[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:58:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวเมืองทหาร หลังวันรัฐประหาร (เมืองลพบุรี)  (อ่าน 3407 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2557 11:27:28 »

.


จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีของไทย คนที่ ๓


เที่ยวเมืองทหาร หลังวันรัฐประหาร
(เมืองลพบุรี)

มาเที่ยวเมืองทหาร หลังวันรัฐประหาร เข้าชมกรมทหาร ภายใต้กฎอัยการศึก"ดูเหมือนจะเป็นคำเชิญชวนที่สร้างความสนุกสนานให้กับทัวร์ศิลปวัฒนธรรม" คิดแปลกแตกต่างกับจอมพลป. พิบูลสงคราม" ที่ทางมติชนอคาเดมี่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ได้เป็นอย่างดี

ห่างลี้หนีจากสถานการณ์ร้อนในกรุงเทพไปไม่กี่ชั่วโมง การเดินทางวันนี้เริ่มต้นด้วยการเท้าความโดย รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ซึ่งบอกเล่าว่า ทำไมเราจึงต้องเดินทางกันมาที่จังหวัดลพบุรี นั่นก็เพราะ พื้นเพของ จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นชาวจังหวัดลพบุรี จึงมีความพยายามที่จะสร้างความเจริญให้กับบ้านเกิดเมืองนอน ขณะที่ตนเองอยู่ในอำนาจการบริหารประเทศ ปัจจุบัน ลพบุรี จึงกลายเป็นจังหวัดที่เรียกได้ว่า มีความสมบูรณ์ทางสถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎรมากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของลพบุรีฝั่งเมืองใหม่ที่จอมพลป.สร้างขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนบ้านแปลงเมืองอีกยุคหนึ่งก็ว่าได้ เพราะใจความสำคัญที่คณะราษฎรต้องการนำเสนอ ก็คือความเป็นสมัยใหม่เมื่อเรานำพาบ้านเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งจะลืมไม่ได้เลยว่า จอมพลป. เอง ก็เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของคณะราษฎรฝ่ายทหารที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

รถบัสพาผู้สนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์ เดินทางไปยังศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี เพื่อเข้าชมอาคารสถานที่และตึกที่เป็นศิลปะอาร์ทเด็คโค (Art Deco) คือ ศิลปะนานาชาติที่มีผลต่อการออกแบบตกแต่งในการผสมผสานทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส อันเป็นสิ่งที่จอมพลป. พยายามนำเสนอนิยามของความเป็นสมัยใหม่ในโลกของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบโครงสร้างสถาปัตยกรรมให้ดีแล้วจะพบว่าสิ่งนั้นหาใช่ศิลปะแบบฟาสซิสต์อย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมคณะราษฎรอย่างอาจารย์ชาตรีบอกเล่ากับผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ว่า

"คือตัวจอมพลป.เรียกได้ว่า เป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่มีสีสันที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งถูกอธิบายทั้งในแง่ลบ คือ เป็นทหารเผด็จการที่นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ กับฝ่ายที่แพ้สงครามด้วย แล้วก็มีการปฏิวัติวัฒนธรรมในเชิงลบ ที่ดูตลกแล้วก็ดูจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรที่ดูเป็นไทยเลย นี่คือภาพลักษณ์เชิงลบที่จอมพลป.จะได้รับมาโดยตลอด ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือ เราต้องไม่ลืมว่าจอมพลป. เป็นหนึ่งในคณะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่นำประเทศสยามเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย โดยตัวจอมพลป. เองก็จะมีภาพลักษณ์ ๒ ด้าน ที่เดินเคียงคู่กันมาอยู่เสมอโดยตลอดประวัติศาสตร์ ทั้งด้านที่เป็นเผด็จการและประชาธิปไตย

