[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:45:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าหวังกันนักเลย คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ  (อ่าน 5383 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 19:47:47 »




อย่าหวังกันนักเลย
คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ

...การปฏิบัติธรรมะข้อแรกที่สุดนั้น เราต้องปฏิบัติที่ตัวเรา เพื่อให้รู้ที่ตัวเรานี่เอง ที่เราศึกษาในตำรับตำรา นั่นก็ชี้เข้ามาที่ตัวเรา แต่เราเลยไปติดตำรับตำรา ก็เลยไม่รู้ที่ตัวเรา แล้วครูบาอาจารย์ก็หลายท่าน สอนไปไม่เหมือนกัน แต่องค์ที่สอนนั่นแหละ เราต้องคำนวนว่าองค์ที่สอนนั่น ท่านรับ-รองได้ไหม – คำพูดของท่าน ครั้นถ้าหากท่านยังรับรองไม่ได้ คำพูดของท่านนั้นยังไม่เป็นแก่นเป็นสาร ยังไม่มีสาระ ยังไม่มีเนื้อหา เพราะท่านเองก็ยังไม่รู้ เราต้องเข้าใจอย่างนั้น บทนี้เป็นบทสำคัญที่สุด เราจะวินิจฉัย

ดังนั้น พระพุทธเจ้าของเรานี้ ท่านเคยศึกษาเล่าเรียนมามาก ท่านไม่ได้รับรองเลยคำพูดของท่าน (ตอน)ที่ท่านยังไม่รู้นั้น ท่านไม่รับรอง แต่ท่านก็เลยไม่ได้สอนใครทั้งหมดเลย ต่อเมื่อท่านมาศึกษา และมาปฏิบัติตัวท่านเอง เรียกว่า เจริญสติ เจริญปัญญา ท่านมีสติ ท่านมีปัญญา หรือมีญาณปัญญา ญาณรู้แจ้ง รู้จริงแล้ว ท่านก็มีความห่วงใย กับเพื่อน ท่านก็…“เอาล่ะ! บัดนี้เราต้องพูดความจริง ” พอดีท่านพูดความจริง… พวกท่าน(คง)เคยได้เรียนมา (ว่า)มีนักบวชเหมือนกันนั่นแหละ …ที่เราเคยได้ยิน (ชื่อ)อุปกาชีวก (เป็น)คนหนึ่งที่กำลังแสวงหาธรรมะ ต้องการอยากรู้ธรรมะ อยากหาธรรมะ วิธีที่ทางพ้นทุกข์ หรือทางดับทุกข์นั่นแหละ เมื่อได้พบเอากับพระพุทธเจ้า ถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแสดงความจริงให้ฟัง ไม่เข้าใจ ก็เลยสลัดหัวไปเลย อันนั้นแปลว่า แสดงความจริงให้ฟังแล้วไม่เข้าใจ เมื่อเราไม่เข้าใจแล้ว การปฏิบัติของเราก็เลยไม่ได้ผล

อันนี้ก็เหมือนกัน คนสมัยนี้ เมื่อต้องการความจริง (แต่) เมื่อมีบุคคลพูดความจริงให้ฟังก็เลยไม่สนใจ ผมเคยได้ยินบ่อย ๆ ใครๆ ก็ตาม พูดความจริงให้ฟังแล้วไม่สนใจ ไปสนใจเอาสิ่งที่ไม่มีสาระ ไม่มีเนื้อหา ชอบความสนุกเฮฮาไปอย่างนั้น อันนั้นแปลว่า ยังไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนา หรือยังไม่สนใจทางดับทุกข์ตนเอง มันเป็นอย่างนั้น

ดังนั้น วิธีที่เอามาปฏิบัติกันจริง ๆ นั้น คือปฏิบัติตัวเรา อย่างที่เราทำวัตรจบไปเมื่อกี้นี่ว่า “เราจงอย่าเป็นผู้ประมาท” เราอย่าเป็นผู้ประมาท คำว่า “ประมาท” ในที่นี้ ก็เราลืมตัวนั่นแหละ เมื่อเรามาศึกษาที่ตัวเรา ก็แปลว่าเราเป็นคนไม่ประมาท
ศึกษาที่ตัวเราก็(คือ) ทำความรู้สึกตัวกับตัวเราข้อแรกที่สุดเราต้องกำหนดรู้ให้มีสติ กำหนดรู้ตัวเรา อันนี้เป็นการศึกษา และเป็นการปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าศึกษาเล่าเรียน การศึกษาเล่าเรียนนั้น มันพูดอยู่นอกตัวเรา การศึกษาและปฏิบัตินั้น มันต้องปฏิบัติที่ตัวเรา กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด มันทำอย่างไร มันพูดอย่างไร มันคิดอย่างไร เราต้องมองทะลุเข้าไปที่ตรงนี้ เมื่อเรามองที่ตรงนี้ เราก็รู้ ก็เห็น ก็เข้าใจ

...ทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิดนั่นแหละ ตัวความคิดจริง ๆ นั้น มันก็ไม่ได้มีความทุกข์ ที่มันมีทุกข์เกิดขึ้นคือเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น มันก็เลยเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป เมื่อมันเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป มันก็นำทุกข์มาให้เรา ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราว่า “คอยระมัดระวังที่จิตที่ใจ” เราไม่เคยดูใจเรา บางคนเกิดมาจนตาย(ไป)ก็มีนะ บางคน ไม่เคยดูชีวิตจิตใจของเรา นี่เป็นอย่างนั้น

(มีต่อค่ะ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 19:51:59 »


...การปฏิบัติแบบที่ผมนำมาเล่าให้ฟังวันนี้ จะเป็นพระปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน เป็นเณรปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน เป็นญาติเป็นโยมปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน เป็นผู้หญิงผู้ชายปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน รู้เหมือนกันทุกคน เพราะทุกคนมีกาย มีใจ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นน่ะ ผมกล้าและยืนยันรับรองอย่างนี้มาหลายครั้งหลายหน ตั้งแต่ปีพู่นแน่ะ ผมรับรองมา (ตั้งแต่)ปีสองพันห้าร้อยพู่น(โน่น)แน่ะ ผมเชื่อมั่นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรมาก นอกจากเอามาแก้ทุกข์ตัวเราเท่านั้นเอง เมื่อเรารู้ เราต้องเอามาแก้ทุกข์ตัวเรา เมื่อเราไม่มีความทุกข์แล้ว ไปสอนคนอื่นก็ต้องไม่มีทุกข์ เพราะคนมันมีทุกข์นี่ มีทุกข์เพราะความคิดนี่แหละ

ทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิดนั่นแหละ ตัวความคิดจริง ๆ นั้น มันก็ไม่ได้มีความทุกข์ ที่มันมีทุกข์เกิดขึ้นคือเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น มันก็เลยเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป เมื่อมันเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป มันก็นำทุกข์มาให้เรา ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราว่า “คอยระมัดระวังที่จิตที่ใจ” เราไม่เคยดูใจเรา บางคนเกิดมาจนตาย(ไป)ก็มีนะ บางคน ไม่เคยดูชีวิตจิตใจของเรา นี่เป็นอย่างนั้น

การปฏิบัติธรรมะก็ไปปฏิบัติที่อื่น ไปปฏิบัติอย่างที่เขาพูดกัน เข้าไปอยู่ในถ้ำ ในป่า หรือไปอดข้าว นี่เป็นอย่างนั้น หรือไปนั่งหลับตากัน นี่เป็นอย่างนั้น อันนั้นแปลว่าคนยังไม่รู้ ทำไปตามเขา นึกคิดอย่างไรก็ต้องทำไปอย่างนั้น มันไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

อย่างที่ผมเล่านี่นะ ไม่ต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ไม่ต้องไปอยู่ป่า ไม่ต้องไปที่ไหนล่ะ เราต้องอยู่ที่ตัวเรานี่แหละ ไปไหนมาไหนต้องปฏิบัติอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเมื่อเราไปบิณฑบาตเราก็ดูใจเราไป เมื่อมาฉันเราก็ดูใจของเราหรือดูการเคลื่อนไหวของเรา นี้เป็นการปฏิบัติธรรมะ หากเป็นโยม บัดนี้ ไปทำการทำงานก็ต้องดูใจของเรา เมื่อเรากำลังพักผ่อนเราก็ดูใจของเรา นี่เป็นการปฏิบัติธรรมะมิใช่ว่าปฏิบัติธรรมะแล้วไม่ต้องทำการ ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องคิด ไม่ต้องหา อันนั้นไม่ถูก ผมเคยทำมาแล้ว เรื่องนี้

