[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 18:20:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละ (สูตร ล. + ญ.)  (อ่าน 3564 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 ธันวาคม 2553 05:12:59 »



จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรเล็ก)

      ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ถึงการสมาทานธรรมะ ( รับธรรมะมาประพฤติปฏิบัติ ) ๔ ประการ คือ

๑. การสมาทานธรรมะที่มีสุขใจในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบาก ( ผล) ต่อไป
๒. การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๓ . การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๔. การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป.

      ๒. ตรัสขยายความการสมาทานธรรมะทั้งสี่ข้อนั้นดังนี้

ข้อ ๑ การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์ต่อเป็นวิบากไป คือพวกพราหมณ์บางพวกมีวาทะ มีความเห็นว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี จึงดื่มด่ำในกามทั้งหลาย เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุกคติ วินิบาต นรก ได้รับทุกขเวทนา.

ข้อ ๒ การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป คือสมณพราหมณ์บางหวกที่ประพฤติพรตทรมานกายต่าง ๆ เช่น เปลือยกาย เป็นต้น จนถึงลงอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ( มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ ) เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.

ข้อที่ ๓ การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป คือบุคคลบางคนเป็นคนมีราคะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนือง ๆ เป็นคนมีโทสะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนือง ๆ เป็นคนมีโมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดเเต่โมหะกล้าเนือง ๆ . ผู้นั้นอันควาวมทุกข์โทมนัสถูกต้องมีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์.

ข้อที่ ๔ การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป คือบุคคลบางคนไม่เป็นคนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะ โทสะ โมหะ เนือง ๆ . สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์.
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2553 05:18:04 »



   จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรเล็ก)

      พระผู้มีพระภาคประทับ    ณ   เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. วิสาขอุบาสก ( ผู้เป็นอดีตสามี ) เข้าไปหานางธัมมทินนาภิกษุณี (ผู้เป็นอดีตภริยา ) ตั้งคำถามต่าง ๆ ซึ่งนางธัมมาทินนาภิกษุณีก็ตอบชี้แจงดังต่อไปนี้?-

      ๑.   คำว่า สักกายะ ( กายของตน ) คืออะไร . ตอบว่า    ขันธ์ ๕   ที่คนยึดถือ คือ    รูป   เวทนา   สัญญา    สังขาร   วิญญาณ   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายของตน. ถามว่า เหตุให้เกิดกายของตนคืออะไร ตอบว่า   ตัญหา    ความทะยานอยาก    คือทะยานอยากในกาม    ในความมีความเป็น    ในความไม่มีไม่เป็น. ถามว่า ควาวมดับแห่งกายตนคืออะไร ตอบว่า คือการดับตัญหาโดยไม่เหลือ. ถามว่า    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกายของตนคืออะไร ตอบว่า มรรคมีองค์ ๘    อันประเสริฐ    มีความเห็นชอบ   เป็นต้น. ถามว่าอุปาทาน ( ความยึดมั่นถือมั่น ) กับอุปาทานขันธ์ ๕   ( ขันธ์ ๕ ที่คนยึดถือ ) เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์      ๕ . ตอบว่า อุปาทาน กับอุปาทานขันธ์ ๕    มิใช่เป็นอันเดียวกัน แต่อุปาทานก็ไม่อื่นไปจากอุปาทานขันธ์ ๕    คือความกำหนัดด้วยความพอใจในรูปอุปาทานขันธ์ ๕   อันใด อันนั้นคืออุปาทาน.

      ๒.   สักกายทิฏฐิ ( ความเห็นที่ยึดในกายของตน ) เป็นอย่างไร . ตอบว่า บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ( คนดี ) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ    ย่อมเห็นรูปเป็นตน   เห็นตนมีรูป   เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ( เห็นเวทนา ,    สัญญา ,   สังขาร,    วิญญาณ เช่นเดียวกัน    จึงรวมเป็น ๔ x ๕ ? ๒๐ ข้อ). ถามว่า สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร ตอบว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ที่ตรงกันข้ามกับบุถุชน และไม่เห็นอย่างนั้น.

