[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:55:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มันมากับอาหาร  (อ่าน 11837 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2557 18:46:22 »

.



มันมากับอาหาร
โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

    โซเดียมในขนมขาไก่

ขนมขาไก่ ขนมที่ทำมาจากแป้งสาลีและส่วนผสมต่างๆ ลักษณะเป็นท่อนเล็กๆ ขนาดพอคำ ขั้นตอนการทำเพียงนำไปทอดจนเหลืองและนำไปอบเพื่อไล่ความชื้นและปรุงรส

ขนมขาไก่เป็นขนมที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดที่มีการตักแบ่งขาย หรือตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เด็กๆ ชื่นชอบเพราะมีรสชาติที่เข้มข้นจากเครื่องปรุงรสที่มีส่วนผสมต่างๆ รวมถึงโซเดียมคลอไรด์

โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง เป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้กันมากในครัวเรือนและอุตสาหกรรมอาหาร และยังใช้ในการถนอมอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียและจุลินทรีย์ก่อโรค

อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปูเค็ม เครื่องพริกแกง เมื่อร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมที่สูง อาจเป็นสาเหตุของโรคไต เนื่องจากไตทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย

เมื่อไตเสื่อมย่อมส่งผลให้ระบบขับถ่ายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติในการถ่ายปัสสาวะ เพราะร่างกายต้องขับโซเดียมคลอไรด์อยู่ตลอด

อีกทั้งยังมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้มากกว่าคนปกติ

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDI) สำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขนมขาไก่ จำนวน 5 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณโซเดียมในขนมขาไก่

ผลวิเคราะห์ปรากฏว่าทุกตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมมากน้อยแตกต่างกันไป

จากขนมขาไก่ 5 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมโดยเฉลี่ย 8.37 มิลลิกรัม/กรัม ลองมาคำนวณดูกันขนมขาไก่แบ่งขายหรือบรรจุแบบเป็นซอง ขนมขาไก่ 1 ถุง มีน้ำหนักโดยประมาณ 70-100 กรัม ถ้าทานหมดจะได้รับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายเท่าไหร่ในการบริโภคแต่ละครั้ง

อย่าลืมว่าใน 1 วัน เราไม่ได้ทานขนมขาไก่เพียงอย่างเดียว ยังมีอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่มีส่วนผสมของโซเดียม

ทางที่ดีควรทานในปริมาณน้อยๆ และทานอาหารที่หลากหลาย



   เชื้อโรคในน้ำส้มคั้นสด

แดดแรง อากาศร้อนแบบนี้ ใครหลายคนคงต้องกระหายน้ำ คอแห้งกันเป็นแถบๆ น้ำส้มคั้นสดๆ บรรจุขวดแช่น้ำแข็งเย็นๆ เป็นเครื่องดื่มชนิดแรกๆ ที่คนไทยอย่างเราเลือกดื่ม

เพื่อดับกระหายคลายร้อน โดยเฉพาะสาว ๆที่รักสุขภาพ ยิ่งนำผลส้มมาคั้นสดๆ ให้เห็นกับตา ยิ่งสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นของสด ใหม่ และยังคงมีสารอาหารตามธรรมชาติครบถ้วน

ทั้ง วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และใยอาหาร ยิ่งเมื่อเติมเกลือ และน้ำเชื่อมตัดความเปรี้ยวอีกหน่อย รับรองได้ว่าอร่อย หวาน ชื่นใจ

น้ำส้มคั้นสด นั้นหาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา มีขายอยู่ตามท้องตลาด รถเข็น เร่ขายตามริมบาทวิถี ตรอก ซอก ซอยต่างๆ รวมทั้งในห้างสรรพสินค้าแทบทุกแห่ง

แม้น้ำส้มสดๆ จะมีรสชาติดีและมีคุณประโยชน์มาก แต่หากพ่อค้าแม่ค้าที่คั้นส้ม ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนคั้น ไม่ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสน้ำส้มให้ดีเพียงพอ และไม่ล้างผลส้ม เพื่อให้เศษดินและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ หลุดออกจากผลส้มก่อนนำมาคั้น

น้ำส้มที่คั้นสดๆ นั้นก็อาจมีเชื้อโรคที่ชื่อว่า อี.โคไล ปนเปื้อนมาด้วยได้ เพราะเชื้อ อี.โคไล เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วๆ ไป และมีในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และคน

ปกติเชื้อชนิดนี้จะพบได้ในอุจจาระคนและสัตว์ และมักพบปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ดิน และอาหาร

ถ้าผู้บริโภคได้รับเชื้อ อี.โคไล ชนิดที่ก่อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการดื่มน้ำส้ม หรือทานอาหาร จะทำให้มีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีเลือดปน และมีไข้

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำส้มคั้นสดบรรจุขวด 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อ อี.โคไล

ผลปรากฏว่า ไม่พบ เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนในน้ำส้มคั้นบรรจุขวดทุกตัวอย่าง

แม้วันนี้จะปลอดภัยแต่ก็ต้องระวัง เลือกซื้อจากร้านค้าที่มั่นใจได้ว่าสะอาดเพื่อความปลอดภัย สบายท้อง.



   สารพิษจากเชื้อราในงาดำ

งา เป็นพืชล้มลุก มีการปลูกมากในประเทศจีน อินเดีย ไปจนถึงเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

ในเมล็ดงาที่เราเห็นเม็ดเล็กๆ นั้น มีประโยชน์มากมายมหาศาล มีทั้งกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดไขมันโอเมก้า 6, โอเมก้า 3 และยังอุดมไปด้วยวิตามินอี, วิตามินบี 1, บี 2, บี 5, บี 6, บี 9 รวมทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส

การได้รับประโยชน์จากเมล็ดงาที่ดีที่สุด คือ การทานอาหารที่มีงาเป็นส่วนประกอบ หรืออาจดื่มเป็นน้ำเต้าหู้งาดำก็ได้ประโยชน์ไม่แพ้กัน

เห็นประโยชน์ของงาดำอย่างนี้แล้ว ท่านที่ชื่นชอบอาจต้องระวังอันตรายที่อาจแฝงอยู่ในเมล็ดงาไว้บ้าง โดยเฉพาะอะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา

ตามธรรมชาติมีอะฟลาท็อกซินทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ อะฟลาท็อกซิน ชนิด บี 1, บี 2, จี 1 และ จี 2

องค์การอนามัยโลก จัดให้อะฟลาท็อกซินชนิด บี 1 เป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง อีกทั้งอะฟลาท็อกซินทนทานต่อความร้อน ฉะนั้น ความร้อนที่ใช้ปรุงอาหารประจำวัน เช่น หุง ต้ม นึ่ง ทอด ย่าง จึงไม่สามารถทำลายพิษของอะฟลาท็อกซินให้หมดไปได้

วันนี้ สถาบันอาหารเอาใจคนรักสุขภาพโดยสุ่มตัวอย่างงาดำที่บรรจุถุงขายตามท้องตลาดในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน บี 1, บี 2, จี 1, จี 2 และปริมาณอะฟลาท็อกซินรวม

ผลปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง

โชคดีของคนไทยที่เกษตรกรและผู้ประกอบการให้ความใส่ใจในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพและปลอดภัย มาสู่ผู้บริโภคอย่างเราๆ

แต่ก็อย่าประมาท ก่อนซื้องาดำบรรจุถุง ต้องสังเกตภายในถุงว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมปะปน ถุงที่บรรจุต้องปิดสนิท ไม่มีรูรั่วให้ความชื้นและอากาศเข้าไปในถุงได้

เพราะหากมีความชื้น สิ่งที่จะตามมาคือ เชื้อราสารพัดชนิดพร้อมกับสารพิษอันตราย.



   เชื้อก่อโรคในขนมโตเกียวไส้หวาน

ขนมโตเกียวขนมหวานที่เรามักเห็นมีขายอยู่ตามริมบาทวิถี หน้าโรงเรียนหรือตามงานวัด

ขนมโตเกียวที่มีขายตามรถเข็นทุกวันนี้มีทั้งไส้หวาน ไส้เค็ม และไส้ผสมสำหรับคนมีรสนิยมชอบทั้ง 2 ไส้

กระบวนการผลิตขนมโตเกียว ผู้ขายจะใช้มือสัมผัสกับส่วนประกอบต่างๆ โดยตรงและหลายครั้ง

หากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ขายไม่รักษาสุขอนามัยส่วนตัว ไม่ล้างมืออย่างสม่ำเสมอและล้างมือไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในขนมโตเกียวได้

โดยเฉพาะขนมโตเกียวไส้หวาน หรือไส้ครีมที่มีส่วนผสมหลักเป็นแป้งข้าวโพด ไข่ไก่ น้ำตาล นม เนย

ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มักพบเชื้อก่อโรคปนเปื้อน หากเก็บไว้นานๆ โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น เดี๋ยวร้อนแดดจัด เดี๋ยวฝนตกแบบนี้ ยิ่งทำให้เชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในขนมโตเกียวเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

เชื้อก่อโรคที่อาจพบปนเปื้อนนั้น ได้แก่ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส แน่นอนว่าหากมันปนเปื้อนอยู่ในอาหารเราจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เชื้อชนิดนี้สามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า เอนเทอโรทอกซิน ขึ้นมาได้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

เมื่อเราได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย

โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความต้านทานสารพิษของแต่ละคน

หากเป็นผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ อาการอาจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หากเป็นเด็กเล็กที่มีความต้านทานต่อโรคต่ำ ยิ่งต้องระวัง เพราะอาการอาจดีขึ้นได้ช้า

เมื่อขนมโตเกียวเป็นอาหารที่ใกล้ตัวผู้บริโภคอย่างเราๆ ขนาดนี้

วันนี้ สถาบันอาหารจึงได้สุ่มตัวอย่างขนมโตเกียวไส้หวานจำนวน 4 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้า ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส

ปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อชนิดนี้ในทุกตัวอย่าง ทางที่ดีควรเลือกซื้อขนมโตเกียวจากร้านที่สะอาด และซื้อที่ปรุงสุกใหม่ๆ ทุกครั้ง

หากยังไม่ทานควรเก็บไว้ในตู้เย็น ก่อนทานต้องน้ำมาอุ่นให้ร้อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย สบายท้อง.



   อะไรอยู่ใน...เครื่องแกงเขียวหวาน

อาหารรสจัด อาหารคู่ครัวของคนไทยมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก ผัดเผ็ด แกงเผ็ด ผัดพริกแกง ต้องจัดอยู่ในสำรับอาหารแต่ละมื้อ แบบขาดไม่ได้

แต่ละบ้านมักจะมีเครื่องแกงเอาไว้ติดครัว ทั้งเครื่องแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงส้ม แกงคั่ว พะแนง และแกงมัสมั่น

เครื่องแกงต่างๆ มีวัตถุดิบที่สำคัญ คือ พริก ที่ให้ความเผ็ดร้อน กระเทียม หอมแดง ข่า และส่วนผสมอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของเครื่องแกง เช่น

เครื่องแกงเขียวหวาน ประกอบด้วย พริกขี้หนู ลูกผักชี รากผักชี ยี่หร่า พริกไทย เกลือป่น ข่าแก่ ตะไคร้ ผิวมะกรูด กระเทียม หอมแดง และกะปิ

เมื่อนำทุกอย่างมาโขลกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ก็จะได้เครื่องแกงเขียวหวานกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน พร้อมนำไปปรุงอาหาร
เครื่องแกงที่อร่อยและคุณภาพดี ต้องทำจากวัตถุดิบที่สด ใหม่ ได้คุณภาพ ที่สำคัญต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนเชื้อรา และเชื้อก่อโรค

เพราะวัตถุดิบที่นำมาทำเครื่องแกงนั้น เป็นเครื่องเทศชนิดที่มีเชื้อราปนเปื้อนได้ง่าย อีกทั้งแม่ค้ามักทำเครื่องแกงครั้งละมากๆ และใส่ในกะละมังใบใหญ่ๆ วางขายในตลาด เมื่อขายไม่หมดก็เก็บไว้ขายใหม่อีกครั้งในวันถัดๆไป

หากอุปกรณ์ ภาชนะต่างๆที่สัมผัสกับเครื่องแกงไม่สะอาด สภาพแวดล้อมที่วางขายในตลาดอับชื้น บริเวณที่วางขายและเก็บรักษา ไม่รักษาสุขลักษณะให้ดีเพียงพอ ก็อาจเป็นบ่อเกิดของการปนเปื้อนเชื้อราลงในเครื่องแกงได้

เราสามารถมองเห็นเส้นใยของเชื้อราที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ มีสีต่างๆ เช่น ขาว เขียว เหลือง ฟ้า ที่ปนเปื้อนและเจริญอยู่บนผิวของเครื่องแกงได้ด้วยตาเปล่า

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเครื่องแกงเขียวหวาน จำนวน 4 ตัวอย่าง จากตลาดสดในกรุงเทพฯ

เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อรา ผลที่ได้ปรากฏว่าพบ 1 ตัวอย่างที่มีเชื้อราปนเปื้อน

ขอแนะว่า ก่อนซื้อทุกครั้งควรสังเกตสีและกลิ่น หากเห็นมี

 

คราวที่แล้วคอลัมน์ “มันมากับอาหาร” กล่าวถึงเชื้อราในเครื่องแกงเขียวหวานกันไปแล้ว ครั้งนี้ขอนำเสนอ สารพิษ อะฟลาท็อกซิน อันตรายที่อาจปนเปื้อนในเครื่องแกงเขียวหวานอีกชนิด

อะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรากลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส และแอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส

เชื้อราเหล่านี้จะสร้างสารพิษได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความอับชื้นและสถานที่ที่มีสุขลักษณะไม่ดี

ฉะนั้นอาหารที่มีความชื้นสูง เช่น เครื่องแกงต่างๆ หากเก็บในสถานที่อับชื้น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สุขลักษณะไม่ดี และผู้ขายไม่รักษาสุขลักษณะส่วนตัวหรืออุปกรณ์ ภาชนะที่สัมผัสอาหารไม่สะอาดเพียงพอ จะทำให้เชื้อราปนเปื้อน เจริญเติบโต และอาจสร้างสารพิษในอาหารได้

สารพิษอะฟลาท็อกซิน มีอยู่ 4 ชนิด คือ บี 1, บี 2, จี 1 และ จี 2 อะฟลาท็อกซิน ชนิด บี 1 จะมีความเป็นพิษสูง โดยองค์การอนามัยโลก จัดให้เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรง เพราะปริมาณของ อะฟลาท็อกซิน บี 1 เพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้

หากคนได้รับเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องหรือบ่อยครั้ง จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งตับเช่นกัน

ที่สำคัญ ความร้อนที่ใช้ในการ หุง ต้ม นึ่ง ในระดับที่ทำให้อาหารสุกและเดือดนั้นจะไม่สามารถทำลายพิษของอะฟลาท็อกซินให้หมดลงไปได้

เครื่องแกงต่างๆ นับเป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่อาจพบเชื้อราและสารพิษปนเปื้อน เพราะมีน้ำและความชื้นสูง อีกทั้งเครื่องเทศที่เป็นส่วนประกอบก็เป็นแหล่งที่พบเชื้อราปนเปื้อนได้ง่าย

เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่ได้คุณภาพและปลอดภัย สถาบันอาหารจึงสุ่มตัวอย่างเครื่องแกงเขียวหวาน จำนวน 4 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อรา ซึ่งได้พบเชื้อราปนเปื้อนในเครื่องแกงเขียวหวานเพียง 1 ตัวอย่าง สัปดาห์นี้ได้นำตัวอย่างทั้ง 4 มาวิเคราะห์ปริมาณอะฟลาท็อกซินชนิด บี 1, บี 2, จี 1, จี 2

ผลวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างไม่พบอะฟลาท็อกซินปนเปื้อน

อย่าชะล่าใจกันมากนัก เพราะการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ ร่างกายจะได้รับประโยชน์หรือโทษ ขึ้นอยู่กับการเลือกบริโภคของตัวท่านเอง.



   เชื้อก่อโรคในข้าวขาหมู

ขาหมูพะโล้ มีต้นกำเนิดมาจากอาหารจีน แรกเริ่มเดิมทีเป็นกับข้าว จนมีคนคิดนำมาทานร่วมกับข้าวเพื่อแก้เลี่ยนเนื่องจากขาหมูมีไขมันมาก

เมื่อผสมรวมกัน ก็เลยเป็นข้าวขาหมู อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ วิธีการทำค่อนข้างยุ่งยากเพราะจะต้องใช้เวลาในการเคี่ยวขาหมูให้เปื่อย แล้วให้น้ำซุปที่มีเครื่องเทศ สมุนไพรชนิดต่างๆ ซึมเข้าเนื้อ

นอกจากจะใช้ขาแล้ว เรายังเห็นคากิ (กีบเท้าของหมู) ไส้พร้อมทั้งไข่ ให้ความกลมกล่อมลงตัวและรสชาติจะดีขึ้นทันทีเมื่อทานแกล้มกับกระเทียม พริกขี้หนู ผักกาดดองหั่นชิ้นเล็กๆ และน้ำจิ้มรสเปรี้ยว

ข้าวขาหมู เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อด้านการเพิ่มน้ำหนักเพราะมีไขมันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นหนัง และส่วนที่เรียกว่า คากิ (กีบเท้าของหมู)

เราทราบกันดีว่า อาหารที่มีไขมันสูงทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง สามารถนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ที่กล่าวมาข้างต้นคืออันตรายจากการทานไขมันมากจนเกินไป

แต่อันตรายที่อาจแอบแฝงมากับขาหมูได้เช่นกันก็คือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย

หากเราทานอาหารที่มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ อาการที่พบได้แก่ ปวดท้อง ปวดศีรษะ เป็นไข้ อาเจียน หากปล่อยไว้นานร่างกายอาจขาดน้ำ และทำให้ช็อกได้

อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพความต้านทานของร่างกายต่อสารพิษของเชื้อชนิดนี้ และปริมาณเชื้อที่ร่างกายได้รับจากอาหาร

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างข้าวขาหมู อาหารใกล้ตัว จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าว

ผลที่ได้ปรากฏว่า พบ 1 ตัวอย่างที่มีเชื้อปนเปื้อน แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กำหนดว่า อาหารพร้อมบริโภค/อาหารปรุงสุกทั่วไป พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม

ขอแนะว่าควรอุ่นให้ร้อนก่อนทานทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย




28-28

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2558 18:20:16 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2557 15:46:41 »

.

    ความหวานในขนมทองหยอด
น้ำตาลเป็นสารอาหารที่จำเป็นและเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย  เมื่อร่างกายได้รับซูโครสจะต้องถูกย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคสและฟรุกโตส เสียก่อน แล้วร่างกายจึงจะดูดซึมและนำไปใช้งานได้
 
น้ำตาลซูโครส เป็นสารให้ความหวานที่มีอยู่ในพืชและผลไม้สุกแทบทุกชนิด แต่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำตาลทางการค้า ได้แก่ อ้อย ตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว และบีทรูท
 
กลูโคส ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยการไหลเวียนของระบบเลือด ระบบประสาท และยังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมองอีกด้วย
 
น้ำตาลจึงมีประโยชน์หากใช้ในปริมาณพอดี ไม่ว่าจะเป็นการทานโดยตรง หรือได้จากการเป็นส่วนผสมของอาหารชนิดต่างๆ ในทางกลับกันหากใช้น้ำตาลเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการแต่ละวัน จะทำให้เกิดโรคมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคอ้วน ในเด็กที่ติดรสหวานและทานลูกกวาดเป็นประจำ ก็อาจทำให้เป็นโรคฟันผุ ฟันเสียได้
 
จึงขอเตือนว่า การเพิ่มความหวานของอาหารโดยปรุงรสด้วยน้ำตาลนั้นไม่มีความจำเป็น เพราะอาหารที่เราทานแต่ละวันนั้นมีปริมาณน้ำตาลเพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว
 
โดยปกติใน 1 วัน เราไม่ควรทานน้ำตาลเกิน 4–6 ช้อนชา หรือไม่ควรเกิน 24 กรัม แต่สำหรับผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากอาจทานได้มากถึง 8 ช้อนชา หรือเกิน 24 ได้...ขอเตือนไว้ว่าอย่าทานปริมาณมากเพื่อสุขภาพที่ดี



   เชื้อก่อโรคในขนมถ้วย
ขนมถ้วยหน้ากะทิ หรือขนมถ้วยตะไล เป็นขนมหวานไทยโบราณชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นตัวเนื้อ และส่วนที่เป็นตัวหน้า
 
ส่วนตัวเนื้อจะมีรสชาติหวาน สีเขียวอ่อนจากใบเตย ส่วนตัวหน้าจะมีส่วนผสมของกะทิ มีความมันและเค็ม
 
ขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก นำส่วนที่เป็นเนื้อหยอดลงในถ้วยตะไล นึ่งสักครู่แล้วค่อยหยอดส่วนที่เป็นตัวหน้า ปิดฝาทิ้งไว้สักครู่ ยกลงทานได้
 
ขนมถ้วย หาทานได้ทั่วไป มีทั้งวางขายในร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ และมีทั้งขับรถขายตามบ้าน คนขายจะทำตั้งแต่เช้าแล้วเร่ขายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด  ตรงนี้แหละน่ากลัว อย่างที่บอกว่าส่วนบนเป็นกะทิ หากขายไม่หมดและเก็บไว้นาน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอย่างนี้ อาจทำให้ขนมถ้วยปนเปื้อนเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรค ซึ่งจะสร้างสารพิษที่มีคุณสมบัติทนความร้อน หากเป็นอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนผสม อาจมีความเสี่ยงมากกว่าอาหารชนิดอื่น และจะทำให้เกิดอาการพิษแบบเฉียบพลันหลังทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเข้าไป
 
อาการของโรคที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรงอาจมีการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ชีพจรอ่อนจนถึงขั้นช็อก หากอาการไม่มาก 1-2 วัน ก็หายโดยไม่ต้องรักษา  วิธีหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อง่ายๆ ผู้บริโภคต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหาร หากเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและกะทิ ที่ปรุงสุก และทิ้งไว้นานๆ ควรหลีกเลี่ยง  

แม้ว่าคนไทยมีภูมิต้านทานในเรื่องนี้มาก จึงมักไม่พบอันตรายที่รุนแรง แต่ถ้าหากเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทย และได้ทานอาหารที่เป็นอันตราย อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมก็เป็นได้  ทางที่ดีทั้งคนขาย คนซื้อ ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น.



   อะไรอยู่ใน...ลูกเกด
ลูกเกด ผลิตภัณฑ์จากองุ่นที่ได้จากการนำผลองุ่นสดมาตากแดดเพื่อให้องุ่นแห้ง และกลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำจนเกือบดำ หรือหากผ่าน กระบวนการอบแห้งก็จะได้ลูกเกดสีทอง
 
ลูกเกดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของไทย แต่มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องมาตรฐาน และความปลอดภัยของอาหารระดับโลก
 
ลูกเกดเป็นอาหารทานเล่นที่อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ ทั้งสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ ที่ยับยั้งการเกิดโรคความเสื่อมทั้งหลาย มีแร่ธาตุและวิตามินที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, โปแตสเซียม, แมกนีเซียม, ไนอาซิน, โฟลาซิน, วิตามิน A และวิตามิน C แถมยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และยังปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลอีกด้วย
 
ประโยชน์ของลูกเกดนั้นมีมาก แต่จะดีมากหากลูกเกดนั้นไม่มีสารพิษที่เกิดจากเชื้อราปนเปื้อน เช่น สารโอคราท็อกซิน เอ  สารพิษชนิดนี้มักพบปนเปื้อนในเมล็ดธัญชาติ ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์และผลไม้อบแห้ง เช่น องุ่นอบแห้ง ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เหมาะสม หรือบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีอากาศผ่านเข้าไปได้  เมื่ออาหารได้รับความชื้นก็จะมีจุลินทรีย์เจริญเติบโตขึ้น และเจ้าจุลินทรีย์นี้เองที่เป็นตัวผลิต สารพิษโอคราท็อกซิน เอ ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร โดยที่มนุษย์อย่างเราไม่มีวันรู้ตัว หากทานอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไปบ่อยครั้ง หรือทานในปริมาณมาก สารพิษนี้จะสะสมในร่างกาย และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
 
วันนี้ สถาบันอาหาร เอาใจคนชอบทานลูกเกดด้วยการสุ่มตัวอย่างลูกเกดจำนวน 4 ตัวอย่างจากตลาดแม่สาย จ.เชียงราย เพื่อนำมาวิเคราะห์สารโอคราท็อกซิน เอ ปนเปื้อน ... เป็นที่น่ายินดีที่ผลการตรวจวิเคราะห์ลูกเกดทุกตัวอย่าง ไม่พบสารโอคราท็อกซิน เอ ปนเปื้อนเลย ถึงตรงนี้ต้องยกประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่ผลิต แบ่งบรรจุและจำหน่ายลูกเกดที่ใส่ใจต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค



     เชื้อก่อโรคในขนมครก
ขนมครก กลิ่นหอม หวาน มัน ขนมหวานไทยแบบโบราณ ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล และกะทิเป็นขนมที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และริมบาทวิถี
 
แต่เดิมขนมครกจะใช้ข้าวเจ้า นำมาแช่น้ำโม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ  ปัจจุบันมีแป้งขนมครกสำเร็จรูป เพียงนำมาผสมกับน้ำตาลและหางกะทิก็จะได้ส่วนผสมของตัวขนมแล้ว
 
ขนมครกมีหลายหน้าทั้งหน้าต้นหอม ฟักทอง ข้าวโพด เผือก ถ้าจะให้อร่อยแป้งขนมครกต้องกรอบนอกเนื้อนุ่มใน หอมกลิ่นกะทิในขั้นตอนการทำขนมครก มีขั้นตอนการทำที่ง่ายแต่ที่สำคัญ ถ้าพ่อค้าแม่ค้าละเลย มีสุขอนามัยที่ไม่ดี ใช้มือหยิบขนม อุปกรณ์ไม่หมั่นทำความสะอาด
 
ขนมครกไม่มีความสดใหม่ ทิ้งไว้นานๆ อาจมีสิ่งอื่นปนเปื้อนมากับขนมครก นั่นคือ เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส บาซิลลัส ซีเรียส เป็นแบคทีเรียรูปท่อน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทำให้เราไม่รู้ว่าอาหารหรือขนมที่เราทานเข้าไปนั้นมีเชื้อเหล่านี้ปะปนอยู่ด้วยหรือไม่
 
ถ้าเราทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส จะเกิดอาการ 2 ลักษณะ คือ ทำให้เกิดการอาเจียนและทำให้ท้องเสีย ก่อนทานอาหารจึงต้องระมัดระวังและรักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่ทำให้สุกแล้ว ไม่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนานจนเกินไป
 
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างขนมครก 5 ตัวอย่าง จาก 3 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ในขนมครก ผลการวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นถึงความใส่ใจของพ่อค้า แม่ค้า ที่มีสุขอนามัยที่ดี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค.



    สารกันบูดในกะปิ
น้ำพริกกับข้าวสวย กินคู่กับผักสด ผักลวก ปลาทูทอด เมนูหลักที่ขาดไม่ได้ในสำรับกับข้าวของคนไทย
 
อาหารง่ายๆ ที่รังสรรค์โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ตามท้องถิ่น ที่ขึ้นชื่อที่สุดของน้ำพริกและเครื่องเคียงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย คงหนีไม่พ้น น้ำพริกกะปิ ที่นิยมกินกับปลาทู ชะอม และมะเขือทอด ที่เข้ากันได้ดี
 
น้ำพริกกะปิ จะอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกะปิที่ทำมาจาก “เคย” ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ คล้ายกุ้ง บางทีก็เรียกกันว่า “กุ้งเคย” มักอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและบริเวณป่าชายเลน
 
กรรมวิธีการทำกะปิ เริ่มจากจับเคยมารวมๆ กันผสมกับเกลือแล้วหมักทิ้ง 2 คืน แล้วนำมาผึ่งแดดพอหมาด จากนั้นนำมาตำเบาๆ พอแหลก หมักทิ้งไว้อีก 5 คืน  
ทำแบบนี้อีก 2 ครั้ง แล้วนำมาบรรจุลงภาชนะปิดทับด้วยผ้าพลาสติก โรยด้วยเกลือเม็ด หมักทิ้งไว้อีก 45 วัน จึงนำมาปรุงอาหารได้
 
หากดูกรรมวิธีการผลิตแบบครัวเรือนแล้วยากที่จะหาขั้นตอนที่มีการใส่วัตถุเจือปนในอาหาร แต่ถ้าเป็นการผลิตเพื่อการค้า หรือผลิตในระดับอุตสาหกรรม
 
การผลิตกะปิแต่ละครั้งจะต้องผลิตในจำนวนมาก ผู้ผลิตบางรายอาจใส่สารกันบูดลงไปเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรักษากะปิไว้ขายได้นานๆ ไม่เน่าเสียง่าย เช่น กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต  หากร่างกายได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมากๆ และบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย อาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตให้ด้อยลง
 
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างอาหารใกล้ตัวเราอย่างกะปิจำนวน 4 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของกรดเบนโซอิก ปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง นับว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนไทยที่ชอบทานน้ำพริกเป็นชีวิตจิตใจ และต้องขอบคุณผู้ผลิตทุกราย ที่วันนี้ใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของชาวไทยทุกคน.



    เชื้อก่อโรคในตำซั่ว
ส้มตำ เป็นอาหารที่ดัดแปลงได้หลายรสชาติ ตามความต้องการของผู้รับประทาน
 
ปัจจุบันมีส้มตำรสชาติแปลกๆมากมาย ทั้งตำหมูยอ ตำแคบหมู ตำมั่ว ตำซั่ว สองอย่างหลังนี้เป็นส้มตำที่มีการผสมผสานวัตถุดิบหลายอย่างเข้าด้วยกัน
 
ว่ากันว่าตำซั่วเป็นตำลาว สมัยก่อนเค้าจะนำขนมจีนและน้ำยาป่าผสมเข้ากับส้มตำ เรียกน้ำยาว่า “น้ำซั่ว” หลังๆ มานี้คงเป็นการยุ่งยาก หากจะต้องใส่น้ำยาลงไปด้วย จึงเหลือแค่เส้นขนมจีน  ตำซั่ว เป็นอาหารเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ อี.โคไล ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ หรือปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ เช่น ผักต่างๆ ที่ล้างไม่สะอาด  หากพ่อค้า หรือแม่ค้า เข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัวแล้วกลับออกมา ไม่ล้างมือ หรือล้างไม่สะอาดเพียงพอ เจ้าเชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปอยู่ตามซอกเล็บ หรือง่ามนิ้วมือ เมื่อจับอาหารโดยไม่ใส่ถุงมือ เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในอาหาร  เมื่อเราทานเข้าไปภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง จะเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายเหลว เป็นไข้ อาเจียน ตามขั้นตอนของการเกิดโรค จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ได้รับและภูมิคุ้มกันของแต่ละคน
 
วิธีป้องกันง่ายๆ เริ่มต้นจากการสังเกตสุขลักษณะเบื้องต้นของคนขาย ถุงมือต้องใส่เมื่อหยิบจับอาหาร ผักสดที่นำมาประกอบอาหารต้องล้างน้ำให้สะอาด ส่วนน้ำปลาร้าต้องมั่นใจว่าผู้ขายผ่านการต้มให้สุกมาแล้ว
 
วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่น่าตกใจสำหรับคนชอบทานตำซั่ว เพราะผลที่ได้จากการวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล ในตำซั่ว 5 ตัวอย่าง  พบว่ามีอยู่ 3 ตัวอย่างที่พบอี.โคไลเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กำหนดให้พบ อี.โคไล ปนเปื้อนในส้มตำได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม
 
น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทยในหน้าร้อนระอุเช่นนี้ ที่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ
 
ถึงตอนนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาหารปลอดภัย คงต้องช่วยกันให้ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของบุคคลที่ปรุงอาหาร และสุขลักษณะของอาหารตามริมบาทวิถีเป็นการด่วน



    มีอะไรในก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก
ก๋วยเตี๋ยว มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ จึงมีการสนับสนุนให้คนไทยรู้จักค้าขาย โดยแนะนำให้ “ขายก๋วยเตี๋ยว” เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และส่วนประกอบที่ใช้ทำก็มีมากในประเทศไทย
 
กระทั่งวันนี้ ก๋วยเตี๋ยวได้กลายมาเป็นอาหารยอดนิยม และได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เกิดรสชาติใหม่ เช่น ต้มยำ น้ำตก ตุ๋น เป็นต้น
 
ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ต้องใช้ส่วนผสมที่มีลักษณะเฉพาะคือ ต้องใช้เลือดหมูที่มีความสด ไม่มีกลิ่นคาวผสมกับน้ำซุปของก๋วยเตี๋ยวที่เดือด เมื่อได้น้ำซุปที่มีสีน้ำตาลคล้ำ จึงถือว่าสุกและรับประทานได้อย่างปลอดภัย
 
ทว่าในระหว่างปรุงต้องระวังในเรื่องสุขลักษณะของผู้ปรุง ไม่เช่นนั้น ร่างกายอาจได้รับอันตรายจากเชื้อโรคที่ชื่อว่า สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ก็เป็นได้ เชื้อนี้พบได้ในอากาศ ฝุ่น น้ำ อาหารและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหาร
 
สำหรับก๋วยเตี๋ยว เชื้อนี้อาจปนเปื้อนมากับผัก เนื้อสัตว์ ลูกชิ้นที่ปรุงสุกแล้วแต่ตั้งทิ้งไว้นานๆ และยิ่งถ้าเติมด้วยน้ำซุปไม่ร้อนหรือเดือดมากพอ จะทำให้เชื้อที่ปนเปื้อนอยู่แล้วมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น และสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อน หลายรายจะมีอาการปวดหัว เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ อาจมีการเต้นของชีพจรผิดปกติ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2–3 วัน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความต้านทานสารพิษของร่างกาย
 
วันนี้ สถาบันอาหารเอาใจคอก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ด้วยการสุ่มตัวอย่างก๋วยเตี๋ยวน้ำตกจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน
 
ผลที่ได้รับเป็นที่น่ายินดีที่ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อน วันนี้พ่อค้า แม่ค้าไทยหันมาใส่ใจความปลอดภัยของอาหารกันมากขึ้น.



