[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 17:08:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สารคดี ชีวิตสัตว์โลก  (อ่าน 69517 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2561 15:35:07 »


ลิงบาบูน

ลิงบาบูน (Ba boons) เป็นสกุลของลิงในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Papio จัดได้ว่าเป็นลิงขนาดใหญ่ และด้วยมีแขนและขายาวที่เท่ากัน ทำให้สามารถเดินด้วยขาทั้ง ๔ ข้างได้เป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนหางสั้น และร่างกายที่กำยำแข็งแรง ทำให้วิ่งได้รวดเร็วพอๆ กับม้า ลักษณะเด่นคือมีใบหน้ายาวเหมือนสุนัข และมีฟันเขี้ยวแข็งแรงและยาวโง้ง ขึ้นชื่อว่าเป็นลิงที่มีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เนื่องจากเป็นลิงที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก (ร่วมกับพวกผลไม้ พืช รากไม้) โดยอาจโจมตีทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย แต่กระนั้นก็ยังมีผู้นำมาฝึกให้เล่นละครลิงหรือละครสัตว์ได้

อีกลักษณะเด่นคือ ลิงบาบูนสามารถออกเสียงได้เหมือนกับเสียงสระในภาษาอังกฤษได้ เนื่องจากมีกล้ามเนื้อลิ้นที่สร้างความแตกต่างในการออกเสียงแต่ละสระได้เหมือนกับมนุษย์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกล่องเสียงสูง ซึ่งต่างจากมนุษย์ที่ออกเสียงด้วยการใช้กล่องเสียงต่ำ แต่ลิงบาบูนก็ไม่สามารถที่จะพูดได้จริงๆ

ลิงบาบูนส่วนมากหากินและอาศัยบนพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ อยู่ตามแถบที่โล่งกว้างมากกว่าที่รกชัฏ จะขึ้นต้นไม้เฉพาะตอนนอนเท่านั้น หากินในเวลากลางวัน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ อาจถึง ๒๐๐-๓๐๐ ตัว มีตัวผู้ขนาดใหญ่เป็นจ่าฝูง หากินผลไม้ เมล็ดพืช ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมงป่องและแมงมุมโดยการพลิกก้อนหินหา หรือแม้กระทั่งล้มสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ไก่ฟ้า หมูป่า หรือแอนทิโลปที่เป็นตัวลูกหรือตัวขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้

ลิงบาบูนเป็นลิงพื้นเมืองของภูมิภาคอาหรับและแอฟริกา แบ่งออกได้เป็น ๕ ชนิด ได้แก่ Papio hamadryas, Papio papio, Papio anubis, Papio cynocephalus และ Papio ursinus

ลิงบาบูนชัคม่า หรือ ลิงบาบูนเคป (Chacma baboon, Cape baboon) เป็นลิงบาบูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และนับเป็นลิงอีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนตามตัวสีน้ำตาล ขนค่อนข้างหยาบ หน้าดำ หูมีขนน้อย แต่ตัวผู้ขนตรงรอบคอและไหล่ยาว และมีขนปรกที่ปาก ส่งเสียงร้องได้ดัง วิ่งได้เร็วมากและทรงพลัง มีลักษณะการวิ่งเหมือนม้าควบ ว่ายน้ำเก่ง แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ กินอาหารได้ทั้งเนื้อสัตว์ พืชผัก และเมล็ดพืชผลไม้ต่างๆ นอกจากนี้แล้วยังวิ่งกระโจนจับนกฟลามิงโกกินเป็นอาหารได้ด้วย

ยังมี ลิงบาบูนเล็ก คือ ลิงบาบูนเหลือง (Yellow baboon) รูปร่างเล็กและบอบบางกว่าลิงบาบูนชัคม่า และ ลิงบาบูนสีมะกอก (Olive baboon) ทั้งส่วนปากก็ไม่ยื่นยาวออกมา มีขนตามลำตัวสั้นสีเทาอมเหลืองอันเป็นที่มาของชื่อ มีน้ำหนักในตัวผู้ ๒๗-๔๐ กิโลกรัม ตัวเมีย ๑๔-๑๗ กิโลกรัม ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ ๖๐-๘๐ เซนติเมตร ความยาวลำตัว ๖๐-๗๐ เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง ๘๔ เซนติเมตร ความยาวหาง ๔๐-๔๘ เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก มีพฤติกรรมและอุปนิสัยคล้ายกับลิงบาบูนชนิดอื่น คืออาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าโปร่ง กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและเนื้อสัตว์
  ที่มา : รู้ไปโม้ด น้าชาติประชาชื่น : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2561 15:37:11 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2563 16:51:34 »


พอสซัมภูเขาแคระ

"เมาน์เท่นปิ๊กมี่พอสซัม" พอสซัมภูเขาแคระ สัตว์จิ๋วสุดน่ารักที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยแค่ในประเทศออสเตรเลีย กับจำนวนประชากรที่เหลือราว ๒,๕๐๐ ตัวเท่านั้น

พอสซัมภูเขาแคระเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องชนิดเดียวของออสเตรเลียที่จำศีล และเป็นพอสซัมชนิดเดียวของโลกที่อาศัยอยู่บนดิน ไม่ได้ชุดโพรงอยู่แบบญาติสายพันธุ์พอสซัมชนิดอื่น มีขนาดยาว ๑๐-๑๓ ซ.ม. และหนักราว ๓๐-๖๐ กรัม

ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ พอสซัมภูเขาแคระมีจำนวนลดลง เป็นเพราะฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้น และสภาพอากาศในช่วงฤดูกาลปกติร้อนระอุต่อเนื่อง แม้พอสซัมภูเขาแคระจะอยู่ในเขตภูเขาหนาวเย็น แต่หากอุณหภูมิในช่วงจำศีลสูงกว่า ๐.๖ องศาเซลเซียส พวกมันจะตื่นขึ้นมา และเข้าสู่ภาวการณ์ปรับตัวไม่ทัน มีอาการหนาวสั่นและอดอาหารตาย

ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึงศึกษาหาทางแก้วิกฤตพอสซัมภูเขาแคระเสี่ยงสูญพันธุ์ และได้เริ่มโครงการขยายพันธุ์พอสซัมจิ๋วจำนวน ๒๕ ตัวในเขตที่ราบลุ่มอากาศเย็นของรัฐนิวเซาท์เวลส์ หากประสบความสำเร็จจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ได้อย่างมาก และเราจะได้เห็นความน่ารักของเจ้าพอสซัมจิ๋วไปอีกนานๆ   



แรดสุมาตรา

ถือเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อ "อิมาน" แรดสุมาตราเพศเมียวัย ๒๕ ปี ซึ่งเป็นแรดสุมาตราที่เหลืออยู่เพียงตัวเดียวในมาเลเซีย ล้มตายอย่างกะทันหัน หลังจากป่วยเป็นโรคมะเร็งมดลูก

แม้ปัจจุบันแรดสุมาตรายังคงสายพันธุ์อยู่บนเกาะบอร์เนียว โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย แต่ด้วยอัตราการเกิดที่ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับจำนวนประชากรที่เหลือน้อยมากราวๆ ๓๐-๑๐๐ ตัว สถานะของแรดสุมาตราจึงน่าเป็นห่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แรดสุมาตราเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดของแรด เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูง ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนัก ๕๐๐-๙๖๐ กิโลกรัม ผิวหนังมีสีน้ำตาลอมแดง และโดดเด่นต่างจากญาติแรดชนิดอื่นๆ ตรงขนยาวหนาที่ปกคลุมเกือบทั่วทั้งตัว เดิมที่มีถิ่นที่อยู่หลายประเทศในเอเชีย ครอบคลุมทั้งภูฏาน อินเดีย จีน เรื่อยลงมายังกัมพูชา และไทย แต่ทุกวันนี้เหลือตามธรรมชาติแค่บนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น

ทั้งน่ารักและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครแบบนี้ หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ คงน่าเสียดายมากๆ ใช่ไหมล่ะ 



"ลิ่น" หรือ "ตัวนิ่ม"

ลิ่น หรือ ตัวนิ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีเพียงวงศ์เดียวและสกุลเดียว มีลักษณะคล้ายอาร์มาดิลโลที่พบในทวีปอเมริกา ขณะที่ตัวลิ่นจะพบในเอเชียและแอฟริกา

มีส่วนหน้ายาว ปากเป็นรูเล็กๆ ไม่มีฟัน เป็นสัตว์หากินกลางคืน กินอาหารโดยใช้ลิ้นยาวๆ กับน้ำลายเหนียวหนืดตวัดกินแมลง มด ปลวก และหนอนตามพื้นดิน ลำตัวของลิ่นปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้นๆ ทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะป้องกัน และจะขดตัวเป็นวงกลมเมื่อถูกรุกราน

ทั้งที่น่ารักและมีลักษณะโดดเด่นอย่างนี้ ตัวลิ่นกลับตกเป็นเหยื่อถูกล่าเนื้อ และเกล็ด ด้วยความเชื่อผิดๆ ในจีนที่ว่าเกล็ดของลิ่นช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ แต่นอกจากจะไม่มีผลวิจัยยืนยัน การล่าตัวลิ่นถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ทั้งในไทย รวมถึงมีกฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศด้วย

และเช่นเดียวกับค้างคาว หรือสัตว์อะไรก็ตามที่ ไม่ได้ถูกเลี้ยงในระบบปศุสัตว์ แต่มนุษย์ก็ยังสรรหามา สวาปาม หากตัวลิ่นเป็นพาหะจริงก็ไม่ควรถูกตราหน้า เพราะมนุษย์คือฝ่ายที่ล่า ฆ่า และกิน

ท้ายที่สุดเราคงไม่จำเป็นต้องไปถามหาว่าสัตว์ตัวไหนคือต้นตอ แค่มองในกระจกแล้วตระหนักให้ได้ว่าถึงเวลาหรือยังที่หยุดกินแบบไม่เลือกหน้า 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2563 13:25:22 »




ชิมแปนซี

ทุ่งหญ้าสะวันนา ในทวีปแอฟริกา มีพื้นที่กว้างขวาง กินอาณาเขตติดต่อกันหลายประเทศ และในป่าแห่งนี้เอง มี “ลิงชิมแปนซี” อาศัยอยู่ด้วย

ชิมแปนซี (Chimpanzee) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pan troglodytes เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด แขนและขามีความยาวพอๆกัน สมองเจริญมากทำให้เฉลียวฉลาดกว่าอุรังอุตังและกอริลลา มีเชาวน์ปัญญาเกือบเท่ามนุษย์ สามารถเดินตรง ๒ เท้าได้แบบมนุษย์ แต่นิ้วเท้าจะหันไปข้างนอก เวลาเดินตัวจะเอนไปข้างหน้า แขนตรง และวางข้อมือลงบนพื้น ในทวีปแอฟริกามีอยู่ ๓ พันธุ์ คือ ชนิดแรกหน้าขาว หรือน้ำตาลจาง ชนิดที่สองหน้าดำหรือน้ำตาลไหม้ และชนิดแคระซึ่งเป็นชนิดที่หายากที่สุด

น.สพ.เกษตร สุเตชะ จากโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ลิงชิมแปนซีถือได้ว่าเป็นลิงที่ฉลาดมาก เพราะมีลักษณะคล้ายๆ กับมนุษย์ การนั่ง เดิน ยืน และนอนนั้น ไม่แตกต่างกับมนุษย์สักเท่าไหร่ ชอบอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ มีหัวหน้าเป็นลิงตัวผู้

ชอบอยู่บนพื้นดินมากกว่าต้นไม้ กินผลไม้ ใบไม้ ผัก เป็นอาหาร กินเนื้อได้บ้างเล็กน้อย ขนาดลำตัวที่ชูมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นสูง ตัวผู้สูงราว ๕ ฟุต ส่วนตัวเมียสูง ๔ ฟุต มีอายุที่โตเต็มที่ประมาณ ๕-๗ ปี ถือว่าเป็นช่วงที่แข็งแกร่งและจะมีลักษณะที่ค่อนข้างก้าวร้าว ถึงขั้นจับกลุ่มทำร้ายกันเองจนได้รับบาดเจ็บกันเป็นอย่างมาก
ลิงชิมแปนซีถูกคนนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อทดลองยาตัวใหม่ๆ ก่อนที่จะนำมาใช้จริงกับมนุษย์

ชีวิตของลิงเหล่านี้น่าสงสารมาก จึงมีการจัดตั้งศูนย์พักพิงของเหล่าวานรนี้ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตช่วงที่เหลืออย่างมีความสุข.
  ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




ไก่คอล่อน

ประเทศไทยมีไก่หลายสายพันธุ์ ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้ และพันธุ์ลูกผสม...ไก่คอล่อน (Colon Chicken) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการจับคู่ข้ามสายพันธุ์ ระหว่างไก่พื้นเมืองพัทลุงกับไก่พื้นเมืองฝรั่งเศส ที่ชาวญี่ปุ่นนำมาเลี้ยงในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒  ออกมาเป็นไก่ลูกผสมสายพันธุ์คอล่อน มีลักษณะใกล้เคียงไก่อู หนังหน้าลำคอจะมีสีชมพูกึ่งแดง ตั้งแต่วัยที่เป็นลูกเจี๊ยบกระทั่งโต บริเวณหัวด้านบนมีขน มองโดยรวมเหมือนใส่หมวก บริเวณกระเพาะพักใต้ลำคอ ตลอดแนวสันหลังไม่มีขน หรือมีขนแต่ไม่มากนัก ลักษณะหงอนแบบมงกุฎแต่ใหญ่กว่าไก่ชน ขนปีก สีข้างลำตัว สีดำแกมเขียวเข้ม ผิวหนังสีเหลือง

อุปนิสัยของไก่คอล่อน ชอบอยู่รวมเป็นฝูง ตัวผู้ไม่มีนิสัยอันธพาลไล่จิกตีเหมือนไก่ไทย หากินเก่ง โตเร็ว น้ำหนักตัวดี ทนทานต่อโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงบริเวณที่โล่งกว้าง สภาพอากาศร้อนชื้น ระยะเวลา ๗๕-๙๐ วัน โตเต็มวัย ตัวผู้ขนาด ๓.๐-๔.๕ กก. สามารถทำพันธุ์ที่อายุตั้งแต่ ๗ เดือน ...ส่วนตัวเมีย หนัก ๒.๐-๒.๘ กก. พร้อมเป็นแม่พันธุ์อายุ ๕ เดือน

ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้ประกาศขึ้นทะเบียนไก่คอล่อนเป็นพันธุ์สัตว์พื้นเมืองไทยประจำถิ่น

แม้คุณภาพซากเนื้อไก่คอล่อน เนื้อหน้าอกจะใหญ่ เนื้อแน่นและนุ่มกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป เนื้อล่อนไม่ติดกระดูก มีปริมาณคอลลาเจน ๖๘.๓๓% ต่อเนื้อ ๑๐๐ มก. แต่ด้วยรูปลักษณ์ที่ไร้ขนบนหัว หนังคอแดง ไม่เข้ากับอุปนิสัยการบริโภคของคนไทย ที่ส่วนใหญ่ยังคงยึดติดอยู่กับรูปลักษณ์ไก่แบบเดิม
เลยทำให้ไก่คอล่อนไม่เป็นที่พิสมัยบริโภคเท่าไรนัก.
  ที่มา นสพ.ไทยรัฐ






จิ้งจกนิ้วยาว

การวิจัยสำรวจสัตว์บริเวณพื้นที่น้ำตก ในเทือกเขาหินแกรนิต อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โดย ดร.นที อำไพ กับ ผศ.ดร.อัญชลี เอาผล จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการสนับสนุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเร็วๆ นี้ ค้นพบ...จิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก และตั้งชื่อสามัญให้กับจิ้งจกนิ้วยาวนี้ “จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา” ที่มีลำตัวยาวตั้งแต่หัวจดหาง ๑๕-๒๐ ซม. เฉพาะที่บริเวณนิ้ว ยาว ๓-๕ ซม. สามารถเปลี่ยนสีไปตามแหล่งที่อยู่อาศัยได้อย่างรวดเร็ว

จัดอยู่ในสกุล Cnemaspis วงศ์ Gekkonidae ซึ่งสกุลนี้มีความหลากหลายสูง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีการค้นพบชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง เฉพาะในประเทศไทยพบมากกว่า ๑๗ ชนิด

จิ้งจกนิ้วยาวลานสกามักอาศัยในบริเวณเขาหินแกรนิต ตามซอกหิน หรือเพิงหินขนาดใหญ่บริเวณใกล้ลำธารและน้ำตก ทั้งในวัยอ่อน และตัวเต็มวัย ซึ่งการซ่อนตัวตามซอกหิน หรือเพิงหิน ทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา สามารถหลบหนีจากศัตรูผู้ล่าได้ง่าย

สำหรับสัตว์ในวงศ์ Gekkonidae มีความสำคัญในระบบนิเวศ ช่วยควบคุมแมลง ดังนั้น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย อย่างเขาหินแกรนิต จะทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาดำรงชีวิตอยู่รอดได้ในธรรมชาติ.
  ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




พญาแร้ง

หลายปีก่อน พญาแร้ง ๓๕ ตัวจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ฝูงสุดท้ายของประเทศไทย ลงกินซากสัตว์กลางป่าและตายยกฝูง เพราะซากสัตว์นั้นถูกวางยาพิษ...นับแต่นั้นมาไม่พบพญาแร้งในธรรมชาติอีก เหลือแต่ในสวนสัตว์ จึงมีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้... แร้ง หรืออีแร้งในบ้านเรา เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจึงได้ฉายาว่าพญาแร้ง

อยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกับเหยี่ยว, อินทรี หรือนกเค้าแมว มีขนาดลำตัวประมาณ ๘๐ ซม. เมื่อโตเต็มที่ หัว คอ และเท้ามีสีแดง ขนตามลำตัวสีดำ ขนที่หน้าอกและโคนขามีสีขาว ที่คอมีสีขาวขึ้นโดยรอบมองดูคล้ายสวมพวงมาลัย ทั้งสองเพศลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันตรงที่เพศผู้มีม่านตาสีเหลือง ส่วนเพศเมียจะมีม่านตาสีดำไปจนถึงสีแดง

พญาแร้งชอบกินซากสัตว์เน่าตายตามพื้นดิน โดยร่อนบินหาเหยื่อกลางอากาศ เมื่อพบจึงบินลงมาจิกกิน ไม่ค่อยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่ตามที่โล่งแจ้ง โดยบินร่อนเป็นวงกลมบนท้องฟ้าระดับสูง มีสายตาไว สามารถร่อนกลางอากาศอยู่นานนับชั่วโมงโดยไม่ต้องกระพือปีกด้วยซ้ำ อดอาหารได้เก่ง บางครั้งนานเป็นสัปดาห์ แต่พอได้กินมักจะกินตุนไว้มากๆ บางครั้งบินไม่ขึ้น ต้องยืนนิ่งเกาะกิ่งไม้เพื่อย่อยอาหาร

จนเกิดเป็นคำเปรียบเปรย...“แร้งลง” กินมากจนไปไม่ไหว

พญาแร้งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน วางไข่ครั้งละ ๑ ฟองเท่านั้น ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างช่วยกันฟักไข่ และใช้รังเดิมวางไข่ในปีถัดไป

เป็นที่น่ายินดี องค์การสวนสัตว์ฯ โดยสวนสัตว์นครราชสีมา ได้เพาะพันธุ์พญาแร้งในกรงเลี้ยงได้สำเร็จ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ...หวังว่าเราจะได้เห็นพญาแร้งโบยบินบนท้องฟ้าไทยอีกครั้ง
  ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




กบกลางคืน

โฉมหน้าของกบกลางคืนวายานาด อยู่ในป่ากาตส์ตะวันตก ในเคราลา ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์อินเดียพบกบใหม่ ๑๒ ชนิด พร้อมด้วยกบอีก ๓ ชนิดที่คิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กบกลางคืนวายานาดจะโตเต็มที่ได้ประมาณขนาดลูกเบสบอล หรือลูกคริกเกต   ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




หอยเม่นหมวกกันน็อก

หอยเม่นหมวกกันน็อก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colobocentrotus atratus หอยเม่นหมวกกันน็อก (Helmet Urchins)  หรือบางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา (shingle urchin) มีลักษณะที่แตกต่างจากหอยเม่นทั่วไปก็คือ พวกเนื้อตัวที่เกลี้ยงเกลาดุจมุงด้วยกระเบื้อง ไร้ซึ่งหนามแหลม สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าหอยเม่นหมวกกันน็อกมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่อาศัย เนื่องจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้มีนักล่าน้อยนักที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ ประกอบกับการที่อยู่ในพื้นที่มีคลื่นลมรุนแรง หนามแหลมนั้นเป็นอุปสรรค ต้านคลื่นอาจทำให้พวกมันถูกซัดหลุดจากโขดหินที่อยู่อาศัย และเมื่อไม่มีผู้ล่าหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวจึงหมดความจำเป็นไป โดยปกติจะพบได้ ในแถบ Indo-West Pacific และฮาวาย (Hawaii) แต่ในประเทศไทยนั้นมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก พบครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๐.

