[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 22:27:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าอาหารของผักผลไม้สีต่าง ๆ  (อ่าน 28643 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 07:00:54 »





คุณค่าอาหารของผักผลไม้สีต่าง ๆ

"ผักผลไม้สีต่างๆ จะมีสารอาหารสำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มากมาย" ดังนี้ :

ผักผลไม้สีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง
ผักผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง จะมี ส่วนประกอบของสารสำคัญชื่อแอนโธไซ-ยานิน (anthocyanin) ซึ่งสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง (ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน) ชะลอความเสื่อมของดวงตา นอกจากนี้ แอนโธไซยานิน ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย

ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง มันสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ มันเทศสีม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน น้ำว่าน-กาบหอย เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิ้ลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด ลูกหม่อน(มัลเบอรี่) บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่ ฯลฯ

                    

ผักผลไม้สีเขียว
ผักผลไม้ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว เช่น สีเขียวเข้ม เขียวอ่อน เขียวปนเหลือง และเขียวขาว ซึ่งมีสารอาหารสำคัญอยู่มากมาย เช่น คลอโรฟิลล์ และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์กลุ่ม ลูทีน (eutein) และซีแซนทิน (zeaxanthine) อินโดล (indoles) ไธโอไซยาเนต (thiocyanate) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ลูทีนและซีแซนทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคศูนย์จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นใครที่อยากถนอมสายตาไว้ ใช้งานนานๆ ก็ต้องกินผักที่มีลูทีนและซีแซนทีนบ่อยๆ ซึ่งมีอยู่มากในผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม แตงกวาทั้งเปลือก ซูกินีทั้งเปลือก ถั่วแขก ถั่วลันเตา ข้าวโพด อะโวคาโด มัสตาร์ด ฯลฯ

อินโดล เป็นสารประกอบไนโตรเจน ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับให้สร้างเอนไซม์ออกมาใช้ในการต้านมะเร็ง ป้องกันไม่ให้ DNA ถูกทำลายลุกลามจนกลายเป็นเนื้อร้าย และยังเป็นตัวเร่งการกำจัดฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่มดลูกและที่เต้านมที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนตัวนี้ได้ อินโดลมีมากในผักวงศ์กะหล่ำ เช่น แขนงกะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี คะน้า หัวไชเท้า ฯลฯ

ไธโอไซยาเนต สารตัวนี้มีอยู่ในผักสีเขียวแทบทุกชนิด
ฟลาโวนอยด์ มีมากใน องุ่น เชอรี่ แอปเปิ้ล ส้ม มะนาว

นอกจากนี้แล้ว ผักผลไม้สีเขียวชนิดอื่นๆ เช่น ผักกาด ขาว บวบ หน่อไม้ฝรั่ง ชะอม ใบชะพลู ใบทองหลาง ใบย่านาง สะตอ ขึ้นฉ่าย กุยช่าย มะเขือหลากชนิด ฯลฯ ซึ่งล้วนมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และซีลีเนียม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานให้แก่ร่างกาย

                                     

ผักผลไม้สีขาว
พืชผักและผลไม้ที่มีสีขาว สีชา และสีน้ำตาล มีสารประกอบสำคัญหลายชนิดที่นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น สารประกอบกำมะถันจากกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ฟลาโวนอยด์หลายชนิด เพ็กติน และเส้นใยจากผลไม้หลายอย่าง

ผักสีขาวอย่างกระเทียม ต้นกระเทียม หัวหอม กุยช่าย ขึ้นฉ่าย เซเลอรี่ (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) เห็ด ฯลฯ มีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายคือ อัลลิซิน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอก

หอมหัวใหญ่ แอปเปิ้ล ต้นกระเทียม ผลฝรั่ง ชาขาว ชาเขียว มี ฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของ เซลล์มะเร็ง และลดการต้านยา ในเซลล์มะเร็ง

ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีสารไอโซฟลาโวน ที่มีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจนอย่างอ่อน เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจน (ฮอร์โมน ที่ได้จากพืช) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

เนื้อสีขาวและเปลือกของผลมังคุด มีสารแซนโทน (xanthone) (กลุ่มของฟลาโวนอยด์) สารตัวนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า ต้านเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อวัณโรค ต้านเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยรักษาระดับน้ำตาล ในเลือด ให้เหมาะ และรักษาระบบภูมิคุ้ม-กันให้อยู่ในสภาพที่ดี (ปัจจุบันมีการจำหน่ายสารสกัดและเครื่องดื่มแซนโทน จากมังคุด ในประเทศสหรัฐอเมริกา)

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย สารสำคัญในลูกเดือยที่ชื่อ กรดไซแนปติก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในตำรา การแพทย์แผนจีนใช้ลูกเดือยรักษาโรคมะเร็งและอาการอื่นๆ มานานแล้ว และปัจจุบันก็มีการทดลองใช้ สารสกัดไขมัน จากลูกเดือย ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วย

ขิงและข่า เป็นพืชอาหารที่มีฤทธิ์ เสริมสุขภาพและรักษาโรค สารสำคัญในขิงที่ชื่อ 6-จิงเจอรอล (6-gingerol) มีฤทธิ์ต้าน การอักเสบ ลดปริมาณไขมันในเลือด ต้านการรวมตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการกินขิงจึงเหมาะ สำหรับการดูแลความดันเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือด หัวใจอุดตันได้

เหง้าข่า มีสารกาลานาน เอ และ บี (galanal A, B) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมีสารต้านการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ได้

