เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 00:59:33 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 01:04:59 » |
|
อาจารย์นาคารชุนกล่าวไว้ใน "ทวาทศนิกายศาสตร์" อีกว่า "มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง ๒ เหตุนั้น จึงชื่อว่า "มหายาน" พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ ๆ จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า "มหา" อนึ่ง ปวงพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า "มหา" และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า
"มหา" อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระสถามปราปต์โพธิสตว์ พระเมตเตยยโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า "มหา" อนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า "มหา" นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อความที่ยกย่อง "มหายาน" อีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายาน เช่นเรียกว่า อนุตรยาน ยานอันสูงสุด, โพธิสัตวยาน ยานของพระโพธิสัตว์, พุทธยาน ยานของพระพุทธเจ้า, เอกยาน ยานอันเอก เป็นต้น
สรุปแล้ว ยานในพระพุทธศาสาได้แบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. สาวกยาน (เซียบุ่งเส็ง) คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
๒. ปัจเจกยาน (ตกกักเส็ง) คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
๓. โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง) คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า ๒ ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 01:19:44 » |
|
ในโพธิจิตสูตร (พู่ที้ซิมเก็ง) พราหมณ์กัสสปโคตร ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "การหลุดพ้นมีความแตกต่างกันด้วยหรือ" พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า "วิมุตติมรรค หาได้มีความแตกต่างกันไม่ ก็แต่ยานพาหนะที่จะไปนั้น มีความต่างกันอยู่ อุปมาเหมือนถนนหลวง ย่อมมีผู้ไปด้วยพาหนะ คือ ช้างบ้าง ม้าบ้าง ลาบ้าง เขาทั้งหลายย่อมบรรลุถึงนครอันตนปรารถนา เพราะเหตุนั้น สาวกยาน ปัจเจกยาน อนุตรสัมโพธิยาน ทั้ง ๓ นี้มีต่างกัน ก็แต่มรรคและวิมุติหามีความแตกต่างกันไม่" แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า "หนทางความหลุดพ้นไม่มีต่ำสูง แต่ยานพาหนะทั้งหลายมีความแตกต่าง ผู้มีปัญญาพึงเปรียบเทียบเช่นนี้แล้วพึงเลือกเอายานที่ประเสริฐสุด"
ในอุปาสกศีลสูตร (อิวผ่อสักก่ายเก็ง) มีคำอุปมาที่น่าฟังอีก คือพระพุทธดำรัสว่า "ดูก่อนกุลบุตร เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา สัตว์ ๓ ตัวได้ว่ายข้ามไปด้วยกัน คือ กระต่าย ม้า และช้าง กระต่ายไม่อาจหยั่งถึงพื้นดินได้ลอยน้ำข้ามไป ม้าบางขณะก็หยั่งถึง บางขณะก็หยั่งไม่ถึง ส่วนช้างนั้น ย่อมหยั่งถึงพื้นดิน แม่น้ำคงคานั้นเปรียบประดุจดั่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ สาวกข้ามเปรียบเหมือนกระต่าย ปัจเจกพุทธข้ามเปรียบเหมือนม้า แต่ตถาคตข้ามเปรียบเหมือนช้าง
ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาอุปมายานทั้ง ๓ ไว้ดังนี้คือ สกลโลกเปรียบด้วยบ้านที่ถูกไฟกิเลสเผาผลาญ ประชาสัตว์เปรียบด้วยผู้อาศัยในบ้านนั้น ด้วยอำนาจของอวิชชาก็ทำให้หลง ไม่คิดจะหลบหลีกหนีเพลิง พระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณายิ่งนัก จึงทรงประทานอุบายชักนำว่า ถ้าแม้นยอมออกจากบ้านแล้ว ก็จักประทานรถบรรทุกสมบัติของอันมีค่าอันน่าเพลิดเพลินอันเทียมด้วยแพะ กวาง และวัว ให้ประชาสัตว์เหล่านั้น
