[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 21:16:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทักษิณานุประทาน- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน  (อ่าน 8690 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 19:55:01 »

http://img704.imageshack.us/img704/1979/033ten.jpg
ทักษิณานุประทาน- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน







<a href="http://www.4shared.com/embed/174327640/3c763998" target="_blank">http://www.4shared.com/embed/174327640/3c763998</a>


ในเดือนที่เจ็ด ตามปฏิทินจีน จะเป็นเทศกาลสารทจีน หรือเทศกาลอุลลัมพัน ซึ่งตามศาสนสถานต่างๆของชาวจีน จะจัดงานขึ้น แต่รูปแบบของการจัดงานของวัดมหายานจีนนิกายกลับแตกต่างออกไป ถึงอยากรวบรวมมาให้ดูกัน


ตำนานที่มาของเทศกาลอุลลัมพันตามคติมหายาน


จะประกอบไปด้วยตำนาน 2 ตำนาน


ตำนานแรก ตำนาน เอี่ยมคาว หรือ เปรตพลี


ตามพระสูตรมหายานชื่อเปรตมุขอัศนีชวาล ได้บรรยายไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล พระอานนท์เถระเจ้าซึ่งยังไม่ได้สำเร็จมรรคผล ได้เจริญวิปัสสนาอยู่ในที่สงัด พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) มีพระประสงค์จะอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับการพิธีเปรตพลี จึงแปลงกายเป็นอสุรกายรูปร่างสูงใหญ่ มีเปลวไฟพุ่งออกจากปาก เมื่อจะทานอาหารใดๆไฟนั้นก็เผาผลาญเสีย ได้รับเวทนาอย่างมาก อสุรกายตนนั้นได้บอกแก่พระอานนท์เถระว่า ตนชื่อ อัศนีชวาลมุข(แปลว่าผู้มีเปลวไฟพุ่งออกจากปาก) หรือ เอี่ยมค่าว มีความทรมานจากการอดยาก เพราะกระทำกรรมหนัก จาบจวงพระรัตนตรัย ไม่รักษาศีล ขอพระเถระโปรดอุทิศส่วนกุศลให้ด้วย หากพระเถระไม่ช่วย จะต้องถึงแก่มรณะภาพใน 3 วัน พระอานนท์ได้ฟังก็มีความหวาดกลัวตามวิสัยปุถุชน ถึงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบทูลถามถึงวิธีแก้ไข พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณจึงทรงอธิบายว่า นั้นเป็นร่างแปลงของพระโพธิสัตว์กวนอิม เพื่อให้พระองค์ทรงแสดงพระสูตรเกี่ยวกับการ กระทำเปตรพลีอุทิศ ซึ่งได้เป็นพิธีปฏิบัติมาจนปัจจุบัน......................................


ตำนานที่ 2





ตำนานที่ 2 คือ พระมหาโมคคลานะเถระเจ้าผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีมารดาซึ่งมีมิจฉาทิฐิ ไม่เคารพในพระรัตนตรัย และไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อสิ้นใจ ได้ไปเสวยกรรมหนักในอบายภูมิ เป็นเปรตในอเวจี อดยากหิวโหย พระมหาเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์ได้รับรู้ด้วยญาณว่ามารดารับกรรมอันหนัก ก็เกิดสงสาร จึงเข้าญาณสมาบัติ นำอาหารใส่บาตร ลงไปในนรก เพื่อโปรดมารดา เมื่อมาถึงเมืองนรกประตูนรกปิดอยู่ ท่านบังเกิดความสังเวชที่ไม่อาจช่วยมารดาได้จึงนำไม้เท้าธุดงค์กดลงไปที่ พื้น ด้วยเดชแห่งความกตัญญูของพระเถระ ประตูนรกก็เปิดออกให้ท่านได้เข้าไปพบมารดา เมื่อท่านพบมารดาได้มอบอาหารจากบาตรให้พอมารดารับอาหารในบาตรกลับกลายเป็น เปลวไฟ ไปหมดสิ้น มารดาท่านก้ไม่สามารถรับประทานได้ พระมหาเถระจนใจไม่ทราบว่าจะแก้ไข้อย่างไร จึงกลับมาทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรง ชี้แนะว่า มารดาพระมหาเถระได้กระทำกรรมอันหนัก แม้พระมหาเถระจะทรงฤทธิ์ ก็เหลือกำลังที่จะโปรดให้พ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัย บารมีของสงฆ์คือคณะสงฆ์ ในวันมหาปวารณา(วันออกพรรษา)โดยการถวายสังฆทานต่อคณะสงฆ์ (สังฆทานอันไม่เจาะจงพระสงฆ์เป็นทานอันมีกุศลมาก)และคณะสงฆ์อาศัยผลานิสงค์ ของ การบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ในช่วงเข้าพรรษา นั้นอุทิศแด่ มารดาของพระมหาเถระก็จะช่วยให้มารดาพระมหาเถระพ้นทุกข์ได้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:51:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 19:57:07 »