เมล็ดงา (ทั้งขาวและดำ) มีสารเซซามิน (และสารอื่นๆ อีกหลายชนิด) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มปริมาณวิตามินอี ในร่างกาย การกินเมล็ดงาในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถลดไขมันในกระแสเลือด และลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดได้

ธัญพืช เมล็ดถั่วต่างๆ จมูกข้าวสาลี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีกรดไฟติก ซึ่งมีคุณสมบัติดูดจับโมเลกุล ของโลหะ มีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดโคเลสเตอรอล ลดไขมันและปริมาณน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร (และผลไม้อื่นๆ ที่ทำแยมได้) มีสารเพ็กตินซึ่งเป็นเส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเส้นใยดังกล่าว มีความสามารถจับตัวกับน้ำตาล และปลดปล่อยโมเลกุลของน้ำตาลออกสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปริมาณ น้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ ช่วยลดความอยากอาหาร ให้ความรู้สึกอิ่มหลังกิน จึงเป็นอาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้

นอกจากนี้ ยังมีผักผลไม้สีขาวอีกหลายชนิดที่เราควรกินสลับสับเปลี่ยนกันไป ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ละมุด แห้ว เมล็ดแมงลัก ผักผลไม้สีขาว และสีน้ำตาลชนิดอื่นๆ



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 เมษายน 2555 16:25:07 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 07:04:46 »

ผักผลไม้สีเหลือง-สีส้ม
พืชผักที่มีสีเหลืองและสีส้ม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด เช่น วิตามินซี แคโรทีนอยด์ (สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ได้แก่ เบต้า-แคโรทีน แอลฟา-แคโรทีนฯ) และสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งสารอาหารสำคัญในพืชผัก ผลไม้กลุ่มนี้ จะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคต้อกระจก ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดี

ผักผลไม้ที่มีสีส้ม ส้มอมเหลือง และเหลืองอ่อน เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ขนุน แคนตาลูป มันเทศ ลูกพลับ ทุเรียน เสาวรส ขมิ้นชัน (ใช้รักษาโรคกระเพาะ) ฯลฯ ล้วนอุดมไปด้วยสารมหัศจรรย์ที่ชื่อว่า เบต้าแคโรทีน และ ความจริงแล้วสารเบต้าแคโรทีนก็มีอยู่ในผักผลไม้สีเข้มแทบทุกชนิด เช่น พริกแดง มะเขือเทศ ตำลึง คะน้า ผักโขม ฯลฯ ซึ่งเราสามารถกินทดแทนกันได้ แต่อาจจะได้รับสารเบต้าแคโรทีนไม่มากเท่าพืชผักสีส้มเท่านั้นเอง
                              
ผักผลไม้ สีแดง
ผักผลไม้ต่างๆ ที่มีสีแดง จะมีสารตัวที่ชื่อว่า ไลโคพีน (lycopene) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่พืชผัก ต่างๆ เช่น มะเขือเทศ พริกแดง แตงโม กระเจี๊ยบแดง ฝรั่ง มะละกอ หัวบีทรูท สตรอเบอรี่ เชอรี่ เมล็ดทับทิม ฯลฯ คุณประโยชน์ของ ไลโคพีนในพืชผักผลไม้เหล่านี้คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยชะลอ ความเสื่อม ของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง (มะเขือเทศ จึงได้รับการขนานนามว่า เป็นพืชแห่ง ความงาม ที่สาวๆ รู้จักกันดี) และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด

สำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินผักผลไม้ สุขภาพมักจะไม่ค่อยดี อาจป่วยเป็นหวัดได้ทั้งปี ทั้งนี้ก็เพราะร่างกายขาดภูมิคุ้มกันหรือขาดสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในพืชผัก สารพัดชนิด นั่นเอง และเมื่อเรารู้แล้วว่าผักผลไม้หลากสีเหล่านี้มีคุณค่ามากต่อสุขภาพ ดังนั้นในการนำมาประกอบเป็นอาหาร เราก็ควร ถนอมสารสำคัญเหล่านี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลายไปกับความร้อนให้ได้มากที่สุด

ขั้นตอนในการปรุงอาหารเพื่อรักษาวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารสำคัญไว้ให้มากที่สุด คือ การหุงต้มในเวลาอันสั้น หรือผัก บางชนิด กินสดได้เลยก็ยิ่งดี ควร ล้างผักให้สะอาดก่อนหั่น แล้วอย่าหั่นชิ้นเล็กจนเกินไปเพราะจะทำให้มีช่องทาง ที่สารอาหาร จะสลายออกไปมากขึ้น

ฮิปโปเครตีสเคยพูดเอาไว้ว่า "อาหารคือยา ยาก็คืออาหาร" คำพูด นี้ยังคงเป็นสัจธรรมอยู่เสมอ ซึ่งถ้าเรากินอาหาร ได้ถูกสัดส่วน อย่างพอเหมาะ อาหารที่กินเข้าไปก็เปรียบเสมือนยาที่ช่วยรักษาดูแลร่างกายให้แข็งแรง และหากเกิดเจ็บป่วย ขึ้นมา นอกเหนือจากยาที่ต้องกินเพื่อรักษาโรคโดยตรงแล้ว อาหารทุกชนิดก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ ถ้าเรารู้ และเลือกกิน ให้เหมาะกับโรคที่เป็นอยู่


ข้อมูลอ้างอิง:
นิตยสารหมอชาวบ้าน, สิงหาคม ๒๕๔๘.

นิตยสารสรรสาระ, ตุลาคม ๒๕๔๕.
นิตยสาร "HEALTH & CUISINE", ๒๕๔๖.
http://www.asoke.info/.