    คาราจีแนน กับอาหารสำเร็จรูป
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งวงการอุตสาหกรรมอาหาร มักใช้เติมเพื่อให้อาหารมีคุณลักษณะตามต้องการหรือยืดอายุการเก็บ

ชนิดแรกที่ขอนำเสนอให้รู้จักคือ คาราจีแนน  เป็นสารที่สกัดได้จาก สาหร่ายทะเลสีแดง (Rhodophyceae)

ผู้ผลิตอาหาร มักนำคาราจีแนนมาใช้ในอาหารสำเร็จรูปหลากหลายชนิด และหลายวัตถุประสงค์ คือ หนึ่ง ใช้เพิ่มความข้นหนืดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง ซอสปรุงรส ซุป  สอง ทำให้เกิดเจลในอาหาร เช่น เจลลี่ และวุ้น  สาม ใช้เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ช่วยให้ส่วนผสมที่เป็นน้ำมัน ไขมันผสมรวมกับน้ำเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ครีมเทียม ขนมพุดดิ้ง ผลิตภัณฑ์นม นมข้น นมข้นคืนรูป เนยเทียม  สี่ ใช้เพิ่มความคงตัวในอาหาร เช่น นมช็อกโกแลต ไอศกรีมและช่วยให้ส่วนผสมของไอศกรีมผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย และไม่มีส่วนที่เป็นของเหลวละลายออกมา  ห้า ใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก หมูแฮม หมูยอ โดยไม่ทำให้รสชาติเปลี่ยน นอกจากนั้น ยังใช้ในแตงกวาดอง พืช ผักแห้ง ผลไม้แห้ง และผลิตภัณฑ์ขนมอบ อีกด้วย

ปกติวัตถุเจือปนอาหารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ต้องเป็นชนิดที่ ใช้สำหรับอาหาร หรือ Food grade คาราจีแนนก็เช่นกัน หลายประเทศ อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่ต้องเป็น Food grade เท่านั้น

ตามมาตรฐานโคเด็กซ์ กำหนดให้ใช้คาราจีแนนในอาหารได้ในปริมาณที่เหมาะสม และการใช้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) คือ ใช้ในปริมาณต่ำที่สุดที่ให้ผลทางด้านการผลิตตามที่ผู้ผลิตต้องการ

ด้านสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ใช้คาราจีแนน ในอาหารได้หลายชนิด โดยใช้ในปริมาณที่กำหนดและเหมาะสมเช่นกัน ส่วนประเทศไทยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหารกำหนดให้ใช้คาราจีแนนในอาหารหลายชนิดตามปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ และตามปริมาณที่เหมาะสม

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังยืนยันว่าคาราจีแนนปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ปริมาณคาราจีแนนที่ใช้ในอาหารนั้นต้องไม่เกินมาตรฐานกำหนด

คาราจีแนนมีคุณสมบัติที่ดีตามที่กล่าวถึง แต่ถ้าผู้ผลิตที่ไม่รับผิดชอบเร่งคุณสมบัติโดยใช้เกินมาตรฐานอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพได้ อาหารทุกชนิดมีคุณสมบัติและคุณค่าหลากหลายของสารอาหารการ บริโภคที่เพียงพอครบ 5 หมู่ ก่อให้เกิดผลดีกับสุขภาพ ขณะเดียวกัน การบริโภคปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละหมู่ ก็อาจกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน.



    ดินประสิวในกุนเชียง
กุนเชียง เป็นการถนอมอาหารพื้นบ้านมีที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ กรรมวิธีการทำกุนเชียงในสมัยก่อนไม่ได้ยุ่งยาก นำเนื้อหมูมาสับแล้วผสมเครื่องปรุงรสตามชอบ เสร็จแล้วยัดไส้ตากจนแห้งก็นำมาทานได้ ปัจจุบันมีการปรับปรุงวัตถุดิบให้หลากหลายขึ้น โดยใช้เนื้อปลาและเห็ดมาผสมตามสูตร ก็จะได้กุนเชียงปลา กุนเชียงเห็ดเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ

เมื่อพิจารณาวัตถุดิบหลักข้างต้นของกุนเชียง ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรกับสุขภาพของผู้บริโภค แต่หากผลิตในระดับอุตสาหกรรม หรือผลิตเพื่อจำหน่ายในปริมาณมากๆ ผู้ผลิตมักใช้ตัวช่วยอย่างเกลือไนไตรต์และไนเตรต หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ดินประสิว” ใส่ลงไปเพื่อทำให้กุนเชียงมีสีแดงน่ารับประทาน กลิ่นและรสของกุนเชียงดีขึ้น และใช้เป็นสารกันเสีย ยับยั้งการเจริญและสร้างสารพิษของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2549) กำหนดให้ใช้ไนเตรตหรือเกลือไนเตรตในผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก เช่น ไส้กรอกแฮม ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร และใช้ไนไตรต์ เกลือไนไตรต์ ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร

หากใช้ในปริมาณไม่เกินมาตรฐานข้างต้นนี้ ก็จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปกติแล้วตัวไนเตรตนั้นไม่มีพิษ แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกแบคทีเรียในกระเพาะอาหารและลําไส้ เปลี่ยนไนเตรตให้เป็นไนไตรต์ที่มีผลต่อฮีโมโกลบินในเลือด ทําให้ไม่สามารถนําออกซิเจนไปใช้ได้ และเป็นโทษต่อร่างกาย

นอกจากนั้น ไนไตรต์ยังสามารถทำปฏิกิริยากับเอมีนในอาหาร แล้วกลายเป็นสารไนโตรซามีนที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างกุนเชียง 5 ตัวอย่าง จากร้านชื่อดังใน จ. อุบลราชธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของไนไตรต์และไนเตรต

ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบทั้งไนไตรต์และไนเตรต แต่ปริมาณที่พบยังไม่เกินค่ามาตรฐาน...อย่าชะล่าใจกันมากนัก หากใน 1 วันทานในปริมาณมากๆ และทานบ่อยครั้ง ก็ไม่แน่ว่าจะปลอดภัย



    สารบอแรกซ์ในหมูยอ
หมูยอ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู มันหมู เครื่องปรุงรส แป้งมัน และส่วนประกอบต่างๆ

บางคนอาจเบื่อรสชาติหมูยอแบบดั้งเดิม ผู้ผลิตจึงเพิ่มความหลากหลายโดยเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น เห็ดหอม พริกไทยดำ และสาหร่ายเพิ่มลงไปเพื่อให้หมูยอมีรสชาติแปลกใหม่ขึ้น  ส่วนผสมข้างต้นนี้จะถูกนำมาผสมรวมและบดให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน พอส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดีก็จะนำไปบรรจุในใบตอง หรือพลาสติก แล้วนำไปต้มหรือนึ่งให้สุก แค่นี้ก็จะได้หมูยอที่อร่อยล้ำตามภูมิปัญญาแบบไทยๆ  ทว่า พ่อค้าแม่ค้าบางรายจะมีการเติม สารบอแรกซ์  หรือน้ำประสาน ทองเพิ่มลงไป เพื่อทำให้หมูยอที่ตนผลิตมีความเหนียว หยุ่นกรอบและคงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่ายเหมือนเจ้าอื่นๆ

นอกจากหมูยอแล้ว อาหารที่อาจพบว่าแอบเติมสารบอแรกซ์เพื่อให้หยุ่นกรอบ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด และไส้กรอก

ที่ว่า แอบเติมก็เพราะ บอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) เรื่อง วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะเป็นสารที่มีพิษต่อผู้บริโภค  เมื่อได้รับบอแรกซ์เข้าสู่ร่างกายในปริมาณไม่มาก แต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานานจะเกิดอาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ  แต่หากได้รับในปริมาณสูงๆ จะเกิดอาการพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง บางครั้งรุนแรงถึงตายได้

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างหมูยอจากร้านค้าชื่อดังใน จ.อุบลราชธานี จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์สารบอแรกซ์ปนเปื้อน

ผลปรากฏว่าทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบสารบอแรกซ์ปนเปื้อนเลย อย่าชะล่าใจกันนัก หากพบอาหารที่มีลักษณะเหนียวหยุ่น กรอบเด้งอยู่ได้นานผิดปกติ หรือผิดธรรมชาติ ก็ควรหลีกเลี่ยง เพื่อความปลอดภัย.



    เชื้อก่อโรคในน้ำพริกกะปิ
น้ำพริกกะปิ เป็นเครื่องจิ้มที่รับประทานคู่กับผักต่างๆ ทั้งผักสด ผักลวก หรือผักชุบไข่ทอด

น้ำพริกกะปิ รสชาติจะอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกะปิ ซึ่งต้องเป็นกะปิคุณภาพดี นั่นคือ มีเนื้อเนียนละเอียด แห้ง มีกลิ่นหอม ผสมกับพริกขี้หนูสวนเม็ดเล็กที่มีรสชาติเผ็ดจัดจ้าน เพิ่มความเปรี้ยวด้วยมะนาวตัดด้วยน้ำตาลเพื่อความลงตัวของน้ำพริกกะปิถ้วยโปรด

น้ำพริกกะปิ เป็นเมนูที่มีเครื่องเคียงหลายอย่างเป็นส่วนประกอบ เช่น ปลาทูทอดและผักนานาชนิด ตั้งแต่ผักทอด ผักสด ผักลวกหรือผักต้ม

หากพิจารณาในด้านคุณค่าทางโภชนาการแล้ว หนึ่งครั้งที่เรารับประทานน้ำพริกกะปิ จะได้สารอาหารครบถ้วนทั้งโปรตีนจากปลา วิตามิน แร่ธาตุและเบต้าแคโรทีนจากผักแทบทุกชนิด  เห็นอย่างนี้แล้วอย่าเพิ่งดีใจก่อนที่จะอ่านจนจบ เพราะสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเรื่องจริงที่อ้างอิงจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

เนื่องจากผลการวิเคราะห์น้ำพริกกะปิ จำนวน 5 ตัวอย่าง จากห้องปฏิบัติการของสถาบันอาหาร พบการปนเปื้อนของเชื้อคลอสตริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์ ถึง 3 ตัวอย่าง และมีอยู่ 1 ตัวอย่างที่พบในปริมาณมากคือ พบในปริมาณ 260 ซีเอฟยู/กรัม ผลตามตารางด้านล่าง

คลอสตริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์ เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มักพบปนเปื้อนในอาหารที่จัดเตรียมเป็นจำนวนมากๆ หรือต้องจัดเตรียมอาหารขึ้นล่วงหน้าเป็นเวลานานๆ ก่อนนำไปรับประทาน หรือในระหว่างการปรุงและการเก็บรักษามีการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่สะอาด จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อชนิดนี้ได้ ซึ่งกว่าจะนำอาหารไปรับประทาน เชื้อชนิดนี้อาจเพิ่มจำนวนในอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อเราทานอาหารเข้าไปจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสีย มีก๊าซ คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกันง่ายๆ คือ เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หรือไม่เก็บไว้นานเกินควรก่อนนำมารับประทาน หรือทำให้สุกอีกครั้งก่อนรับประทานทุกครั้ง

วันนี้จึงอยู่ที่คนเลือก ว่าจะรับประทานอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่เกิดโรค.



    สารกันบูดในคุกกี้
คุกกี้ ผลิตภัณฑ์ขนมอบทานเล่นที่หลายๆ คนติดอกติดใจกับความหอม หวาน และมัน อันเกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวจากแป้งสาลี ไข่ เนย นม และน้ำตาล

คุกกี้ เป็นอาหารที่เก็บไว้ไม่ได้นาน มีอายุการเก็บสั้น เพราะเป็นอาหารที่มีความชื้นค่อนข้างสูง อีกทั้งมีส่วนผสมของไข่และนม ที่เหมาะต่อการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์เป็นอย่างดี

ผู้ผลิตบางรายที่ต้องการให้คุกกี้เก็บไว้ขายได้นาน จึงหันมาใช้สารกันบูดเติมลงไปในส่วนผสมชนิดที่นิยมก็อย่างเช่น กรดเบนโซอิก

กรดเบนโซอิก เป็นสารกันบูดที่มีประวัติการใช้มายาวนาน มีประสิทธิภาพสูงในรูปของกรด จึงนิยมใช้ผลิตอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด เป็นต้น

แม้ว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขของไทย จะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกในอาหารได้ แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจากการทานอาหาร ก็อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย อาการเลือดตกใน อัมพาต และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตให้ด้อยลง จนอาจส่งผลถึงขั้นพิการได้

ฉะนั้น ผู้ผลิตจึงควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างคุกกี้จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของ กรดเบนโซอิก

ปรากฏว่า พบกรดเบนโซอิกในคุกกี้ทุกตัวอย่าง ทางที่ดีควร ทานเพียงแต่น้อยและไม่บ่อยมากนัก

ทานผักผลไม้ให้มาก เลือกทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อร่างกายที่แข็งแรง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2558 18:33:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2557 18:43:55 »

.

    เชื้อก่อโรคในข้าวมันไก่
ข้าวมันไก่อาหารจานเดียวยอดนิยมที่ความอร่อยไม่ธรรมดา

ข้าวมันไก่ที่อร่อย ข้าวมันต้องหอม นุ่มนวล ข้าวเป็นเมล็ดไม่บานเหมือนข้าวสวยปกติ ความมันของข้าวต้องพอดี ไม่เลี่ยน ที่สำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมันไก่ กระเทียม และขิงผสมกัน เนื้อไก่ต้องมีสีขาวและไม่ยุ่ย และน้ำจิ้มรสต้องเด็ด เค็ม เปรี้ยว หวานอย่างพอเหมาะ

วิธีการทำข้าวมันไก่นั้นไม่ยุ่งยาก แต่ต้องพิถีพิถัน ใส่ใจในเรื่องความสะอาด และสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้เตรียมและผู้ปรุง เพราะทั้งข้าวมันและเนื้อไก่ที่ปรุงสุกแล้วจะต้องสัมผัสกับมือของผู้ปรุงหรือผู้ขายหลายครั้งก่อนเสิร์ฟให้ผู้บริโภค

และหากร้านข้าวมันไก่ร้านไหนขายดี ก็จะต้องต้มไก่เตรียมไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ตัวต่อวัน และแขวนพักไว้ในตู้หน้าร้าน ส่วนข้าวมันจะถูกพักไว้ในหม้อกว่าจะขายหมดอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง

หากทิ้งไว้นานกว่า 5 ชั่วโมง เชื้อก่อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในเนื้อไก่และข้าวมัน เช่น เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส จะเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ทานได้

อาหารที่มักพบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน ได้แก่ เนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากไข่ อาหารปรุงสุกที่เก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เหมาะสมและเก็บไว้เป็นเวลานานก่อนทาน

เชื้อก่อโรคชนิดนี้สามารถสร้างสารพิษ เอนเทอโรท็อกซิน ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ  เมื่อร่างกายได้รับเชื้อและสารพิษ จะทำให้มีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นตะคริวที่ท้อง และอ่อนเพลีย อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและความต้านทานของร่างกาย

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวมันไก่จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน  ปรากฏว่าทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เลย แต่อย่าชะล่าใจจนเกินไป ขอแนะว่าควรซื้อข้าวมันไก่จากร้านที่สะอาด และอุ่นให้ร้อนก่อนเสิร์ฟทุกครั้ง.



    อะไรอยู่ในแยมสตอเบอรี่ (1)
แยม เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ ที่ทำจากผลไม้ทั้งผลหรือหั่นเป็นชิ้นนำมาผสมกับน้ำตาล หรือสารให้ความหวาน หรืออาจผสมน้ำผลไม้เข้มข้น

แยมเป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลความเข้มข้นสูง เพื่อป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์

การเกิดเจลของแยมเกิดจากกรด น้ำตาล และเพกทิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วในผลไม้ เมื่อผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสมจะได้แยมที่มีลักษณะเป็นเจลกึ่งเหลว มีความข้นเหนียวพอเหมาะ นำมาปาดหรือทาบนขนมทานได้ง่ายๆ

หากเราทำทานกันเองก็ไม่มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยาก ทำแล้วเก็บใส่ตู้เย็นไว้ทานได้เป็นสัปดาห์  แต่หากผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ก็ไม่แน่ว่าผู้ผลิตบางรายอาจเติมสารกันบูดที่ชื่อ กรดซอร์บิก ลงไปเพื่อป้องกันการเติบโตของยีสต์ เชื้อรา และแบคทีเรียที่ทำให้เน่าเสีย

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้ใช้ กรดซอร์บิก เติมในอาหารได้ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สำหรับแยมกำหนดให้ใช้กรดซอร์บิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

ตามปกติหากได้รับสารกันบูดในปริมาณไม่สูง หรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร่างกายจะสามารถขับออกเองได้ตามธรรมชาติ  แต่หากได้รับบ่อยครั้ง เป็นเวลานานๆ ตับและไตก็จะรับภาระหนักในการกำจัดออกจากร่างกายนานเข้าก็จะมีสารกันบูดสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีต่างๆของไตและตับลดลง จนทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับไตและตับได้

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างแยมสตรอเบอร์รี่ 4 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของกรดซอร์บิก  ปรากฏว่าแยมทุกตัวอย่างพบกรดซอร์บิกในปริมาณที่แตกต่างกันไป แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐานของไทย.


อะไรอยู่ในแยมสตอเบอรี่ (2)
กลับมาอีกครั้งกับ อะไรอยู่ใน...แยมสตรอเบอร์รี่ เมื่อคราวที่แล้วได้รู้จักกับสารกันบูดที่ชื่อว่า กรดซอร์บิก กันไปแล้ว ครั้งนี้มาทำความรู้จักกับสารกันบูดอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดเบนโซอิก

กรดเบนโซอิก ในเชิงอุตสาหกรรมจะใช้กรดเบนโซอิก ในรูปของผงผลึก หรือเป็นเกล็ดสีขาว และมักใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แยม เยลลี่ ผัก ผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด มาการีน เพื่อป้องกันการเติบโตของยีสต์ เชื้อรา และแบคทีเรีย ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้นานยิ่งขึ้น และสามารถวางขายในชั้นวางจำหน่ายได้นานๆ

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกเติมในอาหารได้ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สำหรับแยม กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

โดยปกติร่างกายสามารถขับสารกันบูดออกจากร่างกายได้เอง แต่สารกันบูดที่ได้รับนั้นต้องอยู่ในปริมาณที่ไม่สูงมากนักหรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่หากได้รับบ่อยครั้งและเป็นเวลานานๆ ร่างกายอาจเกิดการสะสม ตับและไตก็จะรับภาระหนักในการกำจัด ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีต่างๆ ของไตและตับลดลงจนทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับไตและตับได้

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างแยมสตรอเบอร์รี่ 4 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของกรดเบนโซอิก ปรากฏว่าพบกรดเบนโซอิกในแยมสตรอเบอร์รี่ 2 ตัวอย่าง แต่ปริมาณที่พบยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เห็นอย่างนี้แล้วทางที่ดีอย่าทานให้บ่อยนัก เพราะในแยม 1 ขวด อาจไม่ได้มีแค่สารกันบูดเพียงอย่างเดียว



    เชื้อก่อโรคในตำซั่ว
ส้มตำใส่ขนมจีน หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า ตำซั่ว มีส่วนผสมหลักๆ เป็นน้ำปลาร้า มะกอกป่า ปูเค็มนิดหน่อยผสมให้มีรสชาติกลมกล่อม

ที่สำคัญคือ พริก เผ็ดมากเผ็ดน้อยแล้วแต่ความชอบและความทนทานของแต่ละคน ตำซั่วเป็นอาหารรสแซ่บและอร่อยลิ้นจนทำให้ลืมนึกถึงอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนในอาหาร เช่น เชื้อก่อโรค สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งบางสายพันธุ์ผลิตสารพิษที่เรียกว่า เอนเทอโรทอกซิน  เป็นสาเหตุทำให้อาหารเป็นพิษ เชื้อชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในอากาศ ฝุ่นละออง ขยะ น้ำ และพบได้ในทางเดินหายใจของคน เส้นผม ผิวหนัง หากพ่อค้าแม่ค้าตำซั่วมีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่ดี หรือวัตถุดิบและส่วนผสมที่ใช้ไม่ล้างให้สะอาด โอกาสที่จะพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนก็เป็นไปได้สูง เมื่อตำเสร็จแล้วก็ต้องดูกันอีกว่าทานในทันทีหรือไม่ เพราะถ้าตำซั่วมีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เมื่อวางทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ จะทำให้เชื้อเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้น และผลิตสารพิษปนเปื้อนในตำซั่วได้

ลักษณะอาการทั่วไปที่บ่งบอกว่าติดเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส จากการทานอาหาร คือ ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ท้องร่วง เป็นตะคริวในช่องท้อง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพความต้านทานของร่างกาย และปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างตำซั่วจำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านตามริมบาทวิถีในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ผลปรากฏว่า พบการปนเปื้อนในตำซั่ว 2 ตัวอย่าง และปริมาณที่พบนั้นเกินเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กำหนดให้อาหารพร้อมบริโภค เช่น สลัด ส้มตำ พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนได้ ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม

ฉะนั้น ก่อนจะซื้อหามาทาน ควรสังเกตสุขลักษณะและความสะอาดของร้านและคนขายสักนิด เพื่อความปลอดภัย สบายท้อง.



    ตะกั่วกับลูกกวาดสีรุ้ง
วาเลนไทน์ที่ผ่านมาหลายๆ คนคงไม่พลาดที่จะได้ของขวัญจากคนรู้ใจ ที่ฮอตฮิตเห็นจะเป็นช็อกโกแลต ลูกอม ลูกกวาด ตุ๊กตาและดอกกุหลาบที่สื่อถึงวันแห่งความรัก

ช่วงวันวาเลนไทน์ “มันมากับอาหาร” ได้เสนอผลวิเคราะห์สีผสมอาหารสังเคราะห์ในลูกกวาดสีรุ้งไปแล้ว วันนี้จึงขอนำเสนอตะกั่วที่อาจพบปนเปื้อนในลูกกวาดสีรุ้งอีกครั้ง

ลูกกวาด เป็นขนมหวานที่มีส่วนประกอบสำคัญคือ น้ำตาล สารแต่งกลิ่น รส และสีผสมอาหาร

หลายคนสงสัยว่า ตะกั่วและโลหะหนักต่างๆ ปนเปื้อนอยู่ในลูกกวาดสีรุ้งได้อย่างไร ก็มาจากสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ผู้ผลิตเติมแต่งให้ลูกกวาดมีสีสันที่น่ารับประทานนั่นเอง

ปกติสีผสมอาหารสังเคราะห์จะมีส่วนผสมของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว อยู่ด้วย แต่มีในปริมาณน้อยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากเราทานลูกกวาดสีรุ้งหรือลูกกวาดต่างๆ ที่ผู้ผลิตเติมสีผสมอาหารลงไปในปริมาณมากๆ หรือเกินค่ามาตรฐานบ่อยๆ ก็อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดตะกั่วออกได้หมดตามธรรมชาติ  ตะกั่วจะค่อยๆ สะสมในร่างกายจนถึงระยะเวลาหนึ่ง อาจนานเป็นปีๆ จึงแสดงอาการ เช่น ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง บางส่วนจะไปสะสมในกระดูกทำให้ปวดตามข้อ กระดูกผุ หักง่าย

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน กำหนดให้พบตะกั่วปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างลูกกวาดสีรุ้งจำนวน 4 ตัวอย่าง ทั้งแบบมียี่ห้อและไม่มียี่ห้อ จากย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของตะกั่ว ผลปรากฏว่ามี 1 ตัวอย่างที่พบตะกั่วปนเปื้อน แต่ไม่เกินมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ทางที่ดีควรเลี่ยงการทานลูกกวาดและขนมหวานที่มีสีสันสดใส หรืออย่าทานบ่อยนัก เพื่อความปลอดภัย



    บาซิลลัส ซีเรียส ในไส้กรอกอีสาน
ไส้กรอกอีสาน  เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการถนอมอาหารจากเนื้อสัตว์

สมัยก่อนเวลามีงานบุญชาวบ้านจะล้มหมู ล้มวัวที่เลี้ยงไว้มาทำอาหารเลี้ยงแขก เนื้อที่ใช้ประกอบอาหารก็ใช้ไป ส่วนที่เหลือก็นำมาแช่ตู้เย็น หรือไม่ก็เอามาทำเป็นไส้กรอกอีสาน เนื้อแดดเดียว เพื่อไม่ให้เนื้อสัตว์ที่เหลือเน่าเสีย

ไส้กรอกอีสาน มีวิธีการเตรียมวัตถุดิบและการทำไม่ยุ่งยาก แต่จะต้องเลือกไส้อ่อนหรือไส้กลางที่มีความเหนียว เพราะจะต้องนำมายัดไส้เนื้อสัตว์ที่ผสมเครื่องเทศที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ไส้กรอกมีรสชาติกลมกล่อม ลงตัว

กระเทียม ต้องใช้กระเทียมไทยกลีบเล็ก จะทำให้ไส้กรอกมีกลิ่นหอม เกลือต้องใส่ให้พอดี ถ้าใส่น้อยไปอาจทำให้ไส้กรอกเสีย แต่ถ้ามากเกินไปไส้กรอกก็จะไม่เปรี้ยว

อีกส่วนผสมสำคัญของไส้กรอกคือ ข้าว ควรใช้ข้าวสวยเพราะจะทำให้เกิดรสเปรี้ยวเร็วกว่าข้าวเหนียว เนื้อที่ใช้จะต้องเป็นเนื้อที่มีความสด ไม่เขียวคล้ำ เพราะอาจทำให้รสชาติของไส้กรอกเปลี่ยนไป

สิ่งที่ต้องระวัง นอกจากรสชาติของไส้กรอกที่จะเปลี่ยนไปแล้ว ยังต้องระวังอันตรายที่อาจแฝงอยู่ในไส้กรอกที่ผ่านวิธีการทำที่ไม่สะอาดเพียงพอ เพราะเราอาจได้เชื้อก่อโรคที่ชื่อ บาซิลลัส ซีเรียส มาเป็นของแถมด้วยก็เป็นได้

บาซิลลัส ซีเรียส เป็นเชื้อที่สร้างสปอร์และขับสารพิษออกมาขณะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร อันตรายจากสารพิษนั้นมี 2 ลักษณะอาการคือ ทำให้อาเจียน และทำให้ท้องเสีย

ปกติแล้วในอาหารไม่ควรตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

สำหรับไส้กรอกอีสาน ซึ่งเป็นอาหารปรุงสุก ตามเกณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้อาหารปรุงสุกทั่วไป พบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม

วันนี้ลองมาดูผลการวิเคราะห์ การปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ในไส้กรอกอีสาน 5 ตัวอย่างที่สุ่มเก็บจาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ ผลวิเคราะห์พบว่ามีอยู่ 1 ตัวอย่างที่พบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน แต่ปริมาณที่พบยังไม่เกินเกณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฉะนั้น คุณมีสิทธิเลือกได้ ก่อนที่จะซื้อมาทานทุกครั้งต้องให้แม่ค้าทำให้สุกทุกครั้ง หรืออุ่นให้ร้อนก่อน เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย.



    โซเดียม ในโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
โจ๊ก อาหารเช้ายอดนิยมสำหรับหลายคน การทำโจ๊กไม่ยุ่งยาก หาก ทำทานเองที่บ้าน ก็นำปลายข้าวหอมมาต้มกับน้ำซุปกระดูกที่เคี่ยวจนได้ที่จะได้รสชาติของโจ๊กที่หวานน้ำต้มกระดูก เติมรสชาติให้กลมกล่อมขึ้นด้วยเกลือ และใส่เนื้อสัตว์ลงไป แค่นี้ก็ได้โจ๊กที่อร่อยได้ทั้งครอบครัวแล้ว

เนื่องจากการต้มโจ๊กต้องใช้เวลานาน แต่วิถีชีวิตของคนปัจจุบันต้องเร่งรีบในช่วงเช้า ทำให้ต้องหันมาพึ่งโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น เพราะหาซื้อง่าย และทานได้สะดวก

โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป มีส่วนประกอบหลักคือ ข้าวสารบด เนื้อสัตว์อบแห้ง ผักอบแห้ง เช่น ฟักทอง แครอท สาหร่าย เพื่อเสริมคุณค่าทางอาหารตามธรรมชาติ และมีการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ เพื่อทำให้โจ๊กมีรสชาติที่เข้มข้น และอร่อยถูกปาก

เจ้าเครื่องปรุงแต่งรสชาติเหล่านี้ มักมีส่วนประกอบของเกลือ หรือโซเดียม ในปริมาณสูง

ปริมาณโซเดียมที่กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDI) สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ต้องไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา เท่านั้น เพราะหากเกินกว่านี้จะทำให้ไตทำงานหนัก เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย  เมื่อไตเสื่อมย่อมส่งผลให้ระบบขับถ่ายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดอาการบวมน้ำ ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างกายต้องขับโซเดียมอยู่ตลอด และยังทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และเกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วย

สถาบันอาหารสุ่มตัวอย่างโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปบรรจุถ้วยและซองจำนวน 4 ตัวอย่าง 4 ยี่ห้อเพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของโซเดียม ปรากฏว่าในโจ๊ก 1 หน่วยบริโภค (1 ถ้วยหรือ 1 ซอง) พบว่ามีปริมาณโซเดียมอยู่ในช่วง 444.65–751.83 มิลลิกรัม ฉะนั้นใน 1 วัน เราไม่ควรทานมากกว่า 1 ถ้วยหรือ 1 ซอง เพราะแต่ละวันเราจะได้รับโซเดียมจากอาหารชนิดอื่นๆ ที่เราทานเข้าไปด้วยแล้ว หากทานมากกว่านั้น อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้ต้องเผชิญกับโรคภัย และไตเสื่อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงต้องตัดสินใจเองว่า จะเลือกทานอาหารอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค.



    ราในหอมแดง
หอมแดง เป็นพืชที่มีหลักฐานปรากฏว่า เริ่มพบและแพร่หลายในตะวันออกกลางแถบประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถาน

ด้วยรสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่วยปรุงแต่งให้อาหารมีรส และสีสันดีขึ้น หอมแดงจึงแพร่หลาย และกระจายสู่ทวีปเอเชียจนถึงปัจจุบันรวมถึงประเทศไทย

อาหารไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงเผ็ด แกงเลียง ต้มยำ หลน ยำ ลาบ น้ำพริกต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องแกงแบบไทยๆ จะต้องมีหอมแดงเป็นตัวชูโรง เพราะหอมแดงช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสชาติของอาหารให้จัดจ้านขึ้น เมื่อผสมกับเครื่องเทศและสมุนไพรชนิดอื่น

หอมแดงเป็นพืชที่ต้องเก็บไว้ในที่แห้ง แขวนผึ่งลมไว้เพื่อป้องกันเชื้อรา แต่หากเก็บไว้นานเกินไป หรือเก็บในที่อับชื้นอาจมีเชื้อราปนเปื้อนได้ ซึ่งเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารปริมาณมากๆ อาจสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สารพิษบางชนิดก็มีพิษร้ายแรงจนถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกายได้  ฉะนั้นเราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่พบว่ามีเชื้อราปนเปื้อน เช่น มีจุดสีดำ มีเส้นใยฟูๆ สีขาว สีเขียว หรือเหลือง ไม่ต้องเสียดาย ไม่อย่างนั้นระยะทางของชีวิตอาจสั้นลงจากความเสียดาย

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างหอมแดงสดที่วางขายในตลาดสดและร้านขายของชำใน จ.นครราชสีมา จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อรา ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบเชื้อราปนเปื้อนในปริมาณสูง นั่นก็แสดงให้เห็นว่าโอกาสที่เชื้อราจะผลิตสารพิษ และเข้าสู่ร่างกายของเราก็สูงด้วยเช่นกัน ทางที่ดี เลือกซื้อหอมแดงที่สด ไม่มีจุดดำหรือคราบดำๆ ให้เห็น ที่สำคัญต้องสังเกตสภาพแวดล้อม และสุขลักษณะของร้านค้าที่ขายด้วยว่าสกปรกหรืออับชื้นหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ควรซื้อ เพื่อความปลอดภัย



    เชื้อก่อโรคในเฉาก๊วย
ของหวานที่ช่วยคลายร้อน แถมมีราคาถูก ทานกันได้ทุกเพศทุกวัย คงหนีไม่พ้นเฉาก๊วยมีทั้งตั้งเป็นร้านขายเป็นล่ำเป็นสัน ตลอดจนรถเร่ขายตามบ้าน

เฉาก๊วย” ขนมหวานสีดำ ที่มีลักษณะหยุ่นๆ เหมือนวุ้น ที่ต้องทานพร้อมกับน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง

“เฉาก๊วย” ทำจากพืชชนิดหนึ่งคือ “ต้นเฉาก๊วย” มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด คนจีนรู้จักเฉาก๊วยมานาน และเริ่มแพร่หลายเข้ามาเมืองไทย

วิธีทำ “เฉาก๊วย” ไม่ยุ่งยาก นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำใส่หม้อและเติมน้ำลงไปต้มด้วยไฟปานกลาง นานประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง

ขั้นตอนนี้ อาจเติมแป้งมันสำปะหลังเพื่อให้เฉาก๊วยจับตัวเป็นก้อนง่ายขึ้น แล้วเทใส่ภาชนะตามต้องการ

กระบวนการของการทำเฉาก๊วย โดยเฉพาะขั้นตอนหลังจากผ่านการต้มตลอดไปจนขั้นตอนการบรรจุอาจมีความสุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคได้ หากผู้ผลิต พ่อค้า แม่ค้า ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล สุขลักษณะสถานที่และสภาพแวดล้อมในระหว่างการผลิต และใช้ภาชนะไม่สะอาด อาจทำให้เชื้อก่อโรคอย่าง สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนในเฉาก๊วยได้  เชื้อชนิดนี้มักพบอยู่ในอากาศ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอยและน้ำ นับเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่อาหาร สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่าง คือการเก็บเฉาก๊วยไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เฉาก๊วยที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อและสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายได้

ตามข้อกำหนดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้อาหารพร้อมบริโภค ขนมหวาน ผัก ผลไม้ พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม ผลการสุ่มตัวอย่างเฉาก๊วยตามรถเข็น จำนวน 5 ตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปรากฏว่า เฉาก๊วยทุกตัวอย่างไม่พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนเลย สบายใจกันได้.



