[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 19:43:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 8 9 [10]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 238084 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #180 เมื่อ: 15 มกราคม 2567 11:57:39 »



พระปิดตาเนื้อผง-คลุกรัก หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระเกจิดังรุ่นเก่า จ.ชลบุรี

ที่มา คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง    มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2566


“พระปิดตา” เป็นพระเครื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลปะเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากพระเครื่องประเภทอื่นๆ จนกลายเป็นความโดดเด่นและได้รับความนิยมอย่างสูง

ลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปทรงองค์พระที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักจะทำเป็นรูปมือ เพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก “โยงก้น”) อีกด้วย

ลักษณะเด่นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง “นัย” หรือ “ปริศนาธรรม” แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้

ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตา คือ การปิด “ทวาร” หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราเชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี “ทวาร” หมายถึงประตูแห่งการเข้าออก 9 ทาง ได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 รวมทั้งช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก 2

“การปิดกั้นทวารทั้ง 9” เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้าง “พระปิดตา” (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น

ในกระบวนพระปิดตาแต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระ มีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น

ที่อยู่ในความนิยมสูงสุด เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน พระปิดตาแร่บางไผ่ พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง, พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้, พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม, พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และอื่นๆ อีกหลายคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอดีต

กล่าวได้ว่า พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เป็นพระที่หายากที่สุด และจะเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่มีราคาแพงที่สุด เนื่องมาจากประสบการณ์และคำร่ำลือถึงเรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขาย และจำนวนพระที่มีจำนวนน้อยมาก ใครมีต่างก็หวงแหน

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์กลาง : ประวัติไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ซึ่งก็จะเหมือนกับพระสงฆ์ในอดีตอีกหลายรูปที่ไม่มีการบันทึกไว้ เนื่องจากการคมนาคมในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก จะมีการบันทึกไว้เพียงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้กับเมืองกรุงหรือพระเถระที่มีสมณศักดิ์สูงเพียงเท่านั้น

มีเพียงคำบอกกล่าวกันต่อๆ มาว่า ท่านเป็นชาวเพชรบุรี และออกธุดงค์มาเรื่อยๆ ผ่านมาหลายจังหวัด จนกระทั่งมาถึงเมืองชลบุรี และปักกลดอยู่ตรงบริเวณที่เป็นวัดเครือวัลย์ ชาวบ้านต่างเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้ว จึงนิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ ก็เมตตาอยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ขึ้นมา

มีการบอกเล่าถึงการสร้างศาลาการเปรียญว่า ชาวบ้านก็ช่วยกันหาไม้ในป่าและช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นจนสำเร็จ หลวงพ่อแก้วสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก เป็นการตอบแทน

ใช้มวลสารจากว่านมงคล 108 ชนิด อาทิ ไม้ไก่กุก กาฝากรัก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม ฯลฯ ผสมกับผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ นำมาบดเป็นผงแล้วกรอง จากนั้นใช้น้ำรักเป็นตัวประสาน และเม็ดรักซึ่งได้จากต้นรักที่เป็นมงคลนามตำผสมลงไป แล้วกดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระ

ดังนั้น เนื้อองค์พระจะละเอียด นอกจากนี้ มักปรากฏเม็ดสีน้ำตาล สีแดง ซึ่งเกิดจากว่านขึ้นประปราย และหากองค์พระสึกจะเห็นเนื้อในละเอียดเป็นสีน้ำตาลอมดำ

ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมโค้งคล้ายเล็บมือ องค์พระประธานประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ พระวรกายอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระเนตร ในลักษณะป้องทั้งพระพักตร์

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ด้านหลังจะมีทั้งหลังแบบและหลังเรียบ แต่ทุกพิมพ์จะหายากมาก

ซึ่งพิมพ์มาตรฐาน อาทิ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก





รูปหล่อเหมือน หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

มีเรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันหลากหลายเรื่อง เช่น มีลูกศิษย์วัดบางรายไปหลงรักสาว แต่สาวเจ้าไม่เล่นด้วย จึงนำผงของพระปิดตาไปแอบใส่น้ำให้สาวกิน แล้วก็ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน

ความทราบถึงหลวงพ่อแก้ว จึงประกาศว่าถ้าใครนำพระไปขูดเอาผงใส่น้ำให้ผู้หญิงกิน แล้วไม่รับเลี้ยงดู จะเป็นบ้าแล้วก็สั่งห้ามไว้ เรื่องเมตตามหานิยมนั้นมีมากมาย

จำพรรษาอยู่ที่วัดเครือวัลย์จวบจนมรณภาพ จากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งได้รับฟังมาจากบิดามารดาอีกทีหนึ่งว่ามรณภาพขณะอายุประมาณ 80 ปี

จากการสืบค้นข้อมูลการสำรวจคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรี (คณะสงฆ์ฝ่ายภาคตะวันออก) มีการทำบัญชีภิกษุสามเณรศิษย์วัดในเมืองแล แขวงเมืองชลบุรี รัตนโกสินทร์ศก 118 แนบท้ายรายงานจัดการศึกษา การศาสนามณฑลปราจีนบุรี ของพระอมราภิรักขิต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์-เจริญ ญาณวรเถร) ระบุว่า “วัดเครือวัลย์ ตำบลหนองต้นโพธิ์ อำเภอเมือง นามเจ้าอธิการ แจ่ม พรรษา 20 อายุ 40 พระ 3 เณร 4”

ความนี้จึงทำให้ทราบว่า ในปี พ.ศ.2442 หลวงพ่อแก้วมรณภาพแล้ว หลวงพ่อแจ่มเป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์อยู่ในปีนั้น •




พระกสิณเนื้อดิน หลวงพ่อพัฒน์ นารโท

พระ-เหรียญกสิณรุ่น 1 หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ พระเกจิดังสุราษฎร์ธานี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2566


“หลวงพ่อพัฒน์ นารโท” อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม (วัดใหม่) อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

จัดสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ล้วนแต่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้น คือ พระกสิณ มีทั้งเนื้อดินเผา เนื้อผงผสมว่าน และที่เป็นเหรียญ คือ เหรียญกสิณ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

พระกสิณ ทำมาจากผงกสิณ ผงที่เกิดจากพระเกจิอาจารย์เขียนอักขระกสิณลงไปบนกระดานชนวนหลายครั้ง แล้วนำมาผสมกับดินเพื่อเป็นพระเครื่องราง

สร้างพระกสิณ จากนิมิตสมาธิ เมื่อสร้างออกมา มีรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร รุ่นแรก ปลุกเสกโดยหลวงพ่อพัฒน์ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2467-2472

ลักษณะรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิขัดราบประทับนั่งบนดอกบัว ใต้ดอกบัวเป็นอักขระพระกสิณ รอบองค์พระพุทธมีเส้นรัศมีที่เกิดจากการเข้าพระกสิณ

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระพระกสิณ คล้ายตัว “อ” ล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 3 เส้น ด้านบนมีอักขระยันต์ขอมอุณาโลม ตรงด้านล่าง เขียนคำว่า “วัดใหม่”

ส่งผลให้มีสนนราคาสูงมาก





หลวงพ่อพัฒน์ นารโท

หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เกิดในสกุล พัฒนพงศ์ เมื่อวันพุธ เดือน 6 ปีจอ พ.ศ.2405 ที่ตลาดบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยค ศึกษาเล่าเรียนตามเนื้อหาวิชาตามควรแก่วัยและตามภูมิพื้นความรู้ของผู้เป็นอาจารย์

ย่างเข้าวัยหนุ่ม สมรสกับนางละม่อม ต่อมา ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตรออกมาเป็นผู้หญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ให้โทมนัสเสียใจเป็นอันมาก จึงตัดสินใจหันหน้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่ออายุ 25 ปี ใน พ.ศ.2430 ที่อุโบสถวัดพระโยค มีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอธิการ วัดโพธิ์ ต.บ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ.119) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า “นารโท” จากนั้น อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา

ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ สงบเย็นเกื้อกูลความในพระธรรมวินัย พร้อมสร้างคุณูปการหลายประการให้แก่พระศาสนา เอาธุระจัดการ เอาใจใส่ในความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ลูกวัด ตลอดจนกิจวัตรทางศาสนาต่างๆ 

สําหรับวัดพัฒนาราม เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2439 โดยหลวงพ่อพัฒน์ชักชวนชาวบ้านหักร้างถางพงที่บริเวณวัดเดิมซึ่งเป็นป่าทึบ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือ หมี ค่าง และงูพิษ จนไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย แต่สามารถก่อสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอฉัน ในเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา สำเร็จขึ้นได้ และได้ผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.2444

วัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใน ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ 2 ชื่อ คือ “วัดใหม่” เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นหลังวัดอื่นๆ ในย่านตลาดเมืองสุราษฎร์ธานี และคำว่า “วัดใหม่” หลวงพ่อพัฒน์ได้จารึกหลังพระกสิณ ซึ่งท่านได้สร้างขึ้น

อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “วัดพัฒนาราม” ตั้งขึ้นหลังจากหลวงพ่อพัฒน์มรณภาพแล้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมา

นอกจากกิจการศาสนาแล้ว ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาด้วย โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งแรกอำเภอกาญจนดิษฐ์ เมื่อประมาณ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440)

เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอนอยู่ประมาณ 4-5 ปี แต่ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดติด จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง (อำเภอบ้านดอน-เดิม) เมืองไชยา และตำแหน่งอุปัชฌาย์ เพื่อออกไปธุดงค์

ด้านวิทยาคม ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระเกจิ อาจารย์มากมาย อาทิ พระครูสุวรรณรังษี ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกล่อม พระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ พระอนุสาวนาจารย์ ยังมีพระธุดงค์รูปหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากวัดเขาหัวลำภู แห่งเขาพระบาท อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช พระธุดงค์รูปนี้ เรียกขานกันว่า พระอาจารย์สุข

ทั้งนี้ พระอาจารย์สุข ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชา ทั้งด้านการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม เช่น การลงอักขระอาคมบนแผ่นเงิน แผ่นทอง ตะกรุด ผ้ายันต์ เป็นต้น

ในช่วงบั้นปลายชีวิต มอบภารกิจหน้าที่ของทางวัดไว้กับหลวงพ่อเจียว สิริสุวัณโณ พระภิกษุผู้เป็นน้องชายให้เป็นผู้ดูแล โดยใช้เวลานี้ไปหลบปลีกวิเวก โดยใช้ศาลาที่พักศพในป่าช้าเป็นที่พำนัก ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการ มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนาในพระสัทธรรม

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2485 หลวงพ่อพัฒน์ บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตั้งแต่หัวค่ำ ด้วยความสงบเย็น จนเวลาประมาณ 08.43 น. จึงละสังขารจากไปอย่างสงบ สร้างความเศร้าสลดและความอาลัยแก่ศิษยานุศิษย์ ญาติมิตร และพุทธบริษัทของวัดอย่างสุดซึ้ง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ด้วยมรณภาพในอิริยาบถนั่งสมาธิ และกาลเวลาผ่านไป 6-7 ปี แต่ปรากฏว่าสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อย •
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #181 เมื่อ: 03 เมษายน 2567 17:02:27 »



พระกริ่งเจริญพร ยอดนิยม : หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก จ.ประจวบฯ

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ” หรือ “พระครูนิยุตธรรมสุนทร” วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังไว้มากมายหลายชนิด วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก เด่นในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ทหารและตำรวจ

แต่ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ “พระกริ่งเจริญพร”

เคยมีคำกล่าวของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง กล่าวไว้ว่า “หากพูดถึงต้นแบบพระกริ่งชินบัญชร ต้องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ แต่หากกล่าวถึงต้นแบบพระกริ่งเจริญพร ต้องหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก”

เมื่อปี พ.ศ.2537 หลวงพ่อยิดอนุญาตให้พระไชยา ปัญญาธโร วัดหนองจอก จัดสร้าง “พระกริ่งเจริญพร พิมพ์อุบาเก็ง” เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ วัดหนองจอก และก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม สำนักสงฆ์ไร่เนิน

จัดสร้างมีเนื้อทองคำ 29 องค์ เนื้อเงิน 3,000 องค์ และเนื้อนวะ 5,000 องค์

ทุกองค์ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์ เป็นโค้ดหมายเลขไทย ชุดตัวใหญ่ ทุกเนื้อมีโค้ดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ที่ฐานด้านหลังพระกริ่ง มีอักษรไทยเขียนคำว่า “กริ่งเจริญพร ยิด จนฺทสุวณฺโณ”

พระกริ่งชุดนี้ หลวงพ่อยิดปลุกเสกตั้งแต่วันที่ 3-9 กรกฎาคม 2537 รวม 7 วัน ที่วัดหนองจอก

ปัจจุบัน แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในประจวบคีรีขันธ์ กล่าวได้ว่า พระกริ่งเจริญพร หลวงพ่อยิด เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสม และเซียนพระต่างพากันกะเก็งว่าจะได้รับความนิยมสูง

อีกทั้งมีพุทธคุณเด่นทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด ปลอดภัย ราคาเช่าบูชาจึงขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ

นับเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่น ที่ควรค่าแก่การเช่าบูชา





หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน

มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 บิดา-มารดาชื่อ นายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ

อายุ 9 ขวบ บรรพชาในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระปริยัติธรรม กระทั่งอายุ 14 ปี จึงสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น

จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาล้มป่วย จึงเดินทางกลับมา ลาสิกขาออกมาดูแล และแต่งงานมีครอบครัว

ท้ายที่สุด เมื่อบิดา-มารดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก มีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้สร้างวัดขึ้น

ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่อง

วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิดจะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิดจะมอบวัตถุมงคลให้นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

สำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของหลวงพ่อยิด

แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง จึงมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30

แม้จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะและปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ส่งเสริมและสนับสนุนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น •




เหรียญหนุมานแบกพระสาวก

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก พระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระอุปัชฌาย์คง หรือหลวงพ่อคง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เป็นพระเกจิอาจารย์ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอีกรูปที่วัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาไม่แพ้หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย

วัตถุมงคลโดยเฉพาะเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นับว่ายอดเยี่ยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยม

เหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกัน คือ เหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเสาะแสวงหา

ส่วนประเภทเหรียญหล่อก็เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสมัยโบราณคนท้องถิ่นนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม

สร้างแจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง คือ เหรียญหล่อหนุมานแบกพระสาวก

สร้างช่วงประมาณปี 2484-2485 ในยุคสงครามอินโดจีน เป็นเนื้อทองผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้บันทึกไว้

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางประทานพร มีรูปพระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร พระอัครสาวกอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ด้านล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนแบกพระอัครสาวกไว้อีกที ส่วนพระบาทของพระพุทธองค์ชิดติดกับศีรษะหนุมาน

ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

เหรียญหล่อพิมพ์นี้ หลวงพ่อคง เคยปรารภว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิฤทธิ์มาก

ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก ถ้าจะเช่าหาควรศึกษาให้ดี


 

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต เกิดในสกุล จันทร์ประเสิรฐ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2407 ณ ต.บางสำโรง อ.บางคนที จ.สุมทรสงคราม

บิดา-มารดา ชื่อ นายเกตุ และนางทองอยู่ จันทร์ประเสิรฐ

เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือนแพ จะต้องเป็นผู้ชายและครองสมณเพศเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต โดยบิดา-มารดาซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง

พออายุได้ 12 ปี บรรพชาที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรมีความสนใจในวิชาเมตตามหานิยม

กระทั่งอายุได้ 19 ปี ลาสิกขาเพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนสิงหาคม 2427 มีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม

จำพรรษาอยู่ที่วัดเหมืองใหม่ คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ ด้วยอุปนิสัยที่รักการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นฐาน ต่อมาได้ไปศึกษากับพระเถระชื่อดังในยุคนั้นอีกหลายรูป

ได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ กับอาจารย์นก ซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ยังสนใจการศึกษาวิทยาคม โดยร่ำเรียนกับพระเกจิชื่อดัง เริ่มแรกศึกษาคัมภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้นต่อมาเล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้า โดยเฉพาะวิชานะปัดตลอด

อีกทั้งยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ผู้เชี่ยวชาญในพระกัมมัฏฐาน

ในพรรษา 19 เกิดอาพาธ จึงหยุดพักผ่อน หันมาสอนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานลูกศิษย์ลูกหา

เอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็ปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยมือ

จนกระทั่งพรรษาที่ 21 ในปี พ.ศ.2448 ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นวัดบางกะพ้อมไม่มีสมภารปกครองวัด และวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม

ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น

พ.ศ.2464 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

แม้จะมีภาระงานปกครองวัด แต่ในเดือน 4 ของทุกปี จะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า รุกขมูลข้างวัด ชำระจิตใจให้สะอาด หลังจากยุ่งกับเรื่องราวทางโลกเกือบตลอดทั้งปี

ช่วงบั้นปลายชีวิตอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำ ด้วยเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2486 ขณะนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระพุทธรูปประธานองค์ใหม่ เมื่อสวมพระเกตุพระประธานแล้วเสร็จ ก็เกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่มีสติดี เอามือประสานในอิริยาบถนั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบ

คณะศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นาน จึงประคองร่างลงมาจากนั่งร้าน จึงรู้ว่ามรณภาพไปแล้ว

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58 •




   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หน้า)

   
พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ (หลัง)

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระครูปทุมชัยกิจ หรือ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท จะมีอายุครบรอบ 103 ปี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและผู้เลื่อมใส จะได้ร่วมกันจัดงานมุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมหามงคล เป็นประจำทุกปี

เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป ทายาทศิษย์พุทธาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

ในปี พ.ศ.2531 อนุญาตให้ทางวัดจัดสร้าง “พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ)” เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะอุโบสถ

ลักษณะขององค์พระ เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ ด้านหน้าองค์พระ ตรงกลางเป็นรูปนูนพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนฐาน 3 ชั้น มีซุ้มครอบแก้ว ฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานขาสิงห์ ฝังพระธาตุ 1-3 เม็ด และเส้นเกศาหลวงปู่นะ

ส่วนด้านหลังองค์พระ ตรงกลางเป็นลายเส้นรูปเหมือนนั่งสมาธิเต็มองค์อยู่บนอาสนะ รอบรูปเหมือน มีอักขระขอม นะโมพุทธายะ และด้านล่างเขียนว่า “หลวงพ่อนะ วัดปทุมธาราม (หนองบัว)” พร้อมโรยผงตะไบที่รูปหลวงปู่นะ