ข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทบสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (๒๐๐๗) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว ๑๗.๕ เมตรต่อวินาที ไปจนถึง ๒๗.๕ เมตรต่อวินาที  ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือที่ความเร็ว ๒๗.๕ เมตรต่อวินาที เป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น

หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และฮาวาย (Hawaii) แต่ในประเทศไทยนั้นมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีการรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๗ โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน
Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand:History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428[/size ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2563 13:34:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.106 Chrome 83.0.4103.106


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2563 08:57:00 »



กระเรียน สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

        เชื่อกันว่านกกระเรียนมีอายุถึงพันปี ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าถ้าตั้งนกกระเรียนเอาไว้ในบ้านจะช่วยส่งผลให้คนสูงอายุในบ้านมีสุขภาพที่แข็งแรง หากมีคนเจ็บป่วยไข้ก็จะหาย และคนหนุ่มสาวจะมีหน้าที่การงานที่ดีและราบรื่น ส่วนเด็กๆ ก็จะเรียนหนังสือเก่ง

ในหนังจีนหลายต่อหลายเรื่องยังมีการนำนกกระเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นวิทยายุทธ์ “หมัดกระเรียน” ที่พลิ้วไหวสวยงาม ทว่ามีอันตรายและน่าเกรงขามอยู่ไม่น้อย   นอกจากนี้ นกกระเรียนยังเป็นสัญลักษณ์ของการมีคู่ ที่ตลอดชีวิตจะมีคู่เพียงตัวเดียว และหากตัวใดตัวหนึ่งเสียชีวิตไปอีกตัว

จะตายตาม ซึ่งทางจีนและญี่ปุ่นจะนิยมเลี้ยงนกกระเรียนเอาไว้ในพระราชวังและตามบ้าน โดยถือว่าเป็นสัตว์มงคล

       ในญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อว่านกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพของมวลมนุษย์ และเรื่องของการทำให้คนป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ดั่งตำนานของซาดาโกะกับกระเรียนพันตัว อันเป็นที่มาของการพับนกกระเรียนที่โลกร่ำไห้     เรื่องราวของซาดาโกะ ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่ง

ความหวังของเด็กหญิงตัวเล็กๆ ชาวญี่ปุ่น ที่ต้องเผชิญกับอาการเจ็บป่วยอันเกิดจากพิษร้ายของสงครามนิวเคลียร์ เด็กหญิงซาดาโกะพยายามใช้มือน้อยๆ ทั้งสองของเธอพับนกกระเรียนกระดาษตัวแล้วตัวเล่าด้วยความหวังว่ามันจะสร้างปาฏิหาริย์ให้เธอรอดพ้นจากโรคร้ายนี้    แต่แล้วซาดาโกะก็ไม่อาจหลีก

พ้นสัจธรรมแห่งชีวิต เธอหมดลมหายใจในขณะที่พับนกกระเรียนได้เพียง 644 ตัว ในวันฝังศพของเธอ เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนจึงได้ช่วยกันพับนกกระเรียนใส่ในโลงศพของเธอจนครบ 1 พันตัว    จากเหตุการณ์อันเศร้าสะเทือนใจของเด็กหญิงซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว ได้ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นจัดสร้าง

อนุสาวรีย์ของเธอ ในลักษณะยืนชูแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า โดยมีรูปนกกระเรียนกระดาษอยู่ในอุ้งมือทั้งสอง เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชาวญี่ปุ่นและชาวโลก ตระหนักถึงพิษภัยของสงคราม และทุกวันที่ 6 ส.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันสันติภาพจะมีผู้คนพับนกกระเรียนมาวางไว้ที่ฐานอนุสาวรีย์ของซาดาโกะ ที่ตั้งอยู่

ภายในสวนสันติภาพ หรือพีช เมมโมเรียล พาร์ก ณ เมืองฮิโรชิมา เป็นพันเป็นหมื่นตัวเพื่อระลึกถึงเธอ และยังเป็นเครื่องหมายบอกความหวังให้โลกมีสันติภาพ

http://www.okls.net/image/japan/jap3/1.gif
สารคดี ชีวิตสัตว์โลก



ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก



บันทึกการเข้า

Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2563 16:30:59 »





เมียร์แคต


เมียร์แคต...เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับพังพอน และชะมด หนึ่งในสมาชิกสัตว์ป่าของทวีปแอฟริกา พบในประเทศแอฟริกาใต้ บอตสวานา นามิเบีย และทางตะวันตกเฉียงใต้สุดของแองโกลา

มีลักษณะ หัวสั้น หน้ากว้าง จะมีจมูกยื่นยาวเพื่อประโยชน์ในการดมกลิ่น รอบขอบตาเป็นวงแหวนสีดำ มีนิ้วเท้าสี่นิ้ว มีขนสีน้ำตาลทองสลับดำขวางลำตัว หางยาวและส่วนปลายมีสีดำ ชอบกินแมลงปีกแข็งและหนอนผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กๆ โดยเฉพาะแมงป่องจะชอบเป็นพิเศษ

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ถึง เมียร์แคต...เป็นสัตว์ที่อยู่ไม่นิ่ง หรือจะเป็นคนจำพวกไฮเปอร์ เดินไปเดินมา มักชอบยืนสองขาชะเง้อคอ มีเสียงอะไรนิดหน่อยจะคอยจ้องที่บริเวณใกล้ๆปากทางเข้ารังใต้ดิน เพื่อตรวจดูเฝ้ายามให้ครอบครัว คอยเตือนภัยจากผู้ล่าในหลายรูปแบบ มีทั้งนกล่าเหยื่อ งู หมาจิ้งจอก ตะกวดขนาดใหญ่ ฯลฯ และดมกลิ่นในบริเวณรอบๆถ้ำใต้ดิน

เริ่มสืบพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ ๑ ปี ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ในเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ ๑๑ สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ ๒-๕ ตัว มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ บางกลุ่มอาจมีถึง ๓๐ ตัว

มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานของแต่ละตัวในครอบครัวอย่างชัดเจน เช่น เฝ้ายาม หาอาหาร เลี้ยงลูก ขุดรัง ฯลฯ เพราะทำรังเป็นหมู่บ้านอยู่ใต้ดิน โดยแบ่งเป็นห้องๆตามลักษณะการใช้สอย พอออกลูกมา ส่วนใหญ่จะอยู่กับครอบครัวต่อไปเรื่อยๆ ยกเว้นลูกตัวผู้ จะถูกขับออกไปตั้งครอบครัวของตนเองใหม่

ถือว่าเป็นหนึ่งในสัตว์โลกที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี เพราะไม่เคยแสดงอาการก้าวร้าว ทะเลาะเบาะแว้ง หรือกัดกันเลยแม้แต่น้อย.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ
 



นกกระเรียนหงอนพู่เทา

นกกระเรียนหงอนพู่เทา นกหายากใกล้สูญพันธุ์ของโลก 

ใครเคยไปสวนสัตว์ คงได้ยลโฉม นกตัวสูง หัวฟู แก้มแดง หน้าตาแปลก แต่ไม่เคยพบเห็นในธรรมชาติของบ้านเรา เพราะมาจากพื้นที่ชุ่มน้ำในทวีปแอฟริกา อาศัยตามทุ่งหญ้าในป่าสะวันนา นั่นคือ...นกกระเรียนหงอนพู่เทา

เป็นนกที่สวนสัตว์ต่างๆ ในประเทศไทย นำมาเลี้ยงพร้อมจัดแสดงนักท่องเที่ยวมานานนับ ๑๐ ปีแล้ว แถมเพาะพันธุ์ได้ในกรงเลี้ยงอีกด้วย

ความโดดเด่น อยู่ตรงที่บนหัวมีหงอนพู่เป็นเส้นตรงสีขาวเหลืองนวล โคนหงอนอยู่ตรงท้ายทอยเป็นกระจุก ปลายบานออกเป็นทรงกลม หน้าผากถึงโคนจมูกมีขนละเอียดสีดำสนิทเป็นก้อนเหมือนกำมะหยี่ แก้มทั้งสองข้างเป็นหนังสีขาวแต้มแดงอยู่ตอนบน

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า นกชนิดนี้ จัดเป็นหนึ่งในนกหายากใกล้สูญพันธุ์ของโลก เพราะประเทศต้นกำเนิดของนกพันธุ์นี้ มีการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อทำการเกษตร การแย่งชิงแหล่งน้ำเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ และจับมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงให้สวนสัตว์ทั่วโลก

อีกทั้งนกกระเรียนหงอนพู่มีอัตราการแพร่พันธุ์อย่างเชื่องช้า กว่าจะผสมพันธุ์ และวางไข่เพียงครั้งละ ๑-๒ ฟอง โดยลูกนกมักรอดชีวิตเพียงตัวเดียว

และเมื่อฟักออกเป็นตัวแล้ว แม่นกจะต้องเลี้ยงลูกไปอีก ๔ เดือนข้างหน้า ลูกนกจึงโผบินได้ ซึ่งใช้เวลานานมาก ทำให้ลูกนกบางตัวมีชีวิตรอดไปไม่ถึงวันบินได้ครั้งแรก เพราะกลายเป็นอาหารของสัตว์นักล่าในป่าทุ่งหญ้าสะวันนา แห่งทวีปแอฟริกา

ส่งผลให้ประชากรนกกระเรียนหงอนพู่เทาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ไม่เพิ่มจำนวนขึ้นเลยในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




เก้งหม้อ

เก้งหม้อ...เป็นอีกหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๖๒... องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (size=9pt]IUCN) จัดให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ของโลก

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้...สัตว์ชนิดนี้มีอยู่น้อยมาก เท่าที่ทราบในประเทศไทย มีถิ่นที่อยู่กระจายเฉพาะทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย และเทือกเขาตะนาวศรีของประเทศพม่าเท่านั้น

รูปร่างหน้าตาคล้ายกวางขนาดเล็ก แต่ ใหญ่กว่าเก้งเล็กน้อย ลำตัวยาว ๘๘-๑๐๐ ซม. น้ำหนักประมาณ ๒๒ กก. ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข้ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตา

เก้งหม้อตัวผู้มีเขี้ยวโค้งออกด้านหน้าเช่นเดียวกับเก้งทั่วไป แต่มีเขาเฉพาะในตัวผู้เท่านั้น โดยเขาแต่ละข้างมีสองกิ่ง กิ่งหน้าสั้นกว่ากิ่งหลัง โคนเขามีขนดำหนาคลุมรอบ ระหว่างโคนเขามีขนสีเหลืองฟูเป็นกระจุก เลยมีชื่ออีกชื่อว่า “กวางเขาจุก” ทำให้หลายคนที่ไม่เคยรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้รู้สึกว่ามันเป็นสัตว์ที่แสนลึกลับ

มักพบอยู่ในป่าดิบทึบบนภูเขา ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียว ถ้าอยู่เป็นกลุ่มไม่เกิน ๒-๓ ตัวออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากินตามทุ่งโล่งแถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง ผสมพันธุ์ในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ตั้งท้อง ๕-๖ เดือน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว

ทุกวันนี้ในป่าหายากมาก มีให้ชมได้ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี กับสวนสัตว์เชียงใหม่. [/size] … ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




เต่าสีเหลืองสด


ชาวบ้านในอินเดียพบเต่าสีเหลืองสดทั้งตัว เชื่อเป็นสายพันธุ์แปลกหายาก

นายวาร์เดน ภานูมิตรา อาชาร์ยา เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว ANI ของอินเดีย ระบุว่า เต่าที่ชาวบ้านนำมาส่งให้ตรวจสอบ มีกะโหลกและลำตัวเป็นสีเหลืองสดจริงๆ และยอมรับว่าหายากมาก เพราะเขาเองก็ไม่เคยเห็นเต่าแบบนี้มาก่อนในชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็นเต่าสายพันธุ์ธรรมดาทั่วไปแต่เป็นเต่าที่มีภาวะผิวเผือก (albinism) ที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่มีหน้าที่ควบคุมการสร้างเม็ดสี.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




หมีขอ ไม่ใช่หมี


IUCN หรือสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ได้ขึ้นทะเบียน หมีขอ เป็นสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามเกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (Vulnerable species) ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามครอบครองซาก ห้ามนำเข้าและส่งออกอีกด้วย

หมีขอ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Binturong เรียกตรงตัวตามภาษายาวีว่า บินตุรง แม้จะใช้ชื่อว่าหมีขอ แต่ความจริงไม่ใช่หมี เพราะเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับชะมดและอีเห็น มีขนสีเทาปลายขาวทั้งตัว ความยาวลำตัว ๖๑-๙๖ ซม. มีหางยาวขนฟูขนาด ๕๐-๘๔ ซม. น้ำหนักประมาณ ๒๐ กก.

หางของหมีขอแข็งแรงมาก ปลายหางเปลือยเปล่าไม่มีขน ใช้ยึดจับห้อยโหนเกี่ยวกิ่งไม้ หรือแม้แต่หยิบสิ่งของได้ จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อเรียกภาษาไทยว่า...หมีขอ

ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้ ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน แต่มักออกลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ตั้งท้องนาน ๙๐-๙๒ วัน ออกลูกเป็นครอก ครอกหนึ่งมีราว ๒-๓ ตัว ตัวเมียเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ ๓๐ เดือน ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนมากกว่า ๒๐ ปี

หมีขอถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงนานมากแล้ว น.สพ.เกษตร สุเตชะ ประจำโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เหตุผลว่า เพราะสามารถปรับตัวได้ดี กินผลไม้ได้ทุกชนิด ทั้งมะละกอ กล้วย ส้ม แอปเปิ้ล องุ่น และไข่ต้ม สามารถสอนให้ไต่ราวเชือกหรือนอนเล่นนิ่งๆ ใกล้ๆกับคนได้ดี

ในป่าหลายประเทศในทวีปเอเชีย นายพรานได้ล่าหมีขอจากธรรมชาติเพื่อกินเป็นอาหารจนเกือบสูญพันธุ์...ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาเทคนิคสอนหมีขอที่เกิดในกรงเลี้ยงเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




เป็ดหงส์


เป็ดหงส์...หนึ่งเดียวในไทย จัดเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

เป็ดหงส์...สัตว์ประจำถิ่นของประเทศไทย อยู่ในวงศ์นกเป็ดนํ้าที่หาได้ยากมาก ไม่มีรายงานพบการทำรังวางไข่ในบ้านเรามากว่า ๓๐ ปี เพราะถูกล่าอย่างหนัก พบตัวเพียงไม่กี่ครั้ง ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด จ.บุรีรัมย์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหาน กุมภวาปี จ.อุดรธานี และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง

ล่าสุด มีรายงานพบในพื้นที่นาของนายเอกชัย อธิปอนันต์ ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา มีเป็ดหงส์มาทำรังวางไข่บนต้นตาลยอดด้วน

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้...เป็ดหงส์เป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ ลำตัวยาวถึง ๗๖ ซม. มีจะงอยปากสีดำ แถบบนปีกมีสีบรอนซ์สะดุดตา เป็ดตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ มีแถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน

มักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ป่าโปร่ง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุ่มน้ำคุณภาพดี ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูงๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ ๔-๑๐ ตัว เป็ดหงส์หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ, แมลงน้ำ และสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered, CR) โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอนุรักษ์และธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการอนุรักษ์เป็ดหงส์ เพื่อให้มีในบ้านเราแห่งเดียวในโลก...สนใจชมเป็ดหงส์ สอบถามข้อมูลได้ที่ ๐๘-๗๘๙๙-๕๓๘๙
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




ชะนีมงกุฎ

ชะนีมงกุฎ...เหลือแค่ไทย สัตว์ที่ร้องเสียงดังคล้ายคนว่า ผัว...ผัวๆๆ เป็นเสียงของชะนี แต่มีกี่คนที่รู้ว่าชะนีในป่ามีกี่ชนิด...และยังมี ชะนีมงกุฎ พันธุ์หายากหลงเหลืออยู่แค่ในบ้านเราเท่านั้น

รูปร่างใกล้เคียงกับชะนีธรรมดา แต่ข้อแตกต่างระหว่างชะนีธรรมดา...ตรงเสียงร้อง ผัวๆๆๆๆของชะนีมงกุฎจะดังยาวกว่าและมีเสียงสร้อยอยู่ในลำคออีกต่างหาก

ที่เห็นได้เด่นชัดด้วยสายตา คือขนบริเวณกลางกระหม่อมจะยาว และหยาบ ดูแบนป้านขึ้นเป็นวงคล้ายสวมมงกุฎ

เมื่อเกิดใหม่จะเหมือนชะนีธรรมดา มีสีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ ๔-๖ เดือน ตัวผู้กับตัวเมียจะมีสีต่างกัน ตัวผู้จะกลายเป็นสีดำปลอดทั้งตัว ขนกระหม่อมมีวงสีขาวครอบ ตัวเมียมีสีขาวอมเทาหรือสีเหลือง แต่หน้าอก และกระหม่อมสีดำ

อายุประมาณ ๓-๔ ปี ขนาดโตเต็มที่หนักประมาณ ๘ กก. แล้วเกิดฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลงทำให้คิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้า และวงรอบใบหน้าของตัวผู้เปลี่ยนจากดำเป็นสีขาว ส่วนตัวเมียไม่เปลี่ยนแปลง และเมื่อมีอายุ ๗-๘ ปี จึงผสมพันธุ์ได้ ตัวเมียตั้งท้องนาน ๒๔๐ วัน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลชะนีมงกุฎจัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ และอยู่ในบัญชีหมายเลข ๑ ในอนุสัญญาไซเตส

เดิมทีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบได้ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน แต่การตัดไม้ทำลายป่า มิหนำซ้ำยังจับพ่อ-แม่พันธุ์ชะนีมงกุฎ มาทำกินเป็นอาหาร ทำให้เกิด การสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ



 
ฟลามิงโกใหญ่...นกโบราณ


นกฟลามิงโก สีชมพูสวยงามตามสวนสัตว์ เด็กรู้จักกันดี เพราะมีสัญลักษณ์ของนกชนิดนี้ติดบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย...แต่นั่นเป็นนกฟลามิงโกเล็ก ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่

ไม่ใช่ฟลามิงโกใหญ่ที่เป็นนกโบราณ น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูล เหตุที่จัดเป็นนกโบราณ เพราะนักโบราณคดีได้เคยพบฟอสซิลที่ทะเลสาบนากูรู ตอนเหนือของประเทศเคนยา...จนสามารถพิสูจน์ได้ว่ามันเคยอยู่บนโลกใบนี้มานานไม่น้อยกว่า ๓๐ ล้านปี

ในธรรมชาติปัจจุบันยังอาศัยอยู่ที่นั่น รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่อาจมากถึง ๒ล้านตัว และยังมีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปจดมาถึงทวีปเอเชีย บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปแอฟริกา และอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ

นกฟลามิงโกใหญ่ถือเป็นนกที่สวยงามมาก คอและขายาว ขนสีชมพู ขนปีกสีดำ ปากสีชมพู ปลายปีกสีดำ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ สีตามร่างกายจะสดใสกว่าปกติ มีจะงอยปากพิเศษคล้ายเหงือกของวาฬ ใช้กรองแพลงก์ตอนตอนหากินอาหาร

ชอบทำรังด้วยดินโคลนอยู่ตามชายฝั่งหนองบึงหรือทะเลสาบ โดยใช้จะงอยปากสร้างรังทรงคล้ายภูเขาไฟสูงประมาณ ๑๕ ซม. เพื่อวางไข่ กกไข่ และเลี้ยงลูกน้อยจนเดินเองได้ นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในฤดูหนาว วางไข่ครั้งละ ๑ฟอง ใช้เวลาฟัก ๒๘-๓๒ วัน

เป็นเรื่องแปลกที่นกฟลามิงโกใหญ่ไร้ประสาทรับกลิ่น จึงวิวัฒนาการให้ส่งเสียงร้องคุยกันอยู่ตลอดเวลา...แม้แต่ลูกนกใกล้ฟักที่อยู่ในไข่ยังส่งเสียงร้องได้ด้วย และพ่อ–แม่ นกจะจดจำเสียงลูกของตัวเองได้เป็นอย่างดี เวลาฤดูผสมพันธุ์นกทำรังวางไข่เป็นหมื่นๆรัง ยังสามารถหาลูกน้อยของตัวเองจนเจอ
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




เสือโคร่งขาว


ไปสวนสัตว์เห็นเสือโคร่งตัวสีขาวในสวนสัตว์ หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเสือโคร่งเผือก

น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้...เสือโคร่งขาวไม่ใช่เสือโคร่งเผือก แต่เป็นอาการผิดปกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อยกว่าปกติ ลำตัวจึงมีพื้นสีขาวปลอด แต่มีลายพาดกลอนเป็นสีน้ำตาล ขนาดโตเต็มวัยเมื่ออายุ ๒-๓ ปี น้ำหนัก ๒๐๐-๒๓๐ กก. มีความยาวถึง ๓ ม. ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มากกว่าเสือหลายชนิด

ส่วนที่มาของเรื่องราวเสือโคร่งขาวที่มีอยู่ในสวนสัตว์ทั่วโลก รวมทั้งในสวนสัตว์บ้านเรา น.สพ.เกษตร บอกว่า เริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๔ มีผู้พบเห็นลูกเสือโคร่งเบงกอลตัวผู้ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย มีรูปร่างเหมือนเสือโคร่งปกติ แต่แปลกตรงที่มีขนพื้นสีขาว มีลายสีน้ำตาลเข้ม และม่านตาสีฟ้า

เมื่อรู้ถึงมหาราชาแห่งรีวา ได้สั่งให้จับมาเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อว่า “โมฮัน” จากนั้นได้ให้ผสมพันธุ์ในกรงเลี้ยงกับเสือโคร่งลายปกติลูกที่ออกมาบางตัวจะมีขนพื้นสีขาวบ้าง บางตัวไม่มีสีขาว ก่อนจะขายไปในหลายประเทศทั่วโลก เพราะฉะนั้นเสือโคร่งขาวเกือบทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่งเพาะเลี้ยงล้วนแต่เป็นลูกหลาน...โมฮัน...ทั้งสิ้น

ปัจจุบันเสือโคร่งขาวได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของอินเดียแล้ว สำหรับลาย พาดกลอนของเสือโคร่งแต่ละตัว มีความแตกต่างกันมาก ไม่ซ้ำกันเลยแม้แต่ตัวเดียว ทั้งลายสองข้างของลำตัว และลวดลายด้านข้างของใบหน้าของเสือ ยังมีลายไม่เหมือนกันแต่อย่างใด เปรียบดั่งลายนิ้วมือของคน.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ




ผีเสื้อหางดาบ

ผีเสื้อหางดาบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Graphium antiphates itamputi Butler อยู่ในวงศ์ PAPILIONIDAE

ลักษณะทั่วไป มีหนวดและตาสีดำ จากปลายหนวดถึงส่วนหัวยาวประมาณ ๑๕ มม. ลำตัวและท้องสีขาวครีมอมเหลือง มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดข้างลำตัวข้างละ ๑ แถบ จากหัวถึงปลายส่วนท้องยาวประมาณ ๒๑ มม. ปีกด้านหลังพื้นปีก สีขาว ปีกคู่บนมีแถบสีดำจากขอบปีกด้านนอกถึงกลางปีก

โดยมีแถบสีเขียวและขาวอยู่บนพื้นสีดำปีกคู่ล่าง ขอบปีกด้านข้างมีแถบสีดำ และปลายปีกมีหางยาว ๑๖-๒๒ มม. ส่วนยื่นยาวออกมาโค้งเล็กน้อยมองดูคล้ายดาบ จึงเป็นที่มาของชื่อ...ผีเสื้อหางดาบ

ส่วนปีกด้านท้องปีกคู่บนสีและลายคล้ายปีกด้านหลัง มีแถบสีเขียวอ่อนและขาวอยู่บนพื้นสีดำ ปีกคู่ล่างกลางปีกมีสีเหลืองอ่อน มีแถบและจุดสีดำบริเวณกลางปีกและขอบปีกด้านข้าง มุมปลายปีกล่างมีสีเหลือง

ผีเสื้อหางดาบมีขนาดปานกลาง ขนาดจากมุมปลายปีกด้านซ้ายถึงด้านขวาของปีกคู่บนยาวประมาณ ๗๘-๘๕ มม. และจากมุมปลายปีกด้านซ้ายถึงด้านขวาของปีกคู่ล่างยาวประมาณ ๔๒-๖๘ มม.

