[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 00:58:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์  (อ่าน 1997 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 สิงหาคม 2557 10:10:12 »

.


วังเพชรบูรณ์
ภาพจาก : เว็บไซต์วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

อาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์

บริเวณตั้งแต่วังสระปทุมยาวเลียบคลองแสนแสบ ไปถึงสี่แยกราชประสงค์ในปัจจุบัน ในอดีตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ขุดสระใหญ่สองสระใกล้กัน ปลูกบัวงามสะพรั่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ ทรงใช้เป็นสถานที่ประพาส และประทับพักผ่อนอิริยาบถในฤดูร้อน เรียกว่า วังสระปทุม

บนเนินดินที่ได้จากดินขุดสระ โปรดให้ปลูกพลับพลาสองชั้น และเรือนบริวาร

หลวงนายฤทธิ์ เล่าเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ เรื่องเก่าๆ ของเจ้านาย (สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊คส์)ว่า ต่อมา โปรดให้สร้างสถานที่สำหรับทรงปฏิบัติภาวนาตามลำพัง...ลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ พอนั่งได้เฉพาะพระองค์เดียว เรียกกันว่า “กุฏ”

คำกุฏนี้ เขียนไม่มีสระอิ เพราะเป็นคนละคำกับ กุฏิ ที่แปลว่าเรือนที่อยู่ของพระภิกษุ

กุฏนี้ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๔ แล้ว ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ท่ามกลางความรกชัฏของที่ดิน

จนถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินบริเวณนี้ให้แก่ พระอนุชา คือสมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑาธุช ธราดิลก เพื่อเป็นที่สร้างตำหนักประถมตำหนักแรกเป็นวังที่ประทับ เป็นตำหนักไม้งดงามของวังเพชรบูรณ์

(ต่อมา พระทายาท ได้รื้อถอนไปปลูกไว้ในที่ดิน ในซอยอัคนี ถนนงามวงศ์วาน นนทบุรี)

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ดินวังเพชรบูรณ์ ตกเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ เอกชนจึงได้มาเช่าทำศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ อดีตผู้จัดการมรดกสมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อิทราชัย เคยเล่าถึงเรื่องอาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์เอาไว้ว่า

กุฏซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างขึ้นนั้น ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวังเพชรบูรณ์ ทำนองศาลพระภูมิเจ้าที่ของวัง

แต่เมื่อมีการสร้างศูนย์การค้า มีการปรับพื้นที่ในบริเวณวัง รถแทรกเตอร์ได้ไถทำลายศาลราบลง โดยที่ผู้ควบคุมการก่อสร้าง ได้ไม่ได้ฟังคำทักท้วงของท่านแม้แต่น้อย

การทำลายกุฏของพระจอมเกล้าฯ เป็นส่วนหนึ่งทำให้มีการพูดถึงอาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์

แต่มีผู้รู้หลายท่าน กล่าวว่า อาถรรพณ์หากจะมี น่าจะมีจากคำสาปแช่งของท่านเจ้าของวัง ความเชื่อเรื่องนี้ เชื่อมโยงมาจากคำสาปแช่งของวังหน้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาคู่พระทัย ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

วังหน้านั้นตั้งอยู่ใกล้ๆ วังหลวง ในอดีตนั้น กรมพระราชวังบวรฯ ทรงโปรดปรานและหวงแหนมาก ทรงเกรงว่า เมื่อสวรรคตไปแล้ว วังจะตกเป็นของผู้อื่น จึงทรงสาปแช่งเอาไว้รุนแรง

ต่อไปภายหน้าหากว่าผู้ใดที่มิใช่เชื้อสายของพระองค์ครอบครอง ก็ขอให้มีอันถึงต้องฉิบหายตายโปง สามชั่วโคตร

มิได้ทรงสาปแช่งเฉยๆ ยังทรงอาราธนาพระสงฆ์มาสวดญัติคำสาปสำทับ

เมื่อวังหน้าเสด็จสวรรคต จึงไม่มีใคร แม้แต่เจ้านายเชื้อสายของพระองค์ จะกล้ารับเป็นเจ้าของปกครองสืบต่อ

พระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลใดก็ไม่พระราชทานวังหน้าให้แก่ผู้ใด

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางการจึงต้องใช้วังหน้าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และโรงละครแห่งชาติ

การเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครอง ที่ดินเดิมวังเพชรบูรณ์ อีกหลายช่วง จนกระทั่งมาเป็น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา ทำให้เล่ากันอีกกระแสว่า มีการสร้างเทวรูปพระตรีมูรติขึ้นมาเพื่อแก้อาถรรพณ์

พระตรีมูรติ คือปางอวตารของสามเทพผู้ยิ่งใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ พระพรหม ผู้สร้าง พระนารายณ์ ผู้ปกป้อง และพระอิศวร ผู้ทำลาย รวมไว้ในองค์เดียวกัน

แต่ผู้คนมากมายที่แห่กันไปบูชากราบไหว้ กลับเชื่อกันว่า พระตรีมูรติ เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก สามารถดลบันดาลให้สมหวังในความรัก

มีธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งยังหาผู้ริเริ่มและที่มาไม่ได้ ทุกคืนวันพฤหัสฯ เวลา ๒๑.๓๐ น. พระตรีมูรติ จะเสด็จจากสวรรค์ลงมารับคำอธิษฐาน วันเวลาดังกล่าวนี้ จึงมีผู้คนไปสักการะกันคลาคล่ำ โดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว

หลวงนายฤทธิ์ ตั้งข้อสงสัย เหตุใดผู้เช่าสถานที่ทำศูนย์การค้า จึงเลือกสร้างศาลพระตรีมูรติ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก...จะใช้เหตุผลเพื่อแก้อาถรรพณ์ก็ไม่ชัดเจน

แต่เมื่อไปค้นคว้าหาข้อมูลต่อ จึงได้ทราบว่า แท้จริง พระตรีมูรติ ถือเป็นเทพเจ้าที่ปกปักรักษาวังเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิม

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ท่านเจ้าของวัง ทรงบูชาพระตรีมูรติมาก่อน

โดยความเชื่อว่า พระตรีมูรติองค์นั้นเป็นของเก่าแก่สืบทอดตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดบ่อยครั้ง วังเพชรบูรณ์เคยถูกระเบิดลงครั้งใหญ่ แต่ระเบิดทั้งหมดด้าน วังเพชรบูรณ์ไม่ได้รับความเสียหาย

สร้างความประหลาดใจให้ผู้รู้เห็น และเพิ่มความเชื่อถือในพระตรีมูรติมากขึ้น

อาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์ มาจากเรื่องอะไร จากเรื่อง การรื้อทำลายกุฏพระจอมเกล้าจากคำสาปแช่งเจ้าของวัง และจากการสร้างพระ ตรีมูรติบูชา...หลวงนายฤทธิ์ เขียนทิ้งท้ายว่า ขอให้อยู่ในวิจารณญาณของท่านผู้อ่าน...ทุกคน.


ข้อมูล : "อาถรรพณ์วังเพชรบูรณ์" โดย บาราย  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.326 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กุมภาพันธ์ 2567 10:29:27