"หลังจากที่จอมพลป.หมดอำนาจไป ภายหลังรัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งในทางประวัติศาสตร์ถือว่าคณะราษฎรและจอมพลป. ได้หมดบทบาททางการเมืองไปโดยสมบูรณ์แล้ว ณ จุดนี้เองที่เกิดกระบวนการในกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ ชนชั้นกลาง ที่มีหัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย ที่มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและภาพลักษณ์ของจอมพลป. ในฐานะของเผด็จการอย่างหนึ่ง และผู้ปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ในเชิงตลก กลุ่มคนเหล่านี้มีแกนนำเป็นบุคคลสำคัญ เช่น หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งได้เปิดหนังสือพิมพ์สยามรัฐขึ้นมา และมีการเขียนคอลัมน์โจมตีและสร้างภาพเผด็จการให้จอมพลป. และในกลุ่มที่เป็นสถาปนิก เช่น ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ก็จะมองว่าสถาปัตยกรรมสมัยจอมพลป. ถูกสร้างขึ้นมาจากศิลปะแนวฟาสซิสต์ (Fascist Art) และ สถาปัตยกรรมแบบฟาสซิสต์ (Fascist Architecture) ซึ่งมีความพยายามที่จะดิสเครดิต หรือการลดทอน จอมพลป. ให้มีภาพลักษณ์เชิงเดี่ยว คือ เป็นเผด็จการเท่านั้น แต่อีกแง่หนึ่งก็เป็นการสะท้อนมุมมองมนุษย์

"ปัจจุบันจึงมีการศึกษาอัตชีวประวัติของจอมพลป.และมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น จอมพลป.ให้ความสำคัญกับงานทางด้านวัฒนธรรมมาก เพราะว่าท่านสนิทสนมกับพลตรีตัวหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นเสมือนกุนซือทางด้านวัฒนธรรมของตัวจอมพลป. โดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวไว้ในปาฐกถาเรื่อง ′มนุสสปฏิวัติ′ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า การปฏิวัติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการปฏิวัติโดยใช้กำลังทางทหาร เป็นการคุมคนด้วยการใช้กำลังภายใต้ความกลัว ซึ่งไม่มีความยั่งยืน แต่ว่าการปฏิวัติที่แท้จริงที่จะนำคนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ต้องมีการทำงานทางด้านความคิดแล้วก็วัฒนธรรม ถึงจะทำให้การปฏิวัตินั้นยั่งยืน ซึ่งตัวหลวงวิจิตรวาทการเองก็จะอธิบายแจกแจงโดยละเอียดว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้น ประกอบด้วยด้านไหนบ้าง เช่น ด้านการศึกษา ด้านการพลศึกษา และ ด้านศิลปวัฒนธรรม แนวคิดตรงนี้ จากเอกสารต่างๆ ที่ได้ศึกษามา ก็ค่อนข้างชัดเจนว่า จะเห็นได้ว่ามีการปฏิวัติวัฒนธรรมหลายๆ ด้าน เช่น มีการออกรัฐนิยม มีการปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายภาษาและวิธีคิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้การปฏิวัติทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความยั่งยืนโดยที่ออกนอกกระบอกปืนไป"



ตึกพิบูลสงคราม จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ใช้งบประมาณ ๒,๔๒๕,๐๐๐ บาท
เพื่อใช้ฝึกศึกษาให้กับผู้ตรวจการณ์หน้าในหลักสูตรของโรงเรียนทหารปืนใหญ่
รวมถึงใช้เป็นที่รับรองบุคคลสำคัญของชาติ และผู้บังคับบัญชาระดับสูง และแขกผู้มีเกียรติ
ที่มาเยี่ยมกิจการศูนย์การทหารปืนใหญ่ และที่สำคัญเคยใช้เป็นสถานที่ประทับ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ถึง ๓ ครั้ง




โรงพยาบาลอานันทมหิดล โรงพยาบาลทหารแห่งแรกของจังหวัดลพบุรี
สร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหาอาการเจ็บป่วยของค่ายทหาร ครอบครัวและประชาชนในบริเวณค่ายทหาร
ภายในโรงพยาบาลประกอบด้วย ตึกอานันทมหิดล ซึ่งภายในมีห้องจัดแสดงพระราชประวัติของรัชกาลที่ ๘

เมื่อเดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี แต่เดิมเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดลพบุรี ชื่อว่า "โรงเรียนลวะศรี" ซึ่งจอมพลป. พิบูลสงครามได้สร้างขึ้นเพื่อยกระดับการศึกษาของผู้หญิงให้ทัดเทียมเหมือนนานาประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่ได้มาร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ "เมืองลพบุรีสมัยจอมพลป." โดย อาจารย์ภูธร ภูมะธน ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ด้านศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี

อ.ภูธร แบ่งปันความรู้ด้านความเป็นเมืองลพบุรี กับจอมพลป.ว่า

"เมืองลพบุรี เป็นศูนย์กลางทางทหารที่จอมพลป.มาต่อยอด เนื่องจากเมืองลพบุรี เป็นศูนย์กลางของประเทศในสมัยก่อน เพราะสามารถเดินทางออกไปเหนือ หรือทางตะวันออกเฉียงเหนือก็สะดวกโดยมีการสร้างถนนลพบุรีสุรนารายณ์ขึ้นมา โดยลักษณะทางสถาปัตยกรรม และการทำผังเมืองตามแนวความคิดของคณะราษฎร จะถูกสร้างให้สอดคล้อง
๑. รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
๒. รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก
๓. บำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
๔. ต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
๕. ให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
๖.ให้การศึกษาแก่ราษฎร จนเรียกได้ว่าสมัยของจอมพลป.เป็นนักการเมืองที่สร้างความเจริญให้กับความเป็นเมืองได้มากที่สุด

"จอมพลป.ก็เหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ถ้าจะพูดกันจริงๆ คือ จอมพลป.ก็อยู่ในอำนาจราว ๒๐ ปี การกระทำของจอมพลป.ก็มีทั้งเชิงบวกในแง่ประชาธิปไตย แต่ก็มีการกระทำหลายๆ อย่างเป็นเชิงลบ ที่เป็นเผด็จการ เพราะฉะนั้น ๒ สิ่งนี้คู่ขนานกันไปกับประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถแยกออกได้ว่าการกระทำทั้งหมดนี้เป็นมุมมองเชิงเดี่ยว ว่าทั้งหมดนี้คือเผด็จการหรือประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว เราต้องมองจอมพลป.เป็นมนูษย์ แต่ปัจจุบันเราไม่ค่อยมองสิ่งต่างๆ เป็นมนุษย์ จะมองเพียงแต่ขาวหมด ดำหมด ดีหมด หรือ เลวหมด ซึ่งลักษณะแบบนั้นมันไม่ได้มีอยู่จริงในตัวมนุษย์ปกติ"

อาจารย์ชาตรีกล่าวทิ้งท้ายและว่า"สิ่งที่ยืนยันได้แน่นอนจากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือว่า จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายทหารหัวสมัยใหม่ ที่ต้องการจะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมู้ดและท่าทีแบบนี้เราจะไม่เห็นในทหารไทยในยุคหลังๆ มา ซึ่งค่อนข้างจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยม ตรงนี้ผมมองว่าจอมพลป.ถือเป็นโมเดลที่น่าสนใจมากชุดหนึ่ง ที่จะศึกษากลุ่มทหารสมัยใหม่ ท่ามกลางความคิดที่แตกต่างหลากหลายในสังคม"








ข้อมูลและภาพ : มติชนออนไลน์ (สุขใจข่าวสด เว็บไซต์ "สุขใจดอทคอม")


    
เมืองลพบุรี (สมัยโบราณเรียกว่า "เมืองละโว้") เป็นเมืองที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญ
ทางวัฒนธรรมยาวนานหลายพันปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลพบุรีเคยเป็นเมืองขึ้นของมอญและเขมร
จวบจนต้นพุทธศตวรรษ ในสมัยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา ไทยจึงเริ่มมีอำนาจเหนือดินแดนแห่งนี้

ปัจจุบัน ยังปรากฎหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญอยู่มากมาย ทั้งโบราณสถานในยุคขอมเรืองอำนาจ
สมัยทวาราวดี และสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอด พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ฯลฯ

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรี  
ท่านได้ทำการวางผังเมืองลพบุรีขึ้นใหม่ ถนนหนทางกว้างขวาง ผังแนวก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
ถูกกำหนดจากจุดศูนย์กลางของวงเวียนจำนวน ๓ แห่ง และวงเวียนนี้ช่วยแก้ปัญหาการจราจร
รถติดในย่านตัวเมืองได้เป็นอย่างดี.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กรกฎาคม 2557 11:03:16 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โบราณสถานพะเนียดคล้องช้าง เมืองลพบุรี
สยาม ในอดีต
Kimleng 0 223 กระทู้ล่าสุด 27 มีนาคม 2566 16:39:47
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.38 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 19:46:28