ป้ายบูชาวิญญาณบรรพบุรุษต้องผู้เขียนซึ่งอยู่ในวิหาร บูรพาจารย์ ย้อนขึ้นไป3รุ่น ทั้งสองตะกูลของบิดามารดา ที่เห็นคาดสีแดง เป็นการปกปิดข้อมูลข่าวสารตัวเลขของป้าย เพื่อป้องกันการแทงหวย


การเข้าพรรษาของคณะสงฆ์จีนจะเข้าตั้งแต่วัน 15 ค่ำเดือน 4 จนถึง 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน ฉะนั้นเทศกาลอุลลัมพันจึง เป็นเทศกาลในเดือน 7 และถูกแต่งเติมความเชื่อว่า เป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกเปิด ทั้งที่เป็นเดือนที่ดีเป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนสามารถ กระทำบุญอุทิศต่อผู้ล่วงลับโดยอาศัยบารมีจากอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ได้.......................................
จากทั้ง 2 ตำนาน เมื่อมาผนวกกัน จึงเป็นช่วงงานเทศกาล กระทำ ทักษิณานุประทาน คือ การอุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และ เปรตพลีโยคะ คือ การให้ทานแก่ ดวงวิญญาณในภูมิอบายทั้ง 6
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:14:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:03:34 »



ข้าวสารที่สาธุชนนำมาไหว้จะนำต่อไปบริจาคให้มูลนิธิสงเคราะห์คนพิการต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:16:37 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:04:56 »




พระสงฆ์สวดขมากรรมพระพุทธเจ้าพันพระองค์ในพระอุโบสถ ขณะเดียวกันพระสงฆ์อีกคณะจะสวดอุทิศบริเวณแท่นไต้สื่อเอี้ย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:17:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:06:21 »




สาธุชนร่วมสวดขมากรรมพระพุทธเจ้าพันพระองค์ด้วยเพื่ออุทิศให้ดวงวิญญาณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:18:05 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:27:49 »

http://img704.imageshack.us/img704/1979/033ten.jpg
ทักษิณานุประทาน- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน




พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในการทิ้งกระจาด


พิธีเปรตพลีโยคกรรม


พิธีเริ่มจากพระสงฆ์อัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นประธาน มีพระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอานนท์เถรเจ้า เป็นอาทิ จากนั้นพระสงฆ์จะเดินไปสวดพระพุทธมนต์ยังที่บูชาพระมหาโพธิสัตว์ และที่บูชาวิญญาณผู้ล่วงลับตามลำดับ จากนั้นพระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ เป็นผู้ประกอบพิธีเรียกว่า พระวัชรธราจารย์ หรือกิมกังเสี่ยงซือ จะ ขึ้นสู่อาสน์ประธานมณฑลพิธีเพื่อเริ่มประกอบพิธี โดยพระวัชรธราจารย์จะเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ พระวัชรธราจารย์จะสวมไวโรจนมาลาและมีพุทธชญานมงกุฏที่ด้านหน้า หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยพระพุทธบารมี แห่งองค์พระชินเจ้าทั้งห้า คือพระไวโรจนพุทธเจ้า พระอักโษภยพุทธเจ้า พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธเจ้า พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์.......................................
การประกอบพิธีจะแบ่งเป็นสองภาคคือ ส่วนแรกประกอบพิธีถวายพุทธบูชา และส่วนที่สองเป็นพิธีโปรดสัตว์ เริ่มด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ชำระมณฑลพิธีให้บริสุทธิ์ด้วยพลังแห่งพระสัทธรรม ระหว่างประกอบพิธีพระวัชรธราจารย์จะใช้วัชรฆัณฏา คือ กระดิ่งวัชระ วัชรศาสตราและวัชรคธา คือเครื่องหมายรูปวัชระหรือสายฟ้าเป็นตัวแทนพระธรรม ซึ่งประดุจธรรมาวุธของพระโพธิสัตว์ ที่ใช้ในการปราบมาร คือกิเลสทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไปจากเหล่าสัตว์โลก และประกอบพิธีถวายเครื่องพุทธบูชาทั้ง ๖ อันได้แก่ ปุษปะคือดอกไม้ ธูปะคือเครื่องหอม อาโลกะคือประทีปโคมไฟ สุคนธะคือน้ำหอม ไนเวทยะคือเครื่องบูชาพลีกรรม และศัพทะคือเสียงดนตรีประโคม เป็นเครื่องบูชาแด่พระรัตนตรัย และอัญเชิญพระมหากรุณาบารมีแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มาเป็นธรรมพละเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์ ส่วนที่สองพิธีโปรดสัตว์นั้นจะเริ่มอัญเชิญพระกษิติครรภโพธิสัตว์ผู้ทรงมหา ปณิธานในการโปรดสัตว์นรก พระยายมราชทั้ง 10 ขุม และดวงวิญญาณ ทั้งหลายในภูมิทั้ง 6 คือเทพ อสูร มนุษย์ สัตว์เดรฉาน เปรต, สัตว์นรก และรวมทั้งเหล่าพาหิรลัทธิ ให้มาชุมนุมเพื่อรับฟังพระสัทธรรม จากนั้นจึงอัญเชิญพระบารมีแห่งอดีตพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์ คือ 1 พระรัตนชัยตถาคต 2 พระอภยังกรตถาคต 3 พระวิปุลกายตถาคต 4 พระสุรูปกายตถาคต 5 พระประภูตรัตนตถาคต 6 พระอมิตาภตถาคต 7 พระโลกวีสตีรนเตชอีศวรประภาตถาคต ทั้งเจ็ดพระองค์ และประกอบมุทราคือการทำมือเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ และการเพ่งจิตยังสัตว์โลกทั้ง 6 ในไตรภูมิ ที่ทนทุกข์ทรมานให้ยึดพระสัทธรรมเป็นดุจมหาธรรมนาวา ช่วยขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกขเวทนา ระหว่างพิธีพระสงฆ์จะโปรยข้าวสาร ทิพยวารี และขนม เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม และกุศลบุญ อันเป็นอาหารที่จะเหล่าวิญญาณหิวโหยต้องการ สุดท้ายพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ส่งวิญญาณของเหล่าสรรพสัตว์ไปยังสุขาวดี และอุทิศผลานิสงส์ในการประกอบพิธีให้แก่ผู้บำเพ็ญทาน และผู้ร่วมพิธีโดยทั่วกัน ระหว่างการประกอบพิธี หรือหลังการประกอบพิธี ทางเจ้าภาพมักจัดอาหารหรือเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อแจกเป็นทานแก่ประชาชน ที่ยากไร้ ในการแจกอาหารเครื่องใช้เหล่านี้ มักนิยมแจกจำนวนมากตามกำลังของเจ้าภาพ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำกันจำนวนมาก ๆ ทุกปี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:45:49 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:30:44 »

http://img704.imageshack.us/img704/1979/033ten.jpg
ทักษิณานุประทาน- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน




