[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 ตุลาคม 2567 10:20:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พัดยศ : สมณศักดิ์ของสงฆ์ในปัจจุบัน  (อ่าน 5169 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557 23:23:46 »

พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี


พัดยศ มีชื่อเรียกและลักษณะแตกต่างกันไปตามศักดิ์ คือ

พัดหน้านาง สำหรับพระเปรียญ และพระฐานานุกรมบางตำแหน่งพัดพุดตาน สำหรับพระครูสัญญาบัตรและพระฐานานุกรมพัดเปลวเพลิง สำหรับพระครูสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง (ชั้นเอก)พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สำหรับพระราชาคณะทุกชั้น จนถึงสมเด็จพระราชาคณะ

พัดยศ เป็นพัดคู่กับ พัดรอง......

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557 23:25:02 »

ประวัติ

พัดยศ เป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทานสมณศักดิ์ โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการพระราชพิธีเท่านั้น วิวัฒนาการของพัดยศก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน

พัดยศพัฒนามาจากรูปแบบเดิมคือตาลปัตร คำว่าตาลปัตรมาจากภาษาบาลีว่า ตาลปตฺต ซึ่งแปลว่าใบตาล ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบตาล ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่างๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น พัดยศหมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า พัดรอง หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง





เรื่องตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่าตาลปัตร วาลวิชนี และจิตรวิชนี

ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง วาลวิชนี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค ส่วนจิตรวิชนี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน

การที่ตาลปัตรรูปหน้านางเป็นที่แพร่หลาย และรู้จักกันทั่วไปนั้นเกิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางแทนตาลปัตรที่เรียกว่า "พัชนี" กล่าวคือพระสงฆ์ในช่วงระยะเวลานั้นนิยมนำพัชนีที่มีรูปทรงเป็นพัดงองุ้มด้ามยาว ตัวพัดทำขึ้นจากโครงโลหะหรือไม้แล้วหุ้มด้วยผ้าที่มีลวดลายมาใช้แทนตาลปัตรใบตาล ด้วยถือกันอย่างผิดๆ ว่าเป็นเครื่องยศสำหรับพระสงฆ์ผู้มีบรรดาศักดิ์ที่เอาไว้ใช้แทนตาลปัตรหรือให้ลูกศิษย์พัดถวายปรนนิบัติ และยิ่งกว่านั้นยังได้ปรากฏการทำตาลปัตรพัชนีเลียนแบบพัชนีที่เป็นเครื่องยศของเจ้านายและขุนนางออกจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในงานพิธีกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้พระสงฆ์ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางไว้ดังนี้

(พัดหน้านาง)พัดยศเปรียญธรรม 9 ประโยค

"....พัชนีนั้นท่านคิดไปดูรูปร่างเห็นบัดสี ใครคิดอ่านทำขึ้นเมื่อไรให้เปนรูปอย่างนี้ ผู้นั้นจะไม่ได้พิจารณาให้ลเอียดเลย...ใช้ไปไม่มีสตินึกได้บ้างเลยว่า รูปร่างไม่ดีไม่เปนมงคลเลย เอามาถือบังหน้าตาครอบหัวครอบหูอย่างไรมิรู้อยู่ น่ารำคาญใจ...เครื่องมือไทยอีกอย่าง 1 รูปร่างก็คล้ายพัชนี คือจวัก ที่เรียกว่าจ่าหวักก็ดี.....เอามาใช้ตักเข้ากวนแกงซึ่งจะขึ้นถ้วยขึ้นชามขึ้นสำรับ....ในเครื่องต้นแล เครื่องเจ้านายที่มีบันดาลศักดิ์สูง เขาไม่ใช้มานานแล้ว เขามีทัพพีทองเหลืองทำรูปเหมือนช้อนต้นใหญ่ปลายย่อม......ครั้งนี้ทรงพระราชดำริที่จะใคร่ให้พระสงฆ์เลิกใช้พัชนีเสีย จะกลับไปทำพัดโครงไม้ไผ่ขึงๆ ปิดแพรปิดโหมดถวายให้ใช้เป็นอย่างพระสงฆ์จะยอมฤๅ ไม่ยอมไม่ทราบเลย การก็เคยมานานแล้ว ถ้าพระสงฆ์ยังชอบใจจะคงใช้อยู่ก็ตาม..."

ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์ธรรมบท ว่า "ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระอานนท์ และ "พระสารีบุตร ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..." และความตอนหนึ่งในพุทธประวัติว่า "พระเจ้าปัสเสนทิโกศลโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..." ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาวลังกาในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น

ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะทำให้ศาสนพิธีนั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น

พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

(พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ

รูปแบบของพัดยศ

บันทึกการเข้า
คำค้น: พัดยศ ตาลปัตร วัด งานบุญ งานพิธี ของที่ระลึก 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พัดยศ-พัดรอง
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 1614 กระทู้ล่าสุด 09 สิงหาคม 2563 14:49:14
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 06 สิงหาคม 2567 20:59:26