 ยิ้ม   http://www.oursiam.net/content/view.php?id=137

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 เมษายน 2555 16:31:57 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 07:35:48 »





หนึ่งวันกิน 7 สี เพื่อสุขภาพดี

สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ถึงกับแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้ 5-9 หน่วยรับประทาน (serving) ต่อวัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ชายให้รับประทาน 9 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงให้รับประทาน 7 หน่วยต่อวัน และเด็กรับประทาน 5 หน่วยต่อวัน ซึ่งใน 1 หน่วยการรับประทานนั้น ประกอบด้วย ผักสด 1 ถ้วย ผักที่ผ่านการปรุงแล้วครึ่งถ้วย และผลไม้อีกครึ่งถ้วย แต่ในหนึ่งหน่วยของการบริโภคผักและผลไม้นั้น ยังมีเรื่องของสีสันเป็นองค์ประกอบหลักในการเลือกรับประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
  
    ผักผลไม้แต่ละชนิดนอกจากจะให้คุณประโยชน์แตกต่างกันแล้ว ยังมีสีสันที่ต่างกันไปอีกด้วย ซึ่งสีสันของผักผลไม้นั้นไม่ใช่แค่ส่วนประกอบช่วยเพิ่มความเชิญชวนในการรับประทานเท่านั้น แต่สีสันที่มีอยู่ในผักผลไม้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ซึมผ่านเข้าไปในแต่ละอวัยวะภายในร่างกายเพื่อช่วยบำรุงทั้งสมอง สายตา หัวใจ และส่วนต่างๆ ของร่างกายอีกมากมาย เพราะฉะนั้นสีสันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในแต่ละวันเราจึงควรรับประทานผักผลไม้ให้ครบทั้ง 7 สี เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายเราเอง ผัก ผลไม้ที่เราพบเห็นและบริโภคกันอย่างเอร็ดอร่อยนั้น มีสีสันที่แตกต่างหลากหลายกันไปตามแต่ละชนิด แต่บางคนอาจจะงงๆ และสงสัยว่าผัก ผลไม้สีไหนให้ประโยชน์อย่างไร และการรับประทานผักผลไม้ให้ครบทั้ง 7 สีในหนึ่งวันนั้นควรจะต้องรับประทานผักผลไม้และพืชพรรณใดเข้าไปบ้าง

                                                                        

                       ข้อมูลข้างล่างนี้เป็นการแบ่งแยกสีสันของผักผลไม้ทั้ง 7 สี รวมถึงบอกสรรพคุณ
                                         ที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนต่างๆ ไว้ดังนี้

  
สีแดง ผักผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีสันร้อนแรงสีนี้ ได้แก่ มะเขือเทศ ส้มโอสีชมพู แตงโม ซึ่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงปอด โรคมะเร็งที่หัวใจและปอด ผักผลไม้สีแดงช่วยป้องกันได้

สีแดง - ม่วง ผักผลไม้ที่ให้สีสันนี้ ได้แก่ องุ่น ลูกพรุน แครนเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ลแดง สำหรับคนที่อยากได้ชื่อว่าเป็นคนฉลาดควรต้องรับประทานผัก ผลไม้ในกลุ่มนี้ เพราะผลไม้สีแดง-ม่วง จะเข้าไปช่วยบำรุงการทำงานของเซลล์สมอง ใครอยากเป็นอัจฉริยะก็ต้องรับประทานผักผลไม้สีนี้กันเยอะๆ

สีส้ม ผักผลไม้ในสีสันที่ยั่วยวนชวนรับประทานนี้ ได้แก่ แครอต มะม่วง แอปริคอต แคนตาลูป ฟักทอง มันฝรั่งหวาน ผลไม้จำพวกแตง พิเศษสุดสำหรับสาวๆ ที่อยากเป็นสาวสุขภาพดีและมีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งนวลเนียนแล้วล่ะก็ ผักผลไม้สีส้มสามารถช่วยได้ แถมยังช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย

สีส้ม-เหลือง ผักผลไม้ในประเภทนี้ ได้แก่ ส้ม ส้มเขียวหวาน พีช มะละกอ เนคทารีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงหัวใจ และกระเพาะอาหาร และสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือท้องผูก สีส้ม-เหลืองก็พอช่วยได้ และในสีส้ม-เหลืองนี้ยังมีวิตามินซีจำนวนมาก ผักผลไม้สีส้ม-เหลืองยังบำรุงระบบเซลล์ในร่างกาย และมีความสารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ได้อีกด้วย
  
            

สีเหลือง-เขียว ผักผลไม้ประเภทนี้ ได้แก่ ผักขม อโวคาโด แตงโมฮันนีดิว กะหล่ำเขียว
ผักกาดเทอร์นิพ ข้าวโพดเหลือง ถั่วลันเตา ผักผลไม้สีนี้มีประโยชน์ช่วยบำรุงตับของเราให้แข็งแรง และยังกระตุ้นระบบการฟอกของเสียต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย ส่วนสาวๆ ที่กังวลเรื่องริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าสีเหลือง-เขียว ก็สามารถกำจัดริ้วรอยที่ไม่พึงประสงค์ออกไปได้

สีเขียว ผักผลไม้ประเภทนี้ ได้แก่ บร็อกโคลี่ หัวกะหล่ำปลี กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีจีน ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบุ้ง แน่นอนว่าที่เราเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดกันเสมอๆ ว่ากินผักบุ้งจะทำให้ตาหวาน เพราะว่าพืชผักผลไม้สีเขียวนี้จะมีวิตามินเอเยอะ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการบำรุงสายตาของเราให้มีสุขภาพดี

