[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 02:00:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: living wills  (อ่าน 4309 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 13:48:31 »




<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://ia341037.us.archive.org/2/items/DM03_64/DM03_640002.MP3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://ia341037.us.archive.org/2/items/DM03_64/DM03_640002.MP3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://ia341037.us.archive.org/2/items/DM03_64/DM03_640002.MP3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


พินัยกรรมชีวิต


สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษา


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กุมภาพันธ์ 2553 13:17 น.


เคยคิดบ้างไหมคะ? หากวันหนึ่งเราต้องเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล แล้วต้องมีสายโยงระยางอุปกรณ์เครื่องช่วยชีวิตมากมาย อยู่แบบเป็นเจ้าหญิงนิทราที่รอเพียงปาฎิหารย์จากเจ้าชายมาจุมพิตให้ตื่นขึ้น...............

ถ้าชีวิตของเราต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น................จะทรมานเช่นใดหนอ ?


พ่อแม่ญาติพี่น้องที่รัก......ร่ำไห้น้ำตานองหน้า พร้อมกับวิ่งวุ่นวาย หาเงินทองมากมายมามอบถวายให้โรงพยาบาล เพียงเพื่อหวังว่าจะช่วยยื้อยึดชีวิตของเราไว้ได้
แต่สุดท้าย...........ชีวิตของเราที่ต้องอยู่ในห้องไอซียู หรือห้องพิเศษแบบเดือนละหลายหมื่น หรือเป็นแสนๆ บาท เพราะใช้อุปกรณ์ช่วยต่อยืดชีวิตตลอดเวลา ก็ต้องจบลงอยู่ดี แต่อาจเป็นในอีกหลาย ๆ เดือนหรือหลายปีข้างหน้า โดยมีแค่เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ทำงานตามหน้าที่ของตน อยู่รับรู้เหตุการณ์ฉากสุดท้ายในชีวิตของเราเท่านั้นเอง.............................…
การตายอย่างสงบสุข อยู่ท่ามกลางคนที่รัก กลายเป็นเรื่องยากไปแล้วอย่างนั้นหรือ? เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า จนอาจสามารถยึดยื้อชีวิตเราให้ยืนยาวขึ้น กลายเป็นการยื้อความตาย และมอบความทุกข์ทรมานที่ยาวนานออกไปให้กับเราหรือเปล่าคะ ?

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:52:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 13:53:14 »




เราในฐานะเป็นเจ้าของร่างกายนี้ เจ้าของชีวิตนี้ มีสิทธิขอไม่รับการรักษาได้หรือไม่ ? เพราะถึงอย่างไร ?เราก็ต้องเสียชีวิตอยู่แล้วไม่วันนี้ก็วันหน้า.................................
แต่ที่ผ่านมา คำร้องขอดังกล่าวมักถูกปฏิเสธทั้งจากญาติใกล้ชิดที่ยังรักเราอยู่ และแพทย์ผู้ให้การรักษา ด้วยไม่อาจยอมรับการจากไปของเราได้ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์เองส่วนใหญ่ก็ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการดูแล ผู้ป่วยแบบประคับประคอง และวิตกกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องเอาผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ในภายหลังจากทายาทของผู้เสียชีวิต
นอกจากนี้การเสียชีวิตของคน ๆ หนึ่งยังเกี่ยวพันโยงใยกับอีกมากมายหลายคนนัก ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นพ่อหรือแม่ของผู้ป่วยหนัก บรรดาลูก ๆ อาจมีความคิดที่แตกต่างกัน บางคนถือว่า การยื้อชีวิตให้ถึงที่สุด ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ทุกชนิด และการยอมทุ่มเทเงินทองสุดตัวเป็นสิ่งที่ลูกควรกระทำ แต่ในขณะที่ลูกบางคนอาจต้องการให้แม่นอนสงบ โดยปราศจากอุปกรณ์เครื่องช่วยยื้ดชีวิตระโยงระยาง จนสิ้นลมไป เป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า หรือคนไข้อาจตัดสินใจอย่างหนึ่ง แต่ลูกหลานญาติพี่น้องอาจเห็นไปอีกอย่าง หรือเกิดเหตุการณ์ที่พ่อแม่หรือลูกตัดสินใจว่า ลูกหรือพ่อแม่ของตนควรจะอยู่หรือจะไป โดยที่เจ้าตัวไม่เข้าใจความปรารถนาเบื้องลึกของผู้ที่จะจากไปเลยก็ได้
ความจริงเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคนที่ติดตามข่าวสารของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมาโดยตลอด
แต่เมืองไทยเพิ่งมีการประกาศใช้กฎหมายพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ระบุเนื้อหา พินัยกรรมชีวิตไว้ในมาตรา12 ว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้...........เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:42:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 13:57:40 »