    เชื้อก่อโรคในเบอร์เกอร์
แฮมเบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมทั่วโลกโดยเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากเยอรมนี

ตามรากศัพท์คำว่า ฮัมบูร์ก ภายหลังจึงแพร่หลายมายังสหรัฐฯ โดยผู้อพยพชาวเยอรมัน

จนปัจจุบันเราจะเห็นแฮมเบอร์เกอร์วางขายตามห้างร้านต่างๆ ไม่เว้น แม้แต่สถานที่ท่องเที่ยว

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคที่ไม่มีเวลาทานอาหารจานหลักคือ ทาน 1 ชิ้นก็อิ่มท้องได้ 1 มื้อ บางร้านอาจอัดแน่นด้วยเนื้อสัตว์ ก็จะอิ่มได้ตั้งแต่เที่ยงถึงเย็น

เบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายแซนด์วิช มีเนื้อสัตว์เป็นแผ่นสอดไส้อยู่ตรงกลาง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลาทอด ประกบบนล่างด้วยขนมปังแผ่นกลมสอดไส้ด้วยผักชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหอม หอมใหญ่ และราดด้วยมัสตาร์ด มายองเนส หรือซอสชนิดต่างๆ

แม้ว่าเบอร์เกอร์จะเป็นอาหารอิ่มสะดวก ทว่าเวลาทาน เราต้องเลือกซื้อจากร้านผลิตที่สะอาด ผู้ปรุงควรมีสุขอนามัยที่ดี ใส่ถุงมือขณะหยิบจับอาหาร ที่สำคัญต้องเลือกร้านที่ทอดเนื้อสัตว์สุกๆ ด้วย

ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากเชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ซึ่งเป็นเชื้อที่โตได้ทุกอุณหภูมิ แม้ที่อุณหภูมิต่ำถึง 2.5 องศาเซลเซียส แถมยังทนความร้อนได้ดี ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ปนเปื้อนลงสู่อาหารได้จากผู้ปรุงหรือผู้ผลิตที่ไม่รักษาสุขลักษณะที่ดี

ในการปรุงอาหาร เชื้อนี้มักจะปนอยู่กับน้ำเสีย อุจจาระคนและสัตว์ เมื่อผู้ปรุงเข้าห้องน้ำ หรือทำกิจธุระแล้วไม่ล้างมือให้สะอาด ไม่สวมถุงมือเวลาหยิบจับอาหาร ก็อาจทำให้เชื้อโรคชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในอาหารได้

เมื่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าร่างกาย จะทำให้เกิดโรค Listeriosis โลหิตเป็นพิษ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้ ปวดหัว ท้องเสีย อาเจียน และอาการติดเชื้อในกระแสเลือด มักพบในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

วันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างเบอร์เกอร์จำนวน 4 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ผลปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง นี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องยืนยันว่าวันนี้ เบอร์เกอร์บ้านเรายังปลอดภัยอยู่



    ยาฆ่าแมลงในองุ่น
องุ่น เป็นผลไม้ในดวงใจของหลายคนที่ชื่นชอบรสชาติหวานอมเปรี้ยว องุ่นมีวิตามินหลายชนิดและมีเกลือแร่มากมาย เมื่อทานองุ่นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำตาลในองุ่น ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที จึงช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย กระตุ้นให้ตับทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เปลือกและเมล็ดองุ่น สามารถนำมาสกัดน้ำมันแล้วนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ซึ่งน้ำมันนี้ช่วยให้ผนัง หลอด เลือดแข็งแรง  ลดความเสี่ยงต่อการจับตัวของก้อนเลือด  และลดคลอเลสเทอรอลชนิดแอลดีแอล (ไขมันไม่ดี)

น้ำมันจากเมล็ดองุ่น จึงช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบเลือดและหัวใจได้ดี ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ร่างกายจะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ หากองุ่นที่ว่าไม่มีการตกค้างของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช ที่เกษตรกรอาจใช้เพื่อป้องกัน ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ในระหว่างการเพาะปลูก เก็บรักษา และขนส่งองุ่น

สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่มักพบ ได้แก่ สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมตและกลุ่มไพรีทรอยด์  ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้หากได้รับในปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนด หรือได้รับปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ จะมีอันตรายและผลเสียต่อสุขภาพต่างกันไป  อาการที่พบคล้ายๆ กัน คือ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างองุ่นสด 5 ตัวอย่าง จาก 5 จังหวัด ทั้งที่ปลูกในประเทศและองุ่นนำเข้า เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช 4 กลุ่ม รวม 58 ชนิด ผลปรากฏว่า มีองุ่น 4 ตัวอย่าง ที่พบสารพิริมิฟอส–เมทิล, คลอร์พิริฟอส–เอทิล, เมโทมิลและไซเพอร์เมทรินตกค้าง และบางตัวอย่างพบตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 337) ปี พ.ศ. 2554 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง กำหนดให้พบสารเมโทมิลตกค้างในองุ่นได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ทางที่ดีก่อนทาน ควรแช่น้ำหรือล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าหลายๆ ครั้ง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากสารเหล่านี้ และทานองุ่นกันได้อย่างปลอดภัย.



    ระวังครีมเอแคลร์
เอแคลร์ ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ไส้ครีมชนิดหนึ่งที่ได้ชื่อมาจากฝรั่งเศส

เอแคลร์จะอร่อยหรือไม่ อยู่ที่ไส้ครีมด้านในที่เป็นตัวชูรสและความนุ่มของขนมปังด้านนอก ยิ่งทานตอนทำเสร็จใหม่ๆ เนื้อขนมปังจะทั้งนุ่มและไส้ครีมด้านในจะทั้งหอมหวาน กลมกล่อม

แต่ในอีกด้าน เอแคลร์ที่ทานจะอันตรายหรือไม่ก็อยู่ที่ไส้ครีมนี้เช่นกัน เพราะหากไม่ทานให้หมดในคราวเดียวกัน และเก็บไว้โดยไม่แช่ในตู้เย็น เอแคลร์ที่ว่าอร่อยๆ นี้ก็อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคบาซิลลัส ซีเรียส ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้

อาหารที่มักพบว่ามี เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน ได้แก่ อาหารที่ทำจากข้าวและแป้ง เช่น มักกะโรนี ข้าวผัด อาหารที่มีแป้งและครีม เช่น เอแคลร์ อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ ซอสและซุปต่างๆ

บาซิลลัส ซีเรียส เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษ อาการที่เกิดจากการได้รับสารพิษมี 2 ลักษณะ คือ ทำให้อาเจียนและทำให้ท้องเสีย  วิธีป้องกันอันตรายจาก บาซิลลัส ซีเรียส ง่ายที่สุด คือ ทานอาหารให้หมดในคราวเดียวกัน หากทานไม่หมด ก็ไม่ควรเก็บไว้นอกตู้เย็นเป็นเวลานานๆ เพราะในระหว่างการปรุงเราไม่รู้ว่าผู้ปรุง ผู้ขาย รักษาสุขลักษณะหรือความสะอาดดีพอหรือไม่ หากไม่สะอาด ก็อาจทำให้เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน และยิ่งเก็บไว้นานก่อนนำไปทาน เชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ก็อาจเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสร้างสารพิษและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารฯ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้อาหารปรุงสุกทั่วไป พบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม  วันนี้ สถาบันอาหารทำการสุ่มตัวอย่างเอแคลร์ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้า เพื่อวิเคราะห์หาเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน  ผลปรากฏว่า พบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อนใน 2 ตัวอย่าง และมี 1 ตัวอย่าง ที่พบเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

หากชอบทานเอแคลร์ ก่อนซื้อต้องสังเกตวันหมดอายุ สุขลักษณะของร้านค้าและผู้ขาย ที่สำคัญควรทานให้หมดในครั้งเดียว เพื่อความปลอดภัยและสบายท้อง...




    สารพิษจากเชื้อราในเส้นสปาเกตตี
อาหารนานาชาติ กำลังได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ทั้งอาหารจากแถบเอเชีย อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี อาหารจีน

ส่วนอาหารจากทางยุโรปจะมีเพียงไม่กี่ชาติ ที่เห็นและนิยมสุดๆ คือ อาหารอิตาเลียน โดยเฉพาะเส้นสปาเกตตี, พาสต้า ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำมาใช้ปรุงอาหารอิตาเลียน ได้หลากหลายเมนู เช่น สปาเกตตีผัดซอสชนิดต่างๆ ซุปสปาเกตตี

สปาเกตตี เป็นผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวสาลีที่นำมานวดผสมกับน้ำให้เป็นโดแล้วรีดให้เป็นแผ่น และขึ้นรูปให้มีรูปร่างเป็นเส้นยาว

สปาเกตตีแห้งมีขายทั่วไปในท้องตลาดบ้านเรา ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามชอบ มีทั้งแบบบรรจุห่อสำเร็จรูปยี่ห้อต่างๆ และแบบแบ่งขาย คือ การผลิตจำนวนมากแล้วนำมาแบ่งขายตามจำนวน หรือราคาที่ผู้บริโภคต้องการ
วัตถุดิบอย่างข้าวสาลีที่นำมาผลิตเส้นสปาเกตตี หากไม่มีการเก็บรักษาที่ดีและถูกสุขลักษณะ อาจทำให้มีเชื้อราปนเปื้อนและเจริญเติบโตจนกระทั่งสร้างสารพิษขึ้นมาได้  สารพิษที่ว่า คือ DON (Deoxynivalenol) เป็นสารพิษที่สร้างจากเชื้อรา ความเป็นพิษของ DON มีทั้งแบบเฉียบพลัน คือ เมื่อได้รับเข้าร่างกายในปริมาณมากจะทำให้มีอาการอาเจียน เวียนศีรษะ ปวดท้อง ซึ่งจะทุเลาลงภายใน 24 ชั่วโมง และแบบเรื้อรังที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

ตามมาตรฐานของ Codex กำหนดให้พบสารพิษจากเชื้อรา DON ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวบาร์เลย์ ได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างเส้นสปาเกตตีจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 3 ยี่ห้อ ที่วางจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ สงขลา และนครราชสีมา เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของ DON ผลปรากฏว่า มีอยู่ 4 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อน และพบในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานของ Codex ทั้งสิ้น ทางที่ดี ควรระมัดระวังการทานอาหารที่มีเส้นสปาเกตตีเป็นส่วนประกอบให้มาก โดยเฉพาะเด็กเล็กไม่ควรทานบ่อยและทานในปริมาณมากๆ เพื่อความปลอดภัย


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 สิงหาคม 2557 19:11:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2557 19:09:33 »

.
    ดินประสิวในไส้กรอกเสียบไม้
วันนี้ขอนำเสนอไส้กรอกสีแดงเสียบไม้ตามรถเข็น ที่หันไปมองทางไหนหรือไปที่ใดจะต้องเจอวางขาย

ไส้กรอก เป็นอาหารที่แปรรูปมาจากเนื้อสัตว์ วิธีการทำนั้นไม่ยาก เริ่มจากนำเนื้อหมู เนื้อวัวหรือเนื้อไก่ มาบดผสมกับเกลือ และเครื่องปรุงรสแล้วบรรจุในไส้เพื่อทำให้เกิดรูปร่างและทำให้สุก

ไส้กรอกจึงสามารถทานได้เลย ถ้าไม่แน่ใจนำมาผ่านความร้อนก่อนทานอีกรอบ ทั้งปิ้ง ย่าง ทอดหรือนำเข้าไมโครเวฟเพียง 1 นาที ก็ทานได้อย่างปลอดภัย

ทว่า ไส้กรอกที่เห็นมีสีแดงๆ น่าทานนั้น อาจมีสิ่งแอบแฝงที่เป็นอันตรายอยู่ด้วย

สิ่งที่ว่า คือ ดินประสิวหรือโพแทสเซียมไนเตรต ในวงการอาหารนำดินประสิวมาใช้เป็นวัตถุกันเสียทำให้เนื้อสัตว์เกิดสีแดงอมชมพู สีของเนื้อสัตว์จึงดูสด น่าทานอยู่เสมอ นิยมนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 (พ.ศ.2549) กำหนดให้ใช้ไนเตรต เกลือไนเตรต ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร และไนไตรต์ เกลือไนไตรต์ ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร   แม้ทางกฎหมายจะอนุญาตให้ใช้ แต่ถ้าใส่ในปริมาณมากจนเกินไปจะทำให้เกิดโทษได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไวต่อสารชนิดนี้ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด ปวดศีรษะ และไนไตรต์สามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีนในเนื้อสัตว์บางชนิดกลายเป็นสารก่อมะเร็ง

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างไส้กรอกสีแดงเสียบไม้ตามรถเข็น 4 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของไนไตรต์และไนเตรต ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบการปนเปื้อนของไนไตรต์และไนเตรต แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด แต่อย่าชะล่าใจกันมากนัก ใน 1 วัน หากทานในปริมาณมาก มากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป และทานบ่อยครั้ง ก็ไม่แน่ว่าจะปลอดภัย



    พาทูลินในน้ำแอปเปิ้ล
แอปเปิ้ล ผลไม้ที่ใครๆ ก็รู้จัก มีทั้งชนิดที่มีเปลือกสีแดง สีชมพู สีเหลือง และสีเขียว แม้เปลือกด้านนอกจะมีสีที่แตกต่างกันแต่มากด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเบต้าแคโรทีน วิตามินซี ไฟเบอร์ นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเทอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ

แอปเปิ้ล นอกจากจะนำมารับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว ยังนำแอปเปิ้ลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆได้อีกมากมาย เช่น แยม เยลลี่ น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ผลไม้กระป๋อง บรั่นดี

มันมากับอาหารจึงขอนำเสนอ น้ำแอปเปิ้ล เป็นน้ำผลไม้ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

น้ำแอปเปิ้ล มีกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก แต่มีความสำคัญทุกขั้นตอน ทั้งการเตรียมวัตถุดิบ การกรอง การทำให้ใส การให้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ โดยเฉพาะขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ

ควรเลือกผลแอปเปิ้ลที่ไม่มีการเน่าเสียหรือช้ำ ถ้ามีควรตัดทิ้งหรือแยกออก ไม่เช่นนั้นอาจมีสิ่งอื่นปนเปื้อนมากับผลแอปเปิ้ลได้ คือ พาทูลิน

พาทูลิน เป็นสารพิษจากเชื้อราที่สร้างจากเชื้อรา Penicillium expansum, Penicillium patulum ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเน่าในผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น แตงเมล่อน พรุน และ ท้อ เมื่อร่างกายได้รับสารพาทูลินเข้าไปจะมีผลต่อระบบประสาท และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างน้ำแอปเปิ้ล 5 ตัวอย่าง (5 ยี่ห้อ) เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของพาทูลิน ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของพาทูลินเลย แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีคุณภาพและมาตรฐาน.



    แคดเมียมในหมึกตากแห้ง (1)
ในบรรดาอาหารทะเลนอกจากปลาและปูแล้ว ยังมีหมึกอีกชนิดที่คนไทยนิยมทาน โดยนำมา ปิ้ง ย่าง และปรุงเป็นเมนูต่างๆ หากเหลือก็จะนำมาตากแห้งเพื่อให้เก็บไว้ทานได้นานๆ

วิธีทำหมึกแห้งไม่ยุ่งยาก แค่นำหมึกสดมาผ่าเอาดีหมึก (ขี้หมึก) ที่มีสีดำออกและผ่าตาหมึกทิ้ง จะได้หมึกตัวแบนๆ หลังจากนั้นตากไว้ประมาณ 2 วัน จนแห้งสนิท ก็สามารถนำมาทานเป็นกับข้าวหรือกับแกล้มได้ตามอัธยาศัย อร่อยอย่าบอกใคร

เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ทะเล จึงมีโอกาสพบโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ปนเปื้อนได้ เพราะการใช้แคดเมียมในอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้แคดเมียมปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศ ดิน แหล่งน้ำ และปนเปื้อนมาสู่อาหารที่เพาะปลูกหรือจับจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน

แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การทานอาหารที่มีแคดเมียมปนเปื้อน เช่น อาหารทะเล และทางจมูกโดยการหายใจเอาควันหรือฝุ่นของแคดเมียมเข้าไป เช่น ผู้ทำงานในเหมืองแร่  เมื่อเราได้รับแคดเมียมเข้าร่างกายบ่อยๆ แม้จะเป็นปริมาณน้อย จะทำให้แคดเมียมสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น เป็นโรคพิษแคดเมียม ทำให้เกิดอาการปวดแขน ขา สะโพก บริเวณฟันที่ติดกับเหงือกจะมีวงแหวนสีเหลือง ต่อมาจะมีการกระตุกตามข้อในร่างกาย เริ่มมีอาการปวดร้าว และในระยะที่มีอาการรุนแรงจะเจ็บปวดมากทั่วร่างกายจนเดินไม่ไหว น้ำหนักของร่างกายจะกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไตอิไต

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างหมึกตากแห้ง จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของแคดเมียม ผลการวิเคราะห์ ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบแคดเมียมปนเปื้อน แม้ว่าไทยยังไม่กำหนดค่ามาตรฐานของแคดเมียมในหมึกแห้ง แต่เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานของสหภาพยุโรปที่กำหนดให้พบแคดเมียมในหมึกแห้งได้ไม่เกิน 1 และสหรัฐฯที่ให้พบได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมนั้น พบว่าหมึกแห้งทั้ง 4 ตัวอย่าง มีแคดเมียมปนเปื้อนในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐานของสหรัฐฯ  ฉะนั้น ทางที่ดีผู้บริโภคควรทานกันในปริมาณที่พอดี และไม่บ่อยมากนักเพื่อความปลอดภัย


แคดเมียมในหมึกตากแห้ง(2)
สัปดาห์ที่แล้วคอลัมน์ “มันมากับอาหาร” ได้นำเสนอข้อมูลไปแล้วว่า ผลวิเคราะห์แคดเมียมในหมึกตากแห้ง 4 ตัวอย่าง ที่เก็บจากตลาดสดใน จ.ชลบุรี และในกรุงเทพฯ พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 1.30–1.96 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

วันนี้ “มันมากับอาหาร” ขอนำเสนอเรื่องราวของแคดเมียมในหมึกอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างหมึกสด จำนวน 15 ตัวอย่าง และหมึกตากแห้งจำนวน 5 ตัวอย่าง ในเขตอ่าวเพ อ.แกลง จ.ระยอง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแคดเมียมปนเปื้อน ผลปรากฏว่า พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในหมึกสดและหมึกแห้งทั้ง 20 ตัวอย่าง โดยปริมาณที่พบในหมึกสด อยู่ระหว่าง 0.22-0.69 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งถือว่าปลอดภัย เพราะไม่เกินมาตรฐานของไทยที่กำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนปริมาณที่พบในหมึกตากแห้ง อยู่ระหว่าง 1.12–1.36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ พบว่าหมึกตากแห้งทั้ง 5 ตัวอย่าง มีแคดเมียมปนเปื้อนในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป แต่ไม่เกินมาตรฐานของสหรัฐฯ

ปกติอาหารทะเลโดยเฉพาะหมึกและหอยนั้น มักพบว่ามีแคดเมียมปนเปื้อน ซึ่งอาจมีสาเหตุจากแคดเมียมในอุตสาหกรรมปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำทะเล แม้กระทั่งปลาน้ำจืด ก็พบแคดเมียมปนเปื้อนได้ หากน้ำหรือดินตะกอนที่พื้นบ่อ หนอง คลอง บึงที่ปลาอาศัยนั้นมีแคดเมียมปนเปื้อน

เมื่อแคดเมียมสะสมในร่างกายมากๆ จะก่อให้เกิดพิษ ทำให้เกิดโรคอิไตอิไต เป็นอันตรายต่อตับและไต ดูเหมือนว่า หมึกที่เราทานกันอยู่ทุกวันนี้จะมีแคดเมียมปนเปื้อนอย่างเลี่ยงไม่ได้

ฉะนั้น ทางที่ดีไม่ควรทานอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง ควรทานอาหารให้หลากหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษในร่างกาย เพราะหากร่างกายได้รับในปริมาณไม่มากจะสามารถขับสารพิษออกสู่ภายนอกได้ทัน ไม่เกิดการสะสมและเป็นพิษต่อร่างกาย สุขภาพดีเราเลือกได้



    สารหนูกับอาหารสำหรับเด็กทารก
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก เริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนครบ 9 เดือน และคลอด การให้นมลูกครั้งแรก คุณแม่จะได้เห็นพัฒนาการของลูกตั้งแต่แรกคลอด ได้สบตากันเวลาที่ลูกดื่มนมจากอกแม่เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน

หลังจากนั้นจึงเริ่มมองหาอาหารเสริม เช่น ตับบด ผัก และผลไม้บดให้แก่ลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำเร็จรูปก็นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่สะดวก เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่ประหยัดเวลาในการทำอาหารแล้ว ลูกน้อยก็ยังได้รับสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วนอีกด้วย

การให้อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารก จะช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับการทานอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว คุ้นเคยกับรสชาติและลักษณะอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาไปสู่การทานอาหารแบบผู้ใหญ่

อาหารตามวัยสำหรับทารก ควรมีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเด็ก ซึ่งได้จากการกินอาหารที่หลากหลาย ได้แก่ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว น้ำมัน ผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน

อาหารการกินของเด็กทารกเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้ผลิตจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษและจุลินทรีย์ทุกชนิด หรือหากพบก็ไม่ควรเกินค่ามาตรฐานตามที่ี่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เช่น สารหนูในอาหารเสริมสำหรับทารก

เนื่องจากอาหารเสริมดังกล่าว มีส่วนผสมที่หลากหลายและมีแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่แตกต่างกัน สารหนูอาจจะปนเปื้อนมาตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งคนเป็นแม่ควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อให้มากขึ้น  ควรให้ทานได้ในปริมาณที่กำหนด

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างอาหารสำหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 5 ตัวอย่าง (5 ยี่ห้อ)

ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารหนู เป็นไปได้ว่าสารหนูที่ปนเปื้อนมานั้น อาจปนเปื้อนมาตามธรรมชาติในอากาศ, ในดิน,ในน้ำ และวัตถุดิบอาหารที่นำมาผลิตอาหารทารก

ฉะนั้น ปริมาณที่ปนเปื้อนจึงไม่สูงมากและยังไม่เกินมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่กำหนดให้ในอาหารทั่วไปพบสารหนูได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม



    สีผสมอาหารในน้ำทับทิม
ปัจจุบันเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและเครื่องดื่มจากธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่สามารถช่วยป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคต่างๆ ได้

พ่อค้าแม่ค้าบ้านเราสามารถตอบโจทย์ถึงความต้องการของผู้บริโภคได้ ด้วยการสรรหาเครื่องดื่มธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผัก น้ำผลไม้ น้ำธัญพืชนานาชนิดมาวางขาย ที่เห็นอยู่ทั่วไปคงหนีไม่พ้นน้ำผลไม้คั้นสด เช่น น้ำแครอท น้ำส้ม น้ำผลไม้รวม น้ำทับทิม

ทับทิม มีถิ่นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศอิหร่าน และทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย จึงเป็นผลไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น

ทับทิม เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณขึ้นชื่อด้านการมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีประสิทธิภาพสูง ในน้ำคั้นจากเมล็ดทับทิม จะประกอบไปด้วย น้ำตาล กรดที่เป็นประโยชน์ วิตามินเอ ซี อี ธาตุเหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียม แร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการ

หากดื่มน้ำคั้นจากเมล็ดสดๆ ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารจากผลทับทิมตามที่กล่าวไปเต็มๆ แถมยังช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายด้วย

แต่ปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้า พยายามนำสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ให้สีแดง เช่น สีคาร์โมอีซีน เติมลงไปในน้ำทับทิมคั้นสด เพื่อให้มีสีสันสดใสดึงดูดใจผู้บริโภค

วันนี้สถาบันอาหาร จึงทำการสุ่มตัวอย่างน้ำทับทิมคั้นสดบรรจุขวดพลาสติกที่ขายตามรถเข็นและตลาดสด จำนวน 5 ตัวอย่างจาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของสีคาร์โมอีซีน

ผลการวิเคราะห์พบว่า มีน้ำทับทิม 2 ตัวอย่าง ที่พบว่ามี สีคาร์โมอีซีน ปนเปื้อน และปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ที่กำหนดให้ใช้สีคาร์โมอีซีนในเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

อย่างที่กล่าวแล้วว่า เครื่องดื่มธรรมชาติควรต้องทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่ควรมีสารสังเคราะห์ปะปนอยู่ แม้ว่าจะมีอยู่ในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม

วันนี้ขอเตือนว่า ก่อนซื้อต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติ เช่น สี กลิ่น และรสที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น น้ำทับทิมที่มีสีแดงจัด หรือน้ำส้มที่มีสีส้มจัด ควรหลีกเลี่ยง  หากเป็นไปได้ทานผลสดจะดีกว่า ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเลือกหรือไม่เลือกเพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง



    โลหะหนักในเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่ (1)
เห็ดหอม เป็นอาหารที่มีประโยชน์อยู่มาก ช่วยทำให้เลือดลมดี บำรุงระบบประสาท และระบบย่อยอาหาร

ส่วน เยื่อไผ่ ก็เป็นอาหารที่มีประโยชน์ไม่แพ้กัน คือ มีโปรตีน 15-18%, มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 16 ชนิด, มีวิตามินบี 2 ค่อนข้างสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระ

ทว่า สมัยนี้หากไม่รู้จักเลือกซื้อและเลือกทานอาหาร นอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับจากอาหารแล้ว ร่างกายอาจได้รับของแถมอื่นๆ อาทิ โลหะหนักเข้าไปด้วย เช่น สารหนู และปรอท

ปกติจะนิยมใช้สารหนูในอุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรค ผลิตสี วัตถุระเบิด ผลิตแก้ว และเซรามิก อีกทั้งมีการใช้ในวัตถุทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าหนู

สารหนู เป็นสารอันตราย หากร่างกายได้รับในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานานๆอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งตับ ไต ปอด กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก

ส่วนปรอท เป็นโลหะหนักอีกชนิดที่มักพบในน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและพบปนเปื้อนในพืชอาหาร โดยปนเปื้อนมาจากดินและน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช

หากร่างกายได้รับปรอทเป็นประจำ แม้จะได้รับในปริมาณไม่มาก จะทำให้ปรอทสะสมอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสมอง อวัยวะต่างๆ และอาจทำให้เป็นโรคสมองฝ่อได้

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) และฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนกำหนดให้ในอาหารทั่วไปมีสารหนูปนเปื้อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนปรอท กำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่จำนวน 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ใน จ.สงขลา และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของโลหะหนัก 2 ชนิด คือ สารหนูและปรอท  ผลวิเคราะห์ปรากฏว่ามีเห็ดหอม 4 ตัวอย่าง ที่พบสารหนูปนเปื้อน แต่ปริมาณที่พบไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ส่วนปรอทไม่พบการปนเปื้อนเลยในทุกตัวอย่าง  ฉะนั้น เห็ดหอมวันนี้ทานกันได้แต่อย่ามาก เพื่อความปลอดภัย.


โลหะหนักในเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่ (2)
วันนี้ ขอนำเสนอเรื่องราวของ เห็ดหอมกับเยื่อไผ่ กันอีกครั้ง

ครั้งนี้เป็นเรื่องของโลหะหนักอีก 2 ชนิด คือ ตะกั่วและทองแดง ที่อาจพบปนเปื้อนได้ในเห็ดหอมและเยื่อไผ่

ตะกั่ว มักพบปนเปื้อนในอาหารจำพวกสัตว์น้ำและพืช ผัก ผลไม้แปรรูป ซึ่งปนเปื้อนมาจากแหล่งน้ำที่เลี้ยงหรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่จับสัตว์น้ำ และจากดิน หรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชผัก หากร่างกายได้รับตะกั่วที่ปนเปื้อนในอาหารทีละน้อยๆ เป็นเวลานานๆ ตะกั่วจะค่อยๆ สะสมในร่างกายจนถึงระยะเวลาหนึ่ง อาจนานเป็นปี จึงแสดงอาการ โดยตะกั่วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตไปจับกับเม็ดเลือดแดงแทนที่เหล็กทำให้เกิดอาการโลหิตจาง

ตะกั่วบางส่วนจะไปสะสมในกระดูก โดยจะเข้าไปแทนที่แคลเซียมทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุหักง่าย ถ้าไปสะสมที่รากฟัน ทำให้เห็นสีม่วงหรือสีดำบริเวณเหงือก อาการพิษเรื้อรังที่พบบ่อย คือ อาการของระบบย่อยอาหาร จะเกิดการปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อาการพิษทางประสาทและสมอง ทำให้ซึมไม่รู้สึกตัว ชัก มือและเท้าตก อาจเป็นอัมพาต  ส่วนทองแดง หากได้รับเข้าร่างกายในปริมาณน้อย ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทองแดงจะสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก ทำให้ร่างกายสั่นเทาอยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีน้ำมูกน้ำลายไหล ควบคุมการพูดลำบาก

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน กำหนดให้ในอาหารทั่วไปมีตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม  ส่วนทองแดง กำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

วันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่ 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ใน จ.สงขลา และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของตะกั่วและทองแดง  ผลวิเคราะห์ปรากฏว่า มีเห็ดหอม 3 ตัวอย่าง ที่พบตะกั่วปนเปื้อน แต่ปริมาณที่พบไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ส่วนทองแดงพบปนเปื้อนในเห็ดหอมและเยื่อไผ่ในทุกตัวอย่าง และพบปนเปื้อนในเยื่อไผ่เกินมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ 1 ตัวอย่าง

เมื่อทราบกันอย่างนี้แล้ว ขอแนะว่าไม่ควรทานกันให้บ่อยมากนัก.



    สารกันบูดใน "ซอสพริก" (1)
ซอสพริก” หนึ่งในเครื่องปรุงรสอาหาร ที่หลายคนชื่นชอบรับประทานคู่กับไก่ทอด หรือสเต๊ก แบบคนตะวันตก เฝอแบบคนเวียดนาม หรือกับก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่แบบคนไทย เป็นเครื่องปรุงสำหรับเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยถูกปาก

ซอสพริกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพริก แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ซอสพริกล้วนมีส่วนผสมเฉพาะพริกกับส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำตาล น้ำส้ม และซอสพริกผสมมะเขือเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมะเขือเทศผสมอยู่ด้วย

การผลิตซอสพริกตามแบบชาวบ้านไม่นิยมเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากวัตถุดิบขั้นต้น เช่น พริก กระเทียม น้ำส้มสายชู เกลือ และน้ำตาลทราย นำมาปั่นแล้วหมักทิ้งไว้ จะได้ซอสพริกเก็บไว้กินตามครัวเรือน  ถ้าเป็นในระดับอุตสาหกรรม จะต้องมีการผลิตคราวละมากๆ จึงมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มเติมสารถนอมอาหาร หรือสารกันบูด (กรดเบนโซอิก) เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสภาพของซอสพริก ในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างการจัดจำหน่าย

สารกันบูด เป็นสารที่สามารถเติมในอาหารได้ในปริมาณที่จำกัด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซอสพริก (มอก.242-2529) กำหนดให้พบการปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าพบเกินกว่านั้นร่างกายจะได้รับอันตราย โดยมีรายงานการศึกษาถึงผลของสารชนิดนี้ต่อการเพิ่มอาการสมาธิสั้นในเด็กด้วย และหากได้รับเกิน 6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้

เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยอาหารต่อการเป็นครัวของโลก  สถาบันอาหาร จึงทำการสุ่มเก็บตัวอย่างซอสพริก จำนวน 5 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารกันบูดในซอสพริก ปรากฏว่าพบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก) ในทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน รู้อย่างนี้อย่าเพิ่งนอนใจ ควรระมัดระวังอาหารชนิดอื่นที่อาจมีการปนเปื้อนของสารชนิดนี้อยู่ด้วย เพราะใน 1 วัน คุณไม่ได้กินแค่ “ซอสพริก”....!!!