พระสมเด็จฐานสิงห์ หลังรูปเหมือนหลวงปู่นะ (โรยผงตะไบ) รุ่นนี้ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส (3 เดือน) และเนื้อพระผสมผงพุทธคุณที่นำมาจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป

สำหรับพระสมเด็จฐานสิงห์ ด้วยความที่มีพลังจิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีพระสมเด็จฐานสิงห์รุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ

นับเป็นพระดีอีกรุ่นหนึ่งของจังหวัดชัยนาท





หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ  มีนามเดิมว่า โฉม เหล่ายัง เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2459 ที่บ้านขุนแก้ว ต.ดงขวาง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 9 คน ของนายแจกและนางตี่ เหล่ายัง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ในวาระแรกเกิด บิดา-มารดาตั้งชื่อให้ว่า “โฉม” ต่อมาเมื่ออายุ 5-6 ขวบ หมอเป้ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ และเป็นผู้มีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ด้วย เห็นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “นะ” อันเป็นมงคลนาม

ส่วนนามสกุล “เหล่ายัง” ต่อมาภายหลังเปลี่ยนเป็น “นาคพินิจ”

อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมา วัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2480

โดยมีพระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ชั้น เป็นพระกรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สำเนียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) พ.ศ.2483 เดินทางไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดหนองแฟบ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.2485 ได้ไปจำพรรษาที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) และในปี พ.ศ.2487 สามารถสอบได้สอบนักธรรมชั้นเอก

ขณะศึกษานักธรรม มีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไปด้วย

ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ วิทยฐานะนักธรรมชั้นเอก จึงมีความคิดก่อตั้งสำนักเรียนขึ้นมาใหม่ หลังจากซบเซาขาดหายไปนาน โดยรับหน้าที่เป็นผู้สอนเองทุกชั้น ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท และเอก จึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้หลายจังหวัด

ระหว่างนั้นหันมาให้ความสนใจศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม และเรียนวิทยาคม เลขยันต์พันคาถาควบคู่กันไป จากตำราที่พระปลัดปั่น เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ได้รับมอบจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และพระปลัดปั่น มอบตำราของหลวงปู่ศุขให้

ศึกษาเรียนรู้สรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคมอย่างดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ช่วยเหลือปัดเป่าทุกข์เหล่านั้นด้วยความเมตตา

ด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดเทศนาธรรมเป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชักชวนประชาชนให้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งเป็นครูสอนพระธรรมวินัย สำนักเรียนวัดปทุมธาราม (หนองบัว) เป็นครูสอนการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่พระภิกษุ-สามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป

ด้านการพัฒนาวัด นับตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธารามเป็นต้นมา ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการสร้างศาลาการเปรียญ โครงสร้างชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาเป็นกระเบื้องเกร็ด, สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม, สร้างฌาปนสถานแบบมาตรฐาน พร้อมเตาเผาอย่างดี, สร้างอาคารปริยัติธรรมภิกษุ-สามเณร ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากนี้ ยังสร้างวิหารหลวงปู่ศุข 1 หลัง ลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน ลายใบเทศ ประดับด้วยกระจก

ด้านวัตถุมงคล อาทิ ใบพลูใจเดียว, เหรียญนารายณ์ทรงครุฑ, สมเด็จบัวไขว้ข้างอุ เป็นต้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากสาธุชน
 
พ.ศ.2493 เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม

พ.ศ.2495 เป็นเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2

พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ “พระครูปทุมชัยกิจ”

พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง กลางดึกคืนวันที่ 10 มีนาคม 2563 หลวงปู่นะมีอาการหัวใจหยุดเต้น คณะศิษย์รีบนำส่งโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร คณะแพทย์พยายามยื้ออาการสุดความสามารถ แต่ด้วยความชราภาพ จึงมรณภาพอย่างสงบในเวลา 05.30 น. วันที่ 10 มีนาคม 2563

สิริอายุ 104 ปี พรรษา 83 •




พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก

หลวงปู่ทวดผงกัมมัฏฐาน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง  มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สําหรับหลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค

ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ จ.ปัตตานี สร้างขึ้นโดยพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร

แต่ยังมีพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีความนิยมสูงและสนนราคาค่อนข้างสูงเอาการ คือ พระหลวงปู่ทวด วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ปลุกเสกโดย “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” อดีตพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม

หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมาก และมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหา หลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำตลอด ดังนั้น พระเครื่องที่สร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

ที่รู้จักกันดี คือ เหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว

ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้ว สนนราคายังไม่สูงมากนัก หลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกแจกอย่างเดียว จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันเรื่องพิมพ์ทรง

พิมพ์พระหลวงปู่ทวด ด้วยเนื้อผงสีขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐาน จะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงสีขาวทุกพิมพ์ว่า “พระผงกัมมัฏฐาน”

ด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ

พระผงดังกล่าว ค้นพบภายในกุฏิหลวงปู่ดู่หลังมรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่า





หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ถือกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เกิดวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2447 ตรงกับวันวิสาขบูชา ที่บ้านข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพุดและนางพ่วง หนูศรี

มารดาถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเป็นทารก ต่อมาบิดาจากไปเมื่ออายุเพียง 4 ขวบ จึงอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวเป็นผู้ดูแล เริ่มศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

อายุ 21 ปี บรรพชาอุปสมบทที่วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พรรษาแรก ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม กับเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

ด้านการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น และหลวงพ่อเภา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา รวมทั้งตำรับตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จ.สุพรรณบุรี และสระบุรี

พรรษาที่ 3 เดินธุดงค์จากอยุธยามุ่งตรงสู่สระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉาย และรอยพระพุทธบาท จากนั้นไปยังสิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน กระทั่งอาพาธด้วยโรคเหน็บชาจึงพักธุดงค์

ทั้งนี้ ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์นอกวัด ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2490 และถือข้อวัตรฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 ต่อมาภายหลังในปี พ.ศ.2525 ศิษย์ต้องกราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อ

ปีหนึ่งๆ จะออกมาเพื่อลงอุโบสถเพียง 3 ครั้งเท่านั้น คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันโมทนากฐิน

เป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีผู้ปวารณาจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลย อันจะเสียสมณสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายเกิดความปลื้มปีติ ก่อนยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวม ข้าวของต่างๆ ที่เป็นสังฆทาน ถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะระบายออก จัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบทและยังขาดแคลน

ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ถึงกับเมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

หากลูกศิษย์คนใดสนใจขวนขวายในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ก็จะส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจ ที่สำคัญจะไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่นในเชิงลบหลู่ หรือเปรียบเทียบดูหมิ่น

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศ ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ด้านวัตถุมงคล มิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ สร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่อง ด้วยเห็นประโยชน์ เนื่องจากบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ เคยปรารภว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล”

พระเครื่องบูชาที่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้แล้วปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ แต่กุศโลบายที่แท้จริงคือ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ เป็นต้น

รับแขกโปรดญาติโยมไม่ขาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 จนปลายปี พ.ศ.2532 สุขภาพจึงทรุดโทรมลง แต่ใช้ความอดกลั้นอย่างสูง แม้จะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ก็สู้ออกโปรดญาติโยมเหมือนไม่เป็นไร บางครั้งถึงขนาดที่ต้องพยุงตัวเอง ก็ยังไม่เคยปริปากให้ใครต้องกังวล

เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2533 จึงมรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคหัวใจ สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65


4
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 123.0.0.0 Chrome 123.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #182 เมื่อ: 09 เมษายน 2567 13:56:24 »


พระกริ่งสุจิตโต

มงคล ‘พระกริ่งสุจิตโต’ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2566


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ สุจิตโต) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกผนวชในปี พ.ศ.2499

เมื่อปี พ.ศ.2487 ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ 6 รอบ

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ ณ เวลา 09.08 น. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อ เวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า “พระกริ่งสุจิตโต” ตามพระนามฉายา

แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า “พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร” เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะก้นด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาสูง




สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ทรงเป็นโอรสของหม่อมเจ้าถนอมกับหม่อมเอม นพวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก จุลศักราช 1234

ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งเยาว์วัยทรงศึกษากับครูชมที่วังของพระชนก มีพระนิสัยโน้มเอียงในทางพระศาสนา กล่าวคือ ได้ตามเสด็จกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไปวัดอยู่เสมอ จึงทำให้ต่อมาได้บรรพชา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตโต) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2435 ทรงผนวช ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระนามฉายาว่า สุจิตฺโต

ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณศักดิ์เป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระสุคุณคณาภรณ์

พ.ศ.2446 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระญาณวราภรณ์ ได้รับพระราชทานตาลปัตรพื้นแพรปักทองเป็นพระเกียรติยศ

พ.ศ.2451 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์ ได้ถวายพระพรลาออกจากสมณศักดิ์ด้วยมีประสงค์จะลาสิกขา แต่ด้วยความอาลัยในสมณเพศ จึงได้ยับยั้งตั้งพระทัยบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป

พ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระญาณวราภรณ์ดังเดิม

พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2464 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ

พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พ.ศ.2488 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493

