

เป็นพระพุทธรูปปางนอนตะแคงขวา ทอดแขนซ้ายไปตามลำตัว แขนขวายกขึ้นหนุนพระเศียร เป็นกิริยาของการนอน เช่นเดียวกับปางไสยาสน์

แต่คติธรรมของปางนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นหัวเรื่องของการบำเพ็ญเพียรเพื่อความรู้ในความจริงชั้นสูงสุดหรือการตรัสรู้

นับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากวังมาเป็นสมณเพศเพื่อแสวงหาธรรมอันวิเศษที่จะพาไปสู่ทางพ้นทุกข์ ด้วยการบำเพ็ญบารมีต่างๆ แม้แต่การทรมานตนก็คือการบำเพ็ญทุกขกิริยา ในที่สุดพระองค์ก็เข้าใจอย่างแจ่มชัดถึงอุปสรรคที่ทำให้พระองค์ไม่อาจจะเข้าถึงการตรัสรู้ได้ก็คือ

การกระทำทุกรกิริยา เรียกเป็นบาลีว่า อัตตกิลถานุโยค คือการกระทำให้เกิดความทุกทรมานแก่ร่างกายที่เรียกว่าเป็นการเผากิเลสนั้น ไม่มีหนทางที่ทำให้เข้าใจและรู้ไปถึงความจริงสูงสุดได้

ขณะเดียวกันการบำเรอตนหรือการข้องแวะ (หรือข้องติด) ติดอยู่ในกามที่เรียกเป็นภาษาบาลี กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึงความรักใคร่ กำหนัด ยินดี อยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง ไม่อาจทำให้บรรลุธรรมวิเศษได้

เรื่องที่จะทำให้บรรลุถึงความจริงนั้นก็คือ ต้องละเว้นจากทั้งการทรมานและการบำเรอตนด้วยกามคุณ เพื่อพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้ง ๒ ด้าน จึงจะตรัสรู้ได้




ปางอุ้มบาตร

พระพุทธรูปปางนี้ไม่ปรากฏในฝ่ายมหายาน ส่วนใหญ่พระพุทธรูปของฝ่ายมหายาน จะเป็นรูปที่แสดงธรรมด้วยกาย ด้วยภาษามือ ที่เรียกว่า มุทรา ต่างๆ เช่น การจีบนิ้วมือเป็นวงแหวนซ้อนกัน หมายถึงการแสดงธรรมที่เรียกว่า ปฏิสมุจปบาท ที่หมายถึง เหตุปัจจัย ที่ต่อเนื่องกัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของรูปธรรมและนามธรรม ในระยะต่างๆ ของความคิด ความรู้ ซึ่งในระดับของความจริงก็คือ สภาพของความคิดและความรู้นั้นไม่มีสภาพของความเป็นตัวตน ความยั่งยืน

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์และมือประคองบาตร เป็นลักษณะของการหาอาหารเลี้ยงชีพ โดยการรับภัตตาหารจากชาวบ้าน เป็นคติของการดำรงชีวิตในพระพุทธศาสนาของภิกษุ การบิณฑบาตอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจของสงฆ์ในพุทธศาสนา (โดยเฉพาะในฝ่ายเถรวาท)

กิจของสงฆ์ ๑๐ ประการ คือ
๑.ลงพระอุโบสถ (ประชุมสงฆ์)
๒.บิณฑบาต (เลี้ยงชีพ)
๓.ทำวัตร สวดมนต์ สวดปาฏิโมกข์ (วินัยสงฆ์ ทุก ๑๕ วัน)
๔.กวาดบริเวณวัด
๕.รักษาผ้าครองไตรจีวร ไม่ให้ชำรุดสูญหาย
๖.อยู่ปริวาสกรรม (ถ้ากระทำผิดวินัยสงฆ์ข้อสำคัญ (คือกักบริเวณ) ที่จะต้องไปสารภาพผิดกับสงฆ์อื่นที่เข้ามาในเขตบริเวณที่กักไว้)
๗.โกนผม หนวดเครา และตัดเล็บ (เพื่อแสดงความแตกต่างจากฆราวาสและระดับของบุคลในสังคม)
๘.ศึกษาพระธรรมและดูแลครูอาจารย์
๙.เทศนา สั่งสอนผู้คน
๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ คือ พิจารณาสำรวมในการกิน อยู่ ที่อยู่อาศัย ถึงความเสื่อม ความไม่คงทน  




ปางห้าม พระแก่นจันทร์

เป็นพระพุทธรูปอิริยาบถยืน พระกร (มือ) ขวาห้อยข้างพระวรกาย พระหัตถ์ (มือ) ซ้ายยกเสมอพระอุระ (อก) ในกิริยาห้าม

พุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระมารดาและพักเข้าพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนั้น (ในหลักฐานทางภูมิศาสตร์ น่าจะหมายถึงการจำพรรษาในภูเขาใกล้เมืองสาวัตถี แคว้นอุตตรประเทศอินเดียเหนือ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ใช้ไม้แก่นจันทร์แกะเป็นรูปพระพุทธเจ้าเพื่อบูชาขณะที่พระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่นั้น

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกพรรษาในตำนานได้กล่าวว่า พระพุทธรูปแก่นจันทร์นั้นได้ลุกขึ้นยืนถวายความเคารพพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้แสดงกิริยาห้ามไว้ คติและสัญลักษณ์ในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่น่าจะยกขึ้นมาวิตกวิจารณ์กันว่าความหมายถึงการห้ามของพระพุทธเจ้านั้นหมายความอย่างไร

หมายความว่า พุทธศาสนิกชนในขณะนั้นไม่สมควรสร้างรูปเคารพแทนองค์พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดา เพราะแม้ที่สุดในการเทศนาครั้งสุดท้าย พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสสั่งพระอานนท์ไว้ว่า "เมื่อตถาคต (คือพระพุทธเจ้าได้ดับขันธ์สิ้นไป) พระธรรมคำสั่งสอนที่ได้ตรัสไว้นั้นจะเป็นศาสดาแทนพระองค์" ฉะนั้น รูปของพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปนั้นจะต้องแสดงคำสอนของพระองค์ในวิธีที่เรียกว่า มุทรา หรือภาษากาย หรือแสดงพระธรรมในเรื่องราวต่างกันตามพระธรรมที่ได้แสดงครั้งแรก




ปางโปรดพุทธบิดา

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปที่ต่อเนื่องจากปางอุ้มบาตร มีลักษณะอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์ (คล้ายกับปางปฐมเทศนา) ที่หมายถึงการแสดง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร

พระพุทธประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาเมื่อได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาตรับอาหารจากชาวบ้านนั้น พระองค์เห็นเป็นเรื่องที่เสื่อมเสีย ขัดต่อประเพณีของกษัตริย์ จึงทรงไปต่อว่าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อพระราชบิดาว่า นี่เป็นประเพณีของตถาคต (คำว่าตถาคตหมายถึงผู้ไปดีแล้ว) หรือวิถีชีวิตของพระพุทธเจ้าหรือพระภิกษุผู้ปรารถนาที่จะพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ที่จะยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น (เพราะการยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น ผู้นั้นย่อมไม่ต้องปรุงแต่ง แสวงหา วุ่นวายอยู่ด้วยการจัดทำจัดหาอาหาร ปรุงอาหาร เพื่อบำเรอตนด้วยความยินดีในรสอันเกิดจากลิ้น (เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ) อันเป็นส่วนหนึ่งของการบำเรอตนด้วยสิ่งที่เรียกว่า กามสุขัลนุโยค ให้พระราชบิดาเข้าใจและทรงบรรลุธรรมในลำดับที่เรียกว่าโสดาบัน)




ชนชั้นสัตว์โลก

สังคมไทยทุกวันนี้ดูมีความขัดแย้งกันอยู่หลายระดับ ที่ชัดเจนก็เรื่องของความขัดแย้งดูเหมือนจะมาจากความเห็นว่า สังคมไทยแบ่งผู้คนในสังคมเป็นชนชั้นต่างๆ

เป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจ เมื่อแบ่งแยกผู้คนออกตามฐานะของการครอบครองทุน การครอบครองทรัพยากรของประเทศ เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ผู้มีเงิน ผู้ยากไร้

เป็นชนชั้นทางการศึกษา แบ่งแยกผู้คนออกตามระดับวุฒิการศึกษา เป็น ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์

เป็นชนชั้นทางสังคม มียศ มีศักดิ์ เป็นอภิสิทธิ์ชน เป็นชนชั้นสูง ชั้นต่ำ เป็นนักการเมืองระดับพื้นบ้านถึงนักการเมืองระดับชาติ เป็นรัฐมนตรี เป็นประชาชน เป็นราษฎร ผู้ถูกปกครอง

จึงมีคำถามว่า ศาสนาโดยเฉพาะในพุทธศาสนามีการแบ่งชนชั้นหรือไม่

คำตอบในที่นี้ก็คือ พุทธศาสนามีการแบ่งชั้นของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์โลก เป็นระดับต่างๆ โดยกำหนดระดับของชั้นสัตว์โลกตามภูมิ ภาวะ ชาติ (แปลว่าการก้าวลงสู่ชีวิตในระดับต่างๆ) เช่นกัน

แต่ชั้นของสัตว์โลกตามพุทธศาสนานั้นแบ่งตามภูมิธรรม ตามสติปัญญา (ที่แปลว่าความรู้ตามความเป็นจริงในระดับโลกุตระ) และตามพฤติกรรมที่แสดงออก มิใช่เพื่อการกดขี่ การควบคุม การใช้สิทธิ หรือหน้าที่ใดๆ หรืออำนาจใดๆ

ด้วยความถี่ของชั้นของสัตว์โลกค่อนข้างละเอียดประณีต ก็จะอธิบายระดับชั้นของสัตว์โลกไปตามลำดับ ตั้งแต่ชั้นล่างสุด ที่หมายถึงความรู้สึก ความคิดพฤติกรรมของชีวิตที่ยังขาดสติปัญญา ไปจนถึงชั้นสุดของความคิดที่จะพ้นไปจากการเป็นสัตว์โลกตามลำดับในฉบับต่อไป

ประเด็นนี้แสดงและแฝงอยู่ในคติ สัญลักษณ์ของรูปทรงทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ที่เรียกว่า สถูปหรือเจดีย์




ชนชั้นของสัตว์โลก (๒)

โลก ในพระพุทธศาสนามิได้หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่หมายถึงชีวิตที่ประกอบด้วยความรู้สึก สุข ทุกข์ ที่ประกอบด้วยความสุข ทุกข์ ที่เรียกว่าเวทนา อันมีผลจากการปรุงแต่งที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์

ชั้นของสัตว์โลกในพุทธศาสนาหมายถึง ชั้นระดับความรู้ของปัญญาในความจริงสูงสุด หมายถึงจริยธรรมของผู้คนในทุกระดับที่จะยกระดับจิตใจความเข้าใจในความจริงอันสูงสุดด้วยไปสู่การพ้นทุกข์

การกำหนดระดับชั้นของสัตว์โลก ในพระพุทธศาสนาจึงแตกต่างจากคำว่าชนชั้นของระดับผู้คนในสังคมมนุษย์ในโลกทั่วไป

ลำดับชั้นของสัตว์โลกนั้น แปรมาเป็นสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมประเพณีไทย เป็นองค์ประกอบ รูปทรงของสถูป เจดีย์ (ซึ่งได้เคยเขียนถึงความหมายขององค์ประกอบเจดีย์ที่หมายถึงโลก ที่เน้นถึงส่วนต่างๆ ที่แสดงลำดับ ภพ หรือภูมิของผู้มีฐานะอยู่ในระดับชั้นของสัตว์โลก)

การแบ่งรูปทรงของสถูปเป็น ๓ ระดับ เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงคำว่า ภพหรือภูมิ คำว่าภพ แปลว่า โลกที่เป็นที่อยู่ของสัตว์หรือภาวะชีวิตของสัตว์มี ๓ ภพ คือ

กามภพ หมายถึง ภพของผู้เสวยกามคุณหรือภพของผู้ยังข้องติดอยู่ในกามคุณ คือมีความยินดีในความรักความใคร่ ยินดีในรูป ยินดีในรส ยินดีในกลิ่น ยินดีในเสียง ยินดีในสัมผัส และยินดีในการปรุงแต่งของอารมณ์

ในชั้นนี้ทางสถาปัตยกรรม หมายถึง ส่วนของฐาน ตัวองค์สถูปหรือเจดีย์ ไปจนถึงส่วนที่เรียกว่าปล้องไฉน ซึ่งปกติจะมีอยู่ ๖ ปล้อง

ส่วนที่ ๒ เรียกว่า รูปภพ สัญลักษณ์ของรูปภพคือการแบ่งส่วนนี้เป็นปล้อง มี ๑๖ ชั้นบ้าง แต่บางครั้งอาจจะรวมกัน ไม่มีลักษณะเป็นปล้องก็ดี รูปภพ หมายถึงภพของผู้อยู่ในอารมณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ อยู่ในภาวะของความสงบ บางทีหมายถึง ผู้อยู่เดียวดาย ที่เรียกว่า พรหม

อรูปภพ คือ ภพหรือภูมิสูงสุดของผู้ที่พิจารณาเรื่องของความคิด ความรู้สึก พิจารณาถึงความว่าง ความรู้สึก ความไม่มี ระหว่างความมี ความไม่มี กับความไม่เป็น ดังนั้น อาทิตย์นี้จะบรรยายถึงส่วนชั้นล่างสุดของสถูปหรือเจดีย์ สถูปหรือเจดีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของโลก ที่พบกันอยู่ทั่วไปในประเทศไทยมักจะมีฐานสูง ๓ ชั้น หรือ ๔ ชั้น ส่วนของฐานนี้ก็คือส่วนหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของกามภพ

ในชั้นฐาน ๓ หรือ ๔ ชั้นนี้ หมายถึง ภพย่อยในส่วนหนึ่งของกามภพ เรียกว่า อบายภูมิ

อบายภูมินี้แปลเป็นภาษา ที่น่าจะเข้าใจได้ก็คือ พื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยที่ปราศจากความเจริญ (คำว่า เจริญ หมายถึง พื้นที่ที่มีผู้คนที่ประกอบด้วยจริยธรรม คือการดำรงชีวิตอยู่ด้วยการไม่เบียดเบียน แก่งแย่ง แย่งชิง ข่มขู่ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน หรือชิงเอาประโยชน์จากผู้อื่นมาเป็นของตน) ผู้มีชีวิตอยู่ในอบายภูมิก็คือ ผู้กระทำบาปหรือความชั่วร้าย ได้แก่การ กระทำอกุศลธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการ อันจะยังผลให้ชีวิตจิตใจ ตกอยู่ในสภาวะที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง พยาบาท ทำร้ายกันและกัน รวมทั้งตัวเองด้วย

๑.ทางกายกรรม ได้แก่ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตของสัตว์โลกอื่นๆ การเอาของที่บุคคลไม่ได้ให้ไปเป็นของตน หรือส่งต่อให้ผู้อื่น การประพฤติผิดในศีลธรรม เป็นชู้ พรากสามีภรรยา บุตรหลาน การทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัวของผู้อื่นมาเป็นของตน ในปัจจุบันน่าจะหมายชัดก็คือ การค้ามนุษย์ การทำลายทรัพย์สิ่งของอันมีค่าหรือความเชื่อถือของบุคคลอื่น

๒.ทางวจีกรรม ก็คือการกล่าวเท็จเพื่อประโยชน์ของตนหรือของผู้อื่น การดูถูกเหยียดหยาม การพูดเพ้อเจ้อ หาความหมายที่เป็นประโยชน์มิได้

๓.ทางมโนกรรม ก็คือ จิตใจที่มุ่งอยากจะได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน การคิดพยาบาทมาดร้ายให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นต้น

บุคคลผู้ไร้จริยธรรมนั้น เรียกได้ว่าอยู่ในอบายภูมิทั้ง ๔ ก็คือ

นรก คือ ผู้ที่ต้องรับผลของการฆ่าฟัน ผู้อื่น กระทำผิดบาปทางกายกรรม

เปรต คือ พวกที่เต็มไปด้วยความละโมบ แย่งชิง ทรัพย์สิน ทรัพย์สมบัติมาเป็น ของตน มีจิตใจตระหนี่ ปรารถนาทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น

อสุรกาย พวกที่สร้างความหวาดกลัว หวาดระแวงต่อผู้อื่น ข่มขู่ ไม่มีผู้อยากอยู่ใกล้ นอกจากพรรคพวกของตัว

เดรัจฉาน เป็นคนพาล ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีชีวิตอยู่ด้วยความกระหายอยาก ทุรนทุราย อยู่ด้วยความอยาก