ด้วยความต้องการอยากได้ของประทาน จึงยอมออกมา ครั้นแล้วพระองค์ผู้เปรียบด้วยบิดาของปวงสัตว์แทนที่จะประทานรถเล็ก ๆ อันเทียมด้วยสัตว์ทั้ง ๓ นั้นให้ พระองค์กลับประทานรถมหึมาบรรจุมหาสมบัติอันใช้มิรู้สิ้น เทียมด้วยโคขาวที่ทรงพลังมหาศาลให้ สาวกยานเปรียบด้วยยานที่เทียมด้วยแพะ ปัจเจกยานเปรียบด้วยยานที่เทียมด้วยกวาง โพธิสัตวยานเปรียบด้วยยานที่เทียมด้วยโค ทั้ง ๓ ยานนี้เป็นเพียงอุบายโกศลธรรม ยังหาใช่ยานที่แท้จริงไม่ ยานที่แท้จริงมียานเดียว คือเอกยานหรือพุทธยานเท่านั้น หลักการเอกยาน จึงเป็นความคิดสมานเชื่อมตรียานให้หลอมเข้ามาสู่จุดเดียวกันได้อย่างแนบเนียน และก็คงเป็นมหายานคือสู่พุทธภูมิ โพธิสัตวยานเหมือนการทำเหตุ พุทธยานเหมือนผลอันเกิดจากเหตุที่บำเพ็ญบารมีแล้ว แต่ก็เป็นการยกจิตให้สูงมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งเกิดด้วยน้ำใจที่กรุณาต่อโลกเป็นมูลฐาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 01:32:33 » |
|
พระกายของพระพุทธเจ้า
หลักใหญ่ ๆ ของมหายานอยู่ที่หลักเรื่อง "ตรีกาย" กายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้า
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เหล่าสาวกเริ่มคิดถึงความเป็นอัจฉริยะของพระองค์มากยิ่งขึ้น ตามทัศนะของสาวกยานิกชน พระพุทธเจ้าเป็นอภิบุคคล ผู้ได้บรรลุความสมบูรณ์แห่งปัญญาในชีวิตนี้ เพราะอำนาจความเจริญทางจิตใจ และบุญกรรมที่ได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ ความเคารพอันลึกซึ้งที่เหล่าสานุศิษย์ของพระองค์มีอยู่ ทำให้ไม่พอใจด้วยความเป็นมนุษย์ธรรมสามัญของพระบรมครูของตน จึงพยายามสร้างสรรค์ให้พระองค์เป็นสิ่งที่เหนือกว่าวิญาณอมตะ ถึงคัมภีร์บาลีก็ได้กล่าวถึงชีวิตอันสูงล้ำสำหรับพระพุทธเจ้า นอกเหนือไป จากชีวิตโลกีย์อีกด้วย เพราะความคิดว่า พระพุทธเจ้ามีสภาพสูงล้ำเหนือชีวิตโลกีย์ จึงทำให้ ปราชญ์ฝ่ายมหายานอธิบายถึงพระพุทธเจ้าใน ๓ วิธีคือ
๑. นิรมาณกาย หมายถึง กายที่เปลี่ยนแปลงได้ ตามสภาพของสังขารในฐานะที่เป็นมนุษย์ พระศากยมุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่บนโลก สั่งสอนธรรมแก่สานุศิษย์ของพระองค์ ดับขันธปริ-นิพพานเมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา
๒. สัมโภคกาย หมายถึง กายอันมีส่วนแห่งความรื่นเริงในฐานะเป็นพุทธอุดมคติผู้สั่งสอนแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
๓. ธรรมกาย หมายถึง กายอันเกิดจากธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้ ความกรุณา และความสมบูรณ์
มหายานชั้นแรกดูเหมือนจะมีทัศนะตรงกับเถรวาทที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระกายเพียง ๒ เท่านั้นคือ ธรรมกาย และ นิรมานกาย ธรรมกายนั้น มีพระพุทธวจนะที่ตรัสโดยตรงในบาลีอัคคัญญสูตรแห่งทีฆนิกาย
ส่วนนิรมาณกายนั้นได้แก่พระกายของพระศาสดาที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ในคัมภีร์ฝ่ายมาธยมิกชั้นแรก ก็ยังไม่พบกายที่ ๓ ธรรมกาย ตามนัยแห่งเถรวาทหมายถึงพระคุณทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่
พระปัญญาคุณ
พระวิสุทธิคุณ
และพระมหากรุณาธิคุณ
มหายานได้สร้างแนวความคิด ตรีกายขึ้นด้วยวิธีเพิ่มกายอีกกายหนึ่งเข้าไป คือ สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์อันสำแดงปรากฏให้เห็นเฉพาะหมู่ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ เป็นทิพย-ภาวะมีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพราะฉะนั้น แม้จนกระทั่งบัดนี้ พระโพธิสัตว์ก็ยังอาจจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ในรูปสัมโภคกาย พระพุทธองค์ยังทรงอาจสดับคำสวดมนต์ของเรา แม้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี ทั้งนี้ก็ด้วยการดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นเพียงการสำแดงให้เห็นปรากฏในรูปนิรมานกายเท่านั้น ส่วนธรรมกายนั้น ก็เป็นสภาวะอมตะ ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แผ่คลุมอยู่ทั่วไป ความคิดเรื่องสัมโภคกายนี้ มหายานได้รับจากนิกายมหาสังฆิกะ และในหมู่คณาจารย์ของมหายานก็ไม่มีความเห็นพ้องกันในเรื่องนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 01:49:23 » |
|