พ.ศ.2499 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นหลายครั้งและหลายสิ่ง เช่น สร้างหอสมุดของวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2497 สร้างตึกสถานศึกษาของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2498 สร้างตึกอุทิศนภวงศ์ด้วยทุนไวยาวัจกรส่วนพระองค์ สร้างตึกสามัคคีธรรมทาน ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดด้วยทุนที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุ 60 ปี

ทรงประพันธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง เช่น ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิดตายสูญ ทศพิธราชธรรม พุทธศาสนคติ ทรงชำระพระไตรปิฎกสยามรัฐ ฉบับพิมพ์ 2470 เล่ม 25-26 ทรงชำระอรรถกถาชาดกที่สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้ชำระ พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2501 พระชนมายุ 86 พรรษา พรรษา 66

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุสำหรับถวายพระเพลิง ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส

และต่อมาได้พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2503 •




พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่ไข่

‘พระกลีบบัวอรหัง’ ที่ระลึกอายุวัฒนมงคล หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามขจรขจายไปไกล

ชื่อเสียงโด่งดังมาหลายทศวรรษ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีราคาเช่าบูชากันสูงมาก โดยเฉพาะ “พระกลีบบัวอรหัง”

ประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมาก

นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน

พระกลีบบัวอรหัง เป็นพระเครื่องพิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “อรหัง”

ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอม

พระกลีบบัวอรหัง จัดสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอแจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน ยังพอหาได้ เนื่องจากสมัยก่อน มีจำนวนมาก หาได้ไม่ยาก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก



หลวงปู่ไข่ อินทสโร วัดเชิงเลน

อัตโนประวัติ เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดาชื่อ นายกล่อมและนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพลง เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่ออายุ 15 ปี พระอาจารย์จวง มรณภาพลง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น ได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจน์ แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณจึงเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก

ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุขฯ (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษามาตลอดมา

ระหว่างจำพรรษาปฏิบัติธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา

ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างพระเครื่อง พระปิดตาและเหรียญรูปเหมือน ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้เป็นจำนวนมากในประมาณปี พ.ศ.2470

เป็นพระที่สมถะสันโดษ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ มีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์มีทั้งไทย จีน และชาวซิกข์ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาให้ช่วยรักษา ซึ่งก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล

ราวปี พ.ศ.2470 เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายปรึกษาหารือกันว่า ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้อยู่สอนวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

ต่อมาเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 มกราคม 2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

เล่ากันว่าก่อนเวลาที่จะมรณภาพ ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการเสร็จแล้ว ก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ 15 นาที จนหมดลมหายใจ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวให้นอนราบลง •



4
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 123.0.0.0 Chrome 123.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #183 เมื่อ: 10 เมษายน 2567 15:36:44 »


เหรียญรัตโต หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

เหรียญหล่อรูปใบโพธิ์ หลวงพ่อดำ อินทสโร วัดตาลบำรุงกิจ ราชบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อดำ อินทสโร” วัดตาลบำรุงกิจ ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระเถราจารย์ยุคเก่าราชบุรี มีชื่อเสียงโด่งดัง และลูกศิษย์ลูกหามากมาย มิใช่เฉพาะเมืองราชบุรีเท่านั้น

วัตถุมงคลเป็นที่นิยมสูงเป็นอันดับต้น ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

วัตถุมงคลยุคแรก ทำเครื่องรางตะกรุด ครั้นเมื่อผู้ได้รับนำไปมีประสบการณ์จนเป็นที่กล่าวขวัญ ทำให้โด่งดังมาก มีชาวบ้านแห่มาขออยู่เป็นประจำ

แต่ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจหรือรูปใบโพธิ์ เป็นเหรียญหล่อพระเกจิที่เก่าแก่ที่สุดอีกเหรียญ

สร้างในปี พ.ศ.2459 ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ มีหูห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรแบบลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีช่อมะกอกผูกด้วยโบด้านล่าง ใต้รูปเหมือน มีตัวเลขไทย “๒๔๕๙” ระบุปีที่สร้าง

ด้านหลัง เป็นอักขระขอมอ่านได้ว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ”

มีคนเข้าไปขอกันมาก จนเหรียญหล่อหมด เป็นเหรียญพิเศษที่หายากยิ่ง ผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน




หลวงพ่อดำ อินทสโร

เกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี บิดาชื่อ นายปลิก มารดาชื่อ นางเหม

เป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็ก พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนักวัดตาล

เนื่องจากพระอาจารย์เล็ก เป็นญาติทางบิดา เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัว แต่เนื่องจากเป็นคนที่มีความตั้งใจสูงชอบศึกษาเล่าเรียน มีความอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้เกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนมีความรู้แตกฉาน

เมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชา และศึกษาพระปริยัติธรรมจนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2405 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดตาลบำรุงกิจ มีพระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ทอง วัดท่าสุวรรณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เล็ก วัดตาลบำรุงกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ต่อมา จึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา โดยออกธุดงค์ไปทั่วประเทศคราวละ 2-3 ปี ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ ยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ระหว่างที่ได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนหากมีเหตุให้ต้องช่วยเหลือชาวบ้านได้ ก็ช่วยอย่างเต็มกำลังเรื่อยไป จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และก่อสร้างวัดต่างๆ ณ จุดที่ธุดงค์ผ่านเรื่อยไป

จนกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลบำรุงกิจ ว่างลง ชาวบ้านและคณะสงฆ์เห็นควรนิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นวัดทรุดโทรมลงไปมาก จึงรับนิมนต์และได้จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา

วัดตาลบำรุงกิจ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เลขที่ 76 หมู่ 1 ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่

มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า นางตาล สร้างถวายเพื่อบำรุงพระศาสนา โดยบริจาคทรัพย์และที่ดิน วัดจึงตั้งชื่อวัดว่า วัดตาลบำรุง หรือเรียกสั้นๆ ว่าวัดตาล

ในอดีตมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วัดตาลล้อม เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินดินสูงมีต้นตาลรอบวัด หรือเรียกชื่อตามหมู่บ้านว่าวัดตาลสี่หมื่น

สมัยพระครูโสภณกิจจารักษ์ หรือหลวงพ่อเชย เจ้าอาวาสรูปถัดมา เห็นว่าชื่อห้วนเกินไป จึงเติมคำว่า “กิจ” เป็นวัดตาลบำรุงกิจ จนถึงปัจจุบัน

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วย มณฑป หรือชาวบ้านเรียกวิหารไห ลักษณะชั้นล่างเป็นไหโบราณก่อเป็นรูปภูเขา ชั้นบนเทคอนกรีต ปูพื้นด้วยหินอ่อน เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลม วิหารแบบทรงไทยโบราณไม่มีลวดลาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูทวีป (ปางรัตนโกสินทร์) หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว สูง 120 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ตรงข้ามแม่น้ำมีวัดราชคามตั้งอยู่

ด้วยความเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ครั้นเมื่อขอความร่วมมือจากชุมชน ชาวบ้านจะมาร่วมงานด้วยความเต็มใจ

อายุ 40 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2425 เจ้าคณะตำบล ตามลำดับ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ต่างก็มาเรียนวิชาจากท่านเสมอ

ปกครองวัดเรื่อยมา จนถึงแก่มรณภาพ ในปี พ.ศ.2475 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70 •





เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

เหรียญรัตโต พ.ศ.2516 วัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2566


“หลวงพ่อแดง รัตโต” หรือ “พระครูญาณวิลาศ” วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิผู้มีชื่อเสียง ไม่เพียงแต่ในเพชรบุรีเท่านั้น

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่างๆ เป็นที่นิยมและเสาะหากันอย่างแพร่หลาย

หลังสร้างเหรียญรุ่นแรกจนได้รับความนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปเหมือนอีกรุ่นที่ยอดฮิต

ได้แก่ เหรียญรัตโต อันเป็นนามฉายา

จัดสร้างในปี พ.ศ.2516 โดยคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้รับการออกแบบจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ มีความสวยงาม โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่

แต่การสร้างในครั้งนั้น มีจำนวนที่ไม่เพียงพอ ถัดมาในปี พ.ศ.2517 จึงสร้างขึ้นอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่าปั๊มครั้งที่สอง

การสร้างเหรียญรัตโต ในปี พ.ศ.2516 มีจำนวน 3,400 เหรียญ เป็นเนื้อเงิน 400 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 3,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปเหมือนหันข้างแบบครึ่งองค์ กึ่งกลางด้านซ้ายรูปเหมือน เขียนอักษรคำว่า “รตฺโต” บรรทัดถัดลงมา เขียนคำว่า “พระครูญาณวิลาศ” และบรรทัดล่างสุด เขียนคำว่า “(หลวงพ่อแดง)”

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ มีขีด 2 ขีดเป็นรูปวงรีล้อมรอบอักขระยันต์ ด้านล่างใต้ยันต์ เป็นตัวเลขไทย “๒๕๑๖” ซึ่งหมายถึงปี พ.ศ.ที่สร้าง ส่วนนอกวงรีมีอักขระล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

ปัจจุบันค่อนข้างหายาก





หลวงพ่อแดง รัตโต

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล อ้นแสง ที่บ้านสามเรือน หมู่ที่ 4 ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2422 บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องรวมกัน 12 คน ท่านเป็นคนที่ 5

วัยเด็กช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ

ครั้นถึงวัยหนุ่ม พ่อแม่หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับพระอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีพระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า รัตโต