      ๓.   อริยมรรคมีองค์ ๘    คืออะไร ตอบว่า มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น. ถามว่า อริยมรรคมีองค์ ๘   เป็นสังขตะ. ( ปัจจัยปรุงแต่ง ) หรือเป็นอสังขตะ ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ). ตอบว่า เป็นสังขตะ. ถามว่า ขันธ์ ๕.  ๓ สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘   ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘    สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓.    ตอบว่า   ขันธ์ ๓ ไม่สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘   ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓    คือ การเจรจาชอบ, การกระทำชอบ ,    การเลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยศีลขันธ์   ( กองศีล ) ;   พยายามชอบ    ตั้งสติชอบ ,    ตั้งใจมั้นชอบ , ตั้งใจมั่นชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ ( กองสมาธิ ) ;   เห็นชอบ, ดำริชอบ   สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาขันธ์ ( กองปัญญา ). ถามว่า   สมาธิ ,    สมาธินิมิต ( เครื่องกำหนดหมายของสมาธิ ), สมาธิปริกขาร ( เครื่องประกอบของสมาธิ ) และสมาธิภาวนา ( การเจริญหรืออบรมสมาธิ ) คืออะไร. ตอบว่า    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ สมาธิ ;   สติปัฏฐาน   ๔ คือ   สมาธินิมิต ;    สัมมัปปธาน ๔ ( ความเพียรชอบ )    คือ สมาธิปริกขาขาร    และการเสพการทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น   ( ทั้งสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน )    คือ สมาธิภาวนา.

      ๔.   สังขาร  ๓ คือ    กายสังขาร ( เครื่องปรุงกาย ) วจีสังขาร ;   (เครื่องปรุงวาจา)    จิตตสังขาร   ( ครื่องปรุงจิต ) คืออะไร    ตอบว่า   ลมหายใจเข้าออก    เป็นกายสังขาร ;    ความตรึก   ความตรอง   ( วิตก, วิจาร ) เป็นวจีสังขาร ; ความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกอารมณ์ (สัญญา เวทนา )   เป็นจิตตสังขาร . ถามว่า เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ตอบว่า เพราะลมหายใจเข้าออก เป็นไปทางกาย เนื่องด้วยกาย จึงเป็นเครื่องปลุงกาย ;    คนตรึกแล้ว    ตรองแล้วก่อน    จึงเปล่งวาจา ความตรึก    ความตรอง จึงเป็นเครื่องปรุงวาจา ;    สัญญา   เวทนา    เป็นไปทางจิต เนื่องด้วยจิต จึงเป็นเครื่องปรุงจิต.

      ๕.    การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ( สมาบัติอันดับสัญญาและเวทนา ) เป็นอย่างไร . ตอบว่า ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ต้องคิดว่า เราจักเข้า เรากำลังเข้า หรือเราเข้าแล้ว สู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ . เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อน น้อมจิตไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรดับก่อน . ตอบว่า วจีสังขารดับก่อน . ต่อจากนั้นกายสังขาร ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ. การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร. ตอบว่า ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ต้องคิดว่าเราจักออก เรากำลังออก เราออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อนน้อมจิตเพื่อความเป็นเช่นนั้น. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรเกิดก่อน ตอบว่าจิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนันกายสังขาร ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด. ผัสสะอะไรบ้าง ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตอบว่า   ผัสสะ ๓ คือสุญญตผัสสะ ( ความถูกต้องความสูญหรือความว่าง ) อนิมิตตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีนิมิตหรือเครื่องกำหนดหมาย ) อัปปณิหิตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีที่ตั้ง ) จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติน้อมไปหาอะไร ตอบว่า น้อมโน้มไปหาวิเวก (ความสงัด ).