พฤติกรรมชอบหากินตามพื้นที่ชื้นแฉะ ริมลำธารที่มีทรายชื้น หรือบริเวณชายป่าที่มีแสงแดดจัด ถิ่นอาศัยมักพบเฉพาะภาคใต้ของไทยตามป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง.
ที่มา นสพ.ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 11 มกราคม 2564 12:28:03 »


ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่พบได้ในทวีปออสเตรเลียเท่านั้น


ลูกตุ่นปากเป็ดดื่มน้ำนมแม่ซึ่งออกจากต่อมเหงื่อที่ผิวหน้าท้อง

ตุ่นปากเป็ด “สัตว์ประหลาดผู้น่ารัก”
มีพันธุกรรมของสัตว์ ๓ ประเภทอยู่รวมกัน

ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์โลกหน้าตาน่ารักที่มีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นไข่ หลั่งเหงื่อเป็นน้ำนม และมีเดือยพิษที่ฝ่าเท้าแล้ว ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามันมีขนเรืองแสง ทั้งมีพันธุกรรมของนกและสัตว์เลื้อยคลานรวมอยู่กับยีนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของมันเองด้วย

ทีมนักชีววิทยานำโดย ดร.จาง กว๋อจี้ จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นในวารสาร Nature โดยระบุว่าได้ถอดลำดับพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของตุ่นปากเป็ดทั้งตัวผู้และตัวเมีย รวมทั้งของตัวอีคิดนา (Echidna) เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาทางพันธุกรรมของสัตว์ที่แปลกประหลาดทั้งสองชนิด ว่ามีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างไรบ้าง



ขนของตุ่นปากเป็ดสามารถเรืองแสงในความมืดมิดได้

ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) ซึ่งสัตว์จำพวกนี้มีทวารสำหรับขับถ่ายและช่องสืบพันธุ์เป็นอวัยวะเดียวกัน แต่ตุ่นปากเป็ดกลับมีโครโมโซมเพศถึง ๑๐ ตัว (๕ คู่) ซึ่งมากเกินกว่ามนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปที่มีแค่ ๒ ตัวเท่านั้น

พวกมันมีพฤติกรรมออกหากินเวลากลางคืน ใช้ชีวิตอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ ทั้งมีเดือยพิษเป็นอาวุธอยู่ที่ฝ่าเท้าด้านหลัง พิษของตุ่นปากเป็ดไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่จะทำให้สัตว์ผู้ล่ารู้สึกระคายเคืองเจ็บปวดจนไม่อยากกินมันได้

ผลวิเคราะห์พันธุกรรมโดยทีมผู้วิจัยเผยให้ทราบว่า ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนามีพันธุกรรมแบบโบราณที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากบรรพบุรุษร่วมของสัตว์มีกระดูกสันหลังต่างๆ เลย อย่างไรก็ตาม พวกมันเริ่มมีวิวัฒนาการแยกสายออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ในยุคจูราสสิกเมื่อราว ๑๘๗ ล้านปีก่อน

โครโมโซมเพศของตุ่นปากเป็ดที่มีมากถึง ๑๐ ตัว ดูเหมือนจะเป็นมรดกทางพันธุกรรมจากสัตว์จำพวกนก โดยมีความคล้ายคลึงกับของไก่มากที่สุด ซึ่งลักษณะทางพันธุกรรมนี้ทำให้มันออกลูกเป็นไข่ แม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ตาม แต่วิวัฒนาการทำให้ยีนที่ผลิตโปรตีนเพื่อการสร้างไข่ของตุ่นปากเป็ดมีเหลือเพียง ๑ ใน ๓ ของไก่เท่านั้น

ในขณะเดียวกัน ตุ่นปากเป็ดมียีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำนมหลายตัว เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ แต่มันมียีนผลิตโปรตีนในน้ำนมบางตัวเพิ่มเข้ามา ซึ่งยังไม่ทราบว่าโปรตีนดังกล่าวทำหน้าที่อะไรแน่ ส่วนยีนที่สร้างพิษนั้นมีความเกี่ยวข้องกับยีนของระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป

"การวิเคราะห์พันธุกรรมของตุ่นปากเป็ดทำให้เราได้รู้ว่า การผลิตน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ ล้วนมีวิวัฒนาการมาจากยีนชุดเดียวกันในบรรพบุรุษร่วมที่มีชีวิตอยู่เมื่อกว่า ๑๗๐ ล้านปีก่อน" ดร. จางกล่าว

อย่างไรก็ตาม ตุ่นปากเป็ดนั้นสูญเสียยีน ๔ ตัวที่ช่วยสร้างฟันไปเมื่อราว ๑๒๐ ล้านปีก่อน ทำให้มันไม่มีฟันเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ และต้องบดเคี้ยวอาหารด้วยปากที่เป็นแผ่นแข็งแทน




ขอขอบคุณ twitter.com (ที่มาภาพ)

แมวน้ำเทาแฝดคู่แรกของโลก

นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า ลูกแมวน้ำเทาเพศผู้และเพศเมีย ๒ ตัว ซึ่งเกิดที่ชายหาดฮอร์ซีย์ในมณฑลนอร์ฟอล์กทางตะวันออกของอังกฤษ เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา เป็นแมวน้ำเทาแฝดคู่แรกของโลกที่เคยมีการบันทึกว่าเกิดในอังกฤษ ผลการตรวจดีเอ็นเอลูกแมวน้ำทั้งสองและเศษทรายปนคราบเลือดจากบริเวณที่มันเกิดชี้ว่า มันมีแม่ตัวเดียวกัน ภายหลังมันได้รับการตั้งชื่อว่า อาร์ทูดีทู และ ซีทรีพีโอ ตามชื่อหุ่นยนต์ในภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส

แอนน์ เคิร์สเตน ฟราย ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยทางทะเลของนอร์เวย์ บอกว่าการค้นพบนี้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แม้แต่นักวิจัยที่ออกสำรวจภาคสนามอยู่บ่อยๆ ก็ไม่เคยพบแมวน้ำแฝดมาก่อน ซึ่งเธอบอกว่าการเกิดแมวน้ำแฝดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่อัตราการรอดชีวิตของมันค่อนข้างต่ำ ส่วนลูกแมวน้ำ ๒ ตัวที่พบนี้ มีสุขภาพดีทั้งคู่

ก่อนหน้านี้ สมาชิกกลุ่มเฝ้าสังเกตพฤติกรรมแมวน้ำในพื้นที่สังเกตเห็นว่า แม่ของแมวน้ำแฝดคู่นี้เป็นแมวน้ำที่แยกฝูงออกมา อย่างไรก็ตาม ตอนที่มันมีอายุได้เพียง ๑๐ วัน แม่ของมันหยุดให้นมและหายตัวไป สมาชิกกลุ่มดังกล่าวจึงนำตัวทั้งคู่ส่งโรงพยาบาลสัตว์ป่า จากนั้นได้ส่งตัวอย่างเลือดและเซลล์เส้นขนไปทำการตรวจสอบ ที่สถาบันวิจัยทางทะเลที่นอร์เวย์ จนพบว่ามันเป็นฝาแฝดกันในที่สุด คาดว่าทางโรงพยาบาลจะปล่อยตัวพวกมันกลับสู่ธรรมชาติเร็วๆ นี้
… ที่มา BBC News ไทย




สุนัขมี "อภิปัญญา" รู้ตัวได้ว่าไม่รู้เมื่อเจอสิ่งสงสัย

ฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย" เป็นคำกล่าวของโสกราตีส (Socrates) มหาปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ซึ่งถ้อยคำนี้แสดงถึงความสามารถในการรู้คิดของมนุษย์ที่เรียกว่า "อภิปัญญา" (Metacognition) โดยคุณสมบัติหนึ่งของการมีปัญญารู้คิดในรูปแบบนี้ ก็คือการที่รู้ตนเองได้ว่ายังไม่รู้ในสิ่งใดบ้าง ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า แม้แต่สุนัขก็มีสติปัญญาในรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน

ผลการศึกษาของสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อวิทยาศาสตร์ความเป็นมาของมนุษย์ (MPI-SHH) ในเยอรมนี ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารการเรียนรู้และพฤติกรรม (Learning & Behavior) ระบุว่าสุนัขสามารถใช้ความคิดใคร่ครวญในระดับอภิปัญญาได้บางเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาบางอย่าง สุนัขจะแสดงอาการกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลที่ยังไม่รู้มาเพิ่มเติมเสมอ

ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบคุณสมบัติทางสติปัญญาดังกล่าวในมนุษย์และสัตว์จำพวกวานรหรือไพรเมต (Primate) เท่านั้น แต่เมื่อทีมผู้วิจัยได้ทดลองให้สุนัขค้นหาสิ่งของที่เป็นรางวัล ซึ่งอาจเป็นอาหารหรือของเล่นที่ซ่อนอยู่หลังแนวรั้วแผงใดแผงหนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๒ แผง ปรากฏว่าสุนัขจะมีพฤติกรรมตรวจสอบหาข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อมันมองไม่เห็นว่าของรางวัลซ่อนอยู่ที่ใดกันแน่ เช่น พยายามดมกลิ่น หรือมองลอดช่องว่างในแผงรั้วบ่อยครั้งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงถึงความฉลาดที่สามารถล่วงรู้ได้ว่าตนเองรู้หรือไม่รู้อะไรบ้าง

เพื่อขจัดข้อสงสัยที่ว่า สุนัขอาจตรวจหาร่องรอยของสิ่งที่ต้องการไปตามสัญชาติญาณโดยไม่ผ่านการคิดไตร่ตรอง ทีมผู้วิจัยได้ทดลองซ้ำโดยวางของรางวัลให้สุนัขเห็นอย่างชัดเจน ขณะที่มันถูกจับตัวให้อยู่นิ่งนานราว ๕ วินาทีถึง ๒ นาที ก่อนจะปล่อยให้วิ่งไปหาของรางวัล ซึ่งผลปรากฏว่าสุนัขแสดงอาการตรวจสอบหาข้อมูลเพิ่มเติมน้อยลงมาก ยิ่งถูกรั้งตัวไว้นานก็จะยิ่งไม่แสดงพฤติกรรมหาข้อมูลเลย

ทั้งนี้ อภิปัญญาหรือปัญญาระดับสูง เป็นความสามารถที่บุคคลกำกับควบคุมกระบวนการคิดและเรียนรู้ของตนเองได้ โดยรู้ว่าตนเองรู้หรือไม่รู้อะไรบ้าง รู้จักเลือกที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง รวมทั้งรู้จักเลือกกลวิธีในการแสวงหาความรู้และประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว ในกรณีของสุนัขนี้ ทีมผู้วิจัยยังไม่อาจรับรองได้ว่ามันสามารถใช้อภิปัญญาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกด้าน…
ที่มา BBC News ไทย





เทคนิคที่พิถีพิถันนี้ ถูกเก็บภาพได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

"เขย่าแล้วเหวี่ยง" วิธีกินหมึกยักษ์ของโลมา

หมึกทะเลอาจเป็นอาหารที่โลมาชื่นชอบ แต่ก็อาจเป็นอันตรายทำให้สำลักได้เช่นกัน

นักชีววิทยาทางทะเลที่ออสเตรเลียระบุว่า โลมาได้พัฒนาพฤติกรรมที่มีความพิถีพิถัน เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักอาหาร โดยจะฉีกเหยื่อตัวโตให้เป็นชิ้นเล็กลงก่อนกลืน

จากภาพที่บันทึกได้ พบว่าโลมาจะเขย่าหมึกที่เป็นเหยื่อ แล้วขว้างขึ้นฟ้า ดูคล้ายวิธีการเตรียมอาหาร

ผลการค้นพบนี้ เกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อค และมหาวิทยาลัยโมนาช ที่เฝ้าสังเกตโลมาในช่วงหลายปี โดยได้ตีพิมพ์ลงในวารสารเชิงวิชาการ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม (Marine Mammal Science)

ดร.เคท สโปกิส หัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวกับบีบีซีว่า 'ทุกคน เชื่อมโยงพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการตระเตรียมอาหาร' ซึ่งโลมา 'มีทักษะในเรื่องนี้'

ทีมผู้เขียนบทความเชิงวิชาการดังกล่าว ระบุว่า เทคนิคของโลมา เป็นวิธีหนึ่งที่พวกมันใช้เพื่อให้กินอาหารและอยู่รอดในน่านน้ำ ออสเตรเลีย

'มันจะกัดส่วนหัวออกก่อน จากนั้นก็เขย่าและโยนส่วนลำตัว' โดยโลมาต้องทำเช่นนี้ 'เนื่องจากหมีกในทะเลบริเวณนี้ตัวใหญ่มาก กลืนลงไปทีเดียวไม่ได้' ซึ่งวิธีนี้ ยังสามารถช่วยป้องกันหนวดของหมึก มาดูดติดตัวโลมาด้วย
… ที่มา BBC News ไทย



เจ้าหน้าที่พบแมวน้ำมังค์ฮาวายอายุน้อย มีปลาไหลตัวยาวเข้าไปติดอยู่ในรูจมูก เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา

สาเหตุอาจทำให้แมวน้ำมีปลาไหลติดรูจมูก

ภาพของแมวน้ำวัยรุ่นตัวหนึ่งที่มีปลาไหลทะเลห้อยต่องแต่งอยู่ที่รูจมูก สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกหลังจากที่นักวิจัยขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือโนอา (NOAA) ได้ไปพบเหตุการณ์นี้ที่เกาะห่างไกลทางตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่เกาะฮาวาย เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมจึงเกิดเหตุที่พิลึกพิลั่นเช่นนี้ขึ้นได้

แม้จะเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ชีวิตของแมวน้ำมังค์ฮาวาย (Hawaiian monk seal) มานานกว่า ๔๐ ปี แต่ทีมนักวิจัยของโนอาบอกว่าเคยมีรายงานถึงเหตุดังกล่าวเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น หลังจากเริ่มมีผู้พบเห็นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ เป็นต้นมา ซึ่งในทุกกรณีแมวน้ำดูจะไม่เดือดเนื้อร้อนใจที่มีปลาไหลทะเลตัวยาวกว่าครึ่งเมตรติดคาอยู่ในรูจมูกแต่อย่างใด

ดร. ชาร์ลส์ ลิตต์แนน ผู้นำทีมวิจัยแมวน้ำมังค์ฮาวายของโนอาบอกว่า "เมื่อสองปีที่แล้ว ทีมวิจัยของเราที่อยู่ในภาคสนามรายงานมาว่า พบเหตุการณ์แปลกประหลาดเป็นครั้งแรก เราถึงกับทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับกรณีเช่นนี้มาก่อน"

"แต่ในที่สุดเราตัดสินใจว่า จะค่อย ๆ ช่วยดึงเอาปลาไหลออกมา แมวน้ำตัวนั้นมีส่วนหางของปลาไหลโผล่ออกมาจากรูจมูกแค่ราว ๒ นิ้ว แต่เราใช้เวลาดึงเอาปลาไหลทั้งตัวออกมาอยู่ร่วม ๑ นาที ปรากฏว่ามันมีความยาวถึง ๒.๕ ฟุต (ราว ๗๖ เซนติเมตร) นักวิจัยที่เข้าช่วยเหลือแมวน้ำก็เลยเหมือนกับนักมายากล ที่ดึงเอาผ้าเช็ดหน้าออกมาจากหมวกได้แบบยาวยืดเป็นพิเศษ" ดร. ลิตต์แนนกล่าว

ทีมนักวิจัยพบว่า ปลาไหลที่ถูกดึงออกมาทุกตัวได้ตายไปแล้วระยะหนึ่ง ส่วนแมวน้ำนั้นมีสุขภาพแข็งแรงดีทั้งไม่ได้รับบาดเจ็บจากการมีปลาไหลเข้าไปติดอยู่ หรือได้รับอันตรายจากการถูกดึงปลาไหลออกมาจากรูจมูกแต่อย่างใด



ซากปลาไหลอาจทำให้รูจมูกของแมวน้ำปิดไม่สนิทขณะดำน้ำและมีน้ำเข้าปอดได้

อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องประหลาดมากที่ปลาไหลซึ่งมีขนาดลำตัวเกือบเท่ากับรูจมูกของแมวน้ำ สามารถเข้าไปติดลึกอยู่ด้านในได้ ทั้งที่กล้ามเนื้อจมูกของแมวน้ำมีความแข็งแรงยืดหยุ่นเป็นพิเศษ จนน่าจะจามหรือพ่นเอาปลาไหลออกมาได้เอง

นักวิจัยของโนอาคาดว่า เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติและไม่ใช่การกลั่นแกล้งเล่นสนุกโดยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากทุกกรณีเกิดขึ้นที่เกาะห่างไกลผู้คนทั้งสิ้น ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นได้จากสองสาเหตุด้วยกัน

มีความเป็นไปได้ว่า แมวน้ำวัยรุ่นอายุน้อยที่ยังอ่อนด้อยประสบการณ์ในการล่าหาอาหาร ถูกปลาไหลทะเลโจมตีตอบโต้ขณะที่มุดหน้าเข้าไปในโพรงที่ปลาไหลหลบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ดร.ลิตต์แนนอธิบายว่า "แมวน้ำไม่มีมือ มันจึงออกล่าด้วยการมุดหัวเข้าไปในโพรงที่เหยื่ออาศัยอยู่ตามแนวปะการัง จากนั้นจะพ่นน้ำออกจากปากเพื่อให้พัดเอาสิ่งที่อยู่ในโพรงทั้งหมดออกมา แต่บางครั้งก็อาจทำให้ปลาไหลทะเลว่ายสวนเข้าไปในรูจมูกได้"

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาไหลทะเลซึ่งเป็นอาหารโปรดของแมวน้ำเข้าไปอยู่ในรูจมูกได้นั้น อาจเป็นเพราะการสำรอกอาหารกลับออกจากกระเพาะที่ผิดพลาด เหมือนกับการที่คนอาเจียนแล้วมีอาหารเก่าบางส่วนหลุดเข้าไปในโพรงจมูก ซึ่งตามปกติแล้วแมวน้ำจะมีพฤติกรรมสำรอกอาหารอยู่เป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม หากปล่อยให้ซากปลาไหลติดคาอยู่ที่จมูกของแมวน้ำเป็นเวลานาน ทีมผู้วิจัยเห็นว่าอาจทำให้เกิดอันตรายกับแมวน้ำขึ้นได้ เช่น อาจเกิดการติดเชื้อหรือทำให้รูจมูกของแมวน้ำปิดไม่สนิทขณะดำน้ำ ถ้าหากมีน้ำเข้าปอดก็จะทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้

"ผมหวังว่านี่ไม่ใช่แฟชั่นใหม่ของแมวน้ำวัยรุ่น ที่มีพฤติกรรมเลียนแบบตามอย่างเพื่อนคล้ายกับมนุษย์ แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมอยากจะขอร้องให้พวกมันหยุดทำแบบนี้เถอะ" ดร. ลิตต์แนนกล่าวทิ้งท้าย
… ที่มา BBC News ไทย



เม็กกาโลดอนซึ่งเรียกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์แห่งเผ่าพันธุ์ฉลาม
เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อราว ๓-๒๓ ล้านปีก่อน

ฉลามยักษ์ "เม็กกาโลดอน"

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ สันนิษฐานว่า การที่ฉลามยักษ์ยุคดึกดำบรรพ์ "เม็กกาโลดอน" มีขนาดมหึมาจนกลายเป็นปลานักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในท้องทะเลนั้น อาจเป็นผลมาจากการที่ตัวอ่อนซึ่งกำลังเติบโตอยู่ในมดลูกของแม่ปลามีพฤติกรรมกินไข่ใบอื่นๆ ที่ยังไม่ฟักในท้องแม่

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Historical Biology โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดอโปล ในนครชิคาโก ของสหรัฐฯ ค้นพบเรื่องนี้ระหว่างการศึกษาเรื่องขนาดที่แท้จริงของฉลามเม็กกาโลดอน โดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบขนาดและรูปทรงฟันของฉลามเม็กกาโลดอน ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กับฉลามที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันในกลุ่มเดียวกันที่เรียกว่า "อันดับปลาฉลามขาว" (lamniform sharks) อาทิ ฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ฉลามบาสกิน (Cetorhinus maximus), ฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และฉลามมาโก (Isurus spp.) เป็นต้น

ทีมนักวิจัยพบว่า ฉลามเม็กกาโลดอน น่าจะมีลำตัวยาวประมาณ ๕๐ ฟุต หรือกว่า ๑๕ เมตร

ศาสตราจารย์เคนชู ชิมาดะ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเดอโปล หัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่า ผลการศึกษาครั้งนี้เผยให้เห็นชัดเจนว่าฉลามเม็กกาโลดอนมีขนาดใหญ่โตเพียงใด

