[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 17:54:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'โสมาลี มัม' แม่พระและคนลวงโลก  (อ่าน 1481 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
วันศุกร์ นัดทานข้าว
นักโพสท์ระดับ 6
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 79


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.153 Chrome 35.0.1916.153


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2557 01:03:13 »




'โสมาลี มัม' แม่พระและคนลวงโลก

                         หากพูดถึงนักเคลื่อนไหวหญิงโดดเด่นที่สุดจากเอเชีย ..โสมาลี มัม น่าจะขึ้นมาเป็นชื่อแรกๆ  สตรีกัมพูชาผู้พลิกชีวิตสุดรันทดจากอดีตโสเภณีเด็ก มาเป็นผู้ให้ชีวิตแก่เหยื่อค้าแรงงานทางเพศเด็กหญิงและผู้หญิงในบ้านเกิดและประเทศเพื่อนบ้าน
 
                         เธอได้รับรางวัลยกย่องจากหลากหลายสถาบัน รวมถึงรางวัลด้านการต่อต้านค้ามนุษย์จากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ  เป็นหนึ่งในสตรีแห่งปีของนิตยสาร "เกลเมอร์" เมื่อปี 2549 ติดทำเนียบฮีโร เอเชีย ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นในปีเดียวกัน และอีกสามปีหลังจากนั้น ก็ติดอันดับบุคคลทรงอิทธิพล 100 คนของนิตยสารไทม์       
 
                         กว่าจะมาเป็นแม่พระและแม่เหล็กระดมทุนให้องค์กรปฏิบัติการเพื่อสตรีในสถานการณ์คับขัน ที่มีชื่อย่อตามภาษาฝรั่งเศส  AFESIP ให้ความช่วยเหลือเด็กหญิงและสตรีรอดพ้นจากการถูกบังคับค้าประเวณี และมูลนิธิ"โสมาลี มัม"  เธอต้องผ่านอะไรมามากมาย จะว่าเป็นนรกบนดินก็ไม่ผิดนัก ตามข้อมูลจากหนังสือชีวประวัติ The Road of Lost Innocence  ที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี  2548 เป็นหนังสือขายดีและแปลออกมาหลายภาษา
 
                         ในโลกออนไลน์ โสมาลี มัม มีผู้ตามทวิตเตอร์กว่า 4 แสนคน
 
                         เธอเดินทางกระทบไหล่คนดังไม่ได้หยุดหย่อน มีภาพถ่ายกับราชวงศ์ นักธุรกิจใหญ่ จนถึงดาราภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด
 
                         โสมาลี มัม ช่วยระดมทุนหลายล้านดอลลาร์มาใช้ต่อสู้การค้าเหยื่อทางเพศ โดยได้แรงหนุนและความสนใจจากสตรีแถวหน้าของโลก อย่าง โอปรา วินฟรีย์ เจ้าแม่ทอล์คโชว์ในสหรัฐฯ  สมเด็จพระราชนีโซเฟียแห่งสเปน  ซูซาน ซาแรนดอน ดาราเฟมินิสต์  เชอริล แซนเบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ ผู้บริหารหญิงคนเก่งของเฟซบุ๊ค ที่นั่งเป็นบอร์ดที่ปรึกษาให้กับมูลนิธิโสมาลี มัม ร่วมกับซาแรนดอน
 
                         การทำงานด้านสังคมของเธอยังได้เหยี่ยวข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ และคอลัมนิสต์ชื่อดัง อย่าง นิโคลัส ดี.คริสตอฟ จากนิวยอร์คไทมส์ เขียนถึงเมื่อปี 2552  ทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีก         
 
                         จึงเป็นเรื่องที่ทั้งช็อคและน่าเศร้าใจอย่างที่สุดเมื่อเป็นที่เปิดเผยว่า อันเรื่องราวลำเค็ญต่างๆนานา ที่นำมาซึ่งทุนสนับสนุุนของผู้บริจาค เป็นเรื่องที่กุขึ้นทั้งเพ     
 