และเนื่องจากอ้วนทราบมาว่า ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาผ่านร่างกฎกระทรวง ในเรื่องข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยตามกรอบอำนาจในมาตรา 12 ของ พรบ สุขภาพแห่งชาติแล้ว และเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม) และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
จึงนำเรื่องราวของ พินัยกรรมชีวิต หรือ living wills มาย้ำเตือนอีกสักครั้งว่า นี้ไม่ใช่หนังสือพินัยกรรมทั่ว ๆ ไปอย่างที่เราเข้าใจ แต่เป็นหนังสือที่แสดงเจตนาล่วงหน้าของผู้ทำหนังสือในการแสดงเจตนาที่ไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
ว่ากันง่าย ๆ คือ การไม่ขอรับการรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยื้อชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่เป็นการขอให้แพทย์ที่รักษาเราอย่างดีที่สุดแล้วเมื่อถึงเวลาก็ต้องปล่อย ให้เรานั้นได้เสียชีวิตไปตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมาทรมานตัวเราให้ย่ำแย่ไปกว่าเดิมอีก
ไม่จำเป็นต้องเจาะคอใช้เครื่องช่วยหายใจ ใส่สายยางให้อาหาร หรือหล่อเลี้ยงชีวิตที่มีสภาพแค่เป็นผักนั้นให้คงอยู่ต่ออย่างไม่เกิด ประโยชน์ใด ๆ จะได้ไม่ต้องทุกข์ทนทรมานในการรักษา และยังลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานหรือคนในครอบครัว หลายคนอาจกังวลกับคำว่า วาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้การวินิจฉัยจากแพทย์เป็นเกณฑ์มาตรฐาน โดยกฎกระทรวงเองได้วางหลักไว้ว่า.............
วาระสุดท้ายของชีวิต หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรค ที่ไม่อาจจะรักษาให้หายได้และจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทั่วไปในทางวิชาชีพเห็นว่า ภาวะนั้นจะนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน
รูปแบบของ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนา ต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ทำหนังสือดัง กล่าวนั้น โดยผู้ป่วยเขียนหรือพิมพ์หนังสือแสดงเจตนาด้วยตัวเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยเขียนหนังสือไม่ได้ ให้แสดงเจตนาเป็นคำพูดต่อหน้าพยาน แล้วให้ผู้อื่นช่วยเขียนหรือพิมพ์ข้อความให้ แล้วลงชื่อผู้เขียนกับพยานก็สามารถกระทำได้................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:42:34 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:17 »