อันที่จริง พระพุทธองค์มิใช่มีถึง ๓ กาย คงมีแต่เพียงกายเดียว ตรีกายนั้นเป็นเพียงลักษณะของพระพุทธเท่านั้น ถ้ากล่าวตามทัศนะในแง่ความสมบูรณ์ ความเป็นสากล พระองค์ก็คือธรรมกายอันสูงล้ำ หรือถ้ามองจากทัศนะความเป็นอุดมคติ พระองค์ก็คือสัมโภคกายผู้สั่งสอนพระโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ ในการทำงานปลดเปลื้องสรรพสัตว์จากกองทุกข์ อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามทัศนะนิรมานกายพระองค์คือพระศากยมุนีผู้ประสูติ ณ สวนลุมพินี ได้ตรัสรู้สัจธรรม ภายใต้ต้นโพธิ์ และดับขันธปรินิพพาน เมื่อได้เผยแผ่พระพุทธธรรมตามพระปณิธานที่ได้ตั้งไว้ พึงระลึกไว้ด้วยว่า พระศากยมุนีนั้น มิใช่เป็นการสำแดงรูปของธรรมกายในรูปนิรมาณกายพุทธ เพราะการสำแดงรูปนิรมานกายนั้นมีมากหลาย ดุจมีบุคคลอุดมคติมากหลายของสัมโภคกาย แต่ธรรมกายพุทธที่สมบูรณ์นั้น มีอยู่เพียงหนึ่ง
ใน ตรีกายสูตร อันเป็นสูตรหนึ่งของมหายาน ได้กล่าวไว้ว่า "พระอานนท์ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงมีพระกายเพียงหนึ่งเท่านั้นหรือ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่าตถาคตมีกายสาม" ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ตรีกายนี้หมายถึงลักษณะ ๓ ประการของพระพุทธเจ้า ดังนี้
อุดมคติและจุดหมายสูงสุดของมหายาน
หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ ทุก ๆ นิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บังเกิดพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 01:51:56 » |
|
อันที่จริง พระพุทธองค์มิใช่มีถึง ๓ กาย คงมีแต่เพียงกายเดียว ตรีกายนั้นเป็นเพียงลักษณะของพระพุทธเท่านั้น ถ้ากล่าวตามทัศนะในแง่ความสมบูรณ์ ความเป็นสากล พระองค์ก็คือธรรมกายอันสูงล้ำ หรือถ้ามองจากทัศนะความเป็นอุดมคติ พระองค์ก็คือสัมโภคกายผู้สั่งสอนพระโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ ในการทำงานปลดเปลื้องสรรพสัตว์จากกองทุกข์ อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามทัศนะนิรมานกายพระองค์คือพระศากยมุนีผู้ประสูติ ณ สวนลุมพินี ได้ตรัสรู้สัจธรรม ภายใต้ต้นโพธิ์ และดับขันธปรินิพพาน เมื่อได้เผยแผ่พระพุทธธรรมตามพระปณิธานที่ได้ตั้งไว้ พึงระลึกไว้ด้วยว่า พระศากยมุนีนั้น มิใช่เป็นการสำแดงรูปของธรรมกายในรูปนิรมาณกายพุทธ เพราะการสำแดงรูปนิรมานกายนั้นมีมากหลาย ดุจมีบุคคลอุดมคติมากหลายของสัมโภคกาย แต่ธรรมกายพุทธที่สมบูรณ์นั้น มีอยู่เพียงหนึ่ง
ใน ตรีกายสูตร อันเป็นสูตรหนึ่งของมหายาน ได้กล่าวไว้ว่า "พระอานนท์ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงมีพระกายเพียงหนึ่งเท่านั้นหรือ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่าตถาคตมีกายสาม" ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ตรีกายนี้หมายถึงลักษณะ ๓ ประการของพระพุทธเจ้า ดังนี้
อุดมคติและจุดหมายสูงสุดของมหายาน
หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ ทุก ๆ นิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บังเกิดพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล
มีต่อค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 08:06:06 » |
|
มนุษย์ทุกคนมีพุทธภาวะ
พุทธภาวะคือธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ที่สามารถพัฒนาตนได้จนถึงความพ้นทุกข์ ขออธิบายถึงความหมายและความเป็นพุทธภาวะ โดยจะยึดถือตามแนวของท่าน เว่ยหล่าง (ฮุ่ยเล้ง) สังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายธยานหรือเซน ในประเทศจีน ซึ่งท่านได้อรรถาธิบายไว้ในเรื่อง "มหาปรัชญาปารมิตาสูตร" ดังนี้
ก็ปัญญาที่ทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้น มีอยู่ในตัวเราทุก ๆ คน แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความมืดบอดที่ครอบงำใจของเราไว้ เราจึงมองไม่เห็นมันด้วยตนเอง จนเราต้องเสาะแสวงคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น ที่เขาได้เห็นแจ้งแล้วก่อนหน้าที่เราจะรู้จักจิตเดิมแท้ของเราเอง เราควรจะทราบไว้ว่า ถ้าธรรมชาติแห่งการเป็นพุทธยังถูกห่อหุ้มเกี่ยวพันอยู่เพียงใดแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างอะไรกัน ระหว่างผู้ที่เห็นแจ้งกับผู้ที่มืดบอด ข้อที่แตกต่างกันนั้น อยู่ที่คนหนึ่งได้ตรัสรู้แจ่มแจ้ง เพราะพุทธภาวะอันเกี่ยวกับผู้นั้นถูกเพิกถอนเครื่องห่อหุ้มได้หมดจดแล้ว