ชนชั้นของสัตว์โลก (๓)

จากแนวพื้นฐาน ๔ ชั้นล่างสุดของสถูปหรือเจดีย์ที่มีความหมายหรือสัญลักษณ์ของอบายภูมิหรือสัตว์โลก ๔ ลำดับ นรก ที่หมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในภาวะของการรับผลกรรมทั้งทางกายและใจ ในการกระทำผิดทางกายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

เปรต ที่หมายถึงผู้ที่มีจิตใจ ปรารถนา ที่เต็มไปด้วยความโลภ แย่งชิงทรัพย์สิน ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นประโยชน์ของตน

อสุรกาย ที่หมายถึงผู้สร้างความหวาดกลัว หวาดระแวง ข่มขู่ ผู้อื่น ผู้ที่ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้

เดรัจฉาน คือกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ

ในส่วนที่เหนือขึ้นไปจะมีสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ๒ แบบ คือ

แบบที่มีชั้น ๔ ชั้น ตามรูปแบบที่แสดงหรือบางกรณี หมายถึง ตัวองค์เจดีย์ก็ดี ส่วนนี้หมายถึงมนุษย์ภูมิ ที่ยังรวมอยู่ในกลุ่มของมนุษย์โลก

การเป็นมนุษย์นั้น ความหมายในทางพุทธศาสนาแตกต่างกับความหมายทางชีววิทยาอยู่บางประการ ที่ทางชีววิทยาจะกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและกระบวนการรับรู้ รู้สึก หรือประสิทธิ ภาพของความคิดการพัฒนาอุปกรณ์ของการดำรงชีวิตเป็นสำคัญ

ทางพุทธศาสนาจะแบ่งมนุษย์ใน ๒ ลักษณะ

ลักษณะที่ ๑ เรียกว่า เวไนยสัตว์ หมายความว่า เป็นสัตว์ที่สอนให้รู้สิ่งชั่วดีได้ เปรียบเป็นดั่งดอกบัว คือ ดอกบัวที่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน หมายถึงมนุษย์ที่พร้อมจะรู้เข้าใจธรรมชาติ รู้เข้าใจภาวะของความจริงขั้นปรมัติสัจจะ

ดอกบัวที่จะพ้นน้ำและจะบานเมื่อได้รับความรู้และเข้าใจธรรมชาติตามดอกบัวที่พ้นน้ำและพร้อมที่จะบานเมื่อได้รับการสั่งสอนและฝึกหัด

ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ หมายถึงมนุษย์ที่จะต้องได้รับการชี้แนะชี้นำ สั่งสอน ฝึกหัดอดทนอย่างสูงที่จะรับรู้เข้าใจในธรรมชาติก็คือการพัฒนาตนไปตามลำดับจนเป็นดอกบัวที่บาน

ลักษณะที่ ๒ เรียกว่า อเวไนยสัตว์ หมายถึงสัตว์ที่สอนให้รู้ดีรู้ชั่วไม่ได้

ดอกบัวระดับล่างสุด ก็คือ อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อโอกาสที่จะเติบโต ไม่อาจจะรับรู้เรื่องราวของธรรมชาติหรือธรรมะได้ และในภาวะของความเป็นมนุษย์ระดับนี้ มนุษย์กลุ่มนี้มีพฤติกรรมแบบเดียวกับสัตว์โลกที่อยู่ในอบายภูมิ เรียกกันว่า มนุษย์ เดรัจฉาโน มนุษย์สเปโต

ส่วนกลุ่มข้างต้นเรียกว่า มนุษโส แปลว่ามนุษย์ที่ดีและสูงไปเท่านั้น เรียกว่า มนุษเทโว หรือมนุษย์ที่มีสภาพจะเป็นดั่งเทวดา




ชนชั้นของสัตว์โลก (๔)

สถูปเจดีย์ที่เรียกว่า องค์เจดีย์หรือส่วนกลางของเจดีย์ที่มีความหมายว่า เป็นพื้นที่หรือที่อยู่ส่วนของมนุษย์ที่ได้แบ่งมนุษย์ที่มีระดับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและขั้นสติปัญญาทางพุทธปัญญาใน ๔ ระดับ นั้น

ในโลกมนุษย์นั้นมีทั้งสุข ทุกข์ ที่รวมกันอยู่การจะตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นจะอุบัติขึ้นก็ในพื้นที่ที่เป็นสุขและทุกข์กันอย่างชัดเจน เพราะในส่วนของเทวโลกนั้นมีแต่สุขจึงไม่เห็นทุกข์ ที่เป็นส่วนหลักและสำคัญที่จะกำหนดรู้ หรือปัญญาที่จะเห็นความจริงหรืออริยสัจได้

สถูปหรือเจดีย์บางแบบจะมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "ซุ้มในเจดีย์" นั้น ทางมหายานมักจะปรากฏซุ้มดังกล่าวอยู่ซุ้มเดียวความหมายในส่วนนี้ก็คือ จะมี รูปพระพุทธเจ้าหรือรูปของพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์

แต่ในบางสถานที่เช่นที่บุโรพุทโธในอินโดนีเซียจะประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ในองค์เจดีย์ก็เพื่อแสดงให้รู้ว่า พระพุทธเจ้านั้นต้องอุบัติขึ้นและปรากฏอยู่ในมนุษยภูมิเท่านั้น

สถูปหรือเจดีย์ของฝ่ายเถรวาทอาจจะมี รูปแบบของซุ้มอยู่สี่ทิศ ความหมายของซุ้มทั้ง ๔ ทิศ จะแตกต่างจากฝ่ายมหายาน

ซุ้มทั้ง ๔ ทิศขององค์เจดีย์หมายถึง ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก ที่เป็นเทวดาหรืออสูร (อสูรไม่ใช่มาร) ที่มีชื่อที่เรารู้จักกัน

เช่น ท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นหัวหน้ายักษ์ เป็นผู้ปกป้องครอบครองดูแลทรัพย์สินอันมีค่าของโลก

ท้าวสักกะเทวราช เทวดาฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและความงาม

พระยมราช เทวดา+อสูรผู้ดูแลความยุติธรรม

และท้าววรุณ เทวดาผู้รักษาสภาพแวดล้อม ความอุดมสมบูรณ์ของโลก

แต่ถ้าในซุ้มทั้ง ๔ ทิศ มีรูปพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่นั้น พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์จะหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ที่อุบัติขึ้นแล้วในเวลาที่ต่างๆ กัน ได้แก่ พระ กุกะสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระสมณโคดม อันเป็นนามของพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน




ชนชั้นของสัตว์โลก (๕)

ฉกามาพจรสุข สวรรค์ ๖ ชั้น

บนยอดขององค์เจดีย์หรือสถูป มักจะมีส่วนของเจดีย์ที่แบ่งเป็นชั้นซ้อนกันอยู่ ๖ ชั้น คือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ที่มี ๖ ชั้น เรียกกันว่า ฉกามาพจรสุขหรือสวรรค์ ๖ ชั้น เป็นที่อยู่ของเทวดา เรียกว่า อุปปัติเทวดา

เทวดาทั้ง ๖ ชั้นนี้ ยังเป็นสัตว์โลกกลุ่มหนึ่งซึ่งยังข้องติดอยู่ในกาม ก็คือ ความยินดีมีสุขอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง อารมณ์ แต่เป็นกามที่เรียกว่า ประณีตกว่ากามของมนุษย์โลก

เทวดาทั้ง ๖ ชั้นนี้ยังต้องมีสิทธิและหน้าที่ทั้งทางโลกและทางธรรมต่อกัน ซึ่งขอยกหน้าที่ของเทวดาตามชั้นเหล่านี้ที่มีต่อโลก ต่อบุคคลอื่นๆ มาบรรยายเป็นชั้นๆ ไป

หน้าที่ของเทวดาชั้นแรก คือ ชั้นล่างสุดของสวรรค์ ชื่อ จาตุมหาราชิกาภูมิ มีเมืองใหญ่อยู่ ๔ เมือง มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ได้แก่ ท้าวธตรฐราช เป็นหัวหน้าแห่งเทวดาทั้งหมด (บางแห่งเรียกท้าวสักกะเทวราช ) มีหน้าที่ในการจัดการด้านศิลปะ วัฒนธรรม ความงาม ทั้งในพื้นที่สวรรค์ และในพื้นที่ของโลกมนุษย์ด้วย

ด้านทิศตะวันตก คือ ท้าววรุณราช ซึ่งหน้าที่สำคัญก็คือ การจัดการดูแลส่วนของความอุดมสมบูรณ์ การรักษาคุณภาพสภาพแวดล้อม การเกษตร ในพื้นที่มนุษย์โลก

ด้านทิศเหนือ ท้าวไพศรพณ์มหาราช บางทีก็เรียก ท้าวเวสสุวัณ หน้าที่ทางโลกก็คือ การจัดการดูแล ควบคุม ทรัพย์สิน เงินทอง ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนด้านทิศใต้คือ ท้าววิรุฬหกราช หรือ พระยม ผู้ปกครองเทวดาหรือยักษ์ที่มีชื่อว่า กุมภัณฑ์

หรือผู้ที่รักษาความยุติธรรม ความสมดุลแห่งโลกให้มีสันติสุข




ชนชั้นของสัตว์โลก (๖)

ลําดับชั้นที่ ๒ ของปล้องบนยอดของสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ ที่ชื่อ ดาวดึงษา หรือดาวดึงส์ หรือ ดาวดึงค์ ก็เรียกกัน

ไตรภูมิพระร่วง ระบุถึงกำเนิดของผู้จะไปปฏิสนธิในสวรรค์ ว่า ผู้ใดตายไปเกิดในสวรรค์จะได้เห็นต้นกัลปพฤกษ์ เห็นเรือนทอง เห็นปราสาทแก้ว เห็นเทพเทวดาฟ้อนรำเล่น

การที่จะได้เกิดเป็นเทวดานั้นต้องเป็นผู้ที่ทำบุญด้วยจิตศรัทธาหรือการรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีล ๑๐ สวดมนต์ภาวนา สวดพุทธคุณ ระลึกถึงคุณบิดามารดาเป็นนิจ พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของสังขาร หมั่นฟังธรรม หมั่นถามผู้รู้ เชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น

ภาพของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นจะมีพระอินทร์เป็นหัวหน้าเทพยดา (ตำแหน่งพระอินทร์นี้เป็นตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงได้) ในสวรรค์ชั้นนี้ เมื่อเปิดประตูเมืองจะมีเสียงดนตรีไพเราะเสนาะโสต มีปราสาทชื่อไพชยนต์ปราสาท มีสวนสำคัญ สวยงามพิเศษอยู่โดยรอบ เวลาที่เหล่าเทวดาทั้งหลายจะไปเฝ้าพระอินทร์ จะมีเทวดาฝ่ายเล่นดนตรีประเภทต่างๆ บรรเลงเพลงไพเราะ และมีกลิ่นดอกไม้หอมไปทั่ว

มีสถานที่สำคัญชื่อ สุธัมมาเทวสถาน มีธรรมาสน์ใหญ่ มีที่นั่งพระอินทร์

ดูเสมือนพระอินทร์คือ ประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี มีที่นั่งพิเศษเฉพาะตนและมีที่นั่งพิเศษสำหรับเทพยดา ๓๓ องค์ เสมือนรัฐมนตรี ซึ่งปฏิสนธิมาพร้อมพระอินทร์ เพราะได้ทำบุญกุศลมาด้วยกัน ในสุธัมมาเทวสถานนี้จะมีพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมกุมาร ลงมาเทศนาธรรมแก่เหล่าเทวดาทั้งหลาย รวมทั้งเทวดาชั้นจาตุรชิกมหาราชด้วย




ชนชั้นของสัตว์โลก (๗)

สวรรค์ชั้นที่ ๓ ยามา (นรดี) สัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ปล้องที่ ๓ในตัวยอด ๖ ปล้อง ของสถูปหรือเจดีย์

คำบรรยายในไตรภูมิพระร่วงไม่มีคำอธิบายมากนัก นอกจากจะบอกแต่เพียงว่า หัวหน้าของเทวดาในชั้นนี้ชื่อ สุยามเทวราช หรือสยามเทวราช ไม่แน่ใจว่าจะมีสถานะเหมือนพระสยามเทวาธิราชของประเทศหรือไม่ เพราะในไตรภูมิพระร่วงก็ไม่ได้กำหนดหน้าที่ลัทธิและอำนาจของพระสยามเทวราชไว้ ไม่เหมือนพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นไตรตรึงส์ หรือดาวดึงส์ ที่อยู่ชั้นล่างของสวรรค์ชั้นนี้ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่สวรรค์มีหน้าที่ดูแลเทวดาและสนับสนุนประกาศชื่อและจารึกผู้มีบุญญาธิการ ทำบุญกุศล ดูแลบิดามารดา รักษาศีล ไว้ในแผ่นทองเรียกเป็นความเข้าใจของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่น่าจะแตกต่างจากการประกาศเกียรติคุณ และยกย่องส่งเสริมให้รู้แก่ผู้คนทั่วไป

ยามา แปลว่า ปราศจากความยากลำบาก เทวดาในชั้นนี้จึงหมายถึง ผู้อุบัติขึ้นในพื้นที่ที่ปราศจากความยากลำบากในชีวิตและความเป็นอยู่ ดูเหมือนไม่ต้องทำงานทำการใดๆ จึงไม่มีปัญหาความขัดแย้งกัน

เทวดาในชั้นยามานี้อยู่ในปราสาทแก้วปราสาททองและดูเหมือนไม่มีภาระหน้าที่ใดๆ ต่อโลก มีความสงบสุข ซึ่งความสงบก็คือ มงคลยิ่ง 1 ใน 38 มงคลอันประเสริฐ ไม่ร้อนไม่หนาว ไม่มีกลางวัน กลางคืน

ผู้จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ก็คงมีพฤติกรรมในโลกก็คือ สร้างบุญสร้างกุศล ดูแลพ่อแม่ รักษาศีลปฏิบัติธรรม


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หรรษา sun หนังสือพิมพ์ข่าวสด nec. ๘/๓ p.๔๐๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มีนาคม 2563 16:21:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 05 มีนาคม 2563 16:20:52 »

.

   
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


ชนชั้นของสัตว์โลก (๘)

สวรรค์ชั้นดุสิต สัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นนี้ก็คือ ปล้องที่ ๔ ของยอดกลางเจดีย์ที่อยู่เหนือองค์เจดีย์ที่มีทั้งหมด ๖ ปล้อง คือดินแดนที่ผู้อยู่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกาม ที่แปลว่า ยังยินดีอยู่ในรูป รส กลิ่น และสีเสียง และธรรมารมย์ (แปลว่ามีความสุขอยู่ในธรรมะที่ประโลมใจ)

ความสำคัญของสวรรค์ชั้นดุสิต หมายถึงเป็นที่อยู่ของนักบวช นักปราชญ์ ผู้มีบุญทั้งหลาย ผู้ปรารถนาหรือผู้ที่มีดำริจะพ้นไปจากความทุกข์ มีหัวหน้านาม ท้าวสันดุสิตเทพราช

แบ่งพื้นที่เป็นเขตที่เป็นที่อยู่ของเทวดาระดับที่เรียกว่าเป็นพระอริยเจ้าในพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระโสดาบัน (ผู้เข้าถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน) ละสังโยชน์ (หรือเครื่องผูกมัดไว้ในโลก) ได้แก่ มีเห็นถูกต้อง ชัดเจนในเรื่องกายละความสงสัยธรรมในข้อต่างๆ และการประพฤติเชื่อถือในโชคลางนิมิตต่างๆ กับ พระสกิทาคามี ผู้ทำสังโยชน์อีก ๒ ประการให้เบาบาง ได้แก่ กามราคะ ความพอใจในกาม ปฏิฆะ ความข้องขัดในอารมณ์หรือความกระทบกระทั่งหงุดหงิดในใจ อันเป็นความพยาบาทอย่างหนึ่ง ซึ่งพระอริยเจ้าทั้ง ๒ ระดับนี้จะจุติกลับมายังโลกมนุษย์

พระโสดาบันจุติกลับมายังโลกไม่เกิน ๗ ครั้ง พระสกิทาคามีจุติกลับมายังโลกอีก ๑ ครั้ง และจะบรรลุอรหันต์บนโลกนี้

สิ่งสำคัญของผู้ที่อยู่ในดินแดนสวรรค์ชั้นดุสิตก็คือ เมื่อจะจุติมาสู่โลกมนุษย์เพื่อจะบรรลุพระอรหันต์นั้นเลือกเกิดได้

ไตรภูมิกถาระบุว่า พระศรีอารยเมตไตรยะ ผู้จะลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์นี้ เป็นผู้เทศนาธรรมให้เทวดาทั้งหลายฟังอยู่เป็นนิจ อันเป็นหลักการของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานเรียกนิกายสุขาวดี สำหรับในประเทศไทยก็คือกลุ่มธรรมกาย 




สวรรค์ชั้นที่ ๕ ชั้นนิมมานรดี

สวรรค์หรือที่อยู่ของเทวดาหรือสัตว์โลกในหนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้มีลักษณะวิจิตรบรรจงกว่าชั้นดุสิต มีปราสาทเงินปราสาททอง มีสระน้ำ มีสวนแก้วอันงดงาม สิ่งที่แตกต่างจากที่อยู่ของเทวดาหรือสัตว์โลกชนชั้นต่ำกว่าก็คือ

เทวดาหรือสัตว์โลกในชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดก็นฤมิตให้ตนเองได้ทุกประการ และมีหน้าที่อันสำคัญต่อมาก็คือ ต้องนฤมิตสิ่งที่เป็นความปรารถนาของเทวดาหรือสัตว์โลกที่อยู่สูงกว่าคือชั้นที่ชื่อ ปรนิมิตสวัสตีสวรรค์

เทวดาหรือสัตว์โลกในชั้นนี้ยังคงติดอยู่กับกามคุณหรือยังยินดีติดข้องอยู่ในรูป รส กลิ่น สี เสียง และสัมผัส

ตามถ้อยคำที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วงก็คือ กลุ่มเทวดาที่อยู่ในชั้นนี้ ถ้าแลว่ามีใจปรารถนาจะใคร่หาอันใดก็ดี เขาหากนฤมิตตนให้เป็นเองโดยใจรัก เขาได้ทุกประการและเขาเล่นด้วยหมู่นางฟ้าทั้งหลายด้วยใจเขานั้นและดูเสมือนเสวยสุขที่ไม่ต้องทำกิจการอะไรที่ต่างจากสัตว์โลกในชั้นที่ต่ำกว่า (และดูจะมีลักษณะมองผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศอยู่พอสมควร)


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หรรษา sun หนังสือพิมพ์ข่าวสด nec. ๘/๓ p.๔๐๐
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 21 เมษายน 2563 15:43:41 »

.