โดยผู้ทำพินัยกรรมชีวิตสามารถระบุประเภทของการบริการสาธารณ สุขที่ตนเองไม่ต้องการจะได้รับ เช่น ไม่ต้องการให้เจาะคอ, ไม่ต้องการให้ใช้อุปกรณ์การแพทย์ชนิดใด ๆ หากร่างกายของเรามีสภาพเสมือนผัก ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างยาวนานและถาวร ไม่สามารถตอบสนองใด ๆ
ทั้งคนปกติและคนป่วยต่างก็มีสิทธิทำพินัยกรรมชีวิตนี้ไว้ได้ เพียงแต่มีหลักฐานยืนยันว่า ขณะทำมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และจะกำหนดข้อความรายละเอียดลงไป เช่ อยากกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน หรือต้องการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของตนเอง เช่น ต้องการให้พระสงฆ์มาสวดมนต์ ก็ย่อมสามารถกระทำได้ โดยสถานบริการสาธารณสุขควรให้ความร่วมมือตามสมควร
หากเราเชื่อว่า มนุษย์มีสิทธิที่จะสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง อันเป็นพื้นฐานของแนวคิดสิทธิมนุษยชน ย่อมทำให้เราสามารถใช้ สิทธิในการปฏิเสธการรักษา ซึ่งเป็นสิทธิของมนุษย์ที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเองเมื่อถึงวาระสุดท้ายของตน
การตายอย่างสงบ เป็นธรรมชาติ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่คนทุกคนพึงมีพึงได้ เพราะเป็นสิทธิที่ตนเองจะได้รับการเคารพและการยอมรับจากผู้อื่นในสังคม และจากกฎหมาย
ผู้ทำ พินัยกรรมชีวิต สามารถยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงหนังสือได้ทุกเวลา หรือในกรณีที่ทำหนังสือไว้นานหลายปีแล้ว ก็ควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในการปรับปรุงเนื้อหาในพินัยกรรม ชีวิตดังกล่าว และควรแจ้งให้พยานหรือบุคคลใกล้ชิด ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องได้ทราบด้วย
และเมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล ให้ญาติหรือบุคคลที่ใกล้ชิดแจ้งเรื่องการทำพินัยกรรมชีวิตต่อแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล นอกจากนี้ควรปรึกษาหารือกับแพทย์ที่ให้การรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามนั้น และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน กรณีที่ญาติใกล้ชิดหรือสมาชิกในครอบครัว มีความเห็นที่แตกต่างกัน ควรหารือกันและยึดหลักความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมชีวิตเป็นสำคัญ
หากเกิดกรณีที่พบว่าการดูแลรักษาของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมชีวิตขึ้น ควรรีบปรึกษาหารือกับแพทย์ที่ให้การรักษา และในกรณีที่ทราบว่าแพทย์ปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนา ก็สามารถแจ้งให้โรงพยาบาลทราบ เพื่อขอเปลี่ยนวิธีการรักษา เปลี่ยนแพทย์ หรือขอย้ายโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยและญาติสนิท มีสิทธิปฏิเสธการชำระค่าบริการและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการในส่วนที่ขัดต่อพินัยกรรมชีวิตได้........................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:42:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:03:29 »




ถ้าทุกคนยอมรับได้ว่า ความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การเตรียมตัว เตรียมใจ เสียก่อน เพื่อให้ฉากสุดท้ายของชีวิตปิดตัวลงอย่างงดงาม จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม และอย่ากลัวว่า ทำพินัยกรรมชีวิต แพทย์จะไม่เหลียวแลรักษาตัวเราเลย สำหรับผู้ป่วยที่อาการของโรคอยู่ในระยะสุดท้าย หมดหวังจากการรักษาให้หายจากโรคแล้ว แพทย์ต้องดูแลเราตามอาการ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และทำให้เราจบชีวิตลงอย่างสงบ
ส่วนประเด็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อยื้อชีวิตนั้น คงขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่า เราต้องการยื้อชีวิตไปเพื่ออะไร และเพื่อใครมากกว่า....................
ดังนั้น..................การใส่ท่อช่วยหายใจยื้อชีวิตไปอีกหนึ่งวัน อาจเป็นไปเพื่อให้คน ๆ นั้นและญาติสนิทได้เจอะเจอกัน เพื่อร่ำลาหรือสั่งลากันเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมีความหมายสำคัญยิ่งสำหรับคนที่จะจากไปและญาติสนิทคน แต่การยื้อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีความหมาย อาจเพิ่มความทรมานกายและใจให้ตัวผู้ป่วยและคนที่อยู่..........................
ย้ำว่าผู้ทำหนังสือ พินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษา อาจเปลี่ยนแปลงหนังสือแสดงเจตนาได้เสมอ ขอเพียงให้มีสติสุดท้ายเหลืออยู่ คุณอาจเรียกขอ พินัยกรรมชีวิต มาฉีกทิ้งก่อนก็ได้ ถ้าคิดว่าเจ็บคราวนี้รอดแน่ ๆ
ความคิดในการทำ พินัยกรรมชีวิต ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงอาจเป็นความห่วงใยครั้งสุดท้าย ที่ไม่ต้องการให้คนที่เรารักต้องมาเดือดร้อนกับตนเราอีกต่อไป ในเมื่อการยื้อชีวิตของตนให้คงอยู่ เป็นไปไม่ได้ ก็ขอตายอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์จะดีกว่าจริงไหมคะ?


credit by...........................http://www.manager.co.th
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:43:24 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 14:21:03 »






 รัก รัก รัก

อนุโมทนาค่ะ น้อง"บางครั้ง"


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 15:25:56 »







  ยิ้ม




บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ไลฟ์สไตล์] - เปิดใหม่ไปกันยัง!! Living House รวมร้านอร่อยมาเอาใจฟู้ดเลิฟเว่อร์ @เซ็นทรัล ลาดพร้าว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 284 กระทู้ล่าสุด 22 มกราคม 2565 06:24:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 21:43:27