[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 15:58:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพเก่าเล่าอดีต  (อ่าน 2955 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2557 17:30:37 »

.

ภาพเก่าเล่าอดีต


ภาพ : ทีฆายุโกโหตุ สังฆราชา
ภาพโดย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

คำบรรยายภาพ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ทรงเข้าพิธีบรรพชารับใช้พุทธศาสนาตั้งแต่พระชนมายุเพียง 14 ปี ณ วัดเทวสังฆาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาทรงเข้าพิธีอุปสมบทขณะเจริญพระชันษาครบ 20 ปีบริบูรณ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร และได้รับประทานฉายาว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” ด้วยพระศีลาจารวัตรอันงดงามและความรอบรู้ในพระธรรมวินัย ทำให้เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. 2499 สมเด็จพระญาณสังวรซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระโศภนคณาภรณ์ ได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในภาพนี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระญาณสังวรเพื่อทรงมาเยี่ยมพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน พระราชวังดุสิต สมเด็จพระญาณสังวรทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 – หทัยภัทร นวปราโมทย์




ภาพ : เขื่อนทำมือ
ภาพโดย : จอห์น สโกฟีลด์, NATIONAL GEOGRAPHIC CREATIVE

คำบรรยายภาพ : “กำลังกายของมนุษย์ล้วนๆ ที่ยกสิ่งก่อสร้างนี้ขึ้นทีละนิ้ว” คือคำบรรยายภาพ เขื่อนนาคารชุนสาครบนแม่น้ำกฤษณา ในประเทศอินเดียภาพนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนพฤษภาคม ปี 1963 คำบรรยายภาพอธิบายต่อไปว่า “คนงานราว 125,000 คนทุ่มเทแรงกายในการสร้างเขื่อนและคลองชลประทาน ทีมคนงานที่ประกอบด้วยผู้ชายสองคนลำเลียงก้อนหินหนักกว่า 130 กิโลกรัมขึ้นไปตามทางลาดทำจากไม้ไผ่ ขณะที่พวกผู้หญิงเทินถาดปูนขาวเดินตามขึ้นไปอย่างไม่ขาดสาย อินเดียประหยัดงบประมาณในการซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศได้ก้อนโตด้วยการใช้แรงงานคนในประเทศแทน”

โครงการสร้างเขื่อนแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี 1955 และเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในปี 1972
เขื่อนนาคารชุนสาครสูง 124 เมตรและยาวหนึ่งกิโลเมตร เป็นเขื่อนหินก่อขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังใช้งานอยู่ —มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์



ภาพ : อุ่นกาย
ภาพโดย : มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

คำบรรยายภาพ : สาวน้อยสาวใหญ่เคยคลายหนาวด้วยการมาใช้บริการอ่างน้ำวนที่มีอุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียสทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ที่ยุโรเปียนเฮลท์สปาในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐฟลอริดา ส่วนพวกผู้ชายสามารถมาใช้บริการได้ในวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ ไม่มีข้อมูลว่าสปาเปิดให้บริการในวันอาทิตย์หรือไม่

ภาพนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนพฤศจิกายน ปี 1973 โดยเป็นภาพประกอบสารคดีเรื่อง “ความเจริญของฟลอริดาและปัญหาที่ตามมา” (Florida’s Booming—and Beleaguered—Heartland”) ปัจจุบันสปาแห่งนี้กลายเป็นร้านขายสุราไปแล้ว



ภาพ : สูงเสียดฟ้า
ภาพโดย : มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

คำบรรยายภาพ : เมื่อปี 1902 ตึกแฟลติรอนซึ่งเป็นหนึ่งในตึกระฟ้ายุคแรกของมหานครนิวยอร์ก สร้างขึ้นบนที่ดินรูปสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นหลังการตัดสี่แยกระหว่างถนนฟิฟท์อเวนิว ถนนบรอดเวย์ และถนนสายที่ 23 ภาพนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 1918 เพื่อประกอบสารคดีเรื่อง “นิวยอร์ก มหานครแห่งมนุษยชาติ” ในสารคดีเรื่องนั้น วิลเลียม โจเซฟ โชว์วอลเตอร์ นักเขียน บอกว่า “ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน หรือมองด้วยวิธีใด นิวยอร์กก็กระตุ้นความสนใจและปลุกเร้าจินตนาการของใครต่อใครได้เสมอ”