                         ข้อสงสัยประวัติชีวิตลวงโลก เริ่มถูกขุดคุ้ยตั้งแต่สองปีก่อน แต่อาจเป็นเพราะตีพิมพ์ทางหนังสิอพิมพ์ คัมโบเดีย เดลีย์  จึงอาจไม่เป็นรับรู้ในวงกว้างนักนอกกัมพูชา  เพิ่งมาครึกโครมเมื่อนักข่าวคนเดียวกันคือ ไซมอน มาร์ค  เขียนให้นิวสวีค เผยแพร่บนเวบไซต์เมื่อ 21 พฤษภาคม และขึ้นปกฉบับ 30 พฤษภาคม ที่สุด  จึงมาสู่การลาออกจากตำแหน่งในมูลนิธิของเธอเมื่อวันพุธที่แล้ว
 
                         เมื่อปี 2554 โสมาลี มัม นั่งคุยกับ เชอริล แซนเบิร์ก ผู้บริหารหญิงของเฟซบุ๊ค ในที่ประชุมสุดยอดสตรีทรงอิทธิพลของนิตยสารฟอร์จูน และบอกกับผู้ฟังว่า อะไรที่เป็นแรงจูงใจให้เธอกลายเป็นนักต่อสู้เพื่อยุติการค้าแรงงานทางเพศ  "ฉันเคยถูกขายเข้าซ่อง จากผู้ชายที่บอกว่าเป็นตาของเธอ ฉันอยู่ที่นั่นเกือบ 10 ปี เจ้าของซ่องให้พวกเราอยู่รวมกัน นั่งอยู่บนพื้น เขาบอกให้พวกเราต้องทำตามคำสั่ง แต่มีผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่ยอมทำตาม เขาชักปืนมายิงเธอ นั่นเป็นวันที่ฉันหลบหนีออกจากซ่อง"
 
                         ในหนังสือชีวประวัติขายดีเล่มนี้ เธอบอกว่า ตาเลี้ยงเธอเหมือนทาส ติดพนันและดื่มเหล้า พอกลับถึงบ้าน บางครั้งทุบตีจนเลือดออก ที่สุด ขายเธอให้กับพ่อค้าชาวจีน และถูกบังคับแต่งงานกับทหารเลวคนหนึ่งตอนอายุ 14 ปี ต่อมา ถูกขายอีกเข้าซ่องโสเภณีในกรุงพนมเปญ ซึ่งที่นั่น เธอบรรยายเรื่องถูกทรมานด้วยการช็อตไฟฟ้าที่ต่อสายกับแบตเตอรีรถยนต์   
 
                         แต่เมื่อคนรู้จักและครูของโสมาลี มัม บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นตาแก่ใจยักษ์ที่เธอพูดถึง และเธอพูดไม่ตรงกันในบางโอกาส เช่น ตาข่มขืนเธอ หรือเป็นทหารอีกคนที่ข่มขืน และบังคับแต่งงาน แต่ที่แน่ๆ เธอไม่ใช่ลูกกำพร้าหรือถูกทิ้ง มีคนระบุชื่อบิดามารดาได้ และร่ำเรียนจนจบมัธยมปลาย เจ้าตัวเองก็พูดสับสนว่า ถูกขายเข้าซ่องโสเภณีเมื่อใดแน่และนานแค่ไหนที่ต้องอยู่ในสภาพนั้น
 
                         เมื่อครั้งปรากฏตัวที่ทำเนียบขาว เธอระบุว่าถูกขายเป็นแรงงานทาสเมื่ออายุ 9-10 ขวบ และอยู่ใน10 ปีแต่ในหนังสือ เธอเขียนว่า ถูกส่งตัวเข้าไปทำงานในซ่องเมื่ออายุประมาณ 14 ปี           
 