   
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย



ปล้องบนสุด ปรนิมมิตวสวัตตี

ปล้องบนสุดของจำนวน ๖ ปล้องของยอดสถูปหรือเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ที่ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ อันชื่อฉกามาพจรสวรรค์ หมายถึงสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยกามสุข คือ สุขอันเกิดจากความยินดีในรูป รส กลิ่น สี เสียง และอารมณ์ปรุงแต่งที่ประณีต

เทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ ดูจะไม่ต้องทำกิจการใดเพราะเมื่ออยากได้ อยากมีสิ่งใดก็จะให้เทวดาที่อยู่ในชั้นต่ำกว่า เช่น ชั้นนิมมานนรดีสวรรค์มานฤมิตให้

ผู้เป็นหัวหน้าเทวดาในชั้นนี้มี ๒ ท่าน ท่านแรกชื่อปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช ท่านที่ ๒ เป็นหัวหน้ามารชื่อพระญามาราธิราช

ท่านญามาราธิราชนี้เป็นผู้ที่ปรากฏชื่ออยู่ในพุทธตำนาน ตอนพญามารมาทวงบัลลังก์พระเจ้าสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และลูกสาวของท่านพญามารสามตนก็คือ นางตัณหา ราคะ อรตี ที่หมายถึง อารมณ์อันเกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์และความถือดีเข้ามารบกวนพระพุทธเจ้าผู้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และพญามารท่านนี้เป็นผู้ไปทูลพระพุทธเจ้าให้ปรินิพพานในปลายสมัยพุทธกาล

ในภาคของจิตนิยม ความหมายของมารหมายถึงเทวดาผู้มีใจอิจฉาริษยา เรียกว่าเทวดามาร

นั่นเป็นสัญลักษณ์ว่าแม้สัตว์ผู้ที่สภาวะอยู่ในฐานะผู้มีจิตอันเป็นกุศลอยู่ก็ตาม แท้จริงแล้วสภาพแห่งการข้องแวะในกามคุณย่อมเปลี่ยนฐานะเป็นมารได้ 





ช่อฟ้า

จากรูปแบบ อันเป็นสัญลักษณ์ของสถูปหรือเจดีย์ที่แสดงถึงสวรรค์อันเป็นศูนย์ กลางของจักรวาลทัศน์ที่หมายถึงฉกามาพจรสุข

รูปแบบอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ สัญลักษณ์ที่เรียกว่า ช่อฟ้า

ช่อฟ้านี้มิได้หมายถึง ช่อฟ้าตรงหน้าบันที่เรียกกันว่าช่อฟ้าปากนก หรือช่อฟ้าปากปลา แต่หมายถึงช่อฟ้าที่มีลักษณะตามรูป ตั้งอยู่กลางอาคารที่เรียกว่า โบสถ์หรือวิหาร

ตัวอย่างช่อฟ้าในรูปนี้ คือ ช่อฟ้าของวัดเชียงทอง หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เป็นช่อฟ้าที่สวยที่สุดของวัดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และวัดเชียงทองก็เป็นวัดที่มีวิหารที่งดงาม มีคติและสัญลักษณ์ทางจักรวาลทัศน์ที่สมบูรณ์วัดหนึ่ง

ช่อฟ้านี้มี ๑๕ ช่อ ลดหลั่นกันไปตามลำดับ จนถึงช่อชิ้นกลางสูงสุด (ไม่นับช่อฟ้าใหญ่ริมปลายสุดซ้ายขวา เพราะช่อฟ้าช่อนี้หมายถึงกำแพงจักรวาล) ที่เป็น ๑๕ ช่อนั้นก็คือ สัญลักษณ์ของภาพที่เรียกว่า รูปตัดขวางจักรวาลทัศน์ ๑๕ ช่อนั้นเป็นสัญลักษณ์ ๒ ประการคือ

๑. ต้องเป็นพระมหากษัตริย์สั่งสร้างเท่านั้นจึงจะมีช่อฟ้า ๑๕ ช่อ  ๒. ช่อฟ้า ๑๕ ช่อ คือ ภาพตัดขวางของจักรวาลทัศน์ ทำให้เห็นรูปของภูเขาที่ล้อมรอบจักรวาลทัศน์ที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ด้วยคือ ภูเขา ๗ ทิวเขา ล้อมรอบศูนย์กลางรวม ๑๕ ช่อ

ตัวกลางก็คือ เขาพระสุเมรุที่เป็นสวรรค์ที่เรียกว่า ฉกามาพจรสุขที่เป็นที่อยู่ของเทวดาระดับต่างๆ  



คาถา

ขอละจากคติ สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไปสู่คติ สัญลักษณ์ของคำว่า คาถา อันเนื่องมาจากความตื่นตระหนกของไข้หวัดโควิด-19 ที่มีคาถาของผู้ปฏิบัติธรรม หรือ สวดมนต์ขับไล่ไวรัสร้าย

คาถาก็ดี การสวดมนต์ก็ดี แม้แต่การลงเลขสักยันต์ของคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแต่โบราณนั้น หาได้มีไว้เพื่อการเฉพาะความมีโชค การป้องกันภยันตราย ภูตผีปีศาจ ความโชคร้าย อย่างที่เชื่อถือกันในปัจจุบัน

แต่คาถาหรือบทสวดต่างๆ นั้น แท้จริงก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ครูบาอาจารย์ได้ย่อคำเหล่านั้นเพื่อเตือนสติ สร้างปัญญาให้แก่ผู้ใช้หรือผู้สวดคาถานั้น

เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ จึงไปอาราธนาอาจารย์ระดับพระราชาคณะรูปหนึ่ง (ที่ขอสงวนนาม) เพื่อแปลความหมายของคาถาที่ครูบาบุญชุ่มได้กล่าวไว้


เริ่มจาก สาตุ ทะ สะนะ ขะ สะมัง วิสาตุ

สาตุ = ดี

ทะ = ทันโต ทะมะยตัง เสฏโฐ

แปลว่า ผู้ฝึกตนเป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ฝึกทั้งหลาย

สะ = สันโต สมยะตัง อิสิ

เป็นฤๅษีผู้สงบและประเสริฐกว่าผู้สงบทั้งหลาย

นะ = นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง

สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี

ขะ = ขันติ ธีรัสฺส ลงเถโร

ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชฌ์

สมัง = เสมอ = สงบ

วิสาตุ = ดีพิเศษ

สรุปคือ การที่จะเป็นผู้เจริญหรือประเสริฐทั้งในทางโลกและทางธรรม อันนำไปสู่ความสุขที่เรียกว่า ความสงบ อันเป็นมงคลสูงสุดในชีวิตนั้น

จงเป็นผู้ฝึกตน อดทน อดกลั้น ต่อบาปทั้งปวง

พ้องกับคาถาอีกบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนที่ฝึกดีแล้วจึงจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้"

หาได้เป็นคาถาที่ท่องบ่นแล้วจะพ้นจากเหตุเภทภัยธรรมชาติได้ 





สถูป เจดีย์

สถูป และเจดีย์เป็นคติและสัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ ทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์

ในทางพุทธศาสนา ปล้องหรือชั้นระดับต่างๆ ที่อยู่เหนือส่วนที่เรียกว่า บัลลังก์ หรือส่วนที่อยู่เหนือองค์เจดีย์ตั้งแต่ปล้องที่ ๗ ขึ้นไปจนถึงปล้องที่ ๒๔ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงชั้นของพรหม

คำว่า พรหม หรือผู้ที่มีฐานะเป็นพรหมมีอยู่ทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ โดยรูปศัพท์ พรหม แปลว่า ผู้อยู่เดียวดายผู้ไม่ข้องแวะกับผู้อื่น

พรหมในพุทธศาสนามีความหมายสองประการ คือ

๑. พรหมที่หมายถึงผู้ที่เจริญ ศีล สมาธิ จนจิตใจอยู่ในระดับต่างๆ หรืออาจจะหมายความถึงผู้ที่อยู่ในฌาน ในระดับต่างๆ ๔ ระดับ ตั้งแต่ปฐมฌาน ฌานชั้นที่ ๑ ทุติฌาน ฌานชั้นที่ ๒ คติฌานฌานชั้นที่ ๓ จตุรฌาน ฌานชั้นที่ ๔ ที่มีภาวะจิตที่เรียกว่า เป็นสมาธิ สงบนิ่ง (ไม่ข้องแวะกับผู้อื่น) หรือ

๒. พรหมคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้มีพรหมวิหาร ๔ ได้แก่เมตตา ต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง

กรุณา ช่วยเหลือสรรพสัตว์ ให้พ้นทุกข์

มุทิตา ยินดี ชื่นชม ในความดีงามของสัตว์โลก

อุเบกขา ความวางเฉยในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทุกข์ทั้งปวง ทั้งของตนและผู้อื่น

ส่วนพรหมในศาสนาพราหมณ์เป็นผู้สร้างโลกช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ขณะเดียวกันด้วยความที่พรหมแปลว่า ผู้อยู่ เดียวดายพรหม ในศาสนาพราหมณ์จึงไม่มีที่อยู่ เช่น พระศิวะ หรือพระนารายณ์ที่เรียกว่า ตรีมูรติ

แต่ประเทศไทยเรา พรหมได้ลดฐานะมาอยู่ศาลพระพรหม เทียบเท่ากับศาลพระภูมิที่หมู่บ้านจัดสรรหลายๆ แห่งตั้งศาลให้อยู่ตามทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรกันทั่วไป 





อรูปพรหม

สัญลักษณ์ของอรูปพรหมในคติจักรวาลทัศน์ทางพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรมรูปสถูป เจดีย์ คือส่วนของ ปลียอด อยู่เหนือปล้อง ๒ ปล้อง ของส่วนบนขององค์เจดีย์ อันเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ ๖ ชั้น และชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น

อรูปพรหมจะแตกต่างจากรูปพรหมก็คือหลักเกณฑ์ของการทำสมาธิ คือการควบคุมจิต

รูปพรหมเป็นพรหมที่อุบัติขึ้นด้วย เหตุแห่งการบำเพ็ญ "รูปฌานกุศล" คือ การเพ่งสมาธิจนบรรลุด้วยฌานในระดับ ต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน คือ ฌานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก (ตรึก) วิจารณ์ (ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข (สบายใจ) และ เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เดียว) จนถึง จตุตถาฌาน (คือฌานขั้น ๔) ที่จิตบรรลุในอุเบกขา (ไม่มีสุขไม่มีทุกข์) เป็นสติบริสุทธิ์

ส่วนอรูปพรหมก็อุบัติขึ้นด้วยการบำเพ็ญอรูปฌานกุศล เกิดจากการเจริญภาวนาที่มิได้เพ่งที่รูป แต่เพ่งไปที่ในสิ่งที่เรียกว่า อรูป ๔ ประการ ได้แก่

เพ่งอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจตายนะ

เพ่งวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เรียกว่า วิญญาณัญจายตน

เพ่งความว่างอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากัญจัญญายตน

เพ่งเอาความรู้สึกถึงความว่าง ไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เป็นอารมณ์ เรียกว่า เนาสัญญานาสัญญายตน

พรหมทั้ง ๔ ระดับนี้ไม่มีรูป มีแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีความรับรู้ในการกระทบกันของอายตนะที่เรียกว่า ตา หู คอ จมูก ลิ้น กาย

พรหมในระดับนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อภัพพสัตว์ คือจะไม่มีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า จึงไม่อาจหลุดพ้นไปจากสังสารวัฏได้

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนั้นทรงพิจารณาบุคคลที่จะสั่งสอนให้บรรลุอรหันต์ ได้นั้นท่านได้ทราบว่า ครูของท่านคือ อุทกดาบสกับอาฬารดาบส สิ้นชีวิตไปอุบัติในชั้นอรูปพรหม พระพุทธองค์จึงกล่าวว่า "พินาศแล้ว ท่านอุทกดาบสและอาฬารดาบส" เพราะเมื่อบรรลุในอรูปพรหมแล้ว โอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าไม่ว่ายุคใด สมัยใดก็จะสิ้นลง 





นิพพาน

ปลายสุดของยอดสถูปหรือเจดีย์ มักจะสร้างเป็นรูปทรงกลม

รูปทรงกลมนั้นก็คือ ความหมายของนิพพาน

นิพพานไม่ใช่สวรรค์ ไม่ใช่ สถานที่ ไม่ใช่ที่อยู่

ในพจนานุกรม นิพพานแปลว่า การดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์

ปลียอดที่อยู่ใต้รูปทรงกลมเป็นสัญลักษณ์ของอรูปพรหม ก็ไม่ใช่สวรรค์ของอรูปพรหม เพราะอรูปพรหมไม่มีรูปจึงไม่มีสถานที่ พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่ หากแต่อรูปพรหมเป็นระดับชั้นของผู้บำเพ็ญฌานที่ยึดเอาสิ่งที่ไม่ใช่รูปมาเป็นอารมณ์ หรือเพื่อใช้ในการพิจารณาความไม่มีตัวตน

ปล้อง ๑๖ ปล้องของส่วนยอดเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ของรูปพรหม ก็ไม่ใช่สวรรค์ของพรหม หากเป็นระดับของผู้บำเพ็ญฌานที่ได้รับผลในระดับต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌานไปจนถึงจตุรฌาน

ปล้อง ๖ ปล้องด้านล่างของ ๑๖ ปล้อง เป็นสวรรค์ สวรรค์ที่อยู่ของเทวดาที่ได้ประพฤติดี ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม ทำกิจการอันเป็นกุศลจึงบังเกิดเป็นเทวดา

ดังนั้น เมื่อนิพพานไม่ใช่สวรรค์ แล้วนิพพานเป็นอย่างไร

คำตอบที่น่าจะเป็นก็คือ นิพพานก็คือ ไม่ได้เป็นสถานที่ ไม่ได้เป็นที่อยู่ ไม่ได้หมายถึงระดับของการบำเพ็ญฌานอีกต่อไป มีคำอธิบายว่า นิพพานเป็นทั้งสภาวะและอภาวะคือไม่มีความเป็นไป ท่านพุทธทาสได้ให้ความหมายของนิพพานก็คือ ไม่เสียดแทง ไม่ร้อยรัด

ในฝ่ายมหายานได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญเพียรมาชั่วกัปชั่วกัลป์ เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว หาได้ดับสูญไปหมด หากแต่ยังคงอยู่ในที่เรียกว่า มันดาละ (แปลความก็คือพุทธจักร) เพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวง มันดาละ ก็ไม่ใช่นิพพาน 