หลวงพ่อ: พวกท่านทั้งหลายนั่งอยู่ในขณะนี้ใครมีความโกรธ เดี๋ยวนี้ที่ถาม
ผู้ฟัง : ไม่มีครับ
หลวงพ่อ : ไม่มีใครโกรธนะ แล้วในขณะบางครั้งท่านโกรธเป็นไหม ?
ผู้ฟัง: เป็นครับ
หลวงพ่อ: แล้วมันมาจากที่ไหน ท่านเห็นไหม?
ผู้ฟัง: ไม่รู้ครับ
หลวงพ่อ: แน่ะ ! …อันที่ไม่รู้นั้นแหละ มันเป็นคนลืมตัวอันนี้แหละพระพุทธเจ้า ท่านสอน ไม่ใช่ ว่าท่านรักษาศีล เคร่งครัดแล้ว ความโกรธมันหายไหม เอ้า ! ถาม
ผู้ฟัง: ไม่หายครับ
หลวงพ่อ: ไม่หาย เมื่อความโกรธไม่หายท่านมีศีลไหม?
ผู้ฟัง : ไม่มีครับ
หลวงพ่อ: แน่ะ ! ก็เท่านี้เองนี่

ศีลนั้น แปลว่า “ปกติ” เดี๋ยวนี้จิตใจท่านเป็นปกติ อันนี้แหละคือท่านมีศีล ท่านเมื่อเวลาใด ขณะไหน วินาทีใดที่ผิดปกตินั้นแปลว่าศีลไม่มี ท่านจะไปอดข้าวอดน้ำ ก็อดจนตายนั่นแหละ (เพราะ)มันไม่มาดูที่ตรงนี้(ก็จะ)ไม่รู้จริง ๆ เรื่องนี้ เป็นอย่างนั้น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 19:53:48 »

เมื่อเรามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แล้ว เขาเรียกว่า อโทสะ อโมหะ อโลภะ โทสะ โมหะ โลภะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แต่อาศัยญาณ …อันที่ผมพูดนี้ อันนี้แปลว่า ได้ยินได้ฟังและจำไว้…เมื่อเราไปไหนมาไหนความคิดมันวูบขึ้นมา เราเห็น เรารู้ เราต้องทำบ่อย ๆ อันนี้ คอยดู คอยแล เมื่อเราดูบ่อย ๆ เราก็เห็น เราก็รู้ เมื่อเราเห็นเรารู้ความคิดอันนั้น มันไม่มีโทสะ มันไม่มีโมหะ มันไม่มีโลภะ เขาเรียกว่า อโทสะ อโมหะ อโลภะ เพราะเรามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รู้เท่ารู้ทัน รู้จักกัน รู้จักแก้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สุดของการปฏิบัติธรรมะ

ดังนั้น จึงปฏิบัติให้รู้ที่ตัวเรา ไม่ต้องไปรู้ใครที่ไหน ไม่ต้องไปรู้เทวดา ไม่ต้องไปรู้สวรรค์ ไม่ต้องไปรู้นรก ไม่ต้องไปรู้ใครทั้งนั้น นี่แหละที่เราสวดกัน หลักธรรมคุณที่ว่า สันทิฎฐิโก อันผู้รู้จะพึงเห็นเอง มันไม่ใช่ไปรู้จากตำรับตำรา เรารู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง ไม่ใช่เป็นคนเกียจคร้าน ต้องเป็นคนเอาการเอางาน ต้องเป็นคนขยัน

อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบกาล และเวลา จะเป็นเวลาไหนก็ตาม การปฏิบัติธรรมะ ต้องปฏิบัติอยู่ทุกลมหายใจ ถ้าเรามีลมหายใจอยู่ ก็ต้องปฏิบัติธรรมะ ถ้าเราไม่ปฏิบัติธรรมะ ก็ชื่อว่าเราหมดลมหายใจ เป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเราไปนึกไปคิดเอา หวังเอา อันนั้น… ไม่เป็นอย่างนั้น คือเราไปนึกไปคิดเอา ไปหวังเอา อันนั้นไม่สมหวัง ไม่สมหวัง

สมมุติว่า เราต้องการอยากมีเงิน แต่เราไม่ทำงานเราก็ไม่ได้เงิน อันนี้ก็เหมือนกัน เราต้องการปฏิบัติธรรมะ เราอยากรู้ธรรมะ ไม่ปฏิบัติ – มันก็ไม่รู้ เรานั่งคิดเอา อันนั้นเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นอย่างนี้ ที่เราเรียนมาน่ะ อันนั้นแปลว่าไม่รู้ คิดเอาเองกัน คิดเอาแล้วว่าคงเป็นอย่างนั้น คงเป็นอย่างนี้ แล้วเมื่อมันมีอารมณ์ขึ้นมา มันโกรธขึ้นมา มันจะมีประโยชน์อะไร อันนั้น อันที่เรายังโกรธขึ้นมาน่ะ

หลวงพ่อ : ความโกรธนี่มันเป็นทุกข์หรือมันเป็นสุข
ผู้ฟัง : ทุกข์ครับ
หลวงพ่อ : เป็นทุกข์ ท่านชอบไหม ?
ผู้ฟัง : ไม่ครับ
หลวงพ่อ : ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบท่านจะทำอย่างไร มันจึงจะไม่โกรธขึ้นมา
ผู้ฟัง : มีสติเข้าไปกำหนดรู้ครับ
หลวงพ่อ : มีสติเข้าไปกำหนดรู้ เมื่อสตินั้นเข้าไปกำหนดรู้แล้ว มันก็ต้องไม่ โกรธใช่ไหม ?
ผู้ฟัง : ใช่ครับ
หลวงพ่อ : อันนี้แหละ เป็นการปฏิบัติธรรมะเบื้องต้นที่สุด จุดแรกที่สุด บัดนี้เป็นพระโกรธเป็นไหม ?
ผู้ฟัง : เป็นครับ
หลวงพ่อ : แน่ะ…เป็นโยมโกรธเป็นไหม ?
ผู้ฟัง : เป็นครับ
หลวงพ่อ : แน่ะ…มันไม่ยกเว้นใครทั้งหมดเลย คนมีเงินมาก ๆ ก็โกรธเป็นใช่ไหม ?
ผู้ฟัง : โกรธเป็นเหมือนกันครับ
หลวงพ่อ : คนจน ๆ ก็โกรธเป็นเหมือนกันใช่ไหม ?
ผู้ฟัง : ใช่ครับ


อันนี้แหละ การปฏิบัติธรรมะ จึงว่าปฏิบัติได้ทุกชั้นทุกวัย เป็นพระก็ปฏิบัติได้ เป็นโยมก็ปฏิบัติได้ เป็นใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น เพราะปฏิบัติเพื่อแก้ทุกข์นี่เอง ถ้าเราไม่มีทุกข์แล้วไม่ต้องปฏิบัติธรรมะแล้ว แต่ในขณะนี้เราไม่มีทุกข์ แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นมันมีทุกข์ เราต้องเตรียมไว้ จึงว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อเราไม่มีทุกข์ เราต้องศึกษา ฝึกฝน อบรม ปฏิบัติไว้ เมื่อเราศึกษา ฝึกฝน อบรม ปฏิบัติเอาไว้ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราเราก็แก้ได้ทันที นี่เป็นการปฏิบัติธรรมะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 19:58:26 »

ก่อนที่เราจะนำเอาความรู้ไปสอนคนอื่นนั้น เราต้องรับรองได้ หรือวิธีอย่างนั้นต้องปฏิบัติอย่างนั้น มันจึงเข้าใจอย่างนั้น มันต้องเข้าใจอย่างนี้ ไม่ใช่จะไปพูดเอา แล้วต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ อันนั้นมันยังไม่แน่นอน

ที่ผมพูดนี่ผมรับรองได้ ไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนอะไรมาก ถ้าหากว่าเรามาศึกษาและปฏิบัติที่ตัวเราแล้ว นี่แหละถูกต้อง ถ้าปฏิบัติอย่างนี้นะครับ “ทำความรู้สึกตัว ทำความตื่นตัวอยู่เสมอ รู้ทั้งการเคลื่อนไหวทางรูปกายก็ให้รู้ และจิตใจมันนึกมันคิดก็ให้รู้ ” ทำอย่างนี้แหละ ทำบ่อย ๆ ไปไหนมาไหน ก็ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ไม่ต้องคิดวิตก กังวลอะไรทั้งหมดเลย มันคิดมาแล้วก็ปัดทิ้งไปเลยเราอย่าไปรู้กับมัน อันนี้เป็นวิธีฝึกหัด เมื่อเราฝึกหัด ความเคยชินมันมีครับ ความเคยชินมันมี พอดีจิตใจมันไหวตัวขึ้นมา เราจะรู้ทันที เมื่อเรารู้ทันทีแล้ว ความคิดมันก็เลยไม่ได้ปรุง มันก็เลยไม่มีทุกข์

หลวงพ่อ : เหมือนกับเราอยู่ในที่มืด เรามีไฟฟ้านี่ บัดนี้คนที่ไม่รู้ ถึงเวลาต้องการ ความสว่าง ก็ไปจับหลอดไฟ หมุนหลอดไฟ จะมีไฟไหม ?
ผู้ฟัง : ไม่มีครับ
หลวงพ่อ : ไม่มีนะ แน่ะ ! บัดนี้คนที่ฉลาดนะ บัดนี้ถึงเวลามันมืด เราอยู่ที่มืด เราต้องการความสว่าง เขาไปจับเอาสวิทช์มัน ไฟมันจะสว่างได้ไหม ?
ผู้ฟัง : สว่างครับ

