[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 13:24:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพจีนโบราณ#10 : พระเซนสำรวมใจ…อำนาจแห่งธรรมคือที่สุด  (อ่าน 4983 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5069


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Opera 9.80 Opera 9.80


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2557 16:15:09 »

ในสมัยห้าราชวงศ์(ค.ศ.907-960) เป็นยุคที่แผ่นดินจีนระส่ำระสายอย่างหนัก เกิดความแตกแยกรุนแรง ผู้มีอำนาจต่างตั้งตนเป็นใหญ่สร้างกลุ่มของตัวเองขึ้นมา ศิลปกรรมยุคนี้จึงไม่มีความโดดเด่นเท่าที่ควร ทว่าเมื่อถึงราชวงศ์ซ่ง ศิลปกรรมจีนกลับฟื้นคืนและรุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยเฉพาะด้านจิตรกรรมนั้นถือได้ว่าเด่นล้ำกว่าสมัยถังอีกขั้นหนึ่ง ทั้งยังโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ของจีน โดยจิตรกรรมในยุคนี้มีการพัฒนารูปแบบงานศิลปกรรมขึ้นมาอย่างเมีเอกลักษณ์


ภาพ “เอ้อจู่เถียวซิน(二祖调心)” หรือ “พระเซนสำรวมใจ” วาดโดย “สือเค่อ(石恪)” สมัยปลายยุคห้าราชวงศ์ต่อราชวงศ์ซ่ง ขนาด 35.5×129 ซ.ม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ภาพนี้วาดโดยจิตรกรนาม สือเค่อ(石恪) ชาวเมืองเฉิงตู ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงรอยต่อของยุคห้าราชวงศ์กับราชวงศ์ซ่ง ถนัดในการวาดภาพนักบวช ภาพบุคคล

เอ้อจู่เถียวซิน ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของจิตรกร สือเค่อ ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ในภาษาจีนเรียกว่า “ฉาน(禅)” หรือ “เซน” ในภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง โดยจิตรกรรมประเภทนี้จะมีความเป็นธรรมชาตินิยม คือเคารพในคุณสมบัติเดิมแท้ของสรรพสิ่ง อีกทั้งยังเน้นความสมถะ สันโดษ เรียบง่าย มักใช้วิธีการสร้างงานแบบเฉียบพลัน ฝีแปรงเร็ว รุนแรงและคมคาย

โดยในภาพจิตรกรใช้หมึกจางในการวาดศีรษะมือเท้า ขณะที่ใช้ฝีแปรงหนาหนัก ตวัดวาดเครื่องนุ่งห่มคลุมร่างกายอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดแสงเงาในเส้นหมึกทึบ นอกจากนี้จิตรกรยังวาดภาพเสือตัวใหญ่ที่กลายเป็นดั่งหมอนให้ภิกษุหนุนนอน ซึ่งเป็นการหยิบยกสัญลักษณ์มาใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อสะท้อนว่าอำนาจของธรรมมะในตัวของบรรพชิตยังสูงส่งกว่าอำนาจที่น่าเกรงขามของพยัคฆ์ ซึ่ง สือเค่อ สร้างสรรค์รูปแบบการใช้ฝีแปรงได้อย่างมีเอกลักษณ์โดยจะเห็นว่าในส่วนที่หมึกเข้มยังคงมีช่องว่างของสายตา ขณะที่ในหมึกสีอ่อนจางก็ยังคงมองเห็นรายละเอียดเช่นกัน จนกลายเป็นความขัดแย้งที่กลมกลืนสะท้อนออกมาจากภาพ

ภิกษุ 2 รูปในภาพนี้คือ ฮุ่ยเข่อ(慧可) สังฆปรินายกองค์ที่2 แห่งแผ่นดินจีนผู้สืบทอดของปรมาจารย์ตั๊กม้อหรือพระโพธิธรรม ส่วนอีกรูปหนึ่งคือ เฟิงกัน(丰干) อาจารย์เซนผู้โด่งดัง

ทั้งนี้ เซน เป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ 4 และ มรรค 8 มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเติบโตสูงสุดที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าของจีนในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น


ภาพปรมาจารย์ตั๊กม้อ ต๋าหมัวเมี่ยนปี้(达摩面壁) วาดโดย ซ่งซี่ว์(宋旭) จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง ขนาดภาพ 121.3 x 32.3 ซ.ม. โดยที่นำมาเป็นม้วนภาพส่วนท้าย ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หลี่ว์ซุ่น(Lushun Museum) เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน


ภาพปรมาจารย์ตั๊กม้อ ต๋าหมัวเมี่ยนปี้(达摩面壁) วาดโดย ซ่งซี่ว์(宋旭) จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง ขนาดภาพ 121.3 x 32.3 ซ.ม. โดยที่นำมาเป็นม้วนภาพส่วนท้าย ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หลี่ว์ซุ่น(Lushun Museum) เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน

จาก http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/08/22/zeshike/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.259 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 21:20:13