สารกันบูดใน "ซอสพริก" (2)
ซอสพริก เครื่องปรุงรสที่ใช้สำหรับจิ้มหรือปรุงอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ด้วยเพราะรสชาติเผ็ดนำ เปรี้ยวตาม และหวานตบท้าย จึงเป็นที่ถูกปากของใครหลายๆคน คนไทยมักทานซอสพริกคู่กับก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับหรือหมูสับ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ หอยทอด ไข่เจียว และอาหารทอด หรือใช้เป็นน้ำจิ้มไก่ทอด มันฝรั่งทอดและอาหารทะเล เพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่น ทำให้อาหารอร่อยและมีคุณค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันในท้องตลาดบ้านเรามีซอสพริกสำเร็จรูปวางขายหลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อหา

ซอสพริกที่ขายในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ซอสพริกล้วนและซอสพริกผสมมะเขือเทศ ซึ่งมีรสชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าใครมีรสนิยมชอบรสชาติแบบไหน ด้วยความที่ซอสพริกเป็นเครื่องปรุงรสที่ได้รับความนิยม จึงมีผู้ผลิตบางรายใช้วิธีเติมสารกันบูดลงในซอสพริกเพื่อให้สามารถเก็บรักษาและวางจำหน่ายบนชั้นจำหน่ายได้เป็นระยะเวลานานๆ สารกันบูดที่ว่านี้มีกันทั้งกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก

สำหรับกรดเบนโซอิกนั้นคอลัมน์ “มันมากับอาหาร” ได้นำเสนอไปแล้ว ครั้งนี้จึงขอเสนอเรื่องของกรดซอร์บิก สารที่ใช้เพื่อกันเสีย ป้องกันการเติบโตของยีสต์ รา แบคทีเรีย โดยนิยมใช้ในอาหารที่ปรับให้มีรสเปรี้ยว ผักผลไม้ดอง น้ำผลไม้ แยม เยลลี่ และน้ำสลัด แม้ว่ากรดซอร์บิกจะเป็นสารที่อนุญาตให้เติมในอาหารได้ และค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากร่างกายได้รับจากอาหารบ่อยๆเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อตับและไตได้

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างซอสพริกบรรจุขวดที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพฯจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของกรดซอร์บิก ผลปรากฏว่าทุกตัวอย่างไม่พบกรดซอร์บิกตกค้างเลย แต่อย่าชะล่าใจกันนัก ขอแนะว่าเพื่อความปลอดภัย ควรทานอาหารคู่กับซอสพริกในปริมาณที่พอเหมาะพอควรและไม่บ่อยมากนัก เพราะไม่แน่ว่าในซอสพริกอาจมีสารกันบูดชนิดอื่นๆอยู่ด้วย ที่สำคัญอาหารทุกวันนี้ก็ใช่ว่าจะมีสารกันบูดในซอสพริกเพียงอย่างเดียว.


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 สิงหาคม 2557 19:13:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 กันยายน 2557 13:29:15 »

.

  ความหวานของช็อกโกแลต
ช็อกโกแลต เป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกอกถูกใจใครหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบของหวานต้องติดใจกันทุกราย

ช็อกโกแลต ผลิตจากเมล็ดโกโก้ มีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่ามายา เป็นชนเผ่าหนึ่งในอเมริกากลาง เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน

ชนเผ่ามายาเป็นชนกลุ่มแรกที่เอาเมล็ดโกโก้มาคั่ว กะเทาะเปลือก นำมาบด และละลายน้ำ ทำเป็นเครื่องดื่มข้นๆ ที่เรียกว่า “คาคาฮอดทัล” มีรสค่อนข้างขม แต่เมื่อเติมน้ำตาลแล้วมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงมีการเรียกชื่อใหม่ว่า “ช็อกโกลาตส์” ต่อมาชื่อของช็อกโกลาตส์ก็ได้เพี้ยนไปเป็น “ช็อกโกแลต” ที่ใช้กันในปัจจุบัน

ช็อกโกแลต มีการผลิตออกมามากมายทั้ง ช็อกโกแลตดำ ช็อกโกแลตนม ช็อกโกแลตชนิดแท่ง ชนิดเกล็ด ช็อกโกแลตขาว ซึ่งทำมาจากไขมันของโกโก้ ช็อกโกแลตยังเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก

ของหวานชนิดนี้ไม่ได้อร่อยแต่เพียงอย่างเดียวยังมีประโยชน์แอบแฝงอยู่ด้วย ในช็อกโกแลตมีสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิต เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง ป้องกันเลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย

นอกจากนี้ ในช็อกโกแลตยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนทริปโตแฟน ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่ง “เซโรโทนิน” สารแห่งความสุขออกมาละลายความตึงเครียด ทำให้มีความรู้สึกสดชื่น

แต่อย่าเพิ่งด่วนดีใจจนเกินไป เพราะช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะถูกหรือแพง ล้วนมีไขมันและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น หากบริโภคอย่างไม่มีขีดจำกัด จากมีประโยชน์อาจแปรเปลี่ยนไปเป็นโทษได้ เพราะไขมันและน้ำตาลที่ช่วยเพิ่มความอร่อยนั้น อาจกลายเป็นส่วนเกินเมื่อเข้าสู่ร่างกาย หากทานมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้.



  หมึกปิ้งกับอหิวาตกโรค
นอกจากลูกชิ้นปิ้งและไส้กรอกย่างแล้ว หมึกปิ้งนับเป็นอาหารยอดฮิตอีกชนิดของคนไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป

ทว่าหากนำมาทานไม่ล้างให้สะอาดก่อนและไม่ผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อน หมึกปิ้งย่างที่รสชาติอร่อยล้ำแค่ไหน ก็อาจทำให้เราป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลได้เพราะอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค เป็นโรคที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า วิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio cholera) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามเขตน้ำกร่อย บริเวณปากแม่น้ำที่ติดทะเล จึงไม่แปลกที่จะพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู และหมึก

วิบริโอ คลอเรลลา เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษ Cholera toxin ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค

โดยธรรมชาติเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้ดีและสร้างสารพิษเฉพาะในลำไส้ของคน เมื่อร่างกายได้รับเชื้อจากการทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนเชื้ออาจเพิ่มจำนวน/ปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น ทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำทันที โดยไม่ปวดท้อง

ลักษณะเฉพาะของอุจจาระผู้ป่วยคือ มักจะมีสีขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งอาเจียน ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแล้วหากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างหมึกปิ้งย่าง ที่จำหน่ายตามรถเข็นย่านต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา ปนเปื้อน

ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า หมึกย่างทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา เลย

เพื่อความสบายใจ ก่อนซื้อหรือก่อนนำมาทานต้องมั่นใจว่า หมึกปิ้งหรือย่างนั้นผ่านการให้ความร้อนจนสุกสนิท และควรทานหลังจากให้ความร้อนแล้วเท่านั้น เพื่อความอร่อยลิ้นที่ปลอดภัย.



  โลหะหนักในเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่
เห็ดหอม เป็นอาหารที่มีประโยชน์อยู่มาก ช่วยทำให้เลือดลมดี บำรุงระบบประสาท และระบบย่อยอาหาร

ส่วน เยื่อไผ่ ก็เป็นอาหารที่มีประโยชน์ไม่แพ้กัน คือ มีโปรตีน 15-18%, มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 16 ชนิด, มีวิตามินบี 2 ค่อนข้างสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระ

ทว่า สมัยนี้หากไม่รู้จักเลือกซื้อและเลือกทานอาหาร นอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับจากอาหารแล้ว ร่างกายอาจได้รับของแถมอื่นๆ อาทิ โลหะหนักเข้าไปด้วย เช่น สารหนู และปรอท

ปกติจะนิยมใช้สารหนูในอุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรค ผลิตสี วัตถุระเบิด ผลิตแก้ว และเซรามิก อีกทั้งมีการใช้ในวัตถุทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าหนู

สารหนู เป็นสารอันตราย หากร่างกายได้รับในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานานๆอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งตับ ไต ปอด กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก

ส่วนปรอท เป็นโลหะหนักอีกชนิดที่มักพบในน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและพบปนเปื้อนในพืชอาหาร โดยปนเปื้อนมาจากดินและน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช

หากร่างกายได้รับปรอทเป็นประจำ แม้จะได้รับในปริมาณไม่มาก จะทำให้ปรอทสะสมอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสมอง อวัยวะต่างๆ และอาจทำให้เป็นโรคสมองฝ่อได้  ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) และฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนกำหนดให้ในอาหารทั่วไปมีสารหนูปนเปื้อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม  ส่วนปรอท กำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้งและเยื่อไผ่จำนวน 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ใน จ.สงขลา และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของโลหะหนัก 2 ชนิด คือ สารหนูและปรอท ผลวิเคราะห์ปรากฏว่ามีเห็ดหอม 4 ตัวอย่าง ที่พบสารหนูปนเปื้อน แต่ปริมาณที่พบไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ส่วนปรอทไม่พบการปนเปื้อนเลยในทุกตัวอย่าง ฉะนั้น เห็ดหอมวันนี้ทานกันได้แต่อย่ามาก เพื่อความปลอดภัย.



  ไขมันในเนื้อและหมูแดดเดียว
เนื้อสัตว์ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

ทว่าเนื้อสัตว์นั้นมีอายุการเก็บรักษาสั้น คนไทยสมัยก่อนจึงคิดหาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อสัตว์ให้นานขึ้น โดยนำเนื้อสัตว์ไปตากแดดให้แห้ง ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารอย่างหนึ่งที่ใช้จนถึงปัจจุบัน

เนื้อวัว เนื้อหมู เป็นเนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาตากแดด หรือที่เรียกกันว่า “แดดเดียว

โดยนำเนื้อสัตว์มาปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรส เครื่องเทศหรือสมุนไพร เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำผึ้ง เกลือ ซีอิ๊วขาว กระเทียม รากผักชี พริกไทย ผงพะโล้ หมักให้เข้ากันแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

ก่อนทานจะนำมาผ่านกระบวนการทำให้สุกอีกครั้งโดยการทอด

เนื้อสัตว์แดดเดียวเป็นอาหารที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน หาทานได้ง่าย โดยเฉพาะร้านอาหารอีสานและร้านขายส้มตำ ทานคู่กับข้าวสวยหรือข้าวเหนียวร้อนๆ แซ่บอย่าบอกใคร ยิ่งเวลาทานเนื้อสัตว์ติดมันด้วยแล้วยิ่งทำให้รู้สึกอร่อย และให้ความรู้สึกนุ่มเนียนลิ้นอีกด้วย

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อสัตว์แดดเดียวที่มีขายตามห้างและตามร้านส้มตำ ไก่ย่าง ในพื้นที่ จ. อุดรธานี จำนวน 5 ตัวอย่าง มีทั้งเนื้อแดดเดียวและหมูแดดเดียวที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง คือขายกันเป็นมัด ในหนึ่งมัดจะมีเนื้อแดดเดียว 4–5 ชิ้นที่มัดรวมกันด้วยตอกไม้ไผ่ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของไขมันที่มีอยู่ในเนื้อและหมูแดดเดียว ผลวิเคราะห์พบว่า ในตัวอย่างเนื้อสัตว์แดดเดียวหนัก 100 กรัม มีปริมาณไขมันอยู่ในช่วง 7-10.55 กรัม ซึ่งนับว่ามีปริมาณไขมันนั้นไม่มากนัก หากทานครั้งละน้อยๆ หรือพออิ่มร่างกายก็จะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แต่หากทานมากเกินไป เช่น ทานครั้งละเป็นกิโลๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน เสี่ยงต่อการมีระดับคอเลสเทอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย  หากเป็นไปได้ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน แยกเอาไขมันออก เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและห่างไกลโรค.



  ตะกั่วในผลไม้อบแห้งนำเข้า
ปัจจุบันมักมีเหตุการณ์รุนแรงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอยู่บ่อยครั้ง หนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่กรณี

ที่สำคัญสภาวะแวดล้อมเหล่านั้นล้วนแต่เป็นที่อาศัยของพืชและสัตว์มีชีวิตหลายชนิด ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหาร เช่น สารตะกั่ว

สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่เป็นพิษที่มีอยู่คู่กับคนมาตลอด ทุกวันนี้ร่างกายเราได้รับจากทั้งควันเสียจากรถยนต์ตามท้องถนนที่มีจราจรคับคั่ง จากน้ำและอาหาร แต่จะได้รับในปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการอยู่และวิธีการกินของแต่ละคน

คนไทยเราโชคดีเพราะมีผลไม้กินเกือบทุกฤดูกาลแตกต่างกันไป จะมีที่เหลือรับประทานก็นำมาหมัก ดอง และอบแห้งเพื่อเก็บไว้กิน หรือในรายที่มีผลผลิตออกมามากก็อาจทำเป็นระดับอุตสาหกรรมได้

ผลไม้อบแห้งส่วนใหญ่ที่เห็นในบ้านเราตามตะเข็บชายแดน เป็นของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ว่ากรรมวิธีการผลิตที่ใช้ หรือวัตถุดิบผลไม้ที่นำมาผลิตมีแหล่งเพาะปลูกจากที่ใด

หากเป็นผลไม้ที่ปลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือเป็นแหล่งที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว อยู่ก่อนแล้ว ก็มีโอกาสที่ผลไม้อบแห้งเหล่านั้นจะมีตะกั่วปนเปื้อนอยู่ด้วย

เมื่อร่างกายได้รับสารตะกั่วเข้าไปและสะสมอยู่เป็นเวลานาน จะมีผลต่อเซลล์ไขกระดูก ระบบประสาท ระบบไต อาจเป็นตะคริวบ่อย กระหายน้ำ ปวดท้องรุนแรง ในบางรายอาจมีอาการท้องร่วงเป็นพักๆ หรืออาจหนักจนถึงขั้นเป็นอัมพาต สมองบวม และชักได้

วันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างผลไม้อบแห้งที่วางจำหน่ายตามด่านชายแดนไทย-ลาว เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการตกค้างของสารตะกั่ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขของไทย ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 กำหนดให้พบตะกั่วปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม  วันนี้ น่าดีใจแทนผู้บริโภคชาวไทยที่ผลการวิเคราะห์ผลไม้อบแห้ง ทั้ง 5 ตัวอย่าง ที่นำเข้าจากเวียดนามและลาว ตรวจไม่พบการตกค้างของสารตะกั่วเลย.



  สารพิษจากเชื้อรา ในกาแฟคั่วบด
กาแฟ เครื่องดื่มยอดนิยมสำหรับคนทุกเพศ โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน เนื่องจากเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะเกิดความกระชุ่มกระชวย และสดชื่น จะด้วยสารอะไร สาเหตุอะไรก็ตาม

วันนี้เราสามารถซื้อหากาแฟดื่มได้ทุกสถานที่ทั้งกาแฟสด กาแฟโบราณ กาแฟสำเร็จรูปพร้อมชงแบบ 3 in 1 และกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป

นอกจากในกาแฟจะมีสารที่ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นแล้ว ยังอาจมีสารพิษที่อันตรายแอบแฝงอยู่ด้วยคือ สารพิษที่มีชื่อว่า โอคราท็อกซิน เอ (Ochratoxin A)

สารพิษที่ผลิตขึ้นโดยเชื้อรา สารพิษชนิดนี้ มักพบปนเปื้อนอยู่ในเมล็ดธัญพืช ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ และผลไม้อบแห้ง เช่น องุ่นอบแห้ง หรือที่เรียกว่า wine fruit

เมื่อร่างกายของเราได้รับสาร โอคราท็อกซิน เอ เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและได้รับเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อของไตและอาจทำให้เกิดเนื้องอกในต่อมไต  ที่สำคัญ สารโอคราท็อกซิน เอ เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ จึงควรหาวิธีการลดปริมาณที่พบในอาหารให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่เทคโนโลยีการผลิตอาหารจะสามารถทำได้  ตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปกำหนดปริมาณสูงสุดที่ให้มีสารโอคราท็อกซิน เอ ปนเปื้อนในเมล็ดกาแฟคั่ว และกาแฟคั่วบดได้ไม่เกิน 5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และปนเปื้อนในกาแฟสำเร็จรูปพร้อมชงได้ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/กิโลกรัม

เพื่อการันตีคุณภาพ และความปลอดภัยของกาแฟไทย สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบด 5 ตัวอย่างที่มีจำหน่ายในร้านกาแฟในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา โอคราท็อกซิน เอ ผลวิเคราะห์ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของ สารโอคราท็อกซิน เอ เลย.



  ลูกชิ้นปิ้งกับสารกันบูด (1)
ลูกชิ้นปิ้งอาหารทานเล่นฮอตฮิต ที่คนไทยหาซื้อได้ทุกหัวระแหง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะตรอก ซอก ซอยใด ก็หาลูกชิ้นปิ้งทานได้ตามรถเข็นแทบจะ 24 ชั่วโมง

ลูกชิ้นมีหลายชนิด ทั้งลูกชิ้นหมู เนื้อ ปลา กุ้ง หมึก และลูกชิ้นสาหร่าย และนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายแบบ เช่น นำมาปิ้ง ทอด ย่าง อบ ราดน้ำจิ้มแล้วทานกับผักสด หรือนึ่งแล้วนำมาทำเป็นยำลูกชิ้น หรือใช้เป็นเครื่องสำหรับทำก๋วยเตี๋ยวก็อร่อยไม่แพ้กัน

ทว่าวันนี้ ลูกชิ้นที่คนไทยชื่นชอบกันนั้นอาจมีสิ่งที่เราไม่ต้องการแฝงมาด้วย

สิ่งที่ว่าคือ “สารกันบูด” คงอาจเป็นเพราะลูกชิ้นเป็นอาหารยอดนิยมและเป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่อาจเน่าเสียได้ง่ายซึ่งต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเท่านั้น ทำให้ผู้ผลิตบางรายจึงใส่สารกันบูดลงในลูกชิ้นเพื่อให้สามารถยืดอายุของลูกชิ้นสดให้เก็บไว้ขายได้นานๆ

สารกันบูดที่ผู้ผลิตใส่ในลูกชิ้นมีทั้ง กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอตเป็นสารกันบูดชนิดที่ใช้กันมาก ราคาถูก หาง่าย และมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคและเชื้อที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้หลายชนิด ซึ่งทำให้เก็บลูกชิ้นไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย ไม่มีเมือก ไม่มีกลิ่นเหม็น

แม้ว่ากรดเบนโซอิกจะเป็นสารกันบูดที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้บริโภค หากได้รับวันละไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน จากการทานอาหาร ร่างกายของคนปกติทั่วไปจะยอมรับได้ คือ ตับและไตจะสามารถกำจัดสารชนิดนี้ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ ถ้าได้รับเกินกว่า 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันทุกวัน  ตับและไตจะต้องรับภาระหนักในการกำจัดสารออกจากร่างกายทุกวัน นานเข้าจะสะสมในร่างกาย พร้อมกับประสิทธิภาพของตับและไตจะลดลงด้วย ทำให้เจ็บป่วยและอาจเป็นโรคเกี่ยวกับไตได้ วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างลูกชิ้นหมูปิ้งจำนวน 5 ตัวอย่าง จากรถเข็นขายลูกชิ้นปิ้งในกรุงเทพฯ จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณตกค้างของกรดเบนโซอิก ผลปรากฏว่าทุกตัวอย่างพบการตกค้างของสารกันบูดชนิดนี้ และพบในปริมาณมาก

ฉะนั้นอยู่ที่ท่านแล้วว่าจะเลือกทานกันหรือไม่ ทางที่ดีอย่าทานกันบ่อยมากเพื่อความปลอดภัยของตับและไต.



  ลูกชิ้นปิ้งกับสารกันบูด (2)
วันนี้ มันมากับอาหาร ขอนำเสนอเรื่องราวของสารกันบูดกับลูกชิ้นกันอีกครั้ง

เพราะลูกชิ้นเป็นอาหารยอดนิยม ที่เป็นทั้งอาหารว่าง อาหารทานเล่น หรืออาหารหลักของใครบางคน อีกทั้งหาซื้อได้สะดวก ตามรถเข็นริมบาทวิถี ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าในศูนย์อาหารทั่วไป

ขอย้ำอีกครั้งว่า ลูกชิ้นเป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์แม้ว่าจะผ่านการให้ความร้อนจนสุกแล้ว แต่ก็เน่าเสียได้ง่าย ฉะนั้นจึงต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่เย็นเท่านั้น เพื่อคงคุณภาพของลูกชิ้นไว้ได้ดั่งเดิม

ตัวช่วยหนึ่งที่ผู้ผลิตลูกชิ้นนิยมคือ การใส่สารกันบูด เพื่อยืดอายุของลูกชิ้นสดให้เก็บไว้ขายได้นานขึ้น

ครั้งที่แล้ว มันมากับอาหารได้เสนอเรื่องของสารกันบูดยอดนิยมที่ชื่อ กรดเบนโซอิก ไปแล้ว

ทว่าปัจจุบัน ผู้ผลิตลูกชิ้นไม่ได้ใช้ กรดเบนโซอิก เพียงชนิดเดียว แต่มีการใช้สารกันบูดชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น กรดซอร์บิก ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคและเชื้อราที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เมื่อใส่ในลูกชิ้นจะทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน

ข้อดีของกรดซอร์บิกคือ เป็นสารที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี เมื่อใช้กับอาหารจะไม่ทำให้กลิ่นรสของอาหารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

แม้ว่า กรดซอร์บิก จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคค่อนข้างสูง ทว่าก็ไม่ควรได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากๆ และเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

วันนี้ สถาบันอาหารได้วิเคราะห์สารกันบูดชนิดกรดซอร์บิกตกค้างในลูกชิ้นปิ้งที่ขายตามรถเข็นริมบาทวิถีในกรุงเทพฯ อีกครั้ง  ผลปรากฏว่าจากลูกชิ้นปิ้ง 5 ตัวอย่าง มีเพียง 1 ตัวอย่าง ที่พบการตกค้างของกรดซอร์บิก แม้ว่าจะพบในปริมาณที่ไม่มากก็อย่าชะล่าใจ ควรเลือกทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไป ไม่บ่อยเกินไป เช่น ทานทุกมื้อ ทุกวัน เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย.



  สารปรอทในปลาดุกย่าง
ปรอท เป็นโลหะหนักชนิดที่เป็นพิษ และปัจจุบันพบปนเปื้อนได้ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในแหล่งน้ำ ทั้งหนอง คลอง บึง แม่น้ำ และในท้องทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเรา

หากปรอทปนเปื้อนอยู่ในอาหารแล้ว ปรอทจะมีความคงตัวสูง คือ ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุงหรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำให้สารปรอทหายไปจากอาหารได้

การปนเปื้อนของสารปรอทในอาหาร มักเกิดจากแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งของปลา หอย หมึก สัตว์น้ำและสัตว์ทะเลต่างๆ มีการปนเปื้อนของน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยังทำให้มีสารเคมีต่างๆ รวมทั้งปรอทเข้าสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งหากแหล่งน้ำมีการปนเปื้อนของปรอท สัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำนั้นก็ปนเปื้อนปรอทไปด้วย เช่น ปลาดุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาปรุงและประกอบอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นยำปลาดุกฟู ผัดเผ็ดปลาดุก ปลาดุกย่างที่ทานคู่กับน้ำปลาหวานสะเดา หรือทานกับน้ำปลาพริก หรือที่นิยมทานคู่กับข้าวเหนียวและส้มตำ ถ้าเราทานอาหาร เช่น ปลาดุกที่มีปรอทปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายบ่อยๆ ปรอทมันจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย

เมื่อสะสมจนถึงระดับหนึ่ง สารปรอทจะค่อยๆจับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาท ทำให้เป็นอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรงคล้ายคนพิการได้ วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลาดุกย่าง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของปรอท ผลปรากฏว่า เป็นความโชคดีของคนไทยที่วันนี้ไม่พบการปนเปื้อนของปรอทในปลาดุกย่างทุกตัวอย่าง

แต่ขอแนะเพิ่มเติมว่า ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ทานอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ เพื่อความปลอดภัย.



  สีผสมอาหารในมะม่วงดอง
คนไทยขึ้นชื่อเรื่องการถนอมอาหารไม่ว่าจะเป็นประเภทเนื้อสัตว์หรือผัก ผลไม้ ว่ากันว่าเป็นการเก็บไว้กินนอกฤดูกาล หรือในยามฉุกเฉิน

การถนอมอาหารนั้นมีทั้งการดองเกลือ ใช้ความเค็มเป็นตัวช่วยในการยืดอายุหรือการตากแห้ง แช่อิ่ม เป็นต้น

ทว่าคนในสมัยก่อนไม่ได้ใช้วิธีการถนอมอาหารที่มีความสลับซับซ้อน เพียงแต่ใช้เกลือหมักไว้ รอสักระยะก็นำมารับประทานได้ สีสันจึงดูแล้วไม่น่ารับประทาน แต่มั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากสารปรุงแต่งที่อาจเป็นอันตราย

แต่การถนอมอาหารในปัจจุบัน สีผสมอาหารและวัตถุเจือปนอาหารนั้นมีบทบาทช่วยในการถนอมอาหารมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ มะม่วงดอง ถ้าเป็นวิธีแบบบ้านๆ มะม่วงที่ดองแล้วจะมีสีคล้ำ ไม่น่ารับประทาน ผู้ผลิตบางรายจึงนำสีผสมอาหารมาใส่เพื่อดึงดูดความสนใจ และเพิ่มความน่ารับประทานมากขึ้น

สีผสมอาหารที่ใช้ในมะม่วงดอง เป็นสีที่อยู่ในกลุ่มตาร์ตราซีน เป็นสารที่ให้สีเหลืองมะนาว ส่วนใหญ่จะใช้ผสมในลูกกวาด หมากฝรั่ง แยม เยลลี่ โยเกิร์ต และมัสตาร์ด

เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากๆ และบ่อยครั้ง จะทำให้ร่างกายขับสารเหล่านั้นออกมาไม่ทันและเกิดการสะสมตามเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้การดูดซึมของอาหารบกพร่องได้

เมื่อทราบถึงอันตรายของสารชนิดนี้แล้ว สถาบันอาหารจึงได้ทำการสุ่มตัวอย่างมะม่วงดองเพื่อหาการปนเปื้อนของสีผสมอาหาร ตาร์ตราซีน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) กำหนดไว้ว่าห้ามใช้ สีตาร์ตราซีน ในผลไม้สด ผลไม้ดอง ผักดอง แต่ผลวิเคราะห์พบปนเปื้อนทุกตัวอย่าง

ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราที่ต้องเลือกรับประทาน ทางที่ดีควรเลือกรับประทานผลไม้และผักสด หรือผลไม้ดองที่มีสีสันไม่ฉูดฉาดจนเกินไป เพื่อความปลอดภัย.



  อะคริลาไมด์...ในเฟรนช์ฟราย
หนึ่งในบรรดาอาหารทานเล่นในดวงใจของเด็กๆ ไทย ขณะนี้คงหนีไม่พ้นประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ที่เห็นมากในขณะนี้คงเป็นพวกไก่ทอด เฟรนช์ฟราย มันฝรั่งทอดกรอบ

ปัจจุบันการปรุงอาหารจำพวกนี้ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะส่วนใหญ่จะมีขายแบบ กึ่งสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า แค่นำมาทอดให้สุก หรืออบให้ร้อนก็ทานได้

แต่หารู้ไม่ว่าอาจมีภัยเงียบแอบแฝงมากับเฟรนช์ฟรายทอดกรอบร้อนๆ ด้วยก็ได้

ภัยเงียบที่ว่า คือ สารอะคริลาไมด์ ซึ่งเป็นสารที่ก่อตัวขึ้นในอาหารจำพวกธัญพืช มันฝรั่ง อาหารที่มีแป้งสูงในระหว่างที่ถูกนำไปให้ความร้อนสูงๆ (สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส) หรือนำไปผ่านการ อบ ทอด ปิ้ง ย่าง เป็นเวลานานๆ เมื่อ สารอะคริลาไมด์ เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว ณ บริเวณที่มีการย่อยอาหาร หลังจากนั้นมันจะถูกขับออกอย่างรวดเร็วทางปัสสาวะ ฉะนั้นอะคริลาไมด์ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกขับออกได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

สำหรับอันตรายของ สารอะคริลาไมด์  นั้นหน่วยงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศได้จัดให้ สารอะคริลาไมด์ เป็นสารกลุ่มที่มีความเป็นไปได้สูงในการก่อให้เกิดมะเร็งในคน

ปัจจุบันมีวิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการได้รับ สารอะคริลาไมด์ เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหาร ซึ่งผู้ผลิตควรนำไปปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนี้

การผลิตมันฝรั่งทอดกรอบให้นำมันฝรั่งมาลวกน้ำก่อน จะช่วยลดปริมาณของ อะคริลาไมด์ ที่อาจเกิดในระหว่างทอดมันฝรั่งได้ 50%

ถ้าเป็นประเภทเฟรนช์ฟราย ให้นำมันฝรั่งมาลวกในสารละลายกรด (กรดซิตริกหรือแลกติก) ก่อนนำไปทอด จะช่วยลดปริมาณของ อะคริลาไมด์ ที่อาจเกิดในระหว่างทอดเฟรนช์ฟรายได้ถึง 80%

เพื่อเป็นการให้ความรู้และป้องกันภัยเงียบจาก สารอะคริลาไมด์  วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเฟรนช์ฟรายจากร้านอาหารจานด่วน และร้านค้าต่างๆ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณ สารอะคริลาไมด์ ปนเปื้อน  

ผลปรากฏว่าพบปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง ปัจจุบันไทยยังไม่กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสาร อะคริลาไมด์ ในอาหาร

ฉะนั้น ผู้บริโภคหรือผู้ปกครองควรแนะนำวิธีเลือกอาหารให้แก่เด็ก เพราะมีโอกาสได้รับสารนี้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยแนะให้ลดอาหารประเภทธัญพืช มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูงจนมีสีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาล

ควรทานให้หลากหลายทั้งผักและผลไม้ ทานอาหารไทยที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย.



  เชื้อก่อโรคในยำวุ้นเส้น
ยำวุ้นเส้นนับเป็นอาหารไทยในลำดับต้นๆ ที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ

ยำเป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ดผสมกันอย่างลงตัว ถ้ายิ่งได้วัตถุดิบเนื้อสัตว์ที่มีความสดใหม่และสะอาด มาปรุงด้วยแล้วจะยิ่งทำให้อาหารจานนี้ใครทานก็ต้องติดใจ

ยำวุ้นเส้นที่เราเห็นวันนี้ มีทั้งแบบยำสดใหม่ๆและยำตั้งทิ้งไว้เยอะๆ เมื่อขายจึงจะตักใส่ถุง

แบบแรกคือ ยำสดๆ เราสามารถเลือกได้ว่าจะใส่อะไรแล้วให้พ่อค้าลวกให้สุกๆได้ แบบนี้เรามักจะไม่ประสบกับภาวะเสี่ยงจากเชื้อก่อโรค เพราะเราสามารถเฝ้าระวังกระบวนการปรุงได้ทุกขั้นตอน

แต่ถ้าเป็นอย่างหลัง คือ ปรุงไว้นานแล้วและไม่รู้ว่ากระบวนการปรุงเป็นอย่างไร สะอาดหรือไม่ ก็ควรระวัง เพราะการเก็บอาหารที่ผ่านการปรุงสุกไว้นานๆ หรือทิ้งไว้จนเย็นหลายๆ ชั่วโมง อาจมีเชื้อก่อโรค เช่น ซาลโมเนลลา ปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั้นได้

ซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่มักพบปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจติดมากับวัตถุดิบเนื้อสัตว์ หรือผักและการสัมผัสของคนขาย กรณีที่คนขายไม่รักษาสุขลักษณะที่ดี ไม่ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ หรือมีการเตรียมอาหารในสถานที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่ใกล้ห้องน้ำ และใช้ภาชนะที่ไม่สะอาด โอกาสของการปนเปื้อนเชื้อ ซาลโมเนลลา ในอาหารก็มีสูง

เมื่อร่างกายได้รับ ซาลโมเนลลา จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย อาจร้ายแรงจนถึงขั้นต้องให้น้ำเกลือในโรงพยาบาล

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของเชื้อ ซาลโมเนลลา ที่ให้ปนเปื้อนในอาหารพร้อมบริโภค/อาหารปรุงสุก ว่าต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 กรัม

วันนี้ สถาบันอาหารสุ่มเก็บตัวอย่างยำวุ้นเส้นที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาหาการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา  ปรากฏว่าทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลาเลย วันนี้สุขลักษณะการประกอบอาหารของเราอยู่ในขั้นดี และคนซื้อรู้จักเลือกรับประทานมากขึ้น.



  สีผสมอาหารกับเส้นบะหมี่เหลือง
เส้นบะหมี่เหลืองหรือที่เรียกกันว่า บะหมี่ไข่ ต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนนิยมทานเป็นอาหารจานหลัก เพราะมีความเชื่อตามบรรพบุรุษว่า ทานอาหารประเภทเส้นจะช่วยให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรืองและมีอายุยืนยาว
 
บะหมี่มีส่วนผสมหลักๆ ประกอบด้วย แป้งสาลี น้ำ อาจมีไข่ เกลือ และส่วนผสมอื่นๆ แล้วแต่สูตรผู้ผลิตบางรายอาจเติมสีผสมอาหารสังเคราะห์เข้าไป เพื่อรักษาและควบคุมให้บะหมี่เหลืองมีสีสม่ำเสมอ
 
แม้ว่าตามกฎหมายจะอนุญาตให้ใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในอาหารบางชนิดได้  แต่หากร่างกายได้รับสีผสมอาหารสังเคราะห์จากการทานอาหารชนิดเดิมๆซ้ำๆ หรือทานอาหารที่ใช้สีสังเคราะห์บ่อยๆในปริมาณมากๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน และอ่อนเพลีย
 
นอกจากนั้น โลหะหนักชนิดต่างๆที่เป็นส่วนผสมอยู่ในสีสังเคราะห์ เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ก็อาจเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อตับและไตได้
 
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดห้ามใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ชนิด ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว มี่ซั่ว สปาเกตตี และมักกะโรนี
 
วันนี้สถาบันอาหารจึงสุ่มเก็บตัวอย่างเส้นบะหมี่เหลือง 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ให้สีเหลืองชนิดซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ ในเส้นบะหมี่เหลือง ผลปรากฏว่าทุกตัวอย่างไม่พบการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ชนิดนี้เลย ผู้ที่ชอบทานเส้นบะหมี่เหลืองคงสบายใจกันได้ เพราะวันนี้ผู้ประกอบ–การอาหารของไทยปฏิบัติตามกฎระเบียบ และใส่ใจความปลอดภัยผู้บริโภคขนาดนี้.



ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
n-p 4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กันยายน 2557 13:31:07 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2557 14:02:49 »

.

  พิษจากน้ำมันทอดซ้ำ
อาหารไทยกลายเป็นอาหารที่นิยมไปทั่วโลก เนื่องจากมีรสชาติที่กลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก จนกระทั่งสมัยหนึ่งมีการค้าขายกับชาวจีน และได้นำวิธีการประกอบอาหารด้วยน้ำมันเข้ามาแพร่หลายในไทย

ทำให้น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารกลายเป็นสิ่งที่ต้องมีติดครัวเรือนจนถึงทุกวันนี้ มีน้ำมันจากไขสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ และน้ำมันพืช แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

ชนิดที่ไม่เป็นไขในที่เย็น หรือน้ำมันที่ทำจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย ซึ่งไขมันชนิดนี้จะย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆของร่างกาย เหมาะกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต

ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ น้ำมันที่เป็นไขในที่เย็น เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอีน ซึ่งน้ำมันชนิดนี้เป็นที่นิยมสำหรับพ่อค้า แม่ค้า เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ทนความร้อน ความชื้น ไม่เหม็นหืนง่าย เหมาะที่จะใช้ทอดอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงนานๆ เช่น ทอดปลา ทอดเนื้อ ทอดไก่ และปาท่องโก๋

จึงไม่แปลกที่ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นน้ำมันในกระทะทอดอาหารเหล่านี้มีสีดำ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีประกอบด้วย ชนิดของน้ำมัน ประเภทอาหาร ภาชนะทอดอาหาร ระดับความร้อน ระยะเวลาที่ทอดอาหาร จะมีสารพิษเกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมสภาพ ได้แก่ สารโพลาร์ (Polar compounds) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง สรุปว่าสารพิษเหล่านี้เกิดขึ้นในน้ำมันขณะทอดอาหาร

สำหรับผู้ที่ชอบทานอาหารทอดให้หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีสีดำคล้ำ ลักษณะข้นหนืด หรือมีกลิ่นหืน ควรใช้น้ำมันให้พอเหมาะสำหรับอาหารแต่ละชนิด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียดายนำกลับมาใช้ใหม่

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำมันพืช (น้ำมันที่ยังไม่ได้ใช้) ที่แบ่งขายตามท้องตลาด บรรจุถุงพลาสติกขนาดถุงละ 1,000 กรัม จำนวน 4 ยี่ห้อ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารโพลาร์

ผลการวิเคราะห์พบว่าทุกตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารโพลาร์ แต่ปริมาณที่ตรวจพบนั้นยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ก็ควรระวังหลีกเลี่ยง!



  มันมากับ...ปลาแซลมอนรมควัน
อาหารญี่ปุ่น เป็นเมนูอาหารติดปากเหล่านักชิมคนไทยมาหลายปี นอกจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล และอาหารทะเล ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งที่ให้โปรตีนที่ดีกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายคือ โอเมก้า 3 มีประโยชน์ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

คราวนี้ลองมาดูกันบ้างว่าถ้านำเนื้อสัตว์ที่มีคุณค่ามากมายอย่างนี้มาผ่านกระบวนการที่ทำให้เก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น ก็อาจมีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ในเนื้อปลาได้

ปลาแซลมอน เป็นปลาอีกชนิดที่ได้รับความนิยม เพราะเนื้อปลามีรสชาติหวานและไม่คาว ทว่าปลาแซลมอนที่ขายตามห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันนั้นเป็นแซลมอนที่ผ่านการรมควัน เพื่อไม่ให้เนื้อปลาเน่าเสียง่าย และเพื่อให้สีมีความคงตัวไม่ซีด ป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ รวมถึงช่วยคงรูปของเนื้อปลาให้อยู่ได้นานขึ้น

การรมควันนี้เอง ที่ทำให้เนื้อปลาส่วนใหญ่มีการตกค้างของสารฟอสเฟต ปกติฟอสเฟตเป็นสารอาหารที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ และเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยมาก แต่หากเราทานปลารมควันที่มีสารฟอสเฟตตกค้างในปริมาณมากๆ และบ่อยครั้ง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ในบางรายอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้อาหารชนิดนั้นไปเลย

วันนี้ ผู้ที่ชอบทานปลาแซลมอนต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะปลาแซลมอนที่สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารฟอสเฟตจำนวน 5 ตัวอย่างนั้น ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบสารฟอสเฟตตกค้างในปริมาณสูงและเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดให้พบการตกค้างของสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ชิ้นปลาเยือกแข็งได้ไม่เกิน 5,000 มิลลิกรัม ต่อผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัม

สถาบันอาหารทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริโภคว่าจะเลือกทานอาหารกันอย่างไร แต่ขอแนะว่าหากซื้อปลาแซลมอนมาปรุงทานเองที่บ้าน ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆครั้งก่อนนำไปปรุง มั่นใจได้ว่าปลอดภัย.



  โดนัทก็มีโซเดียม
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าของเค็มทุกอย่างนั้นเป็นอาหารที่มีปริมาณสารโซเดียมสูง ทว่า หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า มีอาหารอีกหลายชนิดที่ไม่มีรสเค็ม แต่มีโซเดียมแฝงอยู่สูงด้วยเช่นกัน

อาหารที่ว่านั้นคือ อาหารกึ่งสำเร็จรูปจำพวกบะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปก้อนและชนิดซอง ขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู เช่น ขนมเค้ก โดนัท คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง เพราะผงฟูที่ใช้ทำขนมเหล่านี้มันมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) และแป้งสำเร็จรูปที่ใช้ทำขนมก็มีโซเดียมอยู่ด้วยเพราะได้ผสมผงฟูไว้แล้ว น้ำผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักมีการเติมสารประกอบโซเดียมเข้าไปด้วย

แม้ว่าโซเดียมจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ และการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก

แต่หากได้รับเข้าร่างกายในปริมาณที่มากเกินพอเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเกิดความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน โรคนิ่วในไต และโรคกระดูกพรุน ซึ่งปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDI) สำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างโดนัท ที่ขายอยู่ในร้านค้าในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในโดนัท ผลวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างมีโซเดียมมากน้อยแตกต่างกันไป ขอแนะว่า เพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ควรกินขนมปังและอาหารสำเร็จรูปบ่อยจนเกินไปนัก

ควรเลือกกินอาหารสดเป็นหลัก เพราะผักและผลไม้ธรรมชาติมีโซเดียมต่ำมาก เนื้อหมูตามธรรมชาติจะมีโซเดียมต่ำกว่าหมูแฮม เบคอน ไส้กรอก และน้ำผลไม้สดมีโซเดียมต่ำกว่าน้ำผลไม้บรรจุกล่อง



  สารกันบูดในเส้นใหญ่
โดยทั่วไปก๋วยเตี๋ยวที่เราเห็นขายตามท้องตลาดมีทั้งเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่ และกวยจั๊บ

หากทำเสร็จแล้วขายเลย เราเรียกเส้นประเภทนี้ว่าเส้นสด ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะมีความชื้นสูงทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 5 วัน

เมื่อเก็บได้ไม่นานการกระจายสินค้าก็ไปได้ไม่ไกล ทำให้ผู้ประกอบการอาจหันมาพึ่งสารเคมีเพื่อยืดอายุ จากที่เคยเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน ก็สามารถเก็บไว้ได้เกิน 10 วัน ถ้าใส่เยอะๆจะยิ่งยืดอายุให้นานขึ้นอีก

หากทานเส้นก๋วยเตี๋ยวเหล่านี้เข้าไป ผู้บริโภคอย่างเราอาจกลายเป็นถุงใส่สารเคมีเคลื่อนที่ได้ สารเคมีที่ว่าคือ สารกันบูด

ตามความเข้าใจของเรานั้น สารกันบูด เป็นสิ่งที่ใส่ในอาหารได้ แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนด

เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น สารกันบูดที่ชื่อ กรดเบนโซอิก หากใน 1 วันเรารับประทานอาหารอะไรก็แล้วแต่ที่มีสารชนิดนี้ปนอยู่ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ตับและไตก็จะสามารถกำจัดออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าเกิน 500 มิลลิกรัมทุกวัน ตับและไตก็จะทำงานหนัก และถ้ากำจัดออกจากร่างกายไม่หมด กรดเบนโซอิกจะไปสะสมในร่างกายทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตับไตลดลง ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยตับและไตพิการได้

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้สารกันบูดทุกชนิดรวมกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

วันนี้ สถาบันอาหารจึงสุ่มตัวอย่างก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ จากตลาด 5 แห่ง เพื่อตรวจหาสารกันบูดกรดซอร์บิก ผลวิเคราะห์พบว่า มี 1 ตัวอย่าง พบสารกันบูดกรดซอร์บิก

ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการซื้อก๋วยเตี๋ยวเส้นสดที่ขายไม่หมดวันต่อวันเพื่อความปลอดภัย!



  ปลาร้าทรงเครื่อง วันนี้ปลอดภัย
ในอดีตชาวไทยใช้ชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม แต่ละครอบครัวมักจะปรุงอาหารไว้ทานกันเอง

ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยจำนวนไม่น้อยอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม ชีวิตต้องเร่งรีบและแข่งขันตลอดเวลา

คนส่วนมากจึงไม่มีเวลาปรุงอาหาร สิ่งที่ทำได้ทั้งสะดวก ประหยัดเวลา และเงินในกระเป๋า คือการหาซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน ไม่เว้นแม้แต่อาหารหมักพื้นบ้านอย่างปลาร้า ที่แต่ก่อนต้องหมักทานกันเองภายในครัวเรือน

ที่เกริ่นมาทั้งหมดนั้น แค่อยากเตือนว่าในหน้าร้อน ที่อากาศร้อนจัดเช่นนี้ การซื้ออาหารสำเร็จรูปต่างๆ จากตลาดมาทาน โดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้ว ควรต้องระมัดระวังให้ดี เพราะอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์ ปนเปื้อนได้

เมื่อเราทานอาหารที่มีเชื้อชนิดนี้เข้าไป จะเกิดอาการของโรคอาหารเป็นพิษภายใน 8–16 ชั่วโมง คือ ท้องร่วงและกระเพาะอาหารอักเสบ มีอาการปวดท้องกะทันหัน ท้องร่วง มีแก๊ส เป็นไข้ คลื่นเหียน และอาจอาเจียนบ้าง

วิธีการป้องกันง่ายๆคือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆอยู่เสมอ หากจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และยังร้อนอยู่

การปรุงสุกต้องใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือต้มให้เดือดนาน 5 นาที จะสามารถทำลายเชื้อและสารพิษของเชื้อนี้ได้ ส่วนอาหารดิบที่ยังไม่ได้ปรุงควรใส่ภาชนะปิดให้มิดชิดและเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิของตู้เย็นจะช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อได้เช่นกัน

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างอาหารหมักพื้นบ้าน ปลาร้าสับทรงเครื่องจำนวน 5 ตัวอย่าง จากตลาดย่านต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์

ผลวิเคราะห์พบว่าทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อชนิดนี้เลย ทางที่ดีนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยในหน้าร้อน




  ระวัง…เชื้ออหิวาตกโรค ใน...หอยดอง
วันนี้คอลัมน์มันมากับอาหาร  มีเรื่องของอาหารพื้นบ้านอย่าง  “หอยดอง” มาฝาก หลายคนชื่นชอบรสชาติที่จัดจ้าน ที่ทั้งเปรี้ยวและเค็มของหอยดอง ยิ่งนำมาใส่เครื่องยำ เติมพริกสดกับหอมแดงหั่นฝอยสักหน่อย ก็จะได้หอยดองที่มีรสชาติจัดจ้านสมใจ

หอยดองนั้นทำมาจากการนำหอยแมลงภู่สดมาแกะเอาแต่เนื้อ นำมาผสมน้ำดองคือ น้ำส้มสายชู และน้ำปลา  แล้วปรุงให้ออกรสเปรี้ยวมากกว่าเค็ม จากนั้นนำไปใส่ในขวดโหลที่เตรียมไว้ปิดฝาขวดให้แน่น แล้วนำไปวางไว้กลางแดดจัดๆ อย่างน้อย 3 แดดเป็นอันว่าใช้ได้

กรรมวิธีการทำหอยดองพื้นบ้านนั้นนับว่าไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าวัตถุดิบคือ หอยไม่สดและไม่ล้างให้สะอาดเพียงพอก่อนนำมาดอง หรือภาชนะที่ใช้ในขณะดองไม่สะอาด หรือสุขลักษณะในการดองและการปรุงไม่ดีเพียงพอ โอกาสที่หอยดองจะปนเปื้อนเชื้อก่อโรคนั้นจะมีสูงตามไปด้วย

เชื้อที่ว่านี้คือ เชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio cholerae) เชื้อชนิดนี้พบในสัตว์ทะเลทุกชนิด โดยเฉพาะหอยสองฝา เช่น หอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่

หากเราทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา จะทำให้เป็นโรคอหิวาตกโรค มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ บางครั้งอาเจียน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างหอยดอง 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลาปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา  ขอแนะว่า ทางที่ดีควรเลือกซื้อจากพ่อค้า แม่ค้าเจ้าประจำที่ไว้ใจได้ในเรื่องของความสะอาดและปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ  หรือนำมาผ่านความร้อนก่อนทาน  แม้อาจทำให้เสียรสชาติไปบ้างแต่ก็เพื่อความปลอดภัย  อิ่มสบายท้อง.



  เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส กับขนมครก
ขนมครก ขนมไทยโบราณที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมจะใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม

ส่วนหน้าของขนมครกนั้นใช้หัวกะทิ จึงทำให้มีรสชาติกลมกล่อม เมื่อผสมส่วนตัวขนมและหน้าขนมได้ที่แล้วจะเทลงบนเตาหลุม เมื่อสุกได้ที่ต้องแคะออกมาจากหลุม แล้ววางประกบฝากันตอนรับประทาน

ขนมครกโบราณ มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม เวลาทานจะได้กลิ่นเตาถ่านที่หอมเจือกับรสชาติเค็มนิดๆ ปัจจุบันมีผู้คิดค้นและดัดแปลงสูตรโดยผสมพืชและผักบางชนิดเข้าไป ทำแป้งให้กรอบขึ้น เรียกว่า ขนมครกทรงเครื่อง

ขนมครกส่วนใหญ่นิยมทานตอนเช้า เพื่อรองท้องสำหรับผู้ที่มีเวลาจำกัด ซื้อเสร็จแล้วทานทันที ก็ไม่เป็นไร แต่หากซื้อแล้ววางทิ้งไว้นานๆ ต้องระวังท้องร่วง เนื่องจากการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส เป็นเชื้อก่อโรคที่พบในธรรมชาติ ดิน ฝุ่นละออง อาหาร เช่น ข้าว ธัญพืช อาหารที่ทำจากแป้ง เมื่อปนเปื้อนเข้าไปในอาหาร มันจะสร้างสารพิษและขับออกมาปนเปื้อนอยู่ในอาหาร

เมื่อเราทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้เข้าไปจะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทำให้ผู้ป่วยท้องเดิน มีอาการปวดท้องและถ่ายอุจจาระเหลว หรืออาจทำให้ผู้ป่วยอาเจียน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนภายหลังทานอาหาร อาจมีอาการปวดท้อง และ/หรือท้องเดินร่วมด้วย

เพื่อการันตีคุณภาพและความสะอาดของผู้ผลิตบ้านเรา สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างขนมครก จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 3 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค บาซิลลัส ซีเรียส ผลปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนในขนมครกทุกตัวอย่าง สบายใจกันได้ แต่ถ้าจะให้ดี ขอแนะว่าทานตอนร้อนๆ ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย.



  อะคริลาไมด์.....ในคุกกี้
หลายคนคงคาดไม่ถึงว่าอาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้บางชนิดแฝงไว้ด้วยสารอันตราย

อะคริลาไมด์ (Acrylamide) สารดังกล่าวมิใช่สารอันตรายที่อุบัติขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นสารที่ชาวโลกรู้จักอย่างแพร่หลายในปี 2545 เมื่อสำนักงานอาหารแห่งประเทศสวีเดน (Swedish National Food Administration : NFA) ได้สุ่มอาหารกว่า 100 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์สารอะคริลาไมด์

ผลการวิเคราะห์ครั้งนั้นพบว่า ขนมปังกรอบที่ทำจากมันฝรั่งและมันฝรั่งทอด มีสารอะคริลาไมด์ปนเปื้อนสูงมาก โดยปริมาณที่พบในขนมปังกรอบทำจากมันฝรั่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และในมันฝรั่งทอดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม

และยังพบอีกว่าในอาหารชนิดเดียวกันแต่คนละผู้ผลิตก็จะมีปริมาณของอะคริลาไมด์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิตเป็นสำคัญ

สารอะคริลาไมด์เข้าสู่ร่างกายมากขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ผ่านความร้อนสูง โดยสารอะคริลาไมด์จะก่อตัวขึ้นในอาหารพวกธัญพืช มันฝรั่ง อาหารที่มีแป้งสูง และกาแฟ ที่ถูกให้ความร้อนสูงๆ (สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส) หรือใช้เวลาในการอบ ทอด ย่าง ปิ้ง เป็นเวลานานๆ จนก่อตัวเป็นสารอะคริลาไมด์ขึ้นในที่สุด

อะคริลาไมด์เข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว ณ บริเวณที่มีการย่อยอาหาร หลังจากนั้นมันจะถูกขับออกอย่างรวดเร็วทางปัสสาวะ หน่วยงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARA) จึงจัดให้สารอะคริลาไมด์เป็นสารกลุ่มที่มีความเป็นไปได้สูงในการก่อให้เกิดมะเร็งในคน

ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐได้เฝ้าระวังอาหารกลุ่มที่เป็นแหล่งการปนเปื้อนสารอะคริลาไมด์ โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยว บิสกิต คุกกี้ และผลิตภัณฑ์ธัญพืชนำเข้า รวมถึงการประเมินความเสี่ยงการได้รับสารอะคริลาไมด์ของคนไทย จากการบริโภคอาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยวเหล่านี้โดยเฉพาะในเด็ก

นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งแล้ว ยังจะช่วยแก้ปัญหาที่คนไทยมีภาวะโภชนาการเกิน และเป็นโรคอ้วนได้อีกด้วย.



  กินชะอมสด ระวังท้องร่วง
ขึ้นชื่อว่าผักสวนครัว รั้วกินได้แล้วนั้น คงหนีไม่พ้นสมุนไพรที่ให้กลิ่น และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารไทย เช่น กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ใบมะกรูด และชะอมตามต่างจังหวัดนิยมปลูกต้นชะอมไว้เป็นรั้ว นัยหนึ่งไว้ป้องกันสัตว์ร้ายเข้าบริเวณบ้าน เนื่องจากชะอมมีหนามแหลมคมหากโดนเข้าไป จะทำให้รู้สึกเจ็บไปได้หลายวัน อีกนัยหนึ่งชะอมเป็นผักที่ปลูกไว้เด็ดยอดและดอกอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร

ชะอมที่ปลอดภัยนั้น คงจะเป็นชะอมที่ปลูกไว้กินเองตามบ้านที่ไม่ใส่สารเคมีให้เกิดสารตกค้าง แต่วันนี้ชะอมถูกปลูกขึ้นเป็นธุรกิจ เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้าบางรายอาจยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการเก็บรักษาวัตถุดิบให้มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย จึงเป็นที่มาของการปนเปื้อนเชื้อ อี.โคไล ในชะอม

อี.โคไล เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ท้องเสีย มักพบปนเปื้อนมากับสิ่งแวดล้อม เช่น ในน้ำ ในดิน ในอากาศ หากเป็นอาหารมักพบปนเปื้อนในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงสุกแล้วแต่สัมผัสมือ หรือภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์ หรือน้ำที่ไม่สะอาด

เมื่อเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนในอาหาร หากเรามีวิธีทำความสะอาดที่ไม่ดีพอเราก็มีโอกาสท้องร่วง ท้องเสียได้

ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ที่กำหนดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้ผัก ผลไม้ สลัด ตรวจพบเชื้อ อี.โคไล ได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม

แต่หากพิจารณาผลวิเคราะห์ชะอมวันนี้ คงต้องตกใจเพราะทุกตัวอย่างพบเชื้อ อี.โคไล ในปริมาณสูง

มีวิธีป้องกันง่ายๆ เพียงแค่ล้างทำความสะอาดชะอมสดด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง หรือนำไปลวก ต้ม ปรุงสุกด้วยความร้อนและรับประทานขณะที่สุกใหม่ๆทุกครั้ง เท่านี้ก็ปลอดภัยแล้ว.



  คาเฟอีนในเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชื่อบอกอยู่แล้วว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ดื่มแล้วจะมีกำลังวังชา รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น นั่นคือผลของคาเฟอีน

คาเฟอีนเป็นสารที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ มักจะพบได้ในเมล็ดและใบ หรือผลของพืชมากกว่า 63 ชนิด เช่น กาแฟ ชา และเมล็ดโคล่า

คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามปริมาณของคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับ โดยคาเฟอีน 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน จะกระตุ้นให้ไม่ง่วง ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีความรู้สึกว่ามีแรง

แต่ถ้ามากถึงขนาด 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เครียดกระวนกระวาย มือสั่น และนอนไม่หลับ ถ้าเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัม จะทำให้มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ เบื่ออาหารเรียกว่า Caffeinism

ผลจากการบริโภคคาเฟอีนที่กล่าวมา เป็นผลเฉียบพลันที่จะเกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับคาเฟอีนเป็นประจำและเป็นการได้รับครั้งเดียวในขนาดที่กำหนดไว้ข้างต้น

แต่ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนเป็นประจำ ฤทธิ์เหล่านี้จะลดลง เนื่องจากมีการทนต่อฤทธิ์ของคาเฟอีนได้

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเครื่องดื่มบำรุงกำลังหลายๆ ยี่ห้อ เพื่อวิเคราะห์ยืนยันให้เห็นว่าเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันนั้นมีปริมาณคาเฟอีนมากน้อยเพียงใด

 ผลปรากฏตามตารางด้านล่าง ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้จากการอ่านฉลากที่ระบุไว้ข้างขวดอย่างชัดเจนว่าใน 1 ขวดนั้นมีปริมาณคาเฟอีนเท่าไหร่



  สาร PCBs ในปลา
เมื่อก่อนเรามักได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ว่าถ้าอยากให้เด็กฉลาดต้องกินเนื้อปลา เนื่องจากในเนื้อปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิด โดยชนิดที่เด่นๆคือ

ดีเอชเอ (DHA, Docosagexaenoic Acid) ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองให้เป็นปกติ และอีพีเอ (EPA, Eicosapentaenoic Acid) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง

สำหรับคนไทย การหาเนื้อปลามาบริโภคเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากปลามีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ และหารับประทานได้ง่าย

แต่วันนี้อาจต้องระวังมากขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทั้งในอากาศ บนดิน และในน้ำ ที่มักพบว่ามีสารพิษปะปนมาด้วย

สาร PCBs เป็นสารที่ทนต่อความร้อน สลายตัวได้ยากในธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต ซึ่งหากรั่วไหลออกมาจากอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบถ่ายเทความร้อน การผลิตน้ำมันหล่อลื่น

สาร PCBs จะสามารถแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะต่อวงจรอาหาร และสามารถเข้าสู่ร่างกายคนโดยการกิน เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่กินอาหารที่มี PCBs ปนเปื้อน ซึ่งจะถูกดูดซึมไปสะสมในเนื้อเยื่อไขมันสัตว์

ฉะนั้นอาหารที่มีไขมัน เช่น เนย นม ไข่ และเนื้อสัตว์ติดมันจึงเป็นแหล่งสะสมของสาร PCBs

นอกจากนั้น สัตว์น้ำจำพวกปลาโดยเฉพาะปลาจากแหล่งน้ำที่มี สาร PCBs ปนเปื้อน ก็อาจมี สาร PCBs ปนเปื้อนอยู่ด้วยเช่นกัน

ความเป็นพิษของ PCBs  จะทำให้มีอาการเริ่มแรก คือ ตาบวม ผิวหนังและเล็บคล้ำ ผิวหนังหยาบกร้านบริเวณใบหน้าและลำคอ และลำตัวท่อนบน

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเนื้อปลาจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์หา สาร PCBs ปนเปื้อน

ปรากฏว่าพบ สาร PCBs ปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง ในปลาแซลมอนนำเข้า ดังแสดงในตาราง

ทางที่ดี ควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์ติดมัน เพื่อความปลอดภัย



  น้ำผลไม้...กับสารกันบูด
น้ำผลไม้ อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ ที่ไม่ชอบทานเนื้อ และขี้เกียจคายเม็ด น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของแร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิด จึงไม่น่าแปลกใจที่เรามักจะเห็นน้ำผลไม้หลากหลายชนิดวางขายกันตามฟุตปาททั่วไป

ส่วนตามซุปเปอร์มาร์เกตและห้างสรรพสินค้าต่างๆ จะพบน้ำผลไม้บรรจุกล่องสวยๆ ดึงดูดความสนใจของผู้คนที่ผ่านมาผ่านไป ให้เลือกหยิบ เลือกซื้อโดยอาจไม่รู้ว่า คุณอาจกำลังหยิบอันตรายมาให้ตัวคุณ อันตรายที่ว่านี้คือ อันตรายจากสารกันบูด

น้ำผลไม้บรรจุกล่อง มีทั้งใส่และไม่ใส่สารกันบูด จะใส่มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ผลิตแต่ละราย

แล้วใส่ทำไม...การทำน้ำผลไม้เริ่มต้นจาก นำผลไม้มาล้างทำความสะอาด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำตาลและเกลือตามใจชอบ สูตรนี้แนะนำให้ทำดื่มเอง

แต่ถ้าเป็นทางธุรกิจ เมื่อคั้นเสร็จแล้วจะต้องมีการพาสเจอไรส์ เพื่อฆ่าเชื้อ และให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น ซึ่งสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ  1 อาทิตย์ ซึ่งผู้ผลิตบางรายอาจไม่ชอบใจ จึงต้องหาวิธียืดอายุการเก็บให้นานขึ้นโดยการใส่สารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก เข้าไปในน้ำผลไม้

ถึงตรงนี้แล้วอย่างเพิ่งตกใจ เพราะตามมาตรฐานระบุให้ใส่สารกันบูดในเครื่องดื่มและน้ำผลไม้ได้ในปริมาณที่ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เพื่อถนอมอาหาร

แต่สิ่งที่กำลังกังวล คือ ปริมาณของสารกันบูดที่ใส่ลงไปนั้นอาจจะมากกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนดก็เป็นได้

หากวันหนึ่งๆ ร่างกายได้รับสารกันบูดปริมาณที่มากเกินไป เช่น ได้รับกรดเบนโซอิกมากกว่า 500 มิลลิกรัม ตับและไตจะทำงานหนักจนถึงขั้นพิการได้

แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะผลการวิเคราะห์สารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในน้ำผลไม้วันนี้ยังปลอดภัยอยู่...



  กินตับไก่...ปลอดภัยจากเชื้อโรค
ในบรรดาอาหารปิ้งๆ ย่างๆ ที่ส่งกลิ่นหอมกรุ่นเชิญชวนให้คนหันมาซื้อไปลิ้มลองไม่ว่าจะเป็นหมูย่าง ไก่ย่าง รวมถึงเครื่องในสัตว์ชนิดต่างๆ นั้น ที่นิยมที่สุดคงหนีไม่พ้นตับไก่

วันนี้ตับไก่ ไม่อันตราย เพราะจากผลวิเคราะห์ของสถาบันอาหาร ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอย่าง ซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

ส่วนใหญ่เชื้อ ซาลโมเนลลา มักจะพบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์นม และอาหารทะเล นอกจากนี้ ยังมีโอกาสพบได้ในของเสียจากการขับถ่ายของคน

ตับไก่ เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน เพราะหากวัตถุดิบมีแหล่งที่มาที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าไม่มีความสะอาดเพียงพอในการปรุง การปนเปื้อนของเชื้อข้างต้นในตับไก่ก็เป็นไปได้สูงเช่นกัน

เชื้อซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ หลังจากที่ได้กินอาหารไปแล้วประมาณ 6–24 ชม.จะมีอาการอยู่ประมาณ 1–5 วัน

อาการของโรคที่พบได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง มีไข้ และอ่อนเพลีย หากเกิดในผู้สูงอายุ หรือเด็กทารก จะพบว่ามีอาการหนักกว่าคนในวัยอื่นที่บริโภคเชื้อชนิดเดียวกันเข้าไปในร่างกาย ซึ่งตามเกณฑ์คุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคของอาหารปรุงสุกทั่วไป กำหนดให้ในอาหารพร้อมรับประทานต่างๆ ต้องไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลาในอาหาร 25 กรัม

วันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างตับไก่ปิ้งที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลาผลการวิเคราะห์พบว่าทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา เลย

แต่อย่าวางใจกันนัก เลือกซื้ออาหารปิ้งย่างที่ย่างจนสุกและจากร้านค้าที่สะอาดเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย.


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
n-p 5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2557 14:05:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2558 13:45:49 »

.

  ข้าวเหนียวมะม่วง...วันนี้ปลอดภัย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในพืชพรรณธัญญาหาร เดินออกจากบ้านไปทางใดก็มีของกินให้หาซื้อได้ตามชอบใจ ทั้งของคาว ของหวาน และผลไม้ตามฤดูกาล

สำหรับอาหารหวานยอดนิยมและน่าลิ้มลองในฤดูร้อนของไทยคงหนีไม่พ้น ข้าวเหนียวมะม่วง ขนมหวานแบบไทยๆ ที่ทำจากการนำข้าวเหนียวมามูนกับหัวกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาว ทานคู่กับเนื้อมะม่วงสุก ที่นิยมคือ มะม่วงพันธุ์อกร่องและน้ำดอกไม้ เพราะมีสีเหลืองทองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อาจราดกะทิและโรยถั่ว แล้วแต่ความชอบ

การทำข้าวเหนียวมูน ถ้าสุขลักษณะของคนปรุงไม่ดีพอและไม่รักษาความสะอาดขณะมูนข้าวเหนียวและปอกมะม่วง อาจทำให้คนทานเกิดโรคอาหารเป็นพิษจากการปนเปื้อนของเชื้อ สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่จะพบได้จากการจัดการอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือในระหว่างการปรุงที่ไม่สะอาดเพียงพอ อีกทั้งการเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิไม่ถูกต้อง ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อนี้ได้

สาเหตุของการเกิดโรคมาจากสารพิษที่เรียกว่า enterotoxins ที่เชื้อชนิดนี้ผลิตขึ้นถ้าพบสารพิษชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหาร ในปริมาณที่น้อยกว่า 1 ไมโครกรัม จะทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ การพบสารพิษในปริมาณนี้ได้จะต้องมีเชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร มากกว่า 1 ล้านเซลล์ต่ออาหาร 1 กรัมขึ้นไป

วิธีป้องกันคือ คนขายต้องคำนึงถึงความสะอาดในขณะเตรียมหรือปรุงอาหาร ต้องไม่ไอ จาม รดอาหาร ล้างมือให้สะอาดขณะปรุง และเก็บอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนเชื้อก่อโรค หลังจากนี้ เป็นเรื่องของคนกิน จะต้องหัดสังเกตลักษณะของอาหารเบื้องต้น หากพบว่ามีสี หรือลักษณะเปลี่ยนไป หรือดมแล้วมีกลิ่นไม่ปกติก็ควรหลีกเลี่ยง

วันนี้ สถาบันอาหารทำการสุ่มตัวอย่างข้าวเหนียวมะม่วงที่มีขายอยู่ใน  5 ย่านการค้าที่สำคัญ เพื่อนำมาตรวจการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปรากฏว่า ไม่พบปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง.


  วันนี้ผลไม้รถเข็นยังปลอดภัย
จากการสุ่มตัวอย่างผลไม้สดตัดแต่ง 5 ชนิด จำนวน 5 ตัวอย่าง จากรถเข็นตามย่านต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การตกค้างของขัณทสกร ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างที่สถาบันอาหารสุ่มมาตรวจวิเคราะห์ไม่พบมีขัณฑสกรตกค้างอยู่เลย  เมื่อก่อนหลายคนอาจหลีกเลี่ยงการทานผลไม้สดที่ตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ผลไม้หมักดองและแช่อิ่มชนิดต่างๆ ที่ขายตามรถเข็น เนื่องจากกลัวว่าผลไม้เหล่านี้จะมีการใช้สารแซ็กคาริน หรือขัณฑสกรเพื่อให้มีรสหวานถูกปากคนไทย

เป็นที่รู้กันว่าผลไม้บางชนิดถ้าไม่ออกตามฤดูกาลแล้วส่วนใหญ่มักมีรสชาติผิดไปจากเดิม พ่อค้าแม่ขายบางรายจึงต้องพึ่งขัณฑสกร ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300-700 เท่า และมีราคาถูก จึงเป็นที่นิยมของพ่อค้าแม่ค้าที่อยากขาย แต่ไม่ยอมลงทุนนำของดีมีคุณภาพมาขาย  ทว่า ขัณฑสกรเป็นสารที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง และเป็นสารที่ถูกห้ามใช้ในหลายๆประเทศ

สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้แซ็กคารินได้ในเครื่องดื่มไดเอท สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคอ้วน วันนี้จึงเป็นที่น่ายินดีว่า พ่อค้าและแม่ค้าผลไม้ของไทยใส่ใจต่อสุขภาพของผู้ซื้อมากขึ้น โดยไม่แต่งแต้มอาหารด้วยสารเคมีที่อาจเป็นโทษต่อร่างกายของคนไทยตาดำๆอย่างเรา.