อันนี้ก็เหมือนกันแหละครับ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ไม่ต้องไปนึกไปคิดอันใดมัน แต่เรามีสติคอยดูจิตดูใจเรานี่แหละ พอดีมันคิด เราเห็น เรารู้ มันก็มีความสว่างขึ้นภายในใจเรา เราก็แปลว่าเราไม่อยู่ในที่มืด มันไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาศีล ไปนั่งรักษาศีล มันไม่เกี่ยวข้องกับการอดอาหาร มันไม่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ทั้งหมดเลย แต่เราอดอาหารก็ดี รักษาศีลก็ดี อันนั้นมันเป็นเปลือก เป็น(กระ)พี้มัน แต่เมื่อเรารู้ มีคนที่รู้มาสอนเราจริง ๆ แล้ว เราจับจุดเดียวเท่านั้น ใช้ได้ ทำการทำงานอะไรก็ใช้ได้ เราคิดว่าอยากไปลักของคนนี่ ก็ผิดศีลแล้วนี่

หลวงพ่อ : อันลักของเขานั่น เขามาลักของเราเป็นยังไง เราพอใจไหม ถ้าคนอื่นมาลักของเรา
ผู้ฟัง : ไม่พอใจ
หลวงพ่อ : ไม่พอใจ เมื่อเราไปลักของคนอื่น คนอื่นเขาจะพอใจไหม ?
ผู้ฟัง : ไม่พอใจครับ
หลวงพ่อ : เออ…เราก็เห็นอย่างนี้แหละ บัดนี้เราไปตีคนอื่นนะ - บัดนี่ คนอื่นจะพอใจไหม
ผู้ฟัง : ไม่พอใจครับ
หลวงพ่อ : บัดนี้เขามาโกรธเรา เราพอใจไหม ?
ผู้ฟัง : ไม่พอใจ
หลวงพ่อ : อันนี้แหละ ปฏิบัติธรรมะให้มันรู้อย่างนี้ ให้เราเห็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา เราพูดอย่างสบาย ๆ ใครจะ เอาก็ได้ ไม่เอาก็ได้ ที่เราพูดให้เขาฟัง

อันที่เราพูดธรรมะให้คนฟังนั้นน่ะ แต่คนเมื่อเขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจ เขาจะตำหนิเรา เขาจะนินทาเรา อันคำตำหนิ คำนินทานั้นเขาไม่เข้าใจว่าเขามีทุกข์ คนที่กำลังตำหนิเราน่ะ คนนั้นมีทุกข์แล้ว ที่เขากำลังนินทาเรานั้น เขามีทุกข์แล้ว แต่เขาไม่รู้ว่าเขามีทุกข์ แต่เราต้องเฉยได้ เขาตำหนิเรา เขานินทาเรา เราก็เฉยได้ เขาสรรเสริญเรา เขายกย่องเรา เราก็เฉยได้ เพราะเราเห็น(แล้ว)ว่า ความทุกข์นี่มันไม่ใช่มีคนอื่นเอามาให้เรา เราคิดขึ้นมาเองคนเดียวเรา เมื่อคนอื่นพูดให้เรา เราปฏิเสธได้คำพูดของคนนั้น เพราะเราเห็นความคิดของเราแล้ว นี่ ! เราก็ไม่มีทุกข์อีก นี่แหละคำสอนของพระพุทธเจ้า จุดนี้เป็นจุดสำคัญ จุดเบื้องต้นที่สุด ทุกคนควรศึกษา ทุกคนควรปฏิบัติ ทุกคนควรรู้ ถ้าหากรู้จุดนี้แล้ว มันก็ค่อยรู้ ค่อยเป็น ค่อยไป เป็นอย่างนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2553 06:46:06 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 20:02:01 »


เราอย่าเข้าใจว่า มาที่นี่........เป็นสำนักปฏิบัติ เราอยากอยู่อย่างใดก็อยู่ไป อยากกินอย่างใดก็กินไป ไม่มีการประพฤติปฏิบัติ อันนั้นไม่ได้ผล บางคนปฏิบัติแล้วก็ทิ้งตูมไป หวังว่าจะเอาจริงเอาจัง สองวันสามวันหายไปเลย เป็นอย่างนั้น ไม่จริง แปลว่าคนไม่จริง
คนที่จริงนะครับ ผมพูดตัวผมนี่ คนที่จริงไม่ต้องพูดอะไรมาก ถึงเวลาก็ต้องทำเรื่อย ๆ ไป อยู่กับเพื่อนกับฝูงก็ทำเรื่อย ๆ ไป ทำที่ในใจเรา ไม่ต้องพูดไม่ต้องคุยอะไรมาก คนที่บางคนเอาจริงเอาจัง นิดเดียวเท่านั้นเอง ก็ไปคุยกับเพื่อนเสียแล้ว อันนั้นไม่จริงเหมือนกัน
เหมือนกับคุถัง(ถังน้ำ) มันรั่วที่ก้นมัน หรือตูดมัน เราก็เอาน้ำเทลงไป น้ำมันไม่เต็มมันก็รั่วหนีหมด มันก็ไหลออกไปกันหมด เมื่อน้ำไม่มีแล้วเราก็ไม่มีอัน(อะไร)กิน เราต้องการน้ำ เราก็ไม่มีอันกิน บัดนี้คนที่เก็บน้ำดี เราก็อยู่นำเพื่อน(อยู่กับเพื่อน) เราก็เงียบๆ อยู่คนเดียวเราก็เงียบ ๆ คือเราดูใจเรา ไม่ต้องพูดไม่ต้องคุย ถึงจะไปฟังเพื่อนพูดคุยเราก็ดูใจเรา เหมือนกับคุถัง หรืออะไรที่มันละเอียดดี ที่มันไม่แตก ไม่ทะลุ เอาน้ำเทลงไปมันก็เก็บน้ำได้ เพราะมันละเอียดแล้วนี่

อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติจริง ๆ บัดนี้เมื่อมันติดต่อกันเหมือนลูกโซ่ การดู การคิดของเรา ไม่ใช่ดูเอาวันเดียวนะ ความคิดอันนั้นมันเคยติดต่อกันเหมือนลูกโซ่ มันเป็นวงจร รู้เท่ารู้ทัน รู้จักกันรู้จักแก้ มันจะสะสมเอาไว้ มันจะทะลุขึ้นมาเองมัน จะเห็นเอง รู้เอง เข้าใจเอง เรื่องโลภ เรื่องโกรธ เรื่องหลงนี้ อันนี้แหละเป็นจุดสำคัญ เมื่อเราทำลายจุดนี้ได้เราก็เป็นพระได้ โยมก็เป็นพระได้ พระก็เป็นพระได้ เณรก็เป็นพระได้ นี่…คำสอนของพวกเซ็นเขาพูดกัน อายุห้าปี หกปี หรือเก้าปี สิบปี เป็นพระได้

หลวงพ่อ : พวกเราเคยได้ยินไหม เณรก็เป็นพระอริยบุคคลได้ สมัยก่อน ๆ น่ะ เคยได้ยินไหม – สมัยก่อนว่า เณรก็มีการบรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้ เคยได้ยินไหม ?
ผู้ฟัง : เคยได้ฟังครับ
หลวงพ่อ : แน่ะ … ไม่ใช่จะมาบวชกายอันนี้ อันนี้มันเป็นเรื่องสมมติ มันเป็นเรื่องสมมติ เรื่องจิตใจมันสมมติไม่ได้ มันเหนือ เหนือจากการสมมติ ไป มันเป็นอย่างนั้น

กายอันนี้บวชแล้วก็สึกไป แล้วก็บวชมา อันนี้จึงว่าเป็นเรื่องสมมติ

ให้เราศึกษา ให้เรารู้จักเรื่องสมมติจริง ๆ บัดนี้คนส่วนมาก ชาวพุทธนี่เอง ไม่ค่อยรู้จักสมมติ ทำไมจึงไม่ค่อยรู้จักสมมติ เพราะคนสอนกันแต่เรื่องสมมติ สอนกันมา พระพุทธรูปนี่นะ ผมเองไม่ค่อยรู้-แต่ก่อน ผมได้สร้างพระพุทธรูป นึกว่ามันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้าใจอย่างนั้น ก็ดี เมื่อมีแล้วอย่าไปทำลาย แต่เมื่อไม่มีแล้วก็เฉย เฉยได้ เดี๋ยวนี้ผมเฉยได้ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มันเป็นเรื่องสมมตินี่ มีแล้วท่านก็ไม่ได้สอนผม