เคร่งครัดต่อพระวินัยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เป็นอย่างดี พระอาจารย์เปลี่ยนจึงเมตตสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบัง

เหตุนี้ทำให้มีความปีติเพลิดเพลินในการศึกษาวิชาความรู้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึกในรสพระธรรม ไม่มีความคิดลาสิกขาแต่อย่างใด จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีที่มีอาวุโสสูงสุด

กระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง จึงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 เป็นต้นมา และแม้จะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน

ไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิใดๆ แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ระหว่าง พ.ศ.2477-2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตาย สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระบาดสัตว์ให้

จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ ปรากฏว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตาย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวันมิได้ขาด

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ มหาสงครามเอเชียบูรพา เมืองเพชรบุรีมีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด

และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูญาณวิลาศ

เป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด เพราะทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

ก่อนสิ้นลม ได้ฝากฝังกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

พระปลัดบุญส่ง รับปากและได้ทำตามประสงค์ไว้ทุกประการ

ทุกวันนี้ ยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาไม่เสื่อมคลาย •





เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒

เหรียญรุ่น ร.ศ.๒๑๒ หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ พระเกจิชื่อดัง-อัมพวา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2566


“หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท” อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เล่ากันว่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เคยธุดงค์มาต่อวิชาด้วย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงเจ้าอาคมเป็นอย่างดี

สำหรับวัตถุมงคลเท่าที่ทราบ เป็นประเภทเครื่องรางส่วนใหญ่ ทั้งเชือกคาดเอว (ตะขาบไฟไส้หนุมาน) มีดหมอ พระเนื้อดิน และน้ำมนต์

สำหรับเหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น ร.ศ.๒๑๒ สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2536

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างขึ้นหลังจากท่านละสังขารมานานแล้ว แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย เหรียญสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่” ที่เหรียญมีการตอกโค้ด อุณาโลม

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ อะระหัง” บนสุดมีตัวอุนาโลม ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า “ร.ศ.๒๑๒” ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2536

ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย ที่สร้างหลังมรณภาพไปแล้วก็ตาม

สําหรับวัดประดู่ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าคงสร้างในราวปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2320 จากการค้นคว้าพอจะถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในย่านจังหวัดสมุทรสงคราม

ตามประวัติอดีตเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นมาที่วัด คือ หลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส มีผู้รู้ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า

ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต้นทางน้ำ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 โดยเรือพระที่นั่งผ่านคลองหน้าวัดประดู่ และทรงแวะทำครัวเสวย และพระกระยาหารเช้า พระองค์ทรงนึกแปลกพระทัยว่า เพราะเหตุใดชาวบ้านจึงได้มาชุมนุมกัน ณ ที่ศาลาท่าน้ำกันมาก จึงตรัสให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปสอบถามพวกชาวบ้านที่มาชุมนุมกัน

จึงได้ความว่าเจ้าอาวาสวัดนี้ เป็นพระที่มีวิชาอาคมสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่เลื่องชื่อที่สุดก็คือน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บุคคลใดที่โดนผีเข้าหรือโดนคุณไสยถ้าได้มารับน้ำมนต์แล้วจะได้ผลทุกรายไป ผีตัวใดก็ไม่อาจทนอยู่ได้

ส่วนยาศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เช่นกัน ทำขึ้นจากใบมะกาใช้คู่กับน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบความจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้ว พระองค์ท่านก็เสด็จออกจากวัดประดู่

จากนั้นมาไม่นาน ก็ได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชวัง เพื่อรักษาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศดำรงค์ศักดิ์

เมื่อถวายการรักษาเสร็จจนมีพระอาการดีขึ้น ทำให้ทรงเลื่อมใสในความสามารถ ก่อนจะลากลับจึงพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร เตียงบรรทม เก๋งเรือ ปิ่นโต ฯลฯ เป็นที่ระลึก




หลวงปู่แจ้ง ปุณณจันโท


พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมายังวัดประดู่ ตามประวัติศาสตร์นั้น พระองค์ทรงถวายเครื่องราชศรัทธาที่น่าสนใจไว้แก่วัดอีกหลายชิ้น

จึงได้รวบรวมสิ่งของที่ได้พระราชทานเหล่านั้นจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5 เพื่อเก็บดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ให้ทรงคุณค่าอยู่ตราบนานเท่านาน และเพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ชมได้ศึกษา รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับชาววัดประดู่ตลอดไป

ตามประวัติเล่ากันว่า หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูตผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มาจากหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ นี่เอง

รักษาคนด้วยตัวยาสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิด คือ ใบมะกากับข่าพร้อมคาถาเสก และต้มยาให้กิน

นอกจากยาใบมะกากับข่าเสกแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อเมื่อเอ่ยถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์”

เล่ากันว่า เมื่อรดใครแล้วหายจากโรคทุกคน ไม่ว่าจะถูกคุณไสย ลมเพลมพัด เป็นบ้าเสียสติอย่างไร เมื่อมารดน้ำมนต์ที่วัดประดู่กลับไปแล้วหายทุกคน

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แจ้งรับอาราธนาเข้าไปในวัง เมื่อเดินเข้าไปถึงที่ประตูวัง ประกอบกับท่านห่มจีวรเก่าๆ ทำให้ทหารยามที่ยืนเฝ้าปากประตูไม่ยอมให้ท่านเข้า จึงบอกว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 นิมนต์ จะเข้าไปสวดมนต์ ท่านว่า “ในหลวงนิมนต์ฉันมา ฉันจะเข้าไปสวดมนต์ ดูสิฉันยังเตรียมพัดมาด้วยเลย” พร้อมทั้งเปิดพัดให้ดู ทหารยามถึงกับตกตะลึง เพราะตาลปัตรที่หลวงปู่ถือ เป็นตาลปัตรมีตราประจำพระองค์ (พัดปักดิ้นทองตราพระนารายณ์ทรงครุฑ) ทหารยามคนนั้นจึงต้องรีบนำหลวงปู่ไปส่งถึงด้านใน

เมื่อไปถึงจึงสำนึกตัวเป็นพระผู้น้อย จึงขึ้นนั่งบนอาสนะหลังสุด สังฆการีเห็นเข้าก็กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นไปนั่งอันดับสองรองจากสมเด็จพระสังฆราช แต่ก็ได้นั่งหน้าสมเด็จพระราชาคณะหลายรูป

คาดว่ามรณภาพช่วงปี พ.ศ.2465-2472 สำหรับอัฐินั้น วัดประดู่ยังเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้

น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติไว้อย่างชัดเจน มีแต่เพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น •


4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน 2567 15:39:28 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #184 เมื่อ: 16 เมษายน 2567 17:14:30 »


พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-พระมอญแปลง-พระประคำรอบ-พระปรกชุมพล

พระเครื่อง ‘ชุดกิมตึ๋ง’ พระสี่กร-มอญแปลง ประคำรอบ-ปรกชุมพล

ที่มา -  คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อ งมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2566



จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกพื้นที่ที่มีการค้นพบพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีพุทธลักษณะที่หลากหลาย มีการตั้งชื่อเรียกเป็นเอกลักษณ์แตกต่างไปจากที่พบในแหล่งอื่นทั่วไป

ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว ที่เรียกว่า พระขุนแผน ซึ่งใช้ชื่อตัวละครเอกในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่อง ขุนช้างขุนแผน กำหนดเรียก และรู้จักกันในฐานะพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในด้านเมตตามหานิยม

สำหรับ “พระชุดกิมตึ๋ง” เป็นพระพิมพ์อีกหนึ่งของสุพรรณบุรีที่มีชื่อเรียก และพิมพ์ทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ


พระเครื่องชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วยพระ 4 องค์ คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระนาคปรก หรือพระปรกชุมพล รวมเป็นสี่องค์

พระชุดนี้เป็นพระกรุที่ถูกพบที่วัดพลายชุมพล ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ติดกับเขตวัดพระรูป มีซากพระเจดีย์ที่พังทลายลงมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2446 ไม่มีใครทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงอย่างไร เหลือแต่ฐานซึ่งกว้างมากประมาณ 50 เมตร นับว่าเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งทีเดียว บริเวณรอบฐานพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2446 มีพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ปะปนกับเศษอิฐกองอยู่เต็มไปหมด
 
ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจกันนัก บ้างก็เห็นว่าเป็นของวัด ไม่ควรนำมาไว้ที่บ้าน และอีกอย่างหนึ่งคือ พระมีมากมายกองอยู่เต็มไปหมด

ต่อมามีพวกนักเที่ยว พวกวัยรุ่นคะนองสมัยนั้น เมื่อผ่านมา ต่างก็หยิบพระไปคนละองค์สององค์ บ้างก็เอาผูกกับผ้าคาดแขนไว้ บ้างก็อมไว้ในปาก แล้วไปเที่ยวตามถิ่นต่างๆ และเกิดกระทบกระทั่งกับเจ้าถิ่น เกิดมวยหมู่ ตะลุมบอนกัน ทั้งมีดทั้งไม้

ปรากฏว่าคนที่เอาพระกรุนี้ไปด้วย ไม่มีใครเลือดตกยางออก ส่วนคนที่ไม่ได้เอาพระติดตัวไป ปรากฏว่าได้เลือดทั้งสิ้น