ภาพ : เรียงหน้ากระดาน
ภาพโดย : บี. แอนโทนี สจวร์ต, NATIONAL GEOGRAPHIC CREATIVE

คำบรรยายภาพ : กำแพงปลาพอลล็อกแช่แข็งบ่งบอกถึงความสำเร็จของการตกปลาช่วงสุดสัปดาห์ในทะเลสาบมิลล์แลกส์ ที่กลายเป็นน้ำแข็งในรัฐมินนิโซตา ภาพนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนธันวาคม ปี 1958 โทมัส เจ. อะเบอร์ครอมบี ช่างภาพประจำของนิตยสาร เขียนไว้ว่า “ชาวเมืองมินนีแอโพลิส...ตั้งแคมป์อย่างสะดวกสบายในรถเทรลเลอร์ความยาว 13 เมตร พวกเขาขับรถไปบนทะเลสาบที่กลายเป็นน้ำแข็ง เปิดเครื่องปั่นไฟแบบพกพาเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แคมป์เคลื่อนที่ ขุดรูในน้ำแข็ง เตรียมอุปกรณ์ตกปลา หย่อนเบ็ด และเฝ้าดูอยู่หลังหน้าต่างที่ปิดสนิท เมื่อทุ่นเบ็ดขยับ ทุกคนจะรีบวิ่งออกไปดูว่าจับได้ปลาอะไร”

ทะเลสาบมิลล์แลกส์ขึ้นชื่อเรื่องปลาพอลล็อกมาช้านาน แต่ประชากรของพวกมันในทะเลสาบแห่งนี้กำลังลดลง เมื่อปี 2013 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของรัฐมินนิโซตาออกกฎระเบียบเพื่อจำกัดการจับปลาชนิดนี้ โดยกำหนดขนาดและปริมาณปลาที่จับได้เพื่อช่วยปกป้องปลาวัยเยาว์และปลาขนาดเล็ก ตลอดจนเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มากพอสำหรับการขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคต - มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์



ภาพ : เห็นเต็มตา
ภาพโดย : บี. แอนโทนี สจวร์ต, NATIONAL GEOGRAPHIC CREATIVE

คำบรรยายภาพ : ผู้คนพากันหยุดดูเครื่องบินโบอิ้ง 377 สแตรโตครูสเซอร์วิ่งข้ามทางด่วนแวนวิกในย่านควีนส์ มหานครนิวยอร์ก

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เครื่องบินสแตรโตครูสเซอร์เป็นเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดและหรูหราที่สุดรุ่นหนึ่ง บริษัทโบอิ้งบรรยายสรรพคุณว่า “บันไดวงกลมนำไปสู่ห้องเครื่องดื่มบนดาดฟ้าชั้นล่าง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเตรียมอาหารร้อนๆ สำหรับผู้โดยสาร 50 ถึง 100 คนในห้องครัวอันทันสมัย” ภาพนี้ถ่ายในบริเวณใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาตินิวยอร์กซึ่งตอนนั้นนิยมเรียกกันว่า ไอเดิลไวลด์ แต่ได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเพื่อเป็นเกียรติแด่ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อปี 1963 ทางด่วนสายนี้ยังคงอยู่ที่นั่น โดยได้รับการเสริมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับเครื่องบินที่มีน้ำหนักมากกว่าสแตรโตครูสเซอร์มานับแต่นั้น — มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์



ภาพ : ภาพมีชีวิต
ภาพโดย : มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

คำบรรยายภาพ : ผู้บุกเบิกการเต้นรำสมัยใหม่ รูท เซนต์ เดนิส และเท็ด ชอว์น โพสท่าให้ช่างภาพ แฟรงกลิน ไพรซ์ นอตต์ เก็บภาพโดยใช้กระบวนการถ่ายภาพสียุคแรกๆ ที่เรียกว่า ออโตโครม (Autochrome) ภาพนี้ได้รับตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนเมษายน ปี 1916 การร่ายรำชุด “อุทยานแห่งกามา” ในภาพเป็นหนึ่งในผลงานจำนวนมากที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียของศิลปินคู่นี้ซึ่งแต่งงานกันเมื่อปี 1914 ปัจจุบัน หอจดหมายเหตุของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เก็บรักษาภาพถ่ายบนกระจกถ่ายภาพออโตโครมเกือบ 15,000 ภาพ นับเป็นคอลเล็กชันภาพถ่ายประเภทนี้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก



ภาพ : คลื่นลูกเก่า
ภาพโดย : มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

คำบรรยายภาพ : เขื่อนกั้นน้ำทะเลบนทางหลวงเบลต์พาร์กเวย์ใกล้กับย่านฟอร์ตแฮมิลตันในเขตบรุกลิน ไม่สามารถป้องกันน้ำทั้งหมดจากพายุที่พัดถล่มชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเดือนตุลาคม ปี 1948 พายุที่โหมกระหน่ำเป็นปัญหารุมเร้าถนนช่วงนี้ซึ่งทอดไปตามแนวอ่าวนิวยอร์กใกล้สะพานเวอร์ราซาโน-แนร์โรวส์ ตอนที่พายุเฮอร์ริเคนแซนดีพัดถล่มภูมิภาคนี้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2012 ถนนหลายช่วงจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลาหลายชั่วโมง บางจุดน้ำลึกถึง 1.5 เมตร เขื่อนกั้นน้ำทะเลซึ่งถูกพายุถล่มเสียหายได้รับการซ่อมแซมนับตั้งแต่นั้น ทว่าชาวเมืองยังคงหวาดกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับพายุใหญ่ลูกต่อไป


ที่มา ngthai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.338 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 23:01:24