หลวงพ่อ : ท่านเคยเห็นพระพุทธรูปไหม ?
ผู้ฟัง : เคยครับ
หลวงพ่อ : แล้วท่านสอนไหม
ผู้ฟัง : ไม่สอนครับ
หลวงพ่อ : แล้วพูดอะไรกับท่านไหม ?
ผู้ฟัง : ไม่ครับ
หลวงพ่อ : ก็มีก็เท่านั้นเอง ไม่มีก็เท่านั้นเอง แต่ทำตัวของเราเป็นพระแล้วก็ใช้ได้ เป็นอย่างนั้น

“พระ” แปลว่า สิ่งที่ประเสริฐ อันนั้น(พระพุทธรูป) ท่านไม่สอนเรา มันเป็นเพียงสมมติ เป็นวัตถุเท่านั้น เหมือนกับเราที่มาบวชนี่แหละ บวชนี่ก็เป็นเพียงสมมติ เป็นวัตถุชนิดหนึ่ง เราเห็นได้ด้วยตา อันที่ทำลายความโกรธ ความโลภ ความหลงนั้น อันนั้นแหละเป็นพระ โดยเหนือสมมติไป มองไม่เห็น เขาเรียกว่าเป็นสัจธรรม คืออย่างที่ท่านเป็นอยู่เดี๋ยวนี้แหละ อันนี้แหละ แต่เราให้ดู ให้มันเป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา มันมีอยู่แล้วในคน แต่คนเราไม่มาสนใจที่ตรงนี้ พอดีมันโกรธขึ้นมา เราก็เลยไม่เห็น ไม่รู้ มันเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ก็ดิ้นรนขึ้นมาแล้วบัดนี่ ไปนินทาว่ากล่าวคนนั้นคนนี้ หาว่าคนนั้นคนนี้พูดให้เรา(นินทา) แต่ความจริงเขาพูดเรื่องของเขา เขาไม่ได้พูดเรื่องของเรา สมมติเขาเรียกว่าหมา–สุนัข เราก็หาว่าเขาพูดให้เรา แต่ความจริงคนที่พูดให้เรานั้นน่ะ เขาเป็นสุนัข เป็นหมา เพราะเขามองคนไม่เห็นคนเป็นคนแล้ว จิตใจเขาเป็นหมา เป็นสุนัข เราก็เฉยได้ อย่างนี้ เพราะเราเห็นได้อย่างนี้ อันนี้แปลว่าญาณของปัญญารู้ ญาณรู้มันเร็ว ให้เข้าใจอย่างนั้น อันนี้เราได้ไปหาว่าเขาพูดให้เรา แล้วเราก็โง่ที่สุด นี่ ! มันเป็นอย่างนั้น

วิธีปฏิบัติมันไม่มาก ที่เอามาเล่าให้ฟังในวันนี้ ต้องจดจำเอาไว้ วิธีปฏิบัติง่าย ๆ เราต้องทำตัวของเราเป็นพระ เป็นพระเป็นเณรก็เป็นพระเป็นเณรอยู่ในวัด เป็นญาติเป็นโยมก็เป็นพระอยู่ในบ้าน ในเรือนก็ได้ อันนี้แหละเป็นทางไปสวรรค์ เป็นทางไปนิพพาน ถ้าหากเป็นพระเป็นเณรยังมีโกรธ มีโลภ มีหลง ก็เป็นทางไปนรกเหมือนกัน ท่านจึงสอนเอาไว้ – คนโบราณ ว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ที่ใจ” ในอกในใจนี่แหละ มันไม่ใช่ มันมองไม่เห็น ให้เข้าใจอย่างนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2553 06:21:29 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 20:06:15 »


การปฏิบัติธรรม ความคิดความเห็นของคนนี่มันไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงได้อาศัยครูบาอาจารย์ หรือตำรับตำราเป็นเครื่องวัด และครูบาอาจารย์ก็คอยแนะนำ ตักเตือนสิ่งที่ผิด ๆ นั่นแหละ ท่านเตือนเรา

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมนี้มีอันตราย ที่หลวงพ่อได้ทำมา บางคนไม่รู้ บางคนรู้ ผู้มีปัญญารู้ได้ด้วยตัวเอง ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้ ต้องอาศัยเพื่อนหรือครูบาอาจารย์ คอยแนะนำว่าอันนั้นมันไม่ควร

เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมะ บางคนยังไม่ทันรู้อะไรคิดโน้นคิดนี้ คิดไม่มีทางสิ้นจบอันนั้นเรียกว่าความคิดนอกตัวเราไป เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมะ ไม่ได้เรื่อง – อันนั้น ดังนั้น เราจึงให้ครูบาอาจารย์(คอยเตือน) “ไม่ต้องคิด” ท่านจะคอยเตือนเรา “ต้องมาคิดอยู่ที่ตัวเรา กำลังมันนึกมันคิด มันเคลื่อนมันไหว โดยวิธีใดก็ให้มันรู้” เมื่อเรามารู้ที่ตัวเรา ความรู้ที่นอกตัวเราก็ไม่มี บางคนปฏิบัติธรรมะรู้เรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เรื่องศาสนา เรื่องพุทธศาสนา เรื่องบาป เรื่องบุญ รู้ได้เรื่องนี้ แต่พอดีรู้เรื่องนี้ก็ฟุ้งออกไปข้างนอก ไปคิดถึงคนนั้น ไปคิดถึงคนนี้ มีความเมตตา สงสารเอ็นดูเพื่อนฝูง อยากให้เขามารู้มาเห็นด้วยเรา อันนี้ก็ผิดเหมือนกัน

ดังนั้น คำว่า วิปัสสนู วิปลาส จินตญาณ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมะ
คำว่าวิปัสสนูนั้น เราก็ไม่รู้ คำว่าวิปัสสนูอุปกิเลส วิปลาส แปลว่าความเห็นผิด คือมัน…จิตอันนั้นแหละเอามาเป็นที่ตั้งเอาไว้ เมื่อตั้งไว้ผิด ปฏิบัติมันก็เลยผิดไป เมื่อตั้งไว้ถูกต้อง ความเห็นก็เลยถูกต้อง เมื่อเรานำมาใช้ นำมาปฏิบัติ มันก็ได้ผลดี เป็นอย่างนั้น

ดังนั้นเมื่อเรารู้เช่นนี้ เราคิดฟุ้งออกไปนอกตัวเรา รู้ บางทีแสดงธรรมะให้คนนั้นคนนี้ฟัง หลวงพ่อเคยได้ยิน บางคนกำลังเดินจงกรม ไปเอาสอ(ดินสอ)เอากระดาษไปวางไว้ข้าง ๆ พอดีมันคิด ไปบันทึกเอาไว้ กลัวมันจะหลงจะลืม อันนั้นมันผิดแล้ว มันเป็นวิปัสสนูฯไปแล้ว ลืมก็ตามมัน (ช่างมัน) มันไม่มีประโยชน์อะไร มันแก้ทุกข์ไม่ได้อันนั้น เราต้องพยายามลดละอันนั้น อย่าให้มันรู้ออกไปข้างนอก อย่าไปสงสารคนนั้นคนนี้ ไม่ต้องไปสงสารใครทั้งหมดเลย ต้องสงสารตัวเรา ต้องทำความรู้สึกกับตัวเรา คิดว่าคนนั้นจะให้ความสุขกับเรา บางคน..บางคน (คิดว่า)เราจะไปโปรดคนนั้น ให้คนนั้นมีความสุข อันนั้นผิด เป็นความคิดผิด ตั้งไว้ผิด ผลที่การปฏิบัติของเราก็เลยได้รับทุกข์


ความทุกข์จริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีที่ตัวเรา เราไปเอาความคิดของคนอื่นมาตั้งไว้ เราก็เลยมีความทุกข์ พูดน้อย ๆ เราจะให้รู้กันได้ ผู้มีปัญญา ทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้ความคิดนี่เอง เมื่อเราไม่รู้ความคิด มันก็เลยคิด พอดีมันคิดมา เราก็เลยเข้าไปในความคิดอันนั้น มันก็เลยเป็นโทสะ เป็นโมหะ เป็นโลภะ แน่ะ! ครั้นว่าเป็นโทสะ บางทีคนนั้นพูดให้เรา (นินทา) เกิดไม่พอใจขึ้นแต่ความจริงอันไม่พอใจนั้นมันไม่มีที่ตัวเรา อันนั้นก็ ในขณะที่มันเกิดความไม่พอใจนั้น ก็แปลว่า เราลืมตัวเรา เรามีโมหะ เรามีโทสะ เรามีโลภะ มันเกิดปรุงขึ้นมาในจิตใจเรา อันนั้นก็แปลว่าคนลืมตัว บางครั้งบางคราวคนมาสรรเสริญยกยอเรา คนนั้นดี คนนี้ไม่ดี ดีล่ะ คนนั้นคนนี้ เราเกิดพอใจขึ้นมาเราก็คิดไป เราคิดไปตามความดีใจก็เป็นโลภะ เป็นโทสะ เป็นโมหะไปแล้ว อันนั้นก็ผิดเหมือนกัน