หลังจากนั้น จึงทำให้ชื่อเสียงของพระกรุนี้โด่งดังไปทั่ว และมีประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว พระกรุนี้จึงเริ่มถูกตามเก็บ จนร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด

พระกรุชุดดังกล่าว มีรูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกัน มี 4 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมา คือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล

“พระสี่กร” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร ยอดบนค่อนข้างแหลมกว่าทุกองค์ องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย พระเกศสูงชะลูด พระพักตร์เลือนไม่ปรากฏรายละเอียด พระกรทั้งสองข้างเป็นคู่ตามชื่อเรียก เนื้อองค์พระส่วนมากหนึกแน่นและแกร่ง มีเม็ดทรายน้อย

“พระมอญแปลง” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีก มีทั้งพิมพ์ใหญ่ ความสูง 4-4.5 เซนติเมตร และพิมพ์เล็ก สูง 3 เซนติเมตร องค์พระแสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ไม่แน่นและแกร่งเท่าพระสี่กร

“พระประคำรอบ” พิมพ์ทรงคล้ายผลมะปรางผ่าซีก แต่ค่อนข้างกลมกว่าทุกพิมพ์ องค์พระแสดงปางมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีลักษณะคล้ายดอกจิก รอบซุ้มมีเม็ดกลมลักษณะเป็นลูกประคำ ตามชื่อเรียก

“พระนาคปรก” หรือ “ปรกพลายชุมพล” พิมพ์ทรงจะคล้ายผลมะปรางผ่าซีกเช่นกัน มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก องค์พระประทับนั่งแสดงปางสมาธิ เศียรพญานาค 7 ตัวแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง พิมพ์ใหญ่เนื้อหยาบ ส่วนพิมพ์เล็กเนื้อค่อนข้างละเอียด

พิมพ์ด้านหลังพระชุดกิมตึ๋ง ทั้ง 4 องค์ มีลักษณะมนและขรุขระเล็กน้อย บางองค์มีรอยหยิบด้วยมือ บางองค์เป็นลายมือ

พระชุดนี้เป็นที่นิยมกันมากในสุพรรณบุรี ต่างก็เสาะกันมากและพยายามหาให้ครบ 4 องค์ และเรียกกันในสมัยนั้นว่า “พระชุดพลายชุมพละ”

ต่อมาพระเครื่องชุดนี้แพร่หลายเข้ามาสู่เมืองกรุง และได้รับความนิยมกันมากเช่นกัน และก็มีผู้ตั้งชื่อกันใหม่ว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” แต่ก็สืบค้นไม่ได้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ “กิมตึ๋ง” เป็นชื่อที่มีความเป็นมาอย่างไร

สืบสาวราวเรื่อง พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชา อันประกอบด้วย ชุดถ้วยกระเบื้องเคลือบ และชุดกระเบื้องเคลือบที่ได้รับรางวัล มีชื่อเสียงได้รับคำยกย่องว่าสวยงามมาก คือ ชุดกิมตึ๋ง ซึ่งเป็นเครื่องถ้วยที่พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน มาจำหน่ายในประเทศไทย ถ้วยที่ส่งมาใต้ก้นประทับตราว่า “กิมตึ๋ง-ฮกกี่” แปลว่าเครื่องหมายอันวิเศษอย่างเต็มที่

ถ้วยที่ส่งมาชุดนี้ ส่งมาเป็นชุด 4 ใบ อาจจะเป็นเพราะพอดีกับพระชุดพลายชุมพลมี 4 องค์พอดี และมีคุณวิเศษอยู่ด้วย จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกพระชุดนี้ในเวลาต่อมาว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

ส่วนชื่อกรุนั้น วัดพลายชุมพลซึ่งเป็นวัดร้างติดกับวัดพระรูป จนกลายมาเป็นกรุวัดพระรูปไปโดยปริยาย

บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง ให้ความเห็นว่า พระชุดกิมตึ๋งอาจไม่สวยงามนัก เนื่องจากเป็นศิลปะแบบนูนต่ำตื้น แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุดังกล่าว แต่คุณวิเศษที่เลื่องกันมากในด้านอยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่ยอมรับ และนิยมในหมู่ผู้ที่สะสมในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า ถ้าเอาพระสมเด็จวัดระฆัง มาแลกกับพระชุดกิมตึ๋งทั้งชุด รับรองว่าเจ้าของพระชุดกิมตึ๋ง ต้องไม่ยอมอย่างแน่นอน

อีกประการหนึ่ง พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 องค์ เวลานำมาห้อยคอ จึงมักนำพระมาเพิ่มอีกองค์หนึ่ง จะได้ครบ 5 องค์ และมักจะนิยมนำพระขุนแผนไข่ผ่ามาห้อยไว้ตรงกลาง เป็นอันครบ 5 องค์ •





พระลีลาทุ่งเศรษฐีหลวงพ่อนารถ

พระปางลีลาทุ่งเศรษฐี หลวงพ่อนารถ นาคเสโน วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2566



“พระครูโสภณประชานารถ” หรือ “หลวงพ่อนารถ นาคเสโน”  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง หมู่ 1 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปของเมืองกาญจน์

วิทยาคมไม่เป็นสองรองใครในยุคนั้น วัตถุมงคลได้รับความนิยมแทบทุกชนิด แต่บางอย่างหาชมของแท้ได้ยากยิ่ง

โดยเฉพาะ “พระลีลาทุ่งเศรษฐี” สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 จนถึงปี พ.ศ.2508

ลักษณะเป็นพระยืนปางลีลาทุ่งเศรษฐี โดยหลวงพ่อนารถ ผสมเนื้อและกดพิมพ์เองที่วัด โดยจะทยอยสร้างเรื่อยๆ ดังนั้น เนื้อพระจะมีสีอ่อนหรือเข้มแตกต่างกันไปตามแต่ส่วนผสมของมวลสารในครกนั้นๆ

เท่าที่พบเห็นสามารถแยกเนื้อพระออกเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อสีขาวอมชมพู (แก่ผง) และเนื้อสีน้ำตาลเข้ม (แก่ว่าน) โดยองค์พระมีทั้งที่ทาทอง และไม่ทาทอง

ในพระชุดนี้ สันนิษฐานว่าหลวงพ่อนารถฝังตะกรุดไว้ทุกองค์ (บางองค์จะเห็นตะกรุดโผล่ออกมาให้เห็น)

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางลีลาทุ่งเศรษฐี บนฐานบัวหงาย องค์พระมีเส้นรอบพิมพ์ ที่ยอดขององค์พระมีการติดชันโรงเสกของหลวงพ่อ ในบางองค์จะมีการทาบรอนซ์ทอง

ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ

พุทธคุณโดดเด่นด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี ปืนผาหน้าไม้ มีดหอกของแหลมไม่ระคายผิว ซึ่งผู้ที่มีวัตถุมงคลต่างมีประสบการณ์มากมาย

ได้รับความนิยมสูงและนับวันจะหายาก





หลวงพ่อนารถ นาคเสโน


เดิมท่านมีชื่อว่า นารถ เพิ่มบุญ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2444 ที่ที่บ้านหมู่ 1 ต.หุน้ำส้ม อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายพิมพ์ และนางสมบุญ เพิ่มบุญ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แต่ด้วยที่ฐานะทางบ้านยากจน พอเรียนจนมีความรู้พออ่านออกเขียนได้ จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนาปลูกข้าว เลี้ยงครอบครัว

พ.ศ.2473 อายุครบ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2473 มีพระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูยติวัตรวิบูล (พรต)  วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดจู วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า “นาคเสโน”

จำพรรษาอยู่ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อพรต และเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง พ.ศ.2488 สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังเดินทางไปศึกษาอาคมกับหลวงพ่อเปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อนาก  วัดท่าน้ำตื้น

ด้วยความศรัทธาในการศึกษาหาความรู้ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปศึกษากับหลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำ เกี่ยวกับวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชชาธรรมกาย โดยไปเรียนวิชาด้วยถึง 2 ครั้ง 2 ครา

ในส่วนของอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ไปศึกษาวิชาในทางแก้คุณไสยจากคุณแม่มูล และจากนายคำ สุขอุดม ศึกษาวิชาคงกระพัน และแก้คุณไสย จากนายขัน ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากนายหมุน ศึกษาตำรายาเกี่ยวกับโรคไตจากนางเลียบ

พ.ศ.2494 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโลหะฯ ว่างลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ

เป็นพระเถระที่มีบุคลิกเรียบร้อย พูดจาฟังง่าย เมตตาสูง และสิ่งหนึ่งที่ทำเป็นประจำไม่เคยขาด คือ การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน

ครั้งที่ยังมีพรรษาน้อย ชอบออกท่องธุดงค์ ศึกษาวิทยาคมต่างๆ ได้รู้จักและเป็นศิษย์กับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน

เชื่อกันว่า เป็นพระที่เก่งกล้าวิชาอาคมด้วยกันหลายแขนง โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาคงกระพัน และวิชาแก้คุณไสย

ปี พ.ศ.2519 หลวงพ่อนารถ พร้อมลูกศิษย์ขุดพบตะกั่วเก่า (ตะกั่วพันปี) จาก อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนหลายตัน หลอมเทเป็นก้อนขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับฝาขนมครก มีสนิมแดงเกาะอยู่ทั่วก้อนตะกั่ว เป็นตะกั่วชนิดเดียวกันกับพระท่ากระดาน กรุเก่า

