[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:12:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

ไดอาล็อก สุนทรียสนทนา ( ภาวนาสนทนา ) : นายแพทย์ ประสาน ต่างใจ

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไดอาล็อก สุนทรียสนทนา ( ภาวนาสนทนา ) : นายแพทย์ ประสาน ต่างใจ  (อ่าน 3993 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2553 22:52:07 »




คำนำ

เดวิด โบห์ม กับโบห์เมียนไดอะล็อก


เดวิดโบห์ม (David Bohm) เกิดที่เพนซิลเวเนีย ในปี ๑๙๑๗ เป็นลูกชายของ นักธุรกิจทึ่ประสบความสำเร็จพอสมควร โบห์มเรียนจบปริญญาเอกในปี ๑๙๔๓ ที่เบิร์กเลย์ และเป็นศิษย์ของโรเบิร์ต อ็อปเปนไฮเมอร์ ( J. Robort Oppenheimer ) ที่เรียนฟิสิกส์จากนีลส์ บอห์ร ( Niels Bohr ) ที่กรุงโคเปนเฮเกนโดยตรง ดังนั้น โบห์มจึงค่อนข้างซื่อสัตย์ต่อควอนตัมฟิสิกส์ที่ประกาศ 'การแปลของโคเปนเฮเกน' ( Copenhagen Interpretation ) ที่มีสามสหายนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล คือ นีลส์ บอห์ร เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ( Werner Heisenberg ) และคงต้องนับ วอล์ฟกัง พอลี ( Wolfgang Paul ) ด้วยเป็นตัวตั้งตัวตี แม้ว่าในช่วงหลัง จากากรพูดคุยกับไอน์สไตน์ที่อยู่ปรินซ์ตันในตอนนั้น จะทำให้โบห์มเข้าใจ ความจริงของจักรวาลปรากฏการณ์ ( ordinary reality )ที่ทางโคเปนไฮเกน เชื่อว่าไม่มีทางที่วิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ และทำให้ไอน์สไตน์กับอีกหลาย ๆ คนรับทฤษฎี ควอนตัมแบบโคเปนไฮเกนไม่ได้ หลังเรียนจบ โบห์มสนใจที่จะทุ่มเทชีวิตให้กับการค้นหาความจริง ทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและเป็นศาสตราจารย์ที่ปรินซ์ตัน เดวิด โบห์ม แต่งตำราฟิสิกส์ที่ว่าด้วยทฤษฎีควอมตัม ( Quantum Theory ) เสร็จในปี ๑๙๕๑ ( ซึ่งเป็นตำราที่ดีเยี่ยมและยังใช้กันอยู่ในขณะนี้ ) ท่ามกลางพายุร้ายทางการเมือง ( Macarthyism and the Un-American Act) ซึ่งทำให้เขาอยู่อเมริกาไม่ได้จนต้องย้ายไปอยู่ทีบราซิลพักใหญ่ก่อนที่จะได้งานที่ที่ลอนดอน การต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ นั่นเอง น่าจะมีส่วนที่ทำให้เดวิดโบห์มไร้โอกาสที่จะได้รางวัลโนเบล

ในความเห็นที่เป็นส่วนตัวจริง ๆ ผมคิดว่าในโลกของฟิสิกส์ใหม่ที่เราอาจพูดได้ว่าเป็น องค์ความรู้บริสุทธิ์ซึ่งหมายถึงวิทยาศาสตร์ในด้านของทฤษฎีนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ น่าจะเป็น หรือไม่อย่างน้อยก็ต้องมี เดวิด โบห์มยืนเคียงบ่า เคียงไหล่กับไอน์สไตน์ ผู้ได้รับป็อบปูล่าร์โหวตจากหนังสือพิมพ์ระดับนำของโลกหลายฉบับ เช่น ไทมส์ ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ของศตวรรษ ผมเชื่อว่าความคิดเห็นนี้ มีนักฟิสิกส์ระดับ ยักษ์หลายคนเห็นด้วย เช่น จอห์น บริกส์ เอฟ. เดวิด พีท ( F. David Peat ) เดวิด เซนเบิร์ก หรือ แม้แต่ริชาร์ด เฟย์นแมน ( Richard Feynman ) ที่ให้ความนับถือโบห์มเป็นพิเศษ และมักเดินทางไปเยี่ยมเดวิดโบห์มที่ลอนดอนบ่อย ๆ ขณะที่นักฟิสิกส์ระดับนำอีกส่วนหนึ่ง จัดให้โบห์มเป็นหนึ่งตัวแทน ( protege ) ของไอน์สไตน์ควบคู่กับสีเฟนฮอว์กิง ( Stephen Howking ) ที่ถูกจัดให้เป็น ทายาท ( heir ) ของไอน์สไตน์ ผมถึงได้บอกว่าเดวิด โบห์มที่เป็นหนึ่งตัวแทนนั้น อย่างน้อยก็ต้องมีความสามารถหรือความเหมาะสมเท่า ๆ กับผู้ที่ตนแทน