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนขนาดและรูปร่างของฉลามเม็กกาโลดอนโดยประเมินจากฟอสซิลฟันที่พบ ว่าน่าจะมีลำตัวยาวประมาณ ๑๖-๑๘ เมตร เท่ากับรถเมล์สองชั้นจำนวนสองคันต่อกัน และอาจมีน้ำหนักได้ถึง ๑๐๐ ตัน




การที่โครงกระดูกของฉลามส่วนใหญ่เป็นกระดูกอ่อน ทำให้แทบไม่หลงเหลืออวัยวะที่แข็งพอจนสามารถกลายเป็นฟอสซิลหลงเหลือมาให้เราศึกษาได้ ด้วยเหตุนี้การคาดคะเนว่าเม็กกาโลดอนมีรูปร่างอย่างไรแน่จึงทำได้ยาก

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ชิมาดะ และคณะยังตั้งข้อสันนิษฐานถึงความเชื่อมโยงด้านปัจจัยทางชีวภาพของเม็กกาโลดอน ที่จัดอยู่ในกลุ่มของ "อันดับปลาฉลามขาว" กับพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของตัวอ่อนฉลามชนิดนี้ที่เติบโตในมดลูกแม่ปลา

ทีมนักวิจัยชี้ว่า ปลาขนาดใหญ่ในอันดับปลาฉลามขาวมักมีระบบเผาผลาญพลังงานที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นกว่าปลาทั่วไป ทำให้พวกมันว่ายน้ำได้ว่องไวกว่า และสามารถล่าเหยื่อที่ตัวใหญ่และให้พลังงานได้มากกว่า



ฟันขนาดใหญ่ที่สุด ๓ ซี่เป็นของเม็กกาโลดอน ส่วนที่เหลือเป็นของฉลามในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ การที่ฉลามกลุ่มนี้มีระบบสืบพันธุ์แบบออกลูกเป็นตัวที่เรียกว่า ovoviviparity ซึ่งตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นภายในไข่ที่ยังคงอยู่ในร่างกายของแม่จนกว่าจะพร้อมฟักออกจากไข่แล้วจึงคลอดออกมาเป็นตัว แต่ในกรณีของปลาฉลามกลุ่มนี้มักพบว่าลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวแรกมักมีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันเองภายในมดลูก (intrauterine cannibalism) โดยจะกินไข่ใบอื่นที่ยังไม่ฟัก หรือแม้แต่ตัวอ่อนที่ฟักออกมาในภายหลัง

ทีมนักวิจัยระบุว่า พฤติกรรมกินพวกเดียวกันทำให้ลูกปลาดังกล่าวมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ยังไม่คลอดออกจากท้องแม่ และผลักดันให้แม่ปลาต้องกินอาหารเพิ่มขึ้นสำหรับลูกในท้องที่หิวโหย ส่งผลให้แม่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อถึงเวลาที่ลูกปลาคลอดออกมาก็จะมีขนาดใหญ่จนสามารถปกป้องตัวเองจากสัตว์นักล่าชนิดอื่นได้

นักวิจัยบอกว่า พฤติกรรมดังกล่าวบวกกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม และความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาในอันดับปลาฉลามขาว เช่น เม็กกาโลดอน มีขนาดมหึมาได้
… ที่มา BBC News ไทย



งูหลามบอลเพศเมียอายุกว่า ๖๐ ปี ในสหรัฐฯ
ออกไข่เองได้ไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้

เหตุการณ์ที่งูหลามบอลเพศเมียตัวหนึ่งออกไข่ได้เองเจ็ดฟองที่สวนสัตว์เซนต์หลุยส์ ในรัฐมิสซูรี ของสหรัฐอเมริกาสร้างความประหลาดใจแก่บรรดาเจ้าหน้าที่สวนสัตว์อย่างมาก ทั้งๆ ที่มีไม่เคยได้สัมผัสกับงูหลามตัวผู้ใดๆ เลย ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี

อย่างที่ทราบกับดีว่า สัตว์เลื้อยคลานสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ แต่สิ่งที่ทำให้บรรดาเจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์ประหลาดใจก็คือ อายุของเจ้างูหลามบอลตัวนี้ที่ไม่น้อยเลย คาดว่างูหลามตัวนี้มีอายุถึง ๖๒ ปี เชื่อว่ามีอายุยืนยาวที่สุดในตอนนี้

มาร์ค แวนเนอร์ ผู้จัดการด้านสัตววิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่สวนสัตว์แห่งนี้ อธิบายว่า นี่เป็น "การเกิดขึ้นในลักษณะเฉพาะตัว" (unique occurrence)


"ในความเห็นของฉัน นี่คือสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ ที่งูหลามบอลอายุปูนนี้จะสามารถสืบพันธุ์ ออกไข่ได้" เขาบอกบีบีซี

งูหลามบอลตัวนี้ได้รับมาจากผู้บริจาคเอกชนรายหนึ่งในปี ๑๙๖๑ และคาดว่าในเวลานั้นมันอายุเพียงสามปีเท่านั้น สำหรับงูหลามบอล มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก

สำหรับงูหลามบอลที่มีอายุมากที่สุดในโลกซึ่งถูกบันทึกไว้ก่อนหน้านี้ เป็นเพศผู้เคยอยู่ที่สวนสัตว์เมืองฟิลาเดลเฟีย ตายเมื่อมันมีอายุ ๔๗ ปี

นายแวนเนอร์ กล่าวเพิ่มว่า สวนสัตว์วางแผนที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอายุและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศตัวนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากผลการตรวจสอบได้รับการยืนยันแล้ว

ในจำนวนไข่ทั้งหมดเจ็ดฟอง สามฟองปลอดภัยแล้ว ส่วนที่เหลือยังคงอยู่ในตู้ฟัก คาดว่าไข่ทั้งหมดจะใช้เวลาฟักเป็นตัวภายในหนึ่งเดือน

ขณะนี้ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์กำลังทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อชี้ชัดว่า นี่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจริงหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการบันทึกไว้ว่าสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดสามารถสืบพันธุ์ในลักษณะดังกล่าวได้ เช่น งูหลามบอล งูหางกระดิ่ง และมังกรโคโมโด

สำหรับกรณีก่อน ๆ นั้นพบว่างูสามารถเก็บสเปิร์มไว้ในตัวเพื่อการปฏิสนธิอีกทีภายหลังได้ที่มา
BBC News ไทย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2564 12:44:06 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 11 มกราคม 2564 16:20:35 »



เขี้ยวของลูกสุนัขยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพราะถูกฝังในชั้นดินเยือกแข็งคงตัวมานาน ๑๔,๐๐๐ ปี

หมาน้อยยุคน้ำแข็งเมื่อ ๑๔,๐๐๐ ปีก่อน
กินเนื้อแรดขนยาวเป็นอาหารมื้อสุดท้าย

ผลการตรวจดีเอ็นเอและผ่าพิสูจน์ซากลูกสุนัขจากยุคน้ำแข็งที่มีอายุเก่าแก่ถึง ๑๔,๐๐๐ ปี พบว่ามีเศษขนและหนังของ "แรดขนยาว" (woolly rhinoceros) ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอยู่ในกระเพาะอาหารของมันด้วย

การค้นพบนี้สามารถเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า อาหารมื้อสุดท้ายของหมาน้อยยุคโบราณ คือชิ้นส่วนของแรดขนยาวที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นตัวท้ายๆ ของโลก ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปในช่วงปลายของยุคน้ำแข็งเมื่อกว่าหมื่นปีที่แล้ว

เอดานา ลอร์ด นักศึกษาวิจัยระดับปริญญาเอกของศูนย์พันธุศาสตร์บรรพชีวินในสวีเดน เปิดเผยเรื่องนี้กับเว็บไซต์ Live Science โดยบอกว่าก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจผิด คิดว่าเศษหนังและขนที่พบในกระเพาะอาหารของซากลูกสุนัขตัวนี้เป็นของสิงโตถ้ำ

อย่างไรก็ตามผลตรวจดีเอ็นเอครั้งใหม่ชี้ว่า เศษหนังและขนสีเหลืองซึ่งกระเพาะของลูกสุนัขไม่สามารถย่อยได้นั้น มีข้อมูลทางพันธุกรรมตรงกับของแรดขนยาว ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปในช่วงเดียวกับที่ลูกสุนัขตัวนี้ยังมีชีวิตอยู่




มีการขุดพบซากของลูกสุนัขวัย ๓-๙ เดือนดังกล่าว ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) ที่เมืองทูมัต (Tumat) ในเขตไซบีเรียของรัสเซียเมื่อปี ๒๐๑๑ โดยอุณหภูมิของชั้นดินที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอยู่เสมอ ได้ทำให้ร่างของลูกสุนัขกลายเป็นซากมัมมี่ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แม้เวลาจะผ่านไปนานนับหมื่นปี

ลอร์ดบอกว่า ยังไม่สามารถชี้ชัดถึงชนิดพันธุ์หรือสปีชีส์ของลูกสุนัขตัวนี้ได้ ซึ่งหมายความว่ามันอาจเป็นบรรพบุรุษร่วมของหมาป่าและหมาบ้านยุคใหม่ หรือเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนวิวัฒนาการจากหมาป่าไปเป็นหมาบ้านก็เป็นได้

"ร่างของลูกสุนัขไม่มีร่องรอยการถูกเหยียบหรือชนกระแทก แสดงว่ามันได้กินเนื้อแรดขนยาวที่ฝูงของมันล่ามาได้และปันส่วนให้ หรือบังเอิญพวกมันไปพบกับซากของแรดที่ตายแล้วเข้าพอดี" ลอร์ดกล่าว

"นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า มันอาจเป็นสุนัขเลี้ยงของมนุษย์ยุคน้ำแข็ง และได้รับอาหารมื้อสุดท้ายนี้มาจากมนุษย์ที่ล่าแรดขนยาวก็เป็นได้ ซึ่งเราจะต้องศึกษาค้นคว้าในประเด็นนี้กันต่อไป"
... ที่มา BBC News๑๔,๐๐๐ ไทย

-----------------------




แรดขนยาวอาจสูญพันธุ์เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดีเอ็นเอชี้ แรดขนยาวอาจสูญพันธุ์เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่ถูกมนุษย์ล่า

ผลการศึกษาดีเอ็นเอของแรดขนยาว (woolly rhino) สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปจากแถบไซบีเรีย ในยุคน้ำแข็งเมื่อราว ๑๔,๐๐๐ ปีที่แล้ว แท้จริงอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่เพราะถูกมนุษย์ล่า

แรดขนยาว เคยมีชีวิตอยู่บริเวณตอนเหนือของทวีปเอเชียและยุโรป โดยฟอสซิลเก่าแก่ที่สุดที่นักวิทยาศาสตร์ขุดค้นพบในทิเบต เป็นของแรดขนยาวที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อราว ๓.๖ ล้านปีก่อน

ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าแรดขนยาว สูญพันธุ์จากน้ำมือมนุษย์ แต่ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดของทีมนักวิจัยจากศูนย์พันธุศาสตร์บรรพชีวิน (Center for Paleogenetics) ในสวีเดน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology พบหลักฐานที่หักล้างความเชื่อดังกล่าว



หุ่นจำลองที่สร้างขึ้นจากซากที่แห้งเป็นมัมมี่ของลูกแรดขนยาว
วัย ๗ เดือน ที่พบในไซบีเรียเมื่อปี ๒๐๑๕ ถูกตั้งชื่อให้ว่า "ซาช่า"

ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ดีเอ็นเอจากฟอสซิลกระดูก เนื้อเยื่อที่แห้งเป็นมัมมี่ และเส้นขนของแรดขนยาวจากไซบีเรีย จำนวน ๑๔ ตัว ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๔,๑๐๐ – ๕๐,๐๐๐ ปี

ผลการศึกษาพบว่า ประชากรแรดขนยาวอยู่ในระดับคงที่อยู่นานหลายพันปีหลังจากมนุษย์ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียเมื่อราว ๓๐,๐๐๐ ปีก่อน ซึ่งนี่บ่งชี้ว่า การล่าของมนุษย์ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์โบราณชนิดนี้ต้องสูญพันธุ์ลง

ศาสตราจารย์ลูเว ดอเลียน หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า "ช่วงเวลาที่แรดขนยาวมีจำนวนลดลงไปสู่การสูญพันธุ์นั้น ไม่สอดคล้องกับการเข้าไปอยู่อาศัยของมนุษย์กลุ่มแรกๆ ในภูมิภาคนั้น อันที่จริงเราพบว่าพวกมันมีประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงนั้นด้วยซ้ำ"

ขณะที่ เอดอนา ลอร์ด นักศึกษาปริญญาเอกที่ร่วมงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ช่วงที่แรดขนยาวสูญพันธุ์ตรงกับช่วงที่โลกมีอากาศอุ่นขึ้นผิดปกติ ที่เรียกว่า Bølling oscillation และ Allerød oscillation นี่จึงบ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นตัวการหลักที่ทำให้แรดขนยาวสูญพันธุ์ เนื่องจากอากาศที่อบอุ่นและชื้นแฉะขึ้นอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพืชผักที่เป็นอาหารของสัตว์โบราณชนิดนี้ และอาจส่งผลอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตพวกมัน



นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังพบว่า แรดขนยาวมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง แม้แต่ในช่วงที่ใกล้จะสูญพันธุ์ก็ตาม และยังพบว่า แรดขนยาวสามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี เพราะมีการกลายพันธุ์ในระดับยีนที่ทำให้ตัวรับความรู้สึกหนาวเย็นที่ผิวหนังมีความไวน้อยลง ช่วยให้พวกมันทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น

"นี่บ่งชี้ว่าการสูญพันธุ์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก บางทีอาจภายในระยะเวลาไม่กี่ร้อยปี" ศ.ดอเลียน กล่าว

หลังจากนี้ ทีมวิจัยหวังว่า จะทำการศึกษาว่าภูมิอากาศที่อุ่นขึ้นในยุคนั้นได้ส่งผลกระทบอื่นๆ ต่อเหล่าสรรพสัตว์อย่างไรบ้าง
…ที่มา BBC Newsไทย

-----------------------



(ซ้าย) ก้อนอำพันนี้ถูกพบที่รัฐคะฉิ่นของเมียนมาตั้งแต่ปี ๒๐๑๗  
ภาพที่วาดขึ้นใหม่ (ขวา) แสดงให้เห็นรูปร่างของแมลงทั้งสองชนิดชัดเจนขึ้น

มดยมโลก

นาทีชีวิต "มดยมโลก" งับลูกแมลงสาบ ถูกเก็บรักษาในก้อนอำพันนานเกือบร้อยล้านปี

รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology ฉบับล่าสุด เผยผลการศึกษาแมลงดึกดำบรรพ์บางสายพันธุ์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อราวร้อยล้านปีก่อน โดยวิเคราะห์จากซากฟอสซิลของ "มดยมโลก" (Hell Ant) ที่กำลังงับเหยื่อค้างอยู่ในก้อนอำพันเก่าแก่ ๙๙ ล้านปี

มีการค้นพบก้อนอำพันดังกล่าวในรัฐคะฉิ่นของเมียนมาตั้งแต่ปี ๒๐๑๗ โดยภายในก้อนอำพันคือซากฟอสซิลของมดที่มีขากรรไกรแนวตั้งขนาดใหญ่และโค้งงอเหมือนเคียวยมทูต ทั้งยังอยู่ในท่วงท่าขณะกำลังงับลูกของบรรพบุรุษแมลงสาบสายพันธุ์หนึ่งเอาไว้ด้วย

แมลงโบราณทั้งสองชนิดต่างสูญพันธุ์ไปแล้วทั้งคู่ แต่ซากที่เหลืออยู่ในก้อนอำพันหายากชิ้นนี้ เป็นหลักฐานชี้ถึงขั้นตอนสำคัญทางวิวัฒนาการที่ส่งผลทั้งต่อความอยู่รอดและดับสูญของเผ่าพันธุ์

ดร.ฟิลิป บาร์เดน ผู้นำทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเจอร์ซีย์ (NJIT)ของสหรัฐฯ ระบุว่าฟอสซิลดังกล่าวคือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมชิ้นแรก ซึ่งยืนยันว่า "มดยมโลก" หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haidomyrmecine เป็นมดชนิดเดียวที่มีขากรรไกรล่างซึ่งวางตัวและเคลื่อนไหวขึ้นลงในแนวตั้ง ต่างจากบรรดามดในปัจจุบันที่มีขากรรไกรในแนวขวางและขยับไปมาทางด้านข้าง



แบบจำลองส่วนหัวของมดยมโลก สีแดงคือขากรรไกรแนวตั้งรูปเคียว สีฟ้าคือเขาที่งอกบนหน้าผาก

ดร.บาร์เดนชี้ว่า การมีขากรรไกรแนวตั้งที่แปลกประหลาด เป็นเสมือนการทดลองทางวิวัฒนาการ ที่จะพิสูจน์ว่าการล่าเหยื่อได้ง่ายขึ้นโดยแลกกับการมีขากรรไกรแนวตั้งขนาดใหญ่นี้คุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งผลปรากฎว่าอวัยวะที่ไม่เหมือนใครนี้จำกัดการเคลื่อนไหวส่วนหัวของมันมากเกินไป และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องสูญพันธุ์ โดยไม่มีมดชนิดใดในปัจจุบันตามรอยวิวัฒนาการไปในแนวนี้

"๙๙% ของสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ที่เคยอยู่บนโลกได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และเราก็กำลังเข้าใกล้การสูญพันธุ์ระดับมหึมาครั้งที่ ๖ เข้าไปทุกขณะ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะทำความเข้าใจถึงธรรมชาติและลักษณะของการสูญพันธุ์หลากหลายแบบเอาไว้ เพื่อให้ทราบว่าอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยตัดสินให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดหรือสิ้นสูญ" ดร. บาร์เดนกล่าว
… ที่มา BBC Newsไทย

-----------------------



บาทีโนมัส รักซาซา (Bathynomus raksasa) เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเปลือกแข็ง
ขนาดยักษ์ ๘ สายพันธุ์ ที่ถูกค้นพบแล้วในโลก

แมลงสาบทะเล

"แมลงสาบทะเล" สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดยักษ์ ที่เพิ่งถูกค้นพบในทะเลอินโดนีเซีย

นักวิทยาศาสตร์ในอินโดนีเซีย ประกาศว่า พบสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า แมลงสาบทะเลยักษ์

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่นี้จัดอยู่ในตระกูลบาทีโนมัส (Bathynomus) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดใหญ่ มีลำตัวแบนและแข็งคล้ายกับแมงคาเรือง (woodlice) อาศัยอยู่ในน้ำลึก

บาทีโนมัส รักซาซา (ซึ่งแปลว่า "ยักษ์" ในภาษาอินโดนีเซีย) ถูกพบที่ช่องแคบซุนดาที่อยู่ระหว่างเกาะชวาและเกาะสุมาตรา บริเวณใกล้เคียง คือ มหาสมุทรอินเดีย ที่ระดับน้ำทะเลลึก ๙๕๗-๑,๒๕๙ เมตร

เมื่อโตเต็มวัย มันมีขนาดเฉลี่ย ๓๓ เซนติเมตร และถือว่า มีขนาด "มหึมา" สัตว์จำพวกบาทีโนมัสสายพันธุ์อื่นๆ อาจมีขนาดตั้งแต่หัวถึงหางยาว ๕๐ เซนติเมตร



บาทีโนมัส รักซาซา (size=8pt]Bathynomus raksasa[/size]) มีขนาดจากหัวถึงหางยาวเฉลี่ย ๓๓ เซนติเมตร

คอนนี มาร์กาเรทา ซิดาบาล็อก นักวิจัยอาวุโส จากสถาบันวิทยาศาสตร์อินโดนีเซีย (Indonesian Institute of Sciences--LIPI) กล่าวว่า "ขนาดของมันใหญ่มากจริงๆ และมันมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสัตว์จำพวกบาทีโนมัส"

ก่อนหน้านี้ มีสัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดมหึมาที่ถูกค้นพบแล้วเพียง ๗ สายพันธุ์ในโลก

คณะนักวิจัยได้รายงานในวารสาร ซูคีย์ส (ZooKeys) ว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พบสัตว์จำพวกบาทีโนมัสในทะเลลึกของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการศึกษา

จาโย ราห์มาดี รักษาการหัวหน้าฝ่ายสัตววิทยาของ LIPI กล่าวว่า การค้นพบนี้เป็นการบ่งชี้ถึง "ความหลากหลายทางชีวภาพของอินโดนีเซียที่ยังรอการค้นพบ"



สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดมหึมา อาจโตได้ถึงขนาด ๕๐ เซนติเมตร

จากข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum--NHM) ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มีหลายทฤษฎีในการอธิบายถึงสาเหตุที่สัตว์น้ำเปลือกแข็งในทะเลลึกมีขนาดใหญ่

ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำลึกขนาดนั้น จำเป็นต้องสะสมออกซิเจนมากกว่า ดังนั้นจึงมีร่างกายที่ใหญ่กว่า มีขาที่ยาวกว่า

อีกปัจจัยหนึ่งคือ ไม่มีสัตว์นักล่ามากนักที่ทะเลลึก ดังนั้นพวกมันจึงเติบโตจนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้โดยไม่เป็นอันตราย
นอกจากนี้ สัตว์จำพวกบาทีโนมัส ยังมีเนื้อน้อยกว่าสัตว์น้ำเปลือกแข็งชนิดอื่น อย่างเช่น ปู ทำให้พวกมันไม่เป็นที่ดึงดูดของสัตว์นักล่า

บาทีโนมัส ยังมีหนวดที่ยาวและตาที่ใหญ่ ลักษณะทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้มันเดินทางในความมืดบริเวณถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันได้ดี

แม้จะมีรูปร่างแปลกประหลาดแต่พวกมันไม่ได้มีพิษมีภัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เร่ร่อนอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร หาเศษซากสัตว์กินเป็นอาหาร