บริโภคเจดีย์

สถูปเจดีย์อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า บริโภคเจดีย์ หมายความถึง สังเวชนียสถานหรือสถานที่ที่สำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เช่น สังเวชนียสถานประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธปรินิพพาน

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดใหญ่ที่ไม่ปรากฏพระธาตุเจดีย์ หรือเจดีย์ประธาน แต่มีบริโภคเจดีย์ เป็นเจดีย์เล็กๆที่เรียกชื่อรวมกันว่า สัตตมหาสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงวิหารคดของพระมหาวิหารพระศรีศากยมุนี

บริโภคเจดีย์ทั้ง ๗ นี้ แต่ละองค์เจดีย์จะเล่าเรื่องของการประสูติไปจนถึงการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

ภาพที่เห็นเป็นปางที่พระพุทธเจ้าตรัสกับลูกสาวพญามาร ทั้ง ๓ คือ นางตัณหา ราคะ อรตี ที่มายั่วยวนพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตอบเป็นใจความได้ดังนี้

"ได้พ้นไปจากความยินดีในรูปที่รักและพอใจ

บุคคลมีกายสวยแล้ว มีจิตหลุดพ้นแล้ว

ไม่มีอะไรเป็นเครื่องปรุงแต่ง

มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่วซึ่งธรรม

มีปกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ ไม่มีวิตก ไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป กามสัญญา ขาดหมดสิ้น

ไม่มีความริษยา"


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หรรษา sun หนังสือพิมพ์ข่าวสด nec. ๘/๓ p.๔๐๐

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2563 16:27:07 »


วิหารแกลบ

วิหารแกลบ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก ที่มักจะมีการสร้างไว้ในเขตพุทธาวาส เช่นในบริเวณกำแพงแก้ว เขตวิหารหรืออุโบสถของวัด

ความหมายตามพจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่อเนื่องของอาจารย์โชติ กัลยาณมิตร อธิบายคำว่า วิหารแกลบไว้ดังนี้

วิหารแกลบ วิหารขนาดเล็กใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปประติมากรรมอันเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา หรือรูปของพระภิกษุซึ่งทรงคุณธรรมเป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน และได้มรณภาพไปแล้ว วิหารชนิดนี้มิได้ใช้ในการประกอบศาสนกิจของสงฆ์แต่อย่างใด

วิหาร หมายถึงที่อยู่ของพระ ในความหมายของวิหารแกลบหรืออาคารขนาดเล็กที่มีพระพุทธรูปปางรูปพระภิกษุอันเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนในแถบนั้นบ้าง เป็นอาคารขนาดเล็กเพื่อแสดงถึงการจะอยู่เพียงลำพัง เป็นสัปปายะ คือ มีขนาดตามความจำเป็นพอเพียงและเหมาะแก่การเจริญภาวนาศีล สมาธิ และปัญญา เฉพาะตนของพระพุทธรูปหรือรูปเคารพของศาสนิกชน

ในบางแห่งเปรียบเทียบว่า วิหารแกลบนั้นหมายถึง ขนาดอาคารที่พระพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ในสมัยพระชนม์ชีพของพระองค์ ซึ่งในลักษณะนี้วิหารแกลบจะประดิษฐานพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทน ของพระศาสดาไว้




เจดีย์ราย เจดีย์ทิศ  

เจดีย์ราย เจดีย์ทิศ  - เจดีย์ราย เป็นสถูปเล็กๆ ที่อยู่เรียงรายรอบเจดีย์ประธาน เจดีย์ทิศหรือเจดีย์ประจำทิศ ก็เป็นสถูปเล็กๆ ประจำอยู่ตามมุมของเจดีย์ประธาน

ความหมายของเจดีย์รายหรือเจดีย์ทิศนั้นควรเรียกเป็นสถูปมากกว่า เพราะคำว่าเจดีย์ในทางพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ต้องเป็นเรื่องหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า

แต่ที่เรียกกันว่าเจดีย์ก็น่าจะเป็นเพราะมีรูปทรงเช่นเดียวกับเจดีย์ประธาน

คติจักรวาลทัศน์นั้นในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น มิได้มีโลกอันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งเดียว แต่จะมีจักรวาลอีกนับไม่ถ้วนซึ่งเรียงรายติดต่อซ้อนกันมากมายมหาศาล

เจดีย์รายจึงเปรียบเสมือนจักรวาลอื่นๆ ที่รายล้อมจักรวาลหรือโลกมนุษย์ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และยังหมายถึงโลกมนุษย์มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นและได้เทศนาสั่งสอนให้ผู้คนพ้นไปจากทุกข์หรือดับทุกข์นั้น

ส่วนเจดีย์ทิศหรือเจดีย์ประจำทิศนั้น ก็จำลองย่อส่วนมาจากทิศทั้ง ๔ ซึ่งมีเทวดาประจำทิศที่รักษาจักรวาลอันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง




ศาลาราย

ศาลาราย - พจนานุกรมฉบับมติชน ๒๕๔๗ ให้ความหมายของคำว่า ศาลาราย หมายถึงศาลาที่อยู่รายรอบศาสนสถาน มีโบสถ์เป็นต้น

พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๐ ให้ความหมายของคำว่าศาลาราย ไว้ดังนี้

ศาลาราย ศาลาโถงขนาดเล็กสร้างโดดๆ เรียงรายรอบอุโบสถ หรือเรียงรายล้อมกำแพงแก้วที่ใช้กำแพงแก้วเป็นฝาด้านหนึ่งก็มี ยกพื้นสูงพอประมาณ ศาลารายนี้ใช้เป็นที่พักหรือจัดเตรียมของก่อนเข้าทำพิธีในอุโบสถ เช่น ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ศาลารายริมกำแพงแก้ววัดโอรสาราม และวัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ

ข้อสังเกตก็คือ ถ้าเป็นศาลารายมักจะเป็นศาลาโถงเปิดโล่งโดยรอบ เว้นแต่ศาลารายที่อยู่ติดกำแพงแก้ว และจะไม่มีการประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในศาลาราย

แต่ถ้าบางวัด เช่น วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง มีการประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ ฐานะของศาลารายจะเปลี่ยนเป็นวิหาร

ในคติจักรวาลทัศน์ ศาลารายเป็นสัญลักษณ์อันเปรียบได้ดั่งเป็นอนุทวีปที่รายล้อมศูนย์กลางของทวีป คือ เขาพระสุเมรุ ส่วนในประโยชน์ใช้สอยก็คือเป็นสถานที่พักหรือจัดเตรียมข้าวของเพื่อเข้าทำพิธีกรรมในพระอุโบสถ




ระเบียงคด

ระเบียงคด - สิ่งก่อสร้างที่เป็นทางเดินมีหลังคาคลุมล้อมรอบบริเวณที่เรียกว่า พุทธาวาสที่มีเจดีย์ พระอุโบสถ หรือมหาวิหารเป็นศูนย์กลาง อันไม่ใช่เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หรือพุทธา ในเขตของพุทธวาส หรือในเขตระเบียงคด

คติของจักรวาลทัศน์นี้ ระเบียงคด เป็นสัญลักษณ์ของกำแพงจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในไตรภูมิกถาฝ่ายเถรวาท

กำแพงจักรวาลนี้เป็นที่ที่มีพระธรรมศาสตร์ที่หมายถึง กฎหมายสำหรับให้จักรพรรดิราชใช้ปกครองโลก

ฝ่ายมหายานเรียกขอบเขตของจักรวาลว่า มันดาละ หรือ พุทธมณฑล หรือ แผนที่จักรวาล

อันเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายานสำคัญ ๕ พระองค์ ซึ่งปรากฏในภาพที่เรียกว่า มันดาละ

เป็นแนวเขต ๔ ด้าน ภายในขอบของวงกลม ซึ่งทั้ง ๔ ด้านนั้นจะมีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ที่เป็นตัวแทนของความหยั่งรู้หรือปัญญาในวิถีต่างๆ




พัทธสีมา-ใบเสมาและลูกนิมิต

พัทธ แปลว่า ผูก ต่อเนื่อง

สีมา แปลว่า เขต แดน

ความหมายโดยรวมของคำว่า พัทธสีมา หมายความถึงเขตที่สงฆ์กำหนดเป็นที่ทำสังฆกรรม หรือ หมายถึงเขตที่มีใบเสมาล้อมรอบ

ใบพัทธสีมา ใบสีมา หมายความว่า แผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตพระอุโบสถหรือเขตวัด

ลูกนิมิต พจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม

พระอุโบสถของชาวพุทธในภาคอีสาน หรือ สิม มักจะมีลูกนิมิตที่เป็นก้อนหินวางอยู่รอบโบสถ์ แต่ไม่มีใบเสมากำกับ ส่วนในพื้นที่ทั่วไปของไทย ลูกนิมิตจะหมายถึงหินก้อนกลมฝังไว้ใต้ดิน โดยมีพัทธสีมาหรือใบสีมาเป็นเครื่องหมายอยู่ด้านบน

ใบเสมานี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีไทยที่ใช้กำหนดยุคสมัยของการสร้างวัดสร้างอุโบสถ จึงมีรูปแบบและขนาดใหญ่เล็ก และทำด้วยหินชนิดที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพของภูมิประเทศในแถบนั้น

แต่เดิมไม่มีข้อกำหนดจำนวนใบเสมาว่าจะมีเท่าไร เพราะเป็นเครื่องหมายบอกอาณาเขตที่ให้สงฆ์มาประชุมกัน อาจจะมีเฉพาะ ๔ มุมก็ได้ โดยกำหนดให้มีอาณาเขตพอสมควรแก่การทำสังฆกรรมหรือการประชุมสงฆ์เท่านั้น

ปัจจุบันการกำหนดเขตวัดหรือเขตอุโบสถมักจะมีใบพัทธสีมา ๘ แห่ง หรือฝังลูกนิมิตไว้ ๘ จุดรอบพื้นที่ อันน่าจะเป็นสัญลักษณ์สำคัญในความหมายของที่ประชุมสงฆ์ที่มีข้อวัตรในการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ในมรรค ๘ เป็นสำคัญ บางวัดที่มีใบสีมา ๘ แห่ง แต่ฝังลูกนิมิตไว้กลางโบสถ์เป็น ๙ จุด ก็มี




ซุ้มโขง โคปุระ

ซุ้มโขง โคปุระ - ประตูหรือทางเข้าศาสนสถานหรืออาคารพิเศษ เรียกว่า ซุ้มโขง โคปุระ มีความหมายหรือสัญลักษณ์ของแดนต่อกันระหว่างพื้นที่ของโลกมนุษย์กับสวรรค์ก็ได้ หรือจะหมายถึงแดนต่อของพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนที่ผ่านเข้ามาต้องมีการสำรวมกิริยามารยาท

คำว่า ซุ้ม หรือสิ่งที่เป็นซุ้ม คือต้นไม้หรือเถาวัลย์ที่คลุมมีทางลอดได้ หรือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีทางลอดได้ หรือสิ่งก่อสร้างที่ทำขึ้นเพื่อรับเสด็จ หรือที่อยู่ที่พักเพื่อกันแดดกันฝนชั่วคราว มีหลังคาเป็นรูปโค้ง

ส่วนคำว่า โขง น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ของ หรือ ขร ที่คงจะหมายถึงความใหญ่

ซุ้มโขง ก็คือ ประตูทางเข้าที่มีหลังคาโค้ง

ซุ้มโขงน่าจะพัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ที่มีประตูทางเข้าเขตบริเวณปราสาท หรือศาสนสถานใหญ่ เรียกว่า โคปุระ หรือในอินเดียโบราณเรียกประตูนี้ว่า โตรณะ อันหมายถึงแดนต่ออันศักดิ์สิทธิ์

คติทางศาสนาของไทยฝ่ายเหนือที่มักจะทำซุ้มโขงเพื่อบอกถึงอาณาเขตภายในเป็นพื้นที่พิเศษ หรือเป็นพื้นที่สวรรค์ ดังนั้น ผู้ที่จะเข้าสู่สวรรค์ต้องสำรวมกิริยามารยาท ในชวาของอินโดนีเซียมีประตูทางเข้าของศาสนสถานที่ใหญ่โตสวยงามแต่ไม่มีหลังคา มีคติสัญลักษณ์ที่ป้องกันมิให้มีสิ่งชั่วร้ายผ่านเข้าซุ้มประตูหรือ โคปุระ

ส่วนประตูญี่ปุ่น เรียก โทโรอิ (น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า โทรานะ) มีความหมายว่า อาณาเขตเบื้องหลัง เสานับเป็นอาณาเขตของเทพเจ้า




สังเวชนียสถาน

สังเวชนียสถาน - แปลความหมายที่เข้าใจกันในหมู่พุทธศาสนิกชนคือ สถานที่ที่อันเป็นที่ระลึกถึง สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ความหมายของคำว่าสังเวช มาจากคำว่า สังเวคะ แปลว่า กระตุ้นเตือน ปลุกเร้า คึกคัก เกิดกำลัง แกล้วกล้า แข็งขัน หรือการปลุกเร้ากระตุ้นเตือนให้รู้ให้นึกถึงความจริงของชีวิต ความจริงชั้นสูงสุดคือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน

สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ก็คือสถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนถึงความจริง โดยใช้สถานที่เป็นสัญลักษณ์ทางรูปธรรมที่ให้ผู้แสวงบุญได้ระลึกถึงความจริงแท้ของชีวิต

แต่ทางนามธรรม อะไรที่เป็นนามธรรมของสังเวชนียธรรม ขอยกกรณีที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวว่า

การที่พระเจ้าสิทธัตถะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ นั้น นั่นก็คือ การประสูติขึ้นของพระพุทธเจ้า และเมื่อตรัสรู้แล้วการพ้นไปจากทุกข์พร้อมกันก็คือการปรินิพพานนั่นเอง

และเมื่อเป็นดังที่ท่านพุทธทาสได้แสดงความหมายในทางนามธรรม การประสูติของพระพุทธเจ้าก็คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็คือ พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ ที่เบื้องพระเศียรหันไปทางทิศเหนือ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก อันหมายถึงการจะไม่กลับมาอีก

ส่วนปางแสดงปฐมเทศนา ก็คือ พระพุทธรูปนั่ง แสดงมถุราใช้นิ้วหัวแม่มือจีบเป็นวงกลมกับนิ้วกลาง หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร




บุษบก ธรรมาสน์

พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทยของศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ให้ความหมายและอธิบายคำว่า บุษบกและธรรมาสน์ ไว้ดังนี้

บุษบก - สิ่ง (ก่อสร้าง) ที่ทำด้วยไม้หรือโลหะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปกลม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือทำเป็นธรรมาสน์ ฐานทำตามรูปทรงบุษบก ลดหลั่นกันขึ้นไป กลางโปร่งมีเสารับยอดหรือหลังคา ยอดทำเป็นยอดปราสาท หลังคาซ้อนกันหลายชั้น

ธรรมาสน์ - แท่นที่นั่งแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ มีฐานเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุม ประกอบด้วย เช่น ฐานสิงห์ ประดับด้วยครุฑแบก ส่วนกลางเป็นที่นั่ง มีเสารับหลังคาสี่ต้น ส่วนยอดหลังคา ทำเรือนยอดที่ซ้อนกันสามชั้นหรือห้าชั้น

คติและสัญลักษณ์ของบุษบก ธรรมาสน์เทศน์ก็คือ สัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลทัศน์หรือเขาพระสุเมรุ ที่มีสวรรค์เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะตัวเรือนยอดที่มีลักษณะ ๓ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ที่หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต อันเป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะจุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และขณะนี้ยังแสดงธรรมแก่เหล่าเทพทั้งหลายที่สถิตอยู่ในสวรรค์

การตั้งบุษบก ธรรมาสน์เทศน์ก็มักจะตั้งอยู่ในพระอุโบสถหรือวิหารหลวงที่ให้ความหมายถึงการที่ผู้คนที่เข้าฟังการเทศนาในที่นั้นกำลังฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์




ดาว เพดาน

ลวดลายที่อาจจะเป็นภาพเขียนสี หรืออาจทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปดาวมีรัศมี บนเพดานหรือฝ้าเพดาน พระอุโบสถหรือวิหาร ที่มักจะทาฝ้าเพดานที่ทำด้วยไม้นั้นเป็นพื้นสีแดง และทาสีดาวเป็นสีทอง

