[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:13:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่  (อ่าน 11272 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557 15:53:26 »

.


วัดพันเตาจัดให้มีการอนุรักษ์ประเพณีการลอยโคม โดยไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์หรือบอกบุญเรี่ยไร
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ นับเป็นปีที่ ๘ ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว (มีประมาณ ๕ คืน)
เป็นงานวัดที่ผู้โพสต์ประทับใจมาก ไม่มีมหรสพ ไม่มีร้านค้า การใช้เครื่องเสียงได้ยินเบาๆ แต่เพียงในวัด
ไม่อึกทึกครึกโครมเป็นที่รบกวนแก่ชาวบ้าน งานดำเนินไปอย่างเงียบๆ เรียบง่าย ดูสวยงาม มีมนต์ขลัง  


งานยี่เป็ง วัดพันเตา
Yi Peng of Phan Tao Temple
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ก่อนชมภาพการอันงดงามตระการของแสงสีแห่งประติมากรรมโคมไฟถวายเป็นพุทธบูชาในราตรีกาล  และการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ณ ดินแดนที่เป็นที่สุดแห่งความรุ่งเรือง สง่างามทางวัฒนธรรมมาแต่อดีต และถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อกันมาถึงอนุชนรุ่นหลัง ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่

ขอเล่าประวัติของวัดพันเตา สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีประเพณียี่เป็งในค่ำคืนวันสำคัญของชาวล้านนา และความเป็นมาของการชักโคมและลอยโคมอันเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง ว่าได้กำเนิดเกิดขึ้นอย่างไรและเป็นเพราะเหตุใด.


• ประวัติวัดพันเตา
วัดพันเตา ตั้งอยู่ตำบลพระสิงห์ ย่านใจกลางเมืองเชียงใหม่ ติดกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร  จัดเป็นวัดราษฎร์ ในสังกัดมหานิกาย  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๐

ตามตำนานกล่าวว่า วัดพันเตามีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

แต่เดิมวัดนี้ไม่ได้เรียกชื่อวัดว่า "พันเตา" อย่างในปัจจุบัน  คนเมืองเชียงใหม่ในอดีตนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่าพันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนา แต่อ่านออกเสียงว่า “ปันเต้า” แล้วจึงกลายมาเป็น "พันเท่า" ทำบุญที่ วัดปันเต้า (พันเท่า) ทำบุญเพียง ๑ จะได้อานิสงส์มากกว่าพัน

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้สถานที่ของวัดนี้เป็นที่ตั้งเตาหลอม สำหรับหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง  จึงได้ชื่อว่าวัดพันเตา






พระประธานในวิหารหลวง วัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่

• พระราชพิธีจองเปรียง : เชื่อกันว่าเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง
พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เป็นพิธีของพวกพราหมณ์  ทำแต่เฉพาะในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น  เป็นพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ตามกำหนดยกโคม คือ เดือน ๑๒  ถ้าปีใดมีอธิกมาส (เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี ๑๓ เดือน มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ สอง ๘) ให้ยกโคมขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้นไปจนถึงวันแรม ๒ ค่ำ จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวัดลดโคมลง  

อนึ่ง ในพิธีนี้ พวกพราหมณ์มาประชุมกันผูกพรต  พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงา ๑๕ วัน ส่วนพราหมณ์นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน้ำมหาสังข์ทุกวัน จนถึงวันลดโคมลง เทียนที่จะจุดในวันนั้น ต้องเอามาถวายให้ทรงทาเปรียงเสียก่อน  (เปรียง คือ นํ้ามัน ไขข้อของพระโค)

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ วรรณกรรมสมัยสุโขทัยที่เชื่อกันว่า นางนพมาศ พระสนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า เป็นผู้แต่ง บรรยายว่า “...พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอยทุกตระกูล ทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปและสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวน เป็นระเบียบเรียบร้อยตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน...”  