ส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่ แม้แต่บรรดาพวกที่สวดร้องถึงคำว่า "ปรัชญา" อยู่ตลอดทั้งวัน ก็ดูเหมือนว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้ทราบเลยว่า ปรัชญานั้นมีอยู่ในธรรมชาติเดิมของเขาเองแล้ว ก็การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น เราอาจพูดกันถึงเรื่องศูนยตา เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้ แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ้งในจิตเดิมแท้ได้ และในที่สุดก็ไม่ได้อะไรตามที่ตนประสงค์เลย
วิสุทธิภูมิ พุทธภูมิ
มหายานมีมติว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มีจำนวนมากมายดุจเมล็ดทรายในคงคา นที และในจักรวาลอันเวิ้งว้างนี้ ก็มีโลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแสดงพระสัทธรรมเทศนาอยู่ทั่วไปนับประมาณมิได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เช่น ปัจจุบันโลกธาตุของเราว่างจากพระพุทธเจ้ามา ๒ พันกว่าปี แต่ในขณะนี้ ณ โลกธาตุอื่นก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และกำลังสั่งสอนสรรพสัตว์ โลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัตินั้น บางทีเรียกว่า "พุทธเกษตร" บางพุทธเกษตรบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยทิพยภาวะน่ารื่นรมย์ สำเร็จแล้วด้วยอำนาจปณิธานของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็มี สำเร็จแล้วด้วยกรรมนิยมของสัตว์ก็มี เป็นสถานที่สรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่น ๆ ควรมุ่งไปเกิด พุทธภูมิที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกชน ที่สำคัญและมีชื่อเสียงโด่งดัง คือ สุขาวดีพุทธเกษตร ของพระอมิตาภะ อยู่ทางทิศตะวันตกแห่งหนึ่ง พุทธเกษตรของพระพุทธไภสัชชคุรุไวฑูรย์ประภา-ราชา อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพุทธเกษตรซึ่งมีรัศมีไพโรจน์แล้วด้วยมณีไพฑูรย์ พุทธเกษตรของพระอักโษภยะแห่งหนึ่ง และมณฑลเกษตรของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์อีกแห่งหนึ่ง เกษตรทั้ง ๔ นี้ ปรากฏว่าสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ เป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานมากที่สุด ถึงกับสามารถตั้งเป็นนิกายโดยเอกเทศต่างหาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 08:16:04 » |
|
หลักแห่งโพธิสัตวยาน
โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง) คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า ๒ ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม หลักพระโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทุกข์เสียก่อนแล้วตัวเราค่อยหลุดพ้นทุกข์ทีหลัง คือจะต้องชักพาให้สัตว์โลกอื่น ๆ ให้พ้นไปเสียก่อน ส่วนตัวเราเป็นคนสุดท้ายที่จะหลุดพ้นไป นี่เป็นหลักแห่งโพธิสัตวยาน พระโพธิสัตว์
ต้องบำเพ็ญ ทศ ปารมิตา.คือ บารมี 10 ได้แก่
1.ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี 2.ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี 3.กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี 4.วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี 5.ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี 6.ปรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี 7.อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี 8.ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี 9.พลปารมิตา หรือ พลบารมี 10.ชฺานปารมิตา หรือ ญาณบารมี.
อันที่จริง หลักนี้อาจสงเคราะห์ลงในหลักอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นมูลอนุศาสนีของพระพุทธศาสนา ตามแนวแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายทักษิณนิกาย เราถือว่าทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง มรรคต้องเจริญ ฝ่ายโพธิสัตวยานก็เหมือนกัน แต่มีข้ออธิบายเพิ่มเติมคือ ทุกข์ นอกจากจะต้องกำหนดรู้ด้วยตนเองแล้ว เราจำต้องให้สรรพสัตว์กำหนดรู้ทุกข์ด้วย ไม่ใช่ตัวเรากำหนดรู้ทุกข์เพียงคนเดียว แม้สมุทัย นิโรธ มรรค ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน นี้เป็นอริยสัจ ๔ ของพระโพธิสัตวยาน อันแตกต่างจากฝ่ายทักษิณนิกาย โพธิสัตวจริยา ข้อที่จะต้องบำเพ็ญ คือบารมี ๖ อัปปมัญญา ๔ และมหาปณิธาน ๔
