[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:40:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สาเหตุที่ทำให้คนปฏิบัติธรรมเก่ง ๆ นั่งสมาธิเก่ง ๆ หลงทางได้ เพราะอะไร???  (อ่าน 6381 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 มกราคม 2553 15:28:08 »


วิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง
สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้น
จากการปฏิบัติวิปัสสนา

กล่าวโดยย่อก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง
จึงหมายรวมถึงสมาธิและฌานอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ
วิปัสสนาด้วย  เป็นกิเลสชนิดที่ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่น
และยาวนานและให้โทษรุนแรงได้  ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณ
หรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์  จึงไปติดอยู่ในผลของ
สมาธิหรือฌานอย่างผิดๆคือติดเพลิน หรือมิจฉาญาณ

ด้วยความเข้าใจยังไม่ถูกต้องหรืออวิชชาเป็นเหตุนั่นเอง  และถ้า
ไม่รู้ระลึกเลยโดยไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถ
เข้าไปถึงปัญญาชอบ(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้  เมื่อไม่แก้ไข
จึงส่งผลร้ายตามมา คือ ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางจิต เช่น หดหู่  
วิกลจริต วิปลาส และทางกาย เช่น เจ็บปวด, เจ็บป่วยต่างๆ
ตามมาได้อย่างคาดคิดไม่ถึง(อ่านรายละเอียดของอาการต่างๆได้ใน ติดสุข)  
และเมื่อเกิดผลร้ายขึ้นก็ยังไม่รู้ตัวอีกเสียด้วยว่า เป็นเพราะปฏิบัติผิดด้วยอวิชชา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2553 16:08:45 โดย ไอย » บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มกราคม 2553 15:48:39 »


แต่พึงระลึกว่า
เกิดแต่การปฏิบัติผิด อย่างไม่ถูกต้อง,ไม่แก้ไขนั่นเอง
ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง 


จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปโทษหรือไปกลัวในการปฏิบัติธรรม
หรือพระกรรมฐานแต่อย่างใด  แต่เป็นเพราะอวิชชา
จึงไปติดเพลิน,เพลิดเพลินเสียแต่ในผล คือความสุข,
สงบ,สบายต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌาน,สมาธิ  จึงยังให้เกิด
วิปัสนูปกิเลสเหล่านี้ขึ้นนั่นเอง

กล่าวคือก่อให้เกิดอาการต่างๆที่เรียกกันทั่วไปว่า ติดสุข 
ติดนิมิต หรือติดโอภาส  ติดปีติ  ติดสงบ 
ติดสบาย  ติดผู้รู้  ติดแช่นิ่งอยู่ภายในหรือ
จิตส่งในโดยไม่รู้ตัว ฯ. ขึ้นนั่นเอง



       
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 มกราคม 2553 15:53:28 »


ถ้ากล่าวกันอย่างเน้นชัดแล้วก็กล่าวได้ว่า

วิปัสสนูปกิเลส มักเกิดจากการปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือก็คือ
การปฏิบัติสมถวิปัสสนานั่นเอง  แต่ไปหลงเน้นปฏิบัติ
แต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาดการวิปัสสนา
เท่าที่ควรเสียนั่นเอง  จึงเกิดการไปติดเพลินในผลของ
สมถะที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ ทั้งไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง 
และเพราะขาดการวิปัสสนา ย่อมขาดนิพพิทาอีก ด้วย 
จึงขาดการปล่อยวาง จึงมีแต่ความฮึกเหิม จิตแกร่ง
จนกำเริบเป็นอวดเก่ง ฯ.


ดังนั้นนักปฏิบัติที่นั่งแต่สมาธิประจำหรือเสมอ ๆ โดยเฉพาะ
ผู้ที่เข้าได้ถึง ความสุข,สงบ,สบายได้บ้างแล้ว แต่ขาดการวิปัสสนา
พิจารณาในธรรมหรือโยนิโสมนสิการอย่างจริงจังก็เป็นกันมากทุกราย
มากน้อยต่างกันไปเท่านั้นเอง และเป็นไปโดยไม่รู้ตัว

ต้องพิจารณาสำรวจตัวเองโดยแยบคายจริง ๆ ถ้าไม่แยบคายแล้ว
ถึงพิจารณาอย่างไรก็ไม่เกิดปัญญาเข้าใจขึ้นได้  จนถึงขั้น
เสียผู้เสียคน ดังที่หลวงปู่เทส เทสก์รังสีได้กล่าว
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 มกราคม 2553 15:58:38 »



"เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่อ
(webmaster - อธิโมกข์) อย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็น
การสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน
และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ

บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า
บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่า
เป็นบ้าวิกลจริตก็มี "
 
(จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม   หน้า๑๑๙ )

       
"อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น  ยังสามารถ
ทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้
 

เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต  หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ
มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้ว
ก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก........"  
(จาก โมกขุบายวิธี   โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2553 16:09:36 โดย ไอย » บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 มกราคม 2553 16:07:27 »

   
"อาจารย์ผู้สอนก็ดี  ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี  เมื่อเข้าใจวิถีจิต
ที่เข้าเป็นฌานแล้ว  จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น 
ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมด ก็อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องเกิดขึ้น........." 