การประดับตกแต่งฝ้าเพดานในลักษณะรูปดาวก็คือ สัญลักษณ์ที่มีคติความเชื่อทางคติของฝ่ายเถรวาทที่แสดงว่า พื้นที่ในพระอุโบสถหรือในพระวิหาร ก็คือ พื้นที่ของสวรรค์ในชั้นฟ้า ที่อยู่ใกล้กับดวงดาว

ข้อสังเกตก็คือ การมองท้องฟ้าของผู้คนในยุคอดีตจะใช้สีแดงเป็นสีของท้องฟ้า

ส่วนในคติของฝ่ายมหายาน รูปแบบของดาวเพดานเป็นสัญลักษณ์ของพุทธมณฑลหรือเรียกกันในฝ่ายมหายานก็คือ มันดาละ อันเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้าของแต่ละพระองค์ ที่เชื่อว่ามีอยู่มากมายดังเม็ดทราย ในมหาคงคานที (เช่นเดียวกับฝ่ายเถรวาท) และยังคงสถิตอยู่ เพื่อสั่งสอนสัตว์โลกอยู่เพดานพระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม




โพธิบัลลังก์ พุทธบัลลังก์

พจนานุกรม ศัพท์ศิลปกรรมไทย ของศาตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ให้ความหมายของโพธิบัลลังก์ หมายถึง พระแท่นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และพุทธิบัลลังก์ หมายถึง แท่นรับพระพุทธรูป

ทั้งโพธิบัลลังก์และพุทธบัลลังก์ส่วนใหญ่แล้วนั้นมาจากความบันดาลใจของดอกบัว ที่ช่างไทยนำมาประดิษฐานเป็นรูปแบบต่างๆ โดยถือว่า ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความสะอาดที่ไม่มีสิ่งสกปรกใดมาทำให้เปรอะเปื้อนติดพัน จึงเป็นฐานที่รองรับแสดงความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า

การพ้นไปจากกิเลส ในความหมายก็คือสภาวะของจิตที่แปลว่า ความคิด ความรู้ หรือความรู้สึกใดที่ไม่มีกิเลสติดคงอยู่ในความคิด ความรู้ ความรู้สึก ที่ทำให้จิตมีสภาพเศร้าหมอง





กงล้อมนตรา

กงล้อมนตรา - องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมภายในของพุทธศาสนามหายาน นิกายวัชรยานหรือมนตระยาน

PRAYER WHEEL หรือ กงล้อมนตรา มีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลมหมุนได้ มีทั้งขนาดใหญ่ที่หมุนได้ ติดตั้งคงที่หรือผู้คนถือไปมาได้

กรณีติดตั้งอยู่กับที่ มักจะเป็นแลนด์มาร์ก เช่น อยู่ในบริเวณลำธารที่มีน้ำไหลเพื่อให้กระแสน้ำเป็นกำลังแรง ให้กงล้อนั้นหมุนตลอดเวลา หรือติดตั้งเป็นแถวโดยรอบกำแพงวิหารสำคัญ หรือปากประตูทางเข้าวิหารสำคัญโดยทั่วไป

หรืออาจตั้งอยู่ในศาลาในบริเวณวัด โดยให้ผู้คนผู้จารึกแสวงบุญในพื้นที่นั้นหมุนกงล้อมนตรานี้

การหมุนกงล้อมนตราเป็นพิธีกรรมของการสวดมนต์ภาวนาอย่างหนึ่งของนิกายวัชรยานหรือมนตระยาน กล่าวคือ โดยรอบของกงล้อจะมีจารึกเป็นภาษาสันสกฤต คำว่า โอม มณี ปัทเม ฮุม อันมีความหมายถึงการสรรเสริญ พระพุทธเจ้า

คำว่า โอม หมายถึง การเกิดขึ้น

มณี แปลว่า แก้วหรือรัตนตรัย หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ปัทเม หรือดอกบัว แปลว่า ปัญญาอันบริสุทธิ์

คำว่า ฮุม คือความสำเร็จ

รวมความก็คือ การเกิดขึ้น การอุบัติขึ้นแล้วของพระพุทธเจ้า ผู้รู้ผู้ตื่นจากกิเลสด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ได้ตรัสแล้วได้หมุนแล้วในโลกนี้

การหมุนกงล้อมนตรา ก็คือ การประกาศว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็ยังคงหมุนอยู่ต่อไป เพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง




พระพรหม

พระพรหม - ใครคือพระพรหม พระพรหมเป็นใคร หรือเป็นสัญลักษณ์ถึงใครที่มีอิทธิฤทธิ์ อิทธิพลอะไร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างไรที่รัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยต้องไปสักการะก่อนเข้าทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย

พระพรหมที่ว่านี้เป็นรูปปั้นที่ประดิษฐานอยู่บนหลังคาอาคารทำเนียบรัฐบาล

และพระพรหมองค์นี้มาประดิษฐานบนหลังคาทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๗ ในสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ ๕๐ กว่าปีมานี้เอง

พระพรหมในสังคมไทยมาจากความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูกับความเชื่อในพุทธศาสนามีความแตกต่างกัน

พระพรหมในศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูก็แตกต่างกันอยู่ไม่น้อย เช่นบ้างก็กล่าวว่า

พระพรหม หมายถึง พระผู้สร้างที่มีมาก่อน มีอานุภาพในการควบคุมทุกอย่าง เป็นผู้ลิขิตชีวิตของมนุษยชาติ แต่ภายหลังสถานะของพระพรหมเปลี่ยนไป ในบางคัมภีร์กล่าวว่าพระศิวะได้แยกพระพรหม ออกจากกายซีกซ้ายของพระองค์ บางคัมภีร์บอกว่า พระพรหมเกิดจากดอกบัวที่งอกจากสะดือของพระนารายณ์ที่นอนหลับอยู่บนตัวพญานาคราชในเกษียรสมุทร (หรือทะเลน้ำนม)

พระพรหมในศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู ไม่มีที่อยู่บนสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เหมือนพระศิวะ ที่อยู่บนเขาไกรลาส พระนารายณ์อยู่ในมหาสมุทร

ในความเชื่อของสังคมไทยที่แตกต่างออกไปจากศาสนาพราหมณ์ ดูพระพรหม ออกจะเป็นเทวดาธรรมดา เช่น มี ท้าวกบิลพรหม มาตั้งคำถามคือ คำว่า ศรี หรือมงคลน่าจะแปลว่า เสน่ห์ (ภาษาอังกฤษน่าจะใช้คำว่า charisma) ของคนนั้นประจำอยู่ที่ไหนในตัวคน

ในพระไตรปิฎกทางพุทธศาสนาก็กล่าวถึงพระพรหมในชื่อต่างๆ กัน เช่น ปรนิมมิตวสวัตตีพรหมที่เป็นเทพบุตร มารมา รบกวนพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ หรือพรหมชื่อ พกาพรหม ที่มาถกเถียงหรือมีความเชื่อถึงความยั่งยืนไม่เปลี่ยนแปลงของโลก เป็นต้น




พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา - พระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระพุทธรูปยืนในอิริยาบถก้าวเดินไปข้างหน้า ในคติและสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่า พระพุทธศาสนาได้ก้าวเดินมาสถิตอยู่ ณ ที่นี้และมั่นคงแล้ว

การก้าวเดินหรือการเที่ยวไปในพระพุทธศาสนาก็มาจากความหมายในพระไตรปิฎกตอนหนึ่งที่เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโอวาทปาติโมกข์ ในวันมาฆบูชาตอนที่สุดว่า

เธอทั้งหลายจงเที่ยวไป (ความหมาย ก็คือการออกจาริกเผยแพร่คำสอน) เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก

แต่ที่ปรากฏในภาพข้างต้นจากวัดเก่าวัดหนึ่งในเขตนนทบุรีที่นำพระพุทธรูปปางลีลานี้มาประดิษฐานอยู่เชิงสะพาน เข้าวัด ทำให้ดูรู้สึกว่าวัดใช้พระพุทธรูปปางลีลานี้เป็นเสมือนดั่งผู้ต้อนรับ (RECEPTION) หรือเป็น OPERATER ของสถานที่

จึงดูขัดขืนต่อคติและสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางนี้

ทำให้สถานะของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานไว้ ในบริเวณทางเข้าอาคารสถานที่ มีสถานะเป็นดัง “พระภูมิเจ้าที่” อันไม่น่าบังควรที่จะทำ




ศาลปู่ตา

ศาลปู่ตาไม่ใช่ศาสนสถานในพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อในวิญญาณของบรรพชนที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองให้คนในหมู่บ้านให้มีความสุข ความปลอดภัย และดลบันดาลให้พืชผลในหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นความเชื่อของบรรพชนไทยกลุ่มใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศาลปู่ตา ที่ดอนปู่ตา อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ศาลปู่ตาจะปลูกเป็นซุ้มศาลาเล็กๆ อยู่ในบริเวณป่านอกหมู่บ้าน บริเวณศาลปู่ตาจะเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนในหมู่บ้านให้ความเคารพเกรงกลัวในพื้นที่เขตเมืองซึ่งใหญ่โตขึ้นกว่าเขตหมู่บ้านก็จะมีศาลปู่ตาเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นผีปู่ตาที่มีอิทธิฤทธิ์สูงกว่าผีทั้งหลายทั่วไป

ศิลาจารึกสุโขทัยหลัก ๑ หน้า ๓ บันทึกเรื่องของผีปู่ตานี้ไว้แต่จะเรียกชื่อใหม่ว่า พระขพุงผี มีฐานะเป็นเทพยดาที่คุ้มครองเมือง ดังจารึกว่า “เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฏิพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีคภงค์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ไหว้ดีผีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้ม บ่เกรง เมืองนี้หายจากพระขพุงผี พัฒนาเพิ่มผีสำคัญ ในเมืองเป็นพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง คือเป็นผีที่มีหน้าที่ปกป้องรักษาเมือง”

และจากพัฒนาการเรื่องของผีปู่ตา ผีปู่ตาประสานเข้ากับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นศาลปู่ตาปรากฏขึ้นในวัด อาจจะอยู่ที่บริเวณกำแพงวัด บริเวณพุทธาวาสก็มี หรือบริเวณหลังวัดก็มี อันแสดงถึงความสัมพันธ์ของความเชื่อทางศาสนา โดยให้ความเชื่อเดิมในผีปู่ตาเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่จะให้ผู้คนในพื้นที่นั้นเป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียนลักขโมย อันทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม




เสาหลักเมือง

เสาหลักเมือง เสาอินทขีล เสาสะดือเมือง ในความหมายทางภูมิทัศน์ของเมืองก็คือเครื่องหมายศูนย์กลางเมือง ของชุมชนในพื้นที่สุวรรณภูมิ

มีลักษณะเป็นท่อนไม้หรือท่อนหินที่ปักไว้เป็นบริเวณลานกว้างๆ ที่บอกว่า ณ ที่นี้คือ ศูนย์กลางของชุมชนหรือของบ้านเมืองในอดีต และค่อยๆ เพิ่มสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์เพื่อรวมศูนย์แห่งจิตใจของผู้คนในชุมชนเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มคนเมืองเดียวกัน ร่วมชาติพันธุ์เดียวกัน

แม้มีความเชื่อว่าการตั้งหลักเมืองหรือเสาหลักเมืองนี้มีอิทธิพลมาจากอินเดีย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานของเรื่องเสาหลักเมืองในอินเดีย แม้แต่เสาหลักที่มีชื่อว่า ปฤถวีสดัม ที่ตั้งอยู่ที่เมืองกุดัมมีนาร์ อินเดีย คาดว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ ก็ไม่น่าจะนับว่าเป็นเสาหลักเมือง เพราะมีลักษณะเหมือนเสาโอเบลิสที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากกว่า

เดิมทีเสาหลักเมืองอันเป็นสัญลักษณ์ศูนย์กลางเมืองได้เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นก็น่าจะมาจากความเชื่อในศาสนาผีหรือการฝากความหวังไว้กับผีบรรพบุรุษหรือเทพยดาต่างๆ แม้ภายหลังพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพล ต่อความเชื่อในดินแดนสุวรรณภูมิ เข้ามาก็ประสานกันเข้ากับศาสนาผี

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เดิมก็เป็นศาลาไม้โปร่งที่ชำรุดทรุดโทรมลง จนเมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ แล้วตั้งศาลเทพารักษ์หรือเทวดารักษาเมืองขึ้น ๕ องค์ มีหน้าที่ในการปกป้องรักษาเมือง ดูแลบ้านเมืองให้มีความสุขความเจริญขึ้นแก่ผู้คนในเมือง ได้แก่

พระเสื้อเมือง เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันบ้านเมืองทั้งทางบกทางน้ำ รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองภัยทั้งเมือง




ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ - เราคงได้เห็นกันมาทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เมื่อมีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรืออาคารทั่วไป ก็มักจะมีการสร้างศาลเล็กๆ ขึ้นที่มุมที่ดินของอาคารบ้านเรือน ที่จะเปิดใช้สอยกันทั่วไป เราเรียกศาลชนิดนี้ว่า ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิคืออะไร - ศาลพระภูมิคลี่คลายมาจากศาลปู่ตาในชุมชน น่าจะเพราะการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ของผู้คน เกิดชุมชนขึ้นใหม่

เมื่อผู้คนโยกย้ายกันมาจากต่างถิ่นต่างแดน ต่างบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายายที่เคยเชื่อว่าเป็นผีที่ปกป้องภยันตรายแก่ลูกหลาน จึงสร้างศาลขึ้นเฉพาะตนเพื่อหวังให้เป็นที่สถิตของผีปู่ย่าตายายที่จะมาปกป้องคุ้มครองลูกหลานเฉพาะในเขตบ้านของตน ก็จะสร้างศาลปู่ตามาปกป้องลูกหลาน แต่เมื่อมีบ้านเรือนมากขึ้น ก็เห็นว่า ผีปู่ตาคงจะมาปกป้องคุ้มครองลูกหลานไม่ทั่วถึงกัน ก็ต้องหาผู้ปกป้องรายใหม่ จึงคิดเอาผีเจ้าถิ่นหรือผีเจ้าทางมาปกป้องคุ้มครอง ซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเทพ

ครั้นต่อมาเกิดมีการก่อสร้างแบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยอาคารบ้านเรือนเพิ่มขึ้น ผีหรือเทพประจำถิ่นก็น่าจะมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของชุมชน ก็เชื่อว่าต้องมีการเชื้อเชิญผีหรือเทพจากที่อื่นๆ เข้ามาสถิต ผีหรือเทพเหล่านั้นมีสถานะเป็นสัมภเวสี แปลว่าผู้ไม่มีที่อยู่ต้องเร่ร่อนไป จึงได้มีโอกาสเข้ามาสถิตในศาลที่สร้างขึ้น

เกิดมีความเชื่อขึ้นอีกว่า บรรดาสัมภเวสีที่เร่ร่อนที่มีฐานะ เป็นเทพนั้นจุติมาจากพระภิกษุผู้มรณภาพในสถานะเป็นพระ สัมภเวสีนั้นจึงมีฐานะเป็นพระ

ศาลที่พัฒนาจากศาลปู่ตาจึงกลายมาเป็นศาลพระภูมิ

แต่ข้อสังเกตสำคัญคือ พระภูมิเป็นสัมภเวสีที่มิใช่เทวดาที่สถิตอยู่ที่เขาพระสุเมรุที่อยู่อาศัยจึงต้องมีรูปแบบเหมือนบ้านเรือนผู้คนทั่วไป ไม่มีเรือนยอดในคติของจักรวาลทัศน์ที่ หมายถึงเขาพระสุเมรุ

ต่อมาศาลพระภูมิส่วนหนึ่งได้กลายมาเป็นศาลพระพรหม ซึ่งพระพรหมนั้นเป็นสัตว์โลกอันไม่มีที่อยู่ในสวรรค์จึงต้องมาสถิตอยู่ในศาลพระพรหมที่พบเห็นกันทั่วไป




ศาลพระพิราพ

ศาลพระพิราพ - ศาลอีกอย่างหนึ่งที่กำลังค่อยๆ พัฒนาขึ้นในบริเวณหรือทางเข้าวัดวาอารามอยู่ในศาลปู่ตา และตั้งมหาเทพองค์หนึ่ง หน้าเป็นยักษ์

พระพิราพองค์นี้ไม่ใช่เทพหรือเทวดาในความหมายของพระพุทธศาสนา

พระพิราพในศาสนาพราหมณ์คือ พระอิศวรอวตารภาคดุ มีฐานะเป็นบรมครูสูงสุดของนาฏศิลป์ เป็นผู้ประทานโชคลาภ ความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุขและอำนาจ เป็นมหาเสน่ห์เมตตา (ซึ่งเป็นสำนึกสำคัญของศิลปินการแสดง)