สีขาว-เขียว ผักผลไม้ในประเภทสุดท้ายนี้ ได้แก่ กระเทียม ใบกระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ลูกแพร์ ใบเอนไดฟ์ ประโยชน์ของผักผลไม้สีนี้ก็คือ ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ ใครไม่อยากเป็นโรคหัวใจก็ต้องบริโภคผักผลไม้สีขาว-เขียวกันเยอะๆ แล้วก็ได้รู้กันแล้วว่าผักผลไม้ทั้ง 7 สี แบ่งเป็นสีสันประเภทไหนกันบ้าง ตอนนี้ก็เหลือแค่ว่าเราจะเลือกรับประทานกันให้ถูกวิธีได้หรือก็ไม่เท่านั้น
 

ขอบพระคุณที่มาจาก นสพ.ข่าวสด
 ยิ้ม   http://www.bareo-isyss.com/17/health.php

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 เมษายน 2555 15:46:32 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 08:11:20 »




กินดอกไม้ป้องกันโรคภัย ซ่อนกลิ่นมีสารต้านมะเร็งสูง

เท่าที่อ่านมา เขาบอกว่า..จริงๆแล้วคนทุกคนมีมะเร็งอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น..จะเป็นมะเร็งหรือไม่ก็อยู่ที่เราดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งหรือไม่..การดูแลตัวเอง อยู่ที่การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์หรือไม่ อยู่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำหรือไม่..เก็บข้อมูลของสาเหตุการเกิดมะเร็งเอาไว้พอประมาณ..แต่วันนี้อยากเห็นสีสวยๆของดอกไม้ และพืชผักผลไม้สีหลากหลาย สีสวยๆ ที่ดีมีประโยชน์หากเรานำมารับประทาน..อิ..กินอาหารที่เป็น ดอกไม้ พืชผัก ผลไม้ สีต่างๆที่ดีมีประโยชน์ให้มากพอและสลับกัน  อย่ากินอะไรอย่างเดียวอยู่ทุกมื้อ  จะเป็นมะเร็งเอาได้เนาะ..อะ ดอกไม้ ใช่ว่าจะสวยอย่างเดียว ดอกไม้ก็มีประโยชน์ป้องกันโรคภัยได้เหมือนกัน อย่างกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่น..ไม่น่าเชื่อเนาะ..

ทั้งกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่นให้สารต้านมะเร็งสูง มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ  นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการสำนักบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.เป็นผู้ประสานงานโครงการอาหารและโภชนาการ สนับสนุนการปลูกพืชปลอดสารเคมี ทั้งผักและดอกไม้


นายสง่ากล่าวถึงการนำดอกไม้มาประกอบอาหารว่า ดอกไม้มีความแตกต่างจากผักหรือใบไม้คือ มีสีหลาก หลายทั้งม่วง ส้ม แดง เหลือง ขาว เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไฟโตเคมีคอล เช่น สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งดอกไม้ที่รับประทานกันอยู่แล้ว เช่น ดอกแคแกงส้ม ดอกขจร ใช้ใส่ในไข่เจียว ดอกโสนผัดไข่ แต่โครงการดอกไม้กินได้ นำดอกไม้หลาก หลายชนิดมารับประทาน เช่น ดอกซ่อนกลิ่น ดอกกุหลาบ ชบา ดาวเรือง เข็ม กล้วยไม้ ทำได้หลากหลายเมนูตั้งแต่ กล้วยไม้ทอดกรอบ ต้มจืด ยำ


"พืชผักสีม่วงแดงช่วยป้องกันมะเร็ง ส่วนเส้นใยช่วยระบบขับถ่ายดี ไม่ท้องผูก ดอกลีลาวดี หรือจำปานำมาชุบแป้งทอดสรรพคุณขับลม ขับปัสสาวะ อ่อนเพลีย ดาวเรือง บำรุงสายตา แก้ตาเจ็บ ไอ คางทูม ทาแผล หลอดลมอักเสบ น้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน ส่วนชบา ดาหลา สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ กุหลาบ ดอกบัว มีน้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ดอกลิลลี่คลายเครียด" นายสง่ากล่าว

       ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข หัวหน้าโครงการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษที่ดอยแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หลักในการเลือกดอกไม้กินได้ ให้เลือกตามภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ถ้าสัตว์กินได้ คนก็กินได้ เพิ่มความมั่นใจด้วยการเลือกดอกไม้ปลอดสารพิษ ไม่ฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งโครงการฯได้จัดแปลงสาธิตไว้ที่ดอยแม่วาง เป็นแหล่งดูงานของเกษตรกร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน สสส.ตั้งเป้าหมายให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ รับประทานดอกไม้ นานาชนิด.




ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มีนาคม 2553 08:26:52 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 08:12:12 »




นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย ให้คำแนะนำว่า การกินผักหลากสีส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะผักเป็นแหล่งรวมของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งผักยังมีกากใยช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยนำคอเลสเตอรอล สารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมสารพิษภายในร่างกาย

      ทั้งนี้ ขณะนี้ผู้คนมักจะมองข้ามการกินผัก โดยส่วนใหญ่นิยมกินแต่เนื้อ ขนมหวานแทน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็กและสูงอายุต้องได้รับสารกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีวิตามินซีมาก ซึ่งวิตามินซีที่จะทำหน้าที่สำคัญในการทำให้เซลล์ผิวหนัง กระดูกอ่อน เอ็น กล้ามเนื้อ ผนังเส้นเลือด โครงสร้างภายในกระดูก ช่วยให้ฟันแข็งแรง และการที่จะได้รับใยอาหารให้เพียงพอ





สีของพืชผัก-ผลไม้ ให้คุณค่าต่างกันอย่างไร


สารสีแดง มีสาร Cycopene เป็นตัวพิวเม้นท์ให้สีแดง ในแตงโม มะเขือเทศ สาร Betacycin ให้สีแดงในลูก ทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxydants ซึ่งจะช่วย ป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิด

สารสีส้ม ผักและผลไม้ สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสาร Betacarotene ซึ่งมีศักยภาพ ต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีด ที่กินมะละกอ หรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตร ของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอท วันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลอง กินมะละกอ ห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิว หน้าที่เป็นฝ้า ให้หายได้ โดยไม่ต้อง พึ่งครีมแก้ฝ้าเลย

        สารสีเหลือง พิกเม้นต์ Lutein คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกัน ความเสื่อม ของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น

                  

        สารสีเขียว พิกเม้นต์คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียว แก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัด กลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย

       สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วง ที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า สารตัวนี้ช่วยลบล้างสาร ที่ก่อมะเร็ง และสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยง ในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย

        รู้อย่างนี้แล้ว รีบเดินหน้าหา พืชผักผลไม้ ที่ให้คุณประโยชน์ ตามสีสันกันเถอะค่ะ แล้วมาลด ละ เลิก อาหารฟ้าสต์ฟู้ดยี่ห้อเมืองนอก ที่รังแต่จะทำให้เราอ้วนกันเสียที เริ่มวันนี้ยังไม่สาย เพื่อสุขภาพที่ดี และความสดชื่น และอ่อนเยาว์ของทุกคนนะจ้ะ..



 ยิ้ม    http://www.oknation.net/blog/kanis/2009/12/10/entry-1

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 เมษายน 2555 15:54:29 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
PETER
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 7
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 134


เราคือหนทาง ความจริงและชีวิต

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.3 Firefox 3.6.3


lordloi@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 เมษายน 2553 07:05:46 »

ขอแนะนำให้ทาน ทหารแตงโม 
ด้รับทั้งสารสีเขียวและสารสีแดงในคนเดียวกัน
เครื่องแบบสีเขียว แต่หัวใจสีแดงครับ
บันทึกการเข้า
แก่เตี้ยจัง
นักโพสท์ระดับ 1
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 21:42:33 »

อยากทราบว่า สารแซนโทน (xanthone) (กลุ่มของฟลาโวนอยด์) ที่อยู่ในเปลือกมังคุดมีปริมาณเท่าไหร่คะ และสารตัวนี้จะสูญเสียเมื่อโดนความร้อนหรือป่าวคะ คือเปลือดมังคุดมาปั่นกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำมาเป็นผสมของขนมปุยฝ้าย แล้วต้องนำไปนึ่งด้วยอุณภูมิ 100 องศา เลยอยากรู้ว่า ประโยชน์ที่ได้จะยังหหลงเหลืออยู่หรือป่าวคะ
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 22:05:17 »



กราฟแสดงปริมาณสาร antioxidant ครับ จะพบว่ามังคุดมีมากกว่าแครอทเกือบสิบเท่า

ซึ่งแซงโทนคือหนึ่งในสาร antioxidant ที่พบมากในเปลืองมังคุด




ขอเพิ่มเติมข้อมูลให้ครับ

มารู้จักประโยชน์ของ Xanthone กันนะ


ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่รู้จักอนุมูลอิสระและแอนตี้-ออกซิแดนท์ (anti-oxidant) เป็นอย่างดี สารต้านอนุมูลอิสระ(anti-oxidant) ช่วยซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่ถูกทำลาย ซึ่งเรารู้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระนี้สามารถพบได้ใน วิตามินซี และ อี อย่างไรก็ตามยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลมากกว่าวิตามินหลายเท่า สารชนิดนี้เรียกว่า "สารแซงโทน (xanthone)" ซึ่งถูกพบมากในเนื้อมังคุดและเปลือกของมังคุด จากผลงานวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์มาหลาย 10 ปี พบว่าในธรรมชาตินั้นมีสาร xanthone แตกต่างกันถึง 200 ชนิดที่ถูกพบในผลไม้และสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งมีสารแซงโทนอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากเหมือนที่ถูกพบในมังคุดอย่างเดียว ที่มีสารแซงโทนมากกว่า 40 ชนิด สารดังกล่าวมีคุณค่ามากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย, ออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รวมทั้งสามารถต้านเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

ในมังคุดมีสาร Antioxidant สูงมาก และหนึ่งในนั้นคือสาร Xanthone ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ให้ร่างกาย โดยทั่วไปสาร Xanthone จะมีอยู่ราว 200 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ Gamma Mangostin ซึ่งช่วยต่อต้านอาการอักเสบ


ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องความร้อนครับ

Chianget al. (2004) ศึกษาบทบาทการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ของน้ำร้อน และน้ำสกัดจากผลไม้ 17 ชนิดในประเทศไต้หวันมีเพียงสารสกัดจากเปลือกมังคุดโดยใช้น้ำร้อนเท่านั้นที่สามารถต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

จากข้อความข้างต้น น่าจะทนต่อความร้อนได้ในระดับนึงนะครับ และประโยชน์น่าจะยังคงอยู่ (จะหาข้อมูลเพิ่มเติมให้) เพราะใช้คำว่า "การสกัดโดยใช้น้ำร้อน"