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 08:46:37 » |
|
จะกล่าวเรื่องของบารมี ๖ ก่อน บารมีนั้น ความจริงมีอยู่ ๑๐ แต่ย่อลงเป็น ๖ มีทาน ศีล วิริยะ ขันติ ฌาน และ ปัญญา (รวมถึง อุบาย ประณิธาน พละ ชญาน) ความหมายของบารมี ๖ ในทัศนะของพระโพธิสัตว์นั้น มีดังนี้
ศีลกับทาน ซึ่งมีคุณ กล่าวคือ กำจัดโลภะ ในตัวเราเองแล้ว พระโพธิสัตว์ยังจะต้องสอนให้สัตว์ทั้งหลายกำจัดโลภะ ด้วยศีลเป็นเครื่องวิรัติไม่ให้เราทำความชั่ว และเราจะต้องสอนให้สัตว์ทั้งหลายวิรัติ ไม่ให้ทำความชั่วด้วย พระโพธิสัตว์จะต้องเป็นผู้นำให้สัตว์ทั้งหลายดำเนินตามศีลกับทานเป็นคุณธรรมที่สำคัญมาก เมื่อเราปลูกฝังคุณธรรมนี้ได้แล้ว จึงสมควรที่จะรองรับอนุศาสนีเบื้องสูงต่อ ๆ ไป เป็นลำดับได้
ทานบารมี นั้น ท่านแปลงเป็น ๓ ชนิด คือ วัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน ทานทั้ง ๓ ชนิดนี้ ใน สมันตภัทรปณิธานจริยาวรรค (โผวเฮี้ยงเห่งง่วงปิ้ง) กล่าวว่าธรรมทานเป็นเลิศ เหตุไฉนจึงว่าธรรมทานนั้นเป็นเลิศกว่าทานทุกชนิด ทั้งนี้เพราะว่า การให้ซึ่งธรรมนี้ เป็นการให้ปัญญาแก่ตนเอง และทำให้ผู้อื่นได้ปัญญาด้วย
ศีลบารมี นั้น มี ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ แต่ว่าทางฝ่ายมหายานพิเศษออกไปอีก คือสิกขาบทมี ๒๕๐ และมีศีลพระโพธิสัตว์อีก ๕๘ ข้อ แบ่งเป็นครุ ๑๐ และลหุ ๔๘ ผู้ใดล่วงศีลพระโพธิสัตว์ครุ ๑๐ ข้อถือว่าปาราชิก ส่วนลหุ ๔๘ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งถือว่า พระโพธิสัตว์ผู้ถือศีลนั้น เมื่อออกจากสถานที่อยู่ หรือว่าเดินไปตามถนนหนทาง ถ้าพบปะสิ่งมีชีวิตจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานก็ตาม พระโพธิสัตว์ต้องแผ่เมตตาตั้งปรารถนาขอให้สัตว์นั้น ๆ ถึงซึ่งความสุข และบรรลุถึงพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ถ้าพระโพธิสัตว์องค์ใดไม่ตั้งความปรารถนาอย่างนี้ถือว่าผิดศีล
วิริยบารมี และ ขันติบารมี โดยเฉพาะข้อขันติบารมีหรือความอดทน พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้เกิดมี เป็นธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามักจะต้องผจญกับอุปสรรค ที่อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากกิเลสในตัวเราเองได้ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติขาดขันติธรรมแล้ว ก็ไม่อาจก้าวหน้าบรรลุถึงธรรมเบื้องสูงได้ ขันติมีอธิบายหลายนัย เช่น ความอดทนต่อความหนาวร้อน ความอดทนต่อโรคภัยไข้เจ็บ และความอดทนต่อกิเลส พระโพธิสัตว์จะต้องมีความอดทนบริบูรณ์ทั้ง ๓ ชนิด จึงจะสามารถผจญต่อสู้กับอุปสรรคเครื่องกีดขวางต่อการบรรลุธรรมได้ อนึ่ง ถ้าพระโพธิสัตว์ใดขาดวิริยะ กล่าวคือความเพียร พระโพธิสัตว์นั้นก็ไม่สามารถจะก้าวไปสู่คุณธรรมเบื้องสูงได้ อันคุณธรรมความดีนั้น เราไม่ควรจะหยุดยั้งพอใจในชั้นใดชั้นหนึ่ง เราควรประกอบกิจให้ก้าวล่วงขึ้นไปสู่ภูมิธรรมขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้น จนในที่สุดให้เข้าถึงความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย อันเป็นขั้นสูงสุด
ทีนี้มาถึงเรื่อง ฌานบารมี หรือ สมาธิ กับ ปัญญาบารมี ฌานบารมีเป็นข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ที่พระโพธิสัตว์จะต้องมี สำหรับสงบระงับความหวั่นไหวของจิตต่อโลกธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาถ้าขาดฌานหรือสมาธิแล้ว ก็ง่ายต่อการถูกโลกธรรมชักจูงให้ผันแปรไป เช่น พระธรรมกถึกที่สามารถในเทศนาจนเป็นที่ไพเราะจับใจของผู้ฟัง ท่านย่อมได้รับความยกย่องนับถือและสรรเสริญ ตลอดจนลาภสักการะจากประชุมชน ถ้าพระธรรมกถึกรูปนั้นไร้ความเข้มแข็งแห่งจิตแล้ว ก็เกิดความยินดีติดในลาภสักการะนั้น ลาภสักการะก็กลายเป็นอาวุธประทุษร้ายท่านทันที