การพูดเรื่องเดวิด โบห์ม ไดอะล็อกย่อมต้องเอ่ยชื่อของกฤษณมูรติ เพราะไดอะล็อกเริ่มจาก การพูดคุยกันระหว่างคนสองคนนี้เป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ เดวิด โบห์มรู้จักและต่อมา มีความสนิทสนมกับกฤษณมูรติ หลังจากเขาได้อ่านความคิดของกฤษณมูรติ [ การแสวงหา ธรรมชาติของความคิดและการเข้าถึง 'ความหมาย' ที่แฝงเป็นเนื้อในของความจริงแท้ ซึ่งก็คือหนึ่งที่เป็นทั้งหมด ( Whooleness ) ] จากหนังสือของกฤษณมูรติที่ซาร่า ภรรยายืมมาจากห้องสมุด เพราะซาร่ารู้สึกแปลกที่วิทยาศาสตร์ใหม่กับความรู้เร้นลับมี ความสอดคล้องต้องกัน ในที่นี้ เดวิด โบห์มกับกฤษณมูรติต่างก็พูดถึงความจริงแท้ตามที่ตน รู้ไปในทางเดียวกัน โบห์มพบกับกฤษณมูรติเป็นประจำ และบอกว่าเป็นกฤษณมูรติด้วยที่เน้น ความสำคัญของการสร้างสรรค์สู่ความเป็นทั้งหมด ( wholeness ) ที่น่าจะมีส่วน ให้โบห์มสร้างไดอะล็อกขึ้นมา [ ผู้เขียนคิดเอาเองจากข้อมูลนี้และจากความละม้ายคล้ายคลึงกัน เดวิด โบห์มอาจจะได้วิธีไดอะล็อกมาจากไดอะล็อกระหว่างพราหมณ์ที่ชื่อ อุทธาวะ ใน อุทธาวะคีตา ( Udhava gita ) ก็เป็นไปได้ ]

การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงนั้น คุณสมบัติสำหรับผมก็คือ ต้องเป็นคนช่างสงสัย และ แสวงหาอย่างไม่ท้อถอยต่อคำตอบสุดท้ายของคำถามทั้งสามที่ว่าด้วยธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง คือ 'อะไร'( what ) ' อย่างไร '( how ) และ 'ทำไม '( why ) หากเราดูให้ดี ๆ นักวิทยาศาสตร์ โดย เฉพาะนักฟิสิกส์ใหม่ระดับนำทุกคนต่างก็เป็นเช่นนั้น จริง ๆ แล้ว สองคำถามแรกนั้น แทบทุกคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ธรรมดา ๆ อาจตอบได้หมด แต่คำตอบ ' ทำไม ' นั้นตอบไม่ได้หรือไม่สามารถตอบได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจากห้องทดลองหรือการสังเกต ที่จริง ๆ แล้วใช้อวัยวะรับรู้อันเดียวกัน ดังนั้น นักฟิสิกส์แนวหน้าทุกคนจึงเป็นนักปรัชญาด้วย คือ ใช้ปรัชญาโดยเฉพาะอภิปรัชญา ( metaphysics ) ที่ต่อยอดบนควอนตัมฟิสิกส์มาเป็นพื้นฐานของคำตอบ ผมเชื่อว่านักฟิสกส์โนเบลทุกคนเป็นเช่นนั้นไม่มากก็น้อย แต่เดวิด โบห์มพิเศษกว่าใครคือ เดวิด โบห์มเป็นทั้งนักปรัชญาเต็มตัวเท่า ๆ กับเป็นนักฟิสิกส์ชั้นยอด และไดอะล็อกระหว่าง โบห์มกับกฤษณมูรติ จึงมักเป็นเรื่องธรรมชาติของควมคิด ความหมายของการดำรงอยู่ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงของทั้งหมดที่มีลักษณะปรัชญาเต็มที่ '...ไม่มีอะไรที่อยู่นิ่ง ๆ ทั้งหมด ... ไหล ( it is flux ! )'ในการแสวงหาและเข้าถึงความจริง นั่นเป็นควอนตัมฟิสิกส์ส่วนหนึ่งกับปรัชญาอีกส่วนหนึ่ง (ทั้งสองวินัย) ที่เดวิด โบห์ม นำไปใช้เป็นพื้นฐานของความคิดมาตลอดเวลา ๗๕ ปีของชีวิต ซึ่งทั้งเดวิด โบห์มและ กฤษณมูรติต่างเห็นด้วยกันว่า ในคำถามทุกคำถามที่เราถามนั้น (หากเป็นคำถามที่ถูกต้องจริง ๆ) มันจะต้องมีข้อสันนิษฐานของคำตอบด้วย ( pre - supposition ) ซ่อนหรือแฝงอยู่ในคำถามนั้น เป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าถึงความคิดที่อยู่หลังข้อสันนิษฐาน ของคำตอบนั้น เพราะมันอยู่ลึกมาก หรืออยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ และนั่นคือผลที่เราได้จากการทำ ไดอะล็อก เราแสวงหาเพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับธรรมชาติของความคิด ( ที่โบห์มบอกว่า อยู่ลึกมาก และเชื่อว่าเป็นข้อมูลสากล )

