[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 14:29:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ ( เดวิด โบห์ม )

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ ( เดวิด โบห์ม )  (อ่าน 2002 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2553 05:14:01 »



ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้



เดวิด โบห์ม เป็นนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำของโลก เขาเป็นชาวอเมริกัน เกิดในปี ค.ศ. ๑๙๑๗ และเติบโตในรัฐเพนซิลเวเนีย แต่ในปี ค.ศ. ๑๙๕๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๔ ชะตาชีวิตทำให้เขาต้องระหกระเหทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปอาศัยต่างแดน โบห์มต้องอพยพจากสหรัฐอเมริกาเพราะถูกคุกคามเสรีภาพ เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกเรียกตัวไปสอบสวนโดยคณะกรรมการตรวจสอบกิจการที่ไม่เป็นอเมริกัน (Un-American Activities Committee) ในยุครัฐบาลขวาจัดของสหรัฐอเมริกา

แต่โบห์มก็ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการ และอพยพหลบหนีไปอยู่ที่บราซิลระยะหนึ่ง จากนั้นจึงอพยพไปอิสราเอล และมาปักหลักค้นคว้าวิจัยอยู่ในอังกฤษจนเสียชีวิตในปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ตลอดชีวิตการทำงานของโบห์ม เขาได้เสนอทฤษฎีสำคัญเกี่ยวกับควอนตั้มฟิสิกส์ไว้หลายประการ และเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ควอนตั้มฟิสิกส์อื่นๆ อีกหลายคน ที่มักพบกับปรากฏการณ์ไม่ธรรมดาและไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผลหรือสามัญสำนึกปกติ ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้โบห์มและนักวิทยาศาสตร์ ควอนตั้มฟิสิกส์อีกหลายคนหันมาสนใจศาสนาและปรัชญาตะวันออก

สำหรับโบห์ม ได้รับอิทธิพลจากกฤษณะมูรตินักปราชญ์ชาวอินเดีย และได้ให้ความสนใจสมาธิภาวนาอย่างมาก เขาเชื่อว่าเมื่อมนุษย์มีความรู้สมบูรณ์ขึ้น วิทยาศาสตร์กับศิลปะที่เคยเป็นคนละเรื่องกันอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบันนั้น จะผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวในที่สุด เพราะความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ของมนุษย์นั่นเอง ที่ทำให้ศาสตร์สาขาต่างๆ และศิลปะกลายเป็นคนละเรื่องแยกขาดออกจากกัน

สาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์หันมาสนใจศาสตร์ตะวันออกเกี่ยวกับสมาธิภาวนาและการฝึกจิตมากขึ้นนั้น เป็นเพราะการทดลองและข้อค้นพบหลายอย่างในควอนตั้มฟิสิกส์ ได้ทำให้ความคิดวิทยาศาสตร์แบบเดิมเป็นปัญหา เช่นพบว่าสิ่งที่ถูกสังเกตในการทดลองเดิม ที่เคยยึดถือกันว่ามีคุณลักษณะคงที่แน่นอน กลับมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามการสังเกตรับรู้ของมนุษย์

หรือจากเดิมที่เคยคิดว่า สสารและพลังงานเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงและเป็นสองสถานะที่แยกขาดจากกัน วิทยาศาสตร์ใหม่กลับพบว่า สิ่งที่สังเกตตรวจวัดในการทดลองนั้นมีความไม่แน่นอนและไม่แบ่งแยกเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด็ดขาด ปรากฏการณ์เดียวกันนั้น บางขณะแสดงตัวเป็นอนุภาค แต่บางขณะกลับแสดงตัวเป็นคลื่น เรียกว่า ประเดี๋ยวเป็นสสาร ประเดี๋ยวกลับกลายเป็นพลังงาน ขึ้นอยู่กับการสังเกตตรวจวัด และเครื่องรับรู้

จากวิทยาศาสตร์แบบเดิมที่ถือว่า ความรู้ที่ถูกต้องเที่ยงตรงต้องเกิดจากการแยกผู้สังเกตกับสิ่งที่ถูกสังเกตออกจากกัน และความรู้ที่เป็นสากลจะต้องไม่ขึ้นกับจิตรับรู้ของมนุษย์นั้น วิทยาศาสตร์ใหม่กลับพบว่า ปรากฏการณ์ทุกอย่างล้วนสัมพัทธ์และสัมพันธ์กับการรับรู้อย่างแยกไม่ออก จะเรียกว่า สรรพสิ่งเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับจิตรับรู้ก็ได้

เมื่อความแน่นอนกลายเป็นไม่แน่นอน เพราะไปขึ้นกับการรับรู้ ความเป็นเหตุเป็นผลที่แน่นอนตายตัวและไม่ขึ้นกับจิต จึงกลายเป็นเรื่องที่สับสนอย่างยิ่งจนคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้