จากข้อมูลของ NHM การเผาผลาญของพวกมันต่ำอย่างเหลือเชื่อ สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดยักษ์ตัวหนึ่งที่ถูกเลี้ยงไว้ในญี่ปุ่น มีรายงานว่า มีชีวิตอยู่รอดได้นาน ๕ ปี โดยไม่ได้กินอาหารเลย



บาทีโนมัส เป็นสัตว์กินซากสัตว์ โดยมันจะหาซากสัตว์ที่จมลงมาใต้ทะเลกินเป็นอาหาร

การวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง LIPI, มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หลี่ กง เจียน (Lee Kong Chian Natural History Museum) ของสิงคโปร์

ในช่วงการสำรวจเป็นเวลานาน ๒ สัปดาห์ในปี ๒๐๑๘ คณะนักวิจัยได้ค้นพบและเก็บสิ่งมีชีวิตหลายพันชนิดมาจากจุดต่างๆ ๖๓ แห่ง และได้พบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า ๑๐ สายพันธุ์

คณะทำงานบอกว่า ตัวอย่างของบาทีโนมัส ตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัว มีขนาดวัดได้ ๓๖.๓ เซนติเมตร และ ๒๙.๘ เซนติเมตร ตามลำดับ

นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างบาทีโนมัสที่ยังไม่โตเต็มวัย ๔ ตัวอย่าง มาจากบริเวณช่องแคบซุนและทางใต้ของเกาะชวาด้วย แต่ ซิดาบาล็อก บอกว่า ไม่สามารถระบุสายพันธุ์พวกมันได้ เพราะลักษณะบางอย่างยังไม่พัฒนา
…ที่มา BBC News ไทย

-----------------------



ผิวสีมืดสนิทที่ดักจับและเก็บแสงสว่างได้ดี เป็นวิธีการพรางตัวที่มีประสิทธิภาพสูงใต้ทะเลลึก

ปลาทะเลลึกพรางตัวด้วยผิวดำ
ระดับ "แวนตาแบล็ก" สีมืดมิดที่สุดในโลก

สัตว์ทะเลลึกอย่างน้อย ๒๖ ชนิดพันธุ์ ถูกค้นพบว่ามีผิวหนังสีดำเข้มเป็นพิเศษในระดับที่ใกล้เคียงกับสี "แวนตาแบล็ก" (Vantablack) ซึ่งจัดเป็นสีที่มีความมืดมิดมากที่สุดในโลก จนช่างภาพไม่อาจจะถ่ายรูปของพวกมันได้ด้วยเทคนิคการจัดแสงแบบธรรมดา

รายงานการค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology โดยทีมนักชีววิทยาจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้ระบุว่า สัตว์ทะเลลึกเหล่านี้อาศัยอยู่ตรงก้นทะเลที่มืดมิด ในระดับความลึกมากกว่า ๒๐๐ เมตรขึ้นไป โดยผิวที่ดำสนิทยิ่งกว่าเฉดสีดำอื่นๆ ช่วยพรางตัวพวกมันให้รอดจากสัตว์ผู้ล่า

ดร.คาเรน ออสบอร์น หนึ่งในสมาชิกของทีมวิจัยจากสถาบันสมิธโซเนียนบอกว่า เธอเคยประสบปัญหาขณะพยายามบันทึกภาพปลาทะเลลึกบางชนิด เนื่องจากผิวหนังของพวกมันดูดซับแสงสว่างจากดวงไฟของช่างภาพเอาไว้ได้เกือบทั้งหมด ทำให้ภาพออกมาไม่คมชัดและมืดมัว



"มังกรดำแปซิฟิก" เป็นสัตว์ทะเลลึกที่ถ่ายภาพได้ยากมากที่สุดตัวหนึ่ง


สัตว์ทะเลลึกหลายชนิดพันธุ์ต่างแยกกันมีวิวัฒนาการ เพื่อสร้างผิว
ที่สามารถดักจับและเก็บแสงสว่างได้เกือบ ๑๐๐%

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นสู่การศึกษาวิธีพรางตัวของสัตว์ทะเลลึกกลุ่มนี้ ซึ่งบางตัวมีผิวดำสนิทจนดูดซับกักเก็บแสงไว้ได้มากถึง ๙๙.๙๕๖% เทียบเท่าความดำมืดของสีแวนตาแบล็กที่ดูดซับแสงได้ราว ๙๙.๙๖%

ผลการวิเคราะห์ผิวหนังของสัตว์ทะเลลึกดังกล่าวพบว่า พวกมันมีอนุภาคของเม็ดสีเรียงติดกันแน่นขนัดโดยไม่มีช่องว่าง ซึ่งอนุภาคเหล่านี้ก่อตัวเป็นชั้นบางในผิวหนังเพียงชั้นเดียว โดยเม็ดสีมีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมในการกระจายให้แสงผ่านเข้าไปใต้ผิวหนังได้พอดี ทั้งยังดักจับแสงเอาไว้ไม่ให้สะท้อนกลับออกมาด้วย




โครงสร้างของเม็ดสีแบบพิเศษดังกล่าว ช่วยให้พรางตัวในที่โล่งใต้ทะเลลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีแสงจากสัตว์ผู้ล่าเช่นปลาตกเบ็ด (anglerfish) ฉายส่องมา หรือเมื่อต้องอำพรางไม่ให้ตนเองกลายเป็นจุดเด่นหากกลืนกินปลาหรือสัตว์เรืองแสงเข้าไป



ความรู้เรื่องดังกล่าวทำให้ ดร. ออสบอร์น สามารถคิดค้นวิธีจัดแสงให้ถ่ายภาพปลาทะเลลึกผิวมืดได้คมชัดขึ้น และความรู้นี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อคิดค้นวัสดุสีดำพิเศษเคลือบด้านในของกล้องถ่ายภาพหรือกล้องโทรทรรศน์ได้

ส่วนความคืบหน้าล่าสุดของวิทยาการด้านนี้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยสถาบันเทคโนโลยีเอ็มไอที (MIT) ของสหรัฐฯ เปิดตัววัสดุชนิดใหม่ที่ดูดกลืนแสงได้มากกว่า ๙๙.๙๙๕% ดำมืดยิ่งกว่าสีแวนตาแบล็กถึง ๑๐ เท่า
…ที่มา BBC News ไทย

-----------------------




เพนกวินที่แอนตาร์กติกาขับถ่ายก๊าซหัวเราะ

เพนกวินที่แอนตาร์กติกาขับถ่ายก๊าซหัวเราะออกมามากเกินไป ทำเอานักวิจัยขำกลิ้งจนแทบหยุดไม่ได้

เพนกวินจักรพรรดิฝูงหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะใกล้ทวีปแอนตาร์กติกา ขับถ่ายอุจจาระที่มีไนโตรเจนสูงออกมาในปริมาณมากเกินไป ทำให้มีก๊าซหัวเราะซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาวิถีชีวิตของพวกมันอยู่สูดดมเข้าไป จนเกิดอาการเพี้ยนและขำกลิ้งแทบหยุดไม่ได้กันเลยทีเดียว

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติประจำศูนย์ศึกษาชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (CENPERM) แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ระบุถึงเรื่องราวขำขันข้างต้นที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแบบขำไม่ออก ในรายงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงวารสาร Science of the Total Environment ฉบับล่าสุด

"มูลของเพนกวินทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์หรือก๊าซหัวเราะในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณรอบถิ่นที่อยู่ของฝูงเพนกวินขนาดใหญ่" ศาสตราจารย์ โบ เอลเบอร์ลิง ผู้นำทีมวิจัยกล่าว

ขณะที่ทีมวิจัยของ ศ.เอลเบอร์ลิง กำลังศึกษาเพนกวินจักรพรรดิบนเกาะเซาท์จอร์เจีย (South Georgia) ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างแผ่นดินอเมริกาใต้กับทวีปแอนตาร์กติกา มีสมาชิกทีมวิจัยผู้หนึ่งเกิดอาการเพี้ยนและหัวเราะขำขึ้นมาอย่างหนักโดยไร้สาเหตุ ส่วนสมาชิกในทีมอีกคนหนึ่งก็มีอาการไม่สบายและปวดศีรษะด้วย

คาดว่านักวิจัยผู้เคราะห์ร้ายได้เดินเก็บข้อมูลอยู่ในบริเวณใกล้ฝูงเพนกวินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จนสูดดมเอาก๊าซหัวเราะจากมูลเพนกวินเข้าไปในปริมาณมากพอสมควร และเกิดเป็นพิษขึ้นดังกล่าว

ก๊าซไนตรัสออกไซด์มาจากมูลของเพนกวินที่มีปริมาณไนโตรเจนสูง เนื่องจากพวกมันกินปลาและตัวคริลล์ (Krill) สัตว์ทะเลมีเปลือกหุ้มรูปร่างคล้ายกุ้งตัวเล็กจิ๋วที่มีไนโตรเจนอยู่มากเป็นอาหาร

มูลของเพนกวินที่ขับถ่ายออกมาจะถูกแบคทีเรียในดินเปลี่ยนให้เป็นก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความเป็นพิษและทำลายสิ่งแวดล้อมสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๓๐๐ เท่า

"ในกรณีนี้ ก๊าซหัวเราะที่ฝูงเพนกวินผลิตออกมายังไม่มากพอจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก แต่ก็ทำให้เราได้ความรู้ใหม่ เรื่องที่เพนกวินฝูงใหญ่ส่งผลเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัวพวกมันอย่างไรบ้าง เพราะในปัจจุบันประชากรเพนกวินโดยทั่วไปมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น และกำลังขยายอาณาเขตของพวกมันออกไปเป็นบริเวณกว้าง" ศ. เอลเบอร์ลิง กล่าว
…ที่มา BBC News ไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2564 16:25:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2564 16:06:27 »


ปลาบู่มหิดล

ปลาบู่มหิดล Flagfin Prawn Goby ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ โดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาด้านการประมงในประเทศไทย ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 08 เมษายน 2564 20:13:07 »


นกเงือก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จ.ระนอง ส่งภาพนกกกหรือนกกาฮัง ซึ่งเป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน ๑๓ ชนิดของนกเงือกในประเทศไทย บินมาที่สำนักงานของเขตรักษาพันธุ์

เมื่อพูดถึงนกเงือก หลายคนมักจะนึกถึง รักแท้ ด้วยพฤติกรรมการจับคู่ของนกเงือกส่วนใหญ่ เมื่อนกเงือกจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว จะผูกพันกันแค่๒ ตัวตลอดชีวิต

นกเงือกในประเทศไทยมีหลายชนิด นกแก๊ก, นกเงือกดำ, นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว, นกเงือกสีน้ำตาล, นกเงือกปากดำ, นกเงือกคอแดง, นกเงือกปากย่น, นกเงือกกรามช้าง, นกเงือกกรามช้างปากเรียบ, นกเงือกหัวหงอก, นกเงือกหัวแรด, นกกก, นกชนหิน

ทุกชนิดทำรังวางไข่ในโพรงต้นไม้ที่เกิดขึ้นก่อนตามธรรมชาติ เช่น โพรงที่นกนักเจาะอย่างนกหัวขวาน นกโพระดก เคยเจาะเอาไว้ หรือการเกิดโรคของต้นไม้จนผุเป็นโพรง เจ้านกเงือกก็จะเข้าสำรวจปรับแต่งทั้งปากโพรงและในโพรง ถ้าสภาพโอเคก็ใช้เป็นโพรงรัง วางไข่
ด้วยความที่เป็นนกตัวใหญ่ก็ต้องกินเยอะ กินทั้งลูกไม้ป่านานาชนิดและสัตว์เล็กๆ ที่สามารถจับได้ ซึ่งความหลากหลายของอาหารมีผลต่อสุขภาพของนกมากๆ

นกเงือกมีบทบาทเด่นในระบบนิเวศป่า เป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ไม้ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากพฤติกรรมการเลือกกินลูกไม้สุก และนำพาเมล็ดไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ ที่นกเงือกบินไปหากินในแต่ละวัน จากการวิจัยพบว่านกเงือกกินผลไม้ได้มากกว่า ๓๐๐ ชนิด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่กว่า ๑.๕ เซนติเมตร ซึ่งนกขนาดเล็กไม่สามารถช่วยกระจายเมล็ดได้ นกเงือกจึงเป็นกำลังสำคัญในการช่วยรักษาความหลากหลายของพืชพพรณ จากความสัมพันธ์ของนกเงือกกับระบบนิเวศป่าสมบูรณ์ในแง่ต่างๆ ทำให้นกเงือกมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไป สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย โดยเฉพาะพรรณไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือก

นกเงือกเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้มากถึง ๕๐๐,๐๐๐ ต้น




แมวดาว

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง รับมอบแมวดาวจากชาวบ้าน เพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

เมื่อวันที่ ๖ พ.ค.๖๓ นายสุธรรม วงษ์จันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเวียง ได้ทำการรับมอบ แมวดาว (Prionailurus bengalensis) จำนวน ๑ ตัว ที่ได้มาจากราษฎรบ้านหนองกุงธนสาร ตำบลหนองกุงธนสาร อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น นำมาส่งมอบให้ทางอุทยานแห่งชาติภูเวียง เพื่อนำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

สำหรับแมวดาว มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน แต่มีความเพรียวมากกว่า ขนมีสีซีดสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องสีขาว มีลายคล้ายดอกกุหลาบบริเวณลำตัวและหาง ส่วนปลายหางเป็นปล้อง มีแถบดำสี่แถบพาดขนานจากหน้าผากไปยังบริเวณคอ แมวดาวมีหัวขนาดเล็ก ปากสั้น และหูกลม อาหารของแมวดาว คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก ปลา ซากสัตว์ และแมลง แมวดาวหากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรง บางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง

สถานภาพปัจจุบัน จัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least concern; LC) ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Red List, 2008) และเป็นชนิดพันธุ์ที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีสัตว์หมายเลข ๒ ของอนุสัญญาการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ (CITES)




นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกเด่นในอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่(Greater Racket-tailed Drongo)  

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicrurus paradiseus

ลักษณะทั่วไป : ขนาดตัวใหญ่และหนากว่านกแซงแซวหางบ่วงเล็ก หน้าผากมีหงอนตั้งเป็นกระจุก ขนลำตัวดำเหลือบน้ำเงินเล็กน้อย หางเป็นแฉกตื้นๆ หางคู่นอกมีก้าน ขนยาวคล้ายนกแซงแซวหางบ่วงเล็ก แต่ปลายแผ่ออกด้านเดียวเป็นแผ่นใหญ่และบิดโค้งเล็กน้อย

นกวัยอ่อน : หงอนสั้น ก้านหางคู่นอกไม่ยาว ท้องอาจมีสีขาวแซม

เสียงร้อง : ร้องได้หลายแบบและท่วงทำนอง มักเลียนเสียงนกอื่นๆ

ถิ่นอาศัย : ป่าดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ ที่ราบถึงความสูง ๑,๗๐๐ เมตร ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ไม่สูงมากนัก นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก





หอยมรกตเกาะตาชัย หนึ่งเดียวในโลก

หอยมรกต มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แอมฟิโดรมัส คลาซิเรียส (Amphidromus classirius) ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบได้ที่เกาะตาชัย ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันเท่านั้น อยู่ทางทะเลอันดามันนอกชายฝั่งจังหวัดพังงาประมาณ ๗๐กิโลเมตร จากสปีชีส์ดั่งเดิม คือ หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส (Amphidromus atricallosus) ที่มีเปลือกเวียนทั้งซ้ายและขวา เพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่มีอาหารจำกัด หอยมรกตจึงมีการปรับตัวให้มีขนาดเล็กลง มีฟันเปลี่ยนไป มีอวัยวะเพศหดสั้นลงจนไม่สามารถสืบพันธุ์กับชนิดดั่งเดิมได้ และมีเปลือกเวียนซ้ายเพื่อเอาตัวรอดจากนักล่าอย่างงูกินทาก จนเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่อย่างสมบูรณ์ (Speciation)

โดยวันพฤหัสบดี ที่ ๗พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันทำการออกค้นหาหอยมรกตที่หน่วยพิทักษ์ฯ ที่ สล.๓ (เกาะตาชัย) ได้พบหอยมรกตตัวเต็มวัย ขนาดประมาณ ๔-๕ เซ็นติเมตร จำนวน ๕ ตัว ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เป็นตัวบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าหอยมรกตมีการขยายพันธุ์และเติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศบนเกาะ ซึ่งอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากการปิดการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัยเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว จึงทำให้ทรัพยากรมีการฟื้นตัวและกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันเกาะตาชัยยังไม่มีกำหนดเปิดการท่องเที่ยวบนเกาะ แต่นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้ามาทำกิจกรรมดำน้ำลึกบริเวณรอบเกาะได้ตามปกติ

หอยมรกตรู้จักปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มนุษย์เองก็เช่นกัน หากยังคงทะนงตนที่จะเปลี่ยนแต่สภาพแวดล้อมรอบข้างให้เข้ากับตัวเองเท่านั้น  สัญชาตญาณการปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดของเราอาจหมดสิ้นไป วันหนึ่งเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นอันตรายแก่มนุษย์ วันนั้นเราอาจกลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่ถูกลืมก็เป็นได้

ข้อมูลจาก : ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา, ดร.จิรศักดิ์ สุจริต, ดร.ปิโยรส ทองเกิด ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ BRT Magazine


ขอบคุณภาพจาก : เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park



ผีเสื้อนางพญาพม่า

จัดอยู่ในผีเสื้อที่หายาก

ชื่อพ้อง : Stichopthalma louisa    

ชื่อสามัญอื่น : Burmese Junglequeen    

ขนาด : ๑๒.๕-๑๕.๐ ซม.    

ลำตัว : สีน้ำตาล    

ด้านหลัง ปีกหน้า : โคนปีกสีเหลืองส้ม ส่วนกลางปีกสีขาว ที่ขอบปีกมีเส้นหยักสีดำ    

ปีกหลัง : เกือบทั้งปีกเป็นสีเหลืองส้มมีจุดสีดำรูปเหลี่ยม ๖ จุด    

ด้านท้อง ปีกหน้า : โคนปีกสีน้ำตาลส้ม จุดตาสีน้ำตาล ขอบสีดำส่วนตรงกลางมีจุดสีขาว ๕-๖ จุด    

ปีกหลัง : จุดตาสีน้ำตาล ขอบดำ ๕ จุด

ชนิดที่ใกล้เคียง : ไม่มีข้อมูล    

ความหลากหลาย : มี ๓ ชนิดย่อยคือ S.I. louisa S.I. siamensis และ  S.I. mathilda    

เขตแพร่กระจาย : อัสสัม เมียนมาร์ และไทย
   ขอบคุณที่มา : อุทยานภูหินร่องกล้า



ลิ่นหรือนิ่ม

ลิ่นหรือนิ่มนั้น เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างตัวเตี้ยติดดิน ขาสั้น หางยาว ปากยื่นยาวแหลม ลำตัวมีเกล็ดแข็งทั่วตัว ดูเผินๆ จะคล้ายสัตว์เลี้อยคลานจำพวกตะกวด แต่ความจริงเจ้าตัวลิ่นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเกล็ดของลิ่นก็คือขนที่แปรรูปไป ส่วนขนที่เป็นเส้นยังคงมีอยู่บางส่วน เช่นช่องระหว่างเกล็ด คาง และใต้ลำตัว

ลิ่นหากินตอนกลางคืน ปีนป่ายได้ดี และเคลื่อนไหวบนพื้นดินได้แคล่วคล่อง ตอนกลางวันจะพักผ่อนตามง่ามไม้ ในโพรง หรือในจอมปลวก อาศัยได้ในภูมิประเทศหลายชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าชั้นสอง ทุ่งหญ้า หรือแม้แต่พื้นที่เกษตรกรรม พบในพม่า ไทย ลาวและเวียดนามตอนกลางและล่าง กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบอร์เนียว

ลิ่นออกลูกทีละตัว ตั้งท้องนาน ๑๓๐ วัน ลูกลิ่นชอบเกาะอยู่ที่โคนหางแม่เวลาเดินทางไปไหนมาไหน เมื่อถูกคุกคามแม่ลิ่นจะม้วนตัวห่อลูกไว้ข้างใน

ศัตรูตัวสำคัญของลิ่นก็คือคน เพราะลิ่นเป็นที่ต้องการของตลาดยาจีนและยาดอง นอกจากนี้ก็ยังเป็นอาหารประจำของเสือดาวและงูเหลือมอีกด้วย

การค้าตัวลิ่นนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหนในประเทศไทย ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕

แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับความผิดด้านสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ได้ที่ สายด่วนพิทักษ์ป่า ๑๓๖๒ สำนักอุทยานแห่งชาติ




ชะนีมือขาว

ชะนีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา Common gibbon

ชะนีมือขาวสามารถอาศัยได้ในป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบทั้งชื้นและแล้ง มักเลือกอาศัยบนต้นไม้ที่มีใบรกชัฏ ออกหากินในเวลาเช้าถึงเย็น อาศัยหลับนอนบนต้นไม้ โดยจะใช้ต้นไม้ที่เป็นรังนอนหลายตัวภายในอาณาเขตครอบครองของแต่ละครอบครัว ต้นไม้ที่ใช้หลับนอนมักอยู่ใกล้แหล่งอาหาร อาหารหลักได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ใบไม้, ผลไม้ รวมทั้งแมลงบางชนิด แต่จะกินผลไม้มากกว่าอาหรชนิดอื่นๆ ดื่มน้ำด้วยการเลียตามใบไม้หรือล้วงเข้าไปวักในโพรงไม้ ครอบครัวของชะนีมือขาวครอบครัวหนึ่งจะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูก ปกติออกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีเวลาตั้งท้องนาน ๒๑๐ วัน และให้ลูกกินนมเป็นเวลา ๑๘ เดือน ลูกชะนีจะเกาะอยู่ที่หน้าอกแม่นานถึง ๒ ปี เมื่ออายุได้ ๘-๙ ปี ก็จะแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่

ชะนีมือขาวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีการผสมข้ามพันธุ์กับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) จนเกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย อันเนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลก ที่มีชะนีทั้ง ๒ ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน




จระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย

จระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (๓-๔ เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ ๑๐-๑๒ ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ ๒๐-๔๘ ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน ๖๘-๘๕วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว ๘๐ วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว

โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง ๒๐๐ ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่างๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะทิวเขาพนมกระวาน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง ๓ ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัวที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมา

 ถานะในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข ๑ (Appendix 1) ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
 ที่มา : สำนักอุทยานแห่งชาติ



กระท่าง

กระท่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์จำพวกนิวต์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทยวิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tylototriton verrucosus

เป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามระยะการเจริญเติบโต หรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างก่อนกลายเป็นตัวเต็มวัย หรือ Metamorphosis เช่น ตัวอ่อนของกบและคางคกที่เรียกว่า ลูกอ๊อด อาศัยอยู่ในน้ำ และหายใจด้วยเหงือก ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง และกลายมาเป็นกบหรือคางคกตัวเต็มวัย ที่อาศัยอยู่บนบก และหายใจด้วยปอดและผิวหนัง

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ๓ อันดับ (order) คืออันดับเขียดงู อันดับกบและคางคก และอันดับซาลาแมนเดอร์และนิวท์ สัตว์ในอันดับซาลาแมนเดอร์และนิวท์นั้นแบ่งรูปร่างได้ ๒ แบบคือ ซาลาแมนเดอร์ (salamander) มีผิวหนังเรียบลื่นและมีร่องอยู่ระหว่างขาหน้าและขาหลัง และนิวท์ (newt) มีผิวหนังขรุขระและไม่มีร่องอยู่ระหว่างขาหน้าและขาหลัง เช่น กะท่างน้ำที่พบในประเทศไทย

กะท่างน้ำมีรูปร่างคล้ายกับสัตว์เลื้อยคลานอย่างจิ้งจกหรือกิ้งก่า ทำให้มักถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งความเข้าใจผิดนี้เองนำไปสู่การมีชื่อที่หลากหลายตามแต่ละท้องถิ่น เช่น กะท่างน้ำ (กะท่าง ภาษาอีสานแปลว่ากิ้งก่า) จระเข้น้ำ จิ้งจกน้ำ และจั๊กกิ้มน้ำ (จั๊กกิ้มภาษาเหนือแปลว่าจิ้งจก) เป็นต้น

ลักษณะของกะท่างโดยทั่วไปมีขา ๔ ขาที่ยาวใกล้เคียงกัน ลำตัวเรียวยาว มีหางยาว มีสันที่หัวทั้ง ๒ ข้าง มีสันแข็งเป็นแนวยาวผ่านกึ่งกลางของลำตัวไปจนถึงปลายหาง และมีตุ่มขนาดใหญ่หลายตุ่มเรียงเป็นแนวยาว ๒ แนวทั้งด้านซ้ายและขวาของลำตัว มีสีสันต่างๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม

กะท่างน้ำตัวเต็มวัย (adult) อาศัยอยู่บนบกที่มีความชุ่มชื้นและจะเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งน้ำ เช่น แอ่งน้ำขังหรือหนองน้ำที่มักไม่มีปลาอาศัย และมีพืชน้ำขึ้นอยู่ทั่วไป รวมถึงมีเศษอินทรียวัตถุต่างๆ กะท่างมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใต้พื้นน้ำเพื่อซ่อนตัวจากผู้ล่า การจับคู่ผสมพันธุ์เป็นการปฏิสนธิภายในร่างกายของเพศเมีย ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

จากนั้นกะท่างน้ำเพศเมียจะวางไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (fertilized eggs) ที่มีลักษณะกลม ใส คล้ายวุ้น ติดอยู่กับพืชน้ำ ก้อนหิน หรือบนพื้นดินใกล้กับแหล่งน้ำ

ตัวอ่อน (larvae) ที่ออกจากไข่จะอาศัยในน้ำและหายใจด้วยเหงือกที่เป็นพู่ ๓ คู่ยื่นออกมาจากหัวและเหงือกนี้จะค่อยๆ ลดรูปไปเมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเด็ก (juvenile) ที่จะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบกตามที่ชุ่มชื้น เช่น ใต้ขอนไม้ ใต้โขดหิน ใต้ใบไม้ที่ทับถมกัน หรือในโพรง และเมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะกลับไปยังแหล่งน้ำเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ต่อไป และพื้นที่ที่พบกะท่างน้ำนั้นจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป

ปัจจุบัน กะท่างน้ำที่พบในประเทศไทยมีรายงาน ๕ ชนิด ดังนี้ กะท่างหรือกะทั่ง (Tylototriton verrucosus) กะท่างน้ำเหนือหรือกะท่างน้ำอูเอโนะ (T. uyenoi), กะท่างน้ำดอยลังกา (T. anguliceps), กะท่างน้ำอีสานหรือกะท่างน้ำปัญหา (T. panhai) และกะท่างน้ำดอยภูคา (T. phukhaensis) ทั้ง ๕ ชนิดนี้มีข้อมูลทางพันธุกรรม รวมถึงมีลักษณะสัณฐานและมีขอบเขตการกระจายตัวที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้

• กะท่างหรือกะทั่งมีสันนูนข้างหัวแคบ มีสันกลางหลัง (vertebral ridge) แคบ และแบ่งเป็นท่อน (segmented) พบการกระจายตัวที่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย

• กะท่างน้ำเหนือมีปลายหัวทู่ สันนูนข้างหัวกว้าง มีสันกลางหลังกว้างและแบ่งเป็นท่อน มีรายงานการกระจายตัวบนเทือกเขาถนนธงชัยตะวันออกที่ดอยสุเทพ-ปุย และดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และบนเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกที่น้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

• กะท่างน้ำดอยลังกามีสันนูนข้างหัวแคบและสันนูนส่วนปลายโค้งเข้าหาแนวกลางตัว มีสันนูนกลางหัวขนาดใหญ่ พบที่อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย

• กะท่างน้ำอีสานมีขาสีน้ำตาลเข้มยกเว้นปลายนิ้วมีสีส้มถึงเหลืองมีการกระจายตัวบนเทือกเขาเลย-เพชรบูรณ์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย

• กะท่างน้ำดอยภูคามีสันกลางหัวยาวและมีสันคล้ายอักษรตัววี “V” บนหัว พบเฉพาะที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน นับเป็นกะท่างน้ำชนิดล่าสุดของโลก
 ภาพจาก สำนักอุทยานแห่งชาติ สำนักอุทยานแห่งชาติ - ข้อมูลจาก NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2564 20:15:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 12 เมษายน 2564 13:46:16 »



สรรพนามเรียกช้างที่ถูกต้องเรียกอย่างไร.

ช้าง เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ กินพืช  ผิวสีเทา จมูกยื่นยาว เรียกว่า งวง ตัวผู้มักมีงายาวเรียก ช้างพลาย แต่ถ้ามีงาสั้น เรียก ช้างสีดอ  ตัวเมียเรียก ช้างพัง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่ช้างพังบางตัวมี ขนาย ซึ่งเป็นงาขนาดเล็กและสั้น

ช้างป่าจะอยู่รวมกันเป็นโขลงมีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง ลักษณนามของช้างป่าใช้ว่า ตัว ถ้าเป็นช้างบ้านที่มีผู้นำมาใช้เป็นพาหนะในการเดินทางหรือนำมาใช้งาน ใช้ลักษณนามว่า เชือก  ถ้าเป็นช้างขึ้นระวางหรือช้างสำหรับทำสงครามเพื่อรักษาบ้านเมือง ใช้ลักษณนามว่า ช้าง

คนไทยถือว่าช้างเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้นำภาพช้างเผือกติดไว้กลางธงพื้นสีแดงสำหรับเรือหลวงที่แล่นออกไปติดต่อกับนานาประเทศและใช้ตลอดมา

จนถึงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งโปรดให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐ ขึ้น กำหนดให้ธงชาติเป็นธงพื้นแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าหาเสาธง และใช้ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ จึงทรงบัญญัติธงไตรรงค์ขึ้นใช้แทนและใช้มาถึงปัจจุบัน

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
ภาพ : อุทยานแห่งชาติกุยบุรี



ควายป่า

รู้หรือไม่?...ทั่วโลกพบ "ควายป่า" เพียง ๔ แห่งเท่านั้น ประเทศไทยพบที่ ขสป.ห้วยขาแข้ง ป่ามรดกโลกที่สำคัญที่สุดในการอนุรักษ์ประชากรควายป่า
ควายป่า Wild Water Buffalo (Bubalus bubalis) : พบการกระจายในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพียง ๒ แห่ง ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ (กลุ่มป่าตะวันตก) ซึ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งถือเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ประชากรควายป่า

ประชากรควายป่าในโลกมีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ ๔ แห่ง เท่านั้น ได้แก่
Madhya Pradesh และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Manas  ในประเทศอินเดีย
■ เขตอนุรักษ์ Kosi Tappa ประเทศเนปาล
■ อุทยานแห่งชาติ Royal Manas ประเทศภูฏาน
■ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในประเทศไทย (Hedges,๒๐๐๑)

ประชากรควายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งถูกค้นพบในปี พ.ศ.๒๕๐๗ โดยเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจพบซากควายป่า ต่อจากนั้นการสำรวจควายป่าได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๓ โดยพบควายป่าถึง ๒ ฝูง ต่อมาในการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ ก็ยังพบว่าควายป่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเช่นเดิม และมีจำนวนค่อนข้างคงที่ ทั้งนี้จากผลการศึกษาในปี พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๔๔ ได้มีการประเมินจำนวนควายป่าไว้ประมาณ ๓๕-๔๐ ตัว โดยชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ทุ่งหญ้าริมน้ำใกล้ลำห้วยขาแข้ง

ควายป่าสามารถเลือกใช้ประโยชน์พื้นที่ได้หลากหลายประเภทป่า โดยมีปัจจัยจำกัดเป็นแหล่งน้ำ ความสูง และความลาดชันของพื้นที่

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



ปลาค้อถ้ำพระวังแดง ปลาไม่มีตา

ปลาค้อถ้ำพระวังแดง ปลาไม่มีตา ปลาหายากพบได้เฉพาะถิ่นเดียวในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงเท่านั้น

ถ้ำพระวังแดง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่  ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก  มีความยาวประมาณ ๑๒.๕ กิโลเมตร ซึ่งถือว่ายาวที่สุดในประเทศไทย
ภายในถ้ำมีห้องโถงขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อย ฝาผนังถ้ำมีลักษณะเป็นคราบน้ำไหลสีแดงสวยงามเหมือนงานประติมากรรม และหินบางส่วนกลายเป็นแท่นคล้ายบัลลังก์ และภายในถ้ำมีลำห้วยอยู่ด้านล่าง

ลำห้วยแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือพันธุ์ปลาหายาก คือ ปลาค้อถ้ำพระวังแดง หรือปลาไม่มีตา เนื่องจากอาศัยอยู่ในถ้ำเป็นเวลานานจนมีการปรับสภาพให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตภายในถ้ำซึ่งไม่มีแสงเพียงพอ เป็นปลาที่ถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ.๒๐๐๓

ปลาค้อถ้ำพระวังแดง เป็นปลาถิ่นเดียวที่พบเฉพาะในถ้ำพระวังแดง ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง  มีลักษณะลำตัวค่อนข้างป้อม ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ลำตัวสีชมพูอมเหลือง ครีบมีสีใสสีเหลืองเรื่อๆ ตัวผู้มีส่วนหลังโค้งนูน รูจมูกมีติ่งแหลมคล้ายหนวด ตามีขนาดเล็กมากจนเป็นจุดเล็กๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเพราะอาศัยอยู่ในถ้ำลึกตั้งแต่ ๑๐๐ เมตรขึ้นไป

ปลาค้อถ้ำพระวังแดงอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ๓-๑๐ ตัว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมีย  ปัจจุบันปลาค้อถ้ำพระวังแดงเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และพบได้เฉพาะถิ่นเดียวในประเทศไทยเท่านั้น

การเข้าไปเที่ยวชมภายในถ้ำควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่๕) เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหรือพลัดหลง และในช่วงฤดูฝน ทางอุทยานฯ จะทำการปิดถ้ำไม่ให้เข้าชม เพราะอาจมีน้ำไหลบ่ารุนแรงสร้างอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



ลิงอ้ายเงี้ยะ

"ลิงอ้ายเงี้ยะ" สัตว์ป่าคุ้มครอง อาศัยบนภูเขาสูง

ลิงอ้ายเงี้ยะ , ลิงอัสสัม หรือ ลิงภูเขา (Assamese macaque ) มีชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca assamensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อยู่ในอันดับวานร (ไพรเมต) มีรูปร่างอ้วนเทอะทะ แขนและขาสั้น ขนตามลำตัวมีสีเหลืองปนเทา บางตัวอาจมีสีเข้มมากจนดูคล้ายสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวไหล่ ศีรษะ และแขนจะมีสีอ่อนกว่าสีขนบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ขนบริเวณหัวและหางมักมีสีเทา ในบางฤดูกาลผิวหนังใต้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมฟ้า

ลิงอ้ายเงี้ยะ มักอาศัยในป่าบนภูเขาสูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐๐-๓,๕๐๐ เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ซึ่งมีเรือนยอดไม้สูง มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ การหากินจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่ระวังภัยให้ฝูง โดยจะนั่งสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ซึ่งสูงที่สุด และหากมีอันตรายเข้ามาใกล้จะส่งเสียงร้องเตือนให้หลบหนี โดยจะร้องเสียงดัง "ปิ้ว"

ลิงอ้ายเงี้ยะจัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย สามารถกระดิกหางได้เหมือนสุนัข กินอาหารประกอบไปด้วย ผลไม้ ยอดไม้อ่อน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า

สถานภาพ : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์คุ้มครองบัญชีหมายเลข๒ ของไซเตสด้วย

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



ลิงเสน หรือ ลิงหมี

ลิงเสน หรือ ลิงหมี เป็นลิงชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca arctoides จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า  (Cercopithecidae) ลำตัวยาว หลังสั้น ขนยาวสีน้ำตาล หน้ากลม หางสั้น ลูกลิงมีขนสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีเข้มเมื่อมีอายุมากขึ้น ใบหน้าเป็นสีชมพู หรือ สีแดงเข้ม ถึงน้ำตาล และมีขนเล็กน้อย

ลิงเพศผู้มีลำตัวใหญ่กว่าลิงเพศเมีย มีน้ำหนัก ๙.๗-๑๐.๒ กิโลกรัม ลิงเพศเมีย มีน้ำหนัก ๗.๕-๙.๑ กิโลกรัม ลิงเสนเพศผู้มีเขี้ยวยาว และอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม มีถุงเก็บอาหารใต้คาง หางสั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหาง ก้นแดง หน้าท้องมีขนน้อย ขนบนหัวจะขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนที่แก้มชี้ไปทางหลังและคลุมหูไว้ สามารถพบได้ในป่าทุกชนิดของเขตร้อนและกระจายกันอยู่แถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ทางตะวันตกของมาเลเซีย, แหลมมลายู, พม่า, ไทย, เวียดนาม และ ทางตะวันออกของบังคลา

ลิงเสนกินผลไม้ พืชผัก รวมถึงแมลงขนาดเล็ก เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ ๓-๔ ปี ระยะตั้งท้องนาน ๑๔๖ วัน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว และมีอายุยืนกว่า ๒๐ ปี สถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๖๒

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เมษายน 2564 18:34:34 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 12 เมษายน 2564 18:35:52 »




ปูหินติดมากับอวนจับปลาทะเล คนไม่ค่อยกินกันเพราะมีเนื้อน้อยมาก
ชาวประมงจะนำไปทิ้งในทะเลเมื่อออกเรือไปหาปลา
ภาพจาก หาดปากน้ำปราณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปูหิน

ปูหิน
ชื่อสามัญภาษาไทย : ปูหิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : SPINY ROCK CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thalamita crenata
ลักษณะทั่วไป : ลักษณะของปูหิน มีขาเดินเรียวเล็ก ๓ คู่ ขากรรเชียง ๑ คู่ ก้ามหนีบมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายเป็นเขี้ยวแหลมคม มีหนามลักษณะเหมือนหนามเตยบนก้ามหนีบ กระดองมีสีเขียวอมแดงเรื่อ ๆ และมีลายสีม่วงอมดำ พาดไปทางความกว้างของกระดองจำนวน ๓-๔ เส้นด้วยกัน ขาเดินและกรรเชียงก็มีเส้นดังกล่าวทั่วไป ปลายก้ามเห็นสีม่วงอย่างชัดเจน
ถิ่นอาศัย : แหล่งที่พบ ปูหินพบทั่วไปตามบริเวณสถานที่รกเรื้อตามชายฝั่งทะเล เช่นโพรงหิน ซากโป๊ะ ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นทราย ทรายปนโคลน พบมากแถบเกาะสีชัง ชลบุรี ระยอง
อาหาร : ปูหินกินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด : ความยาวประมาณ ๕-๘ ซ.ม.




นกชนหิน

นกชนหิน ๑ ใน ๑๓ นกเงือกในไทย ว่าที่สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ ๒๐ ตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ๒๕๖๒

นกเงือกในประเทศไทยมี ๑๓ ชนิดแต่ละชนิดมีนิเวศวิทยาและถิ่นอาศัยเฉพาะตัวที่ต่างกันนกเงือกเป็นนกที่มีพฤติกรรมการเลือกกินอาหารที่หลากหลายทั้งชนิดและขนาดนกเงือกจึงสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์พืชและควบคุมสัตว์เล็กที่จะทำลายเมล็ดไม้ ทำให้นกเงือกมีบทบาทที่สำคัญต่อระบบนิเวศนกเงือกจึงสมควรได้รับการขนานนามว่าเป็น"ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าไม้"

นกชนหิน มีขนาดตัวประมาณ ๑๒๐ เซนติเมตร เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่มีโหนกแข็งตันคล้ายงาช้าง สีแดงคล้ำ ขนตามตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องขาวนวล หางขาวมีแถบดำพาดขวางคล้ายหางนกกก มีขนหางยาวพิเศษ ๒เส้น ซึ่งยาวเกินส่วนหางออกไปถึง ๕๐ เซนติเมตร ขอบปีกขาว ปากสั้นแข็งสีแดงคล้ำ ปลายปากสีเหลือง ตัวผู้มีหนังเปลือยบริเวณคอสีแดงคล้ำ ตัวเมียส่วนนี้เป็นสีฟ้าอ่อนจนถึงสีน้ำเงิน ตัววัยรุ่น ตัวผู้บริเวณคอสีแดงเรื่อตัวเมียส่วนนี้มีสีม่วง โหนกมีขนาดรูปมนสีน้ำตาลแดง ขนหางยังไม่เจริญเต็มที่

นกชนหินถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่าเอาโหนกไปขาย เนื่องจากเป็นที่นิยมทางความเชื่อเพื่อนำไปเป็นจี้ห้อยคอ สถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งขึ้นบัญชีหมายเลข ๑ ไซเตส มีการกระจายทางตอนใต้ของประเทศพม่าจนถึงตอนใต้ของประเทศไทยมาเลเซียหมู่เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวพื้นที่อาศัยพบในป่าดิบชื้น

โดยในปี ๒๐๑๒ ถึง ๒๐๑๔ มีการจับกุม พบหัวนกชนหิน ๒,๑๗๐ ชิ้นและนกชนหินในกาลิมันตันตะวันตกของอินโดนีเซียถูกฆ่าไปถึง ๖,๐๐๐ ตัว และคาดการณ์ว่ามีอีกมากมายที่ทางการยังจับกุมไม่ได้ด้วยความต้องการ “งาช้างสีเลือด” ในตลาดมืดที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้นายพรานแทบจะยิงนกเงือกทุกตัวที่พบเพียงเพื่อหวังว่านั่นจะเป็นนกชนหิน จากการล่าดังกล่าวทำให้จำนวนนกชนหินลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งขึ้นบัญชีหมายเลข ๑ ไซเตส

นกชนหินจะอยู่เป็นคู่ เลือกต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ในการทำรัง ปัจจุบันได้ถูกบุกรุกมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่และทำไม้ จึงทำให้มีปัจจัยคุกคามเรื่องพื้นที่อาศัยที่ลดลงอีกด้วยเพราะฉะนั้นสถานการณ์ของนกชนหินจึงน่าเป็นห่วงในระดับโลก

ส่วนในประเทศไทย ภาพรวมของนกชนหินมีประมาณ ๑๐๐ ตัว จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องดูแลป่าพื้นซึ่งเป็นที่อาศัยของนกชนหินและกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน นั่นก็คือ สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดเพื่อที่จะรักษาจำนวนประชากรของนกชนหินให้คงอยู่ต่อไป




หมาใน

รู้จักหมาใน... สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์... สัตว์ป่าผู้ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชในระบบนิเวศให้มีความสมดุล
หมาใน (Cuon alpinus) เป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดกลางที่มีพฤติกรรมการล่าเป็นกลุ่มและมีการกระจายตัวในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว คาบสมุทรมลายู พม่า ไทย และเวียดนาม (Durbin et al. ปีค.ศ.๒๐๐๔) หมาในมีบทบาทหลักในการควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืชให้มีความสมดุลในระบบนิเวศ แต่ประชากรของหมาใน ในปัจจุบันถูกคุกคามอย่างมากจนถูกจัดให้อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์  




ค่างแว่น

กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับค่างในประเทศไทย ว่า จากรายงานในประเทศไทยพบค่าง ๔ ชนิด คือ ค่างดำ Banded Langur (Presbytis femoralis) (Martin, ๑๘๓๘) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura. ) ค่างทั้งสองชนิดนี้พบอาศัยอยู่ในป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

อีก ๒ ชนิด คือ ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) พบในป่าดงดิบทั่วทุกภาค และค่างแว่นถิ่นเหนือ  (P. phayrei) พบในป่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Lekagul and McNeely, ๑๙๗๗)

โดยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีรายงานการพบค่าง ๒ ชนิด คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ Dusky Langur (Presbytis obscurus) ถูกจัดสถานภาพว่า มีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์ (vulnerable) (ONEP, ๒๐๐๕)  และค่างดำโคนขาขาว White – thighed Langur (Presbytis siamensis ) เป็นชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) ตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าของ IUCN Red List of Threatened Species (IUCN ๒๐๑๐)   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เมษายน 2564 18:40:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 24 เมษายน 2564 17:57:00 »


ที่มาภาพ : Twitter
ทาคิน

ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว
และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์  มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา
ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า
๔,๐๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร



ลิ่น

ลิ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีเกล็ดปกคลุมลำตัว มีทั้งหมด ๘ สายพันธุ์ กระจายในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นชวา (Manis javanica) พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย  ส่วนลิ่นจีน (Manis pentadactyla) พบการกระจายอยู่ทางภาคเหนือ

ปัจจุบันทั้งลิ่นชวาและลิ่นจีน ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในขั้นวิกฤติ

จำนวนประชากรของลิ่นนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการถูกลักลอบจับมาค้าขาย เพื่อบริโภค ใช้เกล็ดและอวัยวะส่วนต่างๆ ทำยาแผนโบราณ และยังใช้ในอุตสาหกรรมแฟชั่น

“ลิ่น” ถือว่าเป็นสัตว์ป่าที่หายาก ลึกลับ มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก และไม่สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ จนถูกบรรจุไว้ในบัญชีเลขที่ ๑ (Appendix I) ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) ตามบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ (IUCN Red List)

ปัจจุบัน สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลทางนิเวศวิทยา ชีววิทยา ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของลิ่น โดยเฉพาะลิ่นชวาที่เป็นสายพันธุ์หลัก และมีเขตการกระจายทั่วประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์ประชากร การปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ รวมไปถึงการสร้างมาตรการบังคับ ใช้กฎหมายในการป้องกันการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ดังกล่าวนี้ในระยะยาว ต่อไป  
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า



รักต้องฆ่า...
เรื่องราวความรักของ ตั๊กแตนตำข้าว (Mantises) ที่มาพร้อมความตาย

กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ตั๊กแตนตำข้าว (Mantises) ซึ่งหลายคนอาจจะทราบเป็นครั้งแรกว่า เจ้าตั๊กแตนตำข้าวที่เรารู้จักอยู่ในอันดับ Montodae ซึ่งทั่วโลกมีการจำแนกชนิดไว้กว่า ๒,๔๐๐ ชนิด มันมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แปลกคือ ตัวเมียเกือบทุกชนิดจะเริ่มกินส่วนหัวของตัวผู้เป็นอาหารระหว่างการผสมพันธุ์
 
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากเป็นพฤติกรรมของแมลงหรือสัตว์บางชนิด เรียกว่า sexual cannibalism ซึ่งหลังจากที่ผสมพันธุ์เสร็จ ตัวเมียจะต้องการโปรตีนเพื่อไปสร้างไข่ต่อไป ด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ธรรมชาติจึงสร้างให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีจำนวนตัวผู้มากกว่าตัวเมีย แต่หลังจากฤดูกาลผสมพันธุ์ผ่านไปตัวผู้จะมีจำนวนใกล้เคียงกับตัวเมีย

และนี่ก็คือที่มาของ "รักต้องฆ่า" ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทางกลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ ได้นำมาเผยแพร่ให้เราได้ทราบข้อมูล หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่เพจ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้



เต่าปูลู

"เต่าปูลู" สัตว์สัญลักษณ์แห่งการป้องกันไฟป่า

เต่าปูลู Platysternon megacephalum เป็นสัตว์น้ำจืด วงศ์ Platysternidae มีลักษณะพิเศษคือมีหัวขนาดใหญ่ กระดองยาว ปากงุ้มเป็นตะขอและแข็งแรงมาก เท้ามีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี ๕ นิ้ว ขาหลังมี ๔ นิ้ว ปกคลุมด้วยเกล็ดหนามกระจายอยู่ทั่วฝ่ามือฝ่าตีน  และมีหางคล้ายแส้ความยาวเท่าลำตัว

เต่าปูลูมีความสามารถในการปีนป่ายโขดหินและต้นไม้ จึงชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง ลำธารน้ำตก และพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน และจำศีลในฤดูหนาวโดยหลบอาศัยอยู่ในซอกหิน หรือตามโพลงไม้ใต้น้ำ เต่าปูลูไม่ค่อยออกหากินในช่วงจำศีลแต่ชอบปีนตอไม้ขึ้นไปอาบแดด ฤดูวางไข่ของเต่าปูลูคือช่วงปลายเดือนเมษา

ไฟป่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าปูลูใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น หนึ่งในการอนุรักษ์เต่าปูลูคือการป้องกันไฟป่า ซึ่งเต่าปูลูนั้น เป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์

เต่าปูลูเป็นเต่าที่ได้รับอันตรายจากไฟป่าโดยตรง เพราะไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้เหมือนเต่าชนิดอื่น แถมยังเคลื่อนช้า เมื่อเกิดไฟป่าเต่าปูลูจึงตายเป็นจำนวนมาก ไฟป่าเลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าปูลูใกล้สูญพันธุ์

กฎหมายจัดให้เต่าปูลูเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง พ.ศ.๒๕๔๖ IUCN (2011) จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)

ภาพ : "ลูกป่าไม้" เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลสัตว์ป่าเมืองไทย กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า
กรมอุทยาน เต่าปูลู สัญลักษณ์ป้องกันไฟป่า



อีคิดนา

อีคิดนา (Echidna) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “ตัวกินมดหนาม” เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย พบในนิวกินีและออสเตรเลีย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหนึ่งในสองชนิดที่ออกลูกเป็นไข่

อีคิดนามีรูปร่างคล้ายเม่นตัวเล็กๆ มีขนหยาบและขนหนาม ปกคลุมตลอดตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จมูกเรียวยาว ขาสั้นแข็งแรง อุ้งเล็บใหญ่ ขุดดินได้ดี มีปากเล็ก ไม่มีฟัน หาอาหารโดยการฉีกท่อนไม้ผุ ขุดจอมปลวก ใช้ลิ้นเหนียวๆ กวาดปลวก มด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดอื่นๆ แล้วบดเหยื่อกับเพดานปากก่อนกลืน

อีคิดนาเป็นสัตว์ที่สันโดษมาก มักหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์มันจะตามกลิ่นไปหาคู่ อีคิดนาผสมพันธุ์ในช่วงกลางฤดูหนาว หรือประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะมีขาสั้นอีคิดนาจึงเดินช้าและงุ่มง่าม แต่ว่ายน้ำเก่งเนื่องจากสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ด
 ขอบคุณข้อมูลจาก :Sandiego Zoo,  ภาพจาก : twitter.com

ขอขอบคุณเพจ คนรักอุทยาน (ที่มาเรื่อง-ภาพ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 เมษายน 2564 17:59:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 24 เมษายน 2564 18:00:31 »



๕ ตัวอย่าง “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเมือง” ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ อย่างชัดเจน  ตลอดทั่วทั้งลำตัวมีขนปกคลุม มีผิวหนังที่ปกคลุมทั้งร่างกาย มีต่อมเหงื่อ ต่อมกลิ่น ต่อมน้ำมัน และที่สำคัญมีต่อมน้ำนม มีฟันที่แข็งแรงสำหรับล่าเหยื่อและบดเคี้ยวอาหาร มีฟันชุดแรกคือฟันน้ำนม ที่จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ มีเปลือกตาที่สามารถเคลื่อนไหวได้ นัยน์ตา ๒ ข้างสามารถกลอกไปมาเพื่อใช้สำหรับมองเห็นและป้องกันตัวเองจากศัตรู รวมทั้งมีใบหูที่อ่อนนุ่ม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีหลายรูปแบบในการปรับตัว ได้แก่ สัตว์สี่เท้า สัตว์ที่มีปีกบินบนอากาศ เช่น ค้างคาว สัตว์ที่อยู่ในน้ำ เช่นโลมา หรือรูปแบบการหากินต่างๆ เช่น บนดิน บนต้นไม้ ใต้ดิน ในน้ำ เป็นต้น

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและอาศัยอยู่ในเมืองกันเลย.....

ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง Lyle's Flying-Fox (Pteropus lylei) เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก พบได้ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเขมรและเวียดนามตอนล่างโดยธรรมชาติแล้ว ค้างคาวแม่ไก่เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะตามวัดและที่รกร้างว่างเปล่า ค้างคาวแม่ไก่เป็นสัตว์กินพืชและผลไม้ แหล่งเกาะนอนจึงไม่ไกลจากสวนผลไม้หรือป่าค่อนข้างชื้นที่มีผลไม้ตลอดทั้งปี

ค้างคาวลูกหนูบ้าน Javan Pipistrelle ( Pipistrellus javanicus)  เป็นค้างคาวขนาดเล็กมาก แต่จัดเป็นค้างคาวลูกหนูขนาดกลาง สีขนค่อนข้างแปรผันตั้งแต่สีน้ำตาลแดง ถึงสีน้ำตาลเข้มใบหู พังผืดปีก และพังผืดขาสีเดียวกัน ติ่งหูทู่และสั้น ค้างคาวลูกหนูบ้านกินแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาคารเก่า วัด โพรงไม้ ในพื้นที่ป่า เกษตรกรรม เขตเมือง พบการกระจายใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย จีน

ค้างคาวหูหนูตีนโตเล็ก Horsfield's Myotis (Myotis horsfieldii) เป็นค้างคาวขนาดเล็กมาก ขนาดตัวเล็กกว่าค้างคาวหูหนูตีนโตใหญ่ เล็กน้อย ตีนค่อนข้างใหญ่ และยาวเกินครึ่งหนึ่งของความยาวแข้ง พังผืดปีกเชื่อมกับตีนบริเวณด้านข้างของฝ่าตีน มักเกาะนอนในถ้ำ ใต้อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือตามโพรงไม้ที่อยู่ไม่ไกลจากลำห้วยหรือแม่น้ำ หากินแมลงที่อยู่บนผิวน้ำ หรือตามหลอดไฟ พบกระจายทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตอนใต้ของจีน

ลิงแสม Long-tailed macaque (Macaca fascicularis) แตกต่างจากลิงชนิดอื่นตรงที่มีหางยาว พอๆกับความยาวลำตัว  มีขนปกคลุม ร่างกายสีเทาถึงน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ขนบนกระหม่อมชี้ไปทางด้านหลัง จนมักเห็นเป็นจุกแหลม ตัวผู้มีหนวดที่แก้มและเคราเหมือนลิงวอก ลิงแสมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกหากินในเวลากลางวันกินทั้งผลไม้ พืช และสัตว์เป็นอาหาร พบในทวีปเอเชียแถบอินโดจีน พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ชวา ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป โดยมีชุกชุมตามป่าชายเลนและริมฝั่งทะเล

นากใหญ่ขนเรียบ Smooth-Coated Otter (Lutrogale perspicillata) นากใหญ่ขนเรียบมี ขนนุ่มเรียบ หางแบนกว่านากอื่น เส้นขนเหนือจมูกเป็นเส้นตรง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มกว่าท้องซึ่งมีสีน้ำตาลออกเหลือง  มีหางยาวมาก มือเท้าใหญ่สีซีด ปกติพบใกล้แหล่งน้ำเป็นคู่หรือเป็นครอบครัว อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ปูและปลา นากใหญ่ขนเรียบพบในอินเดียตอนกลาง เนปาล สิกขิม พม่า ไทย เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว

พบเห็นสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ถูกทิ้ง หรือพลัดหลง กรุณาติดต่อ คลินิกสัตว์ป่า โทรสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362




ที่มาภาพ : https://www.dnp.go.th
แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อนเป็นสัตว์ในตระกูลแมวป่า เป็นแมวป่าขนาดเล็ก มีขนปกคลุมลำตัวอ่อนนุ่ม สีน้ำตาลปนเหลือง มีลายขนสีน้ำตาลแกมเหลือง ขอบดำเป็นวงขนาดใหญ่ หางยาว และขนฟูเป็นพวง พบอาศัยตามป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ใกล้แหล่งน้ำ ออกหากินเวลากลางคืน มักหากินบนต้นไม้มากกว่าตามพื้นดิน

แมวลายหินอ่อนถือว่าเป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดเล็ก กินพวกแมลง กระรอก หนู นก ตั้งท้องนาน ๘๑ วัน ออกลูกครั้งละ ๑-๔ ตัว อายุยืน ๑๒ ปี ในกรงเลี้ยง (กองอนุรักษ์สัตว์ป่า,๒๕๒๑; บุญส่ง และ จารุจินต์,๒๕๓๓; ประทีป, ๒๕๔๑; สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งประเทศไทย,๒๕๓๔; Lekagul and McNeely,1977; Walker,1975)

มีการรายงานว่าพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งภาพที่ได้ทั้งหมดเป็นภาพจากเทคนิคการใช้กล้องดักถ่ายภาพ (Camera Trap) โดยภาพที่ถ่ายเมื่อปี ๒๕๓๘ จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ นับเป็นภาพที่ถ่ายได้จากธรรมชาติเป็นครั้งแรกของโลก (นริศ, ๒๕๔๓)

แมวลายหินอ่อน เบ้าตามีกระดูกเป็นวงรอบสมบูรณ์ รูม่านตาเป็นวงรีในแนวตั้ง ตามีขนาดใหญ่  ตำแหน่งตาอยู่ด้านหน้า และใกล้กัน ทำให้การมองเห็นภาพ และการกะระยะเป็นไปอย่างแม่นยำ กระโหลกกว้างคล้ายเสือชีต้าร์ โดยกระโหลกมีลักษณะสั้นกลมกว่าสัตว์ในกลุ่มแมวชนิดอื่น มีฟันเขี้ยว  (Canine Teeth) ใช้สำหรับกัดฉีก ขนาดใหญ่ยาวและแหลมคม ๒ คู่ เท้ามีการพัฒนาเพื่อเดินด้วยปลายนิ้ว นิ้วเท้าและฝ่าเท้าเปลี่ยนรูปร่างเป็นปุ่มนิ้วและปุ่มฝ่าเท้า ซึ่งจะมีแผ่นหนังหนาหุ้มรอง ใช้สำหรับรับน้ำหนักตัว ส่วนส้นเท้าและข้อเท้ายกสูงเหนือพื้น ใต้ฝ่าเท้าและร่องนิ้วจะมีขนปกคลุมทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและเงียบ ใบหูกลมมีกล้ามเนื้อขยับใบหูเพื่อปรับทิศทางรับเสียงได้ มีประสาทรับเสียงดีมาก นอกจากนี้ยังมีขนหนวดยาว และขนที่ฝ่าเท้ายาว ซึ่งเป็นเส้นขนที่มีเส้นประสาทควบคุม จึงรับความรู้สึกสัมผัสได้ดี ใช้ในการหาทิศทางในที่มืดได้เป็นอย่างดี

การจัดการอนุกรมวิธานของเสือ หรือแมวป่า มีปัญหามากเนื่องจากมีรูปร่าง พฤติกรรมคล้ายกัน  แตกต่างกันที่โครงร่างบางอย่าง เช่น ขนาด สีขน ลวดลาย แต่เดิมจึงนิยมจัดไว้ในสกุล Felis

ในปัจจุบันนิยมจำแนกต่างสกุลกันออกไปตามลักษณะเด่น ซึ่งแมวลายหินอ่อนมีลักษณะที่ค่อนข้างต่างจากสัตว์ในกลุ่มแมวป่าด้วยกัน จึงมีการแยกแมวลายหินอ่อนมาอยู่ในสกุล Pardofelis ซึ่งต่อมามีการศึกษาทางพันธุกรรม (Genetic) โดยใช้ Karyotype และ Blood Serum Albumin พบว่าแมวลายหินอ่อน ยังคงอยู่ในสกุล Felis (The Cat Survival Trust, 2006) และมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับแมวป่าขนาดใหญ่ (Wild Cats of the World, 2006) จากการสำรวจเก็บข้อมูลการแพร่กระจายของแมวลายหินอ่อนทั้งทางการสอบถาม การตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ และการตั้งกรงดักจับเพื่อติดวิทยุติดตามตัวสัตว์นั้น พบว่า

● พื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่พบการกระจายของแมวลายหินอ่อน พบ ๗ แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา โดยปัจจัยแวดล้อมทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และกิจกรรมมนุษย์ พบว่า แมวลายหินอ่อนมักใช้พื้นที่ในป่าดิบแล้ง ป่าไผ่ พื้นล่างค่อนข้างโล่ง มีลำห้วยขนาดเล็ก ใช้เส้นทางด่านขนาดเล็ก มีการเข้ามาใช้พื้นที่โป่ง และอยู่ห่างจากพื้นที่ที่มีกิจกรรมมนุษย์

● ในการตั้งกรงดักจับเพื่อติดวิทยุติดตามตัวสัตว์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะทำให้ได้ข้อมูลทางด้านพฤติกรรม และสภาพพื้นที่ถิ่นอาศัยที่ชัดเจนของแมวลายหินอ่อน ยังไม่สามารถดำเนินการได้แต่ในขณะนี้ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้วางแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณของสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งในการเก็บข้อมูลทางด้านสัตว์ป่าเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกต้องอาศัยระยะเวลาที่ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่การดำเนินการศึกษาข้อมูลทางด้านสัตว์ป่า ไม่สามารถหาแหล่งงบประมาณมารองรับได้จนตลอดสิ้นทั้งโครงการ

ทั้งนี้ในการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ใช้ระยะเวลา ๔ ปี ทำให้โครงการสามารถทราบข้อมูลพื้นฐาน และพฤติกรรม รวมไปถึงพื้นที่และแนวทางวิธีการในการที่จะจับแมวลายหินอ่อนได้ ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานขั้นต่อไปเป็นอย่างมาก




ไก่ฟ้าพญาลอ นกประจําชาติไทย
เป็นนกชนิดหนึ่งที่ชอบอาศัย หรือ เดินตามบนพื้นดินเพื่อหากิน
แล้วรูปร่างลักษณะท่าทาง พฤติกรรม ก็คล้ายๆไก่ แต่ไม่ใช่ไก่

ขอขอบคุณ เพจคนรักอุทยานแห่งชาติ (ที่มาเรื่อง-ภาพ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 เมษายน 2564 18:03:14 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2564 20:48:40 »




หมึกแก้ว หรือ หมึกสายแก้ว

“หมึกแก้ว”  สัตว์น้ำลึกหายากในมหาสมุทรแปซิฟิก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สำรวจท้องทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกสามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่หาดูได้ยากยิ่งของ "หมึกแก้ว" หรือ "หมึกสายแก้ว" (glass octopus) สัตว์น้ำลึกซึ่งมีร่างกายโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน

ทีมนักวิจัยจากสถาบันมหาสมุทรชมิดต์ (Schmidt Ocean Institute) บันทึกวิดีโอที่น่าตื่นตาของหมึกแก้วไว้ได้ในภารกิจการสำรวจก้นมหาสมุทรเป็นเวลา ๓๔ วัน โดยพวกเขาได้พบเจอกับหมึกชนิดนี้ถึง ๒ ครั้งในทะเลลึกใกล้กับหมู่เกาะฟีนิกซ์ ซึ่งอยู่ห่างจากนครซิดนีย์ของออสเตรเลียไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว ๕,๑๐๐ กิโลเมตร

ภาพที่ได้เผยให้เห็นหมึกที่มีผิวหนังโปร่งใสราวกับแก้ว จนมองเห็นได้เพียงลูกตา เส้นประสาทตา และระบบย่อยอาหารของมัน

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมชีววิทยาทางทะเลของสหราชอาณาจักร เมื่อปี ๑๙๙๒ ระบุว่า ดวงตาทรงกระบอกของหมึกชนิดนี้อาจมีวิวัฒนาการเพื่อให้ศัตรูหรือเหยื่อมองเห็นได้ยาก เวลาที่มองขึ้นมาจากด้านล่าง ถือเป็นกลยุทธ์ในการพรางตัวอย่างหนึ่งของพวกมัน

หมึกแก้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vitreledonella richardi อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ที่ความระดับลึก ๒๐๐-๓,๐๐๐ เมตรจากผิวน้ำทะเล โดยจากการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่ามีการพบหมึกชนิดนี้ในทะเลแถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แม้นักวิทยาศาสตร์รู้จักมันมานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว แต่แทบไม่เคยมีใครได้เห็นภาพของมันตอนที่ยังมีชีวิตอยู่เลย จึงทำให้การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ทำได้ยาก โดยที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาพวกมันจากซากที่ถูกพบอยู่ในท้องของสัตว์นักล่า

ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึงหวังว่าวิดีโอที่บันทึกได้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย และช่วยให้เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหมึกชนิดนี้ได้มากขึ้น

สำหรับภารกิจครั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจก้นมหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่ ๓๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และพวกเขาบอกว่ายังมีอะไรอีกมากให้ค้นหาในท้องทะเล

นางเวนดี ชมิดต์ ซึ่งร่วมก่อตั้งสถาบันมหาสมุทรชมิดต์กับสามี คือ นายเอริก ชมิดต์ อดีตซีอีโอบริษัทกูเกิล กล่าวว่า "การสำรวจเช่นนี้สอนให้เรารู้ว่าทำไมเราจึงต้องเพิ่มความพยายามในการฟื้นฟู และทำความเข้าใจกับระบบนิเวศทางทะเลของโลกให้มากขึ้น เพราะห่วงโซ่ชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่เริ่มต้นขึ้นในมหาสมุทรมีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์เรา"




ปลาซีลาแคนท์นั้นพบได้ตามแนวชายฝั่งของอินโดนีเซียและทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา


เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเคนยา นำซากปลาซีลาแคนท์ที่จับได้เมื่อปี ๒๐๐๑ มาจัดแสดง