      ๖.   เวทนา ๓   คือ    สุข   ทุกข์    ไม่ทุกข์ไม่สุข .    สุขเวทนา   คือความสุข    ความสำราญ    ที่เป็นไปทางกายเป็นไปทางจิต ; ทุกขเวทนา    คือความสำราญก็ไม่ใช่    ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย    เป็นไปทางจิต ;    อทุกขมสุขเวทนา    คือความมสำราญก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย เป็นไปทางจิต. สุขเวทนามีอะไรเป็นสุขมีอะไรเป็นทุกข์ ตอบว่า สุขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นสุข มีความแปรปรวนเป็นทุกข์. ทุกขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นสุข . อทุกขมสุขเวทนามีความรู้เป็นสุข มีความไม่รู้เป็นทุกข์. อนุสัยอะไรแฝงตัวตาม ๖.   เวทนาอะไร. ตอบว่า อนุสัยคือราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) แฝงตัวตามสุขเวทนา , อนุสัยคือปฏิฆะ ( ความขัดใจ ) แฝงตัวตามทุกขเวทนา , อนุสัยคืออวิชชา ( ความไม่รู้ ) แฝงตัวตามอทุกขมสุขเวทนา. อนุสัยดั่งกล่าวแฝงตัวตามเวทนาดั่งกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด. อะไรพึงละได้ด้วยเวทนาอะไร ตอบว่าราคานุสัย ( อนุสัยคือความกำหนัดยินดี ) พึงละได้ด้วยทุกขมสุขเวทนา , ปฏิฆะนุสัย (อนุสัยคือความขัดใจ) พึงละได้ด้วยทุกขเวทนา , อวิชชานุสัย ( อนุสัยคือความไม่รู้ ) พึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา. อนุสัยดังกล่าวพึงละได้ด้วยทุกข์เวทนาดังกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด. ( คำว่า ทั้งหมด ไม่ทั้งหมด ใช้ประกอบคำว่า เวทนา ) อธิบายว่า ภิกษุเข้าฌานที่    ๑ ย่อมละราคะได้ด้วยฌานที่    ๑ นั้น ราคานิสุยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่    ๑ นั้น ; ภิกษุพิจารณาว่า “ เมื่อไรหนอ เราจะเข้าสู่อายตนะที่พระอริยเจ้าเข้าอยู่ได้ ” ทำความปรารถนาให้เกิดในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม ก็เกิดโทมนัส ( ความเสียใจ ) เพราะความปรารถนานั้น เธอย่อมละปฏิฆะได้ด้วยโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัย่อมไม่แฝงตัวตามในโทมนัสนั้น ( ข้อความตรงนี้ อรรถกถาอธิบายไว้ละเอียดดี ผู้ต้องค้นคว้าละเอียด โปรดดูอรรถกถาที่พระสุตตันตะเล่ม ๑๒ หน้า ๒ ; ภิกษุเข้าฌานที่ ๔ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยฌานที่ ๔ นั้น    อวิชชานุสัยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่ ๔ นั้น. ( อรรถกถาชี้ฌานที่ ๑ ไปที่อนาคามีมรรค, ชี้ฌานที่ ๔ ไปที่อรหัตตมรรค).

      ๗.    อะไรส่วนเปรียบด้วยเวทนาอะไร. ตอบว่า ราคะมีส่วนเปรียบด้วยสุขเวทนา , ปฏิฆะมีส่วนเปรียบด้วยทุกขเวทนา, อวิชชามีส่วนเปรียบด้วยทุกขมสุขเวทนา, อะไรมีส่วนเปรียบด้วยอวิชชา ตอบว่า วิชชา ( ความรู้ ) อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิชชา ตอบว่า วิมุติ ( ความหลุดพ้น ). อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิมุติ ตอบว่า นิพพาน, อะไรมีส่วนนิพพาน ตอบว่า ท่านถามปัญหาเกิน ( กำหนด ) ไป ไม่อาจจะจับที่สุดแห่งปัญหาได้ เพราะพรหมณ์จรรย์มีนิพพานเป็นที่มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านหวังจะทราบ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถามเถิด จงทรงจำไว้ตามที่ตรัสตอบเถิด. ( คำว่า มีส่วนเปรียบ หมายทั้งส่วนเปรียบในทางเดียวกันและทั้งตรงข้าม).