พระอิศวรเป็นมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์จึงมีภาคของบุคลิกลักษณะและคุณสมบัติแห่งมหาเทพมากมาย มีทั้งปางดี ปางร้าย ทั้งการใช้ปัญญาและอำนาจบารมี

ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า พระไภรวะ เป็นผู้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ที่ต่อมาคำว่า ไภรวะ แผลงมาเป็น พระพิราพ และมีฐานะเป็นหัวหน้าหรือเป็นบรมครูของฝ่ายยักษ์ (คล้ายกับท้าวเวสสุวัณ เทพผู้รักษาโลกด้านทิศเหนือ)

อีกฐานะหนึ่งของพระพิราพที่เป็นบรมครูของหมู่นาฏศิลป์ ซึ่งคล้ายกับอีกปางหนึ่งของพระอิศวรคือ ปางศิวนาฏราช การร่ายรำของพระศิวะที่แสดงถึงการสร้างโลกใหม่ด้วยการร่ายรำขณะที่ไฟกำลังเผาผลาญโลกเก่าลง

การร่ายรำนี้ได้ถ่ายทอดกันมาและทำให้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เรียกว่า เป็นท่ารำสูงสุดหรือหน้าพาทย์สูงสุด ซึ่งผู้ที่ได้รับการครอบครูหน้าพาทย์นี้แล้ว จึงจะออกแสดงเป็นตัวสำคัญของนาฏศิลป์ขั้นสูงได้

เรื่องที่น่าสนใจก็คือ ภายใต้การพัฒนาการทางศาสนาที่ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ได้รวมพุทธศาสนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ โดยให้พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์

แต่พุทธศาสนาในประเทศไทยได้เอาเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์มาเป็นส่วนประกอบของพุทธศาสนา พระพรหมของฮินดูพัฒนามาเป็นพราหมณ์ แปลว่า ผู้มีพรหมวิหาร ๔ แปลว่า ผู้ปฏิบัติธรรมในการเจริญสมาธิ มีฐานะเป็นพรหม เป็นต้น

ปัจจุบันก็กำลังจะนำพระอิศวรหรือพระพิราพมาอยู่ร่วมกับศาลปู่ตา กลายเป็นประชาสัมพันธ์หรือฝ่ายต้อนรับของพุทธศาสนา




หอกลอง หอระฆัง

หอกลอง หอระฆัง - โลกสิ้นเสียงระฆัง บอกถึงการสิ้นสุดของพระพุทธศาสนา ยักษ์จะมากินมนุษย์ในโลกนี้ ซึ่งหมายถึงการสิ้นสุดศรัทธา มนุษย์จะไร้ความปรานีต่อกัน

แต่บางวัดจะใช้เสียงกลองแทนเสียงระฆัง ซึ่งบางกรณีบ้านเมืองก็จะใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ในบ้านเมือง อาจจะเพราะเสียงกลองดังไปได้ไกลกว่าเสียงระฆังในการบอกเหตุ

ในกรุงเทพมหานครก็มีหอกลอง เพื่อใช้ตีบอกเหตุการณ์ต่างๆ มีการรื้อถอนและสร้างขึ้นมาใหม่ ในพื้นที่เดิมคือ บริเวณกรมแผนที่ทหารด้านหลังวัดพระเชตุพนฯ

เนื่องจากความสำคัญของหอกลองนี้ จึงพัฒนาความศักดิ์สิทธิ์ของหอกลอง เกิดมีเจ้าพ่อหอกลองซึ่งหล่อเป็นรูปเทวดา ปัจจุบันสถิตอยู่ในบริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ

หอกลองที่กรุงเทพฯ จะมีกลองอยู่ ๓ ใบ มีชื่อกำหนดและหน้าที่ไว้ดังนี้

๑.กลองพระสุริยศรี ใช้ตีบอกเวลา (เสียงของกลองพัฒนามาเป็นคำเรียกเวลาในเวลากลางคืน เรียกว่า ทุ่ม เช่น เวลา ๑ ทุ่ม คือ ๑๙ นาฬิกา เป็นต้น

๒.กลองอัศเจรีย์ ใช้ตีบอกสัญญาณ ไฟไหม้ ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว

๓.กลองพิฆาตไพรี ใช้ตีเมืองเกิดศึกสงคราม มีการระดมพล มีกลองสำคัญ ที่เชื่อว่าเป็นกลองพิฆาตไพรีอยู่ในวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีลักษณะแปลกกว่ากลองทั่วไป


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
นสพ.ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤศจิกายน 2563 16:30:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2563 16:29:18 »



เจว็ด

เจว็ด - เจว็ด เป็นสัญลักษณ์ของผี หรือสัมภเวสี หรือเทพเทวดาชั้นล่างสุดที่มิได้มีที่อยู่ในสวรรค์บนเขาพระสุเมรุ

ชาวบ้านจะทำเจว็ดด้วยแผ่นไม้แบนๆ แล้วเขียนรูปเทพหรือเทวดาสัปตเคราะห์ หรือเทวดานพเคราะห์ที่ หมายถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร ครบทั้ง ๙  องค์

หรือบางทีเขียนรูปพระชัยมงคลที่ลักษณะเป็นเทวดาถือพระขรรค์ ประทับยืนอยู่บนดอกบัวคว่ำบัวหงาย ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิเจ้าที่

เจว็ดในฐานะผู้คุ้มครองหรือที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเจ้าที่เจ้าทาง เป็นผีหรือเทพในลัทธิบูชาผี ซึ่งเชื่อกันอยู่ในสุวรรณภูมิก่อนพุทธศาสนา ทำหน้าที่ปกป้องรักษาดูแลความสงบสุขของชาวบ้าน

เดิมเป็นผีแล้วพัฒนามาเป็นเทพหรือเทวดาที่ไม่มีที่อยู่บนสวรรค์ ที่ปัจจุบันพัฒนาจากที่เป็นเจว็ดเป็นเทพชั้นสูง ติดตั้งอยู่ในศาลพระภูมิรวมกับศาลปู่ตาก็มี

ปัจจุบันศาลพระภูมิจึงใหญ่โตและดูจะมีอำนาจมากขึ้น และดูเหมือนว่ารูปของเจว็ดจะหายไปแล้ว เช่น เป็นพระพิฆเนศก็มีหรือบางทีก็กลายเป็นศาลพระพรหม




หน้ากาล

หน้ากาล - รูปวาด รูป ปูนปั้นหรือลวดลายแกะสลัก ที่ปรากฏบนประตูหรือทางเข้าวัดหรือ เทวาลัย มีใบหน้าเป็นอสูรผสมสิงห์ เรียกว่าหน้ากาล

เรื่องราวของหน้ากาล หรือเกียรติมุข เป็นเรื่องราวที่มาจากศาสนาฮินดูหรือกลุ่มไศวนิกาย ซึ่งหลากหลายและสลับซับซ้อน สนุกสนานแทรกคติแห่งความเชื่อไว้หลายระดับ

การที่หน้ากาลหรือเกียรติมุขที่ปรากฏในพุทธศาสนา เป็นความพยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของความเชื่อของคติให้เข้ากันระหว่างพุทธศาสนากับไศวนิกาย

ขณะเดียวกันหน้ากาลหรือเกียรติมุขนี้มิได้มีอยู่ในเฉพาะ พุทธศาสนาที่ผสมกลมกลืนไปกับไศวนิกายเท่านั้น หากแต่ ความเชื่อหรือคติของหน้ากาลนี้ปรากฏขึ้นในเอเชีย จีน หรือ ทิเบต ในภาชนะสำริด ซึ่งมีอายุประเมินได้ก่อนพุทธกาลถึง ๘๕๐ ปี

สำหรับประเทศไทย หน้ากาลหรือเกียรติมุขนี้ปรากฏในสมัยศิลปะที่เรียกว่า ศรีวิชัยหรือทวารวดีในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกายและพัฒนาไปร่วมกับฝ่ายเถรวาทในเขตสุโขทัยหรือเชียงแสนมาประมาณ ๑,๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว

คติของทางไศวนิกายที่ตำนานหรือคัมภีร์มีเรื่องของหน้ากาลหรือเกียรติมุขนั้น การมีหน้ากาลหรือเกียรติมุขไว้ที่ปากทางเข้าศาสนสถานในฐานะเป็นอสูรผู้พิทักษ์สถานที่ ในฐานะของใบหน้าอันมีเกียรติ หรือหน้าที่อันมีเกียรติ (ก็คงคล้ายกับ RECEPTION โรงแรมระดับ ๔ ดาวหรือ ๕ ดาว) หรือในฐานะอสูรผู้พิทักษ์สถานที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้ายทั้งปวงสามารถย่างกรายเข้ามาในสถานที่นั้นได้

ส่วนคติทางพุทธศาสนาก็กลมกลืนไปกับความเชื่อแบบหนึ่งของไศวนิกายก็คือ เป็นสัญลักษณ์ของเวลา ที่มีความหมายว่า เวลาย่อมกินกลืนสรรพสิ่งทั้งปวง (เพราะหน้ากาลหรือเกียรติมุขนั้นในตำนานหรือคัมภีร์โบราณกล่าวว่า หน้ากาลนั้นกลืนกินทุกอย่างแม้แต่ตนเองจนเหลือแต่ใบหน้า)

หมายเหตุ : หน้ากาลหรือเกียรติมุขจะแตกต่างจากพระกาฬหรือพระกาฬไชยศรี ซึ่งจะบรรยายในตอนต่อไป


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
นสพ.ข่าวสด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 25 เมษายน 2564 16:00:18 »

.

 
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


พระกาฬไชยศรี  

พระกาฬไชยศรี – พระกาฬไม่ใช้กับคำว่า พระกาล เพียงซ้ำกันในการออกเสียง

พระกาลนั้นในความเข้าใจทั่วไปก็คือ สัญลักษณ์ของกาลเวลา ซึ่งแปลว่าผู้กลืนกินสรรพสิ่งทั้งปวงและตัวของมันเองด้วย จึงมักจะสร้างรูปแบบของพระกาลไว้บริเวณปากทางเข้าศาสนสถานของฮินดูและพุทธในบางแห่ง

พระกาฬ มีความหมายว่า ผู้มีร่างกายที่เป็นสีดำและมีตำนานเล่าถึงพระศิวะปางดุร้ายหรือปางทำลาย มีกายเป็นสีดำ

พระกาฬจึงมีสถานะที่เป็น สัญลักษณ์ของความ น่ากลัว โดยพระกาฬจะพัฒนามาเป็นเทพที่เรียกว่า พระกาฬไชยศรี มีหน้าที่นำดวงวิญญาณของมนุษย์ผู้ละโลกนี้ไปแล้วไปส่งให้พระยม เทพผู้รักษาสมดุลของโลก ด้านทิศใต้ซึ่งเป็นเทพแห่งความยุติธรรมพิจารณาเพื่อรับ ผลแห่งการทำดี ทำเลวที่ได้กระทำในมนุษย์โลก

ความเชื่อของการพิพากษาวิญญาณของมนุษย์มีอยู่ทั้งในศาสนิกชนชาวฮินดู และพุทธศาสนิกชนบางพวก บางกลุ่มที่เชื่อในชีวิตหลังความตาย ที่เชื่อว่ามนุษย์นั้นนอกจากมีรูปกายหรือร่างกายแล้วยังมีวิญญาณที่อยู่ร่วมกับรูปกายนั้น เมื่อมนุษย์ตายแล้ววิญญาณซึ่งถือว่าเป็นผู้เก็บความดีความเลวที่ได้กระทำไว้ต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้น

ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายตันตระยานก็มีพระกาฬในนามว่า ฮายากีวะ ซึ่งมีจังหวะเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง แต่อยู่ในปางที่ดูน่ากลัว ดุร้าย เพื่อใช้ข่มหรือขู่มาร ว่าที่น่ากลัวมากกว่ามารก็คือ พระโพธิสัตว์ปางดุร้าย

พระกาฬไชยศรีที่มีคติเดิมเป็นเทพยดาฝ่ายดุร้ายได้พัฒนาเพิ่มเติมเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองจึงมีการ สร้างรูปสร้างศาลให้พระกาฬไชยศรี เช่น เมืองลพบุรี และกรุงเทพมหานคร ที่มีรูปปั้นพระกาฬไชยศรีสถิตอยู่ที่ ศาลหลักเมือง เป็นรูปปั้นที่เป็นเทพประทับอยู่บนนกแสก อันเป็นนกที่ชาวบ้านในอดีตถือว่าเป็นนกอัปมงคลที่จะนำความตายมาสู่ผู้คนในครอบครัว ถ้านกแสกมาจับอยู่บนหลังคาบ้านเรือน
 



พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง  

พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง – เทพารักษ์ ๒ องค์ ที่ประดิษฐานอยู่ในศาลหลักเมืองคู่ไปกับเทพารักษ์องค์อื่นๆ อีก ๓ องค์ ชื่อว่า พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง

พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เป็นสัญลักษณ์ของเรื่องใด มีคำอธิบายถึงฐานะและหน้าที่ของพระเสื้อเมือง และพระทรงเมืองอยู่หลายแนวแต่ก็ใกล้เคียงกัน และที่ชัดเจนก็คือ ทั้ง ๒ องค์นี้ มีฐานะเป็นเทพารักษ์หรือเทวดาผู้รักษาเมือง ทั้ง ๒ องค์นั้นเป็นความเชื่อที่มิใช่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อในศาสนาผี อันเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของภูมิภาคนี้ ที่กระจายทั่วไปตั้งแต่ประเทศจีนโดยเฉพาะจีนตอนใต้ตลอดไปจนถึงชายสมุทรทั้งสององค์ และดูเสมือนว่าฐานะและหน้าที่ของพระเสื้อเมืองและพระทรงเมืองนั้นซ้ำซ้อนกัน

พระเสื้อเมือง มีคำอธิบายว่ามาจากคำว่า พระเชื้อเมืองหรือผีเสื้อเมือง คำว่า พระเชื้อเมือง หมายถึง ผีบรรพบุรุษของเมือง เทียบได้กับผีปู่ตาของชุมชน ในอดีตชุมชนในภูมิภาคนี้จะสร้างหอผีเสื้อเมืองอยู่ทางทิศหัวบ้านหรือทิศเหนือ แล้วเชิญวิญญาณเทวดาหรือวิญญาณเจ้าเมืองที่ล่วงลับไปแล้วเข้าสถิตในหอเสื้อเมือง หรือเชื่อว่าวิญญาณของกษัตริย์จะปกป้องเมือง

อีกมุมหนึ่งคำว่า เสื้อ หมายถึงการปกคลุมคุ้มครอง ผีเสื้อเมืองหรือพระเสื้อเมืองจึงหมายถึง ผีหรือเทวดา ผู้คุ้มครองเมือง

พระทรงเมือง มี ๒ ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง วิญญาณที่สถิตอยู่ในหอผีเสื้อเมืองเป็นสื่อกลางให้ลูกบ้านได้พบกับผีผู้ครองเมือง คำว่าผีผู้ครองเมืองก็น่าจะหมายถึง ผีของเจ้าเมืองที่ยังคงทำหน้าที่คุ้มครองเมือง

แต่ข้อสังเกตของรูปเคารพพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง ในศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ พระเสื้อเมืองมือขวา ถือจักรอันเป็นอาวุธของพระรามหรือพระนารายณ์ ส่วนพระทรงเมืองมือซ้ายถือ พระขรรค์อันเป็นอาวุธของพระลักษมณ์

อันน่าจะแปลความหมายของพระเสื้อเมืองและพระทรงเมืองก็คือ ปางหนึ่งของพระนารายณ์ที่อวตารมาปกครองเมืองหรือกรุงเทพฯ ที่ยังคงมีชื่อคำว่า อยุธยา และพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ก็มีนามว่า รามาธิบดี ทุกพระองค์
 



ทวารบาล  

ทวารบาล – ศิลปะทางพุทธศิลป์ที่มักจะปรากฏเป็นรูปปั้นนูนต่ำหรือรูปเขียนบริเวณประตูทางเข้าวัด เป็นรูปเทวดาติดอยู่ที่บานประตูวัด ๒ ด้าน เรียกกันว่า ทวารบาล