ตรงกันข้ามกับผู้ที่ผ่านการอบรมจิตมาพอ ย่อมไม่หวั่นไหวไปกับลาภสักการะเลย สามารถเอาชนะความใคร่ ความอยากที่จะมีชื่อเสียงเกียรติยศได้ และผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ชนะโลกธรรมด้วย ส่วนปัญญาบารมีก็คือการสร้างความเห็นที่ถูกให้เกิดมีขึ้น ความเห็นที่ถูกคือสัมมาทิฏฐิ อันตรงกันข้ามกับมิจฉาทิฏฐิ อันนี้สำคัญมาก ความตรัสรู้รอดพ้นจากปวงทุกข์ ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิจึงเกิดมีขึ้นได้ และสัมมาทิฏฐินี้เป็นแม่บทแห่งคุณธรรมทั้งหลายด้วย พระโพธิสัตว์องค์ใดบำเพ็ญบารมีทั้ง ๖ อย่างนี้บริบูรณ์เต็มที่แล้วเมื่อใด เมื่อนั้นก็ย่อมบรรลุแก่พระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 12:26:43 » |
|
นอกจากบารมี ๖ ประการนี้ พระโพธิสัตว์ยังจะต้องมีอัปปมัญญาภาวนาอีก ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เรียกอีกนัยหนึ่งว่า "อัปปมาณหฤทัย" ซึ่งในพระพุทธธรรมฝ่ายเถรวาทก็มีเหมือนกัน มีคำอธิบายว่า เมตตา พระโพธิสัตว์ต้องให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ กรุณา พระโพธิสัตว์ต้องปลดเปลื้องความทุกข์ของสรรพสัตว์ มุทิตา พระโพธิสัตว์ต้องยินดีอนุโมทนา เมื่อสัตว์พ้นทุกข์และได้สุข ส่วน อุเบกขา ตามรูปศัพท์ภาษาจีนแปลว่า "ละ" คือ พระโพธิสัตว์จะต้องไม่ยึดถือในความดี ว่าตนได้บำเพ็ญไปให้ผู้ใดผู้หนึ่ง และไม่ยึดถือในการปรารถนาตอบแทนด้วย
พระโพธิสัตว์จะต้องรำลึกเสมอว่า คุณความดีที่ท่านได้บำเพ็ญนั้น ต้องมีความรู้สึกว่า ท่านมิได้บำเพ็ญ ต้องไม่รู้สึกยึดถือว่าท่านบำเพ็ญความดี ตราบใดที่มีความรู้สึกว่าตัวเราเข้าไปแทรกในการทำอย่างนี้อยู่ ตราบนั้นก็ยังไม่นับว่าทำถูกตามจุดประสงค์ ยกตัวอย่างด้วยการให้ทาน พระโพธิสัตว์จะต้องรู้สึกว่าไม่มีผู้ให้และไม่มีวัตถุที่จะให้ ตลอดจนไม่มีผู้ที่จะรับทานด้วย พระโพธิสัตว์องค์ใดถ้ายังมีความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้ ก็ยังจัดเข้าเป็นการทำทานอย่างโลกิยะไป ต้องทำลายความยึดถือว่า เรากำลังทำความดี ทำลายความยึดถือว่า ผู้นั้นผู้นี้กำลังรับทานจากเราเสียก่อน จึงจะเป็นลักษณะของการให้ทานอย่างพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริง
มหาปณิธาน ๔
นอกจากดังที่กล่าวมาแล้ว พระโพธิสัตว์ยังต้องมีมหาปณิธานอีก ๔ ซึ่งนำมาเทียบกับหลักอริยสัจ ๔ แล้ว จะเห็นได้ว่ามีส่วนคล้ายคลึงกัน
๑.สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้ เราจักโปรดให้หมดสิ้น เราจะต้องปลดเปลื้องให้พ้นทุกข์ ข้อนี้เทียบด้วยอริยสัจ ๔ ในข้อทุกขสัจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำหนดรู้ คือเมื่อเรารู้ว่าเราทุกข์ เราก็ย่อมแจ้งให้คนอื่น ๆ ทราบว่า เขาก็มีทุกข์เช่นเดียวกัน แต่พระโพธิสัตว์จะต้องปรารถนาความพ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์อีกด้วย
๒. กิเลสทั้งหลายที่ไม่สงบระงับ เราจะกำจัดให้หมดสิ้น เราจะต้องละทิ้งทำลายให้หมด และปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสเหล่านั้นด้วย ข้อนี้เทียบด้วยข้อสมุทัยคือตัณหาซึ่งเราจะต้องละ จะเจริญไม่ได้ ข้างฝ่ายมหายานถือว่า นอกจากตัวเราจะทำลายกิเลสของเราเองแล้ว จึงต้องช่วยแนะนำให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสของเขาด้วย
๓. ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องศึกษาให้เจนจบ เราจักต้องเรียนรู้และทำความศึกษาปฏิบัติ เทียบด้วยมรรคสัจซึ่งต้องเจริญให้มีขึ้น เราจึงจะกำหนดรู้ทุกข์และสมุทัยได้ และจะต้องยังสรรพสัตว์ให้ศึกษาในพระธรรมด้วย
๔. พุทธมรรคอันประเสริฐ เราจะต้องบรรลุให้จงได้ เทียบด้วยทำนิโรธสัจให้แจ้ง และจะต้องยังสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงด้วย เพราะฉะนั้น ตามปณิธานทั้ง ๔ นี้ เมื่อเทียบกับหลักอริยสัจแล้วจะเห็นว่า ฝ่ายมหายานต้องการจะปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2553 19:48:59 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 14:16:41 » |
|