      วิสาขอุบาสกไหว้นางธัมมทินนาภิกษุณีทำทักษิณแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลคำถามคำตอบให้ทรงทราบทุกประการ. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นางธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านจะถามเรา เราก็จะตอบอย่างที่นางธัมมทินนาภิกษุณีตอบแล้ว ท่านจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด.
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2553 05:26:51 »



  มหาเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรใหญ่)

      พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. พระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตรถามปัญหาต่าง ๆ ซึ่งพระสารีบุตรก็ได้ตอบชี้แจงดังต่อไปนี้?-

       ๑.   ความหมายของคำว่า   ผู้มีปัญญาทราม    คือผู้ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔  ตามเป็นจริง.

      ๒.   ความหมายของคำว่า  ผู้มีปัญญา  คือผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง.

      ๓.   ความหมายของคำว่า  วิญญาณ  คือรู้แจ้ง ได้แก่รู้แจ้งสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข.

      ๔.   ปัญญา กับ วิญญาณ ปนกันหรือแยกกันอย่างไร ตอบว่า เป็นธรรมปนกัน ยากที่จะแยกบัญญัติทำให้ต่างกันได้

      ๕.   ปัญญา กับ  วิญญาณ ปนกัน จะต่างกันอย่างไร ตอบว่า  ปัญญาควรเจริญ ( ทำให้เกิดมี ) ส่วนวิญญาณควรกำหนดรู้ ( ปริญเญยยะ ).

      ๖.   ที่เรียกว่าเวทนา เพราะเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

      ๗.   ที่เรียกว่าสัญญา เพราะจำได้ เช่น จำสีเขียว , เหลือง , แดง , ขาวได้.


      ๘.   อเวทนา ,  สัญญา , อวิญญาณ ปนกันหรือแยกกัน ตอบว่า เป็นธรรมปนกัน ยากที่จะแยกบัญญัติทำให้ต่างกันได้ เพราะเสวยรู้สึกสิ่งใดก็จำสิ่งนั้นได้ จำสิ่งใดได้ก็รู้แจ้งสิ่งนั้น จึงแยกบัญญัติทำให้ต่าางกันไม่ได้.

      ๙.   มโนวิญญาณ ๑ .  อันบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับอินทรีย์ ๕ ( ไม่ปนกับเรื่องของตา ,  หู ,  จมูก ,  ลิ้น , กาย )  พึงรู้อะไรได้. ตอบว่า พึงรู้อากาสานัญจายตนะได้ว่า  อากาศหาที่สุดมิได้?    พึงรู้วิญญาณัญจายตนะได้ว่า    วิญญาณหาที่สุดมิได้ ? พึงรู้ว่าอากิญจัญญายตนะได้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี . ถามว่า บุคคลย่อมรู้ธรรมที่ควรได้ด้วยอะไร. ตอบว่า ด้วยปัญญาจักษุ ( ดวงตาคือปัญญา ). ถามว่า ปัญญามีอะไรเป็นประโยชน์ ตอบว่า    มีการรู้ยิ่ง ,  การกำหนดรู้. การละเป็นประโยน์.

      ๑๐.    ปัจจัยในการเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมีกี่อย่าง ตอบว่า มี ๒ อย่าง คือการประกาศของผู้อื่น กับการทำไว้ในใจโดยแยบคาย . ถามว่า สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ( ประกอบ ) เท่าไรอนุเคราะห์ จึงมีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติเป็นผล เป็นอานิสงส์ ตอบว่า  องค์ ๕ คือ   ศีล ,  การสดับฟัง ,  การสนทนา ,   สมถะ ( ความสงบระงับ )  และวิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง).