                         ต่อมา เธออ้างว่า ลูกสาวของเธอถูกแก๊งค้ามนุษย์ลักพาตัวไปเพื่อแก้แค้นงานที่เธอทำ แต่เพื่อนร่วมงานของเธอ บอกกับคัมโบเดีย เดลีย์ว่า ลูกสาวหนีออกจากบ้าน
 
                         อีกหนึ่งข้อหาที่ไซมอน มาร์ค กล่าวหาคือโสมาลี มัม ยุยงให้หญิงสาวคนอื่นที่ไม่เคยตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ให้โกหกด้วยว่าถูกข่มขืนบ้าง ถูกล่วงละเมิดบ้างเพื่อดึงเงินในกระเป๋าของเศรษฐีใจดี           
 
                         ปี 2552 นิโคลัส คริสตอฟ ผู้สื่อข่าวนิวยอร์คไทมส์ เขียนถึงเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ ลอง ปรัส ที่รวบรวมความเข้มแข็ง ออกมาบอกเล่าเรื่องราวช็อคเช่นกันว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งลักพาตัวเธอไป และขายเข้าซ่อง ซึ่งที่นั่น เธอถูกทุบตี ทรมานด้วยสายไฟ บังคับทำแท้งแบบดิบเถื่อนสองครั้ง ถูกแมงดาที่กำลังโกรธจัดใช้เศษโลหะควักลูกตาหนึ่งข้าง และโสมาลี มัม เป็นนางฟ้าที่เข้าช่วยชุบชีวิตเด็กหญิงคนนี้
 
                         ลอง ปรัส ยังได้มีโอกาสไปเล่าเรื่อง(โกหก) ซ้ำอีกกับโอปราห์ วินฟรีย์ และปรากฎตัวในสารคดีชื่อ Half the Sky ทางช่องพีบีเอส 
 
                         "เชื่อมั้ย พอฉันกลับบ้าน พ่อกับแม่ไม่อยากเห็นหน้า ฉันเป็นคนไม่ดีในสายตาพวกเขาแล้ว" เธอพูดในสารคดีชุดนั้น
 
                         แต่ไซมอน มาร์ค ไปตามคุยกับครอบครัว เพื่อนบ้านและหมอคนหนึ่งที่บอกว่า เป็นคนผ่าตัดตาให้กับลอง ปรัส ตอนอายุ 13 ปี หลังจากพ่อแม่พาเธอไปโรงพยาบาลเพราะตาข้างขวามีเนื้อเยื่อผิดปกติ
 
                         ในรายงานของนิวสวีค ยังมีรายละเอียดของเหยื่อที่ถูกเหน็บว่า เป็นดาราที่โสมาลี มัม พาออกสื่อโดยที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายในฐานะเหยื่อค้ามนุษย์เลย แต่แสดงไปตามบทที่นักระดมทุนซักซ้อมและกำกับมาเป็นอย่างดี
 
                         ไซมอน มาร์ค เกาะติดเรื่องนี้มากว่าสองปีและเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ แต่ไม่พบเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพิ่งจะเริ่มเห็นท่าทีใหม่สองเดือนก่อน เมื่อคณะกรรมการมูลนิธิมอบหมายให้บริษัททนายความ กู้ดวิน พร้อคเตอร์ ที่มีสำนักงานในแคลิฟอร์เนียสอบสวน และผลสอบภายใน 2 เดือนนำไปสู่การลาออกของเธอเมื่อวันพุธ แต่ไม่มีการเปิดเผยผลสอบสวนนั้น
 
                         ที่ผ่านมา "เธอช่วยเหยื่อค้ามนุษย์ได้มากมาย แล้วจะเป็นอะไรมั้ยถ้าเรื่องราวชีวิตของเธอ จะไม่เป็นความจริง" เป็นคำถามที่ถูกตั้งไว้บนหน้าปกนิวสวีค และเป็นคำถามที่เชื่อว่าหลายคนก็คิดอยู่เช่นกัน 
 