 

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 22:11:20 »

อยากทราบว่า สารแซนโทน (xanthone) (กลุ่มของฟลาโวนอยด์) ที่อยู่ในเปลือกมังคุดมีปริมาณเท่าไหร่คะ และสารตัวนี้จะสูญเสียเมื่อโดนความร้อนหรือป่าวคะ คือเปลือดมังคุดมาปั่นกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำมาเป็นผสมของขนมปุยฝ้าย แล้วต้องนำไปนึ่งด้วยอุณภูมิ 100 องศา เลยอยากรู้ว่า ประโยชน์ที่ได้จะยังหหลงเหลืออยู่หรือป่าวคะ



เพิ่มเติมให้จากข้างบนครับ

มีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนซ์หรือคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ ของสารประกอบกลุ่มแซนโทน โดยมีค่า ORAC (Oxygen radical absorbance capacity) สูงถึง 17,000 ถึง 24,000 ในขณะที่ ลูกพรุนมีค่า ORAC เพียง 7,000 ต่อออนซ์ 

อย่างไรก็ตามงานวิจัยเบื้องต้นจำเป็นต้องศึกษาสารประกอบที่มีประโยชน์ดังกล่าวต่อการสูญเสียเมื่อผ่านขบวนการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากมังคุดแต่ละชนิดมีขั้นตอนในขบวนการแปรรูปที่แตกต่างกันได้แก่ขบวนการแช่แข็ง การแช่แข็งอบแห้ง (Freeze dry) พลาสเจอร์ไรซ์ และ/หรือสเตอริไรซ์ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มซึ่งมีขบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่ต่างกันเช่นผลิตภัณฑ์น้ำมังคุดเข้มข้น หรือการให้ความร้อนด้วยการทำผงโดยการฉีดพ่นฝอยด้วยเครื่อง spray dry หรือการให้ความร้อนด้วยการอบแห้ง หรือการผ่านขบวนการหมักด้วยเชื้อยีสต์หรือ Lactic acid  bacteria หรือแม้แต่การใช้ปฏิกริยาเอนไซม์ในการตกตะกอนและเพิ่มเปอร์เซนต์ผลผลิตในการสกัด ขบวนการต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลต่อปริมาณสารประกอบแซนโทนที่มีคุณค่าในมังคุด ปัจจุบันได้มีรายงานการวิจัยสารประกอบแซนโทนในทางการแพทย์และเภสัชถึงการสกัดสารประกอบแซนโทนแต่ละชนิดซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน หากแต่ไม่มีรายงานการวิจัยปริมาณสารประกอบแซนโทนต่อการสูญเสียเมื่อผ่านขบวนการแปรรูปอาหารแต่อย่างใด


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 22:45:45 »

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2554 13:51:32 »



            

กินผลไม้ถูกเวลา อุดมไปด้วยคุณค่า ...

             บ้านเราโชคดีที่เป็นประเทศ ที่มีผลไม้หลากหลายชนิดให้เลือกกินกันได้ ไม่มีขาดตลอดทั้งปี แถมราคาก็ยังไม่แพง ได้ของสดๆ ตรงจากสวนจากไร่แทบไม่ต้องง้อผลไม้แช่เย็นจากแดนไกล (เว้นแต่ใครอยากกินผลไม้แปลกใหม่ไม่มีในเมืองไทยก็ไม่ว่ากัน) ซึ่งเรื่องนี้ทำเอาชาวต่างชาติมากมายติดใจไม่น้อย เพราะที่บ้านเมืองเขาอาจซื้อหาผลไม้มากินในราคาถูกแบบนี้ได้ไม่ง่ายนัก

             คน ส่วนใหญ่ทราบว่าเราควรกินผลไม้เพราะจะได้คุณค่าสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน กรดไขมันต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นกำลังเสริมให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ผลไม้บางครั้งยังเป็นเหมือนยาบำบัดที่ธรรมชาติสร้างให้มนุษย์ เช่นในวันที่อากาศร้อนๆ หากได้ลิ้มรสแตงโมสักชิ้นก็ทำให้ฉ่ำชื่นใจคลายร้อนไปได้มาก หรือคุณอาจเคยได้ยินว่ากินกล้วยน้ำว้าแล้วจะทำให้คลายจากท้องผูก แถมยังทำให้อารมณ์ดี เพราะเชื่อว่าในกล้วยมีสาร Tryptophan เมื่อกินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็น Serotonin ที่เป็นสารสร้างความสุขให้กับคนเรา แต่ก็เชื่อว่าหลายๆ คนยังมองการกินผลไม้เป็นเรื่องรอง มีก็กิน ไม่มีก็ไม่กิน หรือบางคนตั้งใจกินผลไม้แต่กินผิดเวลา คุณค่าที่ควรจะได้จากผลไม้ที่กินเข้าไปก็เลยลดลงอย่างน่าเสียดาย
   