เข้าใจว่า น่าจะเป็นตะกั่วที่หลอมเทไว้ทำพระท่ากระดานในสมัยโบราณยุคอู่ทอง ด้วยสถานที่ขุดพบ เป็นบริเวณเดียวกับที่พบกรุพระท่ากระดาน และภายในกรุที่ขุดพบพระท่ากระดาน ยังพบก้อนตะกั่ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน ลงอักขระขอมโบราณ กำกับไว้บนก้อนตะกั่วบรรจุไว้ด้วยกันอีกจำนวนหนึ่ง

พ.ศ.2519-2520 นำตะกั่วเก่าที่ขุดได้ มาจัดสร้างพระเครื่องออกจำหน่าย เพื่อเป็นทุนในการสร้างโบสถ์ และอีกส่วนหนึ่งจัดเป็นทุนให้ชาวบ้านนำไปบูรณะวัดในเขต อ.ศรีสวัสดิ์

ทั้งนี้ การสร้างพระเครื่องนั้น จะใช้ตะกั่วเก่ามารีด แล้วกดเป็นพิมพ์พระ (ไม่มีการหลอมตะกั่ว) ส่วนใหญ่เป็นรูปพิมพ์เลียนแบบพระท่ากระดาน ยุคเก่า พิมพ์รูปแบบอื่นมีบ้าง แต่ไม่มากนัก

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2498 เป็นพระอุปัชฌาย์

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2507 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน

พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูโสภณประชานารถ

พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

มรณภาพโดยอาการสงบจากโรคชรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2530

สิริอายุ 86 ปี พรรษา 57 •





เหรียญเสมาหลวงปู่รอด

เหรียญเสมาเนื้อฝาบาตร หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน พระเกจิชื่อดังสมุทรสาคร

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2566

 
“หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ” วัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าวิทยาคมอีกรูป

สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเอาไว้หลายรุ่น เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น

ล้วนได้รับความเลื่อมใส นิยมนำไปคล้องคอติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญเสมา พ.ศ.2482 เนื้อฝาบาตรช้อนส้อม ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พระครูฐานานุกรมในปี พ.ศ.2482 อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นผู้รับมอบหมายและดำเนินการสร้าง

ลักษณะเป็นเหรียญเสมา มีลวดลายกนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่ ด้านล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า “พระครูรอด”

ด้านหลังเป็นอักขระภาษาขอมสี่แถว อักขระภาษามอญหนึ่งแถว อ่านได้ว่า “อะระหัง สัยยะ ยาวะเท อุเย อะเย เวี่ยเปี๊ยเที่ยจะ”

กล่าวขานกันว่าผู้ใดพกพาอาราธนาติดตัวว่าจะรอดพ้นจากภัยพิบัตินานัปการ ดลบันดาลให้มีความสุข ความเจริญ อายุยืนยาวนาน

ปัจจุบันนับเป็นที่นิยมและหายาก




หลวงปู่รอด พุทธสัณโฑ

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน พ.ศ.2406 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 บิดา-มารดา ชื่อ นายทองดี และนางเกษม บุญส่ง มีเชื้อสายรามัญ

ช่วงเยาว์วัย บิดา-มารดา นำมาฝากหลวงปู่แค เจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ให้เลี้ยงดู เนื่องจากเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก อ่อนแอ เป็นเด็กขี้โรค จึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมหลวงปู่แค ตั้งแต่นั้นมาก็หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หลวงปู่แคจึงตั้งชื่อให้ว่า “รอด”

อายุ 12 ปี เข้าพิธีบรรพชา ตรงกับปี พ.ศ.2418 ศึกษาพระปริยัติธรรม พร้อมทั้งศึกษาวิชาอาคม และวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่แค

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระอธิการแค เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แจ้ง วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปั้น วัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสัณโฑ”

เรียนและฝึกวิปัสสนารวมถึงพุทธาคมจากพระอุปัชฌาย์ หลังหลวงปู่แคมรณภาพลง ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและคณะสงฆ์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

สําหรับวัดบางน้ำวน ตั้งอยู่เลขที่ 81 หมู่ที่ 4 ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 54 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ได้รับหนังสือรับรองสภาพวัด เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2528 โดยกรมการศาสนา

ตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายธนบุรี-ปากท่อ ก.ม.ที่ 40 จากกรุงเทพฯ อยู่ทางซ้ายมือ มีถนนเชื่อมต่อถึงวัดระยะทางประมาณ 1,600 เมตร บริเวณหน้าวัดติดกับคลอง ซึ่งเป็นแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน

วัดแห่งนี้ เป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2357 สร้างขึ้นโดยการนำของสามเณรและชาวมอญ ที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ตำบลนี้ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสุนทาน เป็นแหล่งบวชเรียนและศึกษาวิชาความรู้ของบุตรหลานชาวมอญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยพระอาจารย์แค เมื่อปี พ.ศ.2407 และผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน

ในอดีตวัดบางน้ำวน บริเวณหน้าวัดจะมีน้ำวนที่เชี่ยวกราก ผู้ใดที่ไม่รู้จักร่องน้ำในการเดินเรือ เรือจมกันมาหลายต่อหลายลำแล้ว จนกลายเป็นที่มาของชื่อวัด

ด้วยวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน ต่างพากันมาช่วยเป็นกำลังในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรือง เป็นลำดับ ถึงความเจริญจะเข้าสู่วัดบางน้ำวนแล้ว ท่านก็ยังมีเมตตาช่วยเหลือพัฒนาวัดต่างๆ ด้วย เช่น วัดบางกระเจ้า วัดบางสีคต วัดนาโคก วัดบางลำพู วัดบางจะเกร็ง วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ

นอกจากหลวงปู่รอดช่วยพัฒนาวัดวาอารามอื่นๆ แล้ว ยังช่วยพัฒนาในด้านการศึกษา จัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม และยังสร้างโรงเรียนประชาบาลไว้ให้กุลบุตร กุลธิดาได้ศึกษาเล่าเรียนกัน โดยมีชื่อของโรงเรียนว่ารอดพิทยาคม เพื่อเป็นอนุสรณ์

ออกธุดงค์ไปยังประเทศพม่าเป็นเวลาหลายปี ผ่านไปเมืองเมาะลำเลิง ซึ่งเป็นตระกูลกำเนิดปู่ย่าตายาย จากนั้นผ่านเมืองย่างกุ้ง ข้ามมาระนอง เข้าเมืองกาญจน์

ระหว่างออกธุดงค์นั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเมตตามหานิยม วิชาคงกระพันชาตรี วิชาทำผ้ายันต์บังไพร วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก วิชาเสกของหนักให้เบา วิชาแพทย์แผนโบราณ จากคณาจารย์ชาวมอญ พม่า กะเหรี่ยง

อีกทั้งสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นพิเศษ จึงจดจำตำรายาทุกชนิดได้อย่างแม่นยำ

เมื่อเข้าสู่วัยชรา ชาวบ้านจึงขอร้องให้โปรดญาติโยมประจำที่วัดและได้ตั้งกฎระเบียบทำวัตรปฏิบัติธรรมของวัดบางน้ำวน คือ จากสองทุ่มถึงสี่ทุ่มทุกคืน จนเป็นกิจวัตรของวัดบางน้ำวน และมีการตีกลอง ระฆังย่ำค่ำจนถึงปัจจุบัน

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2437 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน

พ.ศ.2447 เป็นเจ้าอธิการ (เจ้าคณะตำบล)

พ.ศ.2452 เป็นพระอุปัชฌาย์สามัญ

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2482 เป็นพระครูชั้นประทวน และพระครูกรรมการศึกษา

มรณภาพเมื่อเวลา 00.20 น.วันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ.2487

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61 •

 

4
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #185 เมื่อ: 17 เมษายน 2567 18:06:38 »


เหรียญหลวงพ่อหรุ่น

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2460 หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก พระเกจิดัง สมุทรสงคราม

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2566


กาลสมัยผ่านมาลุ่มน้ำแม่กลองถือเป็นแหล่งสรรพวิชา มากด้วยพระเกจิอาจารย์ นับเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่เคยขาดหาย

แต่ถ้าให้กล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ที่เป็นจุดหมายปลายทางของพระธุดงค์สมัยก่อน วัดช้างเผือก ถือเป็นแหล่งรวมพระธุดงค์มากมายหลายรูป

เนื่องจากมีพระเกจิอาจารย์ผู้มากวิชาโดดเด่น ด้านการทำน้ำมนต์ และวิชามหาอุตม์ นั่นก็คือ พระอธิการรุฬ หรือหลวงพ่อหรุ่นนั่นเอง

“หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร” วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

ช่วงบั้นปลายชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกและแจกให้ผู้ที่มาร่วมบุญ ทุกรุ่นล้วนแต่ได้รับความนิยม

“เหรียญรุ่นแรก” ได้รับความนิยมอย่างสูงไปด้วย

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เพื่อแจกในงานศพของท่านเอง มีพระเกจิชื่อดังสมัยนั้นปลุกเสกเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกระพ้อม, หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต วัดช่องลม, หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย, หลวงพ่อช่วง อินทโชติ วัดปากน้ำ, หลวงพ่อใจ อินทสุวัณโณ วัดเสด็จ และลูกศิษย์อีกเป็นจำนวนมาก

มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง สร้างน้อยมาก

ด้านหน้า ขอบเหรียญมีลายกนก ตรงกลางมีรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ มีอาสนะรองรับ ระบุปี “พ.ศ.๒๔๖๐”

ด้านหลัง ด้านบนสุด เขียนคำว่า “วัดช้าง” ถัดลงมาเป็นยันต์ ความว่า “อะระหัง อะสัง วิสุโล ปุสะพุภะ”

แม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ก็หายาก





หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ที่บ้านไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายรุ่ง มารดาชื่อ นางล้อม มีอาชีพทำนาและค้าขาย

ครอบครัวฝ่ายมารดาเป็นชาวบางช้าง จ.สมุทรสงคราม บ้านใกล้กับวัดบางจาก เป็นญาติกับหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก ศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

ต่อมาบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอม ที่สำนักวัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่เป็นครู เรียนจนจบอ่านออกเขียนได้

พ.ศ.2492 อายุครบบวช จึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่ วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี กับพระอาจารย์อ่วม วัดไทร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า พุทธสโร

ศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องบทสวดมนต์จนจบ จำพระปาฏิโมกข์แม่นยำ ซึ่งถือว่าหาอาจารย์ที่แคล่วคล่องในระดับนี้ได้ยากมากสมัยนั้น

นอกจากนี้ ยังสนใจเรื่องธุดงควัตร จึงไปศึกษากับพระอาจารย์แสวง วัดบางปลาม้า ออกธุดงค์ไปหลายแห่งฝึกพลังจิตจนแก่กล้า

พรรษาที่ 6 เดินทางมาในงานศพนางแจ่ม ซึ่งเป็นยายที่บ้านใกล้วัดบางจาก จึงได้รู้จักกับพระอุปัชฌาย์เอี่ยม วัดบางจาก

หลวงพ่อเอี่ยม จึงชวนให้มาอยู่ด้วยกัน ต่อมาบิดาเสียชีวิตลง มารดาจึงชวนกันอพยพกลับมาอยู่ที่บางจาก ก็เลยมาจำพรรษาที่วัดบางจาก

ชอบออกธุดงค์แบกกลดเข้าป่าเป็นประจำ ได้ศึกษาพุทธาคม สมุนไพร แพทย์แผนโบราณ จากพระอาจารย์ในป่าลึก ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายจนเป็นที่พึ่งของภิกษุ สามเณร และชาวบ้านในแถบนั้น

ต่อมาวัดช้างเผือกว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาส ด้วยวัดช้างเผือกในขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก พอมาอยู่ที่วัดช้างเผือก ก็เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดเรื่อยมา มีพระและชาวบ้านมาขอเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยเป็นจำนวนมาก

เกิดความนิยมในหมู่พระสงฆ์ที่ออกธุดงค์ทั้งหลายว่า ต้องมาปักกลดที่วัดช้างเผือกเพื่อศึกษาวิชาด้วย จนทำให้พื้นที่ของวัดแน่นขนัดไปด้วยกลดจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านมาให้รักษาโรคแทบทุกวัน คนถูกผีเข้าเจ้าสิงก็มาให้รดน้ำมนต์กันจนแน่นวัด จนเป็นที่รู้จักกันทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง

ได้รับการถ่ายทอดวิชาทำผงวิเศษ 108 จากหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก

หลวงพ่อหรุ่นเป็นพระที่มีเมตตาไม่ปิดบังวิชา ใครมาขอเรียนด้วยก็ยินดีสอนให้ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อหรีด วัดเพลง, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี เป็นต้น

มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.2458 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 •




เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย


เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อบ่าย

เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม ยอดพระเกจิลุ่มแม่กลอง

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566


พระเกจิอาจารย์สายลุ่มน้ำแม่กลอง อาวุโสรองจากหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย คือ “หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต” วัดช่องลม ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม วัตถุมงคลได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เป็นทั้งน้องและศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมากกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิชื่อดังในยุคเดียวกัน

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด ล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาอย่างสูง อาทิ เหรียญรูปเหมือน และเครื่องรางของขลังต่างๆ

แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่เหรียญหล่อ สร้างปี พ.ศ.2460 คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรโล้น”

เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น หลวงพ่อบ่าย 
ลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง องค์พระมีตัวอุ แทนเกศเปลวเพลิง จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา องค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษร อ่านว่า “วัจชังลม”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวอุ ใต้ตัวอุมีการผูกยันต์หัวใจพญาเสือโคร่ง “ภูภิภุภะ” และอักขระยันต์อื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีอีกเหรียญหล่อโบราณที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “เหรียญหล่อโบราณพิมพ์เศียรแหลม”

เหรียญดังกล่าว สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2460 เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นรูปใบสาเก หล่อแบบเป้าประกบหน้า-หลัง มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ห่มจีวรเฉียงพาดสังฆาฏิ มีอาสนะรอง มีรูปพญานาคอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระ ใต้พญานาค มีอักขระขอม ส่วนด้านล่างใต้อาสนะเป็นตัวอักษรอ่านว่า “วจชง”

ด้านหลัง บนสุดมีอักขระขอมตัวนะ ใต้ตัวนะมีพระคาถา 4 แถวเรียงลงมา อ่านว่า “กิ ริ มิ ทิ” “กุ รุ มุ ทุ” “เก เร เม เท” “กึ รึ มึ ทึ” ส่วนด้านล่วงสุดเป็นตัวอักษร “อ”

เป็นอีกวัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธาและเชื่อมั่นในพุทธาคม





หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต

ชีวประวัติ หลวงพ่อบ่าย ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานน้อยมาก แต่เท่าที่สืบค้นมาได้ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับพุทธศักราช 2404 ที่บ้านครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

เป็นเด็กกำพร้าซึ่งพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี พี่ชายหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่ออายุ 10 ปี ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจากพระอาจารย์คล้ำ วัดสวนทุ่ง ก่อนบรรพชาเป็นสามเณร

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ มีหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พุก วัดสวนทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ เป็นอนุสาวนาจารย์

อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี

ด้านการศึกษาวิทยาคมนั้นเรียนกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ อีกทั้งยังได้เรียนเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม พร้อมกับเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานและพุทธาคมควบคู่กันไปด้วย ท่านจึงมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อแก้วเป็นอย่างยิ่ง

ปี พ.ศ.2437 ไปธุดงค์ที่จังหวัดสระบุรี เพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉาย โดยมีพระภิกษุติดตามไปด้วย 4 รูป คือ อาจารย์ไปล่ พระยา พระพลอย และโยมอุปัฏฐากหนึ่งคน ออกเดินทางในราวเดือน 12

เมื่อไปถึงและนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉายแล้ว พักแรมอยู่ประมาณเดือนเศษ ก่อนเดินทางต่อไปที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในราวเดือน 4 กลางเดือน พักแรมอยู่ที่พระแท่นดงรัง 7 วัน

ครั้นเสร็จภารกิจแล้ว ก็เดินกลับวัดช่องลม การไปธุดงค์ในครั้งนี้เป็นเวลา 4 เดือนเศษ

ขณะนั้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม แทนหลวงปู่แก้ว ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ในปี พ.ศ.2445

พ.ศ.2470 จึงย้ายที่ตั้งวัดใหม่ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งวัดช่องลม เดิมติดโค้งน้ำของแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดน้ำกัดเซาะตลิ่งพังไปทุกปี จนท้ายที่สุดน้ำกัดเซาะพังจวนจะถึงกุฏิ จึงย้ายมาตั้งในพื้นที่ปัจจุบัน

การก่อสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ นั้นไม่เคยบอกใคร ไม่เคยเรี่ยไรนอกวัด เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่าจะทำอะไร ก็จะมีผู้คนจำนวนมากมายมาร่วมทำบุญ บางรายถวายอิฐบ้าง บางรายถวายไม้บ้าง บางรายถวายกระเบื้องบ้าง บางรายไม่มีทรัพย์ก็เอาแรง บางรายถวายปัจจัยบ้าง สุดแต่ว่าใครมีอะไรก็นำมาตามกำลังศรัทธา

มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธฉาย (ถ้ำไห) ซึ่งรับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ด้วยการบอกบุญกับชาวบ้านขอไหต่างๆ และก่อสร้างโดยพระสงฆ์ ขอร้องให้จางวางสอน (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง และสร้างแพะไว้หน้าถ้ำ 1 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงพ่อบ่าย

ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลก พวกโจรมิจฉาชีพตัดหัวแพะ และถอดเอาตรีที่ปักยอดเจดีย์ไปเกือบหมด เพื่อหวังทรัพย์ จึงเหลืออยู่แต่ยอดบนๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ถือเป็นพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมเข้มขลังในยุคนั้น ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ เมื่อปี พ.ศ.2481 และงานพุทธาภิเษกใหญ่แทบทุกงาน

วัตถุมงคลที่จัดสร้างล้วนแต่มีพุทธคุณโดดเด่น เป็นที่ปรารถนา ทั้งประเภทเครื่องรางของขลัง เหรียญหล่อโบราณ พระพิมพ์ พระผง ฯลฯ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2485

สิริอายุ 81 ปี พรรษา 60 •


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 8 9 [10]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.334 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 20:11:49