บทวิเคราะห์ข้อแตกต่าง ระหว่าง มหายานกับเถรวาท ( หินยาน ) พุทธศาสนาฝ่ายมหายานกับฝ่ายเถรวาท ต่างเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า จุดมุ่งหมายสูงสุดของสองนิกายนี้มีอยุ่ร่วมกันคือ
วิมุตติ ความหลุดพ้น จะมีข้อแตกต่างเพียงนิกายว่า จะตีความตามพระธรรมวินัยอย่างไร
และเมื่อนำสารัตถะของนิกายมหายานกับหินยานมาเปรียบเทียบกันดู เราก็จะได้รับประโยชน์ทางปัญญาดังนี้คือ
๑. เถรวาท ( หินยาน ) ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิม ตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่ง
และศักดิ์สิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลัก
เป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้ง ของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก
มหายานเป็นพวกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง มองพระพุทธพจน์ในแง่ปรัชญา วิพากษ์วิจารณ์ ความหมายพระพุทธพจน์ไปในแง่ต่าง ๆ ตามความคิดของบุคคลแต่ละบุคคล
ปรับปรุงธรรมวินัยไปตามกาละเทศะ เพื่อความเหมาะสมแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน แล้วใช้ต้นฉบับนั้นเป็นหลัก
๒. เถรวาทตั้งพระพุทธพจน์เป็นแกนกลาง แล้วดึงบุคคลให้เข้าหาพระพุทธพจน์ โดยอ้างเหตุผลเป็นเครื่องจูงใจ
มหายาน ตั้งบุคคลเป็นแกนกลางคำนึงถึงสติปัญญาความคิดความรู้และความสามารถ ของบุคคลเป็นเกณฑ์
แทนที่จะปรับบุคคลให้เข้าหาพระพุทธพจน์ แต่ปรับพระพุทธพจน์เข้าหาบุคคล
เพื่อประโยชน์แก่การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ผ่อนปรนจนบางนิกายอนุมัติให้พระสงฆ์ มีครอบครัวได้ เพื่อประโยชน์ทางการเผยแพร่
๓. เถรวาทตั้งเป้าหมายและวิธีพื่อบรรลุเป้าหมายไว้สูงและยาก ต้องอาศัยความตั้งใจจริง ๆ จึงจะกล้าดำเนินการตามเป้าหมายและบรรลุตรงเป้าหมายนั้น
ทำให้สามัญชนโดยทั่วไปมองพระพุทธศาสนาในสิ่งสูงสุดยากที่จะเข้าถึง
มหายาน ตั้งเป้าหมายไว้ง่าย ๆ โดยใช้ หลักจิตวิทยาชั้นสูง จูงใจคน คือ ปรับพระพุทธพจน์ให้เข้ากับบุคคล ให้คนทั่วไปมีความรู้สึกว่าพุทธภาวะนั้นอยู่แค่เอื้อม
เพราะมีอยู่ในทุกคนแล้ว ดังนั้นบุคคลทุกเพศทุกวัยก็อาจบรรลุพุทธธรรมได้ โดยไม่ต้องอาศัยวิธีที่ยากมากหรือการปฏิบัติมากนัก
๔.เถรวาทมุ่งที่ปัจเจกภาพหรือคุณภาพเฉพาะบุคคล คือ เริ่มที่ตนแล้วจึงไปหาผู้อื่น หมายถึงว่าเถรวาทถือคุณภาพเป็นสำคัญ
มหายาน ถือ ปริมาณเป็นสำคัญ โดยมุ่งเอาปริมาณไว้ก่อน เพราะถือว่า คุณภาพย่อมเกิดจากปริมาณ
โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ในจำนวนผู้เศึกษา หรือใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรม เป็นจำนวนมากนั้น ย่อมจะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่"เข้าถึง" พุทธธรรม และย่อม รู้แจ้งเห็นจริง ใน พุทธธรรม เองได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 17:53:40 » |
|
พระพุทธจักรพรรดิ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปางทรงเครื่องจักรพรรดิโปรดพญาชมพูบดี ๙. เถรวาท มีความมุ่งหมายเพื่อบำเพ็ญอัตตัตถาจริยา คือ ประโยชน์ส่วนตน ญาตัตถจริยา ประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โลกัตถจริยา คือ ประโยชน์ต่อสัตว์โลก โดยเห็นว่า
การที่เราจะช่วยผู้อื่นได้ เราต้องช่วยตัวเองให้มีหลักก่อน การที่เราจะช่วยคนตกน้ำ เราต้องว่ายน้ำเป็นก่อน
การที่เราจะช่วยนำสัตว์ให้ข้ามโอฆสงสารได้ เราต้องมีเรือคือ ต้องรู้โพธิปักขิยธรรมก่อน ก็โพธิปักขิยธรรม คนจะรู้ได้ก็ต้องตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระอรหันต์
เมื่อยังไม่สำเร็จก็ยังไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็เท่ากับว่ายังไม่มีเรือ เมื่อไม่มีเรือจะใช้อะไร ส่งสัตว์ข้ามโอฆะได้ คติ ของเถรวาทเป็นอย่างนี้
มหายาน มุ่งความเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ พุทธภูมิ เพื่อบำเพ็ญ โลกัตถะจริยาได้เต็มที่ คือมุ่งช่วยผู้อื่นเป็นจุดสำคัญ และแสดงว่ามีพระโพธิสัตว์หลายองค์
เช่น พระอวโลกิเตศวร , พระมัญชุศรี , พระวัชรปราณี , พระกษิติครรภ, พระสุมันตรภัทร และ พระอริยเมตไตรยเป็นต้น