  ขนมเปี๊ยะนมสด
ขนมเปี๊ยะนมสด เป็นขนมที่พัฒนาสูตรและปรับปรุงมาจากขนมพื้นเมืองของคนญี่ปุ่นที่มักจะซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับมาเป็นประจำ

ขนมเปี๊ยะนมสด มีส่วนผสมหลักของตัวขนม คือ นม ทั้งนมผง นมสด และนมข้นหวาน เนย และแป้งเค้ก และส่วนผสมของไส้มีทั้งถั่วเขียว ถั่วแดง และเนยสด

เมื่อผสมส่วนผสมต่างๆ ได้ที่แล้ว กรรมวิธีต่อไปคือนำส่วนที่เป็นแป้งมา ปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วใส่ไส้ลงไป  จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการอบด้วยความร้อน

ขั้นตอนการทำหากไม่รักษาความสะอาด อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษ เชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นเชื้อที่ผลิตสารพิษที่สามารถทนความร้อนที่ระดับ 143.3 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 9 วินาที ดังนั้น ความร้อนที่ระดับ 100 องศาเซลเซียสหรืออุณหภูมิน้ำเดือดจึงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ หากร่างกายได้รับสารพิษของเชื้อชนิดนี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องเดิน ปวดท้อง ตะคริวที่ท้อง ชักกระตุก หนาวสั่น อ่อนเพลีย ช็อก และอาจเป็นลมได้

อาการดังกล่าวนี้จะแสดงอยู่ 1-2 วัน ในบางรายอาจมีอาการปวดหัว กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันเลือดและอัตราการเต้นผิดปกติ มีคำแนะนำง่ายๆ ถึงวิธีการเก็บรักษาอาหารเมื่อทานไม่หมดในครั้งเดียว ให้นำมาเก็บไว้ในตู้เย็น เมื่อจะทานก็นำมาอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง

วันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างขนมเปี๊ยะนมสด เพื่อนำมาหาการปนเปื้อนของเชื้อ สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้ผลเป็นที่น่ายินดีไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง  นี่เป็นเรื่องที่ดีสำหรับวงการผลิตอาหารที่ผู้ผลิตให้ความใส่ใจผู้บริโภค หมั่นพัฒนาระบบคุณภาพภายในโรงงาน และสถานที่ผลิตอาหาร ให้ปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ


  ระวัง...โรตีสายไหม
โรตีสายไหม ขนมอีกหนึ่งชนิดที่จะถูกหยิบมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค บาซิลลัส ซีเรียส  ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่อันตรายไม่แพ้เชื้อ ซาลโมเนลลา บาซิลลัส ซีเรียส เป็นเชื้อก่อโรคที่สร้างสปอร์และสร้างสารพิษได้ เมื่อ บาซิลลัส ซีเรียส สร้างสารพิษขึ้น มันจะขับสารพิษออกมาขณะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร  โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งและครีมเป็นส่วนประกอบ เช่น โรตีสายไหมที่มีแผ่นแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก และอาจมีสาเหตุจากการใช้วัตถุดิบด้อยคุณภาพ ล้างวัตถุดิบที่ไม่สะอาดเพียงพอ  และไม่ควบคุมความสะอาดในระหว่างการผลิตอีกด้วย

เมื่อเราทานอาหารที่ปนเปื้อน บาซิลลัส ซีเรียส เข้าไปจะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ อาการทั่วไปหลังจากที่ร่างกายได้รับสารพิษจากเชื้อชนิดนี้ 6-12 ชั่วโมง คือ การปวดท้องและถ่ายอุจจาระเหลวเนื่องจากมีน้ำมาก อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย แต่มักจะไม่อาเจียนและไม่มีไข้  ปกติในอาหารไม่ควรพบเชื้อก่อโรคทุกชนิด สำหรับโรตีสายไหม เป็นอาหารพร้อมบริโภคที่ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดให้พบเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ในอาหาร 1 กรัม

แต่เมื่อดูผลวิเคราะห์วันนี้ พบว่ามีโรตีสายไหม 1 ตัวอย่าง จากที่สุ่มเก็บมา 5 ตัวอย่างนั้นตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส ในปริมาณที่สูงเกินมาตรฐาน ครานี้ผู้บริโภคต้องระวัง และสังเกตถึงลักษณะภายนอกของโรตีสายไหมเบื้องต้น ถ้าแป้งมีกลิ่นหรือมีความชื้นมากๆจนนิ่มและเละก็ไม่ควรซื้อมาทาน.


  มันมากับข้าวมันไก่
ข้าวมันไก่ เป็นอาหารที่หาทานได้ง่าย ทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การทำก็ไม่ยุ่งยาก มีขายแพร่หลาย แต่ขายแบบเป็นไก่ที่ต้มและสับมาแล้วพร้อมข้าวและเปิดกล่องไว้รอขาย ใครมาซื้อก็ปิดกล่อง ตักน้ำซุปใส่ถุงเป็นอันเสร็จพิธี

เนื่องจากไก่ที่นำมาขายไม่ได้มีการอุ่นให้ร้อนตลอดเวลา หนำซ้ำเมื่อนำมาใส่กล่องไว้รอขาย หรือแม้แต่กระทั่งตามร้านทั่วไป ที่ต้มไก่ไว้ตั้งแต่กลางคืน รุ่งเช้านำออกขายตลอดทั้งวันโดยไม่ได้มีการอุ่นหรือทำให้ร้อน อาจทำให้เชื้อก่อโรค ที่มีชื่อว่า สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมาก จนทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่บริโภคได้ คือ ท้องร่วง  อาการหลังจากได้รับสารพิษจากเชื้อชนิดนี้เข้าไปประมาณ 1-7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความไวต่อสารพิษชนิดนี้ในแต่ละบุคคล บางรายไม่ถึง 1 ชั่วโมง แต่บางรายกลับไม่เป็นอะไรทั้งที่ทานเหมือนกัน วันนี้หากพิจารณาผลวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส

ในข้าวมันไก่ต้มที่ขายอยู่ใน 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ พบว่ามี 2 ตัวอย่างที่มีเชื้อปนเปื้อน และ 1 ใน 2 ตัวอย่างนี้ พบปนเปื้อนเกินมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กำหนดให้อาหารปรุงสุกทั่วไปพบ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม

วิธีควบคุมปริมาณเชื้อโรคในข้าวมันไก่ให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพคือ ผู้ขายควรจำกัดเวลาขายไม่เกิน 4 ชั่วโมง โดยนับเวลาตั้งแต่ต้มไก่สุกจนกระทั่งขาย หากเกินเวลาต้องอุ่นก่อนนำมาทานทุกครั้ง  เราซึ่งเป็นผู้บริโภคต้องระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหาร หากมีกลิ่น หรือลักษณะที่ไม่เป็นปกติ ไม่ควรซื้อมาทาน และควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด คนขายมีสุขลักษณะที่ดี สวมหมวกและสวมถุงมือทุกครั้งที่จับอาหาร เพื่อความปลอดภัย.



  ตะกั่วในกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี ผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ โฟเลท เบต้าแคโรทีน และสารกลูโคซิโนเลท มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น โปแตสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม มีกรดอะมิโนกลูตามีน และมีเลซิทินสูง หากทานสดก็จะได้รับสารอาหารไปเต็มๆ แต่สิ่งใดก็ตามเมื่อมีคุณก็อาจมีโทษแฝงอยู่ด้วย เพราะตัวอย่างกะหล่ำปลีสดจำนวน 5 ตัวอย่าง ที่สุ่มเก็บจากพื้นที่ 3 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น พบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนทุกตัวอย่าง

ตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่มักจะพบได้ทั่วไปในดิน แหล่งน้ำ อากาศ และตามธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังพบปะปนในธรรมชาติที่เป็นผลมาจากการกระทำของคนด้วย นั่นคือ การปล่อยน้ำเสียและของเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ พลาสติกและสีที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนลงในแม่น้ำ ลำคลอง และพื้นดิน  ส่งผลให้พืชผักที่ปลูกในพื้นที่อุตสาหกรรมและบริเวณใกล้เคียงสามารถดูดซึมตะกั่วจากดินและน้ำเข้าไปและไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของพืชได้  และหากเกษตรกรใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงที่มีตะกั่วปนเปื้อนอาจทำให้พืชมีการสะสมตะกั่วสูงขึ้นด้วย เมื่อเราทานผักที่มีตะกั่วปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เป็นพิษต่อเซลล์ไขกระดูก ระบบประสาท ระบบไต เกิดอาการท้องผูก อุจจาระมีสีดำ กระหายน้ำ อาเจียนเป็นพักๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปัสสาวะมากผิดปกติ และไตอาจพิการได้

วันนี้ คนที่ชอบทานกะหล่ำปลีอาจต้องระมัดระวังกันสักนิด เพราะผลการวิเคราะห์พบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนทั้ง 5 ตัวอย่าง แต่พบในปริมาณไม่มากและไม่เกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ในอาหารมีสารตะกั่วปนเปื้อนได้ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ จะทำได้คือ การเลือกทานพืชผักที่หลากหลาย อย่าทานอะไรซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ เพื่อความปลอดภัย  อย่างไรเสียเราก็ไม่อาจทราบได้ว่ากะหล่ำปลีหัวใดมีตะกั่วปนเปื้อนอยู่บ้าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องเข้ามาดูแลพื้นที่ปลูกและระบบการผลิตพืชผักสดให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภคต่อไป.


  แคดเมียมในปลาช่อนสด
วันนี้ คอลัมน์ “มันมากับอาหาร” ได้สุ่มตรวจแคดเมียมในปลาช่อน

แคดเมียม เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมหนักๆ เช่น อุตสาหกรรมการย้อม, อุตสาหกรรมกระดาษ และหมึกพิมพ์ เมื่อสารชนิดนี้ถูกใช้และมีการกำจัดไม่ถูกวิธี เช่น ปล่อยน้ำทิ้ง หรือของเสียโดยไม่ได้มีการบำบัด

สารพิษชนิดนี้อาจเกิดการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ ทำให้สัตว์น้ำที่อยู่บริเวณนั้นได้รับแคดเมียมปนเปื้อนเข้าไปโดยปริยาย  แคดเมียม เป็นสารที่เข้าไปสะสมอยู่ในไต ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากจะถูกไหลเวียนไปที่ตับ ส่วนอาการเป็นพิษหลังจากได้รับแคดเมียมนั้น หากเป็นพิษเฉียบพลัน จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นตะคริวที่ท้อง และมีอาการท้องร่วงอย่างแรง และถ้าเป็นพิษที่เกิดจากการสะสม จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกน่วม ซึ่งจะเกิดอาการเจ็บปวดมาก

เพื่อเป็นการให้ข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกัน สถาบันอาหารจึงได้สุ่มตัวอย่างปลาช่อนสดที่เลี้ยงในบ่อ และปลาช่อนจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของแคดเมียม  ผลปรากฏว่ามีปลาช่อน 1 ตัวอย่าง ที่เลี้ยงในฟาร์ม พบการปนเปื้อน แต่พบในปริมาณที่ยังน้อย

ขอย้ำว่า เลือกทานอาหารที่หลากหลาย อย่าทานอะไรซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ แม้ว่าวันนี้ยังปลอดภัย แต่วันต่อไปนั้นไม่แน่  คงต้องฝากถึงผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และภาครัฐต้องเข้ามาดูแลพื้นที่เพาะเลี้ยงและระบบการผลิตให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค.


  ระวัง...ข้าวหมูแดง
วันนี้คอลัมน์ “มันมากับอาหาร” ขอนำเรื่องข้าวหมูแดง มานำเสนอ เพราะไม่คิดว่าอาหารที่เรานิยมทานนั้นจะมีเชื้อก่อโรคปนเปื้อนได้มากขนาดนี้

ข้าวหมูแดง เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวสวยและหมูแดงนิ่มๆ พร้อมกับน้ำราดสีแดง ตัดด้วยความเข้มข้นของซีอิ๊วดำกับพริกซอย ช่วยชูรสให้มีความกลมกล่อมลงตัว คนขายจะตักข้าวหุงสุก หั่นหมู และใส่เครื่องเคียงทุกอย่างด้วยมือเปล่า ซึ่งน้อยมากที่จะเห็นคนขายใส่ถุงมือ อาจเพราะเป็นความเคยชินและไม่คิดว่าการใช้มือสัมผัสกับอาหารโดยตรงจะเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคในอาหารได้ทุกขณะ

เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส สามารถปนเปื้อนในอาหารได้เพราะสุขลักษณะส่วนตัวของผู้ปรุง ผู้ขายไม่ดี ถ้าคนขายไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร หรือหลังจากที่เข้าห้องน้ำ โอกาสที่เชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนเข้าไปในอาหารจึงเป็นไปได้สูง

สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ทนความร้อนได้สูง ความร้อนระดับหุงต้มธรรมดาจะไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ ยิ่งทำขายกันตั้งแต่เช้าถึงเย็น ไม่มีการอุ่น หรือทำให้ร้อนสม่ำเสมอ หรือตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 14 ชั่วโมง ยิ่งต้องระวังให้ดี เพราะจะทำให้ปริมาณเชื้อเพิ่มขึ้นจนสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายได้

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างข้าวหมูแดง จำนวน 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ 5 เขตของกรุงเทพฯ เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส

ปรากฏว่าพบการปนเปื้อนใน 4 ตัวอย่าง ซึ่งมีอยู่ 3 ตัวอย่างที่พบปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดให้พบในอาหารได้ไม่เกิน 100 โคโลนี/กรัม

ขอแนะว่า ต้องอุ่นให้ร้อนก่อนทานทุกครั้ง หรือหากซื้อมาแล้วยังไม่ทานควรเก็บไว้ในตู้เย็นและก่อนนำมาทานก็อุ่นให้ร้อนอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัย


  หมูไทย ปลอดภัยไร้สารตกค้าง
การเลี้ยงหมูในบ้านเรา หากเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมในฟาร์มใหญ่ๆ มักเลี้ยงในโรงเรือนรวมกันอย่างหนาแน่น บางแห่งอาจมีการเร่งให้หมูเติบโตอย่างรวดเร็ว  อีกทั้งเวลานี้ที่ไหนๆ สภาพดิน ฟ้า อากาศก็แปรปรวน ยิ่งทำให้หมูเกิดความเครียดสุขภาพอ่อนแอ ติดโรคได้ง่าย ผู้เลี้ยงหมูจึงอาจใช้ยาปฏิชีวนะผสมในอาหารสัตว์ให้สัตว์กินเพื่อป้องกันและรักษาโรค ยากลุ่มเททระซัยคลินเป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อทั้งในคนและสัตว์

ผู้เลี้ยงหมูจะใช้ยากลุ่มเททระซัยคลินป้องกันและรักษาโรคปอดบวม เลปโตสไปโรซิส ไข้หนังแดง เต้านมอักเสบ ลำไส้อักเสบที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย สะดือและข้ออักเสบ และโรคติดเชื้ออื่นๆ ชนิดที่นิยมใช้ผสมในอาหารสัตว์อย่างแพร่หลาย คือ ยาคลอร์เททระซัยคลินและออกซี่เททระซัยคลิน ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ ภาครัฐอนุญาตให้ใช้ในการ เลี้ยงหมูเพื่อป้องกันและรักษาโรคได้เท่านั้น  แต่จะต้องหยุดใช้ยาก่อนส่งหมูเข้าโรงฆ่าตามระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือใช้เกินขนาด เพื่อไม่ให้มียาสะสมและตกค้างอยู่ในอวัยวะ เช่น ตับ ไต และเนื้อเยื่อของหมู เพราะเมื่อเราทาน อาหารมียากลุ่มเททระซัยคลินตกค้างเข้าไป อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นพิษต่อกระดูก ตับ ไต ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

วันนี้เป็นที่น่ายินดีเพราะตัวอย่างเนื้อ ตับ และไตหมูจำนวน 15 ตัวอย่าง ที่ทางสถาบันอาหารสุ่มเก็บจากตลาดในจังหวัดราชบุรีและนครปฐม แหล่งผลิตหมูที่สำคัญในภาคกลางของไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์ยากลุ่มเททระซัยคลินตกค้าง 2 ชนิด คือ คลอร์เททระซัยคลิน ออกซี่เททระซัยคลิน

ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ไม่พบการตกค้างในทุกตัวอย่าง อาจเป็นเพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทยตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีการใช้ยาในสัตว์อย่างถูกวิธี วันนี้หมูไทยจึงปลอดภัยไร้สารตกค้าง


  ข้าวหอมมะลิไทยปลอดภัย 100%
ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีการเพาะปลูก และการกำหนดมาตรฐานสินค้าเพื่อรับรองคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

ต้องยอมรับว่า แปลงนาปลูกข้าวบางส่วนของไทยมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันโรคในข้าว รวมทั้งกำจัดแมลงและกำจัดศัตรูพืชของข้าว

ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 4400–2552) เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิ ยอมให้ใช้สารเคมีอันตรายในการปลูกข้าวหอมมะลิได้เฉพาะชนิดที่ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่อนุญาตให้ใช้เท่านั้น และกำหนดให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้ ต้องปราศจากสารเคมีอันตรายและสารกำจัดศัตรูข้าวที่ใช้

ฉะนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจการใช้สารเคมี อันตรายและสารกำจัดศัตรูของข้าวในแปลงนาอย่างถูกวิธี ถูกต้องและปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยมิได้ มิฉะนั้น สินค้าที่เราภูมิใจนักหนาอาจสร้างความหนักใจให้เราได้ในระยะยาว

เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยว่ามีความปลอดภัย สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างข้าวหอมมะลิ 105 ที่เพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดพิจิตร จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 แหล่งเพาะปลูกเพื่อนำมาวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนตกค้างจำนวน 10 ชนิด และกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตตกค้างจำนวน 32 ชนิด ผลเป็นที่น่ายินดี เมื่อทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างเลย อาจเป็นเพราะเกษตรกรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ และหน่วยงานต่างๆให้ความรู้ ความเข้าใจการใช้สารเคมีอันตรายในแปลงนาอย่างถูกต้องและปลอดภัย ทำให้วันนี้ ข้าวหอมมะลิไทยปลอดภัยและยังผงาดอยู่ได้อย่างภาคภูมิ


  ปลานิลไทย ไร้สารตะกั่ว
ปลานิล ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่าย เติบโตเร็วและเป็นปลาที่ ผู้บริโภคชาวไทยนิยมทาน เพราะปลานิลเป็นปลาที่มีเนื้อมาก มีรสชาติดี และสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด ต้ม แกง รวมทั้งแปรรูปเป็นปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาส้ม และผลิตภัณฑ์อื่นอีกมาก

เกษตรกรไทยส่วนใหญ่จะเลี้ยงปลานิลในบ่อโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และมีเกษตรกรบางรายจะเลี้ยงในนาข้าว ร่องสวน และเลี้ยงในกระชังตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หากแหล่งน้ำธรรมชาติที่นำมาใช้เลี้ยงปลานิลนั้นมีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปนเปื้อน อาจทำให้ปลานิลที่เลี้ยงนั้นมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ด้วย  นอกจากนั้น การเลี้ยงปลาในบ่อนานๆ จะทำให้เกิดการสะสมของสารตะกั่วในดินตะกอนที่พื้นของบ่อได้ ซึ่งหากไม่มีการขุดดินตะกอนออกจากบ่อก่อนการเลี้ยงในรอบต่อไป อาจทำให้ปลาที่เลี้ยงในรอบต่อไปได้รับสารตะกั่วมากกว่าที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย สารตะกั่วที่คนเราได้รับนั้น มีแหล่งปนเปื้อนใหญ่ที่สุดคือ จากอาหารและน้ำดื่ม เช่น ปลา อาหารทะเลที่จับได้ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว

อันตรายของสารตะกั่ว คือ เมื่อตะกั่วถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิตแล้ว จะมีผลโดยตรงต่อเซลล์ไขกระดูก ระบบประสาท ระบบไต อาจทำให้มีอาการท้องผูก รู้สึกเหมือนลิ้นรับโลหะ โลหิตจาง คอแห้ง กระหายน้ำ ปวดท้องรุนแรง อาจมีท้องร่วง อาเจียนเป็นพักๆ เบื่อหน่าย ถ้าได้รับสารตะกั่วมากๆ จะทำให้มีอาการเท้าตก ข้อมือตก อีกด้วย

วันนี้คอลัมน์ “มันมากับอาหาร” จึงได้สุ่มตัวอย่างปลานิล ที่เลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยงในกระชังในแม่น้ำตาปีแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารตะกั่ว ผลปรากฏว่าปลานิลทั้ง 5 ตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วเลย จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผู้บริโภคชาวไทยได้ทานปลานิลกันอย่างปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงจากพิษและอันตรายของสารตะกั่ว.


  แคดเมียมในคะน้า
คะน้า เป็นพืชผักที่นิยมรับประทานทั่วไปโดยบริโภคส่วนของใบและลำต้น เป็นผักที่ติดอันดับในเรื่องของคุณประโยชน์ ในคะน้า 1 ต้น มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้เกิดความชุ่มชื้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์

คะน้า เป็นผักที่เกษตรกรสามารถปลูกได้ทั้งปี มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของแคดเมียมที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดิน เนื่องจากแคดเมียมเป็นโลหะหนักที่พบได้ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้า การผลิตกระดาษ รวมถึงหมึกพิมพ์ การปล่อยของเสียของโรงงานเหล่านี้ในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจทำให้แคดเมียมปนเปื้อนในผักคะน้าได้ ถ้าเกษตรกรนำน้ำเหล่านั้นมารดผัก

เห็นอย่างนี้คนที่ชอบรับประทานอาหารที่มีผักแกล้มเป็นก้านคะน้าควรต้องระวัง เพราะเมื่อร่างกายได้รับแคดเมียมจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปในปริมาณต่ำ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมในไตและจะเป็นพิษต่อไต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากจะถูกไหลเวียนเข้าไปยังตับและถูกสะสมในตับ

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างผักคะน้าที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของแคดเมียม ผลการวิเคราะห์วันนี้ พบว่ามีผักคะน้า 1 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน และเกินค่ามาตรฐานโคเด็กซ์ที่กำหนดให้พบได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการทานผักชนิดเดิมๆ ซ้ำๆ ควรทานผักและอาหารให้หลากหลายเพื่อความปลอดภัย.


  เชื้อโรคในข้าวหมกไก่
ข้าวหมกเข้ามาในประเทศไทยเมื่อชาวเปอร์เซียต้นตำรับเข้ามา ติดต่อค้าขายกับไทยและนำข้าวหมกมาเผยแพร่ ข้าวหมกแบบเปอร์เซียอาหรับนั้น จะหุงข้าวกับเครื่องเทศ เมื่อสุกแล้วโรยหอมแดงเจียว ลูกเกด และอัลมอนด์ คล้ายข้าวปุเลาของอินเดีย คนไทยเรียกข้าวมะเขือ

ส่วนข้าวหมกที่ใส่ผงขมิ้นสีเหลืองสุกแล้วกินกับเนื้อสัตว์อบ คนไทยเรียกข้าวบูคอรี หรือข้าวบุหรี่ ปัจจุบันข้าวหมกที่คนไทยรู้จักและนิยมทาน คือข้าวหมก ไก่ ที่ไทยนำมาปรับปรุงสูตรให้มีรสชาติถูกปาก อะไรที่เป็นเครื่องเครายุ่งยากก็ตัดออก ที่เห็นวันนี้จะมีแต่หอมแดง และเครื่องเทศที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น

ข้าวหมกไก่เป็นอาหารจานเดียวที่ผ่านการหยิบจับโดยมือของแม่ค้า โดยตรง หยิบทั้งผัก ตักไก่ ตักข้าว ตักน้ำซุป เมื่อตักเสร็จหากไม่เช็ดมือ ตรงไปล้างจาน เก็บกวาดร้าน และเข้าห้องน้ำ แล้วกลับมาทำใหม่อีกครั้งในลักษณะเดิมๆ โดยลืมล้างและทำความสะอาดมือนั้น...อาจทำให้เชื้อโรคอย่าง สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส  ที่ติดมือมานั้น ปะปนลงในอาหารได้  อาการเกิดโรคสังเกตไม่ยาก หากหลังจากทานข้าวหมกไก่ไปสัก 1-7 ชั่วโมง แล้วมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าข้าวหมกไก่เป็นพิษแน่นอน

วันนี้ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์น่าตกใจ เมื่อพบว่าข้าวหมกไก่ที่เก็บจากพื้นที่กรุงเทพฯ 5 เขต จำนวน 5 ตัวอย่าง ปรากฏว่ามีถึง 4 ตัวอย่างที่ตรวจพบ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ของอาหารปรุงสุก ที่กำหนดให้พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส  ได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม

จะว่าไม่รู้ข้อมูลการรักษาสุขลักษณะ ก็ไม่น่าใช่ เพราะมีการรณรงค์และอบรมผู้ปรุงจากหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หรืออาจเป็นเพราะความเคยชินส่วนตัวที่ทำอะไรแบบเดิมๆ กลัวความยุ่งยาก จนไม่นึกถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ทางที่ดีเน้นย้ำ ให้ผู้ขายอุ่นให้


  ป.ปลา ปลอดยาปฏิชีวนะ
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่ร่างกายต้องการ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อื่น เพราะปลามีโปรตีนคุณภาพดีถึง 76% ขณะที่เนื้อวัวมีประมาณ 74.6% แถมยังมีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลดการเกาะตัวของเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุได้

ปลาดุกนับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมทานมาก เนื่องจากราคาถูกและสามารถหาทานได้ง่าย ปัจจุบันมีผู้เพาะเลี้ยงปลาดุกแบบขุดบ่อเลี้ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ  แน่นอนว่าเมื่อมีการเลี้ยงปลาในบ่อจำนวนมากๆ เพื่อการค้านั้น ผู้เลี้ยงอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันและรักษาโรค เช่น ยากลุ่มเททระซัยคลิน และหากผู้เลี้ยงรายใดขาดความรู้หรือไม่ระมัดระวังใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นหรือใช้มากเกินไป อาจทำให้มียาตกค้างในเนื้อปลาปริมาณมากๆ ได้

เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่ชอบทานปลาเป็นชีวิตจิตใจ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างปลาดุกเทศจาก จ.เชียงราย,จ.พิจิตร, จ.สุพรรณบุรี และ จ.นครปฐม เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของยากลุ่มเททระซัยคลิน จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้ผลเป็นที่น่ายินดี เมื่อทุกตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยากลุ่มเททระซัยคลินเลย อย่างนี้ต้องยกความดีความชอบให้ทั้งผู้เลี้ยงและหน่วยงานรัฐที่สามารถดูแลให้ปลาดุกไทยวันนี้ปลอดยาปฏิชีวนะตกค้าง.

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2558 13:48:55 »

.

  กินแครอท ระวังสารตะกั่ว
แครอทเป็นพืชกินหัวมีปลูกมากในประเทศไทย แท้จริงแล้ว แครอทเป็นพืชที่เกิดในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง

แครอทมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในปอด  และยังช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีอีกด้วย

แครอทมีแคลเซียมเพคเตทที่ช่วยลดระดับคอเลสเทอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว และมีวิตามินเอที่ช่วยบำรุง ลดการเสื่อมของตา อีกทั้งยังช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนัง เส้นผม ให้มีสุขภาพดี  ทว่า นอกจากแครอทจะมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว แครอทอาจมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ด้วย คุณอ่านไม่ผิด ในแครอทที่คุณชอบทานอาจมีสารตะกั่วเป็นของแถมมาด้วยได้

หากแครอทนั้นๆ ปลูกในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่ดินหรือแหล่งน้ำมีสารตะกั่วปนเปื้อน หรือเกษตรกรใช้ปุ๋ยที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนขณะเพาะปลูก  เพราะจะทำให้แครอทดูดซึมสารตะกั่วเข้าไปและสะสมอยู่ในหัวแครอทได้ เมื่อเรานำแครอทมาปรุงอาหาร หรือนำมาทานสดๆ ร่างกายก็จะได้รับสารตะกั่วเข้าไปเต็มๆ  ตะกั่วมีผลเสียโดยตรงต่อเซลล์ไขกระดูก ระบบประสาท และการทำงานของไต ตะกั่วมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เริ่มแรกมักมีอาการท้องผูก บางรายอาจมีอาการท้องเดิน น้ำหนักลด รู้สึกลิ้นรับรสของโลหะ นอกจากนั้น ยังมีผลต่อเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และเป็นโรคโลหิตจาง

อ่านแล้วอย่าตระหนกตกใจ เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ในอาหารต่างๆ ตรวจพบสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ถ้าไม่เกินค่ามาตรฐานนี้ก็ทานได้อย่างปลอดภัย  

วันนี้สุ่มตัวอย่างแครอทในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 3 อำเภอ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารตะกั่ว ผลปรากฏว่าพบสารตะกั่วปนเปื้อน 4 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน ดังนั้น เวลาเลือกซื้อ ควรเลือกจากแหล่งเพาะปลูกที่มั่นใจได้ว่า ปลอดภัย หรือเลือกทานอาหาร พืช ผัก ผลไม้สดที่หลากหลาย เพื่อความปลอดภัยของชีวิต


  แคดเมียมในปลาสวาย
ปลาสวาย ปลาน้ำจืดอีกชนิดที่คนไทยนิยมทาน ส่วนใหญ่มาจาก 2 แหล่ง คือ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่จับได้ตามทุ่ง หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และปลาที่เลี้ยงในบ่อ

การเติบโตของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ อาจทำให้ข้าวปลาอาหารที่เรากินกันทุกวันนี้ปนเปื้อนมลพิษ เช่น โลหะหนักที่อันตราย

แคดเมียม เป็นโลหะหนักที่พบในสีย้อมผ้า แพร กระดาษ หมึกพิมพ์ หรือสีที่ใช้ทำภาชนะเคลือบ เมื่อแคดเมียมถูกปล่อยหรือปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ อาจทำให้ปลาทั้งที่เลี้ยงตามธรรมชาติ และปลาที่เลี้ยงในบ่อปนเปื้อน แคดเมียม ได้

ปลาจะปนเปื้อนแคดเมียมได้จาก 2 ทาง คือ จากอาหารที่ปลากินและจากแหล่งน้ำที่ปลาอาศัยอยู่ โดยปลาจะดูดซึมแคดเมียมเข้าทางผิวหนังและเหงือก เมื่อเราได้รับแคดเมียมจากปลา แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในไตเป็นหลัก จะเป็นพิษต่อไต และเป็นสาเหตุของโรคอิไต อิไต  นอกจากนี้ แคดเมียม จะเข้าไปรบกวนระบบหมุนเวียนและดูดซึมของวิตามินดี แคลเซียม และคอลลาเจนในร่างกาย ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกน่วม และเป็นพิษต่อกระดูก ทำให้กระดูกกร่อน กระดูกผุ

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างปลาสวายสดที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยงในลักษณะฟาร์มใน จ.สุพรรณบุรี และจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 6 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของ แคดเมียม  ผลปรากฏว่า พบ แคดเมียม ปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ปลาสวายที่ได้จากการเลี้ยงในฟาร์ม  วิธีลดการปนเปื้อนแคดเมียมในปลาที่เลี้ยงในบ่อได้คือ เมื่อจับปลาหมดบ่อแล้ว เกษตรกรควรตากบ่อเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจมีอยู่ในบ่อ และควรขุดดินออกจากบ่อ ก่อนเลี้ยงปลาในรอบต่อไป เพราะการใช้กังหันเพื่อเติมอากาศให้ปลาที่เลี้ยงในรอบต่อไป จะเหมือนเป็นการไปกวนให้แคดเมียมที่อาจปนเปื้อนอยู่ในดินกระจายตัวขึ้นมา และมีโอกาสปนเปื้อนในปลาได้มากขึ้น

หากผู้เลี้ยงปลาปฏิบัติตามวิธีข้างต้นได้อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ ปลอดภัยจากอันตรายของ แคดเมียม อย่างแน่นอน.


