[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 21:04:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความหลากหลายของมันฝรั่ง  (อ่าน 1954 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2558 18:11:40 »

.



ความหลากหลายของมันฝรั่ง

มันฝรั่งที่เราพบเจอในอาหารจานฝรั่งจนคิดว่ามันเป็นพืชกินได้ที่มีต้นตอมาจากฝรั่งนั้นแท้ที่จริงไม่ใช่ ต้นกำเนิดของมันฝรั่งไม่ได้มาจากยุโรป เช่นเดียวกับข้าวโพด พริก พริกไทย โกโก้ สับปะรด มะละกอ ฯลฯ ล้วนแต่มีถิ่นกำเนิดและผ่านการคัดผสมสายพันธุ์มานานนับพันปีด้วยฝีมือของเกษตรกรชาวอินเดียนแดงในอารยธรรมอันเคยรุ่งเรืองของทวีปอเมริกาใต้ ตอนที่พวกสเปนเข้ารุกราน ชาวอินคาพัฒนามันฝรั่งที่แตกต่างกันถึง ๓,๐๐๐ ชนิด ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกทุกสภาพแวดล้อม นี่คือความยั่งยืนทางเกษตรกรรมรูปแบบหนึ่ง พืชอาหารเหล่านี้สามารถปกป้องตัวเองจากโรคหลายชนิดทั้งมีความทนทานต่อเนื้อดินและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน  หลังจากชาวสเปนทำลายล้างอารยธรรมอินคาและขนทองคำกลับ สิ่งที่พวกสแปเนียร์ด (Spaniard) ขนกลับไปด้วยและอาจมีคุณค่ายิ่งกว่าทองคำก็คือมันฝรั่ง มันฝรั่งกลายเป็นพืชอาหารสำคัญของยุโรป ช่วยแก้ปัญหาความอดอยากและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรยุโรปขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วงศตวรรษที่ ๑๙  แต่เนื่องจากมันฝรั่งที่นำกลับมามีเพียงสายพันธุ์เดียว การขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมทำให้มันฝรั่งอ่อนแอต่อโรค เมื่อเกิดโรคระบาดโศกนาฏกรรมที่ตามมาคือทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงดังเช่นที่เกิดขึ้นในไอร์แลนด์เมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๕-๑๘๕๒ หากเราเดินทางรอนแรมกลับไปยังถิ่นกำเนิดมันฝรั่งในประเทศเปรู จะพบเจอชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองที่มุ่งมั่นรักษาสายพันธุ์มันฝรั่งอันหลากหลายไว้ด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ผสมผสานกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่


สวนมันฝรั่ง
ในหุบเขากุสโก (Cusco) กลางเทือกเขาแอนดีส มีประชากรชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ราว ๖,๐๐๐ คนบนพื้นที่ประมาณ ๕๘,๐๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Parque de la Papa แปลว่า potato park หรือสวนมันฝรั่ง

สวนมันฝรั่งหรือไร่มันฝรั่งเป็นการริเริ่มของชาวพื้นเมืองเกชัว (Quechua) หกชุมชนที่รวมตัวกันก่อตั้งองค์กร Asociación ANDES ด้วยวัตถุประสงค์ต้องการรักษาภูมิปัญญาชาวพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ  โครงการสำคัญขององค์กรคือเขตอนุรักษ์ไร่มันฝรั่งซึ่งเพาะปลูกเพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์มันฝรั่งพื้นเมืองของเปรู ๒,๓๐๐ ชนิด  ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่พบในแปลงเพาะปลูกเพียงแปลงเดียวอาจมีมากถึง ๑๕๐ สายพันธุ์  นอกจากมันฝรั่งยังเพาะปลูกพืชพันธุ์พื้นเมืองอย่างถั่ว ข้าวโพด ข้าวสาลี เมล็ดควินหวา (quinoa พืชตระกูลข้าวของชาวอินคา)