(จาก โมกขุบายวิธี   โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)


นี่คือคำตอบที่หลาย ๆ คน ชอบตั้งคำถามว่า ทำไม คนปฏิบัติธรรมเก่ง ๆ
มีญาณหยั่งรู้ มีฤทธิมีเดชรักษาคนได้ มักจะมองเห็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ทำไมถึงพลาดพลั้งได้ง่าย ๆ  ถ้าทุกคนอ่านดู คงจะพอมองเห็นคำตอบแล้ว
ใช่มั้ยค่ะ ว่าสิ่งที่พวกเขาพลาด คืออะไร   
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:30:06 »

วิปัสสนูปกิเลส
โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ
รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ได้ให้
ความช่วยเหลือแนะนำและช่วยแก้ไขแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ทันท่วงที
ดังตัวอย่างที่ยกมานี้

มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดปัญหาเกี่ยวกับ “วิปัสสนูปกิเลส” ซึ่งหลวงปู่เคย
อธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุข
อันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก
นักปฏิบัติบางคนจะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส
ซึ่งมี ๑๖ อย่าง มี “โอภาส” คือ แสงสว่าง และ “อธิโมกข์” คือ ความน้อมใจเชื่อ เป็นต้น

พลังแห่งโอภาสนั้นสามารถนำจิตไปสู่สภาวะต่างๆได้อย่างน่าพิศวง เช่น
จิตอยากรู้อยากเห็นอะไรก็ได้เห็นได้รู้ในสิ่งนั้น แม้แต่กระทั่งได้กราบ
ได้สนทนากับพระพุทธเจ้าก็มี

เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้มีอิทธิพลและอำนาจ จะทำให้เกิดความน้อมใจเชื่อ
อย่างรุนแรง โดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสำคัญผิด ซึ่งเป็นการสำคัญผิด
อย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตัวเองอยู่เงียบๆ บางคน
ถึงกับสำคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซ้ำ บางรายสำคัญผิด
อย่างมีจิตกำเริบยโสโอหังถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:32:41 »


อย่างไรก็ตาม วิปัสสนูปกิเลสไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้ง
จะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม แต่คงเป็นเพียงสติวิกล อันเนื่อง
จากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน
ไม่ได้สัด ไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น ถ้าสติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบ
เป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง

เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิของพวกฤาษีชีไพรที่ใช้วิธีเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิด
สมาธิ ในขณะแห่งสมาธิเช่นนี้ เราเรียกอารมณ์นั้นว่า ปฏิภาคนิมิต และเมื่อ
เพิกอารมณ์นั้นออกโดยการย้อนกลับไปสู่ “ผู้เห็นนิมิต” นั้น นั่นคือย้อนสู่
ต้นตอคือ จิต นั่นเอง จิตก็จะบรรลุถึงสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิจิต
ขั้นสูงสุดได้ทันที

ในทางปฏิบัติที่มั่นคงและปลอดภัยนั้น หลวงปู่ดูลย์ท่านแนะนำว่า
“การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น และบรรลุเป้าหมาย
ได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง
แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป
โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก”
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:35:20 »


ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส
๒ ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ
จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป

ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ “หลวงตาพวง” ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิก
สำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึก
ตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวัน ตลอดคืน

พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง
เกิดความสำคัญผิดเชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ
ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลก เห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึง
ธรรมเสมอด้วยตน ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจาก
เขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึง
วัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:37:41 »


หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา ๖ ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตู
หน้าต่างหมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว
ท่านก็มาร้องเรียก หลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง

ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนียังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียก
ดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์.....” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของ
หลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ

สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า
ตามธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา
ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า

“หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”

ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่
แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว ! ไม่เห็นกราบท่านผู้สำเร็จมาแล้ว
ไม่เห็นกราบ”
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:39:35 »


เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร
ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ

หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วย
เมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ”

หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเรา
พระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่
ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่

ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิง
คล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร”
หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ

เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตา
ไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”

ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียก
พระองค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม
รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:41:39 »


หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อ
ให้หลวงตา นั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิต
แล่นไปข้างหน้า จนกระทั่ง สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้วไม่สำเร็จ

หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธ
หลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูด
ให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ ! สัตว์นรก สัตว์นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้”

ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวร
และกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ซึ่งอยู่ห่างจาก
วัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓ - ๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณ
พระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น

ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ
คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมา
อย่างน่าขำว่า “เออ ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้า
เอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลดของท่าน
แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:43:40 »


ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง
อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจาก
การควบคุมของ สติที่ได้สัดส่วนกันก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทก
ด้วยอานุภาพแห่งความ โกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะ
ให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับ ได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร
สำคัญตนผิดอย่างไร และได้ พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง

เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์
และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติ
เพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิด
ความละอายใจเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่
กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึก
ละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น

หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์
ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐาน
เป็นเครื่องนำสติมิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบ
การปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงในแนวทางตรงต่อไป”


คัดลอกบางตอนมาจาก...หนังสือสมาธิ
เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=225 
 
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เพราะอะไร? สมบัติของ “มารี อังตัวเน็ตต์” ถึง “ขายดี” ราคาแทบไม่มีตก
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 139 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2566 15:35:57
โดย ใบบุญ
[ไทยรัฐ] - เพราะอะไร “ส.บอล” ชี้ เหตุยังไม่ลงโทษ แฟนบอล “ทีมชาติไทย” จุดพลุแฟลร์ แม้รู้คนทำผิ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 74 กระทู้ล่าสุด 28 มิถุนายน 2566 22:19:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'มิกกี้เมาส์' เวอร์ชั่นการ์ตูนปี 2471 หมดลิขสิทธิ์แล้ว แต่ยังต้องระวังการนำไป
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 41 กระทู้ล่าสุด 10 มกราคม 2567 04:37:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - สาวรีวิวทำขนมเปี๊ยะเจ้าดังขาย รายได้วันละ 70,000 แต่เจ๊งใน 3 เดือน เพราะอะไร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 41 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2567 04:10:23
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.388 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 23 กุมภาพันธ์ 2567 12:17:06