หลวงพ่อเคยพูดให้ฟังว่า มืดสีดำคนมองเห็นได้เร็ว ถ้ามืดสีขาวคนมองเห็นได้ยาก มืดสีดำคือความโกรธนั่นแหละ มาแสดงให้ ใคร ๆ ก็รู้ เรื่องความโกรธนี่เด็กน้อยเขาก็รู้ แสดงความไม่พอใจอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะมันมีกิริยามารยาท ฟุ้งออกมาข้างนอกให้คนเห็น ใครก็รู้ อันนั้นเรียกว่า มืดสีดำ
ถ้าเป็นมืดสีขาว บัดนี่ มืดสีขาวคือความพอใจ คนมายกยอเรา มาสรรเสริญเรา เราก็ยิ้ม แน่ะ! ลืมตัว อันนี้แหละ มืดสีขาว คนอื่นไม่สามารถทีจะมองเห็นได้ เพราะคนไม่มีปัญญา ถ้าคนมีปัญญาแล้วเขาจะมองรู้ทันที “แน่ะ! เอาแล้ว ความหลงผิดไปแล้ว”


ดังนั้น ความคิดนี่ทีแรกมันไม่ได้เป็นทุกข์ พอดีมันคิดขึ้นมา เราเข้าไปในความคิด มันเลยคิดเป็นโลภะ คิดเป็นโทสะ เป็นโมหะไป มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์เพราะความไม่รู้ความคิดนี่เอง ถ้าหากว่าเรามีปัญญา มันคิดปุ๊บขึ้นมา เราเห็นทันที รู้ ตัดปั๊บไปทันที มันก็เลยไม่ได้โกรธ

ดังนั้น สอนวิธีอันนี้ สอนง่ายที่สุด พระพุทธเจ้าท่านสอนน้อยที่สุด และท่านไม่ได้สอนมาก เดี๋ยวนี้ สมัยนี้ ครูบาอาจารย์มาสอนกันมาก เลยจับต้นชนปลายไม่ได้ และบางทีคนที่ปฏิบัตินั้นก็ถือ(ว่า)เรามีความรู้ เราไปเรียนมาแล้วจากตำรับตำรา เราท่องเราจำมาได้ หรือบางทีเราไปเข้าโรงเรียน ท่องมาแทบจะตาย แก้ทุกข์ตัวเองก็ไม่ได้ ความรู้อันนั้นเอามาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ มันเป็นมีดสองคม มันก็เลยตัดมือเราด้วย อันนั้นจึงว่ามันดี มันดีแต่พูดให้คนอื่นฟัง มันไม่ดีที่จะเอามาแก้(ทุกข์)ตัวเรา มันเลยไม่ได้มีประโยชน์ มันไม่ได้มีคุณค่ากับตัวเรา มันไม่ทำประโยชน์อะไรให้เราทั้งหมดเลย มันทำประโยชน์ให้เราแต่ทุกข์เท่านั้น

ดังนั้น คนเราเกิดมาแล้วก็คิด คิดแล้วก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้ บางคนมีรถ คิดกับรถ บางคนมีบ้านคิดกับบ้าน บางคนมีนามีสวน คิดกับนากับสวน บางคนมีเงิน มีสร้อยคอ มีแหวนเพชร มีนาฬิกาต่าง ๆ คนมันมีไม่เหมือนกัน ก็ไปคิดนำสิ่งนำของ(กับสิ่งของ) อันนั้นแหละ นี่ มันตั้งความหวัง คนนั้นจึงว่าอยู่ได้กับความหวัง ถ้าไม่มีความหวัง ขาดความหวังเสียอย่างเดียวก็หมดเลย หมดเลย คนนี่ ไม่มี… ความเป็นมนุษย์ไม่มีแล้ว มีแต่ความเป็นอะไรไม่รู้ นี่ มันเป็นอย่างนั้น

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมะจึงไม่ต้องตั้งความหวังอะไรทั้งหมด ต้องตั้งความหวังไว้มารู้สึกที่ตัวเรา
รู้ มันเคลื่อนไหวก็รู้ มันคิดก็รู้ แต่รู้นี่ไม่ใช่เข้าไปในความคิด “อย่าเข้าไปในความคิด” ถ้าเข้าไปในความคิดเป็นโลภะ เป็นโทสะ เป็นโมหะ เป็นไปพร้อมกันทั้งสามอย่างทีเดียว มันไม่ใช่ว่าเป็นอันนั้นอันนี้ขึ้นมา แต่มันแสดงคนละเรื่องกัน

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมะจึงไม่ให้รู้อะไรมาก เมื่อมันคิดมามาก ๆ เราไม่สามารถที่จะแก้ความคิดอันนั้นได้ เราต้องทำ(การเคลื่อนไหว) กระตุกเนื้อเราแรง ๆ ทำแรง ๆ วางมือลงที่ขาเรา หรือเราเดินจงกรม (กระ)ทืบเท้าเราแรง ๆ มันจะกระเทือนประสาทเรา มันก็เลยกลับเข้ามาที่ตัวเรามันก็เลยไม่กลับไปหาคนอื่น มันก็ไม่เป็นโลภะ ไม่เป็นโทสะ ไม่เป็นโมหะ เราก็เรียกว่าเรามีสติ เรามีปัญญา มีสมาธิ ตื่นตัวอยู่เสมอ ทุกข์ก็เลยหมดไป จะให้คนอื่นมาแก้ทุกข์ให้เรา มันแก้ไม่ได้ เราต้องแก้ตัวเรา อย่าไปตั้งความหวังไว้กับคนนั้น อย่าไปตั้งความหวังไว้กับคนนี้ เมื่อเราไปตั้งความหวังไว้กับคนนั้น ไปตั้งความหวังไว้กับคนนี้ อันนั้นก็ทุกข์แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2553 07:23:57 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 20:11:02 »

ไม่มีเลย - ทุกข์นี่ ไม่มีจริง ๆ หลวงพ่อเคยปฏิบัติมาแล้ว เข้าใจว่าคนอื่นเอาทุกข์มาให้เรา แต่ความจริงเราไปเอาทุกข์มาจากคนอื่นทั้งนั้น คนอื่นน่ะไม่มีใครเอามาให้เรา เราไปดึงเอามา นี่ ! มันก็เลยมีทุกข์ เมื่อมันมีทุกข์แล้ว ก็หาว่าคนนั้นทำให้เรา คนนี้ทำให้เรา ความจริงเราไม่รู้ มันไม่มีเรื่องอะไร นิดเดียวเท่านั้นเอง – เมื่อเรารู้ มีเท่าเส้นผม น้อยกว่าเส้นผม คนมีปัญญารู้ แก้ทุกข์นี่มันไม่ยาก พอดีมันคิดปุ๊บ “โอ…คิดแล้ว” แน่ะ…เห็นเท่านี้ก็ใช้ได้ แต่ไม่ได้เห็นมาก ถ้าเห็นมากกว่านี้ก็ยิ่งดีไป นี่!

พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องแก้ทุกข์ ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเลย ไม่มีเลยที่จะสอนให้เป็นพิธีรีตอง เป็นเครื่องราง ของขลัง เป็นอันนั้นอันนี้ ไม่มีเลย คนใดไปติดอย่างนั้นคนนั้นยังไม่รู้วิธีแก้ทุกข์ หรือพูดตรง ๆ ก็เรียกว่า คนนั้นยังไม่รู้หลักพุทธศาสนาจริง ๆ อันนี้หลวงพ่อรับรองได้ เพราะหลวงพ่อเคยทำมา หลวงพ่อเคยทำบุญ เคยให้ทาน เคยรักษาศีล เคยทำกรรมฐาน เคยเจริญวิปัสสนา แต่ไม่ได้ดูจิต นึกว่าตายแล้วจึงเอาบุญ แน่ะ ! เข้าใจไปอย่างนั้น ถ้าจะเจริญวิปัสสนาก็เจริญไปอย่างนั้นแหละ เป็นนิสัย ตายแล้วจึงจะได้พ้นไป (จาก)ความทุกข์ มันเข้าใจไปอย่างผิด ๆ

บางคนเจริญวิปัสสนาก็อยากเห็นเดือนเห็นดาว เห็นดวงแก้ว ดวง(อา)ทิตย์ ดวงจันทร์ เห็นอะไรต่าง ๆ นั่น มันของไม่มี อันนั้น อย่าไปนึกไปคิดมัน ของไม่มี มันนึกมันปั้นขึ้นมาเองมัน อันตัวไม่เห็นความคิดนั่นแหละ มันปั้นขึ้นมาคนเดียวมัน เหมือนกับเราที่ไปปลูกบ้าน สร้างวิมานไว้บนสวรรค์พู่น(โน่น) มันไม่มีพื้นฐาน มันจะปลูกบ้านได้ไหม – มันปลูกไม่ได้ มันต้องอาศัยพื้นดินนี่ มันถึงจะปลูกบ้านขึ้นมาได้ แต่บ้านนี่ เขาปลูกบ้าน ปลูกตึก ปลูกเรือน ปลูกร้าน เขายังหาฐานดี ๆ ขุดดินลงไป