ร่างกายคนเราเหมาะจะย่อย ผลไม้มากกว่าเนื้อสัตว์

             หนังสือขายดีไปทั่ว โลกชื่อ Fit for Life ของนักบรรยายเรื่องโภชนาการชาวอเมริกัน ฮาร์วีย์ และมาริลีน ไดมอนด์ ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกินผลไม้จนเราอดไม่ได้ที่ต้องนำมาถ่าย ทอดสู่กันฟังว่า ที่จริงแล้วเมื่อสืบค้นถึงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์ อย่างที่ ดร.อลัน วอล์คเกอร์ นักมานุษยวิทยาคนสำคัญ ได้เผยผลการศึกษาในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2522 นั้น ดร.วอล์คเกอร์ได้ศึกษาอย่างละเอียดทั้งจากหลักฐานโครงกระดูกและฟันของมนุษย์ ตลอดจนซากฟอสซิลต่างๆ เขายืนยันว่ามนุษย์นั้นแต่เดิมไม่ใช่เป็นพวกที่กินเนื้อ เมล็ดพืช หรือแม้แต่ผักหญ้าใดๆ หากแต่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บผลไม้มากิน ธรรมชาติได้สร้างร่างกายคนให้รองรับกับการกินผลไม้เป็นอาหารตั้งแต่ไหนแต่ไร มา เพิ่งมามีช่วงศตวรรษที่ผ่านมานี้เองที่เราหันไปกินเนื้อสัตว์กันมากขึ้นกว่า เดิมมาก ซึ่งผลตามมาก็คือ ร่างกายต้องปรับตัวอย่างหนัก บางครั้งปรับตัวไม่ไหวก็กลายเป็นพิษ เห็นจากอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน หรือมะเร็งนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือด เต้านม ตับ กระเพาะอาหาร ฯลฯ ขณะที่การกินผลไม้เป็นวิธีสำคัญที่ช่วยล้างพิษ เพราะผลไม้ส่วนใหญ่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณ 80-90% ทั้งมีกากใย จึงช่วยกวาดล้างพิษต่างๆ ซึ่งคั่งค้างในร่างกายให้ออกไปโดยการขับถ่าย ดังนั้นเมื่อรวมกับสารอาหารที่เราได้จากผลไม้แล้ว จึงนับว่าเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกายสูงกว่าอาหารอีกหลายชนิด ในข้อแม้ว่าต้องกินอย่างถูกต้องและเหมาะสมจริงๆ

             นอกจากให้สารอาหาร ต่างๆ แล้ว ไดมอนด์ยังยืนยันว่าการกินผลไม้ แม้จะมีน้ำตาล คาร์โบไฮเดรต และแคลอรีสูง แต่ไม่ได้ทำให้เราอ้วนแบบการกินอาหารชนิดอื่นๆ โดยอ้างถึงผลงานวิจัยของ ศ.จูดิท โรแดง จากมหาวิทยาลัยเยล ที่ได้แถลงผลงานวิจัยของเธอในเดือน ต.ค.ปี 2526 เกี่ยวกับน้ำตาลในผลไม้มีผลต่อการกินอาหารมื้อต่อไปได้ลดลง โดยทดลองให้คนดื่มน้ำหวานจากน้ำตาลฟรุคโตสที่ได้จากผลไม้กลุ่มหนึ่ง เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ให้กินน้ำหวานจากน้ำตาลซูโครส แล้วให้ทั้งสองกลุ่มกินอาหารมื้อต่อไป พบว่ากลุ่มที่กินน้ำตาลผลไม้จะกินอาหารมื้อต่อไปได้น้อยกว่าอีกกลุ่มเฉลี่ย ถึง 479 แคลอรี ขณะที่ ดร.วิลเลียม คาสเทลลี จากฮาร์วาร์ด และศูนย์ศึกษาโรคหัวใจฟรามิงแฮม (แมสซาชูเส็ท) พบว่าสารหลายชนิดที่พบในผลไม้มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและ หัวใจวายได้ โดยช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวหนาจนไปอุดตันในหลอดเลือด นอกจากนี้ร่างกายจะใช้เวลาในการย่อยและดูดซึมสารอาหารจากผลไม้ไปใช้ในร่าง กายเพียง 20-30 นาทีเท่านั้น แถมยังใช้พลังงานสำหรับการย่อยน้อยมาก (โดยเฉพาะผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น ส้ม องุ่น ในขณะที่หากเป็นกล้วย ทุเรียน อินทผลัม ซึ่งมีน้ำน้อยจะใช้เวลาย่อยนานขึ้น) ซึ่งต่างกับการกินอาหารชนิดอื่น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ฯลฯ จะต้องใช้พลังงานในการย่อยอย่างสูง ใช้เวลานานตั้งแต่ชั่วโมงครึ่ง ถึง 4 ชั่วโมง หรือหากกินอาหาร หลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น เนื้อสัตว์ แป้ง ในปริมาณมากๆ อาจใช้เวลาย่อยนานถึง 8 ชั่วโมง ใช้พลังงานไปกับการย่อยเต็มที่ ผลก็คือ ทำให้เรารู้สึกเพลีย ง่วงเหงาหาวนอนหลังอาหารมื้อนั้น ซึ่งอาการนี้จะไม่เกิดเลยหลังจากที่เรากินผลไม้เข้าไป

       

