[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 14:48:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: GUGLIELMO MARCONI ผู้ให้กำเนิดวิทยุโทรเลข  (อ่าน 1706 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.153 Chrome 35.0.1916.153


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557 18:54:40 »

GUGLIELMO MARCONI ผู้ให้กำเนิดวิทยุโทรเลข

เมื่อพูดถึง  “วิทยุโทรเลข”   หลายคนอาจนึกถึงเครื่องมือสื่อสารที่เป็น  “โบราณวัตถุ” อย่างหนึ่งไปเสียแล้ว   เพราะในยุคปัจจุบันนี้  เทคโนโลยีทางการติดต่อสื่อสารก้าวล้ำไปมาก   (บางครั้งอาจมากเกินไปด้วยซ้ำ)  แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องมือที่เราเรียกกันว่า “วิทยุโทรเลข”   ในยุคสมัยก่อนนั้นเทียบได้กับเครื่องมือสื่อสารอย่าง  iphone  ipad  ในยุคปัจจุบันนี้เลยก็ว่าได้  แถมยังเป็นอุปกรณ์ช่วยสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย



กูกลิเอลโม   มาร์โคนี   (Guglielmo   Marconi) เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1874  มาร์โคนีเป็นผู้คิดค้นและให้กำเนิด “วิทยุโทรเลข”  และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี  ค.ศ.1907

ว่ากันว่า ผลงานทั้งหลายที่ถูกคิดค้นขึ้นนั้น  ต่างเกิดจาก "ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ"…

       สำหรับ มาร์โคนี แล้วก็เช่นกัน  เพราะเขาได้รับแรงบันดาลใจจาก ตำราและทฤษฏีของ เจมส์ คลาร์ก แมกเวล  ซึ่งว่าด้วยเรื่องของไฟฟ้าและแม่เหล็ก  และแรงบันดาลใจที่สำคัญจากการค้นพบ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ของ ไฮน์ริช เฮิรตซ์     แรงบันดาลใจเหล่านี้ทำให้มาร์โคนี เกิดความคิดสร้างสรรค์จนได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ชิ้นแรกขึ้นมา  นั่นก็คือ  “กริ่งไฟฟ้าไร้สาย”

       มาร์โคนีได้นำกริ่งไฟฟ้าไร้สายนี้ไปทดลองที่บ้านของเขาเอง  โดยให้ตัวกริ่งอยู่ชั้นล่าง  ส่วนสวิตซ์กริ่งอยู่ชั้นบนของบ้าน  เมื่อทำการกดสวิตซ์พบว่า กริ่งซึ่งอยู่ชั้นล่างของบ้านมีดังขึ้น   ทั้งที่ไม่มีสายเชื่อมโยงระหว่างตัวกริ่งกับสวิตซ์  ทำให้มาร์โคนี้ภาคภูมิใจกับผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างมาก

       จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากกริ่งไฟฟ้าไร้สายนี้  ทำให้มาร์โคนีไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น  เขาเริ่มประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขแบบไร้สาย  หรือที่เราเรียกกันว่า  “วิทยุโทรเลข”  โดยใช้บ้านของเขาเป็นห้องทดลองส่งสัญญาณข้ามผ่านกันไปมา  จนกระทั่งพัฒนาระยะการส่งสัญญาณไปเรื่อย ๆ จนสามารถส่งวิทยุโทรเลขในระยะ 1 ไมล์ได้  และสามารถส่งสัญญาณข้ามผ่านภูเขาสูงได้เป็นผลสำเร็จอีกด้วย


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.153 Chrome 35.0.1916.153


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557 18:56:38 »



       แต่ใช่ว่าความสำเร็จในครั้งนี้จะไร้อุปสรรค  เพราะเมื่อเขาเสนอผลงานวิทยุโทรเลขนี้ให้แก่ทางการอิตาลี  แต่กลับไม่ได้รับความสนใจ  จนกระทั่งมาร์โคนีตัองเดินทางไปเสนอผลงานชิ้นนี้ต่อทางการอังกฤษ  และได้ใช้วิทยุโทรเลขส่งสัญญาณผ่านช่องแคบอังกฤษได้สำเร็จ 

       นอกจากนี้  ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ประทับใจในผลงานของมาร์โคนี  เพราะวิทยุโทรเลขสามารถส่งสัญญาณบอกคนเดินเรือถึงภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้  ซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อยุคสมัยที่การสื่อสารยังไม่ทันสมัยเช่นปัจจุบัน

       เมื่อมาร์โคนีเริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น  ทางการอิตาลีจึงได้เชิญมาร์โคนีกลับประเทศและเข้าร่วมงานกับทางรัฐบาลอิตาลี  ภายหลังต่อมา  มาร์โคนีจึงเดินทางไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งและก่อตั้ง บริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนี (Marconi's Wireless Telegraph Company Limit)​

       วิทยุโทรเลข ของมาร์โคนี  อาศัยการส่งผ่านคลื่นผ่านทางชั้นบรรยากาศ  ซึ่งชั้นบรรยากาศคืออากาศที่หุ้มโลกของเราอยู่โดยรอบ  ขอบเขตตั้งแต่ระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตร  ชั้นบรรยากาศนี้สามารถแบ่งได้หลายประเภท  ตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  แบ่งตามระดับความสูง  อุณหภูมิ  หรือชนิดของก๊าซ   ซึ่งในบรรยากาศ ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (IONOSPHERE)   เป็นช่วงบรรยากาศที่ระดับความสูง 80-500 กิโลเมตรนั้น จะมีไอออนหรืออนุภาคอิสระที่มีประจุไฟฟ้าบวกและลบที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้   ทำให้สามารถรับและส่งสัญญาณไปยังสถานีรับอื่นที่มีระยะห่างออกไปไกล ๆ ได้นั่นเอง

       ต่อมา เรจินัลด์ เฟสเซนเด นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน สามารถแปลงสัญญาณวิทยุโทรเลขให้เปลี่ยนเป็นเสียงได้สำเร็จ และมีการทดลองส่งสัญญาณเสียงครั้งแรกของโลกในวันที่  24 ธันวาคม ค.ศ.1906

       ประวัติการค้นพบ “วิทยุโทรเลข”  ของ กูกลิเอลโม   มาร์โคนี นี้ นอกจากจะเริ่มต้นจุดประกายการกำเนิดวิทยุแล้ว  ยังเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่มาจากความคิดสร้างสรรค์และความเพียรพยายาม  ในจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นไปได้  เปรียบเหมือนดังคำกล่าวที่ว่า  “อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ และอีก 99 เปอร์เซ็นต์คือความอุตสาหะ"




ที่มา: vcharkarn.com/varticle/54093
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.153 Chrome 35.0.1916.153


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557 18:57:40 »



   


   






บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.242 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มิถุนายน 2566 08:19:13