(เมื่อ)วานนี้หลวงพ่อไปที่บ้านเขาขุดดิน ขุดน้อย ๆ เตี้ย ๆ แต่มันไม่ทน ถ้าจะปลูกให้มันทนทาน จริง ๆ ลงเข็ม ตอกเข็มลงไปแน่น ๆ จนถึงหินพู่นแน่ะ ปลูกลงไปมันก็ไม่ทรุด บ้านหลังนั้นมันไม่ทรุด เป็นที่แน่นหนา มั่นคงถาวร ถ้าไม่ลงเข็ม ขุดลงไปเล็ก ๆ น้อย ๆ ปลูกขึ้นไป ถ้าเครื่องดีแน่นหนา ทรุดขึ้นมา ทรุดขึ้นมาก็พังไปทันที

อันนี้ก็เหมือนกัน การไปดูความคิดนี่นะ มันเป็นพลัง มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เราจึงว่าให้มาดูความคิด ที่เราไปปลูกบ้านบนสวรรค์ มันไม่มีพื้นฐาน ก็เราไปคิด(ว่า)คนนั้นจะให้ความสุขแก่เราอย่างนั้น คนนี้จะให้ความสุขแก่เราอย่างนี้ มีหวัง เอาหวังไปไว้กับคนนั้น ตั้งความหวังไว้กับคนนี้ อันนั้นผิดแล้ว ทุกข์แล้ว มันทุกข์แล้ว เราจะเอาความทุกข์ของเรานี่แหละไปให้กับคนนั้นคนนี้ อันนี้ผิด ผิดอย่างหนักทีเดียว วิธีที่จะแก้ก็ไม่ยาก เดินจงกรม สร้างจังหวะ สร้างจังหวะ เมื่อมัน….คือมันไม่หยุด มันยังเจ็บหัว มันคิดเป็นทุกข์หนัก ๆ เราก็วางลงที่เท้าเราแรง ๆ ตึ๊ก ! แรง ๆ ความคิดมันก็เลย… มันมีความรู้สึกตัว มันก็เลยวางความคิดอันนั้น

เหมือนกับปลิงนี่ ปลิงที่มันเกาะเรา มันกินเรา มันดูดเลือดเรา เราเอามือจับ ดึงมันออก มันไม่อยากออก ติดส้น(ปลาย)นั้นมันก็หลุดส้นนี้ ปลิงมันมีสองทาง มันเหนียว มันติดเนื้อเรา เราไม่ต้องไปจับปลิง บัดนี่เรามีวิธีแล้ว ไม่ต้องไปจับปลิง เอายา(ยาสูบ)กับปูนไปชงกับน้ำ ไปเอาน้ำกับปูนกับยานั่นแหละคั้นเข้ากัน หรือนวดเข้ากันดี ๆ แล้ว ปูนกับยามันได้น้ำ บัดนี้เราก็จับเอาปูนกับยานั้นเอาน้ำนั้นมาบีบใส่เนื้อเรา พอดีเนื้อเรามันได้รับน้ำปูนน้ำยานั้นมันไหลลงไปถูกกับปากปลิง ปลิงมันหล่นคนเดียวมัน แน่ะ ! มันเป็นวิธี

วิธีที่พูดนี้ มันเป็นเพียงวิธีสอนให้ทำเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อเรามาทำ(แรง ๆ ) ตึ้ก ! นี่ มันเลยมาวางทั้งสองเท้า – ปลิง มันก็เลยไม่มีอารมณ์ มันก็เลยมารู้สึกตัว เมื่อมันรู้สึกตัว ปลิงมันก็ไม่ดูดกินเลือดเรา เราก็ไม่เจ็บ นี่ ! สมมุติให้ฟัง เมื่อในขณะที่ปลิงดูดกินเลือดกินเนื้อเรานั้น เราเจ็บ เราเจ็บเรารู้ว่าปลิงกัดเรา แต่เราก็มาดึงปลิงออก พอมาดึงปลิงออกเลือดมันติดปากปลิงไปบางทีเนื้อเราขาดไปก็ได้นะ – ปลิงนี่ แต่หลวงพ่อไม่เคยรู้มากเท่าไหร่ แต่ว่าดึงปลิงดึงทากออกจากเนื้อจากตัวเรา เลือดมันไหลออกมา ถ้าเฮ็ด(ทำ) อย่างวิธีที่หลวงพ่อพูดนี้ เอาปูนกับยาบีบน้ำราดลงไป มันกลัวตายนะ-ปลิงนี่ ยามันเป็นพิษ มันเป็นอันตรายซึ่งกันและกัน มันวางเลย มันเลยไม่ดูดเลือดเราไป เราก็ไม่เจ็บ มันหล่นคนเดียวมัน ผลที่สุดปลิงตายเลย ถ้าเอายา เอาปูน ยอง(วาง)ไว้บนปลิงให้มันตายเลย

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะพยายามหาวิธี อยากให้มันวางความคิดอันนั้น เราไปดูหนัง ดูภาพยนต์ ดูลิเก ละคร ไปดูอะไรต่าง ๆ นั้น ไปกลบความทุกข์ไว้ ไม่ใช่ไปแก้ทุกข์ อันนั้นไปกลบทุกข์เอา เหมือนกับสุมไฟขึ้นแล้ว เอาเถ้าหรือเอาดินไปกลบไว้ ไฟมันไม่ดับ ไฟมันมีเชื้ออยู่ที่ตรงนั้น เราอย่าไปทำที่ตรงนั้น พอดีไฟมันลุกขึ้นมา เราเอาน้ำไปรด เอาน้ำไปกลบเข้า ไฟมันฟุ้งขึ้นมา อย่าไปรดแรง รดค่อย ๆ เอาน้ำรดไฟ รดทีละนิด ๆ ดับไป ๆ ในที่สุดไฟดับ เมื่อไฟดับแล้วเอาน้ำเทลงไป ไฟมันไม่ฟุ้งขึ้นมา มันเย็นไป


อันวิธีแก้ทุกข์ก็เช่นเดียวกัน มันไม่มีเรื่อง(อะไร) พระพุทธเจ้าท่านสอน... มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับไป แน่ะ ! บางคนว่าทุกข์ไม่มีเงิน ไม่มีข้าว ไม่มีของ ไม่มีรถยนต์ ทุกข์เจ็บหัว ปวดท้อง อันนั้นมันความคิดผิด ทุกข์เกิดขึ้นคือความคิดนั่นแหละ มันคิดปุ๊บขึ้นมา เราไม่เห็น มันสร้างทุกข์ขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นแล้ว บัดนี้เมื่อเราไม่รู้วิธี มันก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้ คนมันจึงอยู่ด้วยทุกข์ กินด้วยทุกข์ นั่งด้วยทุกข์ นอนด้วยทุกข์ ไปไหนมาไหนไปด้วยทุกข์ทั้งนั้น เอาทุกข์นั่นแหละเป็นอารมณ์ไปยอง(วาง)ใส่ศีรษะไป ไปไหนก็เอาทุกข์นั้นไป อันนั้นเรียกว่าผิด ตั้งความหวังไว้ผิด เราอย่าเข้าใจไปอย่างนั้น ทุกคนที่พูดนี่

เราต้องตั้งใจ มันคิด…ตัดทิ้งทันที รู้อะไรก็ตาม ให้มารู้อยู่ที่รูป ที่นามนี่เอง รูปได้แก่ร่างกาย นามได้แก่จิตใจ เคลื่อนไหวนี่มันเป็นรูป เป็นนาม อย่าไปแยกมัน “ อันนี้นั่งนิ่ง ๆ มันเป็นรูป อันที่รู้เป็นนาม” อย่าไปแยกมัน พอดีมันไหวก็ตาม มันไม่ไหวก็ตามมันรู้มันเป็นรูป อันนั้นเรียกว่ามันเป็นรูปเป็นนาม นามรูปมันสองอัน รูปนาม – นามรูปมันคนละคนกัน เมื่อเรารู้รูปนาม อันนี้มันเป็นรูป นามรูป อันนี้มันไม่ใช่เป็นอันนี้ แน่ะ…นี่เป็นรูปนาม ตาเห็น จับถูก อันนี้เขาเรียกรูปนาม นามรูปเรามองไม่เห็นด้วยตา พอดีมันคิดมาปุ๊บ เราเห็นปั๊บ แต่ไม่ใช่ตาเห็น ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาไปรู้ อันนั้นเรียกว่านามรูป นามรูปคือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็นทั้งนาม มันเป็นทั้งรูป มันเป็นรูปคิดขึ้นมา แน่ะ! ตัวเวทนาก็เสวยอารมณ์ เราเคยพูดอย่างนั้น…