พิธีลอยกระทง


พิธีลอยกระทงเป็นพิธีที่จัดขึ้นก่อนการประกอบพิธีเปรตพลีโยคกรรม โปรดวิญญาณผู้ที่ล่วงลับ พิธีลอยกระทงจัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศผลกุศลทานให้แก่ดวงวิญญาณในทางน้ำ ในสมัยโบราณชาวจีนเราเชื่อกันว่าสายน้ำจะเป็นทางเชื่อมต่อกับโลกวิญญาณได้ดังนี้......ก่อนการจะพิธีโยคะเพื่อโปรดวิญญาณจึงมีการอธิษฐานจิตบอกกล่าวแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงให้มีรับส่วนกุศลในพิธีโยคะในวันถัดมา
ในประเทศจีนมักมีการลอยกระทงในช่วงเดือนเจ็ด เพราะเชื่อกันว่าเป็นเดือนแห่งวิญญาณจึงมีการจุดประทีปโคมไฟลอยน้ำ เพื่อเป็นไฟนำทางแก่วิญญาณเร่ร่อน ในกระทงจะจุดโคมและมีอาหารบรรจุเพื่อเป็นทานแก่ดวงวิญญาณ พิธีลอยกระทงที่จัดในเทศกาลสารทจีน และเทศกาลกินเจจึงเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศลเป็นทานแก่ วิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในแหล่งน้ำ



พิธีปล่อยชีวิตสัตว์

พิธีปล่อยชีวิตสัตว์เป็นพิธีที่ชาวพุทธฝ่ายมหายาน นิยมกระทำประกอบงานกุศลอยู่เสมอด้วยพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานถือกันว่าชีวิตทุกชีวิตมีค่าเสมอกันชีวิตของสรรพสัตว์ทุกชีวิตไม่ว่าจะเกิดในภูมิมนุษย์หรือสัตว์เดรฉาน ย่อมต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารทั้งสิ้น การเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ตามย่อมเป็นไปตามกรรมที่เราก่อไว้ แม้เราไม่อาจฝืน แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ได้ด้วยตัวเราเอง การดำรงชีวิตโดยไม่เบียดเบียนจึงเป็นทางที่ประเสริฐที่สุด พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเน้นหนักให้ ผู้บำเพ็ญงดจากการนำเนื้อผู้อื่นมาบริโภค เพราะการฆ่าเป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต สัตว์ต่างๆ ครั้งหนึ่งก็คือมนุษย์ที่รับกรรมไปเกิดเป็นสัตว์การบริโภคเนื้อผู้อื่นจึง เป็นการก่อเวรไม่สิ้นสุด พิธีปล่อยชีวิตสัตว์จึงเป็นการสั่งสมกรุณาจิตให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:44:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:33:34 »

http://img704.imageshack.us/img704/1979/033ten.jpg
ทักษิณานุประทาน- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน



ความหมายวันอุลลัมพันหรือวันสาร์ทจีน


อุลลัมพัน หรือ อวลัมพัน เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า ห้อยหัวลง หรือแขวนกลับ หมายถึง กลับทุกข์ให้เป็นสุข จึงเรียกว่าวันอุลลัมพัน การทำบุญในวันอุลลัมพัน คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันมหาปวารณา คือออกพรรษาตามแบบจีน มีที่มาจากมารดาของพระมหาโมคคัลลานะอรหันต์ เถระเจ้า อัครสาวกเบื้องซ้าย โปรดมารดา เมื่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ชอบติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ไม่เชื่อกรรม ชอบกินพวกเนื้อสัตว์ ประกอบปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่เป็นนิจโดยไม่เกรงต่อบาปบุญคุณโทษ เมื่อถึงแก่กรรมลงวิญญาณก็ได้ไปสู่ทุคติภูมิ เกิดเป็นเปรตในนรกอเวจี ทนทุกข์ทรมานอดอยากมีแต่หนังหุ้มกระดูก พระโมคคัลลานะอรหันต์เถรเจ้าผู้บรรลุอภิญญาหก ได้เล็งทิพยจักษุเห็นวิญญาณมารดาไปเกิดเป็นเปรตในนรกภูมิ ได้รับความทุกข์ทรมานมาก ก็มีความสงสารมารดาเป็นอย่างยิ่ง ก็สำแดงอภินิหารเข้าญาณสมาบัติ นำอาหารในบาตรลงไปยังเมืองนรก เพื่อโปรดให้มารดาบริโภค เมื่อมารดาพบบุตรก็บังเกิดความโสมนัส รับบาตรอาหารจะเอาไปกิน แต่แล้วอาหารนั้นกลับกลายเป็นไฟลุกโชติช่วง ทำให้ต้องร้องด้วยความทุกข์เวทนาหนัก
พระโมคคัลลานะเห็นดังนั้น มีความสงสารมารดาเป็นอย่างยิ่ง ได้กลับมาทูลถามพระพุทธองค์ว่า ตนนั้นก็เป็นพระมหาเถระอัครสาวกของพระพุทธองค์ และบรรลุอรหันต์ภูมิแล้ว เหตุใดจึงไม่สามารถช่วยมารดาให้พ้นทุกข์ได้ พระพุทธองค์ตรัสดำรัสกับพระโมคคัลลานะว่า มารดาของเธอเป็นผู้ทำคุรุกรรมหนัก ลำพังเธอผู้เดียวไม่สามารถที่จะโปรดมารดาได้ ต้องอาศัยบารมีแห่งสงฆ์ทั้งหลายในวันปวารณา ถวายสังฆทานโดยบรรจุลงในภาชนะอุลลัมพัน แด่พระสงฆ์ทั้งปวง และอาศัยผลานิสงส์ บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดไตรมาส อุทิศให้มารดาเธอก็จะพ้นจากทุคติภูมิ พระโมคคัลลานะได้ฟังดังนั้น.......ก็กระทำตามพุทธดำรัสทุกประการ มารดาของท่านก็ได้ไปสู่สุคติพ้นจากทุคติวิบากกรรม
ต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมกันในประเทศจีน การถวายสังฆทาน ในวันออกพรรษาหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๗ จีนของทุกปี เรียกกันว่าวันอุลลัมพัน จะมีการถวายข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องอุปโภคบริโภค บรรจุลงในภาชนะเรียกว่า ขันอุลลัมพัน ถวายแก่พระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศล แก่ดวงวิญญาณของบิดามารดาในอดีตชาติ และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เป็นการตอบแทนพระคุณ และอุทิศเป็นกุศลบารมีแก่ตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:45:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 10:04:54 »


ขออนุโมทนาบุญ รายละเอียดข้อมูล ทักษิณานุประทาน
- เปรตพลี - งานเทศกาลอุลลัมพัน

ตำนานที่มาของเทศกาลอุลลัมพันตามคติมหายาน
เนื่องในเทศกาลสารทจีน



 ยิ้ม http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ta-pran-boon&month=06-2009&date=08&group=1&gblog=61

ทะเล..
ทะเล แห่งนี้ ไม่มีจริง
ไม่มีลม ไหวติง หรอกที่นั่น
คล้ายยามค่ำ คล้ายรอยต่อ คืนและวัน
เวลานั้น โลกไร้ นาฬิกา

ดอกไม้...
ใครคนหนึ่ง เรียกสิ่งนั้น ว่าดอกไม้
ไม่แน่ใจ คงต้อง ไปค้นคว้า
แต่น่าใช่ เพราะเรียก ตามกันมา
เอาเป็นว่า เราเรียก ว่าดอกไม้

................
................
................
................

ไม่สิ...
แต่ทะเล แห่งนี้ ไม่มีจริง
อาจมีสิ่ง คลับคล้าย คล้ายที่นั่น
อาจจะมี ดอกไม้ คล้ายคล้ายกัน
อาจจะมี ที่นั่น ทะเลใด...


รจนาโดย..ตาพรานบุญ

 ลังเล อืมม.. อยากตอบว่า"ทะเลบุญ" ที่ๆปรารถนาให้น้อง"บางครั้ง"ประสบ
อยู่ในความสุขยิ่งกว่าสุขใดๆในโลก..นะคะ...

 รัก รัก รัก


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.348 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 15:37:30