• ประเพณีลอยกระทง
มีการเข้าใจว่า ประเพณีลอยกระทง มีต้นเค้ามาจากพระราชพิธีจองเปรียง อันเป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์  พวกพราหมณ์ทำพระราชพิธีจองเปรียงขึ้น เพื่อบูชาพระอิศวรและพระพรหม ด้วยการชักโคมไปบนท้องฟ้า บูชาพระนารายณ์ด้วยการลอยโคมลงในน้ำ  และผู้คิดอ่านริเริ่มการทำกระทงประดิษฐ์เป็นรูปโคมลอยประดับดอกบัว ถวายพระเจ้ารามคำแหง ได้ลอยไปตามลำน้ำ ของการเสด็จลงประพาส ตามพระราชพิธีนักขัตฤกษ์ประจำปีที่ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนัก ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เวลากลางคืน คือ นางนพมาศ สตรีไทยในสมัยสุโขทัยที่มีสติปัญญา ความสามารถ เป็นได้ทั้งนักประพันธ์และนักปราชญ์ นั่นเอง

อิทธิพลของพุทธศาสนา แต่ด้วยในสมัยสุโขทัย พระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง ครอบคลุมทั้ง พม่า ไทย ศรีลังกา เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย  พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนแถบนี้ ทำให้คนไทยในราชอาณาจักรสุโขทัยซึ่งแต่เดิมนับถือศาสนาพราหมณ์ เริ่มหันเหมานับถือพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวาง  พิธีกรรมของพราหมณ์จึงผสมผสานเข้าด้วยกันกับพุทธศาสนา  เลยอาจถือว่า การลอยโคม เป็นการบูชาพระบรมพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำก็ย่อมเป็นได้  หรืออาจถือว่าเป็นการขอขมาต่อแม่พระคงคาที่ได้กินได้ใช้น้ำ ซ้ำยังถ่ายมูตคูถลงไปอีกด้วย  

นี้แหละ เป็นที่มาของความเชื่อว่า พิธีลอยกระทง เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้นมา ด้วยประการฉะนี้แล...
 


• ยี่เป็ง
เป็ง ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้น จึงหมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง

ยี่เป็งเป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ในวันเพ็ญเดือนยี่หรือเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวไทยภาคอื่น  นอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำ ชาวล้านนามีการจุดประทีปโคมลอยให้ขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีความเชื่อเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ตามคติของคนไทยเราที่เชื่อถือเรื่องโชคลางและบาปกรรม ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเรามีเคราะห์หรือทุกข์ร้อนต่างๆ ต้องลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราห์เพื่อบรรเทาเหตุร้ายต่างๆ ให้เบาบางหายไป

ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง ๖ ปี จึงได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชาธูปเทียนลอยลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ  

ในงานบุญยี่เป็ง ชาวล้านนาจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อ ประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่าง ที่จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร


ภาพลอยโคม งานยี่เป็งวัดพันเตา




























 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 16:47:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39 »

.
ภาพขบวนแห่อันงดงามอลังการ ของงานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ บริเวณประตูท่าแพ





















เทพียี่เป็ง เชียงใหม่ สวยจริงๆ มือไม้อ่อน...ภาพเลยเบลอ!







ส่วนหนึ่ง ของขบวนแห่อันวิจิตร งดงาม อลังการ งานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
ประจำปี ๒๕๕๗ ที่ใช้เวลายืนชมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงเศษ ริ้วขบวนยังไม่หมด ยังอยู่อีกยาวเฟื้อย
ทนไม่ไหวต้องยอมแพ้ กลับที่พักค่ะ ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 17:19:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
wondermay 4 8460 กระทู้ล่าสุด 22 เมษายน 2554 22:23:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2620 กระทู้ล่าสุด 24 ตุลาคม 2563 16:49:14
โดย Kimleng
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คันธวโร) วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 877 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2561 15:07:29
โดย ใบบุญ
วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1242 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2563 13:48:24
โดย Kimleng
วิหารวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ - ควรแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพุทธศาสนา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 439 กระทู้ล่าสุด 30 ตุลาคม 2565 19:47:44
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.38 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 14:49:03