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2553 22:52:35 »




นั่นคือ ปรัชญาความคิดของเดวิด โบห์มไดอะล็อก อยู่ที่ธรรมชาติของความคิด ความคิดนั้น มีสองระดับ ความคิดระดับล่าง (rational personal) สร้างที่สมอง เป็นปัญญาธรรมดา ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะเวลาที่เรารู้สึกตัว นั่นคือ เมื่อเราตื่นขึ้นกับ ความเป็นสอง อันเป็นผลของอัตตา ซึ่งแยกผู้สังเกตหรือผู้รับรู้ออกจากสิ่งที่ถูกสังเกตที่ถูกรับรู้ ส่วนความคิดระดับบน ( trans-personal ) นั้น อาจจะเป็นคลื่นสากลนอก จากสมองที่กล่าวไปแล้ว ที่มาของมันเอง เช่นเมื่ออยู่ในสมาธิ ( ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิ ตามรูปแบบต่าง ๆ ) เดวิด โบห์มมักพูดบ่อย ๆ ถึงศิลปะและสุนทรียกรรม เช่น บทกวี หรือ ภาพวาด( โดยหลักการ ) ไม่ได้แตกต่างจากญาณทัศนะที่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ศาสนาได้รับ นั่น-เราอาจแปลธรรมชาติของความจริงหรือที่มาของธรรมชาติของความคิด อันเป็นหลักการสำคัญของทฤษฎีของโบห์ม ( ใช้ควอมตัมฟิสิกส์เป็นฐาน ) ที่มีสองหลัก คือ องค์กรภายนอก ( exlicate order ) ที่คลี่ขยายปรากฏออกมาเป็น รูปแบบของสรรพสิ่ง กับองค์กรที่ม้วนซ่อนเร้นทั้งหมดเอาไว้ภายใน ( implicate order ) หรือที่ซ่อนเร้นจักรวาลทั้งหมดเอาไว้อีกหนึ่ง นั่นคือหลักการที่อยู่เบื้องหลัง ศิลปะและสุนทรียกรรม และอยู่ข้างหลังญาณทัศนะอันเป็นเรื่องของศาสนาด้วย

นักคิดที่เป็นนักฟิสิกส์ และนักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า นั่นเป็นความคิดที่มาเองโดยไม่ผ่าน อัตตา เพราะมาจากนอกสมอง และไม่ได้ผ่านการบริหารของสมอง จึงไม่มีเหตุผล เมื่อเกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดในขณะนั้น ๆ เพราะความเป็นสากล มันจึงกลายเป็นคลื่นความคิดของทุก ๆ คนที่มารวมตัวกันที่นั้น มีสมาธิร่วมกันในที่นั้น และการรับฟังอย่างลึกซึ้งเองก็อาจให้สมาธิ ระดับสูงถึงอุเบกขาเอกัคตาก็ได้