      ๑๑.   ภพมีเท่าไร ตอบว่า    มี ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ถามว่า การเกิดในภพอีกต่อไปนั้นมีได้อย่างไร ตอบว่า มีได้เพราะยินดีในภพนั้น ๆ ของสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นนีวรณ์ ( เครื่องกั้น ) มีตัญหาเป็นสัญโญชน์ ( เครื่องผูกมัด ). ถามว่า การเกิดในภพอีกต่อไปจะไม่มีได้อย่างไร ตอบว่า ไม่มีได้เพราะคลายอวิชชา ( ความไม่รู้ ) เพราะเกิดวิชชา ( ความรู้ ) เพราะดับตัญหาเสียได้.

      ๑๒.   ฌานที่ ๑ เป็นอย่างไร ตอบว่า ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าฌานที่ ๑    อันมีวิตก ( ความตรึก ) วิจาร ( ความตรอง ) มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ( ความสงัด ) ฌานที่ ๑   มีองค์ ๕  คือ   วิตก   วิจาร    ปีติ   ( ความอิ่มใจ ) สุข    และเอกัคคตา   ( ความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).    ฌานที่ ๑   ละองค์ ๕ ได้    ประกอบด้วยองค์ ๕.    คือนีวรณ์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕   คือมีวิตก เป็นต้น.


      ๑๓.   อินทรีย์ ๕   คือ    ตา   หู   จมูก   ลิ้น    กาย   มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์ในที่เที่ยวไปของกันและกัน เช่น ตาฟังเสียงไม่ได้ หูเห็นรูปไม่ได้ ) อะไรเล่าเป็นที่อาศัย และเป็นตัวเสวยอารมณ์ในที่เที่ยวไปของอินทรีย์    ๕ เหล่านั้น ตอบว่า ใจ ( มโน ).

      ๑๔.   อินทรีย์ ๕    อาศัยอะไรตั้งอยู่ . ตอบว่า อาศัยอายุ.   อายุอาศัยอะไร. ตอบว่า อาศัยไออุ่น.    ไออุ่นอาศัยอะไร . ตอบว่า อาศัยอายุ.   อายุอาศัยไออุ่น ไออุ่นอาศัยอายุ เปรียบเหมือนแสงสว่างอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ. เปลวไฟอาศัยแสงสว่างจึงปรากฏ. อายุสังขาร ( ธรรมที่ปรุงแต่งคืออายุ ) กับเวทนียธรรม ( ธรรมที่พึงรู้สึกได้ ) ๒ .  เป็นอันเดียวกัน หรืออื่นจากกัน. ตอบว่า ไม่เป็นอันเดียวกัน . ถ้าเป็นอันเดียวกัน การออกจาก(จากสมาบัติ ) ของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ( สมาบัติดับสัญญาและเวทนา ) ก็ไม่พึงปรากฏ , แต่เพราะเป็นสิ่งอื่นจากกันจึงปรากฏได้.

      ๑๕.   ธรรมกี่อย่างละกาย กายจึงนอนเหมือนท่อนไม้ไร้เจตนา. ตอบว่า ธรรม   ๓ อย่าง คือ    อายุ  ไออุ่น   วิญญาณ.    ถามว่า คนตายกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างไร    ตอบว่า คนตายสิ่งที่ปรุงกาย    วาจา  จิตดับ   อายุสิ้น    ไออุ้นดับ ( วูปสันตะ? สงบระงับ )   และอินทรีย์แตก    ( ตา   หู  เป็นต้น ใช้การไม่ได้ )    ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ    สิ่งที่ปรุงกาย  วาจา  จิตดับ แต่อายุยังไม่สิ้น    ไออุ่นยังไม่ดับอินทรีย์ยังผ่องใส.