เป็นตัวอย่าง เพื่อจูงใจให้คนปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์
๑๐. เถรวาท มี บารมี ที่จะให้สำเร็จบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มี ทาน, เนกขัมมะ, ปัญญา ,วิริยะ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา, ขันติ
มหายาน มีบารมีอันให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็น ปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ๖ ประการ คือ ทาน ศีล วิริยะ ขันติ ฌาน ปัญญา ( บ้างก็ว่ามี ๑O เหมือนกับ ของ เถรวาท )
๑๑. เถรวาท พระอรหันต์อยู่จบกิจในพรหมจรรย์แล้วสิ้นกิเลสแล้ว สิ้นความสงสัย รู้ว่าตนบรรลุพระอรหัตผลด้วยตนเอง โดยมิต้องมีคนบอก
มีความรู้ในอริยมรรค อริยผล ไม่ฝันปรินิพพาน แล้วก็ดับหมดทั้ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ( อนุสปรินิพพาน ) ไม่เกิดอีก
ถือว่าเหนือกว่า พระโพธิสัตว์ เพราะสิ้นกิเลสแล้ว ไม่ต้องศึกษาอีกแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ ยังมีกิเลสยังต้องศึกษา และ พระเถรวาทจะไม่ไหว้รูปพระโพธิสัตว์ เพราะถือว่ายังไม่เป็นพระภิกษุ
มหายาน พระอรหันต์ยังฝันอย่างคนมีราคะ เพราะถูกมารยั่ว ยังความไม่รู้ในอริยมรรค อริยผล ยังต้องสงสัยใน อริยมรรค อริยผล เป็นต้น
จะรู้ว่าตนบรรลุ ต้องมีผู้บอก ปรินิพพานแล้วยังเกิดอีก แต่เกิดเพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าสู้พระโพธิสัตว์ไม่ได้ เพราะเห็นว่าพระโพธิสัตว์มีโอกาสช่วยสัตว์โลกได้มากกว่า
๑๒. เถรวาท ในกายสาม เถรวาทยอมรับแต่ ธรรมกาย กับ นิรมาณกายบางส่วน นอกนั้นไม่รับ
มหายาน รับทั้งสามคือ ทั้งธรรมกาย ได้แก่ พระธรรม สัมโภคกายคือ กายจำลอง หรือ กายอวตารของพระพุทธเจ้า
คือ พระพุทธเจ้าเป็นพระกกุสันธบ้าง โกนาคมะบ้าง กัสสปะบ้าง ศากยมุนีบ้างเป็นต้น ล้วนเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้าองค์เดิมทั้งนั้น
นิรมาณกายคือ กายที่ต้องแก่ เจ็บ ปรินิพพาน เป็นกายที่พระพุทธเจ้าองค์เดิมสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องสอนคนให้เห็นความจริงของชีวิต
แต่พระพุทธองค์ที่แท้ ที่องค์เดิมนั้น ไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ เช่น พระอมิตตาภาพุทธะ มีกายจำลอง เป็น พระศากยมุนี แต่พระอมิตตาพุทธะนั้น เป็นอมตะอยู่ที่แดนสุขาวดี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2553 20:04:40 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 18:27:08 » |
|
๑๓. เถรวาท อาศัยพระไตรปิฎก คือธรรมวินัย ยุติตามะ ปฐมสังคายนาเป็นหลัก และไม่มีพระสูตรอะไรเพิ่มเติม
มหายาน ธรรมวินัยของเดิมก็มี และมีการเพิ่มพระสูตรใหม่ในภายหลังจาก การทำปฐมสังคายนา
เช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สุขาวดียูหสูตร สัทธธรรมปุณฑริกสูตร ลังกาวตารสูตร เป็นต้น แม้ปฐมเทศนาก็มิได้มีครั้งเดียว
ความคล้ายคลึง และ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง นิกายมหายาน และเถรวาท
ข้อคล้ายคลึงกันของนิกายทั้งสอง เราพอสรุปได้เป็นหลักใหญ่ ๆ ๔ ประการคือ
๑. จุดมุ่งหมายปลายทางของทั้งสองนิกายเหมือนกัน คือวิมุติ
๒. คำสอนทั้งสองนิกายเป็นประโยชน์แก่สังคมของมนุษย์ ในด้านศีลธรรม และ จรรยา
๓. ทั้งสองนิกายสอนในเรื่องกฏแห่งกรรม
๔. ทั้งสองนิกายต่างยอมรับเรื่องความไม่จำกัดสรรพสิ่ง คือ ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ
ส่วนข้อแตกต่างกันของนิกายทั้งสองที่สำคัญที่สุดคือ เถรวาทมุ่งอรหัตภูมิ โดยถือคติว่า ก่อนจะให้คนอื่นรู้ ตนต้องรู้ก่อน ก่อนจะช่วยคนอื่นได้ ตนต้องช่วยตนเองให้ได้ก่อน
มิฉะนั้นจะนำอะไรไปสอนไปช่วยเขา ส่วนมหายานมุ่งพุทธภูมิ คือ ต้องบำเพ็ญตน เป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เพื่อช่วยคนอื่น ก่อนช่วยตัวเอง ยอมรับทุกข์ เพื่อสุขของคนอื่นที่มา : คัดบางส่วน จากหนังสือ ดอกโมกข์ ฉบับพิเศษโดย : kingkoeak http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=thaiyuth&id=93&page=11&page_limit=50Pics by : Googleขอบพระคุณที่มามากมาย อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กำลังโหลด...