ประวัติความเป็นมาของทวารบาลมีความหลากหลายกันไปตามพื้นถิ่น เช่น ประเพณีความเชื่อของจีน ก็เล่าว่าจากการที่พระเจ้าถังไท้จงถูกเทพเจ้าแห่งฝนโกรธที่ไม่ช่วยปกป้องชีวิตจากการที่ถูกเง็กเซียนฮ่องเต้ (เทพสูงสุดของจีน) สั่งประหารชีวิต เพราะทำงานที่ขาดความรอบคอบทำให้ประชาชนได้รับความทุกข์ยาก เทพเจ้าแห่งฝนเมื่อตายแล้วจึงมารบกวนพระเจ้าถังไท้จงให้ป่วยไข้ แม้ทหารคนสนิท ๒ คน ก็ป้องกันไม่ได้

พระเจ้าถังไท้จงจึงให้ช่างเขียนรูปยามเฝ้าประตูไว้เพื่อหลอกมิให้เทพเจ้าแห่งฝนมารบกวน

ศาสนาผีที่สอดคล้องกับสังคมไทยก็คือ ความเชื่อของผีหรือกลายมาเป็นเทพารักษ์มีหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของผู้คนที่ผ่านประตูเมือง ซึ่งมักจะมีทวารบาล ๒ ตน เป็นผู้เฝ้ารักษาความปลอดภัย ดูแลผู้ผ่านเข้าออก ทำหน้าที่ปิดประตูเมืองเปิดประตูเมือง

วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องของยามเฝ้าประตูหรือเฝ้าบันไดก็ดูจะเป็นเรื่องการดูหมิ่นเหยียดหยามชนชั้นที่กล่าวถึง นนทกยักษ์ผู้เฝ้าประตูทางขึ้นเขาไกรลาศ และทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดาด้วย มักจะถูกเทวดา (เลว) กลั่นแกล้งเขกหัวจนหัวล้าน กลายเป็นความคับแค้นที่ทำให้นนทกลายเป็นผู้ต่อต้านและต่อสู้กับการกดขี่ ดูถูก เหยียดหยามและถูกลงโทษให้ตายจากสวรรค์  ต่อมาเกิดเป็นยักษ์นามทศกัณฐ์ ที่ก่อให้เกิดสงครามล้างเผ่าพันธุ์ยักษ์จนหมดไปจากโลก ที่ทำให้ดูว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างความเลวกับความดี

จากเรื่องราวผสมผสานความคิดเรื่องทวารบาลพัฒนาจากศาสนาผีมาเป็นพุทธศิลป์ในประเทศไทยมาเป็นทวารบาลผู้เฝ้าประตูวัด ทวารบาลจึงมีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เป็นรูปเทวดาถืออาวุธอยู่ ๒ ประตู หรือเป็นรูปทหารถือปืน หอก ดาบ

สัญลักษณ์ของทวารบาลก็กลายมาเป็นผู้ปกป้องมิให้ความเลว ความชั่วร้าย ได้เข้ามาสู่พื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์
 



หอแจกศาลาการเปรียญ  

หอแจกศาลาการเปรียญ – หอ คำว่า หอ พจนานุกรมไทย หมายถึงเรือนหรืออาคารที่ใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด ในสถาปัตยกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมไปถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า หอ หมายถึง อาคารที่ใช้เพื่อกิจการเฉพาะกิจเหมือนกัน

หอแจกหรือศาลาการเปรียญ คือ ศาลาประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการประชุม การทำบุญของผู้คนในชุมชน เป็นกิจการที่มิใช่เรื่องของสังฆกรรม อาจจะมีพระพุทธรูปหรือธรรมาสน์เทศน์ ประดิษฐานอยู่หรือไม่ก็ได้

สำหรับวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมไปถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หอแจก (หรือศาลาการเปรียญ) มักจะมีการก่อสร้างในเขตวัดมากกว่าอาคารที่เรียกว่าวิหาร และมีการใช้ประโยชน์ตลอดเวลา รวมทั้งบางครั้งราชการบ้านเมืองก็ใช้หอแจกหรือศาลาการเปรียญเป็นที่ประชุมชาวบ้าน หอแจกหรือศาลาการเปรียญจึง มักสร้างกันอย่างใหญ่โต

แต่เนื่องจากหอแจกเป็นอาคารที่มิใช่อาคารทางศาสนสถานที่แม้จะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็ตาม จึงไม่จำเป็นจะต้องมีคติหรือสัญลักษณ์ใดทางศาสนา
 



หอพระ  

หอพระ – ในความหมายของหอพระก็คือ อาคารที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ที่มิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรมใดๆ มีทั้งเล็กและใหญ่

พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในหอพระมักจะเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ หรือมีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เช่น หอพระม่าน ในนครหลวงพระบาง เป็นที่ประดิษฐานพระม่านที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการขอฝนเมื่อหลวงพระบางเกิดแห้งแล้ง

หอพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนาก และปฏิสังขรณ์ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้น

ในอดีต คนไทยมักจะไม่เก็บหรือประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านเรือน แต่จะปลูกแยกหอพระออกจากตัวเรือนพักอาศัยเป็นเอกเทศอยู่ในชานเรือน

กรณีที่หอพระสร้างอยู่ในบริเวณวัด คติสัญลักษณ์ของหอพระในเชิงจักรวาลทัศน์ก็เปรียบเสมือนอนุทวีป ที่อยู่ล้อมรอบศูนย์กลางจักรวาล หรือถ้าในทางมหายานก็เปรียบเป็นเหมือนพุทธเกษตรหรือมันดาละที่จะมีพระพุทธเจ้าผู้เข้าสู่นิพพานแล้วนี้สถิตอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อจะโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากสังสารวัฏ
 



หอพระ  

หอพระ – ในความหมายของหอพระก็คือ อาคารที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ที่มิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรมใดๆ มีทั้งเล็กและใหญ่

พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในหอพระมักจะเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ หรือมีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เช่นหอพระม่าน ในนครหลวงพระบาง เป็นที่ประดิษฐานพระม่านที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการขอฝนเมื่อหลวงพระบางเกิดแห้งแล้ง

หอพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนาก และปฏิสังขรณ์ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้น

ในอดีต คนไทยมักจะไม่เก็บหรือประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านเรือน แต่จะปลูกแยกหอพระออกจากตัวเรือนพักอาศัยเป็นเอกเทศอยู่ในชานเรือน

กรณีที่หอพระสร้างอยู่ในบริเวณวัด คติสัญลักษณ์ของหอพระในเชิงจักรวาลทัศน์ก็เปรียบเสมือน อนุทวีป ที่อยู่ล้อมรอบศูนย์กลางจักรวาล หรือถ้าในทางมหายานก็เปรียบเป็นเหมือนพุทธเกษตรหรือ มันดาละที่จะมีพระพุทธเจ้าผู้เข้าสู่นิพพานแล้วนี้สถิตอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อจะโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากสังสารวัฏ
 



สัญลักษณ์ธรรม  

สัญลักษณ์ธรรม – คติหรือสัญลักษณ์ทางธรรมะในพระพุทธศาสนา นอกจากจะปรากฏในสิ่งก่อสร้างอาคาร หรือที่เรียกกันคือ งานทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ในภูมิสถาน เช่น ถ้ำ ภูเขา และแม่น้ำ คติหรือสัญลักษณ์ทางธรรมะก็อาจจะปรากฏในงานทางศิลปกรรมต่างๆ ไม่ว่าจิตรกรรมประติมากรรม รวมไปถึงนาฏกรรมและวรรณกรรม งานตกแต่ง และภูมิทัศน์ต่างๆ เป็นภาพวาด ภาพแกะสลักนูนสูงนูนต่ำ เป็นต้น

ในพระอุโบสถหรือพระวิหารที่เป็นอาคารทางพุทธศาสนา มีงานจิตรกรรมหรืองานตกแต่งภายในที่เป็นสัญลักษณ์ของ พุทธศาสนาที่จะเห็นเด่นชัด ก็คือ ภาพวาดหรือภาพที่เกิดจากการแกะสลักหรือรูปปั้นเป็นพระพุทธเจ้า (ปางสมาธิ) ปรากฏอยู่ภายในพระอุโบสถหรือพระวิหารทั้งของฝ่ายมหายานและเถรวาทเป็นจำนวนมากนับร้อยนับพันองค์ แต่ส่วนใหญ่ที่พระอุโบสถหรือพระวิหารที่จะมีภาพของพระพุทธเจ้ามักเป็นเฉพาะอารามหลวง หรือวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างหรือเป็นผู้อุปถัมภ์

คติของการวาดภาพหรือแกะสลักรูปพระพุทธเจ้ามากมายนี้ มาจากความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนาของมหายานที่ว่าบุคคลผู้บรรลุนิพพานเข้าถึงพุทธจิต พุทธภาวะ เมื่อพ้นไปจากสังสารวัฏนี้แล้ว จะยังสถิตอยู่ในมันดาละหรือพุทธเกษตร ทั้งหลายนั้นมีจำนวนมากมายอันหาปริมาณมิได้ และในคัมภีร์หรือพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็คือที่ ปรากฏอยู่ในพระสูตรตันปิฎก ขุททกนิกาย ที่มีคำว่า “……บารมี ๓๐ ด้าน…..เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมา ดั่งเม็ดทรายในมหาคงคานที”

สาระสำคัญของคตินี้ที่ปรากฏเป็นจิตรกรรมหรือประติมา กรรมเป็นพระพุทธรูปจำนวนมากก็คือ การบอกถึงบุคคลทั้งปวงย่อมหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้เท่ากัน ดังเช่นที่ได้เคยมีบุคคลอันบรรลุนิพพานในอดีตนั้น มีจำนวนมากมายมิอาจจะนับได้ โดยเปรียบเทียบจำนวนมหาศาลนั้นกับเม็ดทราย คำว่าเปรียบเทียบดั่งเม็ดทรายในมหาคงคานทีนั้น เป็นคำเปรียบเปรยว่าจำนวนพระ พุทธเจ้าที่บรรลุพระนิพพานนั้นมีจำนวนมากมาย นับได้ไม่ครบถ้วน เพราะเราไม่อาจจะนับเม็ดทรายทั้งหลายว่ามีจำนวนเท่าใด

ประกอบกับความเชื่อว่าจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้น มีการเกิดขึ้น ดับลง และเกิดขึ้นสลับกันนับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน ความเชื่อนี้จึงทำให้เชื่อว่าทุกครั้งมีการเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล ย่อมต้องมีพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้เสมอ

คติแห่งความเชื่อของเรื่องบุคคลทั้งหลายเมื่อประพฤติบารมี ๓๐ แล้วย่อมบรรลุนิพพานได้นั้น มีการสร้างพระพุทธรูปทองคำจำนวนมากประดิษฐานไว้ ณ ธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
 


ดินแดนในอุดมคติ – จักรวาลทัศน์  

ดินแดนในอุดมคติ – จักรวาลทัศน์ สัญลักษณ์จากจินตนาการความรู้เรื่องของโลก เรื่องของจักรวาลทางศาสนา ทั้งพุทธ พราหมณ์ หรือฮินดู ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นกายภาพนั้น

ในจินตนาการอีกด้านหนึ่ง ด้านรูปธรรมและนามธรรมทางสังคมก็คือรูปธรรมและสังคมในดินแดนที่เรียกว่า ดินแดนหรือพื้นที่ทางอุดมคติ หรือคำว่า Utopia ในภาษาอังกฤษ

รูปของพื้นที่หรือดินแดนในอุดมคติของชาติตะวันตกก็มีลักษณะคล้ายกับจักรวาลทัศน์ของศาสนาพุทธ พราหมณ์ หรือฮินดู ก็คือจะมีทะเลล้อมรอบแผ่นดินมีอาคารบ้านเรือน เป็นลำดับชั้นไป มีประชากรที่อยู่กันอย่างสงบสุข ไม่มีการเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบเหมือนดินแดนหิมพานต์ที่เชิงเขาพระสุเมรุ ไม่มีการกดขี่ข่มเหงและขูดรีดกัน บรรดาผู้อยู่อาศัยในดินแดนนี้ก็เหมือนเหล่าเทวดาในชั้นต่างๆ บนเขาพระสุเมรุ

อย่างไรก็ตามก็ยังเห็นพ้องต้องกันเกือบทั่วไปว่า สังคมแห่งอุดมคติหรือจักรวาลทัศน์แบบนี้ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ในโลกปัจจุบัน
 



สวรรค์  

สวรรค์ – ศาสนาเกือบทุกศาสนา บรรดาศาสนิกชนทั้งหลายที่เชื่อกันว่า “มีชีวิตหลังความตาย” ต่างก็เชื่อกันว่าเมื่อตายจากโลกนี้ ไปแล้ว จิตวิญญาณของมนุษย์จะไม่ตายหรือสูญหายไป แต่จะไปสถิตอยู่ ณ ดินแดนแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นนรกหรือสวรรค์

การจะไปสถิตอยู่ ณ ที่ใดนั้น จะขึ้นอยู่กับศรัทธาหรือความเชื่อในการดำรงชีวิตของผู้นั้นอยู่ในภาวะของข้อกำหนดตามที่มีบทบัญญัติไว้ในคัมภีร์ของศาสนานั้น ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทำให้สวรรค์ในศาสนาแตกต่างกันออกไป

ศาสนาอิสลาม ผู้ที่จะเข้าสู่สวรรค์ของศาสนาอิสลามจะต้องผ่านการทดสอบหรือเรียกว่า สถานีอยู่ ๗ สถานี ตั้งแต่การฟื้นคืนชีพขึ้นรอคำพิพากษาซึ่งแต่ละสถานีจะมีคำถามเฉพาะกำกับไว้คือ

สถานีแรก คือ ความรัก ศรัทธาต่อ บรรดาสานุศิษย์อันเป็นเครือญาติของท่านศาสดา

สถานีที่สอง คือ ถามถึงนมาช หรือการใช้ชีวิต

สถานีที่สาม คือ การบริจาค

สถานีที่สี่ คือ ถามถึงการถือศีลอด

สถานีที่ห้า คือ ถามถึงฮัจญ์

สถานีที่หก คือ ถามถึงเรื่อง ญิฮาด การอุทิศตนในศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า

สถานีที่เจ็ด คือ ถามถึงเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า

สวรรค์ของอิสลามนั้น ก็คือ พื้นที่ที่ผู้พำนักจะได้รับความปลอดภัยจากทุกภยันตราย ทุกความเสียหาย ทุกความบกพร่อง ทุกโรคภัยไข้เจ็บ และทุกความเสื่อมทรามไม่แก่เฒ่า ไม่ตาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้อยู่ร่วมกับศาสดาในศาสนาจะอยู่ในปราสาทราชวังสีทอง ที่ผู้ถือศีลอดอยู่ในพื้นที่ที่งดงาม สงบ ด้วยสายน้ำและพืชพรรณไม้ หรืออยู่ในพื้นที่ที่เป็นทองคำและเงินที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอม

สวรรค์ในคริสต์ศาสนานั้น แตกต่างจากสวรรค์ในศาสนาอื่น คัมภีร์ทางศาสนาหลายฉบับต่างกล่าวถึงสวรรค์ในภาวะที่แตกต่างกัน และมีการบรรยายถึงสภาวะของสวรรค์ที่แตกต่างกัน และไม่ยืนยันว่าสวรรค์ของคริสต์ศาสนาอยู่ที่ใด

สวรรค์ในคริสต์ศาสนาน่าจะมีลักษณะดังนี้

ไม่ต้องการแสงพระอาทิตย์ แสงดวงจันทร์เพราะพระสรีระของพระเจ้าเป็นแสงสว่างหรือดวงประทีปแห่งนคร และจะเป็นที่สถิตของผู้ที่ไม่เคยมีความประพฤติเป็นที่น่าสะอิดสะเอียน หรือพูดผิดเป็นผู้ไม่มีมลทินใดๆ (น่าจะหมายถึงผู้เชื่อและปฏิบัติตามบัญญัติสิบประการของศาสนานี้)

ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู สวรรค์จะมีลักษณะคล้ายกันคือ มี ๖ สวรรค์ชั้นฟ้า ณ เขาพระสุเมรุ ผู้ที่จะขึ้นสวรรค์จะต้องบำเพ็ญเพียร ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และประพฤติอยู่ในศีลในธรรมตามบทบัญญัติตามคัมภีร์

รวมทั้งต้องเป็นผู้มีใจเมตตากรุณา ทำบุญทำทานให้แก่ผู้คนหรือสังคม

สวรรค์ของพุทธและฮินดูมีสภาพเป็นเสมือนบำเหน็จแก่ผู้คนที่ประพฤติตนตามบทบัญญัติและบรรดาชาวสวรรค์ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบตามบารมีที่ได้กระทำ เช่น ในชั้นดาวดึงส์ ก็จะมีเทพหรือหัวหน้าทำหน้าที่สั่งสอนธรรมให้แก่เทพอื่นๆ หรือเทพบางชั้นมีหน้าที่ต้องรับใช้เทพชั้นสูงขึ้นไป เช่น ชั้นนิมมานรดีมีหน้าที่สร้างสรรค์สิ่งที่เทพชั้นปรนิมมานรดีชั้นสูงสุดต้องการ ยังดูเป็นสังคมชนชั้นทางปกครองอยู่บ้าง

ความแตกต่างระหว่างพุทธกับฮินดูก็ทางพุทธศาสนาซึ่งมีกลุ่มบำเพ็ญบารมีทางสติปัญญา ที่มิใช่เทพแต่เรียกว่าชั้นพรหม พรหมมิได้เป็นเทพ ที่สถิตอยู่ในสวรรค์และพรหมไม่ใช่เทวดา แต่เป็นกลุ่มของผู้ที่เจริญสมาธิ ปัญญา จนบรรลุธรรมชั้นต่างๆ จนใกล้จะบรรลุสู่นิพพาน พรหมบางพวกจะบรรลุนิพพานโดยไม่มีการกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาหรือสัตว์โลกอีก ซึ่งในความเชื่อเรื่องสวรรค์ของพุทธศาสนาส่วนนี้ ส่วนใหญ่มาจากการแต่งคัมภีร์ในชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ไตรภูมิถกา ที่แต่งขึ้นโดยพระเจ้าลิไท ซึ่งถ้าพิจารณาดูแล้วน่าจะมีลักษณะเป็น “ธรรมนูญการปกครอง” แบบหนึ่ง
 

ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
นสพ.ข่าวส
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2564 14:47:42 »

.