เวทนา สัญญา ก็หมายถึงหมายรู้และจำได้ สังขารเรียกว่าปรุง วิญญาณเรียกว่ารู้ มันรู้แล้วมันเข้าไปในความรู้อันนั้น อันนั้นพระพุทธเจ้า หรือศาสดาใดก็ตามแหละ ท่านผู้รู้กล่าวเอาไว้ว่าอวิชชา แปลว่า ความไม่รู้ เรามาแปลไปอย่างนั้น แต่ความจริงมันถูกน้อย มันไม่ถูกมาก คำว่าอวิชชานี่นะ (คือ) เราไม่รู้ออกจากความคิดอันนั้น มันเข้าไปในความคิดอันนั้น มันเป็นความรู้ที่แก้ทุกข์ไม่ได้ อย่างนั้น เมื่อคิดอย่างนั้นมันมีทุกข์แล้ว


สมมติว่าเรามีครอบครัวก็ตาม หรือว่าเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ตาม คิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้เข้ามา อยากเห็นหน้าเขาอยู่ทุกเวลานี่นะ หลวงพ่อก็เคยมี อย่างนั้นน่ะ เคยมี เคยคิดถึงเขา แต่ความจริงเขาไม่ได้คิดถึงเรา เราคิดถึงคนเดียวเรา เราเป็นบ้าคนเดียวเรา เรามีทุกข์คนเดียวเรา คิดถึงเขา มองเห็นหน้าเห็นตาก็ดีใจ ได้ยินเสียงพูดเขาก็ดีใจขึ้นมาเลย มันเป็นทุกข์แล้วอันนั้น มันตกนรกทั้งเป็น อย่าไปคิดอย่างนั้นอย่าไปตั้งความหวังไว้ เดี๋ยวนี้หลวงพ่อไม่ได้ตั้งความหวังกับใครทั้งหมดเลย คั้งแต่เมื่ออายุ ๔๖ ปีพู่นมาแหละ ปีสองพันห้าร้อย หลวงพ่อไม่ตั้งความคิดไว้กับใครทั้งหมดเลยไม่ได้มีความหวังไว้กับคนนั้นไม่ได้มีความหวังไว้กับคนนี้ ไม่หวังต่ออะไรทั้งหมด เรามาดูตัวเรานี่เอง เมื่อมาเห็นอันนี้ มาเข้าใจอันนี้ ก็เลยแก้ทุกข์ได้

เมื่อแก้ทุกข์ได้อย่างนี้ ทุกคนมันมีเหมือนกัน ผู้หญิงก็มีอย่างนั้น ผู้ชายก็มีอย่างนั้น พระสงฆ์องค์เณรก็เป็นอย่างนั้น คนไทย คนจีน คนฝรั่งอังกฤษ คนอเมริกาคนเขมรคนญวนคนลาว ถือศาสนาไหนก็ต้องมีอย่างนั้น ดังนั้นจึงว่าหลวงพ่อกล้าได้ ใครจะพูดยังไงก็ตาม หลวงพ่อไม่เชื่อใครทั้งหมดเลย ถือศาสนาไหนก็ตาม ถ้าหากแก้ทุกข์ไม่ได้ อันนั้นแปลว่า คนยังไม่รู้หลักพุทธศาสนา รู้ดอก รู้จำมาจากคำพูดคนนั้นคนนี้ รู้จำมาจากตำรับตำรา ไม่ได้รู้ตัวจริง ดังนั้นคนเรียนรู้มาก ๆ เอาหัวไปฝังไว้กับความรู้อันนั้นแหละ เข้าไปในความรู้อันนั้น จึงว่ามีทุกข์มาก

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553 20:40:51 »

คนบางคน…หลวงพ่อไปอยู่วัดชลฯ ปี ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๑๘) นั้นน่ะ คนเชียงใหม่ มีลูกสาวคนเดียว พ่อแม่เป็นคนรวยมาก มีโรงสี มีโรงงาน โรงน้ำแข็ง มีอะไร ๆ หลายอย่าง ไปเรียนหนังสือจากเมืองนอก ไปเรียนหนังสือจากประเทศอเมริกา พอดีสอบไล่ได้ เป็นปริญญามา จะเป็นปริญญาโทหรือปริญญาเอกนี่หลวงพ่อไม่รู้ แต่คุณแดงเล่าให้ฟังพอดีเข้ามาถึงบ้าน มันตั้งความหวังไว้ผิด มันไม่ได้สมหวังมา พอดีมาถึงบ้านไม่ถึงห้าวันเลย สองวันสามวัน กระโดดตึกมาตั้งแต่ตึกเก้าชั้นพู้น ไม่ใช่โดดทีละขั้นนะ โดดมาทีเดียวนะ ร่วงถึงดินทีเดียว (กระ)ดูกหักเลย มันไม่ใช่ตายทันที (กระ)ดูกหักเลย กระดูกหักแล้วมันยังหายใจได้ เขาเอาไปโรงพยาบาล คุณแดงไปเล่าให้หลวงพ่อฟัง

(คุณแดง) - หลวงพ่อ ถ้ามันไม่ตายจริง ๆ หนูจะเอามาฝากหลวงพ่อ หลวงพ่อจะรับไหม
ได้…ได้ทั้งนั้น หลวงพ่อได้ทั้งนั้น ผู้หญิงผู้ชายหลวงพ่อรับได้ทั้งนั้น จะถือศาสนาไหนหลวงพ่อรับได้ทั้งนั้น ถ้ายังมีลมหายใจ ถ้าคนใดไม่มีมานะ ไม่มีทิฏฐิมากเกินไป หลวงพ่อพูดได้ สอนได้ แต่สอนแล้วไม่เอาก็ถือว่าคนนั้นมีมานะ มีทิฎฐิ แต่หลวงพ่อไม่ได้ไปทุกข์กับคนนั้น คนนั้นจะทุกข์ถึงวันตายก็ทุกข์ไปเถอะ หลวงพ่อไม่ได้งึดง้อ ไม่ได้อัศจรรย์คนนั้นคนนี้ทั้งหมดเลย หลวงพ่อแก้(ไข)ตัวหลวงพ่อไม่มีทุกข์ก็พอแล้ว แต่หลวงพ่อจะพูดเรื่องหลวงพ่อไม่มีทุกข์เท่านั้น

พอดีได้ห้าวัน คุณแดงไปรายงานว่า ตายแล้ว แน่ะ! พ่อแม่ก็เลยไม่รู้ เงินทองอันนั้นมีประโยชน์อะไร แล้วมันแก้อะไรเราได้ ความรู้ไปเรียนปริญญามาจากเมืองนอกนั้น มันแก้อะไรได้ มันช่วยได้ที่ตายนั้นแหละ อันนั้นเรียกว่าอวิชชา แปลว่าความไม่รู้ มันรู้แล้วมันเข้าไปในความรู้ มันตั้งความหวังไว้ หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น หวังว่าจะเป็นอย่างนี้ หวังคู่ครองอย่างนั้น หวังคู่ครองอย่างนี้ มันก็เลยผิดหวัง

คนผิดหวัง คนสมัยนี้เขาเรียกว่าคนอกหัก
เขาว่าอย่างนั้น คนอกหัก แต่หลวงพ่อไม่รู้ หลวงพ่อ…คนอกหักนี่ หลวงพ่อพึ่งมาได้ยินใหม่ ๆ นี่แหละ หลวงพ่อไม่รู้จริง ๆ (หัวเราะ)
เพิ่งจะรู้ไหม คนอกหักรู้ไหม ? (ถามผู้ฟัง ๆ ตอบ - พอจะรู้ค่ะ )
อ้อ…พอจะรู้ มันเป็นอย่างไร คนอกหัก พูดให้ฟังดู
(ผู้ฟังตอบ)เป็นแบบว่า สมมติคนรักกันน่ะค่ะ แต่ว่าคนนี้หลงรักเขา แต่เขาไม่รักคนนี้เลย
อ๋อ…นั่นดิ (อย่างนั้นสิ) คนอกหักดิ…

คนนั้นอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะเขาไม่รู้(นึก)ว่าเขาจะรักเรานี่ เราไปเรียนหนังสือด้วยกันนี่ไปเรียนหนังสือเมืองนอก เข้ามาในเมืองไทย นึกว่าจะมาแต่งงานกับเขา เขาไม่ได้เรื่อง เขาไม่ได้คิดจะมาแต่งงานกับเรานี่แหละ คนมันเสียหวัง เสียหลัก อย่าไปคิดอย่างนั้น อันนั้นเขาเรียกว่าคนอกหัก

อันคนมาปฏิบัติธรรมะก็เหมือนกัน นึกว่าเราจะรู้อันนั้น นึกว่าเราจะรู้อันนี้ บางคนนะ…จน…ตัวหลวงพ่อเองอันนี้ คิดอย่างนี้ เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมะแล้วจะมีฤทธิ์ มีเดช จะมองเห็นดินฟ้าอากาศ บางครั้งจะมองเห็นลอตเตอรี่พู่น บางครั้งมันนึกว่าจะมองเห็นจิตใจ ตับไตไส้ปอดของคน มันคิดไปสารพัดสารเพไป อันนั้นมันตั้งความคิดขึ้นมาผิด ๆ อย่าไปตั้งใจอย่างนั้น ทุกคนที่พูดนี่ พอดีมันคิดมารีบมารู้ตัวเรา ปล่อยเลย อันมันรู้ออกไปข้างนอกนั่น เรียกว่าวิปัสสนูอุปกิเลส มันเป็นกิเลสแล้ว มันคิดถึงคนนั้นคนนี้ อันนั้นมันแหละ – กิเลส กิเลสไม่ใช่มีตัวมีตนนะ แน่ะ ! เราไม่เห็นใจเรา เรียกว่าคนนั้นไม่เห็นกิเลสแล้ว