                         การค้ามนุษย์เพื่อบังคับค้าประเวณี เป็นปัญหาร้ายแรงไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ในบางสถานการณ์ ขอบข่ายปัญหา มักถูกทำให้เข้าใจผิดบ่อยๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะการเล่าเรื่องสะเทือนใจอย่างที่โสมาลี มัมและดาราในค่ายของเธอทำ
 
                         โธมัส สไตน์แฟตต์ ศาสตราจารย์สถิติมหาวิทยาลัยไมอามี ศึกษาปัญหาการค้าเหยื่อขายบริการเพศและทำรายงานให้กับโครงการว่าด้วยการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ ระบุในผลศึกษาเมื่อปี 2551 ว่า จากการใช้เวลาสำรวจหลายเดือนทุกพื้นที่ของกัมพูชา ประเมินว่า เหยื่อค้ามนุษย์ในกัมพูชา มีไม่เกิน  1,058 คน 
 
                         เด็กที่พบทำงานเป็นแรงงานทางเพศมีจำนวน 127 คน อายุต่ำกว่า 15 มีจำนวน 11 คน และ 6 คนอายุต่ำกว่า 13  ปี หากประเมินแบบสูงสุดคาดว่าเด็กที่อยู่ในวงการค้าประเวณีในกัมพูชาเมื่อปี 2551 อยู่ที่ 310 คน แต่ประเด็นคือสถานการณ์นับจากนั้นก็ดีขึ้นมาก 
 
                         กรณีของโสมาลี มัม ในฐานะบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในด้านการพัฒนาระดับโลก ด้านหนึ่ง ฉายภาพความกดดันต่อองค์กรพัฒนาเอกชน และหัวขบวน ที่เผชิญกับโลกซับซ้อนและเรื่องของกระแสความนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าความสงสัยเรื่องราวของเธอเกิดขึ้นมาไม่ต่ำกว่าสองปี แต่ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องภาพลักษณ์  เมื่อเป็นข่าวใหญ่ก็ได้ทุน  และอย่างประจักษ์ชัดว่าเธอประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อเมื่อเชื่อมต่อถูกคน อย่างดาราชื่อดัง นักร้องเพลงร็อค และคนดังจากหลากลายวงการที่เข้ามาสนับสนุน
 
                         อดีตพนักงานทั้งของมูลนิธิ AFESIP และโสมาลี มัม บางคน ยอมรับว่าพอรู้อยู่ว่ามีการใช้เทคนิคไม่เหมาะสมในการปลุกกระแสและเงินสนับสนุน แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะกลัวโสมาลี มัม และเพราะกลัวผลกระทบต่อองค์กรด้วย       
 
                         ปิแอร์ เลกรอส์ อดีตสามีชาวฝรั่งเศสของโสมาลี และผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร AFESIP โทษระบบความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับทุนสนับสนุนเหลือเฟือ เป็นแรงจูงใจให้มูลนิธิอย่างโสมาลี มัม  กุตัวเลขเพื่อสะท้อนปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่เกินจริง และบิดเบือนความเป็นจริง
 
                         "เธอใช้ระบบ และเธอถูกระบบใช้" เลกรอส์ซึ่งออกจากองค์กรเมื่อปี 2547 กล่าวถึงอดีตภรรยา และทิ้งท้ายว่า ผมทำงานกับองค์กรมากมาย และเจอกับปัญหาเดิมๆเวลาต้องการเงิน หากคุณไม่มีเรื่องเล่า คุณก็ไม่ได้เงิน ผมไม่ประหลาดใจ จะประหลาดใจหน่อยก็คือใช้เวลาถึง 10 ปีกว่าผู้คนจะค้นพบว่ามันไม่จริง"
 
 
 
 
--------------------------

 
เปิดโลกวันอาทิตย์ : 'โสมาลี มัม' แม่พระและคนลวงโลก
โดย...อุไรวรรณ นอร์มา
วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2557

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.39 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 09:53:33