   
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


โลก  

การที่มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันต่างก็อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ มนุษย์ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างศรัทธาและความ เชื่อ มองว่าโลกนี้คือ อะไรแน่

ชาวมุสลิมมีความเชื่อเรื่องของโลก แตกต่างกับความเชื่อของชาวคริสต์ และต่างก็แตกต่างจากโลกของพุทธ ฮินดู และในศาสนาอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายในโลกใบเดียวนี้ก็แตกต่างกันออกไป

โลก สำหรับนักฟิสิกส์ก็มองโลกแตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง นอกจากจะมองโลกแตกต่างไปจากศรัทธาทางศาสนาแล้ว โลก ของนักฟิสิกส์ก็ยังพิสูจน์ได้จากข้อเท็จจริงที่ฝ่ายของชาวฟิสิกส์ นำมาแสดง

โลกของนักฟิสิกส์มีขนาดเล็กนิดเดียว เปรียบได้เป็นฝุ่นในจักรวาล เป็นโลกทางวัตถุ เป็นรูปธรรม มีลักษณะกลม หมุนรอบตัวเอง และรอบดวงอาทิตย์ที่มีดาวบริวาร มีลักษณะกลม หมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์เหมือนโลก และดวงอาทิตย์ก็พาดาวบริวารทั้งปวงเดินทางเป็นวงกลมอยู่แนวส่วนกลางรอบนอกของดาราจักรทางช้างเผือก

โลกของกลุ่มศาสนิกชนแตกต่างจากโลกของชาวฟิสิกส์ โลกของกลุ่มศาสนิกชนมีฐานะเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมรวมกัน

โลกของชาวมุสลิมมีสภาวะเป็น ๓ โลก โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยในปัจจุบันเรียกว่า โลกแห่งดุนยา เป็นโลกให้เราอาศัยชั่วคราว ไม่ถาวร เป็นที่พักอาศัยที่ดี ที่ดึงดูดให้มนุษย์เพลิดเพลิน พระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกเพื่อให้มนุษย์คู่แรกออกจากสวนสวรรค์ เพราะมีความขัดแย้งกันกับในบางสิ่งบางอย่าง

โลกอีกสภาวะคือ โลกแห่งบัรซัค เป็นโลกแห่งความตายของมนุษย์ที่เมื่อตายแล้วจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่นี้ เพื่อรอการกลับมามีชีวิต เพื่อรอการตัดสินในวันตัดสินโลกเมื่อโลกแห่งดุนยาสูญไป

โลกสุดท้ายคือ โลกแห่งอาคีเราะห์ เป็นโลกที่เกิดขึ้นใน วันตัดสินโลก มนุษย์จะกลับมามีชีวิตอีกเพื่อจะได้รับการตัดสินว่าสิ่งที่มนุษย์ได้ทำไปในโลกแห่งดุนยานั้นทำบาปหรือทำดี ผู้มีศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวก็จะได้มีชีวิตนิรันดร์ในสวนสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำบาปก็จะตกสะพานที่จะข้ามไปสู่สวรรค์นั้นลงสู่นรก ชั่วนิรันดร์

โลกในคริสต์ศาสนา เป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม เพราะจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าคือ เตรียมสถานที่ให้บุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าอาศัยอยู่ในความเป็นนิรันดร์ และพิสูจน์คุณค่าของตนตามพระบัญญัติ เพื่อกลับไปสู่พระผู้เป็นเจ้า




มนุษย์  

มนุษย์ – คําว่ามนุษย์มีความสับสนแตกต่างกัน โดยเมื่อมองจากทัศนะทางศาสนาและความเชื่อของมนุษย์เอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ให้ความหมายของคำว่า มนุษย์ คือ สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ ที่มีจิตใจสูง, คน

มนุษย์ในทัศนะของศาสนาใหญ่ ๒ ศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ที่พูดถึงกำเนิดของ มนุษย์ที่เหมือนกัน คล้ายกัน แต่ทัศนะในความเป็นมนุษย์จะแตก ต่างกัน

ทั้งสองศาสนากล่าวพ้องกันว่า มนุษย์คนแรกของโลกเกิดจากการสร้างของพระเจ้าสูงสุด พระองค์เดียว

คริสต์ศาสนากล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ว่า เมื่อพระเจ้าสร้างโลกแล้ว พระเจ้าหยิบผงดินจากพื้นดิน แล้วสร้างมนุษย์ผู้ชายจากผงดินนั้น แล้วทรงเป่าลมแห่งชีวิตเข้าไปใน มนุษย์ผู้ชายนั้น และแล้วมนุษย์ผู้ชายนั้น ก็มีชีวิตเกิดขึ้น

ศาสนาอิสลาม กระบวนการสร้างมนุษย์ของพระเจ้าจะซับซ้อนและเป็นลำดับกระบวนการมากขึ้น ทรงนำดินมาปั้นเป็นรูปคน แล้วทรงทำดินนั้นให้เป็นกระบวนการของเลือด เนื้อ กระดูก เนื้อหุ้มกระดูก แล้วก็ทรงเป่าลมแห่งชีวิตลงในรูปของกระบวนการนั้น แล้วชีวิตก็เกิดขึ้น

สิ่งที่แตกต่างกันของทัศนะแห่งการเกิดขึ้นของทั้งสองศาสนาก็คือ

คริสต์ศาสนา นักปรัชญาทางทางคริสต์ศาสนาให้ทัศนะว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญา” ถูกสร้างมาในฉายาของพระผู้เป็นเจ้า ที่ทรงสร้างโลกเพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ชั่วนิรันดร์

ศาสนาอิสลาม มนุษย์มีความหมายมากกว่านั้น มนุษย์มิใช่สัตว์ที่มีปัญญา เพราะยังมีสิ่งอื่นที่พระเจ้าสร้างขึ้น เช่น ญิน ที่พระเจ้าสร้างจากไฟที่ร้อนแรง ไร้เปลวควัน ก็มีปัญญา มลาอิกะฮ์ ที่พระเจ้าสร้าง สร้างจากรัศมี ก็มีทั้งสติปัญญาและเหตุผล มนุษย์นั้นพระผู้เป็นเจ้าหรือนามที่มนุษย์เรียกอีกนามว่า อัลเลาะฮ์กำหนดให้มนุษย์มีฐานะเป็นผู้ปกครองบนพื้นพิภพหรือบนโลก เพราะพระองค์ได้สร้างพืช สัตว์ ทั้งปวง เพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

ส่วนพุทธศาสนาไม่กล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ แต่กล่าวถึงการเกิดดับของจักรวาลที่มีมานับไม่ถ้วนและทุกครั้งที่จักรวาลหนึ่งดับไป จักรวาลใหม่เกิดขึ้นมา พรหม (ไม่ใช่เทวดา) จะลงมากับดินที่มีกลิ่นหอม หวานแล้วไม่อาจกลับขึ้นไปในที่เดิมได้ แต่ได้กลายเป็นมนุษย์อยู่บนโลกนี้

สาระสำคัญก็คือ มนุษย์ในทัศนะทางพุทธศาสนามีฐานะเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกายและจิต เรียกว่า รูป นาม รูปนามนี้ไม่เที่ยง เพราะไม่มีตัวตน ไม่เป็นตัวตน เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ไม่ เกิดขึ้นด้วยการสร้างของใคร และมนุษย์มีฐานะเป็นสัตว์โลกซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยความรู้สึก สุขทุกข์ อันเป็นผลมาจากการปรุงแต่งจากตา หู คอ จมูก ลิ้น กาย ชั้นของสัตว์โลก มีตั้งแต่นรก เปรต อสูร กาย เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และพรหม อันเป็นภพสูงสุดของผู้มีปัญญาและความดับ

ส่วนศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และโลก มนุษย์ของศาสนาฮินดูคล้ายกับมนุษย์ในทัศนะของพุทธศาสนา โดยมนุษย์ประกอบด้วยรูปหรือร่างกายและวิญญาณ เรียกกันทางศาสนา พราหมณ์ หรือฮินดูว่า อาตมัน

อาตมันนี้ไม่ดับสูญไปไปตามการแตกดับของร่างกาย แต่จะไปหาร่างกาย ใหม่หรือไปเกิดใหม่ได้ ขณะเดียวกันถ้าเป็นเทพหรือเทวดาชั้นสูง เช่น พระศิวะหรือพระนารายณ์ก็อาจอวตาร หรือแบ่งอาตมันนี้ลงไปเกิดในรูปใหม่ได้




ศีลในพุทธศาสนา  

ศีลในพุทธศาสนา – ศีล หมายถึงพฤติกรรม หรือการกระทำที่บริสุทธิ์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนตามหลักการของ ไตรศึกษา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์

พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ของท่าน ป.อ.ปยุตโต อธิบายว่า

ศีล ความประพฤติดีทางกายและทางวาจา การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุม กาย วาจา ให้อยู่ในความดีงาม การรักษาปกติตามระเบียบวินัย ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ ข้อปฏิบัติในการพักกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ

วิกิพีเดีย ศีล ข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายวาจา ให้อยู่ในความดีงาม และมีความปกติสุข

บางแห่ง ศีล แปลว่า ปกติ การไม่กระทำให้เกิดโทษแก่กายและวาจา หรือมีเจตนาความตั้งใจที่จะละเว้นจากกายทุกห้อง

ศีล คือ ความคิดที่จะเว้นจากมโนทุจริต คือ ความคิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ได้แก่ ความโลภ ความอยากได้ของผู้อื่น คิดพยาบาท

ศีล คือ ความสำรวมระวังปิดกั้นความชั่ว

ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดทำความผิดต่อตนเองและผู้อื่น

ศีลในพุทธศาสนามีรายระดับตามเพศฆราวาส ได้แก่ ระดับ ๑ เรียกว่า จุลศีล คือ ศีล ๕ ได้แก่ การเว้นจากการทำให้ชีวิตสัตว์ล่วงไป การเว้นจากการได้ทรัพย์มาโดยไม่ชอบ เช่น การปล้น การลักขโมย การฉ้อโกง หลอกลวง การเว้นจากการทำลายแย่งชิงของรักของหวงของบุคคลอื่น การเว้นจากการพูดเท็จ เพื่อหลอกลวงผู้อื่น การพูดที่ทำให้เกิดโทษแก่ตนเองแก่ผู้อื่น

และสุดท้ายก็คือ การไม่มัวเมาในเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดความประมาทในการใช้ชีวิตและขาดสติปัญญา

สำหรับบุคคลที่ปรารถนาหรือประสงค์ที่จะเพิ่มพูนสติปัญญาของ ตัวเองก็ต้องประพฤติปฏิบัติที่จะไม่ทำให้เกิดโทษแก่จิตของตนเองด้วยการถือปฏิบัติให้เคร่งครัดด้วยการไม่บำเรอตนเองให้เพลิดเพลินในกามารมณ์ เรียกว่า การถืออุโบสถศีล และเคร่งครัดยิ่งขึ้น ก็คือ การเป็นผู้ไม่สะสมเงินทอง เรียกว่า ทศศีล ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า อุบาสกอุบาสิกา หรือหากเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็น่าจะนับว่าเป็น สามเณรหรือสามเณรี เป็นศีลระดับ ๒

ส่วนศีลสำหรับนักบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ก็คือ การถือวัตรปฏิบัติให้เคร่งครัดเพื่อควบคุมกายและวาจา ตลอดจนวัตรปฏิบัติให้ละเอียดยิ่งขึ้น เรียกว่า ภิกษุวินัย มี ๒๒๗ ข้อ และภิกษุณีวินัยมี ๓๑๑ ข้อ เป็นศีลระดับ ๓

ผลที่ได้จากการปฏิบัติหรือประพฤติตัว หรือมีวัตรปฏิบัติตามศีลย่อมบรรลุผลสำคัญคือ

ผู้มีศีลย่อมได้ประโยชน์ดังนี้

เป็นผู้เข้าถึงและอยู่ในความดีงาม

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ (หมายถึงความพอเพียงต่อการดำรงชีวิต)

เป็นผู้เข้าถึงนิพพาน คือ ความสุขบริสุทธิ์ (ความสุขที่ไม่เจือด้วยอามิส คือความเป็นโทษ)




ดวงแก้ว  

ดวงแก้ว – ดวงแก้ว สิ่งของคู่บุญของ พระญาจักรพรรดิราช เป็นสิ่งของที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางมหายานและในไตรภูมิกถา มีความแตกต่างในการอธิบายคุณสมบัติของดวงแก้ว
คุณสมบัติสำคัญของดวงแก้วในคัมภีร์ของมหายานดูเป็นเหมือนทรัพยากรธรรมชาติที่

– ส่องสว่างอยู่ในกลางคืนได้ไกลถึง ๑๐๐ ลีก (หรือประมาณ ๓๐๐ ไมล์)

– เย็น เมื่อวันที่อากาศร้อน

– เป็นดังน้ำดื่มอันหอมหวานสำหรับผู้กระหาย

– เป็นจุดเริ่มต้นของสมบัติทั้งปวงของพระญาจักรพรรดิราช

– เป็นผู้ควบคุมกระแสน้ำ

– มีรัศมีหรือเป็นรังสีที่ใช้รักษาโรค

– ผู้มีดวงแก้วจะทำให้ความตายของคนในสายเลือดเป็นไปตามลำดับแห่งชาติพันธุ์คือ จากปู่ ลำดับไปยังพ่อ และต่อไป ยังลูก เพื่อลดทอนความโศกเศร้า

ไตรภูมิกถากล่าวถึงดวงแก้วว่า มีรูปลักษณะเหมือนดุมเกวียนที่ยาวประมาณ ๔ ศอก หรือ ๒ เมตร ที่ปลายหัวดุม

ทั้งสองข้างมีดอกบัวสีขาวใสเหมือนไข่มุก มีแสงสว่างส่องไปในกลางคืนเหมือนกลางวัน และมีดวงแก้วที่มีรูปทรงต่างๆ ล้อมรอบหลากสีรายล้อม จะลอยมาประดับบารมีพระญาจักรพรรดิราช พระญาจักรพรรดิราชจะสร้างภาชนะชนิดหนึ่ง เรียกว่า ตระเคียวทอง (ถุงที่ถักด้วยทอง) ใส่ดวงแก้ว ซึ่งจะมีรัศมีส่องสว่างดังกลางวัน ผูกไว้ที่ปลายยอดเสาเพื่อให้ผู้คนได้ทำภารกิจ ทำไร่ไถนา ซื้อขายสินค้ากันสะดวก

คำว่า แสงสว่าง ในความหมายของดวงแก้ว น่าจะหมายถึง การเปิดโอกาสอันเสรีในการดำรงชีวิต ประกอบกิจการงานดีที่โปร่งใส สุจริต

ฉะนั้น การมีดวงแก้วประกอบบุญของพระญาจักรพรรดิราชจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสุจริต เที่ยงธรรม และเสรีภาพ ในการประกอบอาชีพอันเสรี


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
นสพ.ข่าวสด

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.358 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ชั่วโมงที่แล้ว