บางคนเข้าใจว่า พระอรหันต์นี่เหาะได้ มองเห็นตับไตไส้ปอด มองเห็นอันนั้นอันนี้ โอ…พระอรหันต์แบบคนนั้นคิด มันคนบ้าคิด คนบ้าคิดมันต้องคิดอย่างนั้น แต่คนมีปัญญาคิดมันไม่ได้คิดอย่างนั้น หลวงพ่อเป็นบ้ามาตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี เคยปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี เป็นเณรน้อย จนถึงอายุ ๔๖ ปี เป็นบ้ามาอย่างนั้นแหละ มามีครอบมีครัวก็เป็นบ้าอยู่อย่างนั้นแหละ (เพราะ)มันไม่รู้

ความจริงพระอรหันต์น่ะ ไม่มีเรื่องอะไร พระอรหันต์หมายถึงแก้ทุกข์ได้เท่านั้นเอง อย่าไปเข้าใจว่าต้องมองเห็นจิตใจคนนั้น มองเห็นจิตใจคนนี้ มองทะลุไป โอ…อันนั้นมันเข้าใจผิด มันจะมองเห็นจิตใจคนอื่นได้ทำไม(อย่างไร) มองเห็นจิตใจเรานี้ มันนึกมันคิดอันใด เรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ แก้ได้นี่ อันนี้แหละที่ว่าเห็นแจ้งเห็นจริง รู้แจ้งรู้จริง มันมีจริง ๆ คนมันมีคิด มีไม่คิด มันมีเฉย ๆ มันมีดีใจ มันมีเสียใจ มันมีอันที่จะไม่ดีใจ ไม่เสียใจก็มี มันเป็นอย่างนั้น เห็นมาที่ตรงนี้ มันจึงจะตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าจริง ๆ

คำว่าหูทิพย์ก็หมายถึง คนพูดอยู่ที่ไหนก็ตามแหละ ต้องได้ยิน แน่ะ ! มันหูทิพย์คนบ้ามันต้องเป็นอย่างนั้น หูทิพย์คนมีปัญญา(คือ) พอดีคนแสดง(พูด)ขึ้นมา พูดเรื่องธรรมะเราก็รู้ คนนั้นพูดเรื่องธรรมะดับทุกข์เราก็รู้ คนนั้นพูดธรรมะไม่ใช่ทางดับทุกข์เราก็รู้ บางทีคนมายุเรานะ อย่างที่พูดเมื่อกี้เรื่องอกหักนี่ เขามาต่อว่าต่อเถียง ยุเรา ทำอย่างนั้น เอาความหวังให้เรา เรารู้ทันที “เออ… คนนี้หลอกเราแล้ว สร้างความหวังผิดแล้ว ” เราเลิกได้ทันที อันนั้นแปลว่าหูทิพย์ ไม่ใช่หูทิพย์จะไปฟังคนพูดอยู่กรุงเทพพู่น เราอยู่ที่นี่ฟังได้ยิน ไม่ใช่อย่างนั้น คนพูดอยู่จังหวัดต่าง ๆ เราได้ยิน มันไม่เป็นอย่างนั้น เราได้ยินกับหูเรานี่เอง คนนั้นพูดให้เรา ยั่วเรา บางทีมีจดหมายให้กันก็ได้นะ ตั้งความหวังนี่น่ะ มันเป็นอย่างนั้นก็มีนะ อย่าไปเข้าใจอย่างนั้น อย่าไปตั้งความหวังไว้ที่คนอื่น ให้ตั้งความหวังไว้ที่เรา แก้ปัญหาที่เรา คนอื่นแก้ให้เราไม่ได้ ผีก็แก้ให้ไม่ได้ เทวดาก็แก้ให้ไม่ได้ ที่สุด พระพุทธเจ้าเองก็แก้ให้ไม่ได้มีแต่ท่านแนะนำเท่านั้นแหละ


อันนี้หลวงพ่อได้ยินเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน พระครูวิชิตธรรมาจารย์นี่ หลวงพ่อเป็นลูกศิษย์ท่าน เมื่อบวชในสมัยเป็นหนุ่ม แต่บวชครั้งนี้ก็ท่านเป็นอุปัชฌาย์ให้ ท่านสอนว่า อักขาตาโร ตถาคตา - อันนี้เป็นภาษาบาลี แปลว่า พระตถาคตนั้นน่ะ เป็นแต่เพียงผู้แนะแนวปฏิบัติเท่านั้นเอง การประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของเธอ ทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง ท่านสอน อย่างที่เราสวดกันเมื่อกี้นี่ก็เหมือนกันว่า สันทิฎฐิโก – อันผู้รู้จะพึงเห็นเอง อกาลิโก - ไม่ประกอบกาลและเวลา

ใครจะรู้จิตใจเรา เอ้า ! นั่งอยู่ที่นี่ บางคนคิดออกไปนอกจังหวัดก็มี ถ้าหากผู้ใดมีแฟน อย่างแม่ขาวนี่ เมื่อวานนี้แม่มาเล่าให้ฟังว่า แฟนคิดถึง อยากมาดู แน่ะ ! ใครไม่รู้ไม่เห็น มาบนบวช แม่ขาวใช่ไหม มาบนบวช(บวชแก้บน)ใช่ไหมนี่…นี่แหละ มาบนบวชแล้วว่าแฟนอยู่ทางบ้านคิดถึง อยากมาดู มันไวที่สุดความคิดนี่ เราอยู่ที่นี่คิดแวบถึงเชียงใหม่ ถึงที่ไหนก็ถึงแล้ว นี่แหละมันสำคัญ ความคิดนี่มันเร็วที่สุด เร็วกว่าแสงฟ้าแลบ เร็วกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

อันนี้แหละ เป็นปัญหาที่เราควรศึกษา คนอื่นรู้ด้วย(กับ)เราไม่ได้ อันนี้รู้ด้วยเราคนเดียว (รู้ด้วยตัวเอง) สมกับที่เราสวดกันว่า สันทิฎฐิโก - อันผู้รู้จะพึงเห็นเอง แน่ะ ! เราเห็นเองคนเดียว คนอื่นเห็นด้วยเราไม่ได้

บางทีมันคิดไปถึงคนนั้นคนนี้ คิดไปถึงลูกก็ได้ อย่างที่หลวงพ่อมีลูกนี่ บางทีมันจะคิดไปถึงลูกก็ได้มันเป็นอย่างนั้น แต่ไม่มีแฟนแล้วเดี๋ยวนี้ แม่บ้านตายแล้ว มันไม่คิดถึงแล้ว (หัวเราะ) ไม่คิดถึงแล้ว มันเป็นอย่างนั้น นี่แหละมันเสพทางใจ เขาว่าเสพเมถุนนี่ มันเสพทางกาย นี่!เราต้องเข้าใจอย่างนั้น

อันนี้แปลว่า อันผู้รู้จะพึงเห็นเอง อกาลิโก - ไม่ประกอบกาลและเวลา มันไม่ประกอบกาลเวลาอะไร บางทีมันคิด นอนกลางคืนมือก่ายหน้าผาก คิดไปอย่างนั้นแหละ นี่ ! มันไม่ประกอบวัน ไม่ประกอบปีเดือนอะไรทั้งหมด มันคิดอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับน้ำไหล ท่านสอนอย่างนั้น ดังนั้นเราต้องพยายามจริง ๆ อย่าให้มันคิดไปได้ พอดีมันคิด ทำความรู้สึกตัว ตัดทิ้งทันที ให้เข้าใจอย่างนั้น ถ้าใครฟังแล้วนำไปแก้ปัญหาตัวเองได้จริง ๆ รับรองได้ ไม่ต้องมาก ...


หมายเหตุจขบ.- คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภนี้ได้ถอดออกมาจากแถบบันทึกเสียงที่บันทึกไว้เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นำมาเผยแพร่โดยไม่ได้แก้ไข ดัดแปลง ตัดตอน หรือต่อเติมแต่อย่างใด



 ยิ้ม http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=maekai&date=01-10-2007&group=3&gblog=9

อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2553 05:02:04 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2553 00:15:37 »

อนุโมทนาสาธุครับ อ.แป๋ม สำหรับสิ่งดี ๆ ที่นำมาให้พวกเรา ๆ ได้อ่าน

อย่างต่อเนื่อง

สาธุ


 ซีด ซีด


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.524 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 23:54:47