เดวิด โบห์ม ถึงได้พยายามอธิบายที่มาของคลื่นอันเป็นสากลนั้นด้วยแนวคิดทางฟิสิกส์ (model) ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อหาความจริงของจักรวาลปรากฏการณ์ ( ordinary reality ) หลังจากที่โบห์มได้พูดคุยกับไอน์สไตน์ ( ที่เป็น realist - " พระเจ้าไม่เล่นการพนันหรอก " ) ที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น ( model ที่เรียกว่า neorealism ) ที่ประหนึ่งจะท้าทายอ้อม ๆ ต่อหลักของการโคเปนเฮเกนซึ่งโบห์ม ก็เห็นด้วยในตอนแรก ในขณะเดียวกัน แนวคิดนี้ก็สามารถอธิบายนทางวิทยาศาสตร์ควอนตัม ถึงที่มาของคลื่นสากลอันเป็นหัวใจของเดวิด โบห์ม ไดอะล็อก ได้ด้วย






โบห์มชี้ให้เห็นว่า อาศัยสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ ( Schrodinger ' s wave equation ) อิเล็กตรอนในสภาพควอนตัม (quiff) สามารถบอกตำแหน่ง ( position ) ก็ได้ หรือบอกความเร็ว ( momentum ) ก็ได้ แต่เราบอก ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่ได้ ด้วยสมการดังกล่าว โบห์มสร้างแนวคิดให้อิเล็กตรอน ( ในสนามควอนตัม ) เป็นไปได้แต่อนุภาคตลอดเวลา แต่สามารถเชื่อมโยงกับสนามอีก สนามหนึ่งที่อยู่เหนือสนามควอนตัมนั้น ซึ่งโบห์มเรียกว่า ' คลื่นนำร่อง '(pilot wave) หรือคลื่นที่เคลื่อนที่ด้วยกฏเฉพาะตัวของมัน คลื่นที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้จากสภาพที่เปลี่ยนไป ของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนหรืออนุภาคใดก็ตาม หากมองจากแนวคิดของโบห์มจะแตกต่างไปจาก ที่เข้าใจกันว่า มันอยู่ในสภาพควอนตัม ( quaff or quantum stuff ) คืออิเล็กตรอนมีศักยภาพของความเป็นไปได้ ( probability of proxy wave ) ของการเป็นอนุภาคหรือสสาร แต่ขณะเดียวกัน จะมีสภาพของความเป็นคลื่นซ้อนซ้ำ ( supperposittion ) อยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยแนวคิดของโบห์มนั้น อนุภาค จะเป็นเป็นไปได้ก็แต่อนุภาคอิเล็กตรอนนั้นมีจริง มีตำแหน่งหรือมีโมเมนต์ตัมเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งได้เท่านั้นจริง ๆ เป็น ' คลื่นนำร่อง ' ที่มาจากสนามควอนตัมี่ให้อิทธิพลทำให้ เหมือนกับว่า อิเล็กตรอนมีสภาพคลื่นเป็นของมันเอง

นั่นคือธรรมชาติของความจริง นั่นคือธรรมชาติของความคิดตามโมเดล ( model ) ขอโบห์ม ที่ให้ลักษณะของความเป็นคลื่นสากล ที่สามารถไปในทุกตำแหน่งแหล่งที่ได้พร้อม ๆ กันอย่างทันทีทันใด รับรู้ร่วมกันได้โดยไม่มีสถานที่หรือกาลเวลามากำหนด

ประสาน ต่างใจ
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2553 23:27:11 »

ขอบคุณครับ อ.มด

หายไปนาน แต่ก็ไม่เคยลืมที่จะเอาสิ่งดี ๆ มาเผื่อแผ่ แบ่งปันกัน

ขอบคุณครับ

 ขำ ขำ ขำ ขำ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิกฤติน้ำมัน อนาคตอยู่ที่จิตของเรา โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1802 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 13:53:10
โดย มดเอ๊ก
คนยุค “สมัยใหม่” คิดว่าจิตคือสมอง ( ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ )
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2240 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:10:27
โดย มดเอ๊ก
เหตุความแตกแยกของมนุษย์กับการเปลี่ยนผ่าน โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1886 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 16:13:19
โดย มดเอ๊ก
หนูน้อย พิมพวดี วิญญาณระลึกชาติ โดย นายแพทย์ อาจินต์ บุณยเกตุ
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 1 1769 กระทู้ล่าสุด 25 สิงหาคม 2559 03:06:32
โดย มดเอ๊ก
[ไทยรัฐ] - น้องชาย นร.หญิง 14 ปีลาโลก อยู่ในกลุ่มเปราะบาง ประสาน พมจ.สงขลาช่วยดูแล
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 172 กระทู้ล่าสุด 21 พฤษภาคม 2565 22:41:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.617 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 16:16:45