กสิกรรมในไร่มันฝรั่งประกอบด้วยการเกษตรและปศุสัตว์ มีการปลูกพืชหมุนเวียนทุก ๓-๙ ปี หลังเกษตรกรเพาะปลูกมันฝรั่งระยะหนึ่งจะพักที่ดินเพาะปลูกส่วนนั้น ระหว่างรอให้ผืนดินฟื้นตัวพบว่ามีพืชสมุนไพรงอกขึ้นมากมายในแปลง  การเลือกพันธุ์เพาะปลูกจะแบ่งสัดส่วนตามการใช้งานและคุณภาพมัน เช่น เพาะปลูกเพื่อการบริโภค เก็บเมล็ดพันธุ์ขาย เป็นอาหารสัตว์ แลกเปลี่ยนสินค้า ในระดับครัวเรือนใช้การแลกเปลี่ยนสินค้ากันเป็นหลัก ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการจัดระบบแลกเปลี่ยน เนื่องจากมีความรู้เรื่องปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเป็นอย่างดี ทั้งยังมีบทบาทเด่นในกระบวนการคัดเลือกมันฝรั่งเพื่อการใช้งานแต่ละประเภทด้วย

เป้าหมายประการหนึ่งของไร่มันฝรั่งคือสร้างโมเดลการพัฒนาที่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์มรดกด้านชีวเกษตรเพื่อให้ชุมชนเลี้ยงตัวเองได้  ชาวพื้นเมืองจึงพยายามใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนผสมผสานระบบเศรษฐกิจแนวสร้างสรรค์ อย่างการผลิตพืชสมุนไพรเพื่อลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลแก่สมาชิกครอบครัวไร่มันฝรั่ง ขณะเดียวกันก็ผสานความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตก  นอกจากนี้ยังผลิตพืชสมุนไพรขายนักท่องเที่ยว รวมทั้งจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน  องค์กร Asociación ANDES เป็นหนึ่งในไม่กี่องค์กรที่ดำเนินการบริหารโดยชาวพื้นเมืองและสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ



ภูมิปัญญาโบราณกับวิทยาศาสตร์ทันสมัย
การเก็บรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เช่นกัน องค์กรหนึ่งที่ทำงานด้านนี้คือศูนย์วิจัยมันฝรั่งนานาชาติ (International Potato Center - CIP) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์ มีธนาคารพันธุกรรมที่เก็บรักษาสายพันธุ์มันฝรั่งหลายชนิดจากทั่วโลก  แม้สายพันธุ์มันฝรั่งในศูนย์วิจัยจะปลอดเชื้อไวรัส แต่ปลูกในแปลงทดลองที่มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด จึงไม่สอดคล้องกับสภาพการเพาะปลูกจริง มีตัวอย่างจำนวนไม่น้อยที่พันธุ์พืชจากศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอยู่รอดในสภาพธรรมชาติอันเต็มไปด้วยความแปรปรวน ตอนแรกชาวพื้นเมืองไม่ค่อยไว้วางใจและไม่อยากร่วมมือกับศูนย์วิจัยเพราะเกรงจะถูกปล้นชิงทางชีวภาพ (biopiracy) แต่ในที่สุดโครงการไร่มันฝรั่งก็จับมือทำสัญญากับ CIP ในเดือนธันวาคมปี ๒๕๔๗ ปัจจุบัน CIP มอบสายพันธุ์มันฝรั่งปลอดไวรัส ๔๑๐ ชนิดให้แก่ไร่มันฝรั่งเพาะปลูก แลกเปลี่ยนกับเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองที่ชาวเกชัวเก็บรักษาไว้  ชาวพื้นเมืองเองก็ได้เรียนรู้วิธีเพาะปลูกสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิต ดังที่เกษตรกรเกชัวกล่าวว่า “เมื่อก่อนนักวิทยาศาสตร์มักนำเมล็ดพันธุ์ไปจากเรา แต่ไม่ยอมรับภูมิปัญญาของเรา  เดี๋ยวนี้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ที่จะร่วมมือกับเรา พวกเขาต้องเคารพความรู้ของเรา  ถึงเวลาแล้วที่ความรู้ดั้งเดิมกับวิทยาศาสตร์จะทำงานร่วมกัน”
 


ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ม.ค. 29, 2015

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 12:45:07