กินผลไม้ ตอนท้องว่าง...ได้ประโยชน์สูงสุด
            ไดมอนด์เสนอแนวความคิดว่าน้ำ และกากใยในผลไม้ช่วยในการขับถ่ายของเสียออก จากร่างกาย จึงช่วยลดน้ำหนักได้ และร่างกายจะใช้ประโยชน์จากผลไม้สูงสุดต่อเมื่อคนนั้นต้องกินผลไม้อย่างถูก วิธี คือการกินผลไม้ขณะที่ท้องว่าง ไม่ควรกินผลไม้พร้อมกับหรือหลังอาหารอื่นๆ หรือหากกินผลไม้แล้วจะกินอาหารอื่นตาม ก็ควรรอเวลาอย่างน้อย 20-30 นาทีเพื่อให้ผลไม้ที่กินเข้าไปตกสู่ลำไส้เล็กและดูดซึมสารอาหารจากผลไม้เข้า สู่ร่างกายได้อย่างเต็มที่ การห้ามกินผลไม้หลังอาหารนั้นเพราะเมื่ออาหารตกถึงกระเพาะจะใช้เวลาย่อย ประมาณ 4 ชั่วโมง หากกินผลไม้ตามลงไปแทนที่จะผ่านไปยังลำไส้เล็กได้เลย ก็จะต้องถูกขัดขวางจากอาหารที่รอการย่อยเหล่านั้น ระหว่างนี้ทั้งอาหารและผลไม้ที่ผสมกันในกระเพาะจึงอาจทำให้เกิดการหมักบูด เกิดแก๊ส ซึ่งมีผลให้เกิดอาการแน่น จุก หรือไม่สบายท้องได้ ทั้งนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ดร.เฮอร์เบิร์ต เอ็ม. เชลตัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโภชนาการของสหรัฐฯ ที่เน้นว่าคุณค่าของผลไม้จะให้ประโยชน์กับเราเต็มที่เมื่อกินขณะท้องว่าง แต่หากใครที่กินผลไม้ไม่ถูกวิธี แต่ไม่รู้สึกแย่อะไร ก็แสดงว่าร่างกายคุณปรับตัวได้ดี แต่ก็น่าเสียดายที่จะไม่ได้รับคุณค่าของผลไม้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

           ดังนั้นหากใครที่กินอาหารแล้วต้องการกินผลไม้ตาม ควรรอเวลาให้อาหารที่กินเข้าไปก่อนหน้านั้นย่อยหมดก่อน แล้วจึงค่อยกินผลไม้ หากเป็นอาหารเบาๆ เช่น สลัดผักสด ใช้เวลารอประมาณ 2 ชั่วโมง หรือหากคุณเพิ่งกินอาหารหนักอย่างเช่น ข้าว หรือเนื้อสัตว์ ที่ใช้เวลาย่อยนานขึ้น ก็อาจต้องรออย่างน้อย 4 ชั่วโมง หรือกินอาหารหลายๆ อย่างรวมกัน มีกากใยน้อย ย่อยยากขึ้น ก็อาจใช้เวลามากถึง 8 ชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งไม่แนะนำให้กินผลไม้ตามไปในช่วงเวลานั้นเลย

             ตามแนวคิดนี้ เวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ควรจะกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้ คือ ช่วงเช้าของทุกวัน ตั้งแต่ตอนตื่นจนถึงเที่ยง เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายสะสมพลังงานไว้เต็มเปี่ยมตลอดคืน ดังนั้นเวลาตื่นจะเป็นช่วงที่ร่างกายสดชื่นที่สุด จึงไม่ควรจะสูญเสียพลังงานที่มีค่าของวันนี้ไปเปล่าๆ กับการย่อยอาหารนานๆ แต่การกินผลไม้ที่ใช้พลังงานในการย่อยต่ำจะช่วยให้เรามีพลังงานเหลือเฟือไว้ ใช้ประโยชน์กับกิจกรรมอื่นๆ ของชีวิต และดูดซึมสารอาหารที่ควรจะได้รับอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้กากใยช่วยขับของเสียที่สะสมมาจากวันก่อน ทั้งมีส่วนช่วยให้น้ำหนักลดลง โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเราสามารถกินผลไม้ได้มากเท่าที่อยากกิน และเว้นระยะประมาณสักครึ่งชั่วโมงจึงค่อยกินอาหารมื้อกลางวัน หากทำแบบนี้ได้เป็นประจำ ร่างกายเราก็จะได้รับสารอาหารสำคัญจากผลไม้เต็มที่ ช่วยให้เราคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้ดี มีอายุยืน สุขภาพดี กระชุ่มกระชวย อยู่เสมอ


มาตรฐานคือ ต้อง “ สด ” 100%

            ผลไม้ที่เราจะ กิน หรือน้ำผลไม้ จะเป็นชนิดไหนก็ได้ สำคัญที่สุดคือ ต้อง “ สด ” 100% ไม่ได้ผ่านความร้อน การหมักดอง หรือการปรุงรสใดๆ เพราะร่างกายเราจะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดเมื่อมันอยู่ในสภาพธรรมชาติ เท่านั้น แต่ผลไม้ที่ผ่านความร้อนปรุงเป็นอาหาร จะสูญเสียคุณค่าในตัวเองไปหมดแล้ว หากเป็นน้ำผลไม้ก็ควรเลือกดื่มชนิดที่คั้นสด 100% จะดีกว่าชนิดที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน หรือน้ำผลไม้ที่ผสมจากหัวเชื้อเข้มข้น ซึ่งแบบนั้นจะไม่ได้คุณค่าอาหารแบบที่น้ำผลไม้คั้นสดจะให้ได้ ดื่มน้ำผักหรือผลไม้คั้นสดแทนการดื่มชา กาแฟ ในยามเช้า ก็เป็นหนทางสู่การมีสุขภาพดี แถมยังช่วยให้แต่ละวันของคุณเป็นวันที่แจ่มใสได้อีกด้วย

            แนวคิดของไดมอนด์ที่ปรากฏในหนังสือนั้น เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพร่างกาย ให้สอดคล้องกับที่ธรรมชาติสร้างมา ให้ใครสนใจอาจลองนำไปปฏิบัติตามได้ไม่เสียหลายนะคะ

ที่มา : นิตยสาร HealthToday
:http://www.chiangmaithailand.tht.in/aticle257.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กันยายน 2555 22:15:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.836 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 8 ชั่วโมงที่แล้ว