แต่โบห์มต่างจากนักฟิสิกส์บางคนตรงที่เขาเชื่อว่า ภายใต้ความไม่แน่นอนและสับสนนั้น แท้จริงมีกฎเกณฑ์หรือความเป็นระเบียบที่แฝงเร้นอยู่ ซึ่งโบห์มเรียกว่า Implicate order

แต่การที่จะเข้าถึงความเป็นระเบียบที่แฝงเร้นอยู่นั้น จะต้องอาศัยภูมิจิตภูมิปัญญาที่แตกต่างออกไปจากจิตคิดแบบวิทยาศาสตร์เดิม คือต้องเป็นจิตที่ผ่านการฝึกฝนมาดี และเป็นอิสระจากกรอบความคิด ภาษา และระบบสัญลักษณ์ ที่ได้กลายเป็นพันธนาการจองจำวิธีคิดของวิทยาศาสตร์แบบเดิมไปเสียแล้ว

ในแง่นี้ โบห์มให้ความว่า คณิตศาสตร์ก็เป็นระบบสัญลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย และวิทยาศาสตร์เก่าได้ติดยึดกับคำอธิบายที่เป็นตัวเลขและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มากเสียจนไม่สามารถรับรู้ความจริงแบบอื่นได้ เรียกว่า ต้องทำทุกอย่างให้เป็นตัวเลขจึงจะคุยกันแบบวิทยาศาสตร์ได้

โบห์มคิดว่า กรอบความคิด ภาษา และสัญญะ เหล่านั้นมีปัญหา และการที่จะก้าวพ้นจากอุปาทานการติดยึดกับสิ่งเหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องฝึกให้รู้เท่าทันวิธีคิดและจิตรับรู้ของตนเองด้วย

ในระยะหลังนี้ เราจึงเห็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหันมาสนใจศาสตร์ทางจิตและศาสนาตะวันออกต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะมีการจัดการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกกับองค์ดาไล ลามะ แห่งธิเบตที่จัดขึ้นทุก ๒ ปี ติดต่อกันมากว่า ๒๐ ปี นับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๗ แล้วนั้น ได้ทำให้เห็นได้ว่าศาสนาและภูมิปํญญาตะวันออกสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่งได้อย่างน่าสนใจและลุ่มลึกยิ่งกว่าทัศนะแบบวัตถุนิยมกลไกของวิทยาศาสตร์เสียอีก

วิทยาศาสตร์กำลังอภิวัฒน์ตัวเองอย่างช้าๆ ด้วยการเรียนรู้จากภูมิปัญญาตะวันออก แม้เราจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าวิทยาศาสตร์ใหม่จะลงเอยอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังเปลี่ยนไปก็คือ ทัศนะของวิทยาศาสตร์เดิมที่ถือว่า ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สากล ไม่ขึ้นกับจิตรับรู้ของมนุษย์ หรือเรียกว่าความรู้กับสภาวะแห่งการรู้นั้นแยกขาดจากกันได้

ความรู้แบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่คนรู้คนหนึ่งเอามาอธิบายให้อีกคนหนึ่งรู้ได้ เพราะความรู้เป็นเรื่องภายนอกที่บอกเล่า เรียนรู้กันได้จากการคิด โดยไม่เกี่ยวกับพื้นภูมิของจิต แต่ภูมิปัญญาตะวันออกบอกว่า ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ที่แท้จริงนั้น มิอาจแยกจากกัน และความรู้ที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะแห่งการรู้นั้นคือปัญญา

โบห์มเชื่อว่า การที่นักฟิสิกส์ต้องพบกับปรากฏการณ์ที่สะท้อนความเป็นจริงแบบใหม่นี้ เป็นโอกาสดีที่จะเข้าถึงความรู้และสภาวะแห่งการรู้ใหม่ เพราะความจริงใหม่นี้จะท้าทายและรื้อเลาะอุปาทานที่เคยติดยึดอยู่ได้ หากเป็นเช่นนั้น วิทยาศาสตร์ใหม่อาจเป็นหนทางหนึ่งของการเข้าถึงปัญญาที่แท้จริงได้ เพราะการทำงานวิทยาศาสตร์เพื่อให้รู้เท่าทันความคิดและให้จิตเป็นอิสระจากอุปาทานนั้น แท้จริงก็คือการปฏิบัติธรรมนั่นเอง


http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-92.htm

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
'เดวิด ลอย' กับ หนทางแห่งโพธิสัตว์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1610 กระทู้ล่าสุด 24 มีนาคม 2555 02:08:50
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.285 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 22:13:59