[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 09:42:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พักผ่อน ลูเซิร์น Lucerne เมืองท่องเที่ยวอันดับ ๑ ของสวิตเซอร์แลนด์  (อ่าน 7944 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2557 18:25:48 »

.




พักผ่อน
ลูเซิร์น (Lucerne)
เมืองท่องเที่ยวอันดับ ๑ ของสวิตเซอร์แลนด์

ลูเซิร์น เป็นเมืองตากอากาศที่โด่งดัง และเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ ๑ ของสวิตเซอร์แลนด์  ทำเลที่ตั้งของเมืองอยู่บนปากแม่น้ำรอยส์ (Reuss) ริมทะเลสาบขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า เวียวาลด์สแตร์ทเตอร์ หมายถึงทะเลสาบ ๔ พันธรัฐ

นอกจากความสำคัญในด้านการท่องเที่ยวแล้ว ลูเซิร์นยังมีความสำคัญในด้านการก่อกำเนิดสมาพันธรัฐสวิสอีกด้วย

ต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๓  ดินแดนบริเวณนี้ ป็นที่เกิดตำนานนักสู้โดยการนำของ วิลเลียม เทลล์ (Wilhelm Tell) วีรบุรุษนักรบชาวสวิส ซึ่งรวบรวมผู้คนจาก ๓ แคว้นในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ อูริ, ชวีซ และอุนเทอร์วัลเดน (Uri, Schwyz and Unterwalden) ทำการสู้รบ ต่อต้านการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ ที่ไม่เป็นธรรมของผู้ปกครองในท้องถิ่นที่รับมอบอำนาจมาจากจักรวรรดิโรมัน ในสมัยพระเจ้ารูดอล์ฟที่ ๑ Rudolf I ได้เป็นผลสำเร็จ  แล้วประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของราชสำนักฮับสบวร์ก Habsburg แห่งออสเตรีย และรวมตัวกันก่อตั้งสมาพันธรัฐสวิสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๒๙๑  

ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. ๑๕๑๓ ก็มีมณฑลเข้าร่วมทั้งหมด ๑๓ มณฑล

  






สะพานไม้ Chapel Bridge
สัญลักษณ์ของเมืองลูเซิร์น

สะพานชาเปล Chapel Bridge  
สะพานไม้ที่เก่าแก่ของเมือง อายุประมาณ ๘๐๐ ปี ที่สร้างทอดตัวยาวข้ามแม่น้ำ "รอยส์"
สะพานแห่งนี้ มีหลังคาคลุมตลอด และจุดเด่นของสะพานคือภาพเขียนฝีมือจิตรกร Heinrich Wagmann
ที่เขียนภาพบอกเล่าความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ไว้บนคานไม้ใต้หลังคา ตลอดความยาวของสะพาน


สิงโตแกะสลักริมหน้าผา สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญของทหารสวิส[/size]

สิงห์ : สื่อสัญลักษณ์ "พลังอำนาจ ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ และสูงศักดิ์"
สิงห์หอกหัก โดนหอกปัก(ปลายหัก) ที่บริเวณสีข้าง แสดงสีหน้าเจ็บปวดเจียนตายจากบาดแผลฉกรรจ์
นอนหมอบริมหน้าผาเมืองลูเซิร์น โดยรัฐบาลฝรั่งเศส สร้างมอบให้รัฐบาลสวิสฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติแด่ทหารรับจ้างชาวสวิส
จำนวน ๗๘๖ คน ที่เสียชีวิตจากการทำหน้าที่ปกป้องพระราชวังตุยเลอรีส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เป็นที่ยอมรับกันว่า ชาวสวิส เป็นชนชาตินักรบ ชอบอาวุธ รักการต่อสู้  มีความชำนาญกลศึกในการทำสงคราม ที่มีชื่อเสียงมาก
 
ในศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ ทหารสวิสไปทำงานเป็นทหารรับจ้างรบให้ประเทศที่มีปัญหาขัดแย้งทั่วยุโรป    

วีรกรรมความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ และชำนาญในการสู้รบรบที่โด่งดังของทหารสวิส...ทำให้ในปี ค.ศ. ๑๕๐๕  สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ ๒ (Pope Julius II) ที่มีพระฉายานามว่า “พระสันตะปาปาผู้เหี้ยมโหด” ผู้ทรงภาพลักษณ์ของการเป็นนักบวชเพียงเล็กน้อย ชมชอบนโยบายทางการเมืองที่รุนแรง....ท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ ทำให้บ่อยครั้งก็นำไปสู่ความขัดแย้งและการนองเลือด

 

สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ ๒ ภาพจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
  
ความที่ก่อศัตรูไว้มากมาย จึงทรงก่อตั้งหน่วยงานสวิสการ์ด (Swiss Guard) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์รักษาพระองค์และนครวาติกัน ทรงเจาะจงและสงวนหน้าที่สำคัญในหน่วยงานนี้เอาไว้ให้เฉพาะทหารสวิสเท่านั้น และเหล่าทหารสวิสการ์ดก็ยังคงทำหน้าที่รักษานครวาติกันไว้อย่างเข้มแข็งอยู่จนถึงปัจจุบัน  ว่ากันว่าพลทหารของหน่วยสวิสการ์ดไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานมีครอบครัว และทุกคนจะต้องสวมเครื่องแบบสวยงาม จากฝีมือการออกแบบของไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)

ทหารรับจ้างชาวสวิสที่มีชื่อเสียงที่สุด คือกองทหารรับจ้างไปทำการรบอยู่ในกองทัพฝรั่งเศสในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ทหารชาวสวิสจำนวน ๗๘๖ คน  รับคำสั่งให้ทำหน้าที่เป็นทหารองครักษ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ (Louis XVI) และรักษาวังตุยเลอรีส (Tuileries) จนกระทั่งเสียชีวิตทั้งหมด ๗๘๖ คน
 
เพื่อเป็นเกียรติแด่ทหารสวิสรับจ้าง ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวลูเซิร์น ที่เสียชีวิตจากการปกป้องกษัตริย์และพระราชวังตุยเลอรีส  รัฐบาลฝรั่งเศสจึงแกะสลักรูปสิงโตหิน จากการออกแบบของ Bertel Thorvaldsens ไว้ที่ริมหน้าผา กลางเมืองลูเซิร์นและไม่ไกลจากสะพานไม้ Charpel Bridge  เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และเสียสละ แก่ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ระลึกถึงสืบมาจนทุกวันนี้


เมืองลูเซิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ที่นักท่องเที่ยว และบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
คีตกวี วากเนอร์และเกอเธ่ แห่งเยอรมนี เดินทางมาชมความงดงามของทะเลสาบลูเซิร์น


















ทัศนียภาพของเมืองลูเซิร์นจะงดงามกว่านี้มากนัก ถ้าต้นไม้ผลิดอกออกใบต่างสีสันเต็มต้น
แต่เนื่องด้วยช่วงนี้เพิ่งผ่านพ้นฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
จึงเห็นแต่กิ่งก้านสาขาของพฤกษาเท่านั้น








ผึ่งแดดอ่อนๆ ยามบ่ายที่ริมทะเลสาบเมืองลูเซิร์น


วัดพุทธ (ถ่ายระหว่างรถวิ่ง นอกเมืองลูเซิร์น)






ทัศนียภาพชนบทนอกเมืองประเทศสวิสฯ


ขนมปังหลากหลายชนิด ที่ร้านจุดพักรถนอกเมือง



Kimleng : ภาพ/ข้อมูล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กันยายน 2558 10:48:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.347 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 14:21:09