      ๑๖.    ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุติ ๓ .  อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนั้น มีกี่อย่าง ตอบว่า  มี ๔ อย่าง คือเพราะละสุขกาย , ทุกข์กาย , เพราะสุขใจ , ทุกข์ใจดับ ภิกษุจึงเข้าฌานที่ ๔ อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติอันเกิดจากอุเบกขา . ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การเข้า” เจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต ( เครื่องกำหนดหมาย ) มีกี่อย่าง ตอบว่า  มี ๒ อย่าง คือการไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง และการใส่ใจธาตุอันไม่มีนิมิต. ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การตั้ง” ในเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิตกี่อย่าง ตอบว่า   มี ๓ อย่าง คือการไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง , การใส่ใจธาตุอันไม่มีนิมติ และการปรุงแต่งในกาลก่อน ( ปุพฺเพ อภิสงฺขาโร น่าจะหมายความว่า ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะอยู่ในสมาธินั้นนานเท่าไร). ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การออก” จากเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีกี่อย่าง ตอบว่า   มี ๒ อย่าง คือการใส่ใจนิมิตทั้งปวง และการไม่ใส่ใจธาตุที่ไม่มีนิมิต.

      ๑๗.    เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ ,    เจโตวิมุติอันมีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ,    เจโตวิมุติอันมีความสูญเป็นอารมณ์ และเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีอรรถะและพยัญชนะต่างกัน หรือเหมือนกัน. ตอบว่า มีปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้วมีอรรถะและพยัญชนะต่างกัน ;   มีอรรถะอันเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน. คือ ?- เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ ได้แก่การที่ภิกษุมีจิตประกอบด้วยพรหมวิหาร    ๔ มีเมตตา  เป็นต้น อันไม่มีประมาณ ไม่มีเวร แผ่ไปยังโลกทั้งปวง ทุกทิศ ; เจโตวิมุติอันมีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ได้แก่การที่ภิกษุก้าวล่วง ( อรูปฌาณชื่อ ) วิญญาณัญจยตนะ เข้าสู่ ( อรูปฌานชื่อ ) อากิญจัญญายตนะ ;   เจโตวิมุติอันมีความสูญเป็นอารมณ์ ได้แก่การที่ภิกษุไปสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม พิจารณาว่าสิ่งนี้สูญจากตัวตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตน ;  เจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต ได้แก่การที่ภิกษุเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ( เครื่องกำหนดหมาย ) เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง . นี้เป็นปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถและพญัญชนะต่างกัน. ส่วนปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถะเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน คือ   ราคะ โทสะ   โมหะ    ชื่อว่าเป็นเครื่องทำให้ “ มีประมาณ” ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ   โทสะ   โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีประมาณ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด . เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละสูญ    คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ .   ราคะ   โทสะ    โมหะ   ชื่อว่าเป็น “ กิญจนะ ” คือกิเลสเครื่องกังวล ๔.   ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ  โทสะ   โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว. บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีกิญจนะ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด. เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละเป็นสูญ คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ.     ราคะ โ ทสะ    โมหะ   ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำให้ “ มีนิมิต.” ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ   โทสะ  โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว.    บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีนิมิต ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด. เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละเป็นสูญ คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ.    นี้คือปริยายที่ธรรมเหล่านั้นอาศัยแล้วมีอรรถะเป็นอันเดียวกันมีพยัญชนะต่างกัน.

      พระมหาโกฏฐิตะก็ชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตรเถระ.   
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html

baby@home
http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=1887.0
       Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553 17:48:06 »

สาธุ อนุโมทนาอ.ป้าแป๋มครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: พุทธดำรัส ตรัสสอน ขยายความ การโต้ตอบ ด้วยการ ใช้ความรู้ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สูตร กำจัดแมลงสาบ ตายยกรัง โดย นักเรียน ป. 6 อัจฉริยะ
สุขใจ ห้องสมุด
Sweet Jasmine 2 2130 กระทู้ล่าสุด 01 กุมภาพันธ์ 2553 02:06:15
โดย หมีงงในพงหญ้า
สูตร น้ำมะม่วงสุกปั่น หวานหอมได้คุณค่า
สุขใจ ในครัว
Compatable 0 3555 กระทู้ล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2555 11:42:20
โดย Compatable
สูตร ผัดกระเพราหมูกรอบไข่เยี่ยวม้า
สุขใจ ในครัว
Kimleng 1 5690 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2556 13:30:04
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.647 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 เมษายน 2567 19:40:28