ปลาดึกดำบรรพ์ซีลาแคนท์ “ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต”
อาจมีอายุยืนยาวได้ถึงหนึ่งศตวรรษ

ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต" เพราะเป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อกันมาได้นานถึง ๔๒๐ ล้านปี อาจเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดเอาไว้

เดิมเชื่อกันว่าปลาซีลาแคนท์มีอายุขัยเฉลี่ยราว ๒๐ ปี แต่ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิจัยฝรั่งเศส ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารCurrent Biology พบว่าพวกมันอาจอยู่ดูโลกได้นานเป็นร้อยปี เหมือนกับฉลามบางชนิดและปลารัฟฟี (Roughy)

มีการใช้แสงโพลาไรซ์ตรวจสอบเส้นลายที่อยู่บนเกล็ดปลาซีลาแคนท์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงอายุของปลาได้เหมือนกับวงปีบอกอายุของต้นไม้ การใช้แสงชนิดพิเศษนี้ทำให้ทีมผู้วิจัยค้นพบเส้นลายขนาดเล็กบนเกล็ดปลาเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อนำมาคำนวณดูแล้วสามารถชี้ได้ว่า ปลาซีลาแคนท์อาจมีอายุยืนยาวได้ถึงหนึ่งศตวรรษเลยทีเดียว

ผลการตรวจสอบตัวอ่อนของปลาซีลาแคนท์ ๒ ตัว ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ยังชี้ว่า ตัวอ่อนทั้งสองมีอายุราว ๕ ปี แสดงว่าปลาซีลาแคนท์ตัวเมียมีการตั้งท้องที่กินเวลายาวนานอย่างเหลือเชื่อ

ข้อมูลใหม่เหล่านี้บ่งชี้ว่า นอกจากมันจะเป็นปลาที่เคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าแล้ว ปลาซีลาแคนท์ยังมีการเจริญเติบโตในอัตราที่ช้ามากอีกด้วย โดยปลาตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อย่างเต็มที่เมื่อถึงวัยเกือบ ๖๐ ปี และปลาตัวผู้จะเข้าสู่ช่วงวัยเดียวกันเมื่อมีอายุได้ ๔๐-๖๙  ปี

การที่ปลาซีลาแคนท์โตช้าและมีลูกหลานได้น้อย ทำให้เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้อย่างมาก ทำให้นักอนุรักษ์จำเป็นจะต้องทราบถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอายุขัยและลักษณะทางประชากรของมันอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปวางแผนและดำเนินงานอนุรักษ์ปลาสายพันธุ์หายากนี้ต่อไป

เมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าปลาซีลาแคนท์ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว แต่กลับมีผู้พบเห็นมันอีกครั้งเมื่อปี ๑๙๓๘ หลังปลาชนิดนี้ติดเข้ามาในอวนของชาวประมงที่นอกชายฝั่งประเทศแอฟริกาใต้ โดยปลาซีลาแคนท์ที่โตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง ๑.๘ เมตร และหนักกว่า ๙๐ กิโลกรัม

ปัจจุบันมีแหล่งที่อยู่ของปลาซีลาแคนท์เพียงสองแห่งในโลก คือที่บริเวณชายฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย และตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรปลาซีลาแคนท์กลุ่มหลังนี้อาจเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัว



ที่มาภาพ : ชมวิวควนนกหว้า
นกหว้า

นกหว้า (Great Argus) : [Argusianus argus  เป็นนกที่มีขนาดใหญ่จัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าของไทย หัวและคอไม่มีขน เป็นหนังสีฟ้าเข้ม แข้งและตีนสีแดง ขนลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ตัวผู้ขนกลางปีกยาวมากมีลายเป็นวงใหญ่สีเนื้อ ขนหางคู่กลางยาวมากกว่า ๑๓๐ ซม. เสียงร้อง "หว่าว-ว้าว" ก้องและดังมาก

นกหว้าจะสร้างลานไว้สำหรับรำแพนขนปีกอวดตัวเมีย เรียกว่า "ลานนกหว้า" ไว้ตามสันเขาในป่าดิบชื้น ที่ราบถึงความสูง ๙๕๐ เมตร เป็นนกที่ขี้อายและปราดเปรียว




ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กวางป่า

นับเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวลำตัวและหัว ๑๘๐-๒๐๐ เซนติเมตร ความยาวหาง ๒๕-๒๘ เซนติเมตร และหนักได้ถึง ๑๘๕-๒๒๐ กิโลกรัม โดยทั่วไปเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีขนสั้นหยาบสีน้ำตาลแกมเหลือง บางตัวน้ำตาลแกมแดง พบตามป่าดงดิบทุกภาค ทั้งในป่าระดับต่ำ ป่าสูง ชอบหากินตามทุ่งโล่ง ชายป่า ในตอนเช้าตรู่และพลบค่ำ กลางวันจะหลับนอนตามพุ่มไม้ใกล้ชายป่า จะกินพืช ทั้งใบ ยอด และต้องการดินโป่ง ในธรรมชาติชอบอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ พร้อมลูก ๆ ฤดูผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นฤดูหนาว



นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน  นกแสนสวย ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
นกกระเต็นน้อยหลังสีเงิน Blue-eared Kingfisher ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alcedo meninting ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายนกกระเต็นน้อยธรรมดา แต่สีเข้มสดกว่า และไม่มีขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง หัว ปีก หลัง และหางสีน้ำเงิน กลางหลังสีฟ้าเข้ม ท้องสีน้ำตาลแดง แข้งและตีนสีแดง

กินปลาและสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง เป็นหลัก ล่าเหยื่อโดยการเกาะนิ่งๆ เพื่อมองหาเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะพุ่งลงไปจับในน้ำ เช่นเดียวกับนกกระเต็นส่วนใหญ่ นกกระเต็นชนิดนี้ทำรังวางไข่โดยเจาะรูในดินตามตลิ่งหรือเจาะในรังปลวกอีกทีหนึ่ง
สถานะการอนุรักษ์ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฏหมาย ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2562




นกอีแจว

นกอีแจว สามารถพบได้ง่ายทั้งในบึงน้ำและบริเวณนาข้าวรอบ ๆ บึงบอระเพ็ด อีกทั้งช่วงนี้เป็นฤดูผสมพันธุ์ของนกหลากหลายชนิด นกอีแจวก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกอีแจวจะมีขนหางยื่นยาวออกมา ซึ่งแตกต่างจากช่วงปกติธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด

นกอีแจว (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrophasianus chirurgus ; อังกฤษ: pheasant-tailed jacana) เป็นนกชนิดเดียวในสกุลนกอีแจว (Hydrophasianus) ลักษณะเฉพาะคือมีชุดขนนอกฤดูและในฤดูผสมพันธุ์แตกต่างกันที่สีขนและความยาวของหาง โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเมียหนึ่งตัวจะจับคู่ผสมพันธุ์กับเพศผู้หลายตัวและทำรังหลายรังในบริเวณเดียวกันในแบบฮาเร็ม ลูกหลายครอกถูกเลี้ยงโดยตัวผู้หลายตัว




วัวแดง

วัวแดง เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos javanicus รูปร่างคล้ายวัวบ้าน (B. taurus) ทั่วไป แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้านและกระทิง (B. gaurus) คือ มีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง ๔ ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ ๑๙๐-๒๕๕ เซนติเมตร หางยาว ๖๕-๗๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๕๕-๑๖๕ เซนติเมตร และมีน้ำหนักราว ๖๐๐-๘๐๐ กิโลกรัม

พบในพม่า, ไทย, อินโดจีน, ชวา, บอร์เนียว, เกาะบาหลี, ซาราวัก, เซเลบีส สำหรับประเทศไทยเคยพบได้ทุกภาค วัวแดงกินหญ้าอ่อนๆ ใบไผ่อ่อน หน่อไม้อ่อน ลูกไม้ป่าบางชนิด ใบไม้ ยอดอ่อนของพืช และดอกไม้ป่าบางชนิด

วัวแดงชอบหากินอยู่เป็นฝูง ไม่ใหญ่นัก ราว ๑๐-๑๕ ตัว ปกติจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำไปจนถึงเช้าตรู่ บางครั้งอาจเข้าไปรวมฝูงกับกระทิงและกูปรี (B. sauveli) กลางวันนอนหลบตามพุ่มไม้ทึบ ชอบอยู่ตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่ง ชอบกินดินโป่งไม่ชอบนอนแช่ปลัก รักสงบ ปกติไม่ดุร้ายเหมือนกระทิง หากินโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ ๒ ปีเศษ ระยะตั้งท้องนาน ๘-๑๐ เดือน ปกติออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุราว ๙ เดือน หลังคลอดลูกราว ๖-๙ เดือน แม่วัวแดงจะเป็นสัดและรับการผสมพันธุ์อีก มีอายุยืนประมาณ ๓๐ ปี วัวแดงยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น "วัวเพลาะ"  ขณะที่ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีสีคล้ำคล้ายกับสีตาลโตนด คือสีน้ำตาลเข้ม บางตัวมีสีเข้มทำให้แลดูคล้ายกระทิงมาก ลักษณะเช่นนี้เรียก "วัวบา"

เป็นสัตว์ที่มีรายชื่อในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ได้มีการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรกของโลก เป็นตัวผู้ ๒ ตัว อายุ ๕ ปี และ ๔ ปี และเป็นตัวเมีย ๒ ตัว อายุระหว่าง ๓ ถึง ๔ ปี ที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 22 กันยายน 2564 20:04:06 »



กิ้งก่า เรื่องน่ารู้ของสัตว์นักพรางตัว

นั้นไง กิ้งก่า !!!! ถ้าเราเจอกิ้งก่าเรามักจะตื่นเต้นกับสีสันลวดลายบนตัวของมันและความสามารถพิเศษในการพรางตัวให้กลมกลืนไปกับสิ่งที่พวกมันเกาะจับอยู่ อาจจะเรียกว่าเป็นพรสวรรค์หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์ในการล่าและการหลบภัยของเจ้าพวกกิ้งก่าก็ว่าได้ แต่คุณเคยสงสัยไหมว่ากิ้งก่ามันนอนอย่างไร? แล้วความสัมพันธ์ในชีวิตคู่มันละเป็นอย่างไร?
 
กิ้งก่า เป็นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilia) อันดับเดียวกันกับงู (Squamata) แล้วแยกออกมาเป็นอันดับย่อยของกิ้งก่า (Lacertilia) และจัดอยู่ในวงศ์ Agamidae  

นักวิทยาศาสตร์ สังเกตพฤติกรรมการจับคู่ของกิ้งก่าแล้วพบว่า กิ้งก่าไม่มีความผูกพันระหว่างเพศ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ก็ต่างทำไปตามหน้าที่ เสร็จแล้วก็แยกย้ายทางใครทางมัน ตัวผู้หนีหาย ส่วนตัวเมียก็ทำหน้าที่ฝังไข่ไว้ในดินที่ค่อนข้างร่วน สักราวๆ ๑๐ ฟอง แล้วก็จากไป...

พฤติกรรม one night stand เหล่านี้ เลยเป็นที่มาของชื่อวงศ์กิ้งก่า Agamidae ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก “A” มีความหมายว่า “ไม่” และ “Gamos” หมายถึง “แต่งงาน” ... รวมง่ายๆ ก็คือ “ไม่แต่งจ้ะ!!!”

กิ้งก่า มีลักษณะเด่นคือ ขาทั้ง ๔ มีความแข็งแรง จนสามารถยกตัวให้สูงจากพื้นได้อย่างง่ายดาย ลำตัวปกคลุมไปด้วยเกล็ดที่เรียงต่อๆ ซ้อนเหลื่อมกันอย่างต่อเนื่อง และมีหางเรียวยาว ผิวหนังสามารถเปลี่ยนสีได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เพราะเป็นสัตว์เลือดเย็น และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ด้านอารมณ์

ส่วนลักษณะที่แตกต่างออกไปจากวงศ์อื่นๆ ในอันดับย่อย (Lacertilia) เดียวกัน นั่นคือ ‘หาง’ เมื่อขาดแล้วจะไม่สามารถงอกใหม่ได้เหมือนญาติในวงศ์จิ้งจกตุ๊กแก (Gekkonidae) ยกเว้น กิ้งก่าในสกุล Uromastyx และอีกลักษณะหนึ่งคือ ‘ฟัน’ ของกิ้งก่าจะยึดติดบนกระดูกขากรรไกร (acrodont)

กิ้งก่าอาศัยตามต้นไม้หรือพุ่มไม้ หากินเวลากลางวัน กินพวกแมลงและไส้เดือนเป็นหลัก เวลากลางคืนจะเกาะนอนตามใบไม้ หรือกิ่งไม้ที่ไม่สูงมากนัก เปรียบเทียบพฤติกรรมการนอนแบบพอใจที่ไหนก็นอนตรงนั้นได้เลย เพราะกิ้งก่าไม่จำเป็นต้องมีรังนอนให้เสียเวลาพวกมันสามารถนอนได้ทุกที่ขอแค่มีใบไม้หรือกิ่งไม้ให้พวกมันเกาะก็พอ กิ้งก่าอาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand




หมีขอเจ้าของกลิ่นข้าวโพดคั่วเนย อยู่กลางป่าก็มีป๊อปคอร์น

ถ้าคุณเคยไปดูหนังในโรงภาพยนตร์คุณต้องเคยซื้อข้าวโพดคั่วหรือป๊อปคอร์นก่อนเข้าไปในโรงภาพยนตร์แน่นอนไม่ว่าจะเป็นรสหวานหรือว่ารสเค็มคุณจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมกลมกล่อมของข้าวโพดคั่วหรือป๊อปคอร์นเนยเป็นแน่ แต่ถ้ากลับกันสมมติว่าคุณกำลังเดินอยู่กลางป่าที่มีต้นไม้ล้อมรอบตัวแต่คุณกลับได้กลิ่น ป๊อปคอร์นละ?  คุณอาจคิดว่าคุณกำลังเป็นบ้าแต่ความจริงแล้วคุณอาจเดินผ่านเส้นทางที่มีหมีขออยู่ก็เป็นได้

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อหมีขอหรือบินตุรง เป็นสัตว์ที่ไม่ใช่หมีแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ชะมดอีเห็น ที่มันโดนเรียกว่าหมีเพราะมีใบหน้าเหมือนแมว และขนที่หยาบยาวหนาคล้ายหมี หรือบางคนอาจเรียกว่าหมีกระรอกเพราะมีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก  ส่วนใหญ่พวกมันจะใช้เวลาอยู่บนต้นไม้ เนื่องจากมีอุ้งเท้าและกรงเล็บที่ยาวช่วยในการจับกิ่งไม้ทำให้สะดวกในการปีนขึ้นปีนลงจากต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง

หมีขอเป็นพวกชอบนอนอาบแดดตอนกลางวัน เพราะออกหากินตอนกลางคืนและเคลื่อนไหวช้าๆ แต่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกชั่วโมงตามที่ต้องการ พวกมันถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่มันเลือกกินผลไม้เป็นส่วนใหญ่รวมถึงผัก สัตว์ขนาดเล็ก และปลา รวมถึงซากสัตว์ขนาดเล็ก เป็นต้น

ถ้าพูดถึงสัตว์วงศ์ชะมดอีเห็น คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเรื่องกาแฟ แต่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจและถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของสัตว์วงศ์นี้คือเรื่องกลิ่น

ถ้าคุณคือคนที่ชอบกินป๊อปคอร์น คุณจะเป็นคนที่หลงใหลในกลิ่นป๊อปคอร์นของหมีขอ ที่มาของกลิ่นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากลิ่นเกิดมาได้อย่างไร แต่ Lydia Greene และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก พบว่าในฉี่ของหมีขอก็พบกลิ่นป๊อปคอร์นเช่นกัน

หมีขอยังมีนิสัยอีกอย่างที่คล้ายสุนัข คือการปัสสาวะทิ้งไว้ทุกที่เพื่อประกาศอาณาเขตของตน กลิ่นของปัสสาวะยังระบุได้ว่าพวกมันเป็นใครและพร้อมผสมพันธุ์หรือไม่ หมีขอเป็นสัตว์ป่าอีกชนิดที่นอกจากใช้เสียงยังใช้กลิ่นในการสื่อสาร กลิ่นดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้หมีขอตัวอื่นรู้ว่าพวกเขาจะบุกรุกอาณาเขตของผู้อื่นหรือเพื่อช่วยในการกีดกันผู้ล่า





นกแก้วโม่ง นกแก้วที่มีขนาดใหญ่สุดในไทย

นกแก้วโม่ง Psittacula eupatria
ชื่อทั่วไป Alexandrine Parakeet
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittacula eupatria
 
นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดและการกระจายใน ประเทศอินเดีย แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบใน เมียนร์ม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม และลาว  ประเทศไทยสามรถพบได้ทุกภาค ยกเว้น ภาคใต้ของประเทศไทย

นกแก้วโม่งเป็นนกขนาดกลาง (๕๐-๕๑ ซม.) เป็นนกแก้วที่ขนหางคู่กลางยาวมาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปากงุ้มมีสีแดง บริเวณไหล่มีแถบสีแดงพาด ขาและนิ้วสีเหลือง ตัวผู้ร่างกายสีเขียว บริเวณคอหอยมีสีดำ มีลายแถบรอบคอสีแดง

ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่บริเวณคอหอยมีสีเขียว ไม่มีลายแถบรอบคอสีแดงแต่อย่างใด ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายกับตัวเมียแต่สีสันจะทึมกว่ามีลายพาดที่ไหล่สีไม่แดงเข้มมากนักเช่นเดียวกันกับสีของปาก

นกแก้วโม่งจะทำรังตามโพรงต้นไม้ต่างๆ เป็นโพรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดจากนกหรือสัตว์ชนิดอื่นทำไว้

อาหารของนกแก้วโม่ง จะเป็นผลไม้ต่างๆ เมล็ดธัญพืช เมล็ดพืช ใบไม้หรือยอดไม้อ่อน
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2564 19:54:58 »






กบอกหนามน่าน

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้ค้นพบ กบชนิดใหม่ที่มีการรายงานการกระจายพันธุ์เข้า มาในเขตพื้นที่ประเทศไทยอีก ๑ ชนิด ได้แก่ กบอกหนามน่าน (Quasipaa veucospinosa) เป็นกบขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายคางคก และมีรูปร่างที่คล้ายกับเพื่อนร่วมสกุล ที่พบในแถบภาคตะวันออก คือ กบอกหนามจันทบูร (Quasipaa fasciculispina)

โดยปกติแล้วกบชนิดนี้จะพบในประเทศลาว เวียดนาม และมณฑลยูนนาน ของประเทศจีนเท่านั้น และจากการสำรวจของกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า คาดว่ากบชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่อื่นที่ใกล้เคียงเช่นกัน เพราะสามารถพบกบชนิดนี้ใน อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน จังหวัดน่านและพะเยาอีกด้วย ในอดีตนั้นประเทศไทยเรามีรายงานการพบกบอกหนามเพียงชนิดเดียวคือ กบอกหนามจันทบูร (Quasipaa fasciculispina) ซึ่งพบในป่าบนภูเขาทางภาพตะวันออกของไทย แต่จากลักษณะที่แตกต่างกันมากและจากการศึกษาสารพันธุกรรม (DNA) จึงทำให้ทราบว่า กบอกหนามที่พบทางภาคเหนือของไทยนั้นเป็นชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบในไทยมาก่อน โดยที่มาของชื่อ "กบอกหนาม" นั่นก็เพราะลักษณะเด่นของกบในกลุ่มนี้ที่เพศผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังที่บริเวณอกของพวกมันจะเปลี่ยนสภาพเป็นตุ่มหรือแท่งหนามสีดำ เพื่อใช้ยึดเกาะเพศเมียในการสืบพันธุ์และพื้นผิวหินในลำธารที่มีน้ำไหลนั่นเอง โดยตุ่มหรือแท่งหนามเหล่านี้จะหายไปเมื่อพ้นฤดูสืบพันธุ์

การค้นพบนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่าในประเทศไทยซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ได้ดี โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าป้องกันดูแลอย่างเข้มแข็ง ทำให้ผืนป่าและสัตว์ป่าได้ยังประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ตลอดไป




เต่าปูลู

วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายรณกฤต จักร์เงินหัวหน้าอุทยาน​แห่งชาติ​นันทบุรี รายงานว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินันทบุรี ได้สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกนันทบุรี ๒ พบเต่าปูลู (Platysternon megacephalum) ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ มีหัวขนาดใหญ่ กระดองยาว ปากงุ้มเป็นตะขอและแข็งแรงมาก เท้ามีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี ๕ นิ้ว ขาหลังมี ๔ นิ้ว ปกคลุมด้วยเกล็ดหนามกระจายอยู่ทั่วฝ่ามือฝ่าเท้า และมีหางคล้ายแส้ ความยาวเท่าลำตัว เต่าชนิดนี้ไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้เหมือนเต่าชนิดอื่น โดยปกติที่ผ่านมามักจะพบบริเวณลำห้วยขุนน้ำวาว (น้ำตกนันทบุรี ๒) คาดว่าน่าจะมีการกระจายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น เต่าปูลู ถือเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

...ที่มา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชีวิตสัตว์โลก เสือจากัวร์ ปะทะ งูอานาคอนดา
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
หมีงงในพงหญ้า 0 3159 กระทู้ล่าสุด 11 กันยายน 2553 23:20:41
โดย หมีงงในพงหญ้า
"กาลาปากอส" มหัศจรรย์ ชีวิตสัตว์โลก
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 6708 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2557 10:15:21
โดย Kimleng
สารคดี นินจานักรบเงา
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
วันศุกร์ นัดทานข้าว 0 2364 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2557 02:15:57
โดย วันศุกร์ นัดทานข้าว
สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
Kimleng 3 2171 กระทู้ล่าสุด 02 มิถุนายน 2559 15:28:21
โดย Kimleng
new tv) : สารคดี แอตแลนตีสที่แท้จริง
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 0 1072 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2559 04:38:10
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.655 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 04:04:00