  ยาปฏิชีวนะกับปลานิล
ประมง อีกอาชีพที่เกษตรกรบ้านเรานิยมทำรองจากอาชีพทำไร่ ทำสวน และทำนาข้าว  

การเลี้ยงปลาตามวงจร ตั้งแต่ปล่อยลูกปลาลงบ่อจนกระทั่งจับขายได้นั้น หากโชคดี ปลาไม่เป็นโรคตายยกบ่อเสียก่อน อาชีพนี้จะทำรายได้ให้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ และลืมตาอ้าปากได้

ในยุคที่เศรษฐกิจกำลังสั่นคลอนเช่นทุกวันนี้ วิธีหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคในปลาที่เลี้ยงในระบบการผลิตแบบฟาร์ม คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งกลุ่มที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเททระซัยคลิน มีอยู่ 3 ชนิด คือ คลอร์เททระซัยคลิน ออกซี่เททระซัยคลิน  และเททระซัยคลิน

ในการเลี้ยงปลา อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะยาออกซี่เททระซัยคลิน และต้องใช้อย่างถูกต้อง ถูกวิธีเท่านั้น มิฉะนั้นยาอาจจะตกค้างและไปสะสมอยู่ในตัวปลาได้  เมื่อเรากินปลาที่มียาปฏิชีวนะตกค้างเข้าไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นพิษต่อกระดูก ฟัน ตับ ไต และทำให้ภูมิต้านทานร่างกายลดลง

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 303 ปี 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง กำหนดให้มียาออกซี่เททระซัยคลินตกค้างในกล้ามเนื้อปลาได้ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อเนื้อปลา 1 กิโลกรัม ถ้าพบเกินกว่านั้นอาจอยู่ในขั้นที่มีความเสี่ยงและเป็นอันตรายกับร่างกายได้

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างปลานิลจำนวน 30 ตัวอย่างจาก 6 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น เชียงราย นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครปฐม และสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของยา 3 ชนิด คือ คลอร์เททระซัยคลิน ออกซี่เททระซัยคลิน และเททระซัยคลิน  ผลปรากฏว่า ไม่พบยาตกค้างในปลานิลทั้ง 30 ตัวอย่าง อาจเป็นเพราะเกษตรกรไทยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาโรคในการเลี้ยงปลาได้อย่างถูกต้องถูกวิธี ทำให้วันนี้คนไทยได้กินของดีและปลอดภัย ไม่ต้องซื้อต้องหาจากเมืองนอกกันให้ขาดดุล.


  ข้าวขาหมูกับโรคอาหารเป็นพิษ
ในบรรดาอาหารเพิ่มน้ำหนักของคนสมัยนี้ จะต้องมีข้าวมันไก่และข้าวขาหมู เป็นตัวเอก ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้มันไก่มาหุง และใช้ขาหมู ซึ่งเป็นส่วนที่มีไขมันมากที่สุดส่วนหนึ่ง  เป็นอาหารจานเดียวที่หาทานง่าย ราคาย่อมเยา พอที่จะสู้ไหวในราคา 35-40 บาท รสชาติของข้าวขาหมูเกือบทุกร้านจะคล้ายๆกัน อาจแตกต่างกันที่เคล็ดลับที่สรรหามาปรุง ทำให้ข้าวขาหมูมีรสชาติแตกต่างกันบ้าง

ปกติเวลาซื้อมักจะเห็นมีกะละมังสำหรับตุ๋นขาหมูหลายๆ ขา ตั้งไฟอ่อนๆให้ร้อน และเคี่ยวไปเรื่อยๆให้เปื่อยนุ่มลิ้น ตรงนี้คงไม่ต้องระวังอะไรมาก เพราะขาหมูถูกอุ่นให้ร้อนตลอดเวลา ที่น่ากังวลคือ การหยิบจับอาหารของพ่อค้าแม่ค้านี่แหละ บางรายใส่ถุงมือ และผ้ากันเปื้อนอย่างดี แต่บางรายไม่รักษาสุขลักษณะ ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับหมู ผัก ไข่ จาน ชาม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่สัมผัสข้าวขาหมู บางรายวางเครื่องเคียงต่างๆ บนพื้นสกปรก  เหล่านี้นับเป็นต้นตอที่ทำให้ข้าวขาหมูปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ท้องปั่นป่วน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ตะคริวที่ท้อง ชักกระตุก หนาวสั่น อ่อนเพลีย ช็อก และอาจเป็นลมได้

ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาสำหรับอาหารทั่วไป กำหนดให้อาหาร ปรุงสุกพบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม เมื่อดูผลการทดสอบ จากการสุ่มตัวอย่างข้าวขาหมู 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ 5 เขตของกรุงเทพฯ พบว่ามีข้าวขาหมู 3 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และ 2 ใน 3 พบเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด

ถึงตรงนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ต้องสร้างความเข้าใจและให้ความรู้กับผู้ประกอบการในเรื่องสุขลักษณะต่างๆ ของการปรุงอาหาร เพื่อป้องกันความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจเกิดกับผู้บริโภคตาดำๆ อย่างเราๆ...




  สารพิษจากเชื้อรา…ในถั่วลิสง
ถั่วเหลือง ถั่วลิสง พริกแห้ง พริกไทย งา เครื่องเทศ และของแห้งชนิดต่างๆ นับเป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจพบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา โดยเฉพาะถั่วลิสงป่น ตรวจเมื่อไหร่ก็พบมีสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเมื่อนั้น

ความถี่ของการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต แหล่งผลิต และระยะเวลาที่ถั่วลิสงอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ปกติถั่วดิบ ที่มาจากเกษตรกรจะมีความถี่ของการปนเปื้อนไม่สูงมากนัก แต่หากส่งมาถึงโรงกะเทาะแล้วพบว่าความถี่ของการปนเปื้อนจะเพิ่มสูงขึ้น  และยิ่งหากถั่วที่เข้าสู่โรงงานมีความชื้นสูงเกิน 12% และโรงกะเทาะขาดการจัดการที่ดี ก็จะยิ่งทำให้ความถี่ของการปนเปื้อนเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

อะฟลาท็อกซินเป็นสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อราหลายชนิด แต่ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ Aspergillus flavus และ A. parasiticus สารพิษชนิดนี้มีความคงตัวสูงมาก ต้องใช้ความร้อนสูงถึง 260 องศาเซลเซียส จึงจะสลายตัว การต้มให้เดือดอาจช่วยฆ่าเชื้อราที่ผลิตสารพิษชนิดนี้ได้  แต่สารอะฟลาท็อกซินที่ปนเปื้อนและสะสมอยู่ในอาหารแล้วนั้น ยังคงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค คือ เมื่อร่างกายได้รับสารพิษนี้เข้าไปจำนวนมาก หรือแม้เป็นจำนวนน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ ก็เกิดการสะสมจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวม  ยิ่งหากเป็นอะฟลาท็อกซินชนิดบี 1 ยิ่งมีอันตรายร้ายแรง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างถั่วลิสงและถั่วลิสงป่น ตามร้านค้าย่านต่างๆในกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินอีกครั้ง

ผลวิเคราะห์พบว่ามีถั่วลิสง 4 ใน 5 ตัวอย่าง พบสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อน และพบ 1 ตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานของไทยคือ เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทางออกสำหรับวันนี้ ต้องช่วยกันทั้งระบบตั้งแต่ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตถั่วลิสงตามระบบ GAP ส่วนโรงงานกะเทาะ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิต หรือ GMP ที่สำคัญ ภาครัฐต้องให้ความรู้และส่งเสริมให้ผู้ผลิตระดับครัวเรือนและท้องถิ่น ให้มีการใช้ระบบควบคุมคุณภาพการแปรรูปถั่วลิสง และปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP

ส่วนผู้บริโภคควรเลี่ยงการทานถั่วลิสงและถั่วลิสงป่นที่มีสีเหลืองคล้ำหรือมีสีดำ มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นอับ หากทำได้ทั้งหมดที่ว่านี้ ผู้บริโภคอย่างเราๆได้ทานถั่วลิสงอย่างปลอดภัยแน่นอน


  เชื้อก่อโรคในแกงไตปลา
แกงไตปลา อาหารขึ้นชื่อภาคใต้ มีรสชาติเผ็ดร้อนแบบชาวใต้ มีส่วนผสมที่ลงตัว ประกอบด้วยไตปลา ปลาทูย่าง ปลากรอบ มะเขือ ถั่วฝักยาว หน่อไม้ลวกต้ม ฟักทอง ใบมะกรูด และเครื่องปรุงรส

หากในขณะเตรียมวัตถุดิบและขณะปรุงมีการรักษาสุขลักษณะไม่ดีเพียงพอ อาจทำให้มีเชื้อก่อโรคปนเปื้อนได้ อาทิ เชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมตามเขตน้ำกร่อย บริเวณปากแม่น้ำที่ติดทะเล เชื้อชนิดนี้จะสร้างสารพิษที่เรียกว่า Cholera toxin เป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค โดยธรรมชาติเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้ดีและสร้างสารพิษเฉพาะในลำไส้ของคน โดยทั่วไปจะพบเชื้อในน้ำจืดและอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น การติดเชื้อมีสาเหตุจากการทานอาหารดิบ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อและผ่านการให้ความร้อนไม่เพียงพอ หรืออาหารที่ปรุงสุกแล้ว และมีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้เข้าไปอีกครั้ง อย่างเช่น แกงไตปลา

เชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา จะทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำทันที โดยไม่มีอาการปวดท้อง ลักษณะเฉพาะของอุจจาระของผู้ได้รับเชื้อจากการทานอาหาร คือ อุจจาระมีสีขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว ซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อ ก่อให้เกิดการระบาดคือ ผู้ติดเชื้อเท่านั้น บางครั้งอาเจียน ในผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้อาหารปรุงสุกทั่วไปต้องไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อวิบริโอ คลอเรลลา ในอาหาร 25 กรัม

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างแกงไตปลาปรุงสุกที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในเขตกรุงเทพฯ ตามร้านขายอาหารปรุงสำเร็จหรือแกงถุง จำนวน 3 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อวิบริโอ คลอเรลลา ผลปรากฏว่า วันนี้แกงไตปลายังปลอดภัย  เพราะไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง


  อะฟลาท็อกซินในกระเทียมและหอมแดง
กระเทียมและหอมแดงนับเป็นเครื่องเทศประจำครัวของคนไทยเรามาช้านาน กระเทียมเป็นเครื่องเทศมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน ใช้เป็นทั้งเครื่องเทศปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารประเภทต้ม แกง ผัด และใช้เป็นกระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารหลายชนิด ในกระเทียมมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการฆ่าและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด

กระเทียมช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ช่วยลดคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก และขับลมในกระเพาะ ลำไส้

ส่วนหอมแดง คนไทยนิยมใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องแกงเผ็ด น้ำพริกชนิดต่างๆ ไข่เจียวหมูสับ ซุปหางวัว หรือฝานเป็นแว่นบางๆ ทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยงคำ ปลาเค็มทอด ข้าวซอย หอมแดงมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อย และเจริญอาหาร แก้อาการอักเสบต่างๆ ใช้ลดไข้ รักษาแผล และช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

ทว่า ทั้งกระเทียมและหอมแดง หากเก็บไว้นานเกินไป อาจทำให้มีเชื้อราที่เห็นเป็นจุดดำๆปนเปื้อนได้ โดยเฉพาะเชื้อรากลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ที่สร้างสารพิษอะฟลาท็อกซิน อันตรายของสารพิษชนิดนี้ คือ หากได้รับเข้าสู่ร่างกายปริมาณมาก หรือปริมาณน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ จะเกิดการสะสมจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจ และสมองบวม  นอกจากนั้น สารพิษอะฟลาท็อกซินชนิด B1 ยังเป็นสารพิษร้ายแรงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในตับได้ วันนี้สถาบันอาหารจึงสุ่มตัวอย่างกระเทียมสดและหอมแดงสดจากย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินชนิด B1, B2, G1, G2

ผลปรากฏว่าทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนเลย แต่ควรเลือกซื้อกระเทียมและหอมแดงที่สดใหม่ ไม่มีจุดดำๆให้เห็น ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่ชื้นและเก็บไว้นานเกินไป เพื่อความปลอดภัย.


  เชื้อ อี.โคไล ในขนมหวานไทยๆ
ขนมหวานของไทยล้วนมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ มีกรรมวิธีการทำที่พิถีพิถัน ประณีตบรรจง ทำให้ไทยมีขนมหวานรสชาติอร่อย หอมหวาน สีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ชวนทาน

กรรมวิธีการทำขนมไทย หากแบ่งตามการทำให้สุก  มีทั้งขนมที่ทำให้สุกด้วยการ กวนและเชื่อม เช่น ตะโก้ ขนมเปียกปูน กล้วยเชื่อม ทองหยอด ฝอยทอง ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง (ใช้ลังถึง) เช่น ข้าวต้มมัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้

ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ ต้ม ต้มกับกะทิ และขนมที่ทานกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซาหริ่ม ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ นึ่งหรืออบ เช่น ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ ทอด เช่น ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด เป็นต้น

การทานขนมไทยข้างต้นล้วนทานหลังการทำให้สุกด้วยความร้อน ฉะนั้น หากวัตถุดิบ เช่น แป้ง น้ำตาล กะทิ ไข่ ที่เลือกใช้ไม่ได้คุณภาพ ไม่สะอาด และในขณะปรุงหรือผลิต ผู้ปรุงไม่รักษาสุขลักษณะที่ดีเพียงพอ หรือใช้มือสัมผัส หรือภาชนะ อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาด อาจทำให้ขนมไทยนั้น ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคชนิดต่างๆได้

เชื้อ อี.โคไล มักพบปนเปื้อนทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หากใช้มือสัมผัสหรืออุปกรณ์ไม่สะอาด เชื้ออาจติดไปกับภาชนะบรรจุ การพบเชื้อนี้ในอาหารยังเป็นการบ่งบอกว่าอาหารนั้นผ่านการปรุง หรือเก็บรักษาไม่ถูกสุขลักษณะด้วย  หากเราทานขนมหวานที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไปจะทำให้มีอาการท้องเสีย และอุจจาระเหลว

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขนมหวานไทยๆจำนวน  5 ตัวอย่าง จากย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไล  ผลปรากฏว่าขนมหวานไทยทุกตัวอย่างไม่พบว่ามีเชื้อปนเปื้อนเลย.


  มันมากับ…กาแฟ ลดความอ้วน
ผู้หญิง กับความสวยงามเป็นของคู่กัน จะด้วยหน้าตาที่สวยงาม หรือรูปร่างที่สมส่วนต่างเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ หากมีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นไม่ครบก็ต้องดิ้นรนหาทางเพิ่มเติมในส่วนที่สึกหรอ หรือไม่สมบูรณ์ หรือไม่พึงพอใจ

แล้วแต่ว่าใครจะเลือกวิธีทาน หรือวิธีฉีด ก็จะเลือกตามความพึงพอใจ และจำนวนเงินในกระเป๋า

จากการสอบถามคนใกล้ๆ ตัว มักให้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่านิยมวิธีทาน เนื่องจากราคาไม่แพง และหากเริ่มมีอาการผิดปกติ ก็เลือกที่จะไม่ทานต่อได้ ที่เห็นเป็นที่นิยมทานกันจนเกร่อขณะนี้คงหนีไม่พ้น กาแฟลดความอ้วนหลากหลายยี่ห้อ ทั้งผลิตในไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีคุณสมบัติสามารถลดน้ำหนักได้ในระยะเวลาสั้นๆ คือ ดื่มแล้วไม่อยากอาหาร

ทุกวันนี้ ดื่มกันจนนิยมไปทั่วประเทศและลามถึงขั้นส่งไปต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป อีกด้วย  แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ กาแฟลดความอ้วนที่ว่านี้ สหภาพยุโรปตรวจพบสารไซบูทรามีน (Sibutramine) ซึ่งเป็นสารต้องห้ามในกาแฟลดความอ้วนที่ส่งไปจากไทยทางพัสดุไปรษณีย์ถึง 9 ครั้ง (ก.ย.— ธ.ค.2555)

ในช่วง 4 เดือน ตรวจพบสารต้องห้ามทั้งหมด 9 ครั้ง เกิดอะไรขึ้น ผู้ผลิตไม่รู้ถึงอันตราย หรือจงใจผสมเข้าไปเพื่อหวังผลในการโฆษณาชวนเชื่อ

ถ้ายังไม่รู้บอกตรงนี้เลยว่า สารไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารควบคุมพิเศษที่ห้ามซื้อขายในร้านขายยาโดยไม่มีใบสั่งของแพทย์  อีกทั้งเป็นสารต้องห้ามทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก รวมถึงประเทศไทย เพราะจัดว่าเป็นสารอันตรายต่อผู้บริโภค  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

วันนี้ ขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผู้ขายง่ายๆ ว่ากาแฟจะช่วยลดความอ้วนได้ เพราะส่วนใหญ่ล้วนใส่สารลดความอ้วน ไซบูทรามีน (Sibutramine) ที่มีผลข้างเคียงสูง เช่น ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากแต่มีผลให้ต้องหยุดบริโภค และอาจมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร

ทางที่ดีหากต้องการลดน้ำหนัก ควรควบคุมการทานอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย ร่างกายแข็งแรง และสวยสมส่วน.


  ข้าวปุ้นกับเชื้อก่อโรค ซาลโมเนลลา
ขนมจีน อาหารที่ชาวเหนือเรียกว่าขนมเส้นหรือข้าวเส้น และชาวอีสานของไทยเรียกว่าข้าวปุ้น เดิมเป็นอาหารของชาวมอญ แล้วแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่นๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบันเป็นอาหารมีความนิยมสูง และหาทานได้ทั่วไปในประเทศไทย

พ่อค้า แม่ค้าส่วนใหญ่มักใช้มือหยิบจับเส้นขนมจีนในขณะขายให้ลูกค้า รวมทั้งน้ำยา และแกงชนิดต่างๆ ที่ทานกับขนมจีนนั้นส่วนใหญ่ทำจากเนื้อปลาและเนื้อไก่ หากผู้ขายไม่รักษาความสะอาดของมือ ภาชนะที่ใช้ และไม่รักษาสุขลักษณะบริเวณภายในร้านให้ดีเพียงพอ รวมทั้งไม่อุ่นน้ำยาและน้ำแกงให้ร้อนก่อนเสิร์ฟให้แก่ลูกค้าแล้ว

ขนมจีนนั้นก็อาจมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้รับเชิญ คือ เชื้อก่อโรคซาล โมเนลลาปนเปื้อนได้   ซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่ปกติพบในของเสียจากการขับถ่ายของคน และสัตว์ ซึ่งสามารถแพร่ไปได้ง่ายกับน้ำ อาหาร และสิ่งแวดล้อม  อาหารที่มักพบเชื้อซาลโมเนลลาปนเปื้อนคือ อาหารที่ทำจากเนื้อไก่ เป็ด ไข่ นม ปลา และอาหารทะเล เมื่อเราทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไปจะทำให้เกิดโรคซาลโมเนลโลซิส โรคนี้จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง มีไข้ และอ่อนเพลีย

หากเกิดในผู้สูงอายุ จะมีอาการหนักกว่าคนในวัยอื่นที่ได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าไปในร่างกาย อาการจะเกิดขึ้นหลังจากบริโภคอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนแล้วประมาณ 6-24 ชั่วโมง  ในอาหารปรุงสำเร็จและพร้อมทานนั้น ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารฯ ที่กำหนดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้ต้องตรวจไม่พบเชื้อซาลโมเนลลาปนเปื้อนเลย ในอาหาร 25 กรัม

วันนี้สถาบันอาหารจึงได้สุ่มตัวอย่างขนมจีนราดน้ำยาและแกงเขียวหวานไก่ จากร้านอาหารและร้านค้าริมบาทวิถีจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค ซาลโมเนลลา  ผลปรากฏว่าทั้ง 5 ตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนเลย แม้วันนี้จะไม่พบเชื้อปนเปื้อนในขนมจีน แต่ขอแนะว่าควรทานหลังจากอุ่นน้ำยา น้ำพริกให้ร้อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย.


   มันอยู่ใน…แซนด์วิชทูน่า
แซนด์วิช เป็นอาหารด่วนที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับอิทธิพลมาจากการค้าขายระหว่างประเทศในสมัยนั้น แล้วได้รับความนิยมมาจนกระทั่งทุกวันนี้

แซนด์วิชในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิดและหลากรสชาติ แบบฝรั่งแท้ และไทยแท้ ฝรั่งแท้ จะเป็นพวกแฮมชีส สลัดทูน่า แต่อาจไม่ถูกปากคนไทยมากนัก

พ่อค้าแม่ค้าจึงนำมาดัดแปลงรสชาติให้ใกล้เคียงกับอาหารไทย เช่น รสน้ำพริกเผาหมูหยอง และอื่นๆ ตามแต่จะคิดค้น แซนด์วิชนั้นซื้อที่ไหนก็อร่อยเหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันที่ความสะอาดของคนปรุง เพราะทุกขั้นตอนของการทำแซนด์วิชจะต้องสัมผัสมือของคนปรุงทั้งสิ้น หากผู้ปรุงไม่รักษาสุขลักษณะ หรือภาชนะที่สัมผัสกับส่วนผสมแซนด์วิชไม่สะอาดเพียงพอ หรือแซนด์วิชที่ปรุงเสร็จแล้วถูกเก็บรักษาอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้มีเชื้อก่อโรค เช่น สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนได้

เชื้อตัวนี้ปกติถูกทำลายได้ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มันผลิตสารพิษที่เรียกว่า enterotoxins ขึ้นมา นั่นแปลว่าอันตราย เพราะมันสามารถทนความร้อนได้เกินกว่า 300 องศาเซลเซียส และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องเดิน ปวดท้อง ตะคริวที่ท้อง ชักกระตุก หนาวสั่น อ่อนเพลีย ช็อกและอาจเป็นลมได้ แทนที่จะได้ทานแซนด์วิชอย่างมีความสุข อาจกลายเป็นต้องไปลิ้มรสน้ำเกลือในโรงพยาบาลก็เป็นได้

วันนี้ มันมากับอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างแซนด์วิชทูน่า 5 ตัวอย่าง จากร้านค้าริมบาทวิถีในย่านต่างๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อนำมาหาการปนเปื้อนของเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นเรื่องที่น่ายินดีของคนไทยที่ครั้งนี้ไม่พบเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนในแซนด์วิชทูน่าเลย ผู้ผลิตในวันนี้ให้ความสำคัญต่อสุขลักษณะและความสะอาดในระหว่างปรุง เพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการทานอาหารมากยิ่งขึ้น


nx 4 -1 feb.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤษภาคม 2558 13:54:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2558 19:40:04 »

.

  ชะอมยอดอ่อน...กับเชื้อ ซาลโมเนลลา
ชะอม ผักพื้นบ้านที่แตกยอดตลอดทั้งปี เป็นพืชกลิ่นฉุนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางคนได้กลิ่นถึงกับเบนหน้าหนี แต่บางคนเมื่อได้กลิ่นชะอมเวลาปรุงอาหารแล้วท้องร้องเพราะนึกถึงรสชาติของอาหารที่นำชะอมมาประกอบ เช่น ชะอมชุบไข่ทอด ชะอมลวกที่ทานเป็นเครื่องเคียงของน้ำพริก และแกงส้มไข่ชะอม

ชะอมเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศและโรคแมลง จึงไม่ค่อยพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงมากนัก แต่อันตรายที่อาจพบคือเชื้อก่อโรค ได้แก่ซาลโมเนลลา

เชื้อชนิดนี้มีหลายสปีชีและหลายกลุ่ม ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อซาลโมเนลลา จะมีอาการป่วยที่แตกต่างกันตั้งแต่ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นนํ้าสีเขียว หรือถ่ายมีมูกหรือมีเลือดปน ปวดท้อง มีลักษณะปวดเกร็งที่หน้าท้อง ปวดเบ่ง ส่วนใหญ่มีไข้หรือมีไข้เรื้อรัง อาจมีอาการติดเชื้อนอกระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย

เชื้อซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ดิน อากาศ รวมทั้งพบในทางเดินอาหารและอุจจาระของสัตว์ คน และนก

เมื่อเรานำชะอมที่ปนเปื้อนซาลโมเนลลามาประกอบอาหาร โดยไม่ผ่านการทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และนำมาปรุงให้สุกก่อนทาน อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคอาหารเป็นพิษได้ เพื่อเป็นการให้ความรู้และวิธีการป้องกันแก่ผู้บริโภค

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างชะอมยอดอ่อนๆ จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา

ผลปรากฏว่าจาก 5 ตัวอย่าง พบเชื้อซาลโมเนลลา ปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง ซึ่งตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาฯ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดให้ผัก ผลไม้สด ต้องตรวจไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา ในอาหาร 25 กรัม

วิธีป้องกันง่ายๆ คือ นำชะอมสดมาปรุงให้สุก เพื่อทำลายเชื้อก่อโรคที่อาจปนเปื้อนในชะอมก่อนทาน อีกทั้งผู้ปรุงควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบ จับ และปรุงอาหาร เพื่อความปลอดภัยและสบายท้อง.



  มีอะไรอยู่ใน….น้ำดื่มบรรจุขวด!
น้ำ สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ เราต้องบริโภคน้ำสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดีของเรา แต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำสะอาดเท่านั้นที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและปราศจากโรค

วันนี้ ผู้ผลิตน้ำดื่มต่างระดมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่รักษาสุขภาพ

จึงไม่น่าแปลกใจที่น้ำดื่มในบ้านเรามีหลายเกรด หลายราคา ถ้าเป็นน้ำดื่มพรีเมียมจะมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม บนฉลากจะบรรยายถึงแหล่งที่มาของน้ำ และคุณประโยชน์ของน้ำอย่างละเอียด ส่วนน้ำดื่มคุณภาพรองๆ ลงมาจะมีการระบุสถานที่ผลิต และระบบคุณภาพต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต

ทว่าในน้ำดื่มที่เราเห็นใสๆ นั้นอาจมีความบริสุทธิ์และคุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งคุณภาพน้ำดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ คุณภาพน้ำด้านกายภาพ ได้แก่ ความขุ่น สี รส กลิ่น และค่าความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งหากมีความผิดปกติก็ไม่ควรดื่ม

คุณภาพน้ำด้านเคมี ได้แก่ ปริมาณสารทั้งหมด ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า, ความกระด้าง, ปริมาณแร่ธาตุ, ปริมาณโลหะหนัก เป็นต้น

ส่วนคุณภาพน้ำด้านชีวภาพ จะพิจารณาที่การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรค โคลิฟอร์ม และ อี.โคไล

การดื่มน้ำที่ไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หากเราดื่มน้ำที่มีความกระด้างถาวรมากๆ จะส่งผลให้เกิดโรคนิ่ว หรือหากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดโรคฟันเปราะหรือหักง่าย

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกขาวขุ่น จำนวน 5 ตัวอย่าง (5 ยี่ห้อ) จากย่านการค้า 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร

เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารทั้งหมด (Total Solid) ที่จะเป็นตัวบ่งบอกปริมาณสารต่างๆ โดยรวมที่มีอยู่ในน้ำ ทำให้ทราบว่าน้ำนั้นบริสุทธิ์ หรือมีสารต่างๆ ปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด

ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ปริมาณสารทั้งหมดที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดทั้ง 5 ยี่ห้อ มีปริมาณไม่มาก และยังอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่กำหนดให้มีปริมาณสารทั้งหมดในน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร

วันนี้ น้ำดื่มบรรจุขวดของไทยจึงยังปลอดภัยอยู่.



  ระวังเชื้อซาลโมเนลลาในมะม่วงสุกปอกเปลือก
ผลไม้หน้าร้อนที่ขาดเสียไม่ได้ คือแตงโม แคนตาลูป แตงไทย มะพร้าว ส้ม ผลไม้เหล่านี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะมาก สามารถทดแทนน้ำในร่างกายที่หายไปพร้อมกับเหงื่อได้

มะม่วงสุก ผลไม้ฤดูร้อนที่มีรสหวาน กลิ่นหอม และมีสีเหลืองอร่ามน่าทาน นับเป็นผลไม้ที่มากด้วยวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และธาตุเหล็ก

นอกจากนี้ ยังมีใยอาหารที่ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายเป็นปกติ วิธีการทานมะม่วงสุกให้ปลอดภัย คือซื้อมะม่วงสดนำมาปอกเปลือกทานเองที่บ้าน ไม่ควรซื้อที่แม่ค้าปอกทิ้งไว้ เพราะนั่นอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ที่มีสาเหตุจากเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในมะม่วงสุก

เชื้อที่มักพบปนเปื้อนได้แก่ เชื้อซาลโมเนลลา ที่ปกติจะปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน และเป็นไปได้ที่มะม่วงอาจปนเปื้อนเชื้อ ซาลโมเนลลา มาจากสวน จากน้ำที่รดและสัมผัสพื้นดินที่สกปรกในขณะเก็บ

หากแม่ค้าที่ขายมะม่วง ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอ ไม่รักษาความสะอาดของมีดและภาชนะที่ใช้สัมผัสกับมะม่วง เมื่อมะม่วงสุกสัมผัสกับมือของคนขายโดยที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดมะม่วงก่อน  คือใช้มีดปอกเปลือกทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ล้างน้ำแล้วขายให้ลูกค้าอย่างเราๆ ทานเลย ก็จะทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้าไปเต็มๆ

วิธีป้องกันง่ายๆ คือ ควรล้างทำความสะอาดมะม่วงและผลไม้สดทุกชนิดก่อนปอกเปลือกและทานจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายรับเชื้อที่ไม่พึงประสงค์ได้



  สารพิษตกค้างในพริกป่น
ขึ้นชื่อว่าอาหารไทยต้องมีรสเผ็ดนำ และมีรสชาติอื่นตามหลังแล้วแต่ชนิดของอาหาร นับเป็นรสชาติที่กลมกล่อมถูกปากคนไทย และลามไปถึงชาวต่างชาติที่หลงใหลในรสชาติอาหารไทย

ทุกเมนูอาหารคาวของไทยที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ พริก จะพริกสด พริกป่น หรือพริกแห้งแล้วแต่สูตรอาหาร พริก จึงมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการ

แต่สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของฤดู รวมถึงแมลงศัตรูพืชก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกต้องพึ่งพาสารเคมีเพื่อช่วยลดอัตราการสูญเสียผลผลิต

สารเคมีที่เกษตรกรนำมาใช้นั้นคือ สารกำจัดแมลงศัตรูพืชหรือที่เรียกติดปากว่า ยาฆ่าแมลง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ออร์กาโนคลอรีน คาร์บาเมตและไพรีทรอยด์ ถ้าเป็นพริกสด เมื่อซื้อมาจากตลาด เราสามารถล้างทำความสะอาดได้อย่างที่ต้องการก่อนนำมาทาน

ซึ่งอาจจะช่วยทำให้สารพิษที่อาจตกค้างในพริกนั้นลดน้อยลงได้ แต่ถ้าเป็นพริกแห้ง พริกป่น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามียาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่หรือไม่

วันนี้คอลัมน์ มัน!มากับอาหาร จึงขอนำเสนอเรื่องราวของยาฆ่าแมลงในพริกป่นอีกครั้ง เพื่อให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวัง และเลือกบริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัย

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างพริกป่นจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษตกค้าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทรอยด์ รวม 38 ชนิด ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบการตกค้างของยาฆ่าแมลง แต่ปริมาณที่พบยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขไทยกำหนดไว้ ถึงตรงนี้คงต้องระวัง หากกินพริกป่นทุกมื้อ ทุกวัน อาจเกิดการสะสมของสารพิษดังกล่าวในร่างกาย และอาจทำให้มีอาการมึนศีรษะ ปวดศีรษะ ซึม กระสับกระส่าย อาจชักและหมดสติได้

เมื่อคนไทยยังนิยมทานอาหารเผ็ด การป้องกันและการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องช่วยกันดำเนินการ.



  สีผสมอาหารในกุ้งแห้ง
กุ้งแห้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกุ้งไปต้มในน้ำเกลือให้สุก แล้วนำไปตากแห้ง จะได้กุ้งแห้งที่มีสีออกส้มๆ น่าทาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ส้มตำ ยำ น้ำปลาหวาน แกงจืด หรือนำมาทานเล่นก็ได้ ก็อร่อยไปอีกแบบ

คุณแม่บ้านพอเห็นกุ้งแห้งสีแดงๆ ตัวอวบๆ ดูน่าทาน คงจะรีบซื้อกลับไปไว้ที่บ้านทันที แต่หารู้ไม่ว่าสีแดงๆดูน่าทานนั้น อาจเป็นกุ้งแห้งใส่สี

นิยมใส่สีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ให้สีแดง ที่มีชื่อว่าปองโซ 4 อาร์ หรือคาร์โมอีซีน หากบริโภคในปริมาณที่มาก หรือบ่อยครั้งจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

เพราะในสีผสมอาหารมีส่วนผสมของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย

หากได้รับเข้าสู่ร่างกายบ่อยๆ มันจะสะสมอยู่ในร่างกายทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น จะเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขัดขวางการดูดซึมอาหาร ทำให้ท้องเดิน อ่อนเพลีย อาจมีอาการของตับและไตอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง รมควัน หรือทำให้แห้ง เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง หอยแห้ง ฯลฯ ห้ามใส่สีทุกชนิด

สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งแห้ง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ให้สีแดง ผลปรากฏว่าพบ 1 ตัวอย่าง ที่ใส่สีผสมอาหารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่น้อยเลย ทางที่ดีควรเลือกซื้อกุ้งแห้งที่มีสีตามธรรมชาติ ไม่มีสีฉูดฉาดจนเกินไป เพื่อความปลอดภัย.



