[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 17:23:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ได้อย่างไรว่าเป็นธรรมะที่แท้จริง และ พระอาจารย์ที่แท้จริง  (อ่าน 1594 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553 17:07:27 »




รู้ได้อย่างไรว่าเป็นธรรมะที่แท้จริง และพระอาจารย์ที่แท้จริง


ในขณะนี้กำลังมีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุถูกฟ้องอีกแล้ว ก็นับว่าสั่นสะเทือนวงการชาวพุทธพอสมควร เพราะท่านนี้เป็นที่นับถือกันว่าเป็นพระปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีแนทางสอนเพื่อให้บรรลุมรรคผลโดยตรง เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนีขึ้นมา ชาวพุทธก็เกิดความท้อแท้ใจ คิดว่าพระดีจริงๆไม่มีเลยหรืออย่างไร ทำไมเมื่อมีพระภิกษุที่มีชื่อเสียงขึ้นมา มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ก็เกิดเรื่องทุกที เพราะเราเพิ่งเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้มาไม่นาน แล้วก็มาเกิดอีก หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เราจะมีวิธีการอะไรหรือไม่ ที่จะตรวจสอบคำสอนของพระภิกษุ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า พระท่านนี้ควรที่เราจะฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่

ในคำสอนของทิเบต การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญมาก และในขณะเดียวกันการที่พระอาจารย์จะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นศิษย์ของมีความสำคัญมากไม่แพ้กัน ในหนังสือเรื่อง “การเห็นทางธรรมสามระดับ” เตชุงริมโปเชได้สอนไว้ว่า ในการตรวจคุณสมบัติของผู้ที่เราจะฝากตัวเป็นศิษย์นั้น ประการแรก ผู้ที่ควรแก่การเป็นอาจารย์ผู้สอนการปฏิบัติธรรม จะต้องมีความประพฤติที่ไม่ด่างพร้อยใดๆ และมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่บริสุทธิ์สะอาด ประการที่สอง เจตนาของท่านในการสั่งสอนจะต้องเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ กล่าวคือท่านมีจิตมุ่งมั่นที่จะสอนผู้คนให้เกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นแนวทางที่นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของคำสอนจริงๆ ประการที่สาม ท่านต้องมีปัญญาอันบริสุทธิ์ กล่าวคือต้องมีความรู้แตกฉานในข้อธรรม ในคัมภีร์ต่างๆ และที่สำคัญคือรู้และเข้าใจความหมายของข้อความในคัมภีร์เหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง เตชุงริมโปเชเน้นหนักที่ข้อสามนี้อย่างยิ่ง ผู้ที่เราควรจะยกย่องเป็นอาจารย์จะต้องไม่มีเพียงแค่ความรู้แบบครึ่งกลางๆในคัมภีร์อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ต้องมีความรู้เต็มสมบูรณ์ครบถ้วน ผู้ที่เราจะรับเป็นพระอาจารย์จะต้องไม่มีการสอนอย่างผิดๆ ซึ่งเกิดจากการไม่เข้าใจคำสอน หรือมิได้ปฏิบัติตามคำสอนจนเห็นแจ้ง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้สอนนั้นจะต้องเข้าถึงและมองเห็นความเป็นจริงอันเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในคำสอนที่ตนเองกำลังจะสอน เรื่องนี้สำคัญอย่างยิ่ง

เราอาจเปรียบเทียบได้กับการสอนเรื่องอื่นๆ เช่นการว่ายน้ำ เมื่อเราเรียนว่ายน้ำ เราก็อยากจะเรียนกับครูที่ว่ายน้ำเก่ง มีประสบการณ์โดยตรงกับการว่ายน้ำมาเป็นอย่างดี เมื่อครูเช่นนี้อธิบายให้เราฟังเกี่ยวกับเทคนิคการว่ายน้ำ ก็จะออกมาจากใจโดยตรง จากประสบการณ์ตรงของตัวเองในฐานะนักว่ายน้ำ เราคงไม่อยากเรียนกับครูที่ว่ายน้ำไม่เป็น เพียงแต่เคยอ่านเรื่องว่ายน้ำมาเท่านั้น

ทีนี้เราก็อาจเกิดปัญหาว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพระอาจารย์รูปนี้เห็นแจ้งเรื่องที่ตนเองกำลังสอนอยู่จริงๆ แต่เวลาเราหาครูว่ายน้ำ เรารู้ได้อย่างไรว่าครูคนนี้ว่ายน้ำเป็นจริงๆพอจะสอนได้? ปกติเราก็ไม่ไดสงสัยเรื่องนี้ เราอาจเห็นครูคนนี้ว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งก็เป็นตัวชี้วัดที่ดี ดังนั้นในกรณีของพระอาจารย์สอนธรรมะ เราก็น่าจะสังเกตได้แบบเราๆที่ยังอยู่ในระดับโลกียะว่าท่านได้ปฏิบัติตามคำสอนจนได้ผลจริงๆ เช่น เราไม่เคยเห็นท่านโกรธเลย หรือเรื่องพัวพันใดๆกับทางโลกเลย เป็นต้น

นอกจากนี้ เงื่อนไขสองประการแรกที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นอะไรที่เราสังเกตได้ไม่ยาก คือการประพฤติปฏิบัติตนของพระอาจารย์ว่าเป็นไปตามพระวินัย ไม่อะไรด่างพร้อยให้ผู้คนติฉินนินทาหรือไม่ หรือเงื่อนไขที่สองเกี่ยวกับเจตนาในการสั่งสอนธรรมะ ก็สังเกตได้ไม่ยากเช่นกัน เช่นเจตนาจะสอนเพื่อให้ลูกศิษย์พ้นทุกข์หรือไม่ หรือเพื่อแสวงหาลาภยศชื่อเสียงส่วนตัว

ในทิเบตเรื่องการหาพระอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นเดียวกับการที่อาจารย์จะรับสอนเฉพาะศิษย์ที่คุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งก็สำคัญมากเช่นเดียวกัน อาจเปรียบได้ว่าแม่เหล็กคนละขึ้วที่จะดึงดูดกัน หรือคู่ของสิ่งที่เหมือนๆกัน ซึ่งก็จะดึงดูดกันเช่นเดียวกัน ในทิเบต เวลาศิษย์จะไปขอวิชากับพระอาจารย์ บางทีอาจารย์รอดูพฤติกรรมของผู้ที่จะมาเป็นศิษย์ถึงสามปีกว่าจะรับเป็นศิษย์สอนวิชาให้ หรือบางทีคนที่จะเรียนปฏิบัติธรรมะ ก็ใช้เวลามากๆในการตรวจสอบผู้ที่ตนเองจะฝากตนฝากชีวิตไว้ให้เป็นพระอาจารย์ของตนเช่นกัน


http://soraj.wordpress.com/2010/09/22/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553 18:42:59 »

อ้างถึง

ประการแรก ผู้ที่ควรแก่การเป็นอาจารย์ผู้สอนการปฏิบัติธรรม

ประการที่สอง เจตนาของท่านในการสั่งสอนจะต้องเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์

ประการที่สาม ท่านต้องมีปัญญาอันบริสุทธิ์


กว่าวไว้สามประการจริง แต่สามประการนี้มันช่างหาได้ยากเย็นซะเหลือเกิน

.....

 โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 10:29:55