  สารพิษจากเชื้อราในน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ
สะเต๊ะ เป็นอาหารพื้นเมืองของคนมุสลิมอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่จะกินเป็นเนื้อและไก่สะเต๊ะ กินคู่กับอาจาดที่มีรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ แก้อาการเลี่ยนจากความมันของเนื้อสัตว์

หมูสเต๊ะจึงหาทานได้ง่าย มีขายทั่วไป ทำเป็นไม้เล็กๆ กินเป็นคำๆ คู่กับอาจาด และน้ำจิ้มถั่วลิสง ที่นำถั่วลิสงมาป่นผสมกับเครื่องเทศให้ได้กลิ่นหอมและรสชาติที่ต้องการ กินคู่กันทั้งสามอย่างผสมกันในปาก อร่อยจนบอกไม่ถูก  อร่อยปาก แต่ลำบากท้อง เป็นวลีฮิตหากทานอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน เช่น อะฟลาท็อกซิน ที่มักปนเปื้อนมากับถั่วลิสง อาหารแห้ง เช่น ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง และพริกป่น

อะฟลาท็อกซิน คือ สารพิษชนิดหนึ่งที่เชื้อราผลิตขึ้น ต้นตอของสารพิษชนิดนี้ ได้แก่ เชื้อรากลุ่มแอสเปอร์จิลลัส ที่มีสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน อนุมานว่า ถ้าเห็นเชื้อราลักษณะนี้ในพืชผลทางการเกษตร และอาหารละก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากได้รับสารพิษชนิดนี้ในปริมาณมากจะทำให้เกิดพิษแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะในเด็กที่มีภูมิต้านทานน้อยอาจทำให้มีอาการชักและหมดสติ

ส่วนผู้ใหญ่หากได้รับสารพิษชนิดนี้ในปริมาณมาก หรือปริมาณน้อยแต่เป็นประจำอาจเกิดอาการชักหายใจลำบาก ตับถูกทำลาย และสมองบวม ที่สำคัญเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

เพื่อประโยชน์สำหรับผู้บริโภค สถาบันอาหารสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะที่มีส่วนผสมของถั่วลิสงป่น จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซิน พบว่าทุกตัวอย่างมีสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อน แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐานของไทย ที่กำหนดให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ฉะนั้น ควรเลือกซื้อหมูสะเต๊ะเจ้าที่เรามั่นใจว่าใช้วัตถุดิบในการทำน้ำจิ้มที่สะอาด ใช้ของสดใหม่วันต่อวัน โดยเฉพาะถั่วลิสงหากคั่วและบดเองก็ยิ่งดี เพื่อความปลอดภัยในการทานหมูสะเต๊ะ



  มันอยู่ใน...เต้าเจี้ยว
เต้าเจี้ยว เป็นอาหารหมักชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง มีโปรตีนสูงและมีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์

ในไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ เช่น ทำเป็นเครื่องจิ้ม หลน หรือนำมาปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น แป๊ะซะ ผัดราดหน้า และผัดผักชนิดต่างๆ นอกจากจะได้อาหารรสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย สมัยก่อน วิธีการทำเต้าเจี้ยวนั้นจะนำถั่วเหลืองเมล็ดแห้งที่แช่น้ำไว้มาหมักกับเกลือ หมักจนเชื้อราเจริญเต็มที่แล้วย้ายไปหมักในน้ำเกลือในภาชนะเปิดปล่อยทิ้งไว้จนได้ที่ เม็ดนิ่มจึงนำมาทาน

เห็นได้ว่ากว่าจะได้เต้าเจี้ยวสักจาน ต้องใช้เวลาในการหมักนานมาก ที่สำคัญยังควบคุมคุณภาพ ความสะอาด และอันตรายจากเชื้อก่อโรคปนเปื้อนได้ยาก  ปัจจุบัน มีการพัฒนากรรมวิธีการผลิต โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้คือ นำเชื้อบริสุทธิ์มาใช้เป็นหัวเชื้อในการหมักและหมักในภาชนะปิด ซึ่งช่วยให้ได้เต้าเจี้ยวที่มีคุณภาพสูง ถูกสุขลักษณะ สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น

เชื้อโรคที่มักพบในกระบวนการผลิตเต้าเจี้ยวที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ เชื้อบาซิลลัส ซีเรียส และหากเชื้อชนิดนี้ผลิตสารพิษจะส่งผลให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากเชื้อชนิดนี้เข้าไป จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว จนร่างกายขาดน้ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติได้  สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเต้าเจี้ยวจำนวน 5 ตัวอย่างจาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าว  ปรากฏว่ามี 2 ตัวอย่าง ที่พบเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน และมี 1 ตัวอย่าง ที่พบปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือกำหนดให้อาหารปรุงสุกทั่วไปพบเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม

วันนี้ ผู้บริโภคอย่างเราๆ ต้องระวังให้มาก เพื่อความปลอดภัย ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องทำให้สุกก่อนทานทุกครั้ง.



  อะฟลาท็อกซินในเครื่องพะโล้
กับข้าวยืนพื้น เช่น แกงส้ม แกงเขียวหวาน ผัดเผ็ด และที่ขาดไม่ได้สำหรับร้านข้าวแกง คือ ไข่พะโล้

พะโล้ จะมีกลิ่นเครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหอมฉุนที่ได้มาจากเครื่องเทศที่นิยมใส่เพื่อดับคาวจากเนื้อสัตว์ เครื่องเทศบางชนิดก็มีสรรพคุณเป็นยา

ส่วนใหญ่จะป่นรวมกันเพื่อให้เข้าถึงเนื้อสัตว์และได้รสชาติพะโล้ที่แท้จริง เครื่องเทศที่ใช้ป่นเป็นผงพะโล้มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ โป๊ยกั้ก, อบเชย, พริกไทยดำ, กานพลู, ยี่หร่า โดยทั่วไปจะมีผงพะโล้ป่นสำเร็จเป็นซองจำหน่าย มีอยู่หลายยี่ห้อด้วยกัน ก่อนจะนำมาป่นจะต้องตากให้แห้งสนิท เพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้นานๆ ในขณะตากแห้งหากรักษาความสะอาดไม่ดี ตากไม่แห้งสนิท หรือในขณะที่เก็บไว้เพื่อรอการบรรจุใส่ซองนั้นเก็บไว้ในสถานที่ที่มีความอับชื้น และสุขลักษณะไม่ดี

อาจทำให้เชื้อรากลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส และแอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส ปนเปื้อนในเครื่องพะโล้ได้ เชื้อราทั้ง 2 ชนิด จะผลิตสารพิษ อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin)

ซึ่งเป็นสารพิษชนิดที่องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากคนได้รับเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องหรือบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ ที่สำคัญ ความร้อนที่ใช้ในการหุง ต้ม นึ่ง ในระดับที่ทำให้อาหารสุกและเดือดนั้นไม่สามารถทำลายพิษของอะฟลาท็อกซินให้หมดไปได้

เพื่อเป็นการป้องกันและให้ความรู้กับผู้บริโภค สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเครื่องเทศพะโล้ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซิน 4 ชนิด คือ บี 1, บี 2, จี 1, จี 2 และปริมาณอะฟลาท็อกซินทั้งหมด พบว่าทุกตัวอย่างไม่มีการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินเลย.



  เชื้อก่อโรคในน้ำปลาร้า
ปลาร้าเป็นอาหารหลักของคนอีสาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของคนอีสานก็ว่าได้ เนื่องจากปลาร้าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในสำรับกับข้าวของคนอีสาน

ปลาร้าเกิดจากการถนอมอาหาร โดยนำปลาที่เหลือจากรับประทานทั้งตัวไปหมักด้วยเกลือ และข้าวคั่ว หรือบางท้องถิ่นอาจหมักด้วยรำ ทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน จะได้ปลาร้าที่มีรสชาติกลมกล่อม ถูกปากเป็นอย่างยิ่ง

ปลาร้าถูกนำมาเป็นส่วนประกอบอาหารหลายอย่างหลายชนิด นอกจากส้มตำแล้วยังมีแกงอ่อม แกงเห็ด เป็นต้น บางคนนำปลาร้าออกจากถุง บีบมะนาว ซอยหัวหอม และพริกขี้หนู แล้วรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ แค่นี้ก็เป็นอาหารที่วิเศษที่สุดแล้ว กินกันจนเพลินกับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ก็อย่าลืมระลึกถึงความสะอาดไว้ด้วย

ปลาร้าเป็นการถนอมอาหารโดยนำปลาสดๆ มาหมัก หากล้างและทำความสะอาดปลาไม่ดีพอ หรือเก็บรักษาในภาชนะที่ไม่สะอาดและเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือผู้ผลิตไม่รักษาสุขอนามัยขณะหยิบจับและสัมผัสตัวปลา และส่วนผสมต่างๆ ที่สำคัญไม่ทำให้สุกก่อนนำมากิน

เชื้อที่มักพบในปลาร้าคือ บาซิลลัส ซีเรียส เป็นเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ อาการทั่วไปของคนที่กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้คือ คลื่นไส้และอาเจียน หลังจากที่กินอาหารเข้าไปประมาณ 5 ชั่วโมง และจะเป็นไม่เกิน 1 วัน หรืออาจมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริวที่ท้อง และถ่ายอุจจาระเหลว ถ้าไม่หายควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทานยาฆ่าเชื้อเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ปัจจุบันวิวัฒนาการของการผลิตอาหารดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งผู้ผลิตก็ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้มีการควบคุมความสะอาดตลอดขั้นตอนการผลิตปลาร้า

ส่งผลให้วันนี้ผลการสุ่มตัวอย่างปลาร้า เพื่อวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อบาซิลลัส ซีเรียสของสถาบันอาหาร พบการปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าวเพียง 1 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 5 ตัวอย่าง

ซึ่งปริมาณที่พบก็ยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดให้พบได้ไม่เกิน 1,000 ซีเอฟยู/กรัม ใครที่เคยบอกว่าปลาร้ามีการผลิตที่ไม่สะอาด วันนี้ต้องปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะความปลอดภัยของผู้บริโภคยังมีอยู่ในสำนึกของผู้ผลิตเสมอ



  สารบอแรกซ์ในปลาหมึกกรอบ
ก๋วยเตี๋ยวเกิดขึ้นสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่รณรงค์ให้คนไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยว เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของชาติ จนกลายเป็นอาหารหลักของคนไทยรองจากข้าว

ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่สามารถปรุงรสชาติความอร่อยได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับเครื่องเคราที่ครบครัน เรียกได้ว่าใน 1 ชาม มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวไก่ เนื้อ หมู รวมถึงผักชนิดต่างๆ

จนกระทั่งปัจจุบันมีการผสมเลือดเข้าไปในน้ำซุป เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก แต่ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีการนำเต้าหู้ยี้ที่มีสีแดงมาผสม จะตั้งชื่อว่า เย็นตาโฟ

เย็นตาโฟส่วนใหญ่จะเข้ากันกับลูกชิ้นปลา ปลาหมึกกรอบ และเลือดหมู ซึ่งอาจเป็นช่องทางสำหรับผู้ผลิตที่อาศัยความชอบของผู้บริโภคที่มักชอบลูกชิ้นและปลาหมึกกรุบๆ กรอบๆ ผสมสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเป็นอันตรายเข้าไปด้วย เช่น บอแรกซ์หรือน้ำประสานทอง เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย

บอแรกซ์เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้วเพื่อทำให้ทนความร้อน ที่ผ่านมามักมีการนำบอแรกซ์มาใช้ผิดๆ โดยนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่น กรอบคงตัวได้นาน และไม่บูด และปัจจุบันมีการนำบอแรกซ์มาผสมน้ำใช้รดผัก หรืออาหารทะเลก่อนวางขาย

โดยเชื่อกันว่าจะทำให้อาหารดูสดชื่นและกรอบน่ารับประทาน เข้าทางปลาหมึกกรอบ ที่เป็นไปได้ว่าจะต้องมีการแช่บอแรกซ์กับเขาด้วย!

เพื่อคลายความสงสัยและสร้างความน่าเชื่อถือของอาหารไทย สถาบันอาหารจึงได้ทำการสุ่มตัวอย่างปลาหมึกกรอบ สำหรับใส่เย็นตาโฟเพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ และต้องปรบมือดังๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของความปลอดภัยอาหารที่ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ผลิตถึงอันตรายของสารชนิดนี้ได้อย่างดียิ่ง

จึงทำให้ผลการสุ่มตัวอย่างวันนี้ ไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ในทุกตัวอย่าง วันนี้คนไทยเลยได้รับประทานเย็นตาโฟด้วยความปลอดภัย



  ถั่วฝักยาวกับยาฆ่าแมลง
ถั่วฝักยาว เป็นผักเครื่องเคียงคู่กับอาหารคาวรสจัด จำพวกพล่า ลาบ ยำ ส้มตำ น้ำตก และขนมจีน เพราะทานแล้วช่วยลดความจัดจ้านของอาหารลงได้

ถั่วฝักยาวยังสามารถนำมาประกอบและปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ แกงส้ม แกงคั่ว แกงป่า แกงเผ็ด หรือนำมาผัดใส่เนื้อสัตว์ ผัดพริก หรือใช้เป็นเครื่องจิ้มทานกับน้ำพริกและหลนชนิดต่างๆ หรือใช้แทนมะละกอในส้มตำ ที่เรียกกันว่า ตำถั่ว ก็อร่อยไปอีกแบบ

แต่สิ่งหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ ต้องระวัง คือ ยาฆ่าแมลง ที่อาจแอบแฝงมากับถั่วฝักยาวด้วย ยาฆ่าแมลงที่อาจปนเปื้อนมากับผักและผลไม้นั้น มาจากการที่เกษตรกรนำมาใช้กำจัดแมลงและศัตรูพืชต่างๆ

ยาฆ่าแมลงที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มไพรีทรัม

ถั่วฝักยาวที่ปลูกในบ้านเราก็อาจมียาฆ่าแมลงเหล่านี้ตกค้างด้วยเช่นกัน เช่น ยาฆ่าแมลงกลุ่ม คาร์บาเมต

หากเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบประสาท น้ำตาไหล กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นตะคริวที่ท้อง ม่านตาหรี่ หากรุนแรงอาจมีอาการชัก ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว และการหายใจล้มเหลว

ดังนั้น ก่อนนำผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากท้องตลาดมาทาน ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง เพราะจะช่วยทำให้ยาฆ่าแมลงที่อาจตกค้างนั้นลดน้อยลงได้

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างถั่วฝักยาว จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณยาฆ่าแมลงกลุ่ม คาร์บาเมต ตกค้าง รวมเป็นจำนวน 10 ชนิด

ผลปรากฏว่าพบยาฆ่าแมลงชนิดคาร์โบฟูเเรน และ 3–ไฮดรอก-ซีคาร์โบฟูแรนตกค้าง แต่ค่าที่พบยังไม่เกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขของไทย ที่อนุญาตให้พบตกค้างได้ที่ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

แต่หากล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งก่อนนำมาทาน รับรองว่าปลอดภัยแน่นอน.



  ซาลโมเนลลาในมะม่วงดอง
หลายคนคงได้ลิ้มลองผลไม้หน้าร้อนกันอย่างอิ่มหนำสำราญแล้ว โดยเฉพาะมะม่วง ผลไม้ยอดฮิตหน้าร้อนที่คนไทยทานกันทั้งแบบสุกและแบบดิบ

ช่วงที่ผลผลิตมะม่วงออกมาจำนวนมากจนทานกันแทบไม่ทันนั้น ชาวบ้านมักนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงดิบ นำไปทำเป็นมะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม ส่วนมะม่วงสุกทำได้ทั้งมะม่วงกวนและมะม่วงหยี

มะม่วงดอง เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่ทำจากมะม่วงแก้ว เนื่องจากมะม่วงแก้วดิบนั้นมีเนื้อแข็งและแน่น จึงเหมาะนำมาทำเป็นมะม่วงดองที่ให้ความกรุบกรอบ

แม้มะม่วงดองจะเป็นที่นิยมของคนไทยมาช้านาน ทว่าหากเราไม่รู้จักเลือกซื้อเลือกทาน มะม่วงดองอาจมีของแถมปะปนมาด้วย นั่นคือเชื้อก่อโรค ซาลโมเนลลา

ซาลโมเนลลา เป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในอาหารจากสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ไข่ดิบ และนมดิบ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็ง และผัก ผลไม้สด ซึ่งหากมะม่วงสดที่นำมาทำมะม่วงดองมีเชื้อซาลโมเนลลาปนเปื้อน และผู้ผลิตไม่รักษาสุขลักษณะและความสะอาดในระหว่างการผลิตให้ดีเพียงพอ มะม่วงดองก็อาจมีเชื้อซาลโมเนลลาปนเปื้อนอยู่ด้วยได้

หากผู้บริโภคได้รับเชื้อซาลโมเนลลาเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งจะมีอาการหลังจากทานมะม่วงดองที่มีเชื้อปนเปื้อนในช่วง 8-48 ชั่วโมง อาการของโรค คือ ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดท้อง มีไข้ต่ำ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของอาหารพร้อมบริโภคจำพวกขนมหวาน ผัก ผลไม้ดอง แช่อิ่ม เชื่อม กวนและแห้ง ต้องตรวจไม่พบเชื้อซาลโมเนลลา ในปริมาณ 25 กรัม

วันนี้สถาบันอาหารเอาใจคนรักมะม่วงดองอีกครั้ง โดยสุ่มมะม่วงดอง 5 ตัวอย่างจาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาหาการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา

ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา  หน้าร้อนปีนี้ขอให้ทานมะม่วงดองกันได้อย่างสบายใจ.



  อี.โคไล ในซูชิ
เมื่อกล่าวถึงอาหารญี่ปุ่น ทุกคนคงต้องนึกถึงเมนูซูชิ หรือข้าวปั้นมีหน้า เพราะเป็นเมนูยอดนิยม ที่เข้าไปในร้านอาหารญี่ปุ่นร้านไหนก็ต้องสั่งกันมาลิ้มลอง

ซูชิ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น สมัยก่อนซูชิของญี่ปุ่นเป็นปลาหมัก ไม่ใช่ปลาดิบ

ต่อมาสมัยเอโดะได้เปลี่ยนมาเป็นของทะเลสดๆ มีเครื่องเคียงเป็นขิงดอง เนื่องจากทั้งขิงดองและวาซาบิมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อโรค รูปแบบของซูชิก็ถูกพัฒนาไปตามยุคสมัยต่อๆ มา

ซูชิ ข้าวปั้นที่มีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และทานคู่กับปลา เนื้อ หรือของคาวชนิดต่างๆ

หน้าซูชิที่นิยม ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาโอ ปลาทูน่า ไข่หวาน ไข่กุ้ง ไข่ปลา ปลาหมึกยักษ์ กุ้ง สาหร่าย

ขั้นตอนในการทำซูชินั้นไม่ยาก เริ่มจากนำข้าวญี่ปุ่นผสมกับน้ำส้มสายชูของญี่ปุ่น แล้วนำมาปั้น หลังจากนั้นวางด้วยหน้าที่อยากทานไว้ด้านบนของข้าวปั้น แค่นี้ก็ได้ทานซูชิสมใจ

แต่หารู้ไม่ว่าในขั้นตอนการทำซูชินั้น หากผู้ปรุงไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล และไม่รักษาความสะอาดของสถานที่ผลิต ภาชนะ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสกับซูชิแล้ว ซูชิที่ว่าอาจมีของแถมมาด้วยนั่นคือ เชื้อ อี.โคไล

อี.โคไล เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือมือของผู้ปรุงอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบได้ในอุจจาระ

หากเราทานอาหารที่มีเชื้อ อี.โคไลปนเปื้อน เริ่มแรกจะมีอาการท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน

สถาบันอาหารเอาใจคนชอบทานอาหารญี่ปุ่นอีกครั้ง ได้สุ่มเก็บตัวอย่างซูชิจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ อี.โคไล ปรากฏว่าพบปนเปื้อนใน 3 ตัวอย่าง และพบว่ามีปริมาณปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กำหนดให้ อาหารพร้อมบริโภค/อาหารปรุงสุกทั่วไปพบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 3 MPN/กรัม  ทางที่ดีควรเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก และเลือกร้านอาหารที่ดูสะอาดถูกสุขลักษณะ เพื่อความปลอดภัย.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2558 19:42:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2558 19:41:57 »


   อะคริลาไมด์...ในเฟรนช์ฟราย
หนึ่งในบรรดาอาหารทานเล่นในดวงใจของเด็กๆ ไทย ขณะนี้คงหนีไม่พ้นประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ที่เห็นมากในขณะนี้คงเป็นพวกไก่ทอด เฟรนช์ฟราย มันฝรั่งทอดกรอบ

ปัจจุบันการปรุงอาหารจำพวกนี้ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะส่วนใหญ่จะมีขายแบบ กึ่งสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า แค่นำมาทอดให้สุก หรืออบให้ร้อนก็ทานได้

แต่หารู้ไม่ว่าอาจมีภัยเงียบแอบแฝงมากับเฟรนช์ฟรายทอดกรอบร้อนๆ ด้วยก็ได้

ภัยเงียบที่ว่า คือ สารอะคริลาไมด์ ซึ่งเป็นสารที่ก่อตัวขึ้นในอาหารจำพวกธัญพืช มันฝรั่ง อาหารที่มีแป้งสูงในระหว่างที่ถูกนำไปให้ความร้อนสูงๆ (สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส) หรือนำไปผ่านการ อบ ทอด ปิ้ง ย่าง เป็นเวลานานๆ เมื่อ สารอะคริลาไมด์ เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว ณ บริเวณที่มีการย่อยอาหาร หลังจากนั้นมันจะถูกขับออกอย่างรวดเร็วทางปัสสาวะ ฉะนั้นอะคริลาไมด์ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกขับออกได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

สำหรับอันตรายของ สารอะคริลาไมด์  นั้นหน่วยงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศได้จัดให้สารอะคริลาไมด์ เป็นสารกลุ่มที่มีความเป็นไปได้สูงในการก่อให้เกิดมะเร็งในคน

ปัจจุบันมีวิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการได้รับ สารอะคริลาไมด์ เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหาร ซึ่งผู้ผลิตควรนำไปปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนี้

การผลิตมันฝรั่งทอดกรอบให้นำมันฝรั่งมาลวกน้ำก่อน จะช่วยลดปริมาณของอะคริลาไมด์ ที่อาจเกิดในระหว่างทอดมันฝรั่งได้ 50% ถ้าเป็นประเภทเฟรนช์ฟราย ให้นำมันฝรั่งมาลวกในสารละลายกรด (กรดซิตริกหรือแลกติก) ก่อนนำไปทอด จะช่วยลดปริมาณของอะคริลาไมด์ ที่อาจเกิดในระหว่างทอดเฟรนช์ฟรายได้ถึง 80%

เพื่อเป็นการให้ความรู้และป้องกันภัยเงียบจากสารอะคริลาไมด์   สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเฟรนช์ฟรายจากร้านอาหารจานด่วน และร้านค้าต่างๆ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณ สารอะคริลาไมด์ ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าพบปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง

ปัจจุบันไทยยังไม่กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสารอะคริลาไมด์ในอาหาร

ฉะนั้น ผู้บริโภคหรือผู้ปกครองควรแนะนำวิธีเลือกอาหารให้แก่เด็ก เพราะมีโอกาสได้รับสารนี้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยแนะให้ลดอาหารประเภทธัญพืช มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูงจนมีสีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาล

ควรทานให้หลากหลายทั้งผักและผลไม้ ทานอาหารไทยที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย.



   สารปรอทในปลาดุกย่าง
ปรอท เป็นโลหะหนักชนิดที่เป็นพิษ และปัจจุบันพบปนเปื้อนได้ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในแหล่งน้ำ ทั้งหนอง คลอง บึง แม่น้ำ และในท้องทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเรา  หากปรอทปนเปื้อนอยู่ในอาหารแล้ว ปรอทจะมีความคงตัวสูง คือ ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุงหรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำให้สารปรอทหายไปจากอาหารได้

การปนเปื้อนของสารปรอทในอาหาร มักเกิดจากแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งของปลา หอย หมึก สัตว์น้ำและสัตว์ทะเลต่างๆ มีการปนเปื้อนของน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยังทำให้มีสารเคมีต่างๆ รวมทั้งปรอทเข้าสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งหากแหล่งน้ำมีการปนเปื้อนของปรอท สัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำนั้นก็ปนเปื้อนปรอทไปด้วย เช่น ปลาดุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาปรุงและประกอบอาหารหลากหลายชนิด

ไม่ว่าจะเป็นยำปลาดุกฟู ผัดเผ็ดปลาดุก ปลาดุกย่างที่ทานคู่กับน้ำปลาหวานสะเดา หรือทานกับน้ำปลาพริก หรือที่นิยมทานคู่กับข้าวเหนียวและส้มตำ ถ้าเราทานอาหาร เช่น ปลาดุกที่มีปรอทปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายบ่อยๆ ปรอทมันจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อสะสมจนถึงระดับหนึ่ง สารปรอทจะค่อยๆ จับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาท ทำให้เป็นอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรงคล้ายคนพิการได้

สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลาดุกย่าง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของปรอท ผลปรากฏว่า เป็นความโชคดีของคนไทยที่วันนี้ไม่พบการปนเปื้อนของปรอทในปลาดุกย่างทุกตัวอย่าง แต่ขอแนะเพิ่มเติมว่า ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ทานอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ เพื่อความปลอดภัย.



   ลูกชิ้นปิ้งกับสารกันบูด
ลูกชิ้นปิ้งอาหารทานเล่นฮอตฮิต ที่คนไทยหาซื้อได้ทุกหัวระแหง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะตรอก ซอก ซอยใด ก็หาลูกชิ้นปิ้งทานได้ตามรถเข็นแทบจะ 24 ชั่วโมง

ลูกชิ้นมีหลายชนิด ทั้งลูกชิ้นหมู เนื้อ ปลา กุ้ง หมึก และลูกชิ้นสาหร่าย และนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายแบบ เช่น นำมาปิ้ง ทอด ย่าง อบ ราดน้ำจิ้มแล้วทานกับผักสด หรือนึ่งแล้วนำมาทำเป็นยำลูกชิ้น หรือใช้เป็นเครื่องสำหรับทำก๋วยเตี๋ยวก็อร่อยไม่แพ้กัน

ทว่าวันนี้ ลูกชิ้นที่คนไทยชื่นชอบกันนั้นอาจมีสิ่งที่เราไม่ต้องการแฝงมาด้วย สิ่งที่ว่าคือ “สารกันบูด” คงอาจเป็นเพราะลูกชิ้นเป็นอาหารยอดนิยมและเป็นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่อาจเน่าเสียได้ง่ายซึ่งต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเท่านั้น ทำให้ผู้ผลิตบางรายจึงใส่สารกันบูดลงในลูกชิ้นเพื่อให้สามารถยืดอายุของลูกชิ้นสดให้เก็บไว้ขายได้นานๆ

สารกันบูดที่ผู้ผลิตใส่ในลูกชิ้นมีทั้ง กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอตเป็นสารกันบูดชนิดที่ใช้กันมาก ราคาถูก หาง่าย และมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคและเชื้อที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้หลายชนิด ซึ่งทำให้เก็บลูกชิ้นไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย ไม่มีเมือก ไม่มีกลิ่นเหม็น

แม้ว่ากรดเบนโซอิกจะเป็นสารกันบูดที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้บริโภค หากได้รับวันละไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน จากการทานอาหาร ร่างกายของคนปกติทั่วไปจะยอมรับได้ คือ ตับและไตจะสามารถกำจัดสารชนิดนี้ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ ถ้าได้รับเกินกว่า 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันทุกวัน

ตับและไตจะต้องรับภาระหนักในการกำจัดสารออกจากร่างกายทุกวัน นานเข้าจะสะสมในร่างกาย พร้อมกับประสิทธิภาพของตับและไตจะลดลงด้วย ทำให้เจ็บป่วยและอาจเป็นโรคเกี่ยวกับไตได้

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างลูกชิ้นหมูปิ้งจำนวน 5 ตัวอย่าง จากรถเข็นขายลูกชิ้นปิ้งในกรุงเทพฯ จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณตกค้างของกรดเบนโซอิก ผลปรากฏว่าทุกตัวอย่างพบการตกค้างของสารกันบูดชนิดนี้ และพบในปริมาณมาก ฉะนั้นอยู่ที่ท่านแล้วว่าจะเลือกทานกันหรือไม่ ทางที่ดีอย่าทานกันบ่อยมากเพื่อความปลอดภัยของตับและไต.



   หมึกปิ้งกับอหิวาตกโรค
นอกจากลูกชิ้นปิ้งและไส้กรอกย่างแล้ว หมึกปิ้งนับเป็นอาหารยอดฮิตอีกชนิดของคนไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป  ทว่าหากนำมาทานไม่ล้างให้สะอาดก่อนและไม่ผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อน หมึกปิ้งย่างที่รสชาติอร่อยล้ำแค่ไหน ก็อาจทำให้เราป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลได้เพราะอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค เป็นโรคที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า วิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio cholera) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามเขตน้ำกร่อย บริเวณปากแม่น้ำที่ติดทะเล จึงไม่แปลกที่จะพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู และหมึก

วิบริโอ คลอเรลลา เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษ Cholera toxin ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค

โดยธรรมชาติเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้ดีและสร้างสารพิษเฉพาะในลำไส้ของคน เมื่อร่างกายได้รับเชื้อจากการทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนเชื้ออาจเพิ่มจำนวน/ปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น ทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำทันที โดยไม่ปวดท้อง

ลักษณะเฉพาะของอุจจาระผู้ป่วยคือ มักจะมีสีขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งอาเจียน ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแล้วหากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง

สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างหมึกปิ้งย่าง ที่จำหน่ายตามรถเข็นย่านต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา ปนเปื้อน ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า หมึกย่างทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา เลย

เพื่อความสบายใจ ก่อนซื้อหรือก่อนนำมาทานต้องมั่นใจว่า หมึกปิ้งหรือย่างนั้นผ่านการให้ความร้อนจนสุกสนิท และควรทานหลังจากให้ความร้อนแล้วเท่านั้น เพื่อความอร่อยลิ้นที่ปลอดภัย.



   ความหวานของช็อกโกแลต
ช็อกโกแลต เป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกอกถูกใจใครหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบของหวานต้องติดใจกันทุกราย

ช็อกโกแลต ผลิตจากเมล็ดโกโก้ มีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่ามายา เป็นชนเผ่าหนึ่งในอเมริกากลาง เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน ชนเผ่ามายาเป็นชนกลุ่มแรกที่เอาเมล็ดโกโก้มาคั่ว กะเทาะเปลือก นำมาบด และละลายน้ำ ทำเป็นเครื่องดื่มข้นๆ ที่เรียกว่า “คาคาฮอดทัล” มีรสค่อนข้างขม แต่เมื่อเติมน้ำตาลแล้วมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงมีการเรียกชื่อใหม่ว่า “ช็อกโกลาตส์” ต่อมาชื่อของช็อกโกลาตส์ก็ได้เพี้ยนไปเป็น “ช็อกโกแลต” ที่ใช้กันในปัจจุบัน

ช็อกโกแลต มีการผลิตออกมามากมายทั้ง ช็อกโกแลตดำ ช็อกโกแลตนม ช็อกโกแลตชนิดแท่ง ชนิดเกล็ด ช็อกโกแลตขาว ซึ่งทำมาจากไขมันของโกโก้ ช็อกโกแลตยังเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก  ของหวานชนิดนี้ไม่ได้อร่อยแต่เพียงอย่างเดียวยังมีประโยชน์แอบแฝงอยู่ด้วย ในช็อกโกแลตมีสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิต เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง ป้องกันเลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย

นอกจากนี้ ในช็อกโกแลตยังอุดมไปด้วย กรดอะมิโนทริปโตแฟน ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่ง “เซโรโทนิน” สารแห่งความสุขออกมาละลายความตึงเครียด ทำให้มีความรู้สึกสดชื่น  แต่อย่าเพิ่งด่วนดีใจจนเกินไป เพราะช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะถูกหรือแพง ล้วนมีไขมันและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น หากบริโภคอย่างไม่มีขีดจำกัด จากมีประโยชน์อาจแปรเปลี่ยนไปเป็นโทษได้ เพราะไขมันและน้ำตาลที่ช่วยเพิ่มความอร่อยนั้น อาจกลายเป็นส่วนเกินเมื่อเข้าสู่ร่างกาย  ทางที่ดีควรทานในปริมาณที่เหมาะสม หากทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้.



   ยาฆ่าแมลงในองุ่นสด
องุ่น เป็นผลไม้ในดวงใจของหลายคนที่ชื่นชอบรสชาติหวานอมเปรี้ยว องุ่นมีวิตามินหลายชนิดและมีเกลือแร่มากมาย เมื่อทานองุ่นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำตาลในองุ่น ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที จึงช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย กระตุ้นให้ตับทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้น เปลือกและเมล็ดองุ่น สามารถนำมาสกัดน้ำมันแล้วนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งน้ำมันนี้ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการจับตัวของก้อนเลือด และลดคลอเลสเทอรอลชนิดแอลดีแอล (ไขมันไม่ดี)

น้ำมันจากเมล็ดองุ่น จึงช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบเลือดและหัวใจได้ดี ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ร่างกายจะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ หากองุ่นที่ว่าไม่มีการตกค้างของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช ที่เกษตรกรอาจใช้เพื่อป้องกัน ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ในระหว่างการเพาะปลูก เก็บรักษา และขนส่งองุ่น

สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่มักพบได้แก่ สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมตและกลุ่มไพรีทรอยด์ ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้หากได้รับในปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนด หรือได้รับปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ จะมีอันตรายและผลเสียต่อสุขภาพต่างกันไป

อาการที่พบคล้ายๆ กัน คือ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างองุ่นสด 5 ตัวอย่าง จาก 5 จังหวัด ทั้งที่ปลูกในประเทศและองุ่นนำเข้า เพื่อนำมาวิเคราะห์การตกค้างของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช 4 กลุ่ม รวม 58 ชนิด ผลปรากฏว่า มีองุ่น 4 ตัวอย่าง ที่พบสารพิริมิฟอส–เมทิล, คลอร์พิริฟอส–เอทิล, เมโทมิลและไซเพอร์เมทรินตกค้าง และบางตัวอย่างพบตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 337) ปี พ.ศ. 2554 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง กำหนดให้พบสารเมโทมิลตกค้างในองุ่นได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ทางที่ดีก่อนทาน ควรแช่น้ำหรือล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าหลายๆครั้ง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากสารเหล่านี้ และทานองุ่นกันได้อย่างปลอดภัย.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.436 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 12:24:28